Clicky

สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกร

สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกร สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิ

เปิดเหมือนปกติ

📣 New episode!!!EP. 9 "Sustainable Urban Mobility" พัฒนาการเดินทางในเมืองอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืน🎙♦️ พูดคุยกับ ดร...
09/12/2022

📣 New episode!!!
EP. 9 "Sustainable Urban Mobility" พัฒนาการเดินทางในเมืองอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
🎙♦️ พูดคุยกับ ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์ นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
🎧ช่องทางการรับฟัง:
Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=m5XBUXEpmwI
Spotify: https://open.spotify.com/show/2eKYiaJtsEm93GlZU5migH
Podbean: https://erichula.podbean.com/

EP. 9 จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมการเดินทางในเมือง หรือ urban mobility เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญในชีวิตประจำวัน กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนี่งที่สำคัญของภาคการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอีพีนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับ concept หรือหลักการของรูปแบบการเดินทางในเมืองในปัจจุบันรวมถึง เทรนด์ในอนาคต และการพัฒนาการเดินทางในเมืองให้มีความอย่างยั่งยืนตาม concept ของ Sustainable Urban Mobility

📌สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนา▪️หัวข้อ “ระบบไฟฟ้าสายใต้ดินทันสมัย และ ลดก๊าซเรือนกระจก...
08/12/2022

📌สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนา
▪️หัวข้อ “ระบบไฟฟ้าสายใต้ดินทันสมัย และ ลดก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอน” Submersible Transformer & Energy Low Carbon 🍃

▪️จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัดและบริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด

▪️วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 14.00-16.00 น.
▪️ณ KLOUD by KBANK สยามสแควร์

▪️บรรยายโดย
ดร.สมบัติ วนิชประภา
ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา
ดร.ชาตรี วัฒนศิลป์
คุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์
คุณนพชัย ถิรทิตสกุล

▪️รับชมเสวนาสดทางช่องทาง

📌Facebook Live: เพจ Submersible Transformer Low Carbon

📌Application "TEMCA VERSE"

👉Link ดาวน์โหลด "TEMCA VERSE" Application

For Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.LivingMuseumTH.Temca

For iOS : https://apps.apple.com/th/app/temca-metaverse/id1640292719?l=th

#หม้อแปลงใต้น้ำ#หม้อแปลงใต้น้ำLowCarbon #ลดคาร์บอน

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร...
08/12/2022

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมแสดงความยินดีกับคณะเภสัชศาสตร์ ในวาระครบรอบ 109 ปี แห่งการสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ERI seminarเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาดร.ชาตรี วัฒนศิลป์ นักวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไ...
30/11/2022

ERI seminar

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
ดร.ชาตรี วัฒนศิลป์ นักวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์” ให้กับบุคลากรเทศบาลเมืองท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ภายใต้ “โครงการศึกษาศักยภาพการ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนนลังคาอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองท่าใหม่ และการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานไฟฟ้าของภาครัฐที่ทันสมัย ในการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีความยั่งยืนเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน โดยการสนับสนุนจากท่าน นายกเทศมนตรีเมืองท่าใหม่ (นายธวัชชัย สวัสดิชัย)

📍เชิญชมงานสัมมนาย้อนหลัง🔹งานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ "โครงการศึกษาผลกระทบของยานยนต์ไฟฟ้าต่อการขับเคล...
24/11/2022

📍เชิญชมงานสัมมนาย้อนหลัง

🔹งานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ "โครงการศึกษาผลกระทบของยานยนต์ไฟฟ้าต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย ครั้งที่ 1" ได้ที่ Link ด้านล่างนี้คะ

https://drive.google.com/drive/folders/1G88bu1rbLsuQ4jKP_aHxE-EewLF-v23a?usp=sharing

☀️5 เรื่องที่ต้องรู้ ในยุคพลังงานสะอาด🌎การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสการปรับตัวด...
18/11/2022
Energy Transition

☀️5 เรื่องที่ต้องรู้ ในยุคพลังงานสะอาด

🌎การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสการปรับตัวด้านการใช้พลังงานไปทั่วโลก จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาสู่เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ
ทีดีอาร์ไอชวนทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ทั้งเรื่องเป้าหมายและหลักคิดในการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของเรา ใน Policy Popup "5 เรื่องต้องรู้ ในยุคพลังงานสะอาด"

Energy Transition FacebookTwitterLine 5 เรื่องที่ต้องรู้ในยุคพลังงานสะอาด ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน มีส่วนสำ...

