TAT Academy ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก TAT Academy, หน่วยงานราชการ, 1600 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี, กรุงเทพฯ .

“Tourism Industry Influencers’ Shaper” - เสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวมืออาชีพในระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ งานวิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว และการพัฒนาต่อยอดความคิดสู่ความสร้างสรรค์ทาง นวัตกรรมด้านตลาดการท่องเที่ยวยุคใหม่

03/03/2025
ใครชอบดื่มชายกมือขึ้น! รู้หรือไม่ว่าในอนาคตเราอาจไม่มีชาให้ดื่มแล้วนะ!“มัทฉะ” และ “ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มโปรดของใครหลา...
01/03/2025

ใครชอบดื่มชายกมือขึ้น! รู้หรือไม่ว่าในอนาคตเราอาจไม่มีชาให้ดื่มแล้วนะ!
“มัทฉะ” และ “ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มโปรดของใครหลาย ๆ คน แน่นอนว่าด้วยความนิยมที่ล้นหลามทำให้มัทฉะหายากเป็นทุนเดิม แต่ปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาไม่เพียงพอต่อความต้องการคือ “ภาวะโลกรวน”
เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น และเราจะรับมืออย่างไร? หาคำตอบได้ในโพสต์ที่ นำมาฝากทุกคนได้เลย!
https://www.facebook.com/share/p/1ANTowpFLU/

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มัทฉะกลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตในหมู่คนรักสุขภาพทั่วโลก รวมถึงในไทยเอง เพราะมัทฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการอักเสบและอาจลดความเสี่ยงของบางโรค และมัทฉะก็มีคาเฟอีนแต่ปลดปล่อยพลังงานช้า ช่วยให้เราตื่นตัวโดยไม่ทำให้ใจสั่นเหมือนกาแฟ
แน่นอนว่า มัทฉะฟีเวอร์นี้ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่สิ่งที่ซ้ำเติมปัญหาคือ #การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
จริง ๆ แล้ว มัทฉะและชาเขียวทั้งสองใช้ใบชา Camellia sinensis เหมือนกัน แต่ใบชาที่นำมาทำมัทฉะจะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาเป็นเวลาประมาณ 20-30 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งช่วยเพิ่มระดับคลอโรฟิลล์และกรดอะมิโน ทำให้มัทฉะมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า ต่างจากชาเขียวที่ปลูกภายใต้แสงแดดตลอด และหลังจากเก็บเกี่ยว ในขณะที่ใบชาเขียวผ่านกรรมาวิธีต่าง ๆ และอบให้แห้งใส่ถุงชาแล้วใช้ต่อ แต่มัทฉะจะต้องบดให้ละเอียดจนได้เป็นผงมัทฉะก่อนนำไปใช้งาน
ฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็ต่าง สำหรับมัทฉะจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (พฤษภาคม-มิถุนายน) แต่ชาเขียวสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายรอบต่อปี ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง (เมษายน - กันยายน)
ความยุ่งยากนี้ก็ทวีคุณเมื่อเจอกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ อย่างเช่นเมื่ออุณหภูมิโลกสูงเกินไป ก็จะทำให้ใบชาสูญเสียคุณภาพและรสชาติ ฝนที่ตกไม่ตามฤดูกาลส่งผลต่อการเติบโตของใบชา ภัยแล้งทำให้ต้นชาโตช้าและผลผลิตน้อยลง และการเปลี่ยนแปลงของระดับความชื้นก็ทำให้พืชเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น
อีกทั้งภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นผลจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เช่น ไต้ฝุ่นและน้ำท่วม ก็สร้างความเสียหายให้กับแหล่งเพาะปลูกชา ทำให้การผลิตมัทฉะมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว
เพื่อรับมือกับปัญหานี้ ผู้ผลิตมัทฉะและผลผลิตอื่น ๆ ก็ใช้นวัตกรรม และหาวิธีที่จะทำให้ผลผลิตยังคงมีตามเดิมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การใช้เทคนิคเกษตรอินทรีย์เป็นต้น
มัทฉะไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน หากปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในอนาคต ผลผลิตที่ลดลงก็อาจทำให้เราต้องบริโภคเครื่องดื่มนี้ในราคาที่แพงขึ้น เช่นเดียวกับกาแฟและโกโก้ ที่ก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เราเองในฐานะผู้บริโภคก็สามารถมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อที่จะไม่ทำร้ายโลกและทำให้ทุกอย่างส่งผลกลับมาที่เรา โดยเลือกซื้อจากแหล่งที่ผลิตอย่างรับผิดชอบ และตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อวัตถุดิบอันล้ำค่านี้

ที่มา
https://matcha.com/blogs/news/matcha-vs-coffee-environmental-sustainability

https://www.teaandcoffee.net/feature/35124/the-impact-of-climate-change-on-tea-production-quality/?utm_source=chatgpt.com

https://www.chalait.com/blogs/chalait-cafe-news/the-environmental-impact-of-matcha-tea-production-sipping-green-thinking-green?srsltid=AfmBOopMz0zEhLQcWB3Yi23iO_CMEjMBaXnOlFUgiS7DHMn9VY6Nnhpg

https://www.forbes.com/sites/sap/2024/12/10/2024-matcha-crisis-what-went-wrong/?utm_source=chatgpt.com

https://besttealeaves.com/matcha-shortage-whats-behind-the-green-tea-crisis/

https://www.kcinterfoods.co.th/matcha-vs-green-tea/ #:~:text=%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87,%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B0

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1008583871307429&id=100064674766244&set=a.625334522965701

https://www.kcinterfoods.co.th/matcha-vs-green-tea/ #:~:text=%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87,%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B0

