ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.

ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช. ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.

ประชาสัมพันธ์ งานอบรมเสวนา "ก้าวทัน งานวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในสัตว์ทดลอง"🗓 วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ⏰ เวลา 9.00-12.00 น. 🌐...
04/08/2023

ประชาสัมพันธ์ งานอบรมเสวนา "ก้าวทัน งานวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในสัตว์ทดลอง"

🗓 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
⏰ เวลา 9.00-12.00 น.
🌐 ณ ห้องประชุม CO-110 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และทางออนไลน์ผ่านระบบ webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าฟังบรรยาย ให้สามารถเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่างๆ กับการทดลองในสัตว์

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
🔹 รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ที่ปรึกษา ศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ และ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
🔹 ผศ.ส.พญ.ดร.กรรณิการ์ ศิริภัทรประวัติ อาจารย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🔹 ดร.ชัญญา พุทธิขันธ์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
🔹 น.สพ.สุรชัย จันทร์ทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
🔹 รศ.ดร.น.สพ.วิทวัช วิริยะรัตน์ อาจารย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


📝 ลงทะเบียน: https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r88bb0ca1b6418d05cd08a434f797c0b8

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

ประชาสัมพันธ์ งานอบรม"จริยธรรมการวิจัย เรื่องใกล้ตัวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน"🗓 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ⏰ เวลา 9.00-12.00 ...
17/07/2023

ประชาสัมพันธ์ งานอบรม"จริยธรรมการวิจัย เรื่องใกล้ตัวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน"

🗓 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566
⏰ เวลา 9.00-12.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านจริยธรรมการวิจัย ของการเขียนข้อเสนอโครงการ การดำเนินการวิจัย และการรายงานผลการวิจัย เพื่อให้การผลิตผลงานทางวิชาการมีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัย ลดการพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย
2) เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เข้าร่วม ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความท้าทายทางด้านจริยธรรมการวิจัยในยุคปัจจุบัน

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
🔹 รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🔹 นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

📝 ลงทะเบียน: https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r708931f1684d1e49e542be17612f9f08

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

ด่วน❗❗ การประชุมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”🗓 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ⏰ เวลา 9.00-12.30 น. 🌐 ทางออ...
11/07/2023

ด่วน❗❗ การประชุมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”

🗓 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566
⏰ เวลา 9.00-12.30 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.ร่วมกับ วช.
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์
1) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้านจริยธรรมการวิจัยในหน่วยงานของแต่ละสถาบัน
2) วางกลไกการป้องกันการประพฤติมิชอบทางการวิจัยของประชาคมวิจัยให้กับประเทศ และทิศทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต
3) แบ่งปันความรู้ ทรัพยากรต่างๆ อย่างทั่วถึง ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมในการทำวิจัยที่ดี

📝 link สำหรับเข้าร่วมงานเสวนาฯ : https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?MTID=mcd25f5a18a1e77665e30002c25d54b77

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

ประชาสัมพันธ์การบรรยาย เรื่อง มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ในงาน NRCT Open House 2023 วันเสาร์ที่  24 มิถุนายน 2566 เวลา 0...
22/06/2023

ประชาสัมพันธ์การบรรยาย เรื่อง มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ในงาน NRCT Open House 2023
วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม ศ.ดร.สง่า สรรพศรี ชั้น 1 อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แลผ่านทางออนไลน์ระบบ Zoom meeting
จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ภาคเช้า🌞
หัวข้อเรื่อง มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย (Research Integrity)
วิทยากร : ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาคบ่าย☀
เปิดตัวหลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย
วิทยากร : ดร.อัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

ลงทะเบียนสำหรับช่วงเช้า : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSda1Pub7KRtuq1UFmdwH3KNe7-_qK5DUPQfIVxnM9rgCw5wug/viewform?pli=1
ลงทะเบียนสำหรับช่วงบ่าย :https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScbA7Xpe72ZNnd1y-E01XyrZyg_Rqyud-f-gCobW_AyGj5foQ/viewform

(สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมฯ ตั้งแต่บัดนี้ - 22 มิถุนายน ทั้งในรูปแบบ Onsite/Online )

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 561 2445 ต่อ 661-2
e-mail : [email protected]

ประชาสัมพันธ์ งานอบรมเสวนา“ไขข้อข้องใจ กิจกรรมแบบใดต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”🗓 วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ⏰ เวลา 9.00-12...
16/06/2023

ประชาสัมพันธ์ งานอบรมเสวนา“ไขข้อข้องใจ กิจกรรมแบบใดต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”

🗓 วันที่ 7 กรกฎาคม 2566
⏰ เวลา 9.00-12.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรสายวิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
2) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และประเภทในการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
3) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีของการวิจัยในมนุษย์ร่วมกัน

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
🔹 ศ.เกียรติคุณ ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร ประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์
🔹 ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะที่ 4 (medical device) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
🔹 ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป กรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของ สวทช.

