สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. ชุมชนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเกษตร
(12)

หน่วยงานภายใต้ สนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินงานบริการ one stop service ปรับแต่งผลงานวิจัยให้พร้อมสู่การใช้งานในพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงง่าย

เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันท...
25/08/2023

เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว" และ "การถ่ายภาพสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ อาหาร" ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีคุณธนอิน ตุ้มหิรัญ (โค้ชโซดา) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดจันทบุรีและใกล้เคียง จำนวน 36 คน ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้มากมาย อาทิ กลยุทธ์การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การสร้างเนื้อหา (content) เทคนิคการสร้างยอดขาย/ผู้ติดตาม การสร้างตัวตน เทคนิคการถ่ายภาพ/วิดีโอ การโพสต์บนสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้ทำความรู้จักร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมท่องเที่ยวของแต่ละสวน และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

👍กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ "การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี" โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 👍https://www.nstda.or.th/agritec/training-buu-tour/

สวทช. ผนึกกำลัง บ.สยามคูโบต้าฯ ยกระดับเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (วันที่ 22 สิงหาคม2566) ณ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึ...
23/08/2023

สวทช. ผนึกกำลัง บ.สยามคูโบต้าฯ ยกระดับเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
(วันที่ 22 สิงหาคม2566) ณ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะ กับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์-ปอเรชั่น จำกัด นายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรและชุมชน ภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi)
อ่านเพิ่มเติม :: https://www.nstda.or.th/.../news_post/pr-nstda-mou-22082566/

22/08/2023

ผลกระทบจากเอลนีโญต่อประเทศไทยได้แก่...
ติดตามได้ใน "สิ้นListสงสัย ไขควาใมลับเกษตร"
https://www.youtube.com/-is-empty

เลี้ยงไก่พื้นเมืองอย่างไรให้ได้คุณภาพ?🐓🥚 เรียนรู้ได้จากคู่มือแนวปฏิบัติจากหลักสูตรการจัดการผลิตไก่พื้นเมืองด้วยนวัตกรรมเ...
21/08/2023

เลี้ยงไก่พื้นเมืองอย่างไรให้ได้คุณภาพ?🐓🥚 เรียนรู้ได้จากคู่มือแนวปฏิบัติจากหลักสูตรการจัดการผลิตไก่พื้นเมืองด้วยนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้ความร่วมมือ "การพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้" ระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 👉คลิก https://www.nstda.or.th/agritec/rmutsv/

อบรมฟรี‼ ❤️เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ AQUA-IOT❤️วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ศูนย์วิจัยคณะ...
18/08/2023

อบรมฟรี‼ ❤️เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ AQUA-IOT❤️วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ศูนย์วิจัยคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ❌ไม่จำกัดจำนวน ไม่มี online 🦐ลงทะเบียนคลิก https://forms.gle/74bnW3jVrxZuBeMBA 🦐อีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ในหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT ภายใต้โครงการ "การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี" โดย สวทช. และมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 👏

17/08/2023

☀️เด็กชายเอลนีโญ กับ ❄️เด็กหญิงลานีญา มันคือคนละปรากฏการณ์กันนะจ๊ะ ทำความรู้จักกันก่อนจะได้ไม่สับสน ว่าใครเป็นใคร ติดตามเพิ่มเติมได้ใน "สิ้นListสงสัย" อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ให้ด้วยนะคะ 🥰

อยากทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร❓มาเรียนรู้กันฟรีๆ กับหัวข้อ 📍การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ...
16/08/2023

อยากทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร❓มาเรียนรู้กันฟรีๆ กับหัวข้อ 📍การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว+การถ่ายภาพ สวนเกษตรเชิงท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์📍 วันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ‼ เปิดรับ 60 คนเท่านั้น‼ ลงทะเบียน 👉 https://forms.gle/om5NF1a3FfpkadxA9 ❎ไม่มี online นะจ๊ะ 👍กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือ Training Hub สวทช.-มหาวิทยาบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี👍

15/08/2023

🎬ขอฝากช่องทางรับความรู้ด้านการเกษตรของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) อีกหนึ่งช่องทาง
ใน page "สิ้นListสงสัย ไขความลับเกษตร" นะคะ
อย่าลืมช่วยกดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ 🥰

วันแม่แห่งชาติ ในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิ...
12/08/2023

วันแม่แห่งชาติ ในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี

จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระราชสมภพ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และโดยพระชนมพรรษาจึงนับว่าทรงเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในราชวงศ์จักรี

เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki

11/08/2023

เมื่อเจออากาศร้อน พืชปรับตัวอย่างไรเพื่อเอาตัวรอด
รับชมฉบับเต็มได้ทางช่อง "สิ้นListสงสัย ไขความลับเกษตร"
https://youtu.be/uqBQww2XVs8
เมื่อโลกร้อนขึ้น จะทำเกษตรอย่างไร-List2 การปรับตัวของพืช