📣งานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ🔹ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต...
17/11/2022

📣งานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

🔹ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ "โครงการศึกษาผลกระทบของยานยนต์ไฟฟ้าต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย ครั้งที่ 1"

🗓วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565
🕘เวลา 9:00-12:00 น.

ณ ห้องลาดพร้าว ชั้น M เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว และทางระบบ Zoom meeting

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านทาง QR code ได้เลยค่ะ

📣 New episode!!! (Special guest)EP. 8 ไขข้อสงสัย "คาร์บอนเครดิต" โครงการลักษณะใดสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองไปซื้อขายใ...
13/11/2022
ไขข้อสงสัย "คาร์บอนเครดิต" โครงการลักษณะใดสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองไปซื้อขายในตลา

📣 New episode!!! (Special guest)
EP. 8 ไขข้อสงสัย "คาร์บอนเครดิต" โครงการลักษณะใดสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองไปซื้อขายในตลาดได้
ERI Podcast: Season 1 Clean energy and climate action ☀️

🎙♦️พูดคุยกับ พี่ติ๊ก บุญรอด เยาวพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท The Creagy และ ที่ปรึกษาด้าน climate change และ carbon credit
🎧ช่องทางการรับฟัง:
Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=-LGCSOnIN08
Spotify: https://open.spotify.com/episode/6lRmrCPat4U8Vqu1G0nSm5?si=zNh0s8xPR8WRUTLLkVXOhA
Podbean: https://erichula.podbean.com/

กลไกคาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือการเงินที่สำคัญเพื่อช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี 2021 ตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลกอยู่ที่ 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งมองว่ายังมีโอกาสที่ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทยจะเติบโตเทียบเท่ากับตลาดโลกได้ อย่างไรก็ดี โครงการในลักษณะใดที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปซือขายในตลาดได้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างกลไกการซื้อขายใบอนุญาตและการทำโครงการฯ ร่วมไขข้อสงสัยกันใน EP. นี้ค่ะ
*******************************************************************

กลไกคาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือการเงินที่สำคัญเพื่อช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภา.....

🌍COP27 เริ่มต้นขึ้นแล้ว... เชิญชวนอ่านรายงานการศึกษา “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงาน 2050” เน้นย้ำเรื่องแผ...
10/11/2022

🌍COP27 เริ่มต้นขึ้นแล้ว...
เชิญชวนอ่านรายงานการศึกษา “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงาน 2050” เน้นย้ำเรื่องแผนและนโยบายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยที่ต้องเข้มข้นขึ้น
จากที่นายกฯ ไทยประกาศไว้ใน COP26 ว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 ผลการศึกษาภายใต้โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) ชี้ว่า เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงานในอีก 30 ปีข้างหน้าเป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มตั้งแต่วันนี้ แผนและนโยบายปัจจุบันยังไม่เพียงพอให้บรรลุเป้าหมายได้
โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องอาศัยเป้าหมายลดคาร์บอนที่เข้มข้นขึ้นในภาคไฟฟ้า ภาคความร้อนในอุตสาหกรรม และขนส่ง ภาคการผลิตไฟฟ้าควรเน้นเพิ่มการผลิตที่มาจากแสงอาทิตย์และลมขณะที่ภาคความร้อนในอุตสาหกรรมควรเน้นการเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในการทำความร้อน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และภาคขนส่งควรเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะระบบราง และพาหนะส่วนบุคคล
การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานตามแนวทางที่เสนอแนะ ยังสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อีกหลายทาง อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการลดความเสี่ยง และการผันผวนจากราคาพลังงาน และการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น
อ่านรายงานฉบับเต็มที่ https://bit.ly/3UCjjPS
Executive Summery (ภาษาไทย) ที่ https://bit.ly/3V0YFsT
_________

ส่วนหนึ่งของโครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), กระทรวงเศรษฐกิจ และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งรัฐบาลเยอรมัน (BMWK), สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ERI) และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