“Well-Generative Co-Creation” เก่าแต่ใหม่ สร้างประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างที่ถูกลืมเราทุกคนคงเคยเห็นอาคารหรือพื้นที่เก่ารกร...
21/02/2025

“Well-Generative Co-Creation” เก่าแต่ใหม่ สร้างประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างที่ถูกลืม
เราทุกคนคงเคยเห็นอาคารหรือพื้นที่เก่ารกร้างมาก่อน เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าเราจะจัดการสิ่งก่อสร้างทิ้งร้างเหล่านี้ยังไง นอกจากทำลายทิ้งแล้ว เรายังมีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการจัดการสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช้แล้ว
TAT Academy จะพาทุกท่านเดินทางรอบโลก เพื่อสำรวจ 4 แหล่งท่องเที่ยวในประเทศต่าง ๆ ที่เกิดจากการฟื้นฟูปรับปรุงพื้นที่หรือสิ่งก่อสร้างเก่าให้กลายมาเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือ “Well-Generative Co-Creation”
4 สิ่งเก่า สู่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ Well-Generative Co-Creation
1. ถังน้ำมันร้าง สู่พิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติศาสตร์
Oil Tank Culture Park - Seoul, South Korea
6 ถังน้ำมันร้างขนาดยักษ์ที่มีอายุกว่า 40 ปี ตั้งอยู่ในเขตมาโพในกรุงโซล ถูกชุบชีวิตขึ้นมาเป็น “Oil Tank Culture Park” โดยถังน้ำมันทั้ง 6 จะถูกแบ่งออกเป็นโซนที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ บ้างก็เป็นโซนอเนกประสงค์สำหรับจัดคอนเสิร์ต นิทรรศการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
2. พื้นที่ร้างใต้สะพาน สู่พื้นที่สีเขียวเชื่อมชุมชน
One Green Mile - Mumbai, India
โปรเจกต์ One Green Mile เข้าไปพัฒนาพื้นที่ใต้สะพาน “The Senapati Bapat Marg” ให้มีทั้งที่ออกกำลังกาย ที่นั่งสำหรับพักผ่อน พื้นที่ทำการแสดง และพื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ มอบสุขภาพดีที่แบบองค์รวมแบบเข้าถึงได้ง่ายให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและผู้คนด้อยโอกาส
3. นิคมอุตสาหกรรมร้าง สู่ลานกิจกรรมสาธารณะ
Can Ribas - Palma, Spain
โรงงาน Can Ribas ในเมืองปัลมาประเทศสเปนถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และได้กลายมาเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับชนชั้นแรงงานในละแวกนั้น โดยอาคารที่มีขนาดใหญ่ถูกใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติศาสตร์ของโรงงาน Can Ribas ส่วนอาคารที่มีขนาดเล็กลงมาก็กลายมาเป็นศูนย์วัฒนธรรม และมีบางส่วนที่เป็นพื้นที่จัดงานอีเวนต์สาธารณะ มอบความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้อยู่อาศัยนั่นเอง
4. ทางรถไฟร้าง สู่สวนสาธารณะลอยฟ้า
The High Line - New York, USA
เมื่อทางรถไฟร้างยาวกว่า 2 กิโลเมตรแห่งนิวยอร์กกลายมาเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า จากแนวคิดเมืองแห่งนวัตกรรมและการปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร (Adaptive Reuse) เป็นสวนที่แต่งเติมสีเขียวอันเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้กับเมืองที่มีฉายาว่า “ป่าคอนกรีต” อย่างนิวยอร์ก มีนักท่องเที่ยวมากถึง 8 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับโครงการคล้าย ๆ กันในหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/4bcxvsa

14/02/2025

มุ่งหน้าสู่ขอบฟ้าแห่งอนาคต หลังยุคโควิด-19 อุตสาหกรรมการบินต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง?
ในยุคที่ทุกอย่างต้องดำเนินไปอย่างไร้การสัมผัส พร้อมทั้งการเข้ามาของแนวคิดเรื่องความยั่งยืนที่ส่งอิทธิพลต่อทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เทคโนโลยีไร้สัมผัสและระบบไบโอเมตริกซ์ และอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการบินหลังยุคโควิด-19 อย่างไรบ้าง?
หาคำตอบไปพร้อมกันในคลิปวิดีโอ ‘Air Transportation - Navigating New Horizons: บุกเบิกขอบฟ้าแห่งอนาคต’ ที่ นำมาฝากทุกคนได้เลย
https://www.facebook.com/share/v/1A3Ur2RQEc/

‘Nature Positive Tourism’ เที่ยวธรรมชาติ สร้างผลกระทบเชิงบวกNature Positive หรือ ‘ธรรมชาติเชิงบวก’ เป็นกรอบแนวคิดเกี่ยวก...
07/02/2025

