ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไฟป่า

เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 4 "ดัชนีคุณภาพอากาศ"หลังจากที่เราได้ทราบถึงชนิดของมลพิษทางอากาศในเกร็ดความรู้เรื่องฝ...
22/11/2023

เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 4 "ดัชนีคุณภาพอากาศ"

หลังจากที่เราได้ทราบถึงชนิดของมลพิษทางอากาศในเกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 3 และนั้น ในปัจจุบันได้มีการนำมลพิษทางอากาศเหล่านี้มาเป็นตัวชี้วัดในดัชนีวัดคุณภาพอากาศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หากใครที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับฝุ่นละอองและสภาพอากาศ จะต้องคุ้นคำว่า "AQI" ซึ่งย่อมาจาก Air Quality Index หรือดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งในประเทศไทย หลังจากที่พบกับปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จึงได้มีการนำดัชนีนี้มาใช้รายงานสภาพอากาศด้วย

ดัชนีคุณภาพอากาศที่ใช้อยู่ในประเทศไทยคำนวณโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ตามในฉบับที่ 4-1 ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพที่คำนวณได้ของสารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าสูงสุด จะถูกนำมาใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศของวันนั้น อย่างไรก็ตาม ค่า AQI เป็นค่าที่ไม่มีหน่วยวัด โดยมาตรฐานค่าความเข้มข้นของ PM2.5 แบ่งเป็น ค่าเฉลี่ยรายวัน ซึ่งอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 25 ไมโครลูกบาศก์เมตร แต่กระนั้น เราก็ไม่สามารถนำตัวเลขของค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง รายวัน หรือรายปีมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากสารแต่ละตัวมีความอันตรายต่างกัน ค่าเฉลี่ยที่ปลอดภัยจึงต่างกันด้วย สำหรับบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจหลอดเลือด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรถ์ รวมไปถึงบุคคลธรรมดาทั่วไป ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย และควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูงเกินมาตรฐาน เช่น พื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด พื้นที่ไฟไหม้ เพื่อรักษาสุขภาพของทุกท่าน โดยสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายผ่านแอปพลิเคชั่น Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ หรือเว็บไซต์ http://air4thai.pcd.go.th

จัดทำโดย
ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า
ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า

"นโยบายในการทำงานป้องกันไฟป่า ปี 2567"
21/11/2023

"นโยบายในการทำงานป้องกันไฟป่า ปี 2567"

นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สปฟ. เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายป่าพรุเพื่อการจัดการไฟป่าแล...
17/11/2023

นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สปฟ. เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายป่าพรุเพื่อการจัดการไฟป่าและหมอกควันอย่างยั่งยืน และตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านครศรีธรรมราช

“การประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนการตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567”
17/11/2023

“การประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนการตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567”

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 3 "สารมลพิษทางอากาศ"       รู้หรือไม่? สารมลพิษในอากาศไม่ได้มีฝุ่นละอองขนาดเล็กเพีย...
15/11/2023

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 3 "สารมลพิษทางอากาศ"

รู้หรือไม่? สารมลพิษในอากาศไม่ได้มีฝุ่นละอองขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสารมลพิษอื่นๆ อีกมากมายที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และส่งผลกับสุขภาพร่างกายของมนุษย์โดยตรงด้วย โดยฝุ่นละอองที่เราสูดดมเข้าไปสามารถมีหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารอื่นๆ เข้าสู่ปอด และส่งผลเสียของสุขภาพร่างกายของมนุษย์ในที่สุด โดยสารมลพิษทางอากาศมี 6 ชนิด ดังนี้...

1. ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์(CO) มักเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เช่น การเกิดไฟป่า การเผาไหม้ในที่โล่ง เป็นต้น กระบวนการเผาไหม้ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ของยานพาหนะและยานยนต์ต่างๆตามท้องถนน โดยสารมลพิษชนิดนี้ เป็นอันตรายแบบทันที โดยจะทำให้มีอาการมึนงง ปวดศรีษระ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะเกิดอาการรุนแรง ถ้าได้สูดดมในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้

2. ก๊าซโอโซน(O3) เกิดจากปฏิกิริยาในบรรยากาศโดยอิทธิพลจากแสงแดด โดยสารมลพิษทางอากาศชนิดนี้จะมีผลต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจ และกล้ามเนื้อของหัวใจ เกิดการระคายเคืองนัยต์ตา และเยื่อจมูกซึ่งมีผลต่อการทำงานของปอด

3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์(SO2) เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีสารกัมมะถัน การถลุงแร่โลหะที่มีส่วนผสมของสารกัมมะถัน กระบวนการทางอุตสาหกรรมในบางประเภท ลาวาจากภูเขาไฟ โดยสารมลพิษทางอากาศชนิดนี้ทำให้เกิดโรคหลายชนิดที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การทำงานของปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองนัยน์ตาและเยื่อจมูก

4. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์(NO2) เกิดจากการเผาไหม้ของยานพาหนะต่างๆ การเผาไหม้ต่างๆในอุณหภูมิสูง การทำปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ โดยสารพิษชนิดนี้ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

5. ตะกั่ว(Pb) โดยสารชนิดนี้มักมีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์มักนำสารนี้มาใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตต่างๆ จึงทำให้มีเกิดทำเหมืองและถลุงแร่ตะกั่ว สารตะกั่วนี้จะอยู่ในขบวนการเผาไหม้ของยานพาหนะต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารตะกั่ว เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแบตเตอร์รี่ เป็นต้น ซึ่งหากสะสมในร่างกายมากๆ ทำให้ไตเสื่อมสภาพ เป็นอันตรายต่อระบบะประสาทส่วนกลาง

6. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5/10 ไมครอน โดยฝุ่นจะเกิดการการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เช่น การเกิดไฟป่า การเผาในที่โล่ง เป็นต้น การก่อสร้าง กระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ และปฏิกิริยาเคมีในอากาศ ซึ่งฝุ่นละอองนี้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอหรือจาม การสะสมของสารพิษที่ติดมากับฝุ่นละอองส่งผลให้อัตราการตายเพิ่มมากขึ้น

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ และความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า
ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

สรุปรายงานข่าวกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
15/11/2023

สรุปรายงานข่าวกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สรุปรายงานข่าวกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่สำคัญประจำวันที่ 14 พ.ย.2566 ภาพข่าวโดย ส่วนประชาสัมพ...

Update ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานฯ (15 พ.ย.2566 กรมอุทยานฯ ผุดไอเดีย แฟชั่นรักษ์โลก Eco Print ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชา...
15/11/2023

Update ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานฯ (15 พ.ย.2566 กรมอุทยานฯ ผุดไอเดีย แฟชั่นรักษ์โลก Eco Print ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมรายได้ชุมชน) บน Website

กรมอุทยานฯ ผุดไอเดีย แฟชั่นรักษ์โลก Eco Print ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมรายได้ชุมชน แฟชั่นรักษ์โลก .....

14/11/2023

บรรยากาศกิจกรรมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “อบรมเครือข่ายป่าพรุเพื่อการจัดการไฟป่าและหมอกควันอย่างยั่งยืน" ภายใต้โครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN: SUPA) ให้กับผู้แทนเครือข่ายในพื้นที่ป่าพรุ ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2566 ณ สถานีควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่2 "หมอก กับฝุ่น PM 2.5 ต่างกันอย่างไร?"      ในปัจจุบันเมื่อฝุ่นละอองมีมากขึ้น ก่อตั...
10/11/2023

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่2 "หมอก กับฝุ่น PM 2.5 ต่างกันอย่างไร?"