📝 ลงทะเบียน: https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r2d10e4e17ac94fff33531f23fb27f89d

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

เรายังไม่ควรรีบออกกฎระเบียบ หรือกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการห้ามทำ แต่ควรกำกับดูแลในลักษณะที่เป็นการกำหนด Sandbox เพื่อให้เก...
07/06/2023

เรายังไม่ควรรีบออกกฎระเบียบ หรือกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการห้ามทำ แต่ควรกำกับดูแลในลักษณะที่เป็นการกำหนด Sandbox เพื่อให้เกิดการทดลองที่สามารถควบคุมจัดการได้ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

[ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

รูปแบบการกำกับดูแล AI ในทางการแพทย์ จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีการให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมี AI literacy และ Da...
02/06/2023

รูปแบบการกำกับดูแล AI ในทางการแพทย์ จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีการให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมี AI literacy และ Data literacy รวมถึงสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่า จะยินยอมให้ใช้ AI เข้ามาช่วยในระบบการแพทย์หรือไม่

[นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

เมื่อใดที่จะต้องนำ AI มาใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจ ก็จะต้องเป็น AI ที่สามารถอธิบายได้และมีความรับผิดชอบ (explainable and res...
30/05/2023

เมื่อใดที่จะต้องนำ AI มาใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจ ก็จะต้องเป็น AI ที่สามารถอธิบายได้และมีความรับผิดชอบ (explainable and responsible AI)
นอกจากนี้ ยังต้องมีขั้นตอนการทำ validation โดยมนุษย์ เพื่อตรวจสอบความใช้ได้ของ AI ก่อนจะนำไปใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบในภาคธุรกิจ

[ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

เราไม่ควรปล่อยผ่านในเรื่องจริยธรรม AI และจำเป็นต้องทำให้สังคมเกิดความตระหนักในเรื่องดังกล่าวขึ้น เนื่องจากเราทุกคนต่างไม...
26/05/2023

เราไม่ควรปล่อยผ่านในเรื่องจริยธรรม AI และจำเป็นต้องทำให้สังคมเกิดความตระหนักในเรื่องดังกล่าวขึ้น เนื่องจากเราทุกคนต่างไม่สามารถหนีจาก AI ที่อยู่รอบตัวเราไปได้

[ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

การกำกับดูแล AI โดยใช้ แนวปฏิบัติ (guidelines) และข้อแนะนำ (recommendation) ให้นักวิจัยและนักพัฒนานำไปปฏิบัติและกำกับดูแ...
23/05/2023

การกำกับดูแล AI โดยใช้ แนวปฏิบัติ (guidelines) และข้อแนะนำ (recommendation) ให้นักวิจัยและนักพัฒนานำไปปฏิบัติและกำกับดูแลด้วยตนเอง น่าจะเป็นวิธีการกำกับดูแล AI ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในช่วงที่เทคโนโลยี AI ยังมีความไม่ชัดเจน มากกว่าการกำกับดูแลโดยการบังคับใช้กฎหมาย

[ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

ความหมายของการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำโครงการวิจัยหรือพัฒนา...
19/05/2023

ความหมายของการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำโครงการวิจัยหรือพัฒนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกระบวนการวิจัยและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง กระบวนการทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับ AI อีกด้วย

[ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร]

งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

เตรียมพบกับ ❗❗❗ หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning) เรื่อง "มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย"  จัดทำโดย สวทช. ภายใต้การสนับสน...
16/05/2023

เตรียมพบกับ ❗❗❗
หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning) เรื่อง "มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย"
จัดทำโดย สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจาก วช.