‘Nature Positive Tourism’ เที่ยวธรรมชาติ สร้างผลกระทบเชิงบวก
Nature Positive หรือ ‘ธรรมชาติเชิงบวก’ เป็นกรอบแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ หมายถึงการหยุดทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และหันมาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งกว่าเดิม เพื่อแก้ไขวิกฤตโลกรวน
ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจะสามารถนำเอาแนวคิด Nature Positive ไปปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง?
แนวคิด Nature Positive ทั้ง 4 ด้าน
1. Nature-Positive Entrepreneur
ผู้ประกอบการควรเอาสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจในการทำธุรกิจ ช่วยเสริมสร้างซ่อมแซมส่วนที่เสียหายด้วยเช่นกัน และจะต้องคิดอย่างมีแบบแผน เอาใจใส่ทุกขั้นตอนในการทำธุรกิจ คัดสรรพาร์ทเนอร์ ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทุกห่วงโซ่ อีกหนึ่งแก่นของ Nature Positive คือแนวทางจะต้อง ‘ชัดเจน’ และ ‘วัดผล’ ได้ เพื่อที่จะนำเอาจุดบกพร่องต่าง ๆ ไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
2. Nature-Positive Urban
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมืองใหญ่นี้เองที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายด้าน ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเมืองควรเฟ้นหาหนทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานที่ต่าง ๆ แก้ปัญหาขยะ ลดการบริโภคเกินความจำเป็น (Overconsumption) สร้างระบบน้ำที่ยั่งยืน และสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. Nature-Positve Financing
ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Net Zero หนึ่งในแนวทางการจัดการ Nature Positive ในมุมของการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการอาจช่วยสร้างการเงินสีเขียวด้วยการทำระบบ Carbon Limit Card ซึ่งจะมอบเครดิตเงินคืนให้แก่นักท่องเที่ยวที่ออกท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก เช่น การส่งคืนขวดน้ำใช้แล้วให้กับทางที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยว เพื่อแลกกับเครดิตเงินคืน หรือส่วนลดในการใช้บริการครั้งต่อ ๆ ไป
4. Nature-Positive Local
แนวคิด Nature Positive มีข้อควรระวังอยู่บางประการ ได้แก่ การผลักภาระให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่อาจเป็นการทำลายถิ่นที่อยู่หรือแหล่งทำกินของกลุ่มชนพื้นเมือง สร้างความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นเพราะขาดที่ทำกิน ผู้ประกอบการควรระวังการละเลยการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่ละทิ้งใครไว้ข้างหลัง ควรให้ความสำคัญแก่สวัสดิภาพของกลุ่มเปราะบางหรือชุมชนท้องถิ่นไปควบคู่กับการกอบกู้ธรรมชาติ เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ทั้งธรรมชาติและมวลมนุษยชาติ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/42L1vJr

‘Liquid Tourism’ ท่องเที่ยวแบบลื่นไหล หลากหลาย และเชื่อมต่อรู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว การออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ...
31/01/2025

‘Liquid Tourism’ ท่องเที่ยวแบบลื่นไหล หลากหลาย และเชื่อมต่อ
รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว การออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ๆ นั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะทำได้ ในยุคของการโอบรับความหลากหลายและความเท่าเทียม ทั้งเชื้อชาติ เพศ ความพิการ และอื่น ๆ ผู้ประกอบการจะสามารถสร้างการท่องเที่ยวที่ ‘ลื่นไหล’ ‘หลากหลาย’ และ ‘เชื่อมต่อ’ อย่างไรได้บ้าง?
จะพามาทำความรู้จักกับแนวคิด ‘Liquid Tourism’ หรือการทำธุรกิจท่องเที่ยวแบบ ‘ลื่นไหล’ ที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อโอบรับความหลากหลายและความเท่าเทียมอย่างแท้จริง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
1. Ethno-Scapes - สัมผัสและเข้าใจ
ผู้ประกอบการไม่ควรเข้าไปเป็น ‘ผู้กอบกู้’ แต่ควรเข้าไปมีบทบาทในเชิงของ ‘พันธมิตร’ ที่จะร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวแบบให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของชนชาติพันธุ์เพื่อเกิด ‘ความเข้าอกเข้าใจ’ (Empathy) พร้อมสอดแทรกการตระหนักรู้ถึงปัญหาที่ชนกลุ่มน้อยต้องเผชิญ และไม่ควรทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกว่าชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ ‘แปลกใหม่’ (Exotic) แต่ควรให้เกียรติและเคารพในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
2. Rainbow Journeys - เส้นทางสีรุ้ง
เพราะมนุษย์เรามี ‘ความลื่นไหลทางเพศ’ ตามตัวอักษรย่อนิยามทางเพศ LGBTQIAN+ หรือที่เรารู้จักในนามของ ‘กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ’ พวกเขากำลังท่องเที่ยวและแสวงหาพื้นที่ปลอดภัยซึ่งพวกเขาจะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่
นี่เป็นโอกาสทางธุรกิจก็จริง แต่ผู้ประกอบการควรระมัดระวังในเรื่องของ Rainbow Washing (การใช้ ‘สีรุ้ง’ อันเป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศ เป็นเครื่องมือทางการตลาดโดยขาดความเข้าใจ) ดังนั้นการออกแบบสินค้าและบริการนั้นควรเกิดจากความตระหนักรู้และเข้าอกเข้าใจความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อเหตุผลทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
3. Barrier-free Paths - เที่ยวอย่างไร้อุปสรรค
ธุรกิจท่องเที่ยวที่จะสามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวได้ทั่วถึงอย่างแท้จริง คือธุรกิจที่คำนึงถึงความต้องการของผู้พิการด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น ใช้แนวคิดการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นมิตรกับทุกคน (Universal Design) เช่น อักษรเบรลล์ในลิฟต์ ป้ายบอกทางขนาดใหญ่ มีภาพหรือไอคอนที่ชัดเจน
นอกจากนี้ควรฝึกอบรมพนักงานให้สามารถดูแลผู้พิการได้อย่างเหมาะสม เช่น วิธีช่วยเหลือขึ้นลงรถ เข็นกระเป๋า หรือการดูแลปัญหาเฉพาะหน้าอื่น ๆ นอกจากนี้ก็อาจมีการทำงานร่วมกับสมาคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถออกแบบบริการที่ตรงความต้องการอย่างแท้จริง
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/3Q03G4i

‘New Curve Vacation 4.0’ เมื่อ ‘Vacation’ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย น...
24/01/2025