ในปัจจุบันเมื่อฝุ่นละอองมีมากขึ้น ก่อตัวเป็นกลุ่มควันซึ่งมีความคล้ายกับเมฆหมอกที่เกิดขึ้น แต่จริงๆแล้วมีความแตกต่างกันมาก โดยจะแตกต่างกันดังนี้....
ในธรรมชาติเมฆหมอกจะเกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศใกล้ผิวโลก ตามบรรยากาศมีไอน้ำกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ และเมื่อสัมผัสจะเกิดความรู้สึกเย็นๆ โดยมักจะเกิดขึ้นเฉพาะตอนเช้าตรู่ของวัน

ฝุ่นละออง PM2.5 นั้น เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น การเกิดไฟป่า การเผาทางการเกษตร การเผาในที่โล่งเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การคมนาคมขนส่ง การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งฝุ่นละอองนี้จะเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน และเกิดมากขึ้นในช่วงที่เปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวสู่ฤดูร้อนในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปี ประชาชนควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า
ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

10/11/2023

(วันที่ 2) รวมภาพบรรยากาศกิจกรรม "การฝึกอบรมการใช้โดรนและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อป้องกันและควบคุมไฟป่า" ภายใต้โครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN: SUPA)" ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า

📍เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (10 พ.ย.2566 'ผลกระทบจากไฟป่า' พบเห็นไฟป่า หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดไฟป่าแจ้งสายด่วน 13...
10/11/2023

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (10 พ.ย.2566 'ผลกระทบจากไฟป่า' พบเห็นไฟป่า หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดไฟป่าแจ้งสายด่วน 1362 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง) บน Website

พบเห็นไฟป่า หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดไฟป่าแจ้งสายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง #ไฟป่า #กรมอุทยาน #รณรงค์ไฟป่า #สปอตรณ...

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (10 พ.ย.2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมแก้ปัญหาสถานการณ์ไฟป่า หม...
10/11/2023

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (10 พ.ย.2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมแก้ปัญหาสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ) บน Website

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมแก้ปัญหาสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้น.....

09/11/2023

รวมบรรยากาศกิจกรรม "การฝึกอบรมการใช้โดรนและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อป้องกันและควบคุมไฟป่า" ภายใต้โครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN: SUPA)" ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า

📍เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

วันที่ 8 พฤศจิกายน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าฯ เปิดเผยว่า เวลานี้มีบริษัทเอกชนเข้ามาสนับสนุนกร...
09/11/2023

วันที่ 8 พฤศจิกายน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าฯ เปิดเผยว่า เวลานี้มีบริษัทเอกชนเข้ามาสนับสนุนกรมอุทยานฯให้ตัดเสื้อแจ๊กเก็ต สำหรับให้เจ้าหน้าที่เสือไฟ หรือเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า ของกรมอุทยานฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 300 คน โดยเสื้อแจ๊กเก็ตดังกล่าวนี้ ตัดมาจากผ้า ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ เป็นผ้าที่ไม่ติดไฟ สามารถใส่ป้องกันไฟระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ ช่วยป้องกันความร้อนเป็นอย่างดีให้เจ้าหน้าที่หน่วยเสือไฟ

เตรียมตัดแจ๊กเก็ต ให้เสือไฟใส่ทำงาน ทนไฟ-ทนร้อน 100% มี …

09/11/2023

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2567

https://fb.watch/oc211BeMQz/?mibextid=GL35nR

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ผู้แทน สปฟ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนีประจำประเทศไทย (GIZ...
09/11/2023

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ผู้แทน สปฟ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนีประจำประเทศไทย (GIZ-TH) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมเปิดกิจกรรม "การฝึกอบรมการใช้โดรนและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อป้องกันและควบคุมไฟป่า" ภายใต้โครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN: SUPA)" ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช โดยมีนายธนากร รักธรรม ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สบอ.5 ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม

การฝึกอบรมในครั้งนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการปัองกันและควบคุมไฟป่าจากสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า, สบอ.5, สบอ.6 และ สบอ.6 สาขาปัตตานี เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการไฟป่าและป่าพรุอย่างยั่งยืน เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ในการใช้ภูมิสารสนเทศและอากาศยานไร้คนขับเพื่อการจัดการพื้นที่ป่าพรุจากไฟป่าและหมอกควัน

