วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, หน่วยงานราชการ, 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ถ. แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพ.

🗳 ชวนมาฟัง Local Talk Series EP2ตอน “ถอดรหัสเลือกตั้ง อบจ. 68: สะท้อนมติประชาชนสู่อนาคตการเมืองท้องถิ่นไทย”ร่วมวิเคราะห์...
20/02/2025

🗳 ชวนมาฟัง Local Talk Series EP2
ตอน “ถอดรหัสเลือกตั้ง อบจ. 68: สะท้อนมติประชาชนสู่อนาคตการเมืองท้องถิ่นไทย”
ร่วมวิเคราะห์เจาะลึก เปิดมุมมองและปรากฏการณ์ที่น่าสนใจจากการเลือกตั้ง อบจ. 2568 เจาะสัญญาณและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการบริหารท้องถิ่นหลังการเลือกตั้ง และแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พร้อมคาดการณ์อนาคตการเมืองท้องถิ่นสู่การเมืองระดับชาติ กับ
• ศ. ดร.โกวิทย์ พวงงาม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
• คุณภควัต อัจฉริยปัญญา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 11.00 น.
ทาง Live ของเพจวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า แห่งนี้
แล้วพบกันนะครับ 😊

#เลือกตั้งอบจ68
#การเมืองท้องถิ่น
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดย ถวิลวดี บุรีกุล และวลัยพร ล้ออัศจรรย์หนังสือเล่ม...
19/02/2025

การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดย ถวิลวดี บุรีกุล และวลัยพร ล้ออัศจรรย์
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในผลงานของโครงการผลิตบทความและเอกสารทางวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของวิทยาลัยฯ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำความเข้าใจและนำแนวคิดการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting - GRB) ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นและจัดบริการอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรมต่อประชาชนทุกกลุ่มในเขตพื้นที่ของตน
ในเล่ม ท่านจะได้พบกับแนวคิดการจัดทำ GRB กระบวนการจัดทำงบประมาณแบบ GRB สำหรับ อปท. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GRB กรณีตัวอย่างของ อปท. ที่นำแนวคิด GRB ไปประยุกต์ใช้ และแหล่งทุนที่สนับสนุนโครงการที่คำนึงถึงมิติเพศสภาวะ
📖 สั่งซื้อได้ทาง
www.kpibookstore.com/product/197211-208896/kb00157
💻 หรืออ่านแบบ e-book ผ่านแอป KPI eBooks ได้ทาง
kpiebooks.com/ebookall/detail/21887
📲 ศึกษาคู่มือการใช้แอปป์ KPI eBooks ทาง
kpiebooks.com/f/Manual/manual_kpi_64.pdf
=====
🔴 GRB คืออะไร?
การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting - GRB) คือ กระบวนการจัดการงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่หรือจัดบริการสาธารณะ ที่คำนึงถึงความจำเป็นและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของประชาชนในเพศสภาวะต่าง ๆ ทั้งชาย หญิง เด็กชาย เด็กหญิง และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้เกิดการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศสภาวะอย่างทั่วถึง โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีส่วนร่วมกับการจัดการงบประมาณนี้
🔴 ลักษณะสำคัญของการจัดการงบประมาณแบบ GRB คืออะไร?
• มีการวิเคราะห์และคำนึงถึงความแตกต่างของประชาชนแต่ละเพศสภาวะ
• มีการพิจารณาว่าการใช้จ่ายงบประมาณส่งผลกระทบและสนองความจำเป็นของคนแต่ละเพศสภาวะหรือไม่? อย่างไร?
• มีการจัดสรรงบประมาณแก่คนแต่ละเพศสภาวะอย่างเท่าเทียม ที่ไม่ใช่แค่การจัดแบ่งงบประมาณแบบ ‘หารเท่า’ หรือการจัดสรรพิเศษ (ถ้าไม่จำเป็น)
• มีการคำนึงถึงคุณค่าของงานด้านการดูแลครัวเรือนที่ไม่มีรายได้หรือค่าตอบแทน
🔴 ประโยชน์ที่ อปท. จะได้รับจาก GRB คืออะไร?
• ภาคส่วนต่าง ๆ ในท้องถิ่น ตั้งแต่ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น บุคลากร อปท. ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ได้รับการฝึกฝนจนเกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำและจัดสรรงบประมาณแบบ GRB
• เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการจัดบริการและกิจกรรมสาธารณะให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนทุกกลุ่มในท้องถิ่น
• ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณและกิจกรรมของ อปท. อย่างเต็มที่
• ประชาชนในท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้น และสามารถเข้าถึงบริการนั้นได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
=====
#การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ


#องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่...
14/02/2025

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปี 2568
อบจ. กาฬสินธุ์
อบจ. ยะลา
เทศบาลนครพิษณุโลก อ. เมือง จ. พิษณุโลก
เทศบาลเมืองพิจิตร อ. เมือง จ. พิจิตร
เทศบาลเมืองมหาสารคาม อ. เมือง จ. มหาสารคาม
เทศบาลเมืองสะเดา อ. สะเดา จ. สงขลา
เทศบาลเมืองสามพราน อ. สามพราน จ. นครปฐม
เทศบาลตำบลท่าเสด็จ อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี
เทศบาลตำบลโนนสะอาด อ. โนนสะอาด จ. อุดรธานี
เทศบาลตำบลปริก อ. สะเดา จ. สงขลา
เทศบาลตำบลเสาธงหิน อ. บางใหญ่ จ. นนทบุรี
เทศบาลตำบลหลักห้า อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร
เทศบาลตำบลหนองควาย อ. หางดง จ. เชียงใหม่
เทศบาลตำบลอุโมงค์ อ. เมือง จ. ลำพูน
อบต. วังทรายพูน อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนเป็นรายชื่อสำรอง
ลำดับที่ 1 เทศบาลเมืองปากแพรก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี
ลำดับที่ 2 เทศบาลตำบลโนนหวาย อ. หนองวัวซอ จ. อุดรธานี
ลำดับที่ 3 อบจ. ระยอง
โครงการจะส่งหนังสือแจ้งผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการและแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกในลำดับต่อไป
ดูประกาศอย่างเป็นทางการที่ https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1510ZFmKTZH423AN1Xz8dpWTdy8Fr-cpo
สอบถามเพิ่มเติมทาง
0 2141 9571 (คุณวิลาวัณย์)
0 2141 9568 (คุณประภาพร)
#ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
#องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