🚩 เชิญชวนมานั่งชิว ๆ เล่นบอร์ดเกมในตีมพลังงานกับ เกม The Power Jungle Boardgame : the pathway to  sustainable energyเจอก...
05/11/2022

🚩 เชิญชวนมานั่งชิว ๆ เล่นบอร์ดเกม
ในตีมพลังงานกับ เกม The Power Jungle Boardgame :
the pathway to sustainable energy

เจอกันหน้าห้องสมุด ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 - 16.00น. Library, Creative Space ชั้น 5 อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/CL7HXYVZxL6X7LAj8
คุณจะได้ลองเล่นบริหารวางแผนการจัดการพลังงานไฟฟ้า ในสภาวะที่ไม่แน่นอน ภายในเมืองของคุณ วางแผนสร้างสาธารณนูปโภคด้านพลังงาน จัดสรรทรัพยากร เผชิญสถานการณ์ พร้อมรับผลที่จะตามมา
และแน่นอนเช่นเดิม เรามีคนแนะนำการเล่นให้ตลอดกิจกรรม !
รับจำนวน 20 ท่าน *ไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยทางทีมงานจะติดต่อยืนยันผู้ที่เข้าร่วมทางอีเมลอีกครั้ง ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
หากมีข้อสงสัยท่านสามารถติดต่อได้ทางเพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/No.GameRoom

https://www.facebook.com/photo?fbid=137178099076505&set=a.128154456645536

มาเปิดห้อง No.5 Game Room เล่นเกมเรียนรู้กันต่อในตีมพลังงาน
กับ เกม The Power Jungle Boardgame : the pathway to sustainable energy
ครั้งนี้มานั่งเล่นชิว ๆ กันหน้าห้องสมุด ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 - 16.00น. Library, Creative Space ชั้น 5 อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก
คุณจะได้ลองเล่นบริหารวางแผนการจัดการพลังงานไฟฟ้า ในสภาวะที่ไม่แน่นอน ภายในเมืองของคุณ วางแผนสร้างสาธารณนูปโภคด้านพลังงาน จัดสรรทรัพยากร เผชิญสถานการณ์ พร้อมรับผลที่จะตามมา
และแน่นอนเช่นเดิม เรามีคนแนะนำการเล่นให้ตลอดกิจกรรม !
รับจำนวน 20 ท่าน *ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/CL7HXYVZxL6X7LAj8
โดยทางทีมงานจะติดต่อยืนยันผู้ที่เข้าร่วมทางอีเมลอีกครั้ง ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
หากมีข้อสงสัยท่านสามารถติดต่อได้ทางเพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/No.GameRoom

🚩เชิญชวนเล่นบอร์ดเกมกลับมาอีกครั้ง กับการเปิดห้อง No. 5 Game room เกมเพื่อการเรียนรู้ !ครั้งนี้ มากับชุดเกม CIA : Carbon...
04/11/2022

🚩เชิญชวนเล่นบอร์ดเกม
กลับมาอีกครั้ง กับการเปิดห้อง No. 5 Game room เกมเพื่อการเรียนรู้ !
ครั้งนี้ มากับชุดเกม CIA : Carbon intelligence agency ที่จะมาพูดถึงเรื่อง "การจัดการเมืองคาร์บอนต่ำ"
มาลองเล่นเรียนรู้ผ่านกลไกการเล่นเกมอย่างง่าย ๆ พร้อมพูดคุยกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักออกแบบ
ใน วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565
เวลา 14.00 น. - 16.00 น. Library
ห้อง Auditorium อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก

ผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/pSj8Di28vyV37QQy6
สำหรับผู้สนใจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ หรือเล่นเกมเป็นมาก่อน เพราะเรามีคนแนะนำการเล่นให้ตลอดกิจกรรม !
รับจำนวน 20 ท่าน *ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม

โดยทีมงานจะติดต่อยืนยันผู้ที่เข้าร่วมทางอีเมลอีกครั้ง ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
หากมีข้อสงสัยท่านสามารถติดต่อได้ทาง เพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/No.GameRoom