KEY HIGHLIGHT
🟠 3 หลักการสำคัญ: Falsification, Fabrication, Plagiarism
🟠 Case study ต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ
🟠 การประพฤติมิชอบทางการวิจัย ทั้งปัจจัย ผลกระทบ และแนวทางลดโอกาสการเกิด
🟠 การขึ้นทะเบียนงานวิจัยทางคลินิก สัญญาอนุญาตสาธารณะ
🟠 การเขียนสรุปความและการถอดความ และการตรวจสอบความคล้ายของเอกสารวิชาการ
🟠 จรรยาวิชาชีพนักวิจัยและแนวทางปฏิบัติที่ดี

พร้อมแบบทดสอบและประกาศนียบัตร (e-Certificate) รับรองหลักสูตรเมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

โปรดติดตามได้ที่ Facebook ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช. เร็วๆ นี้

ติดต่อสอบถาม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

สรุปงานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์”เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ไ...
28/04/2023

สรุปงานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์”

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ได้จัดงานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์” ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี และผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับความสำคัญของจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ และแนวทางการทำวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ และเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา รวมถึง สังคมไทยเกิดความตระหนักด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต้อนรับและแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนาฯ และได้รับเกียรติจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส และ (รักษาการ) รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.), ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด และ นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและหลักการด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ รวมถึง แนวทางการวิจัยและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรม ทั้งในทางธุรกิจและทางการแพทย์ โดยมี ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นผู้ดำเนินรายการช่วงเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น “ลักษณะการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย”

ซึ่งวิทยากรทุกท่านได้ร่วมกันอภิปรายถึงบทบาทความรับผิดชอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยและใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่กลุ่มผู้ใช้งานที่ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา รวมถึงจะต้องมี accountability และ integrity ในการใช้งานด้วย ในขณะที่นักพัฒนาควรมีการทำ self-declaration เพื่อช่วยยืนยันว่า ปัญญาประดิษฐ์นั้นถูกพัฒนาขึ้นอย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับหลักการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องความครอบคลุมของข้อมูลที่ใช้ในการสอนปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล (regulator) ควรหารือกับนักพัฒนา และอาจเริ่มต้นจากการจัดทำ sandbox ก่อน เพื่อให้ทราบถึงประเด็นหรือผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องรีบประกาศกฎเกณฑ์ออกมาบังคับใช้

นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยมี AI literacy เกิดความเข้าใจและรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ ก็เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญด้วย โดยในงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนทั้งหมด 161 ท่าน

สรุปการอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings เมื่อวันที่ ...
05/04/2023

สรุปการอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings

เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (ORI) สวทช. และ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (FERCIT) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (CFA) สวทช. ได้จัดการอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” โดยมี ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม โดยคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำทีมโดย พ.อ.ผศ.นพ.นิธิพันธ์ สุขสุเมฆ ได้มาบรรยายและให้ความรู้แก่บุคลากรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเป็นการสร้างความเข้าใจในแนวปฏิบัติและหลักจริยธรรมพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาสาสมัครจะได้รับ รวมถึงเข้าใจในความเปราะบางของอาสาสมัครแต่ละกลุ่ม สามารถดำเนินการชักชวนอาสาสมัครเข้าสู่งานวิจัย และให้ข้อมูลของงานวิจัยแก่อาสาสมัครได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน รวมทั้งสร้างความตระหนักในการเคารพความเป็นส่วนตัว มีกระบวนการขอความยินยอมจากอาสาสมัครที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม รวมทั้งการรักษาความลับและมีการจัดเก็บเอกสารข้อมูลของอาสาสมัครอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมีช่วงตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้กับงานวิจัยของตนอย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ มีผู้ที่เข้าร่วมการอบรมและทำแบบทดสอบหลังการอบรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 145 คน

มาใหม่ค่ะ Link ลงทะเบียน/ประชุมแบบ online !!!: https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r5d08e00b07a3ac48f7eda98...
13/03/2023

มาใหม่ค่ะ Link ลงทะเบียน/ประชุมแบบ online !!!

: https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r5d08e00b07a3ac48f7eda983b6751786

ประชาสัมพันธ์ งานประชุมวิชาการประจำปี 2566 ของ สวทช. เรื่อง “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์”

🗓 วันที่ 29 มีนาคม 2566
⏰ เวลา 13.00-16.00 น.
🌐 ณ ห้องประชุม CC-404 ชั้น 4 อาคาร 14 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
🔹 ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการ สวทช.
🔹 ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
🔹 ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🔹 ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ กรรมการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด (บริษัทในเครือ ปตท.)
🔹 นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์
🔹 ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

📝 ลงทะเบียน[ONSITE] : https://www.nstda.or.th/nac/2023/seminar/se15/

📝 ลงทะเบียน[ONLINE] : https://meeting-nstda.webex.com/weblink/register/r5d08e00b07a3ac48f7eda983b6751786

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

28/02/2023

ประชาสัมพันธ์ งานประชุมวิชาการประจำปี 2566 ของ สวทช.
ในหัวข้อเรื่อง “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์”