อบรมระยะสั้นเพิ่มหัวข้อใหม่!กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นผ่านไปแล้ว 2 หัวข้อ กับโครงการอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเส...
14/02/2025

อบรมระยะสั้นเพิ่มหัวข้อใหม่!
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
ผ่านไปแล้ว 2 หัวข้อ กับโครงการอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ยังเหลืออีก 3 หัวข้อเดิม กับอีก 1 หัวข้อใหม่เพิ่งออกจากเตากับ “รู้ลึก รู้ชัด ปฏิบัติถูกต้อง: กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น” ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจภาพรวมการบริหารงานของท้องถิ่น ความรับผิดทางละเมิดและข้อพึงระวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคดีปกครองสำคัญที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
เชิญบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท่านที่สนใจ ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมทั้ง 4 หัวข้อได้ทาง https://www.kpi.ac.th/training68/
ค่าลงทะเบียนหัวข้อละ 5,900 บาท/คน
===
หัวข้อที่ 3️⃣ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง
• ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 6 มิถุนายน 2568
• อบรมวันที่ 13-15 มิถุนายน 2568

หัวข้อที่ 4️⃣ ภัยพิบัติกับการรับมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2568
• อบรมวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2568

หัวข้อที่ 5️⃣ Branding และการสื่อสารสำหรับท้องถิ่นในภาวะวิกฤติ
• ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2568
• อบรมวันที่ 28-30 สิงหาคม 2568

หัวข้อที่ 6️⃣ รู้ลึก รู้ชัด ปฏิบัติถูกต้อง: กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
• ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 5 กันยายน 2568
• อบรมวันที่ 12-14 กันยายน 2568
===
☎️ สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง
0 2141 9566 (คุณปภาวรินทร์)
0 2141 9567 (คุณอติพร)
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ขอเชิญทุกท่านติดตามชมรายการ "Local Talk Series: เสวนาประเด็นร้อน Talk ab...
13/02/2025

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ขอเชิญทุกท่านติดตามชมรายการ
"Local Talk Series: เสวนาประเด็นร้อน Talk about ท้องถิ่นไทย"
รายการที่จะพาไปเจาะลึกประเด็นเด่น-ดัง-ใหญ่-ใหม่ ในแวดวงท้องถิ่นไทย พร้อมค้นหาคำตอบที่ใช่จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ชาวท้องถิ่นรับรู้ เท่าทัน และเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน
โดยวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราได้พาทุกท่านไปคุยเรื่องฝุ่น ๆ กับตอนที่ 1 "เมื่อฝุ่นคลุมเมือง ท้องถิ่นไทยทำอะไรได้บ้าง" กันแล้ว ตอนต่อ ๆ ไปจะเป็นเรื่องอะไร รอติดตามชมกันได้ ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน (ถึงเดือนสิงหาคม 2568) เวลา 11.00 น. ทางเพจ “วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า”
รอติดตามกันนะครับ

#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

ตามที่โครงการวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2568 มีกำหนดประก...
13/02/2025

ตามที่โครงการวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2568 มีกำหนดประกาศรายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568
เพื่อความครบถ้วนเรียบร้อยของกระบวนการทำงาน ทางโครงการขอเลื่อนการประกาศดังกล่าวเป็นวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
จึงเรียนให้ทราบโดยทั่วกัน และขออภัยไว้ ณ ที่นี้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง
- คุณวิลาวัณย์ โทร 0 2141 9571 อีเมล [email protected]
- คุณประภาพร โทร 0 2141 9568 อีเมล [email protected]
#การศึกษา
#ความเหลื่อมล้ำ
#องค์กรกครองส่วนท้องถิ่น
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

ผ่านไปแล้วกับ Local Talk Series: เสวนาประเด็นร้อน Talk about ท้องถิ่นไทย ตอนที่ 1 หัวข้อ “เมื่อฝุ่นคลุมเมือง ท้องถิ่นไทย...
12/02/2025

ผ่านไปแล้วกับ Local Talk Series: เสวนาประเด็นร้อน Talk about ท้องถิ่นไทย ตอนที่ 1 หัวข้อ “เมื่อฝุ่นคลุมเมือง ท้องถิ่นไทยทำอะไรได้บ้าง” ที่เราได้รับเกียรติจากคุณวิลาวรรณ น้อยภา ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มาชวนคุยเรื่องสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในไทย บทเรียนจากการจัดการ PM2.5 และข้อเสนอสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการจัดการ PM2.5
เพื่อความเข้าใจเนื้อหาที่มากขึ้น วิทยาลัยขอเชิญทุกท่านดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการเสวนาจากคุณวิลาวรรณ ทาง
https://drive.google.com/drive/u/1/folders/1u6oxHE1bpJW6XeIFp8FH5txwePU1yjd_
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ชม Local Talk Series ตอนที่ 1 สามารถชมย้อนหลังได้ทาง
https://www.facebook.com/KPILocalCollege/videos/1593733117935196

#องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

🙌 ติดอาวุธทางปัญญากับแผนพัฒนาท้องถิ่น 🙌ร่วมถอดรหัสลับ จับมือทำ นำสู่การปฏิบัติ โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนท้องถิ่น (ดร...
08/02/2025

🙌 ติดอาวุธทางปัญญากับแผนพัฒนาท้องถิ่น 🙌
ร่วมถอดรหัสลับ จับมือทำ นำสู่การปฏิบัติ
โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนท้องถิ่น
(ดร.ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ)
และด้านการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศ
(ดร.ศิริวรรณ หัสสรังสี)
ภายใต้โครงการอบรมระยะสั้น
ประเด็น “ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น”
ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2568
ณ สถาบันพระปกเกล้า

โดยประเด็นดังกล่าวมีผู้เข้ารับการอบรมแสดง
ความรู้สึกไว้ ดังนี้
1. ได้รับความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม และสิ่งสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้น
ต้องนึกถึงประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ต้องคำนึงถึงว่าประชาชนได้ผลผลิตเป็นอะไร
ต้องดูเป็นหลัก
คุณมยุรา ฤกษ์เกษม
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
เทศบาลตำบลหัวเวียง จ.พระนครศรีอยุธยา

2. ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์
ท้องถิ่น และด้านการจัดการข้อมูล
และสารสนเทศ โดยตรง สามารถนำความรู้นี้
ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่มากมาย
- การวางแผนยุทธศาสตร์/ พัฒนาท้องถิ่น
- การจัดทำโครงการ/ ติดตามและประเมินผล/
- ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น
คุณกันตินันท์ ชาติพิพัฒพงศ์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
เทศบาลตำบลแม่ริม จ.เชียงใหม่

3. หัวข้อมีครบ แต่หาผลสำเร็จไม่พบ
ดีนะที่ได้วิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้า
พาถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น
เลยทำให้รู้ว่าจัดทำแผนไม่ยาก
ถ้ายึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
คุณปิยะดา สายพรหม
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
เทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ จ.อุดรธานี

4. รหัสลับ รหัสใจ เรียนสนุก
ได้เคล็ดลับทำแผนพัฒนา
ได้ตรงเป้า ตรงใจ ถูกใจ และ
ประชาชนได้ประโยชน์ เพื่อนเรียนน่ารักทุกคน
คุณวิลาวรรณ น้อยภา
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จ.นนทบุรี

5. การเรียนที่สถาบันพระปกเกล้าครั้งนี้สนุก
และได้ความรู้มากๆ อาจารย์สอนดี สอนสนุก ถ่ายทอดความรู้ได้แม่นยำ พาเราเข้าใจขั้นตอนการทำแผนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวรการ
และเน้นย้ำถึงหัวใจสำคัญของการบริการประชาชน ชอบทั้งบรรยากาศการเรียน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง อ.ไพบูลย์ และ อ.ศิริวรรณ เก่งมากๆ ค่ะ และความรู้ที่ได้รับ คุ้มค่าสุดๆ เต็ม 10 ไม่หัก
คุณอมรา กาวีเขต
อดีตผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เขต 2 จ.ภูเก็ต

❤️ ติดตามความรู้สึกต่อการอบรม
เพิ่มเติมได้ที่นี่ …
https://www.facebook.com/share/p/19rEidpYUH/

#ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น
#อบรมระยะสั้น2568
#สถาบันพระปกเกล้า #วปท

👉 หากท่านสนใจเข้ารับการอบรมในหัวข้ออื่น ๆ
คลิกเลย >>> รายละเอียดและการสมัครอบรมระยะสั้น 2568
https://kpi.ac.th/news/news/data/2573

ขอเชิญร่วมกิจกรรม "ท้าให้เมนต์"สำหรับผู้เข้ารับการอบรม หัวข้อ "ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น"ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2568...
07/02/2025

ขอเชิญร่วมกิจกรรม "ท้าให้เมนต์"
สำหรับผู้เข้ารับการอบรม หัวข้อ "ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น"
ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2568
กติกา ...
1. แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ โดยให้ท่านแสดงความรู้สึกถึงสิ่งที่ได้
จากการเข้าอบรมในคอร์สนี้
2. พิมพ์ข้อความฯ พร้อมรูปถ่ายของตนเอง หรือรูปกับเพื่อนที่มีตนเอง
ในบรรยากาศการอบรมคอร์สนี้
3. ให้ท่านติด #ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น ในบรรทัดสุดท้ายของข้อความที่เขียน
4. โพสต์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. เวลา 10.30 น. ถึงวันที่ 8 ก.พ. เวลา 11.00 น. เท่านั้น
** คณะกรรมการจะพิจารณาและประกาศผลในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 12.00 น. **

เปิดอบรมระยะสั้น 2568 หัวข้อที่ 2“ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น”วันนี้ (6 ก.พ. 2568) วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระป...
06/02/2025

เปิดอบรมระยะสั้น 2568 หัวข้อที่ 2
“ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น”
วันนี้ (6 ก.พ. 2568) วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า (วปท.) เปิดการอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปี 2568 หัวข้อที่ 2 “ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น” ณ ห้องสัตมรามาธิราช สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม และนายภควัต อัจฉริยปัญญา ผู้อำนวยการ วปท. กล่าวแนะนำวิทยาลัยและให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการอบรม ก่อนเริ่มการอบรมด้วยวิชา “ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาท้องถิ่น” โดย ดร.ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น และ ดร.ศิริวรรณ หัสสรังสี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศ
การอบรมหัวข้อที่ 2 นี้ ดำเนินการอบรมในวันที่ 6-8 ก.พ. 2568 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ของ อปท. และข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 วิชา ได้แก่
1. ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาท้องถิ่น
2. การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3. การติดตามและประเมินผล
4. ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
การอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากร อปท. ประจำปี 2568 มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ อปท. 5 ประเด็น ได้แก่ การเตรียมความพร้อมสู่การเลือกตั้งท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง การจัดการภัยพิบัติ และการสื่อสารในภาวะวิกฤติ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยบุคลากร อปท. และผู้ที่สนใจ นำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
#แผนพัฒนาท้องถิ่น
#องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
#อปท
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