‘New Curve Vacation 4.0’ เมื่อ ‘Vacation’ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย นอกจาก ‘Wellcation’, ‘Staycation’, ‘Coolcation’ ที่เราคุ้นเคยแล้วยังมีเทรนด์ ‘-cation’ อะไรอีกบ้าง และผู้ประกอบการสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด หรือสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ให้ลงตัวขึ้นได้อย่างไร? TAT Academy ได้สรุปมาให้แล้ว
1. Unemploymentcation ตกงานแต่ไม่ตกใจ
ถึงแม้การ Lockdown ช่วงโควิด-19 จะจบแล้ว แต่อัตราว่างงานก็ยังคงสูงอยู่ ผู้คนที่ว่างงานบางส่วนจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ช่วงเวลานี้ในการออกเดินทางท่องเที่ยวพักใจ ก่อนกลับเข้าสู่การทำงานอีกครั้ง พวกเขามองหาบรรยากาศแหล่งท่องเที่ยวที่ชวนให้ผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และราคาย่อมเยา เนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้
2. Midlife-cation กู้วิกฤตวัยกลางคน
Gen X และ Gen Y บางคนอาจกำลังเผชิญกับภาวะ ‘Midlife Crisis’ หรือ ‘วิกฤตวัยกลางคน’ ส่งผลให้เกิดความเครียด ไม่มั่นคงทางอารมณ์ และหมดไฟ หนึ่งในวิธีที่บรรเทาความทุกข์คือการออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ พวกเขามองหากิจกรรมที่สนุกสนาน หรือพื้นที่การพบปะของผู้ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน และยังมีแนวโน้มที่จะท่องเที่ยวกับครอบครัว จึงมองหาที่พักและแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับคนทุกวัยในครอบครัว
3. Alphacation อัลฟาพาท่องเที่ยว
เมื่อ ‘เจนอัลฟา’ จะมาเป็นผู้นำกลุ่มต่อไปในอนาคต ทิศทางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะถูกกำหนดโดยพวกเขา แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคตจึงอาจเป็นการบูรณาการเทคโนโลยี จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น บริการแบบ Personalized และโดยส่วนใหญ่ยังชื่นชอบการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ตโฟน และนาฬิกาสมาร์ตวอตช์ ที่พักหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ จึงควรจัดหาอุปกรณ์ไฮเทคเพื่ออำนวยความสะดวก
4. Pioneeracation นักท่องเที่ยวคนแรก
เมื่อแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังอาจถูกมองว่าซ้ำซากจำเจเสียแล้ว นักท่องเที่ยวบางกลุ่มกำลังต้องการที่จะแหวกหมุดหมายเดิม ๆ และสำรวจพื้นที่ใหม่ ๆ ซึ่งผู้ประกอบการก็อาจไม่ต้องมองหาที่ไหนไกล หากแต่เป็นการผลักดันสถานที่เล็ก ๆ ในชุมชน สวนสาธารณะเล็ก ๆ อันแสนสงบที่ให้ความรู้สึกว่านักท่องเที่ยวได้เป็น ‘คนแรก’ ที่ได้ค้นพบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ไม่เหมือนใคร
5. Regeneracation ท่องเที่ยวและฟื้นสร้าง
นักท่องเที่ยวสายรักษ์โลก หรือ ‘Eco-Traveller’ มองหาทริปที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยิ่งไปกว่านั้น คือทริปที่จะช่วยกู้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการอาจจัดหาโปรแกรมท่องเที่ยวเกี่ยวกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างกิจกรรมปลูกป่า และควรคำนึงถึงชุมชนโดยรอบ สนับสนุนพัฒนาและส่งเสริมความเป็นอยู่ผู้คนในชุมชนเพื่อความยั่งยืนของทุกฝ่าย
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/4jvPhuk

คุณกำลังกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนเดือดอยู่หรือเปล่า? Climate Anxiety คืออะไร?ปัจจุบัน โลกของเรากำลังประสบกับภาวะโลกเดือด ซึ...
17/01/2025

คุณกำลังกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนเดือดอยู่หรือเปล่า? Climate Anxiety คืออะไร?
ปัจจุบัน โลกของเรากำลังประสบกับภาวะโลกเดือด ซึ่งนำมาสู่ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมมากมาย มนุษย์เองก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติครั้งสำคัญ อันเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์เอง ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม สภาพอากาศที่แปรปรวน สัตว์นานาชนิดสูญพันธุ์ และท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เสียเอง
ในขณะเดียวกัน มนุษย์เองก็เริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ที่กำลังจะส่งผลมาถึงตนเอง และมันสร้างความวิตกกังวลใจให้ผู้คนส่วนหนึ่งไม่มากก็น้อย จนเกิดเป็น ‘Climate Anxiety’
กลุ่มคนที่มีภาวะ Climate Anxiety จะมีใครบ้าง หรือหากคุณเป็นผู้ที่มีภาวะ Climate Anxiety จะสามารถรับมือได้อย่างไร? หาคำตอบได้ในบทความของ Environman ที่ นำมาฝากทุกคนได้เลย!
https://www.facebook.com/share/p/15ZUxAQ9qj/