🗓 วันที่ 29 มีนาคม 2566
⏰ เวลา 13.00-16.00 น.
🌐 ณ ห้องประชุม CC-404 ชั้น 4 อาคาร 14 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
💰 ไม่มีค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์
1) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ เกี่ยวกับความสำคัญของจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ และแนวทางการทำวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ และมีจริยธรรม
2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาและสังคมไทย เกิดความตระหนักด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
🔹 ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการ สวทช.
🔹 ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
🔹 ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🔹 ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ กรรมการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด
🔹 นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์
🔹 ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

📝 ลงทะเบียน: https://www.nstda.or.th/nac/2023/seminar/se15/

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 564 7000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์
e-mail : [email protected]

ประชาสัมพันธ์ การอบรม จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จัดโดย ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (FERCIT) และ ฝ่ายส่งเสริมจริยธ...
01/02/2023

ประชาสัมพันธ์ การอบรม จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จัดโดย ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (FERCIT) และ ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.

อบรมครบเวลา 2 วันเต็ม ได้รับประกาศนียบัตรจาก FERCIT และ สวทช.

ลงทะเบียน ตาม QR code
ค่าลงทะเบียน 1,800 บาท

งานอบรม “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” (หลักสูตร 2 วัน) 🗓 วันที่ 23–24 กุมภาพันธ์ 2566 ⏰ เวลา 9.00-1...
17/01/2023

งานอบรม “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” (หลักสูตร 2 วัน)

🗓 วันที่ 23–24 กุมภาพันธ์ 2566
⏰ เวลา 9.00-16.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย และสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สวทช.
💰 ค่าลงทะเบียน 1,800 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

Key Highlights
🔸รู้ลึก รู้จริง...ในหลักการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
🔸เตรียมพร้อม...วางแผนการวิจัยในมนุษย์ อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและมาตรฐานสากล
🔸แลกเปลี่ยนเรียนรู้...ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคม

🖥️ รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.career4future.com/hre66/
📝 ลงทะเบียน https://www.career4future.com/cfa/index.php?crsgen=8280

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 644 8150 ต่อ 81889 คุณอริสรา (การลงทะเบียน/การชำระเงิน)
02 564 7000 ต่อ 71843-4 คุณรุจิกร/คุณณัฐพัชร์ (เนื้อหาหลักสูตร)
e-mail : [email protected] / [email protected]

ร่วมบริจาคเงินเข้ากองทุน เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. กันค่ะ ได้ทั้งบุญ และลดหย่อนภาษี ได้ 2 เท่าค่ะ เรียน...
20/12/2022

ร่วมบริจาคเงินเข้ากองทุน เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. กันค่ะ
ได้ทั้งบุญ และลดหย่อนภาษี ได้ 2 เท่าค่ะ
เรียนเชิญ scan E-donation ได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

10 ที่นั่งสุดท้าย !!!! ลงทะเบียนด่วนค่ะการเลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัยหากมีปัญหาลงทะเบียน ต...
08/12/2022

10 ที่นั่งสุดท้าย !!!! ลงทะเบียนด่วนค่ะ

การเลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย

หากมีปัญหาลงทะเบียน ติดต่อ [email protected]

งานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ” ...
30/11/2022

งานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย”
ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ”

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพฯ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (CFA) ร่วมกับ ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (ORI) สวทช. ได้จัดงานฝึกอบรมหัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนา ผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจ” (Research development and innovation manager for commercialization) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับบุคลากร ให้สามารถมองเห็นภาพรวมและเข้าใจการทำงานด้านวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมตั้งแต่การจัดทำแผนงานนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภารกิจขององค์กรและกลไกการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ พร้อมทั้งทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร

ด้วยเหตุนี้ สวทช. จึงได้เรียนเชิญ ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล แชร์ประสบการณ์ในหัวข้อเรื่อง “ถอดความรู้และประสบการณ์ในการบริหารหน่วย RDI สวทช.” ร่วมกับ ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “Mentoring system : ระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย” ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญมาก ที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการบริหารโครงการวิจัยควรตระหนักและให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำวิจัยที่มีคุณภาพ ที่น่าเชื่อ และสอดคล้องกับมาตรฐานการวิจัย โครงการฝึกอบรมดังกล่าว จำกัดผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 40 ท่าน ที่มีตำแหน่ง บทบาทและ/หรือภารกิจ เกี่ยวข้องกับการจัดการงานวิจัยสู่เชิงเศรษฐกิจ โดยวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมต่างร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาแผนงาน และนำไปปรับใช้กับองค์กร/การบริหารโครงการของตน อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

งานอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร"เลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย"🗓 วันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2565 ⏰...
27/10/2022

งานอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร"เลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย"

🗓 วันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2565
⏰ เวลา 8.30-16.30 น.
🌐 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี และผ่านระบบ Cisco WebEx
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย และสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สวทช.
💰 ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

👩‍🎓 วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริม ให้นักวิจัย และผู้เข้าอบรมเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการดำเนินการวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามความจำเป็นทางสถิติ และสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่ดี รวมถึง สามารถเลือกใช้สถิติได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

Key Highlights
🔸การวิจัยเชิงปริมาณ
🔸การวางแผนการวิจัย
🔸การเลือกใช้สถิติในงานวิจัย
🔸การแนะนำการใช้โปรแกรมสถิติ SPSS เบื้องต้น
🔸สถิติเชิงพรรณนา และการสรุปข้อมูล
🔸เรียนรู้การใช้สถิติขั้นพื้นฐาน

🖥️ รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.career4future.com/stat

📝 ลงทะเบียน https://www.career4future.com/cfa/index.php?crsgen=8225

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
095-764-9803 คุณอริสรา (การลงทะเบียน/การชำระเงิน)
02 5647000 ต่อ 71844 คุณณัฐพัชร์ (เนื้อหาหลักสูตร)
e-mail : [email protected]

สรุปงานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย”เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ฝ่ายส่งเสริมจร...
03/10/2022

สรุปงานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ได้จัดงานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย” ผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เกี่ยวกับกรณีศึกษาการนำปัญญาประดิษฐ์ และ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศไทย และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในทางที่ถูกต้อง มีจริยธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ประธานคณะกรรมการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ของ สวทช. กล่าวต้อนรับและแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดงานเสวนาฯ และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi), ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา และ ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาการนำเทคโนโลยีทางด้าน AI และ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศไทย โดยมี คุณอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อนุกรรมการ คณะกรรมการสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการช่วงเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น “ก้าวต่อไปของสังคมไทยในยุคปัญญาประดิษฐ์ จากมุมมองของผู้พัฒนาและผู้ใช้งาน” ซึ่งได้ร่วมกันอภิปรายถึงประเด็นต่างๆ ทางด้านจริยธรรมในการพัฒนาและนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งาน เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ การป้องการเกิดอคติ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และข้อกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น รวมถึง ได้ร่วมให้ข้อแนะนำและข้อคิดเห็นต่อแนวทางการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งควรมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (guidelines) ที่ จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นของสังคมไทยต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ โดยไม่สร้างข้อจำกัดให้กับนักวิจัยและผู้พัฒนามากจนเกินไป นำไปสู่การสร้างความร่วมมือและทำให้ปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้า มีความปลอดภัย ป้องกันการพัฒนาและการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้งานอย่างไม่มีจริยธรรม อีกทั้ง ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย พร้อมกับส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และรู้เท่าทันการนำข้อมูลของคนไทยมาใช้ประโยชน์ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Big data ของบริษัทต่างประเทศ โดยในงานเสวนาฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนทั้งหมด 190 ท่าน

บีบีซีไทย ได้รวบรวมประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ The Age of A.I. Art จัดโดยคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อ...
21/09/2022

บีบีซีไทย ได้รวบรวมประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ The Age of A.I. Art จัดโดยคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวถึงข้อถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ AI ในวงการศิลปะ โดยงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากมนุษย์และ AIนั้น ยังคงต้องอาศัยองค์ประกอบหลักที่เหมือนกัน เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับชิ้นงาน และความชำนาญของศิลปิน แต่ AI จะเข้ามาช่วยให้เราสามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร. โกเมศ กาญจนพายัพ อาจารย์จากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า AI จะเข้ามาเปลี่ยนบทบาทจากที่มนุษย์เคยเป็นผู้ควบคุมการสร้างสรรค์งานศิลปะในทุกขั้นตอน มาเป็น “ภัณฑารักษ์” คือ ทำหน้าที่เพียงแค่ดูแลว่าผลงานที่เกิดขึ้นนั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการหรือไม่ นอกจากนี้ การนำ AI มาใช้ในงานศิลปะยังทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นลิขสิทธิ์ตามมาด้วย ทั้งในมุมของการใช้ภาพต้นแบบที่มีลิขสิทธิ์มาสร้างภาพใหม่โดย AI นั้น จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ หรือในมุมของการนำผลงานที่สร้างขึ้นโดย AI ไปจดลิขสิทธิ์นั้น สามารถทำได้หรือไม่ โดยเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีรายงานว่า สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ปฏิเสธคำขอจดทะเบียนภาพศิลปะที่สร้างขึ้นโดย AIของนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีมนุษย์เป็นผู้ร่วมสร้างผลงานดังกล่าว ดังนั้น จากข้อถกเถียงต่างๆ เหล่านี้ จึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การเตรียมตัวรับมือและหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจาก AI เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักถึง เพื่อให้การนำ AI มาใช้ในวงการต่างๆ นั้น เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากที่สุด