💨 กลับมาอีกครั้งกับ Local Talk Series ชวนมาฟัง EP1 เรื่องฝุ่น ๆ ที่ท้องถิ่นไทยก็จัดการได้วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น ...
03/02/2025

💨 กลับมาอีกครั้งกับ Local Talk Series
ชวนมาฟัง EP1 เรื่องฝุ่น ๆ ที่ท้องถิ่นไทยก็จัดการได้

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า (วปท.) ขอเชิญทุกท่านรับชมรายการ "Local Talk Series: เสวนาประเด็นร้อน Talk about ท้องถิ่นไทย" รายการที่จะพาไปเจาะลึกประเด็นเด่น-ดัง-ใหญ่-ใหม่ ในแวดวงท้องถิ่นไทย พร้อมค้นหาคำตอบที่ใช่จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ชาวท้องถิ่นรับรู้ เท่าทัน และเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

โดย EP แรก เราจะพาทุกท่านไปพบประเด็นร้อน ชวนระคายเยื่อบุทางเดินหายใจ อย่างปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในหัวข้อ

"เมื่อฝุ่นคลุมเมือง ท้องถิ่นไทยทำอะไรได้บ้าง"

ร่วมเจาะลึกสถานการณ์และค้นหาทางออกจากวิกฤตนี้ ผ่านมุมมองการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับ
• คุณวิลาวรรณ น้อยภา ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และ
• คุณภควัต อัจฉริยปัญญา ผู้อำนวยการ วปท.

ในวันพฤหัสบดีนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 11.00 น. ทาง Live ของเพจวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า แห่งนี้

รักษาสุขภาพ แล้วพบกันนะครับ 😊


#องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

โค้งสุดท้าย คล้ายจะเป็นลมชวนมาถอดรหัส “แผนพัฒนาท้องถิ่น” กันโครงการอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่...
31/01/2025

โค้งสุดท้าย คล้ายจะเป็นลม
ชวนมาถอดรหัส “แผนพัฒนาท้องถิ่น” กัน
โครงการอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568 โดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ขอเชิญผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ พนักงาน และผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมอบรมหัวข้อที่ 2 …
“ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น”
หลักสูตรที่จะเสิร์ฟความรู้เรื่องกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จาก 4 เนื้อหาวิชา...
1. ถอดรหัสแผนพัฒนาท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาท้องถิ่น
2. การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3. การติดตามและประเมิน
4. ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
อบรมวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องอบรม อาคารจอดรถ ชั้น 5 สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพฯ จบแล้วได้ประกาศนียบัตรด้วยนะ!
สมัครออนไลน์ได้เลยที่ kpi.ac.th/news/news/data/2573
ค่าลงทะเบียน 5,900 บาท
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทาง
0 2141 9566 (คุณปภาวรินทร์)
0 2141 9567 (คุณอติพร)
#แผนพัฒนาท้องถิ่น
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

ชวนอ่าน 7 บทความว่าด้วย อบจ. ในวารสารสถาบันพระปกเกล้าเพื่อต้อนรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ...
31/01/2025

ชวนอ่าน 7 บทความว่าด้วย อบจ. ในวารสารสถาบันพระปกเกล้า
เพื่อต้อนรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พร้อมกัน 47 จังหวัดในวันพรุ่งนี้ (1 ก.พ.) วิทยาลัยขอชวนทุกท่านอ่าน 7 บทความวิชาการคัดเลือก ว่าด้วยการเมือง การเลือกตั้ง การคลัง และการจัดบริการสาธารณะของ อบจ. ที่ตีพิมพ์ในวารสารสถาบันพระปกเกล้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา เพื่อความเข้าใจใน อบจ. อย่างรอบด้าน
1️⃣
“การแข่งขันทางการเมืองของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน”
โดย อโณทัย วัฒนาพร (2553)
บทความวิเคราะห์การแข่งขันทางการเมืองของ อบจ. 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ในการเลือกตั้ง อบจ. เมื่อปี พ.ศ. 2547 และ 2551 โดยมุ่งวิเคราะห์ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม และการจัดวางเครือข่ายทางการเมืองและฐานอำนาจของผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งนั้น
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244562/165809
2️⃣
“การเมืองเรื่องการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์: สัมพันธภาพและการเปลี่ยนแปลงในเชิงอำนาจ”
โดย ไททัศน์ มาลา (2556)
บทความอธิบาย “สัมพันธภาพเชิงอำนาจทางการเมือง” และการเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพดังกล่าวในการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยวิเคราะห์ผ่านการเลือกตั้งนายก อบจ. บุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็น อบจ. แรกของไทยที่มีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244359/165704
3️⃣
“ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด”
โดย พิชิต รัชตพิบุลภพ และดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (2557)
บทความวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของการคลังท้องถิ่นใน อบจ. ด้วยการวัดความแตกต่างของรายได้ต่อหัว (ดัชนีจินี) พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ รายจ่าย การริเริ่มบริการสาธารณะ และโอกาสการได้รับรางวัลธรรมาภิบาลของ อบจ.
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244308/165670
4️⃣
“การวางเครือข่ายทางการเมืองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง: การสำรวจเบื้องต้น”
โดย อโณทัย วัฒนาพร และพินสุดา วงศ์อนันต์ (2561)
บทความสำรวจและวิเคราะห์การวางเครือข่ายทางการเมืองและการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของ อบจ. ลำปาง โดยอาศัยข้อมูลจากการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2551 และ 2555 เป็นพื้นฐาน
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/243910/165437
5️⃣
“จักรกลเศรษฐกิจการเมืองร่วมสมัยในการเมืองท้องถิ่นไทย: การประกอบสร้าง ปฏิบัติการ และการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563”
โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์ (2555)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายก อบจ. ปี พ.ศ. 2563 เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 โดยมีการเปลี่ยนแปลงกติกาและแนวปฏิบัติในการหาเสียงและการเลือกตั้ง บทความนี้จึงชวนหาคำตอบว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่? อย่างไร? โดยนำแนวคิด “จักรกลเศรษฐกิจการเมือง” มาพิจารณาและวิเคราะห์กรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายก อบจ. สมุทรปราการ
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/253813/172571
6️⃣
“การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอน ไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด”
โดย อุดม ทุมโฆสิต, ประยงค์ เต็มชวาลา, และสุรชัย พรหมพันธุ์ (2567)
บทความวิจัยประเมินทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขสู่ อบจ. ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/274094/187503
7️⃣
“การเข้าสู่วาระนโยบายกับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ. สงขลา”
โดย ปฏิภาณ ศรีผล (2567)
บทความวิจัยศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบายกับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีศึกษาศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ. สงขลา โดยนำแนวคิด “พหุกระแส” ของจอห์น คิงดอน มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์
DOWNLOAD: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/273606/187504
=====
นอกจาก 7 บทความนี้แล้ว วารสารสถาบันพระปกเกล้ายังมีบทความวิชาการด้านการเมืองการปกครองและการบริหารงานท้องถิ่นในระดับอื่น รวมถึงบทความด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการบริหารราชการที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจอีกมากมาย
ท่านสามารถเข้าไปค้นหาได้ทาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/issue/archive
ขอให้สนุกกับการอ่าน แล้วอย่าลืมไปเลือกตั้งกันนะครับ 🙂
#เลือกตั้งอบจ68
#องค์การบริหารส่วนจังหวัด
#อบจ
#วารสารสถาบันพระปกเกล้า
#วปท