‘Climate Anxiety’ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ท่ามกลางความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าปัญหาดังกล่าวกำลังส่งผลต่อสภาพจิตใจทั้งความโศกเศร้า สิ้นหวัง หดหู่ และรู้สึกผิด หากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกำลังทำให้คุณท้อแท้ นี่คือวิธีจัดการ
“โลกกำลังร้อนเกิน 1.5°C”, “เกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่” หรือ “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์” เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน จนทำให้เราหลายคนรู้สึก ‘เสียใจ’ กับเรื่องราวดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่คำว่า ‘Climate Anxiety’ เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ
Anxiety คืออะไร?
ตั้งแต่เริ่มมีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงทศวรรษ 1970 การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศก็ได้กลายเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับทั่วไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยามีโอกาสได้ศึกษาผลกระทบของหัวข้อนี้ต่อความเป็นอยู่และสุขภาพจิตของผู้คน
โดยพวกเขาใช้คำนิยามนี้มากที่สุดก็คือ ‘ความกังวลต่อหายนะด้านสิ่งแวดล้อมเรื้อรัง’ ตามคำนิยามของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ขณะเดียวกันนักปรัชญาสิ่งแวดล้อมชาวออสเตรเลียอย่าง Glenn Albrecht เองก็ได้ให้คำจัดกัดความไปในทางเดียวกันว่า
“ความรู้สึกทั่วไปที่ว่ารากฐานทางนิเวศวิทยาของการดำรงอยู่กำลังพังทลาย” และ “ความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเราในการสนับสนุนสิ่งแวดล้อม”
กล่าวคือโดยทั่วไปแล้ว เป็นความทุกข์ใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อโลก ต่อประเทศ และต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นกับในระยะยาว ทั้งผลกระทบต่อคนรุ่นปัจจุบันและต่อคนรุ่นลูกหลาน ตามคำกล่าวของ Sarah Lowe นักจิตวิทยาคลินิกและรองศาสตราจารย์ในภาควิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่ Yale School of Public Health
#งานวัจิยเกี่ยวกับความวิตกกังวลด้านสภาพอากาศ
ในปี 2020 องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อม Friends of the Earth ระบุว่าคนหนุ่มสาวอายุ 18-24 ปีมากกว่า 2 ใน 3 ประสบกับความวิตกกังวลเกี่ยสภาพาอากาศ โดยให้เหตุผลไว้ว่า
“เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะได้รับผลกระทบที่เลวร้ายลงจากความโกลาหลของสภาพอากาศ จึงไม่น่าแปลกใจที่คนหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ มีความกังวลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับการไม่มีการดำเนินใด ๆ ของรัฐบาล” Aaron Kiely นักรณรงค์ด้านสภาพอากาศของ Friends of the Earth กล่าว
ขณะเดียวกันในปี 2021 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งก็ได้ขยายขอบเขตของการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงระดับความวิตกกังวลเกี่ยวกับความวิตกกังวลของคนหนุ่มสาวกว่า 10,000 คนใน 10 ประเทศ ซึ่งได้ผลลัพธ์ว่าผู้เข้าร่วมงานวิจัยจากทุกประเทศมีความกังวล โดย 59% กังวลมากหรือมากที่สุด และ 84% กังวลอย่างน้อยปานกลาง
ดังนั้นจึงค่อนข้างชัดเจนว่าคนรุ่นใหม่กำลังประสบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ และในความเป็นจริงแล้ว ผู้เข้าร่วมมากกว่า 50% ต่างก็รายงานถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันไปแต่เป็นไปในทางลบคือ เศร้า วิตกกังวล โกรธ ไร้พลัง ไร้หนทาง และรู้สึกผิด กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
#วิธีรับมือเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
แม้ว่าข่าวสารและการพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่วนใหญ่จะดูน่าตกใจ แต่ในหมู่ข่าวร้ายเหล่านั้นก็ยังมีข่าวดีที่น่าชื่นใจสอดแทรกขึ้นมาบ้าง ทั้งการค้นพบใหม่เกี่ยวกับวาฬ หรือแม้แต่เรื่องน่ารัก ๆ อย่างน้องหมาน้องแมวทั่วโลก
ดังนั้นหากคุณรู้สึกเศร้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น บางทีอาจลองหาคลิปหมาแมวน่ารัก ๆ มาดูให้ผ่อนคลาย หรือหากไม่ได้ผล ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำไปออกไปเดินเล่น ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ คุยกับเพื่อน ๆ และทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนุกเพื่อเพิ่มพลังบวกให้กับจิตใจ
“แต่การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นหนึ่งในวิธีที่ทรงพลังที่สุดในการต่อสู่กับความสิ้นหวังและความรู้สึกไร้ทางเลือก ดังนั้นจงลงมือทำบางอย่าง ไม่ใช่ในฐานะปักเจกบุคคล แต่ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่ม” Anthony Leiserowitz เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ Yale Program on Climate Change Communication และนักวิจัยอาวุโสที่ Yale School of the Environment Leiserowitz กล่าว
การแยกขยะ ลดใช้พลาสติก เลือกซื้อของที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมรักษ์โลกอื่น ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ต่างเป็นสิ่งที่สำคัญและเชื่อเถอะว่ามีผู้คนอีกนับล้านคนที่ทำสิ่งคล้าย ๆ กันเพื่อโลกของเรา และเราได้รับสิทธิพิเศษในการแบ่งปันเรื่องราวเพื่อสร้างความหัวงและเป็นแรงบันดาลใจให้คนอีกหลายคนหันกลับมารักษ์โลกเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยอดเยี่ยมในการจัดการกับความวิตกกังวลด้านสภาพอากาศ
ที่มา
https://www.nrdc.org/stories/its-time-talk-about-climate-anxiety
https://www.health.harvard.edu/blog/is-climate-change-keeping-you-up-at-night-you-may-have-climate-anxiety-202206132761
https://earth.org/what-is-climate-anxiety/
https://sustainability.yale.edu/explainers/yale-experts-explain-climate-anxiety #:~:text=LOWE%3A%20Climate%20anxiety%20is%20fundamentally,world%2C%20including%20one%27s%20own%20descendants
Photo: Lara Henderson

สรุป 4 เทรนด์ “Trawellness” น่าจับตามอง ปี 2025TAT Academy พาไปสำรวจ 4 เทรนด์ “Trawellness” หรือเทรนด์สุขภาวะที่จะส่งอิท...
10/01/2025