ที่มา:
https://www.bbc.com/thai/articles/c1rexy9d7nyo
https://www.voathai.com/a/us-copyright-agency-rejects-registration-ai-created-image/6457861.html

ยังมีประเด็นข้อถกเถียงหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในวงการศิลปะเกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ แม้ว่าโปรแกรม.....

สรุปงานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐก...
15/09/2022

สรุปงานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ”

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (CFA) ได้เชิญให้ ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (ORI) นำโดย คุณฐิติวรรณ เกิดสมบุญ ผู้อำนวยการฝ่าย ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย”
ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ” (Research development and innovation manager for commercialization) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับบุคลากรให้สามารถมองเห็นภาพรวมและเข้าใจการทำงานด้านวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมตั้งแต่การจัดทำแผนงานนโยบาย ภารกิจขององค์กรและกลไกการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ พร้อมทั้งทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร โครงการนี้จำกัดผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 40 ท่าน ที่มีตำแหน่ง บทบาทและ/หรือภารกิจ เกี่ยวข้องกับการจัดการงานวิจัยสู่เชิงเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้ง 40 ท่าน ได้นำเสนอแผนงานจัดการงานวิจัยของตน ให้แก่ทีมวิทยากร นำโดย รศ.ดร. ดวงหทัย เพ็ญตระกูล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณฐิติวรรณ เกิดสมบุญ จากฝ่าย ORI เสริมทัพด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศ.ดร. สุภา หารหนองบัว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. ศิริชัย กิตติวราพงศ์ ดร. ใจรัก เอื้อชูเกียรติ และคุณอรุณศรี ศรีธนะอิทธิพล จาก CFA สวทช. โดยวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมต่างร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาแผนงาน และนำไปปรับใช้ ตลอดจนใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

📌📌งานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย” 📌📌🗓 วันอังคารที่ 27 กันยายน 2565⏰ เวลา 13.0...
23/08/2022

📌📌งานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย” 📌📌

🗓 วันอังคารที่ 27 กันยายน 2565
⏰ เวลา 13.00-16.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.
💰 ไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิให้เกียรติเข้าร่วมเสวนา ดังนี้
1) ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ประธานคณะกรรมการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ของ สวทช.
2) รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
3) ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ นักวิจัย ผู้พัฒนาพัฒนาระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform)
4) ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมทาง online ได้ที่ https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?RGID=rd689c68f3dc4ec8f3cdf9fd2cd2fd745

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
02 5647000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์)
E-mail : [email protected]

สรุปงานอบรมเสวนา“แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร”เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565...
17/08/2022

สรุปงานอบรมเสวนา“แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร”

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น. ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (ORI) สวทช. ได้จัดงานอบรมเสวนา “แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร” โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานอบรม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.เกียรติคุณ ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร, ผศ.ดร.ภญ.สุพัตรา ปรศุพัฒนา และ ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป มาบรรยายและให้ความรู้ ในหัวข้อสำคัญ ได้แก่

• หลักการและความสำคัญของการประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย
• ทำวิจัยในกลุ่มเปราะบางและเด็กอย่างไร ให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
• บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้วิจัย ในการดูแลสวัสดิภาพของอาสาสมัคร

เนื่องจากการทำวิจัยในมนุษย์เป็นความท้าทายใหม่สำหรับผู้วิจัยในปัจจุบันนี้ เนื่องจากผู้วิจัยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสวัสดิภาพ สิทธิ และความปลอดภัย ของอาสาสมัคร จึงควรดำเนินการวิจัยโดยเน้นการเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และมีวิธีในการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมวิจัย คณะกรรมการฯ และสาธารณชน ว่าได้ดำเนินการวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ยังมีช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ถาม-ตอบ ประเด็นข้อสงสัย เพื่อคำแนะนำที่ได้ไปปรับใช้ต่อไป โดยงานอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 81 คน