#สถาบันพระปกเกล้า

เตรียมพร้อมก่อนการเลือกตั้ง อบจ. 1 กุมภาพันธ์ 2568อ่านสรุปการเสวนา “จับตาการเลือกตั้งท้องถิ่น 68 : ว่าด้วยเรื่องการเมือง...
29/01/2025

เตรียมพร้อมก่อนการเลือกตั้ง อบจ. 1 กุมภาพันธ์ 2568

อ่านสรุปการเสวนา “จับตาการเลือกตั้งท้องถิ่น 68 : ว่าด้วยเรื่องการเมืองและการจัดการ”
โดย วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00-14.30 น.
ณ ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
วิทยากร : ศ. ดร.โกวิทย์ พวงงาม, ร.ต.อ. มนูญ วิเชียรนิตย์, ผศ. ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์, นายภควัต อัจฉริยปัญญา

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1e4BGI4miNwDd7YS8FDjRXCm4hKB1LAG2?usp=sharing

และดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนาได้ที่
https://drive.google.com/drive/folders/1JgAphAx5DXFXKgOqGz8iMYhFEILb-Nrx?usp=sharing

🖋 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน หรือ ปบถ. รุ่นที่ 6 ได้จัดกิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่มเชิ...
28/01/2025

🖋 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน หรือ ปบถ. รุ่นที่ 6 ได้จัดกิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติ และพิธีปัจฉิมนิเทศปิดหลักสูตรฯ เมื่อวันที่ 24-26 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม The Cavalli Casa Resort Ayutthaya จ.พระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และ รศ.ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปัจฉิมกถาปิดหลักสูตร นอกจากนี้ อ.ภควัต อัจฉริยปัญญา ผอ.วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น และคณาจารย์ในหลักสูตรฯ ได้แก่ ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม, ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, รศ.ดร.พีรดร แก้วลาย, รศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร, ดร.อรพินท์ สพโชคชัย, ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ และ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ได้ร่วมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงานกลุ่มฯ ของนักศึกษา ปบถ.6 ทั้ง 7 กลุ่ม ซึ่งผลงานดังกล่าวได้มีการดำเนินงานจริงในแต่ละพื้นที่กรณีศึกษาของตัวแทน นศ.ที่เข้ารับการอบรม จนเป็นรูปธรรม ต่อยอดการพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน อาทิ
- โครงการพลังเครือข่ายยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลโคกกลอย
- โครงการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาแม่น้ำพิจิตรเพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
- โครงการโมเดลการจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโรงเรียนสหศึกษาบางบัวทอง
- โครงการยกระดับการท่องเที่ยวทองผาภูมิ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
เป็นต้น
🎯ทั้งนี้ ในการปัจฉิมฯ ยังมีกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ในหลักสูตรฯ ทั้ง 4 กลุ่มวิชา และ การทำ World Cafe เพื่อประเมินผลหลักสูตรสำหรับการพัฒนาในรุ่นถัดไป อีกด้วย
📌หลักสูตร ปบถ. จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรจาก “ภาคีพัฒนาท้องถิ่น” ได้แก่ ภาคการเมือง ภาคราชการ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาท้องถิ่นที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางร่วมกัน ผ่านการอบรม 4 กลุ่มวิชา ใช้เวลารับการอบรมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตรรวม 400 ชั่วโมง ระหว่างเดือน ส.ค. 2567 ถึง ม.ค. 2568
🎁 พิธีปัจฉิมนิเทศและการนำเสนอโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติ เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการสำเร็จการศึกษาอบรมในหลักสูตรฯ
#ปบถ6
#เพราะเราไม่ใช่แค่เพื่อนร่วมรุ่นแต่เราจะเป็นเพื่อนร่วมทาง
#ทางในการพัฒนาท้องถิ่นไทย
#วปท #สถาบันพระปกเกล้า