สรุป 4 เทรนด์ “Trawellness” น่าจับตามอง ปี 2025
TAT Academy พาไปสำรวจ 4 เทรนด์ “Trawellness” หรือเทรนด์สุขภาวะที่จะส่งอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวในปี 2025 จากการคาดการณ์ของ TCDC และ Euromonitor International เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวรับมือกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างทันท่วงที
Well-topia - มหานครแห่งสุขภาวะ
เมื่อผู้คนมองหาความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น แนวคิด Well-topia คือแนวคิดเมืองแห่งอนาคตซึ่งจะมาตอบโจทย์ความต้องการเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนทุกกลุ่ม ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสุขภาวะได้อย่างทั่วถึงและดีที่สุด ซึ่งทำให้มีแนวโน้มว่าเมืองลักษณะเช่นนี้จะเป็นหมุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบ Bleisure หรือการท่องเที่ยวไปด้วยและทำธุรกิจไปด้วย
Seen Space - พื้นที่แห่งตัวตน
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคแห่งความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว และความพิการ ผู้คนต่างเสาะหาพื้นที่ที่พวกเขาจะสามารถเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ ผ่านการออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศหรือเมืองต่าง ๆ ที่ตรงกับตัวตนและความสนใจของพวกเขา เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าได้รับการ “มองเห็น” และได้รับความเข้าใจ ซึ่งพื้นที่ปลอดภัยนี้จะสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับผู้คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม
Refueling TraWellness - เติมเต็มหัวใจ
ผลพวงจากการระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจนถึงตอนนี้ จากผลสำรวจ Lifestyle Survey ของ Euromonitor International พบว่า Gen Z และ Gen Y นั้น เป็นช่วงวัยที่ใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองช่วงวัยนั้นเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญ แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการเติบโตของการให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น
Metamorphic Cities - เมืองที่ไม่มีวันหลับใหล
เพราะผู้คนเบื่อความจำเจและซ้ำซาก และมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเมืองจึงต้องมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน โดย Metamorphic Cities ได้มีการนำเอาแนวคิด Feminism (สตรีนิยม) มาปรับใช้กับมิติของการออกแบบเมือง นำไปสู่การสร้างเมืองที่โอบรับความหลากหลาย ไม่แบ่งแยก (Inclusive Design) เพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้คนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
อ่านบทความเต็มได้ที่: https://bit.ly/4gPkCWV

เพียงครึ่งปีแรกของปี 2024 ตลาด Green Economy ทั่วโลกมีมูลค่าตลาดรวมถึง 7.2 ล้านล้านดอลลาร์ กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตแข...
03/01/2025

เพียงครึ่งปีแรกของปี 2024 ตลาด Green Economy ทั่วโลกมีมูลค่าตลาดรวมถึง 7.2 ล้านล้านดอลลาร์ กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตแข็งแกร่งที่สุดเป็นอันดับสองในรอบทศวรรษที่ผ่านมา
Eco Active กำลังเป็นสิ่งที่มีผลต่อโลกธุรกิจเป็นอย่างมากทั้งในมุมมองของผู้ประกอบการหรือแม้แต่ผู้บริโภคเองก็เช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาสนใจ 3 สิ่ง คือ “Profit, People, Planet” มากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ของตัวเองเติบโตต่อไปได้อย่าง “ยั่งยืน”
เชิญทุกคนเข้าไปทำความรู้จักกับตลาดสีเขียวพร้อม ๆ กัน กับบทความ “Going Green.. ‘Growing’ Green ตลาดสีเขียวมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 10 ปี”
https://www.facebook.com/share/p/1E13xCcSD1/

“Profit, People, Planet” 3 คำที่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ควรจะทำอย่างไรให้ทุกคำเกิดขึ้น และ “ยั่งยืน” ต่อโลกและแบรนด์
Eco Active คือกระแสที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมและสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นสิ่งที่กลุ่มคนรุ่นใหม่กว่าครึ่งโลกมองหา ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ พากันเกาะขบวนกระแสนิยมนี้ โดยมีจุดหมายสำคัญคือการสร้างรายได้มหาศาล และเป็นที่จำจดในฐานะ “แบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ดีต่อสิ่งแวดล้อม”
ปัจจุบัน เศรษฐกิจสีเขียวหรือ Green Economy ถูกจัดลำดับให้เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกในปี 2024 โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม แนวทางธุรกิจรักษ์โลก (Green Business) ไม่ใช่กระแสหรือแฟชั่นชั่วคราว แต่ต้องลงมือทำด้วยความจริงใจและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง หากแบรนด์ต้องการเดินเกมในสนามนี้ ต้องสื่อสารอย่างโปร่งใสและเชื่อมโยงกับตัวตนของธุรกิจ ไม่ใช่การฟอกเขียว (Greenwashing) เพื่อสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น
ดังนั้น การที่ธุรกิจหนึ่งจะเติบโตขึ้นจนสร้างกำไร (Profit) ได้นั้น ไม่ใช่เพียงอาศัยคุณภาพของสินค้า แต่ยังต้องเติบโตไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อผู้คนในสังคม (People) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) นั่นจึงจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
อ่านบทความ "Going Green.. ‘Growing’ Green ตลาดสีเขียวมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 10 ปี" ได้ที่: https://bit.ly/3D3YKIA





ทำความรู้จัก Nordic Therapy บำบัดร้อนสลับเย็นตามสไตล์นอร์ดิก!อีกหนึ่งตัวเลือกเอาใจนักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพ! ชวนส่อง ‘No...
27/12/2024

