คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ

คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ การบริหารจัดการแร่ของประเทศเป็นไป?

วันที่ 5 มิถุนายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และก...
06/06/2025

วันที่ 5 มิถุนายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง (TMFC) ครั้งที่ 3/2568 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี โดยมีศาสตราจารย์จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธรณีวิทยา เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์พันธุ์ลพ หัตถโกศล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ นายปรีชา สายทอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่ แทนรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนางสาวกิตติ์สิริ แก้วพิพัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน แทนรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในฐานะรองประธานอนุกรรมการ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (1) การขอกำหนดพื้นที่ตามคำอธิบายแผนที่เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองเพื่อรับรองการเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 จำนวน 4 แปลง (2) ข้อมูลบัญชีทรัพยากรแร่ พร้อมข้อเสนอแนะในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองสำหรับแร่คาลซิโดนี และ (3) มอบหมายให้คณะทำงานฯ ทดลองใช้หลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยที่ปรับปรุงใหม่ในกลุ่มแร่ที่สำคัญ เช่น โพแทช-เกลือหิน, ยิปซัม, หินอุตสาหกรรม, ดินอุตสาหกรรม และแคลไซต์ เพื่อเสนอให้อนุกรรมการฯ พิจารณาความเหมาะสมในการประชุมครั้งถัดไป

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตา...
28/05/2025

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตามหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ครั้งที่ 4/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารไพลิน กรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และนายธวัชชัย เชื้อเหล่าวานิช ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานและข้อมูลทรัพยากรแร่ แทนผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงาน รวม 14 ราย
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (1) การขอกำหนดพื้นที่ตามคำอธิบายแนบท้ายเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองเพื่อพิจารณารับรองการเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 จำนวน 4 แปลง โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเสนอต่ออนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองพิจารณารับรองเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองต่อไป และ (2) ข้อเสนอในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง กรณีแร่คาลซิโดนี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยเพื่อเป็นกรอบพิจารณากำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ฉบับที่ 3 อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และกำหนดเขตแหล่...
02/05/2025

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง (TMFC) ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยมีศาสตราจารย์จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธรณีวิทยา เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์พันธุ์ลพ หัตถโกศล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ นางสาวอารยา ไสลเพชร รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายปรีชา สายทอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่ แทนรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะรองประธานอนุกรรมการ และนายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กพร. ร่วมด้วยคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ 1) ข้อมูลบัญชีทรัพยากรแร่ พร้อมข้อเสนอแนะในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองสำหรับแร่อุตสาหกรรมทั่วไป 5 ชนิด 2) เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่
ของประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 3 โดยให้นำความเห็นที่ประชุมไปปรับปรุงรายละเอียดและทดลองใช้ก่อน จึงนำมาเสนอให้อนุกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป

กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่ ...
24/04/2025

กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และนายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงาน รวม 19 ราย
ที่ประชุมมีมติ (1) เห็นชอบการปรับแผนการจัดกิจกรรม Thailand Green and Smart Mining Award 2026 และการปรับกรอบระยะเวลาการจัดกิจกรรม Thailand Green and Smart Mining Award 2026 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกิจกรรมเหมืองแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีธรรมาภิบาลพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และ (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการนำความเห็นของที่ประชุมเกี่ยวกับ Roadmap การจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 3 เพื่อหารือกับคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องและนำมารายงานต่อคณะทำงานฝ่ายเลขานุการร่วมของ คนร. พิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตาม...
23/04/2025

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตามหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยครั้งที่ 3/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารไพลิน กรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายปรีชา สายทอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี และนายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงาน
รวม 14 ราย
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (1) ข้อมูลบัญชีทรัพยากรแร่และข้อเสนอแนะในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง กรณีแร่อุตสาหกรรมทั่วไปเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยเพื่อเป็นกรอบในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 3 และ (2) ประเด็นการปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทย โดยมอบหมายให้คณะทำงานฯ ปรับปรุบ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์ฯ พิจารณาต่อไป โดยคำนึงถึงดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

ลิเทียม เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและกักเก็บพลังงานได้ดี สำหรับขับเคลื...
21/04/2025

ลิเทียม เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและกักเก็บพลังงานได้ดี สำหรับขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุปกรณ์ที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้อีกด้วย

วันที่ 4 เมษายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมเสริมสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริห...
04/04/2025

วันที่ 4 เมษายน 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมเสริมสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแร่โพแทช (หลังดำเนินการสำรวจเสร็จสิ้น) ณ หอประชุมเทสก์รังสี
ที่ว่าการอำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย โดยได้รับเกียรติจากนายประทีป อุ่ยเจริญ ปลัดจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุม
การประชุมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย) ที่ทำการปกครองอำเภอศรีเชียงใหม่ ที่ทำการปกครองอำเภอท่าบ่อ รวมทั้งผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ตำบลพานพร้าว บ้านหม้อ หนองปลาปาก ศรีเชียงใหม่ และพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 95 ราย ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงแหล่งแร่โพแทชในประเทศไทยและการนำมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการแร่โพแทช จังหวัดหนองคาย เพื่อให้การบริหารจัดการแร่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและเกิดเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และการกำหนดเขตแ...
27/03/2025