ชวนอ่านเรื่องราวของ The Tokyo Toilet แล้วไปดู Perfect Days กันในเน็ตฟลิกซ์Perfect Days คือภาพยนตร์ญี่ปุ่น-เยอรมันปี 2023...
27/01/2025

ชวนอ่านเรื่องราวของ The Tokyo Toilet แล้วไปดู Perfect Days กันในเน็ตฟลิกซ์
Perfect Days คือภาพยนตร์ญี่ปุ่น-เยอรมันปี 2023 เล่าเรื่องของ ‘ฮิรายามะ’ ชายสูงวัยผู้ประกอบอาชีพพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำโครงการ The Tokyo Toilet ทุกวันเขาจะตื่นแต่เช้า เล็มหนวด รดน้ำต้นไม้ ขับรถไปทำงาน นั่งถ่ายรูปเงาไม้ด้วยกล้องฟิล์ม อาบน้ำในโรงอาบน้ำ และนอนอ่านหนังสือจนหลับไป วนเวียนคล้ายกันทุกวันราวกับเป็นวัตรปฏิบัติของนักบวช ทุกการกระทำทั้งเคร่งครัดและละเอียดอ่อน
ทว่า แต่ละวันฮิรายามะต้องพบกับเหตุการณ์และผู้คนอย่างไม่คาดคิด ทำให้วงจรชีวิตและอารมณ์ความรู้สึกที่ดูมั่นคงของเขาสั่นคลอน แย้มให้เห็นอดีตและคราบตำหนิในใจที่ซุกไว้ใต้บุคลิกอันเงียบขรึม ใจดี รักสันโดษ เป็นคราบที่เขาเองก็ยังไม่สามารถขัดมันออกได้ง่ายเท่าคราบสกปรกในห้องน้ำ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ริเริ่มโดยโครงการ The Tokyo Toilet โครงการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะในเขตชิบูยะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดห้องน้ำสาธารณะที่ทั้งสะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางศิลปะ และเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ร่วมกับวิม เวนเดอร์ส ผู้กำกับภาพยนตร์ชั้นครูชาวเยอรมัน
วันนี้ (27 ม.ค. 2568) ภาพยนตร์เรื่อง Perfect Days ได้ฤกษ์ฉายทาง Netflix วิทยาลัยจึงขอชวนทุกท่าน ย้อนอ่าน 2 บทความเกี่ยวกับ The Tokyo Toilet และภาพยนตร์เรื่องนี้ตามลิงก์ด้านล่าง เพื่อสำรวจที่มาและความคิดเบื้องหลังหนึ่งในโครงการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะของเมืองที่โดดเด่นลำดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงกรณีตัวอย่างของการนำสื่อภาพยนตร์มาสนับสนุนบริการสาธารณะท้องถิ่น ที่ทำออกมาได้อย่างละเอียดอ่อนและทรงคุณค่าทางศิลปะ
🩶 The Tokyo Toilet: เปลี่ยนห้องน้ำสาธารณะด้วยเทคโนโลยีและศิลปะเพื่อโอบรับคนทุกกลุ่ม
www.facebook.com/KPILocalCollege/posts/pfbid0b66VkfMy2V7bCYnZJGGtizFed73vmhdRDPU4zgHfuY3xwbDHtiFbt1dSGW94ih2Yl
🩶 Perfect Days: บริการสาธารณะ พบ ศิลปะภาพยนตร์
www.facebook.com/KPILocalCollege/posts/pfbid0MnR8rcQTApZCUYooRarz29c8J7vB12dCoypYFZ2z25e2YJpGN5ZQ7qVRkiqMTNfal
#ห้องน้ำสาธารณะ #วปท #สถาบันพระปกเกล้า

🗳 การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครชิโจนาวาเตะ กับปัญหาการเลือกตั้งท้องถิ่นแบบไร้คู่แข่งในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2024 เ...
23/01/2025