กลับมาอีกครั้ง กับการเปิดห้อง No. 5 Game room เกมเพื่อการเรียนรู้ !
ครั้งนี้ มากับชุดเกม CIA : Carbon intelligence agency ที่จะมาพูดถึงเรื่อง "การจัดการเมืองคาร์บอนต่ำ"
.
มาลองเล่นเรียนรู้ผ่านกลไกการเล่นเกมอย่างง่าย ๆ พร้อมพูดคุยกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักออกแบบ
ใน วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565
เวลา 14.00 น. - 16.00 น. Library
ห้อง Auditorium อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก
สำหรับผู้สนใจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ หรือเล่นเกมเป็นมาก่อน เพราะเรามีคนแนะนำการเล่นให้ตลอดกิจกรรม !
รับจำนวน 20 ท่าน *ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม
ผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/pSj8Di28vyV37QQy6
โดยทีมงานจะติดต่อยืนยันผู้ที่เข้าร่วมทางอีเมลอีกครั้ง ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
หากมีข้อสงสัยท่านสามารถติดต่อได้ทาง เพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/No.GameRoom

[ENG Below]GIZ ประเทศไทย และโครงการ CASE ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาสาธารณะ จาก COP26 สู่ COP27: เดินหน้าภาค...
26/10/2022

[ENG Below]
GIZ ประเทศไทย และโครงการ CASE ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาสาธารณะ จาก COP26 สู่ COP27: เดินหน้าภาคพลังงานสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2050
ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9:00–12:00 น.
TDRI Thailand Development Research Institute (TDRI) และ GIZ ประเทศไทย โครงการ CASE - Clean, Affordable and Secure Energy for Southeast Asia และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา เวทีสาธารณะ ภายใต้หัวข้อ จาก COP26 สู่ COP27: เดินหน้าภาคพลังงานสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2050 และมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด พร้อมพบกับงานเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงพลังงาน และภาคประชาสังคม ในหัวข้อ “ทบทวนคำสัญญาผู้นำไทยกับความเป็นไปได้สู่เวที COP27”
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมงาน ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ คลิก https://forms.gle/CwDWaBJacijUTixr8
*ขอสงวนสิทธิจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ณ สถานที่จัดงาน
**เมื่อลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ร่วมงานแล้ว กรุณารอการยืนยันสิทธิเข้าร่วมงานจากทีมงาน
หรือกดติดตามการรับชมสด ได้ที่ https://fb.me/e/21EtUJrTz
On November 2, 2022 from 9.00-12.00PM, Bangkok time, the Clean, Affordable and Secure Energy for Southeast Asia (CASE) Programme, Energy Research Institute (ERI) and Thailand Development Research Institute Foundation (TDRI) invite you to join our public seminar "From COP26 to COP27: Move Energy sector toward Carbon Neutrality by 2050"
The seminar will be conducted physically [in Thai] and can be followed online on CASE and TDRI Facebook.
Register by scanning the QR Code below and see you on that day!

📚ERI Publications: Articleเชิญชวนอ่านบทความเรื่อง "Optimal Loss of Load Expectation for Generation Expansion Planning Co...
23/10/2022

📚ERI Publications: Article
เชิญชวนอ่านบทความเรื่อง "Optimal Loss of Load Expectation for Generation Expansion Planning Considering Fuel Unavailability"

✍️Authors:
▪️ Radhanon Diewvilai
Department of Electrical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University

▪️Assoc. Prof. Dr. Kulyos Audomvongseree
Energy Research Institute, Chulalongkorn University
Department of Electrical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University

Abstract:
In generation expansion planning, reliability level is the key criterion to ensure enough generation above peak demand in case there are any generation outages. This reliability criterion must be appropriately optimized to provide a reliable generation system with a minimum generation cost. Currently, a method to determine an optimal reliability criterion is mainly focused on reserve margin, an accustomed criterion used by several generation utilities. However, Loss Of Load Expectation (LOLE) is a more suitable reliability criterion for a generation system with a high proportion of renewable energy since it considers both the probabilistic characteristics of the generation system and the entire load’s profile. Moreover, it is also correlated with the reserve margin. Considering the current fuel supply situation, a probabilistic model based on Bayes’ Theorem is also proposed to incorporate fuel supply unavailability into the probabilistic criterion. This paper proposes a method for determining the optimal LOLE along with a model that incorporates fuel supply unavailability into consideration. This method is tested with Thailand’s Power Development Plan 2018 revision 1 to demonstrate numerical examples. It is found that the optimal LOLE of the test system is 0.7 day/year, or shifted to 0.55 day/year in the case of considering the fuel supply unavailability.