📌5 วันสุดท้าย เท่านั้น📌งานประชุมวิชาการ “International Forum: Research Integrity - Challenges and Solutions” >แลกเปลี่ยน...
01/08/2022

📌5 วันสุดท้าย เท่านั้น📌
งานประชุมวิชาการ “International Forum: Research Integrity - Challenges and Solutions”

>แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้าน Research Integrity
>สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานวิจัยตามหลักจริยธรรม

🗓 วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565
⏰ เวลา 13.00-16.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.
💰 ไม่เสียค่าใช้จ่าย
👩‍💼 บรรยายเป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามแปลภาษา EN↔TH

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมทาง online ได้ที่ https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?RGID=r6f4f2d5c3f6205f9751f787c89a06133

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
02 5647000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์)
E-mail : [email protected]

โมเลกุลมณีแดง : นวัตกรรมต้านเซลล์ชรา เตรียมพร้อมทดสอบในมนุษย์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด และบริษัท อิน...
27/07/2022

โมเลกุลมณีแดง : นวัตกรรมต้านเซลล์ชรา เตรียมพร้อมทดสอบในมนุษย์

จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด และบริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด ได้แถลงข่าวถึงความคืบหน้างานวิจัย "โมเลกุลมณีแดง" ซึ่งเป็นนวัตกรรมต้านเ ซลล์ชรา จากการทดสอบในสัตว์ ก่อนจะเตรียมทดสอบในมนุษย์ในอีก 8 เดือน ต่อจากนี้ เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ทำให้ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติและถูกทำลายได้ง่าย การที่ดีเอ็นเอถูกทำลายจากแรงบิดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เซลล์แก่ลง การค้นพบโมเลกุลมณีแดง หรือ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) นี้ จะมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอ และป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอได้

โดย ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จากการค้นพบนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา จนเข้าสู่การทดสอบในสัตว์ คือ หนู หมู และลิง โดยได้ทดสอบกับหนูวัยชราที่มีแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้ พบว่าหนูวัยชรากลับเป็นหนูที่มีความแข็งแรงและกระตือรือร้นขึ้น ทั้งการทำงานของ สมอง ตับ และไต ในส่วนของไขมันในช่องท้องและพังผืดในตับได้ลดหายไปด้วย ด้านแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้หายดี ไม่มีผลข้างเคียง”

ขณะนี้ได้ทดสอบมณีแดงกับลิงแสมแล้ว 3 เข็ม ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ จากที่วางแผนไว้ 8 เข็ม ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยลิงแสมทุกตัวปลอดภัยดี และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ โดยลำดับต่อไปจะเป็นการเตรียมทดสอบมณีแดงทางคลินิกในมนุษย์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในช่วงปี 2566 เพื่อทดสอบความปลอดภัยและต่อยอดสู่การผลิตออกจำหน่ายเร็วสุดในปี 2567

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเกินกว่า 20% และคาดว่าในปี 2568 คนไทยจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวถึง 85 ปี ทีมวิจัยมณีแดง จึงมองว่า นอกเหนือจากเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยแล้ว มณีแดงจะเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การก้าวสู่สังคมสูงวัยของไทย เพื่อ "ยกระดับคุณภาพชีวิต" อีกด้วย

ที่มา:
https://www.tnnthailand.com/news/social/94145/
https://www.chula.ac.th/en/highlight/59580/
https://www.nstda.or.th/ChairProfessor/pr/186-red-gems.html
https://www.bbc.com/thai/thailand-62145481?at_custom2=facebook_page&at_custom4=AD32A4B2-025F11ED-9D381DAE923C408C&at_custom3=BBC+Thai&at_custom1=%5Bpost+type%5D&at_medium=custom7&at_campaign=64

ทำความรู้จัก “มณีแดง” ยาย้อนเซลล์ชรา ฝีมือนักวิจัยไทย ที่ถือเป็นการค้นพบแรกของโลก นี่จะเป็นยาอายุวัฒนะท....