🗳 การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครชิโจนาวาเตะ กับปัญหาการเลือกตั้งท้องถิ่นแบบไร้คู่แข่งในญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2024 เทศบาลนครชิโจนาวาเตะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งของชูเฮ อาซูมะ วัย 36 ปี ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 2 สมัย
ก่อนการเลือกตั้งประมาณ 3 เดือน อาซูมะ และกลุ่มการเมือง Shijonawate People Power ของเขา ได้เปิดรับผู้สมัครจากทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มหางานออนไลน์ En Japan โดยเปิดรับผู้ที่สนใจและ ‘กระหาย’ ที่จะเป็นนายกเทศมนตรี เพื่อสานต่องานของอาซูมะ และพัฒนานครชิโจนาวาเตะให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่สนว่าจะมีภูมิลำเนาในท้องถิ่นไหน หรือสมาทานอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด
จากผู้สมัครกว่า 200 คน กลุ่มของอาซูมะได้คัดเลือก ยูจิ ชิโนฮาระ อดีตบุคลากรสหประชาชาติวัย 38 ปี เป็นผู้สมัคร แต่ด้วยปัญหาสุขภาพที่ทำให้ชิโนฮาระไม่สามารถหาเสียงได้ ทางกลุ่มจึงคัดเลือก โช เซนิยะ อดีตพนักงานเทศบาลนครชิโจนาวาเตะวัย 36 ปี มาทำหน้าที่นี้แทน
ผลปรากฏว่า เซนิยะสามารถเอาชนะ ยูตากะ วาตานาเบะ อดีตสมาชิกสภาเทศบาลนครชิโจนาวาเตะวัย 50 ปี ที่ลงสมัครแบบอิสระ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ ทำให้กลุ่ม Shijonawate People Power ยังคงรักษาเก้าอี้เอาไว้ ส่วนเซนิยะก็กลายเป็นนายกเทศมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่มาจากกระบวนการสรรหาผ่านแพลตฟอร์มหางานออนไลน์
🔷️ การเพิ่มขึ้นของการเลือกตั้งท้องถิ่นแบบไร้คู่แข่งเป็นเหตุ
จุดประสงค์ที่อาซูมะเลือกใช้แพลตฟอร์มหางานออนไลน์มาคัดเลือกผู้สมัครนั้น นอกจากประโยชน์ในการเข้าถึงผู้ที่สนใจในวงกว้าง และส่งสารให้สาธารณชนรู้ว่า นายกเทศมนตรีเป็นอาชีพที่ทุกคนเข้าถึงได้แล้ว เขายังต้องการสะท้อนและแก้ปัญหาการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่งที่เกิดขึ้นในหลายท้องถิ่นของญี่ปุ่นในช่วงสี่ปีก่อนหน้านั้นด้วย
เมื่อเดือนเมษายน 2023 ญี่ปุ่นได้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ประกอบด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงโตเกียว การเลือกตั้งผู้ว่าราชการและสมาชิกสภาจังหวัด และการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลทุกระดับ
จากการเลือกตั้งครั้งนั้น พบว่ามีการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่ง หรือมีผู้สมัครรับการเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้นเพียงคนเดียว เพิ่มสูงขึ้นกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศเมื่อสี่ปีก่อนถึง 2 เท่า โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเทศบาลขนาดเล็กในชนบทที่จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว และจังหวัดที่เทศบาลเหล่านั้นตั้งอยู่
ผลคือ มีนายกเทศมนตรี 96 คน และสมาชิกสภาท้องถิ่น 2,057 คนทั่วประเทศชนะการเลือกตั้งโดยไม่ต้องแข่งขันกับใคร จากจำนวนนี้ ประมาณการกันว่ามีชาวญี่ปุ่นที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเกือบ 1 แสนคนที่ไม่มีตัวเลือกในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว
สำนักข่าว Nikkei Asia กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นแบบไร้คู่แข่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไว้สามประการ หนึ่ง คือจำนวนประชากรญี่ปุ่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สอง คือวงการการเมืองท้องถิ่นที่มี ‘เสน่ห์’ ลดลง ไม่สามารถสื่อสารกับสาธารณะและดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่สายอาชีพนี้ได้ และสาม คือความล้มเหลวของสภาท้องถิ่นในการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
สำนักข่าว The Asahi Shimbun กล่าวถึงผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่งเช่นนี้ว่า จะยิ่งทำให้ความไว้วางใจในสภาท้องถิ่นรวมถึงความสำคัญผลประโยชน์สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง พร้อมทั้งสร้าง ‘วงจรอุบาทว์’ ที่ทำให้ท้องถิ่นขาดแคลนผู้สมัครรับเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น ขณะที่สมาคมประธานสภาเมืองและหมู่บ้านแห่งชาติญี่ปุ่นมองว่า หากสถานการณ์เช่นนี้ยังดำเนินต่อไป จะทำให้การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นเข้าสู่จุดวิกฤติ
ผลกระทบเหล่านี้ ทำให้เกิดข้อเสนอที่หลากหลาย ทั้งการทบทวนกฎระเบียบและสร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนการเข้าสู่สนามเลือกตั้งและตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น การลดจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นลง การกระตุ้นให้พรรคการเมืองเพิ่มความหลากหลายและดูแลเอาใจใส่ผู้สมัครในสังกัดอย่างทั่วถึงทุกระดับ การปรับค่าตอบแทนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นให้เหมาะสม ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้ร่วมสมัย เช่น การทำสภาท้องถิ่นดิจิทัล การออกมาตรการต่อต้านการล่วงละเมิดรูปแบบต่าง ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
🔷️ หวังใช้เว็บหางานแก้ปัญหาการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่ง และสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนทางการเมือง
“...นี่คือสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก เพราะประชาชนที่ควรจะได้แสดงความต้องการผ่านการเลือกตั้ง กลับไม่มีตัวเลือกให้เลือก” อาซูมะสะท้อนความรู้สึกถึงการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่งที่เพิ่มขึ้นกับ The Japan Times
อาซูมะ ผู้มีประสบการณ์ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีแบบอิสระเมื่อ 8 ปีที่แล้ว กล่าวว่า ตนเข้าใจดีถึงความยากในการเข้าสู่สนามการเมืองท้องถิ่นญี่ปุ่นสำหรับบุคคลทั่วไป แม้ว่าคนคนนั้นจะมีความหลงใหลหรือมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเมืองมากเพียงใดก็ตาม
สำหรับอาซูมะ ทั้งเรื่องของความยากในการเข้าทำงานการเมืองท้องถิ่น และการเพิ่มขึ้นของการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่ง ต่างเกิดจากระบบและวัฒนธรรมการเมืองของญี่ปุ่น ที่คอยลดทอนความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ให้เหลือเพียงการเลือกตั้งชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เขามองว่า ปัญหาเหล่านี้ยังสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอย่างเพียงพอ และมีพื้นที่ถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เข้าถึงได้ง่าย