Download: https://www.mdpi.com/1996-1073/15/21/7854

📣 New episode!!!EP. 7 Waste Valorization: กุญแจสำคัญสู่ Net Zero Emission อย่างยั่งยืน ERI Podcast: Season 1 Clean energ...
21/10/2022

📣 New episode!!!
EP. 7 Waste Valorization: กุญแจสำคัญสู่ Net Zero Emission อย่างยั่งยืน
ERI Podcast: Season 1 Clean energy and climate action ☀️

🎙♦️พูดคุยกับ ดร.ฉัตรทิพย์ พรหมหมวก นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
🎧ช่องทางการรับฟัง:
Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=BuNGykhShII
Spotify: https://open.spotify.com/episode/5DAMTKocT4Kx0k11Hru3tR
Podbean: https://erichula.podbean.com/

ปัจจุบันปัญหาของขยะจากภาคการเกษตรในประเทศไทยยังคงมีปัญหาในการจัดการที่ไม่เหมาะสมและมีการนำไปใช้ประโยชน์น้อย ขยะจากภาคเกษตรถ้าบางตามสถานที่สุดท้ายจะอยู่ที่ filed และอีกที่หนึ่งก็คือที่โรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีการนำขยะหรือของเสียมาเพิ่มมูลค่า หรือเรียกว่าแนวคิดแบบ waste valorization เพื่อช่วยบริหารจัดการปัญหาของขยะจากการเกษตรในประเทศไทย รวมถึงการนำขยะจากภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของพลังงาน และสามารถเป็น zero waste ได้ แนวคิดนี้คืออะไร มีภาคส่วนไหนที่นำแนวคิดนี้ไปใช้บ้าง พร้อมทั้งข้อดีข้อเสียในการช่วยบริหารจัดการขยะจากการเกษตรได้อย่างไร มาร่วมกันหาคำตอบกันใน EP นี้ค่ะ

****************************************************

🤔หลายคนอาจสงสัยว่า เราจ่าย #ค่าไฟ แพงเกินไปจริงหรือ???• ต้นทุนค่าไฟฟ้า เราจ่ายค่าไฟแพงเกินความเป็นจริงไหม• จำนวนโรงไฟฟ้า...
20/10/2022
ค่าไฟฟ้า: การคิดราคาต้นทุน | รายการพูดจาประสาช่าง

🤔หลายคนอาจสงสัยว่า เราจ่าย #ค่าไฟ แพงเกินไปจริงหรือ???
• ต้นทุนค่าไฟฟ้า เราจ่ายค่าไฟแพงเกินความเป็นจริงไหม
• จำนวนโรงไฟฟ้าในไทยเยอะเกินไปไหม
• ทำไมต้องจ่ายค่า AP
• มองมิติต้นทุนค่าไฟฟ้าเป็น 3 มุม
• ค่าไฟแพง แก้อย่างไรได้บ้างทั้งภาครัฐและตัวเราเอง

ร่วมไขข้อสงสัยกับ รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 5

รายการ #พูดจาประสาช่าง วันอาทิตย์ 8.30 น.

0:00 intro4:10 ต้นทุนทางพลังงานของประเทศไทย6:35 การคิดค่าไฟฟ้าจากอดีตถึงปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไร9:11 ค่า FT การคาดการณ์....

รับฟังความรู้จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรายการ “พูดจาประสาช่าง” หัวข้อ “พลังงานไฟฟ้า : เข้าใจโครงสร้างร...
09/10/2022

รับฟังความรู้จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” หัวข้อ “พลังงานไฟฟ้า : เข้าใจโครงสร้างราคา และพร้อมเดินหน้าสู่อนาคต (ตอนที่ 1)”
ออกอากาศทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30-08.55 น.
โดยวิทยากร : รศ. ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี
ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพลังงาน และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินรายการ : ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ท่านสามารถรับฟังข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ทันสมัย ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30-08.55 น.
#พูดจาประสาช่าง

📣 New episode!!!EP.6 “Biorefinery" เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนERI Podcast: Season 1 Clean energy and climate acti...
30/09/2022