Update  รายงานข้อเท็จจริงตามข่าว กรมอุทยานฯ (8 พ.ย.2566 ทส.ปรับแผนคุมไฟป่า เปิดยุทธการล็อกเป้า 10 ป่าอนุรักษ์สกัดเผาซ้ำซ...
08/11/2023

Update รายงานข้อเท็จจริงตามข่าว กรมอุทยานฯ (8 พ.ย.2566 ทส.ปรับแผนคุมไฟป่า เปิดยุทธการล็อกเป้า 10 ป่าอนุรักษ์สกัดเผาซ้ำซาก ปรับใช้เจ้าหน้าที่-จ้างชาวบ้านตรึงพื้นที่เสี่ยง 582 จุด) บน Website

ทส.ปรับแผนคุมไฟป่า เปิดยุทธการล็อกเป้า 10 ป่าอนุรักษ์สกัดเผาซ้ำซาก หลังปี 2566 ป่าวอดกว่า 3 ล้านไร่ ปรับใช้เจ้า....

08/11/2023
08/11/2023
07/11/2023
Update ข่าวอธิบดีกรมอุทยานฯ (6 พ.ย.2566 อธิบดีกรมอุทยานฯ ร่วมงานบูรณาการสื่อสารแผนบริหารทรัพยากรน้ำลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำจาก...
07/11/2023

Update ข่าวอธิบดีกรมอุทยานฯ (6 พ.ย.2566 อธิบดีกรมอุทยานฯ ร่วมงานบูรณาการสื่อสารแผนบริหารทรัพยากรน้ำลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำจาก "เอลนีโญ" ประจำปี 2566) บน Website

ฝ่าวิกฤต 'เอลนีโญ' สทนช. วางแผนจัดการน้ำตลอดฤดูแล้ง 2566/2567 เน้นให้ความสำคัญกับน้ำกินน้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษต...

Update ข่าวส่วนภูมิภาคกรมอุทยานฯ (7 พ.ย.2566 'สมาร์ทกริดแม่ฮ่องสอน' ต้นแบบเมืองสีเขียวด้วยพลังงานอัจฉริยะ ขับเคลื่อนสู่ต...
07/11/2023

Update ข่าวส่วนภูมิภาคกรมอุทยานฯ (7 พ.ย.2566 'สมาร์ทกริดแม่ฮ่องสอน' ต้นแบบเมืองสีเขียวด้วยพลังงานอัจฉริยะ ขับเคลื่อนสู่ต้นแบบเมืองท่องเที่ยวสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน) บน Website

มนต์เสน่ห์แห่งเมืองสามหมอกที่เต็มไปด้วยภูเขาเขียวขจีสูงสลับซับซ้อน สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เง.....

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 1 "ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?"       สวัสดีค่ะ หลังจากเทศกาลไฟป่าพรุผ่านไป ทางส่วนควบคุมไ...
01/11/2023

เกร็ดความรู้ เรื่องฝุ่นละออง ฉบับที่ 1 "ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?"
สวัสดีค่ะ หลังจากเทศกาลไฟป่าพรุผ่านไป ทางส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ขอนำเสนอความรู้เรื่องใกล้ตัวที่ทุกท่านจะพบเจอและเป็นปัญหาในช่วงนี้ คือ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทย เริ่มเกิดปรากฎการณ์ฝุ่นละอองปกคลุมอย่างหนาแน่น จึงเป็นเหตุให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สิ่งมวลชนต่างๆ รวมถึงประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น คือ "ฝุ่น PM 2.5" หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron ฝุ่นละเอียดที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ กล่าวคือ ฝุ่นมีขนาดเล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้น ฝุ่นมลพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอย และกระจายไปตามอวัยวะได้ โดยฝุ่นละอองนั้นมีลักษณะขรุขระคล้ายสำลี นอกจากนี้ ฝุ่นละอองยังเป็นพาหะนำสารอื่นๆเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งต่างๆ และสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นาน ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ผ่านการหายใจ จะเกิดการสะสมการสารพิษต่างๆ จึงสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังและมะเร็งต่างๆได้

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า
ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