ทำความรู้จัก Nordic Therapy บำบัดร้อนสลับเย็นตามสไตล์นอร์ดิก!
อีกหนึ่งตัวเลือกเอาใจนักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพ! ชวนส่อง ‘Nordic Therapy’ หรือ ‘นอร์ดิกบำบัด’ หมายถึง การบำบัดตามแบบฉบับวิถีดั้งเดิมของชาวสแกนดิเนเวียนโบราณ ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 เลยทีเดียว นอร์ดิกบำบัดจะทำเป็นวงจร 3 ขั้น แบ่งเป็น ร้อน เย็น และผ่อนคลาย เรียกว่า ‘Nordic Cycle’ ซึ่งแต่ละขั้นมีลักษณะดังนี้
1. ขั้นร้อน - เตรียมพร้อม
ขั้นร้อนนี้จะช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อม ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น ผ่านการอบซาวน่าเป็นเวลา 15 นาที
2. ขั้นเย็น - เพิ่มพลัง
หลังผ่านขั้นร้อน ผู้เข้ารับการบำบัดจะถูกทำให้ร่างกายเย็นลงโดยทันทีด้วยการแช่น้ำเย็น หรือที่เรียกว่า “Cold Plunge” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการของวารีบำบัด (Hydrotherapy) ในขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
3. ขั้นพัก - คืนสมดุล
ขั้นพักเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ Nordic Cycle ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้พักปรับตัวและฟื้นตัวจากการบำบัดในขั้นร้อนและขั้นเย็นแบบสุดขั้ว ช่วยให้ร่างกายได้ซึมซับประโยชน์จากขั้นร้อนและขั้นเย็นอย่างเต็มที่
3 ประโยชน์ของ Nordic Therapy
1. บรรเทาปวด ชวนอารมณ์ดี เพิ่มการหลั่งอะดรีนาลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า
2. ลดบวม เพิ่มภูมิคุ้มกัน หลอดเลือดหดตัวและขยายตัวสลับกันไปมา ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและการทำงานของระบบน้ำเหลือง
3. ฟื้นฟูสภาพผิว กระตุ้นการผลิตคอลลาเจน ช่วยให้รูขุมขนกระชับ ลดการอักเสบ และทำให้ผิวดูสุขภาพดี
Nordic Therapy เป็นอีกโมเดลหนึ่งที่น่าสนใจในการนำเอามาปรับใช้กับธุรกิจท่องเที่ยวไทย เอาใจสายรักสุขภาพ ผู้ประกอบการสามารถปรับเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาผสมผสานเข้ากับวิธีการบำบัดแบบนอร์ดิกได้ เช่น การอบสมุนไพรในกระโจม อาบน้ำแร่เย็นจัดที่ผสมกับสมุนไพรพื้นบ้านของไทยอย่างตะไคร้ ขมิ้น ใบมะกรูด เป็นต้น
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/49Tw8Ou

จากน้ำเสียสู่น้ำใส ระบบบำบัดน้ำของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร? รู้หรือไม่ว่าแต่ละปี ทั่วโลกมีปริมาณน้ำเสียจากการบริโภคจำนวนมห...
25/12/2024

จากน้ำเสียสู่น้ำใส ระบบบำบัดน้ำของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร?
รู้หรือไม่ว่าแต่ละปี ทั่วโลกมีปริมาณน้ำเสียจากการบริโภคจำนวนมหาศาล และการกำจัดน้ำเสียที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการปนเปื้อน ส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อย่างไรก็ตาม หลายประเทศก็ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงจัดทำระบบการบำบัดน้ำที่สามารถรองรับน้ำเสียได้จำนวนมากและมีประสิทธิภาพขึ้นมา
แต่ละประเทศมีวิธีจัดการน้ำเสียอย่างไร? หาคำตอบไปพร้อมกันในบทความที่ นำมาฝากทุกท่านได้เลย
https://www.facebook.com/AgendaPlatform/posts/pfbid02G86uPtCDV6HnzPLir4aVNQrEuNov9WCgexQmwLoTV4HjLrNQwpZixNnwYSR4r8sSl?rdid=HULShUqWIBBheGpa

สิงคโปร์บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดื่ม เยอรมันบำบัดน้ำเสียเป็นเบียร์ ท่อน้ำทิ้งญี่ปุ่นสะอาดจนเลี้ยงปลาคาร์ปได้ แต่สำหรับประเทศไทย การบำบัดน้ำเสีย ท่อน้ำ และแหล่งน้ำ คือหนึ่งในสิ่งที่มีปัญหาความสกปรกมากที่สุด ทั้งที่ในอดีตสายน้ำคือชีวิตของคนไทย
ในแต่ละปี ปริมาณน้ำเสียทั่วโลกจากการบริโภคมีมากถึง 360,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 49,000 ลิตรต่อคน แต่มีแค่ 2 ใน 3 หรือแค่ 240,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นที่ถูกจัดเก็บ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีน้ำที่สามารถเอากลับมาใช้ใหม่ใน อุตสาหกรรม การเกษตร หรือการอุปโภคและบริโภคได้เพียง 36,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ดังนั้นในแต่ละปี จะมีน้ำเสียที่ไม่ถูกจัดเก็บมากถึง 120,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่ากับน้ำในเขื่อนภูมิพลถึง 10 เขื่อนเลยทีเดียว
การที่น้ำเสียไม่ถูกจัดเก็บและถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาตินั้น ทำให้เกิดการปนเปื้อนขึ้นภายในธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อทั้งคน สัตว์ และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง หลายประเทศเองก็ตระหนักถึงปัญหาตรงนี้ จึงได้จัดทำระบบการบำบัดน้ำที่สามารถรองรับน้ำเสียได้จำนวนมากและมีประสิทธิภาพขึ้นมา
แต่ละประเทศมีวิธีจัดการน้ำเสียอย่างไร? สรุปประเทศที่น่าสนใจมาให้แล้ว! อ่านต่อได้ที่: https://www.agenda.co.th/social/wastewater-treatment/