📣 New episode!!!
EP.6 “Biorefinery" เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ERI Podcast: Season 1 Clean energy and climate action ☀️

🎙♦️พูดคุยกับ ดร.สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
🎧ช่องทางการรับฟัง:
Youtube: https://youtu.be/f6NvNV7Ndwo
Spotify: https://spotifyanchor-web.app.link/e/rJ3H36CBJtb
Podbean: https://www.podbean.com/media/share/pb-9k5gs-12d77c9

การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model หลายๆท่านน่าจะเคยได้ยิน BCG model หรือที่เรียกว่า Bio-circular-green Economy Model ซึ่งรูปแบบนี้เป็นส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ใน EP. นี้เราจะมาพูดคุยถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม Bio-refinery ในการช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย

ติดตาม ERI Podcast ได้ที่ช่องทาง:
ERI Chula Official Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCiwXCeLb898R6JVPgL3UJrA
Spotify: https://spotifyanchor-web.app.link/e/rJ3H36CBJtb
Podbean: https://www.podbean.com/media/share/pb-9k5gs-12d77c9

23/09/2022
ERI

ERI

📣ประชาสัมพันธ์งาน SIPET (the Southeast Asia Information Platform for the Energy Transition) Launching: Virtual Open Hous...
20/09/2022

📣ประชาสัมพันธ์งาน SIPET (the Southeast Asia Information Platform for the Energy Transition) Launching: Virtual Open House by CASE program.

🕑: Sep 29, 2022 02:00 PM in Bangkok

Description: In a stakeholder survey conducted in the region, professionals working in the energy transition in Southeast Asia face common challenges: a lack of institutional capacity; a lack of platforms for timely information and intelligence sharing; excessive time spent in coordination meetings; and duplication of work because stakeholders are not aware of what others are doing. To respond to this gap, the Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia (CASE) Programme designed and developed an interactive knowledge and coordination platform to facilitate dialogue and promote coordination within the region’s power sector to support the acceleration of the energy transition.

The CASE Programme is hosting a Virtual Open House to launch the Southeast Asia Information Platform for the Energy Transition (SIPET). Presenters will have a live demonstration on how to use SIPET's key tools and how they can support the energy transition stakeholders in the region. SIPET aims to tackle the communications and coordination challenges with three key functions on its platform: a suite of Power Sector Resources, a Project Database and Mapping Tool, a Knowledge-Sharing Hub, and a Community Forum for energy transition professionals.

ลงทะเบียนได้ที่ https://us02web.zoom.us/meeting/register/tZwscu-sqjgsH9Nw1JR_yWtakV5B3VC6rJD_

ที่อยู่

สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกร
Bangkok
10330

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 08:00 - 17:00
พุธ 08:00 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

022188095-7

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกร:

วิดีโอทั้งหมด

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

Internal Business Unit
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(Training)–AGR-KMITL

ขอเชิญบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา หรือผู้สนใจ ทุกท่าน เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์

“One-sheet R2R proposal แผนที่สำหรับการวิจัยจากงานประจำ”

วิทยากรโดย ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน
นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting

สมัครอบรมได้ที่ https://www.butagri.com/

฿…ค่าลงทะเบียน 800 บาท
** ด่วน!!!! รับจำนวนจำกัด **

**สามารถเข้าร่วมได้ทุกตำแหน่ง**
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุริยสิทธิ์ สมนึก โทร. 062-957-1003
e-mail: [email protected]
ขอเสนอพลังงานวิจัยพลังงานทดแทนชนิดพิเศษที่ยิ่งให่ญครับ0645908650ปกรณ์ นาคอ่อนครับ พลังงานประเภท...ครับ
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)

ITD - International Institute for Trade and Development CUEE กลุ่มงานจริยธรรม กรมพลศึกษา RD BKK3 ศาลแรงงานกลาง The Central Labour Court Embajada de Guatemala en Tailandia International Affairs Division, MHESI Sumana หินลับมีด อย่างดี ไม่เป็น Funny group กองพันทหารสารวัตรที่ 11 ICTC M-Society Internal Audit กรมพัฒนาสังคมและสวัสด DIPROM Station - สถานีดีพร้อม บ้านพิษณุโลก คลินิกกระดูกเด็ก