📌📌งานประชุมวิชาการ “International Forum: Research Integrity - Challenges and Solutions” 📌📌🗓 วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565⏰ ...
21/07/2022

📌📌งานประชุมวิชาการ “International Forum: Research Integrity - Challenges and Solutions” 📌📌

🗓 วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565
⏰ เวลา 13.00-16.00 น.
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.
💰 ไม่เสียค่าใช้จ่าย
👩‍💼 บรรยายเป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามแปลภาษา EN↔TH

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมทาง online ได้ที่ https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?RGID=r6f4f2d5c3f6205f9751f787c89a06133

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
02 5647000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์)
E-mail : [email protected]

📢📢งานอบรมเสวนา“แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร” 📢📢🗓 วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาค...
11/07/2022

📢📢งานอบรมเสวนา“แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร” 📢📢

🗓 วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565
⏰ เวลา 09.00-12.00 น
🌐 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex
🎥 จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.
💰 ไม่เสียค่าใช้จ่าย

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมทาง online ได้ที่ https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?RGID=rb93f623dccc9a2a2046417d7648ba3bc

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
02 5647000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์)
E-mail : [email protected]

สรุปงานอบรมเสวนา "ตามทันสถานการณ์ COVID-19 กับการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง"เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรม...
07/07/2022

สรุปงานอบรมเสวนา "ตามทันสถานการณ์ COVID-19 กับการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง"

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย จัดงานอบรมเสวนา "ตามทันสถานการณ์ COVID-19 กับการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง" ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Cisco Webex โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.น.สพ.วิทวัช วิริยะรัตน์ จากคณะสัตวพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สพญ.ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์ นักวิจัย จากกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ทีมวิทยากรที่มากไปด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ เสริมทัพด้วย รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินรายการ มาร่วมแบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์ และอัพเดท “ความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีน COVID-19 สัญชาติไทย” ไม่ว่าจะเป็น ChulaCov19 หรือวัคซีนชนิด Viral vector ที่ สวทช. ทำอยู่ รวมไปถึงความหลากหลายของไวรัสที่พบในสัตว์และความสัมพันธ์กับ COVID-19 สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

ศ.นพ.เกียรติ ให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 มาประมาณ 2.5 ปี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ vaccine design, animal testing, clinical batch จนกระทั่งได้วัคซีน ChulaCov19” ชนิด mRNA ในเฟสที่ 1 ผลการทดสอบจากอาสาสมัคร พบว่าอาสาสมัครมีภูมิคุ้มกันดี กระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม และสามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์คือ Alpha, Beta, Gamma และ Delta ได้ อีกทั้ง ได้เตรียมการขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินต่อไป ปัจจุบัน จุฬาฯ ได้เตรียมพร้อมวัคซีน generation 2 สำหรับรับมือกับสายพันธุ์ Omicron และคาดว่าจะเริ่มทดสอบกับอาสาสมัครภายในต้นปีหน้า

ดร.สพญ.ฌัลลิกา กล่าวถึงข้อสังเกตที่พบจากการวิจัยและพัฒนาวัคซีนชนิด Viral vector หลักๆ 3 ประเด็น คือ
1. การมี ABSL-3 facility ที่ครบครัน จะช่วยลดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาวัคซีนได้เป็นอย่างมาก
2. เพศชาย-หญิง อาจมีผลต่อการติดเชื้อและการแสดงออกของโรคที่แตกต่างกัน จากผลการทดสอบในหนูแฮมสเตอร์พบว่า หนูที่ติดเชื้อเพศผู้ มีรอยโรคที่ชัดเจนและสามารถแปลผลได้มากกว่าหนูที่ติดเชื้อเพศเมีย
3. จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาระบุว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาแล้ว มีอัตราการป่วย/การติดเชื้อโควิดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ประกอบกับ Viral vector ที่ สวทช. กำลังวิจัยอยู่เป็น influenza เหมือนกัน จึงทำให้ไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากนัก

รศ.ดร.น.สพ.วิทวัช ให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของไวรัสว่าขึ้นอยู่กับชนิดของ Host และคาดการณ์ว่าต้นตอของไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 มาจากค้างคาว กลุ่มค้างคาวมงกุฎ ซึ่งเป็นสัตว์จากธรรมชาติ และมีงานวิจัยค้นพบว่าค้างคาวมีความหลากหลายของไวรัสค่อนข้างมาก ปัจจุบัน มีสัตว์หลากหลายประเภทที่สามารถติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์จากธรรมชาติ หรือสัตว์ทดลอง

อย่างไรก็ตาม การแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ด้วย เช่น แมว ติดเชื้อได้ แพร่เชื้อได้ ในขณะที่สุนัข ติดเชื้อได้ แต่ไม่แพร่เชื้อไม่ได้ โดยสรุปงานอบรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 167 ท่าน

ที่อยู่

111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศ
ไทย
12120

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช.:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน ไทย

แสดงผลทั้งหมด
#}