ทำความรู้จักแนวคิด “Sustainable Luxury” ทำธุรกิจหรูหราอย่างไรให้ “ยั่งยืน”“Sustainable Luxury” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงแนวค...
20/12/2024

ทำความรู้จักแนวคิด “Sustainable Luxury” ทำธุรกิจหรูหราอย่างไรให้ “ยั่งยืน”
“Sustainable Luxury” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงแนวคิดที่นำเอาความหรูหรา การสร้างประสบการณ์สุดพิเศษ ผ่านสินค้าและบริการแบบพรีเมียม มาผสมผสานกับแนวคิดความยั่งยืน
ยกระดับบริการ Sustainable Luxury สำหรับผู้ประกอบการ ผ่าน 3 แง่มุม
1. Transportainable เดินทางอย่างยั่งยืน
ระบบขนส่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ก็เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ผู้ประกอบการจึงต้องมองหาตัวเลือกอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น
- Limougreen
การใช้รถลีมูซีนไฟฟ้าสำหรับรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินท์
- Eco-Cruise
ดำเนินธุรกิจเรือสำราญบนหลัก Blue Economy ที่เป็นหลักการสำหรับส่งเสริมความยั่งยืนของชายฝั่งทะเล เริ่มจากการตระหนักรู้ถึงปัญหา ไปตลอดจนถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา
2. Wellnesstainable ฮีลใจแบบยั่งยืน
บริการต่าง ๆ ด้านสุขภาพ เหล่านี้ล้วนต้องใช้ทรัพยากรและใช้พลังงานจำนวนมาก มีแนวคิดที่น่าสนใจและเหมาะแก่ผู้ประกอบการสามารถนำมาปรับใช้ได้ เช่น
- Naturopathy
ศาสตร์บำบัดด้วยธรรมชาติ โดยใช้พื้นที่ธรรมชาติเป็นสถานที่ในการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของนักท่องเที่ยว เพื่อให้พวกเขาได้กลับไปเชื่อมโยงกับธรรมชาติอีกครั้ง
- Eco-Destination
ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบในการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ สนับสนุนแรงงานและสินค้าท้องถิ่น และมีการคืนกำไรสู่ชุมชน
3. Gastrainable บริโภคอย่างยั่งยืน
ค่านิยมการรับประทานอาหารอย่างหรูหราสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในหลายแง่ ผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงแนวคิดต่อไปนี้
- Eat-Life Balance
“เหลือดีกว่าขาด” เป็นทัศนคติที่ทำให้เกิดการผลาญทรัพยากรเกินความจำเป็น ผู้ประกอบการจึงควรคาดคะเน ปริมาณของอาหารให้สมดุลกับจำนวนของผู้บริโภคอย่างพอดี
- Ethical Food
อาหารสุดพรีเมียมบางเมนูก็มีกรรมวิธีที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ เช่น ฟัวกราส์ ไข่ปลาคาเวียร์ ครีบปลาฉลาม ดังนั้นผู้ประกอบการควรมองหาเมนูทางเลือกอื่น ๆ ที่มีกรรมวิธีที่ยั่งยืน และไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม
TAT Academy จะพาสำรวจไปพร้อมกัน และผู้ประกอบการจะสามารถนำเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้อย่างไรได้บ้าง อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/49PhmrK

ใครกันเที่ยวโลคอล?รู้หรือไม่ว่า การท่องเที่ยวชุมชนนั้น ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าคนไทยเสียอีก! ปัจ...
13/12/2024

ใครกันเที่ยวโลคอล?
รู้หรือไม่ว่า การท่องเที่ยวชุมชนนั้น ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าคนไทยเสียอีก! ปัจจัยใดที่ทำให้นักท่องเที่ยวไทยไม่นิยมท่องเที่ยวชุมชน? และต้องทำอย่างไรจึงจะมัดใจนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้?
ชวนหาคำตอบไปพร้อมกัน ในบทความ “ความต้องการของ 'นักท่องเที่ยวชาวไทย' เพื่อพัฒนา 'การท่องเที่ยวชุมชน' ” โดย กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท.
https://www.facebook.com/tatreviewmag/posts/pfbid0315vinh5YbgF8e357LfzMgifQVaXd9QGiXYosUghqcx2mjiwFdK5gAmUmTcf5tDDwl

เคยสงสัยไหมว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมองหาอะไรจากการท่องเที่ยวชุมชน?
การท่องเที่ยวชุมชนได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าคนไทย สิ่งนี้สะท้อนพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยอย่างไร มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้? และต้องทำอย่างไรจึงจะดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้? TAT Review ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว
ผลการศึกษาของกองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท. พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทย 50.05% จากกลุ่มตัวอย่าง 5,994 รายนั้นมีศักยภาพในการท่องเที่ยวชุมชน แต่ยังไม่ได้ออกไปท่องเที่ยวบ่อยนัก อีกทั้งไม่ได้มองชุมชนเป็นจุดหมายหลัก แต่จะตั้งใจมองหาชุมชนท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เพื่อเลือกเป็นส่วนหนึ่งของทริปท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวมองว่า โปรแกรมและกิจกรรมของชุมชนยัง “ขาดความดึงดูดใจ” รวมถึงช่องทางการเข้าถึงข้อมูลก็มีจำกัด และหนึ่งในข้อกังวลสำคัญของนักท่องเที่ยวคือ ไม่มั่นใจในมาตรฐานการบริการและความสะอาด
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างความต้องการหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น สามารถติดตามต่อได้ในบทความ “ความต้องการของ 'นักท่องเที่ยวชาวไทย' เพื่อพัฒนา 'การท่องเที่ยวชุมชน' ” โดย กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท.
อ่านบทความได้ที่: https://bit.ly/3TyIVyD




ที่อยู่

1600 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6622505500

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ TAT Academyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง TAT Academy:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์