การประชุมและลงพื้นที่เตรียมพร้อมการดำเนินโครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน ในระหว่างวันที่ 16...
18/10/2023

การประชุมและลงพื้นที่เตรียมพร้อมการดำเนินโครงการการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน

ในระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2566 นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันปราบปราม และควบคุมไฟป่า พร้อมด้วย นายธนากร รักธรรม ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5(นครศรีธรรมราช) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม “การประชุมและลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการใช้พรุอย่างยั่งยืนและบรรเทาหมอกควันในอาเซียน(Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN : SUPA) ณ โรงแรมแกรนด์ฟอจูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

12/10/2023
เกร็ดความรู้เรื่องไฟป่า ฉบับที่ 10 “การป้องกันไฟป่าพรุ“โดยจะแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้...1. การประชาสัมพันธ์ ให้ความร...
12/10/2023

เกร็ดความรู้เรื่องไฟป่า ฉบับที่ 10 “การป้องกันไฟป่าพรุ“
โดยจะแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้...
1. การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการมีส่วนร่วม
เป็นการป้องกันการเกิดไฟป่าพรุที่ต้นเหตุ คือ ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่า และให้ความรู้ด้านไฟป่า ไม่ว่าจะเป็น
๐ การจัดทำเอกสารใหความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือเล่มเล็ก โปสเตอร์ เพื่อให้ความรู้เรื่องป่า การติดป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อขอความร่วมมือในการงดจุดไฟตามแหล่งชุมชน
๐ การให้ความรู้ในรูปแบบให้การศึกษาและอบรม เช่น การให้ความรู้เรื่องไฟป่าในภาคทฤษฎี และการสาธิตวิธีป้องกันไฟป่าและวิธีดับไฟป่า ในภาคปฏิบัติ รวมถึงให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและการดับไฟป่า โดยการจัดทำหมู่บ้านเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (อส.อส.)อีกด้วย

2. การจัดการเชื้อเพลิง
เป็นวิธีการป้องกันไฟป่าเบื้องต้น เพื่อนำเชื้อเพลิงออกจากพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดไฟป่า ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงของไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตรวมถึงการควบคุมไฟป่าได้ง่ายขึ้นด้วย จะทำโดยการ
๐ ชิงเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ทำความสะอาดแนวกันไฟธรรมชาติเพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ โดยเชื้อเพลิงที่เก็บได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้มากมาย เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ปลอดสารพิษอัดแท่ง เป็นต้น
๐ การชิงเผาเชื้อเพลิงโดยกำหนดในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ซึ่งการชิงเผาเชื้อเพลิงอย่างถูกวิธี จะช่วยลดปริมาณเชื้อเพลิงและความรุนแรงของไฟป่าได้ ซึ่งจะต้องทำก่อนเกิดฤดูแล้ง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญ
๐ การทำแนวกันไฟ เป็นแนวกีดขวางทางธรรมชาติซึ่งจะเป็นแนวตั้งรับการรับไฟป่า รวมไฟถึงการป้องกันไฟป่าลุกลามจนควบคุมไม่ได้ เช่น การกำจัดพืช ต้นไม้หรือเชื้อเพลิงให้สะอาดเป็นแถวแนว การทำแนวกันไฟเปียก(wet firebreaks) เป็นต้น

3. การรักษาระดับน้ำ
เนื่องจากในฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ป่าพรุ จะลดต่ำลง ทำให้เสี่ยงก็การเกิดไฟป่าในป่าพรุได้ง่ายดังนั้น การรักษาระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
ดันนั้นการรักษาระดับน้ำป่าพรุให้อยู่ระดับที่ปลอดภัยจึงเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟป่าในป่าพรุได้ ซึ่งจะทำได้โดยการ...
๐ การตรวจวัดระดับน้ำ เพื่อใช้ในการจัดการน้ำให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยอยู่เสมอ
๐ การสร้างทำนบกั้นน้ำและฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน โดยใช้กระสอบทรายกั้นบริเวณทางน้ำไหลออกจากป่าพรุ เพื่อกักน้ำให้อยู่ใยระดับสูงและอยู่ให้นานที่สุดในช่วงฤดูแล้ง