จากแนวคิดนี้เอง นำมาสู่การใช้แพลตฟอร์มหางานออนไลน์ดังที่กล่าวถึงไป ที่สำหรับอาซูมะแล้ว นอกจากจะช่วยให้เกิดผู้สมัครหน้าใหม่มาเป็นตัวเลือกของประชาชน ยังถือเป็นการสร้างช่องทางที่ทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและจุดประกายให้เกิดบทสนทนาทางการเมือง รวมถึงเป็นพื้นที่สะท้อนความต้องการของชาวญี่ปุ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่น และร่วมออกแบบผู้นำท้องถิ่นที่ควรจะเป็น
“ผมต้องการให้โครงการนี้ทำให้ประชาชนทุกคนที่ต้องการเป็นผู้นำท้องถิ่น ได้มีโอกาสสร้างสรรค์อนาคตของเมือง และทำให้พลเมืองได้มีตัวเลือกที่มากขึ้น หรือได้เป็นนายกเทศมนตรีแล้วเปลี่ยนแปลงเมืองด้วยตัวเอง” อาซูมะกล่าว
🔷️ พื้นที่พัฒนาท้องถิ่นสำหรับทุกคน หรือเป็นเพียงช่องทางหาผู้สืบทอดทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาซูมะทำก็ถูกตั้งคำถามว่า จะนำมาซึ่งพื้นที่ในการพัฒนาเมืองสำหรับประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริงได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่มการเมืองเพียงกลุ่มเดียว
ฮิโรชิฮิโกะ ฟูกูชิมะ อาจารย์ด้านการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยจูโอกากูอิง และอดีตนายกเทศมนตรีนครอาบิโกะ จังหวัดชิบะ กล่าวว่า โครงการนี้อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่า อาซูมะกำลังใช้ตำแหน่งนายกเทศมนตรีมาหาผู้สืบทอดอำนาจของตนเองเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของอาซูมะและกลุ่มการเมืองของเขาอย่างมาก และยังสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองต่างจากกลุ่มของอาซูมะตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการนี้ จนไม่สามารถเป็นพื้นที่สะท้อนความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริงได้ในที่สุด
สำหรับฟูกูชิมะ นายกเทศมนตรีควรปล่อยให้ประชาชนเลือกตั้งตามความต้องการของตนเอง โดยไม่พยายามส่งต่ออิทธิพลทางความคิดในนามตำแหน่งของตน และหากจะสร้างพื้นที่สนทนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นจริง ก็ควรจะทำในนามของกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน
🔷️ ความหลากหลายของผู้สมัคร หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งที่น่ากลับมาสำรวจ
นอกจากการเปิดรับผู้สมัครผ่านแพลตฟอร์มหางานออนไลน์แล้ว การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครชิโจนาวาเตะยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์ นั่นคือการให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก ด้วยแท็บเล็ตที่ทางเทศบาลยืมมาจากบริษัทเคียวเซร่าประมาณ 200 เครื่อง พร้อมระบบบันทึกคะแนนอัตโนมัติ ช่วยย่นระยะเวลาและลดกำลังคนในกระบวนการนับคะแนน
อาจยังไม่ชัดเจนว่าการเปิดรับผู้สมัครผ่านแพลตฟอร์มหางานของอาซูมะ ที่มุ่งหาผู้สานต่องานของตนเป็นการเฉพาะ จะสามารถสร้างพื้นที่กลางที่โอบรับประชาชนทุกกลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้จริงหรือไม่
แต่คุณูปการหนึ่งจากการเลือกตั้งครั้งนี้ คือการทำให้เราฉุกคิดและกลับมาสำรวจความสำคัญของหลักการว่าด้วยความหลากหลายของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น ที่กล่าวกันว่าหากมีจำนวนและความหลากหลายเพียงพอ จะช่วยให้ประชาชนมีตัวแทนที่สามารถสะท้อนความต้องการของตนอย่างทั่วถึง และนำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการท้องถิ่นในระยะยาว ซึ่งหลักการนี้เราอาจจะไม่ค่อยพูดถึงนักในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทยที่ผ่านมา
แล้วสำหรับท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไรบ้างกับเรื่องราวนี้? ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ผ่านมาและที่จะมาถึงในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ รวมถึงการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นระดับอื่น มีใครบ้างที่ผ่านการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่งมาแล้ว? และการเลือกตั้งแบบนั้นส่งผลต่อท้องถิ่นของเราอย่างไรบ้าง? มาแชร์ประสบการณ์กันได้ในคอมเมนต์ด้านล่างนะครับ
เรื่อง: พงศ์ปรีดา ลิ้มวัฒนะกุล
ภาพ: ชูเฮ อาซูมะ (ซ้าย) และโช เซนิยะ (ขวา) (จาก The Japan Times/Shuhei Azuma Office)
อ้างอิง:
The Asahi Shimbun. (2023, June 5). Vicious cycle leads to more ‘triple no-contest’ local elections. Retrieved January 23, 2025, from https://www.asahi.com/ajw/articles/14925299

Inoue, Y. (2024, December 11). City in Osaka Prefecture looks for new mayor using job search site. The Japan Times. Retrieved January 16, 2025, from https://www.japantimes.co.jp/news/2024/12/11/japan/politics/shijonawate-city-mayor

Jiji. (2024, December 25). Osaka Prefecture city showcases electronic voting and open applications. The Japan Times. Retrieved January 16, 2025, from https://www.japantimes.co.jp/news/2024/12/25/japan/politics/electronic-voting-election

Kitado, A. (2023, April 8). Japan has a candidate shortage for local elections on Sunday. Nikkei Asia. Retrieved January 23, 2025, from https://asia.nikkei.com/Politics/Japan-has-a-candidate-shortage-for-local-elections-on-Sunday

Nippon.com. (2024, February 27). One in Four Town and Village Elections in Japan Going Uncontested. Retrieved January 20, 2025, from https://www.nippon.com/en/japan-data/h01912
#การเลือกตั้งท้องถิ่น #ชิโจนาวาเตะ #ญี่ปุ่น #วปท #สถาบันพระปกเกล้า

ที่อยู่

120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ถ. แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพ
10210

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6621419566

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้าผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ องค์กรนั้น

ส่งข้อความของคุณถึง วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์