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง (TMFC) ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยมีศาสตราจารย์จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธรณีวิทยา เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนางสาวอารยา ไสลเพชร รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ นายปรีชา สายทอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรแร่ แทนรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะรองประธานอนุกรรมการ และนายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กพร. ร่วมด้วยคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ 1) การกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามคำอธิบายแผนที่เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 จำนวน 4 แปลง และ 2) ข้อมูลบัญชีทรัพยากรแร่ พร้อมข้อเสนอแนะในการกำหนดเขตแหล่งแร่สำหรับหินประดับประเภทหินตะกอน หินประดับประเภทหินแปรและแร่โครไมต์เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

ควอตซ์ จัดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตเซลล์พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นพลังงานหมุนเ...
24/03/2025

ควอตซ์ จัดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตเซลล์พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นพลังงานหมุนเวียนสะอาด ที่ไม่มีวันหมด จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วันที่ 17 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กรณีพื้...
18/03/2025

วันที่ 17 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กรณีพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และผู้แทนหน่วยงานภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำ
ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการดำเนินการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กรณีพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมในบทบาทของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 โดยพิจารณากำหนดคำนิยามพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมในความหมายทางวิชาการและวิธีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ดังกล่าวให้มีความชัดเจน เป็นที่ยุติ และได้รับการยอมรับ และมอบหมายให้กรมทรัพยากรธรณีสรุปผลการประชุมพิจารณาแนวทางการดำเนินการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กรณีพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม นำเรียนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้กรมทรัพยากรธรณีในฐานะเลขานุการ คนร. เสนอความเห็นดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการด้านจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กรณีพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมต่อไป

วันที่ 10 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตามหลักเ...
12/03/2025

วันที่ 10 มีนาคม 2568 กรมทรัพยากรธรณี โดยกองทรัพยากรแร่ จัดประชุมคณะทำงานประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองตามหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารไพลิน กรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายปรีชา สายทอง ผู้อำนวยการ
กองทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี และนายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงาน
รวม 14 ราย
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) การขอกำหนดพื้นที่ตามคำอธิบายแผนที่เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองเพื่อรับรองการเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 จำนวน 5 แปลง (2) การปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทยเพื่อเป็นกรอบในการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ ๓ และ (3) ความเห็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองกรณีแร่เหล็ก ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาย จังหวัดเลย โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกทรัพยากรแร่และการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองเพื่อพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบการเตรียมฐานข้อมูลสำหรับการจัดทำเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 3 เพื่อให้การจัดทำเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองเกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์แร่ของประเทศและเกิดประโยชน์สูงสุด

26/02/2025

แรร์เอิร์ธคือธาตุหายาก แต่คิดถึงเธอมากต้องทำไง?
ธรณีวิทยาน่ารู้: ธาตุหายาก หายากจริงไหม?
ธาตุหายากใช้เป็นวัตถุดิบต้นน้ำสำคัญยิ่งยวดในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงหลากประเภทของโลกปัจจุบันและอนาคต อาทิ ด้านโลหะผสม (metal alloy) ตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมยานยนต์และปิโตรเคมี (catalyst&chemical process) อุตสาหกรรมเซรามิก/แก้ว (ceramics&glass) สารเรืองแสง (phosphors) เช่น หลอดแอลอีดี, หลอดฟลูออเรสเซนต์, การแสดงผลจอแบน เลเซอร์ แบตเตอรี่โซลิดสเตตแบบชาร์จไฟได้ (Ni-MH) ไฟเบอร์ออปติก และอื่น ๆ นอกจากนี้ ธาตุหายากยังเป็นองค์ประกอบสําคัญในเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น เซลล์เชื้อเพลิงโซลิดสเตต (solid state fuel) ตัวนํายิ่งยวด (superconductors) การระบายความร้อนด้วยแม่เหล็ก (magnetic cooling) การกักเก็บไฮโดรเจน (hydrogen storage) และแม่เหล็กถาวรประสิทธิภาพสูง (high performance permanent magnets) ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีชั้นสูงต่าง ๆ เช่น กังหันลม (wind turbines) รถยนต์ไฮบริด (hybrid cars) ไปจนถึงไดรฟ์บันทึกข้อมูล (HD drives) ลําโพง และไมโครโฟนโทรศัพท์มือถือ โดยธาตุหายากแต่ละตัวมีการนำไปใช้ประโยชน์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป
แม้ว่าจะเรียกธาตุหายาก (rare earth elements) แต่สามารถพบได้ในเนื้อหินเกือบทุกชนิดที่เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก แหล่งแร่ที่ให้ธาตุหายากพบกระจายตัวทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เช่น จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุทัยธานี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี
ในประเทศไทยยังมีทรัพยากรแร่ที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกมากมายในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ผสมอยู่ในยาสีฟัน โถสุขภัณฑ์ จานชามเซรามิค โทรศัพท์มือถือ ยานยนต์ จนถึงโครงสร้างถนนหนทางและตึกสูงระฟ้า จากข้อมูลบัญชีทรัพยากรแร่ของไทย ปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 19 ของพื้นที่ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่มากกว่า 40 ชนิด โดยชนิดทรัพยากรแร่ที่พบในปริมาณมากที่สุดเกือบร้อยละ 60 ของทั้งประเทศ คือ เกลือหิน ที่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย การสำรวจจุดค้นพบทรัพยากรแร่ที่สำคัญสามารถต่อยอดนำข้อมูลวิชาการเพื่อพัฒนาการสำรวจศึกษาทรัพยากรธรณีที่สำคัญอื่นๆ ในอนาคต
#ธาตุหายาก #แร่ #กรมทรัพยากรธรณี

ที่อยู่

75/10 ถ. พระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 09:00 - 16:30
ศุกร์ 09:00 - 17:00

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์