4. การตรวจติดตามและเข้าดับไฟอย่างทันท่วงที
สามารถทำได้โดยการ
๐ จัดตั้งหอดูไฟชั่วคราว เพื่อให้สามารถเห็นพื้นที่ป่าพรุได้อย่างทั่วถึง และง่ายต่อการสังเกตการณ์ และสามารถเข้าไฟดับไฟได้อย่างทันท่วงที
๐ การลาดตระเวน เพื่อตรวจตราการเกิดไฟป่า การบุกรุกพื้นที่ หรือการจุดไฟในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องมีความพร้อมในการดับไฟทันทีที่เกิดไฟป่า
๐ การจัดตั้งหน่วยดับไฟเคลื่อนที่เร็ว โดยจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไฟยังพื้นที่และดับไฟให้เร็วที่สุดเพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น

จัดทำโดย : ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภู...
07/10/2023

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย) บน Website

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการ.....

Update ข่าวอธิบดีกรมอุทยานฯ (นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันควบค...
06/10/2023

Update ข่าวอธิบดีกรมอุทยานฯ
(นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมไฟป่า ปี 2567 มุ่งลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก)
บน Website

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมไฟป่า ปี 2567...

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (กรมอุทยานฯ กับ 21 ขวบปี มุ่งมั่นพิทักษ์พัฒนาการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู ทรัพยากรของประ...
06/10/2023

Update วิดิทัศน์(VTR) กรมอุทยานฯ (กรมอุทยานฯ กับ 21 ขวบปี มุ่งมั่นพิทักษ์พัฒนาการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู ทรัพยากรของประเทศ ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ) บน Website

Update ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานฯ (5 ต.ค.2566 กรมอุทยานฯ เร่งสางปัญหาที่อยู่อาศัย-ทำกินในพื้นที่ป่า เล็งเพิ่มพื้นที่ป่า...
06/10/2023

Update ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานฯ (5 ต.ค.2566 กรมอุทยานฯ เร่งสางปัญหาที่อยู่อาศัย-ทำกินในพื้นที่ป่า เล็งเพิ่มพื้นที่ป่า ร้อยละ 25 ภายในปี 69 ผุดไอเดีย ตั้งหน่วยข่าวกรองอาชญากรรมสัตว์ป่า) บน Website

‘กรมอุทยานฯ’ จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 21 ปี เร่งสางปัญหาที …

การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วันที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. น...
05/10/2023

การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

วันที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในปีงบประมาณ พ.ศ.2567
โดยมีนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์สาขา และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและรับฟังนโยบายจากท่านอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายอรรถพล เจริญชันษา) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฯ (ตึก H.A.slade) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผ่านทางระบบ zoom โดยได้เน้นย้ำให้มีการทำงานแบบบูรณาการ ให้หัวหน้าป่าอนุรักษ์เป็น ceo ในพื้นที่ และเน้นย้ำให้มีการจัดอัตรากำลังแบบมีส่วนร่วมไปเฝ้าระวังตามจุดสกัด/จุดเฝ้าระวัง รวมทั้งสิ้น 1,887 จุด และคาดหวังว่าหากทุกภาคส่วนร่วมมือกันจะทำให้พื้นที่เผาไหม้ลดลง 50% จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกำชับให้ผู้อำนวยการสำนักทุกสำนักช่วยกันติดตามและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เกร็ดความรู้ เรื่องไฟป่า ฉบับที่ 9 รู้หรือไม่... ไฟป่ามีเกือบทั้งปี   ไฟป่าในประเทศไทยนั้น ถือได้ว่ามีเกือบตลอดทั้งปี เน...
04/10/2023

เกร็ดความรู้ เรื่องไฟป่า ฉบับที่ 9 รู้หรือไม่... ไฟป่ามีเกือบทั้งปี

ไฟป่าในประเทศไทยนั้น ถือได้ว่ามีเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากมีการเกิดไฟป่าตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

ในเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาของการเกิดไฟป่าบกในประเทศไทย โดยจะเกิดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยก่อนเข้าสู่ฤดูไฟ หน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ จะมีการจัดการเชื้อเพลิงโดยการชิงเก็บเชื้อเพลิงให้ได้มากที่สุด แล้วนำเชื้อเพลิงที่เก็บได้ มาอัดก้อน แล้วนำไปขายเพื่อนำรายได้เข้าสู่ชุมชนต่อไป ในช่วงกลางของฤดูไฟป่า มีการดำเนินการขอความร่วมมือจากประชาชน งดใช้ไฟในพื้นที่เกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่า รวมถึงนโยบายการประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน ในการสร้างความรับรู้แก่ชุมชนในการป้องกันไฟป่า แล้วเมื่อไฟป่าบกดับลง เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน...

ในเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน จะเกิดไฟป่าพรุในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งในภาคใต้ถือว่าเป็น ฤดูน้ำแล้ง ทำให้น้ำใต้ผิวดินแห้งมากกว่าช่วงเดือนอื่นๆ โดยการรักษาระดับน้ำ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันไฟป่าในป่าพรุ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการจัดทำฝายขนาดเล็กทั่วบริเวณพื้นที่ป่าพรุ และใช้ประตูน้ำกั้นถาวร ในการช่วยรักษาระดับน้ำ และแหล่งน้ำสำรองฝนการดับไฟป่า ในพื้นที่ป่าพรุ

ดังนั้น โปรดช่วยกัน ดูแลเฝ้าระวังผืนป่า ไม่ให้เกิดไฟป่า เพื่อป่าที่อุดมสมบูรณ์ต่อไป...

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือด้านควบคุมไฟป่า ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

04/10/2023
02/10/2023

“ประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่า เนื่องจากการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่อนุรักษ์ ครั้งที่2/2566”

วันที่ 29 กันยานน 2566 เวลา 10.00 น. นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่าเลขานุการฯ คณะทำงาน ตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 3778/2566 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาไฟป่า เนื่องจากการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่อนุรักษ์ โดยมีนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะถึงร่างแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งฝ่ายเลขาจะได้รวบรวมทุกความเห็น และนำเสนออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อแจ้งเวียนแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

การประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00...
02/10/2023

การประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า เป็นผู้แทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมด้วยนางสาวชลธิดา เชิญขุนทด นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม "การประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5" ผ่าน Zoom Meeting ณ ห้องประชุมชั้น 4 สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า โดยมี ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานในการประชุมฯ

ที่ประชุมได้กล่าวถึงการนำแผนงาน วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) มาสนับสนุนการจัดการระบบ Big Data เพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนฝุ่นละออง PM2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ ทั้งในการลดการเผาพื้นที่เกษตร/เกษตรในพื้นที่สูง การลดการเผาและการจัดการในพื้นที่ป่าไม้ การลดควบคุมปริมาณการปล่อยไอเสียจากการคมนาคมในพื้นที่เมือง การยกระดับมาตรการและกลไกการลดฝุ่นควันข้ามแดน และการบูรณาการฐานข้อมูลกลางเพื่อติดตาม ระบบคาดการณ์ ระบบเตือนภัย และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ สู่แนวคิดและข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ของรัฐบาล ขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดต่อไป

Update ข่าวส่วนภูมิภาคกรมอุทยานฯ (1 ต.ค.2566 อุทยานแห่งชาติศรีลานนา  ฝึกอบรมชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ SMART Patrol  นำปฏิบั...
01/10/2023

Update ข่าวส่วนภูมิภาคกรมอุทยานฯ (1 ต.ค.2566 อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ฝึกอบรมชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ SMART Patrol นำปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่า) บน Website

NORTH อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ฝึกอบรมชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ SMART Patrol นำปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่า

ที่อยู่

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรุงเทพมหานคร
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน กรุงเทพมหานคร

แสดงผลทั้งหมด
#}