📣อบรมออนไลน์ฟรีจ้าา "การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 18.00-20.00...
10/08/2023

📣อบรมออนไลน์ฟรีจ้าา "การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 18.00-20.00 น. ผ่านระบบ Google Meet ...ชาวสวนทุเรียนไม่ควรพลาดนะจ๊ะ!! คลิกลงทะเบียน 👉https://forms.gle/3FcBjPhiesqaY26L8 ...กิจกรรมดีๆ ภายใต้ความร่วมมือ Training Hub สวทช.-มหาวิทยาบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 😊

สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station 9 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - นางสาววิราภรณ์ มงคล...
10/08/2023

สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station
9 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ต้อนรับนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์กวางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานกรรมการบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด พร้อมด้วยพนักงานบริษัทฯ เยี่ยมชม Smart greenhouse & Smart farm technology ณ AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร

ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ สท. นำคณะผู้ประกอบการจากโครงการ "สร้างเครือข่ายการลงทุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs/Startups: อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ" ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เยี่ยมชมแปลงเกษตรสาธิตและเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะภายในพื้นที่ AGRTITEC Station

สท. ขอแนะนำกระเป๋าความรู้ใบใหม่ที่จะช่วยคุณไขความลับในการทำเกษตร ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกลุ่มนักวิทยาศ...
09/08/2023

สท. ขอแนะนำกระเป๋าความรู้ใบใหม่ที่จะช่วยคุณไขความลับในการทำเกษตร ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง กับช่อง “สิ้นListสงสัย ไขความลับเกษตร” รายการ podcast เนื้อหาวิทยาศาสตร์อัดแน่น ที่ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ด้านการเกษตรให้สามารถเข้าใจได้
ขอเปิดตัวด้วยเนื้อหาที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงในการทำเกษตร ด้วยซีรี่ย์
“เมื่อโลกร้อนขึ้น จะทำเกษตรอย่างไร” รับชมทาง https://bit.ly/45hGK6b

สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ... เมื่อวันที่ 5-6 สิง...
08/08/2023

สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ... เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2566 นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในต.เมืองบัว และต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รวม 200 คน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เพื่อสร้างทักษะการผลิตผักไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน รวมทั้งการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต
🌱การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก และการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือน🌱 ถ่ายทอดความรู้โดย อาจารย์ชนกเนตร ชัยวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์ ซึ่งผู้เข้าอบรมได้ฟังบรรยายและและฝึกปฏิบัติเพาะกล้า เตรียมต้นกล้าก่อนปลูกและทำวัสดุเพาะกล้า โดยใช้ขี้เถ้าแกลบ มูลวัวร่อนและขุยมะพร้าวร่อน (อัตราส่วน ขี้เถาแกลบ 1 ส่วน มูลวัวร่อน/มูลไส้เดือน 1 ส่วน ขุยมะพร้าวร่อน 2 ส่วน)
🌿การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง🌿 ถ่ายทอดความรู้โดยนายณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ เกณฑ์มาตรฐานการผลิตปุ๋ยหมัก วิธีการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง และการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า รวมทั้งได้ลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองแบบขึ้นกองสามเหลี่ยมและแบบวงตาข่าย โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ ได้แก่ ฟางข้าว เศษใบไม้
สื่อความรู้ ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง คลิก https://www.nstda.or.th/agritec/compost/

🌱เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านพืชและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช (ดิน ธาตุอาหาร สภ...
03/08/2023

🌱เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านพืชและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช (ดิน ธาตุอาหาร สภาพอากาศ) การวางแผนการปลูก และการใช้โรงเรือนปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ 🌱คือสิ่งที่นักวิชาการ สท. และผู้เชี่ยวชาญพบจากที่ได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 เพื่อติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีภายใต้โครงการ “การยกระดับการผลิตพืชผักในโรงเรือนแบบครบวงจร”

"วิสาหกิจชุมชนสวนบุญประสิทธิ์เกษตรเพื่อสุขภาพ" ต.ท่าซอม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และ "วิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ" ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือนพลาสติกปลูกพืชและการบริหารจัดการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และเกิดการสร้างเครือข่ายการผลิตผักอินทรีย์และขยายผลเทคโนโลยีไปกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อีกหลายกลุ่มในจังหวัดสงขลา มีนายมนูญ แสงจันทร์สิริ หรือตานูน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ จ.สงขลา เป็นผู้เชื่อมโยงเครือข่ายและตลาด

สื่อความรู้ โรงเรือนปลูกพืช คลิก 👉 https://www.nstda.or.th/agritec/greenhouse/
บทความ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ: ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน คลิก 👉 https://www.nstda.or.th/agritec/network-tanoon/

ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษาช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์...
02/08/2023

ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

ที่มา: https://bit.ly/3Dxar7i

วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็...
01/08/2023

วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"

ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้

เป็นวันแรกที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาพุทธ
เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร ประกาศสัจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ

ที่มา: https://bit.ly/3Keq8UQ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไ...
28/07/2023

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไทย นับเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี
--------------------------------------------------------------------------
พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมารใน พ.ศ. 2515 เวลานั้นมีพระชนมายุ 20 พรรษา
--------------------------------------------------------------------------
พระราชสมภพ
มีบันทึกว่า เมื่อรัชกาลที่ 9 กับพระบรมราชินี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จนิวัติพระนครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 นั้น ทรงหวังว่า "คงจะมีพระราชโอรสเป็นพระองค์ถัดไป" หลังจากที่มีพระราชธิดามาแล้ว ครั้นวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงประสูติพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระองค์มีพระเชษฐภคินี คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และมีพระขนิษฐภคินีสองพระองค์ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา รัชกาลที่ 9 โปรดให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ตั้งพระนามและถวายตามดวงพระชะตาว่า

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร
พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งจาก "วชิระ" อันเป็นพระนามฉายาในขณะผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรหรืออสนีบาต"

ที่มา: https://bit.ly/44Ilref

https://bit.ly/3rHwyFyวิดีโอบันทึกการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง“พลิกโฉมไผ่ไทยด้วยพลังชุมชนบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม”🗓️ ว...
25/07/2023

https://bit.ly/3rHwyFy
วิดีโอบันทึกการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง
“พลิกโฉมไผ่ไทยด้วยพลังชุมชนบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
🗓️ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2566
📍 ณ ห้อง S106 อาคารบรรยายรวม5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
📚 เรียนรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยการขยายพันธุ์และแปรรูปไผ่แบบครบวงจร และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงผลงาน รวมทั้งเกิดเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับความรู้ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา และช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไม้ไผ่ของไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และนำไปสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 👍🏻

สวทช. นำคณะผู้ตรวจ อว. สัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนคำผอุง จังหวัดร้อยเอ็ด 21 กรกฎาคม 2566 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด- นา...
24/07/2023

สวทช. นำคณะผู้ตรวจ อว. สัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนคำผอุง จังหวัดร้อยเอ็ด

21 กรกฎาคม 2566 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมด้วยเครือข่ายการทำงานของ สวทช. ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรในพื้นที่ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับชาวบ้านคำพอุงและหน่วยงานในพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผู้อำนวยการโรงเรียนคำพอุง (ประชาราษฎร์บำรุง) และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคำพอุง ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community–Based Tourism: CBT) บนฐานความรู้ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม

การจัดทำ “เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรในพื้นที่คำพอุง” นี้ สท. ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยี สวทช. ขยายผลในพื้นที่ ได้แก่ เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม “นวนุรักษ์” สร้างคลังข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น โปรแกรม “Thai school lunch” พัฒนาสูตรอาหารโดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีเมนูอาหารมากถึง 21 เมนู และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการปลูก “ปทุมมา” ให้เป็นพืชไม้ดอกทางเลือกสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน คลิกอ่านเพิ่มเติม https://www.nstda.or.th/agritec/inspector-roied/

การสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการทำงานขอ...
24/07/2023

การสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการทำงานของ สท. เพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. ได้ง่ายยิ่งขึ้น👉คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/agritec/asi/

สท./สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 20 กรกฎาคม 2566 ณ จังหวัดศรีสะเกษ- นางสาววิรา...
22/07/2023

สท./สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

20 กรกฎาคม 2566 ณ จังหวัดศรีสะเกษ- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และนายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารส่วนราชการในจังหวัด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่มในพื้นที่อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ คลิกอ่าน https://www.nstda.or.th/agritec/inspector-sisaket/

สำนักงาน ก.พ. ขอเชิญชวนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และประชาชน  ร่วมลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ทางออนไลน์ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นแ...
21/07/2023

สำนักงาน ก.พ. ขอเชิญชวนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และประชาชน ร่วมลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ทางออนไลน์ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทาง https://web.ocsc.go.th/ForMyKing/
ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖

'มันสำปะหลังอินทรีย์' และ 'ถั่วเขียว KUML' เป็นสองชนิดพืชที่ สท. ได้ใช้กลไก 'ตลาดนำการผลิต' เชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลา...
21/07/2023

'มันสำปะหลังอินทรีย์' และ 'ถั่วเขียว KUML' เป็นสองชนิดพืชที่ สท. ได้ใช้กลไก 'ตลาดนำการผลิต' เชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด ตอบโจทย์ “ปลูกแล้วขายใคร” ขณะที่ตลาดต้องการ “ผลผลิตคุณภาพ มีของส่งสม่ำเสมอ” กลไกการทำงานนี้เป็นความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม สร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิการผลิตให้เกษตรกรและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาด👉
คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/agritec/inclusive-innovation/

'สถานีเรียนรู้' และ 'จุดเรียนรู้ระดับชุมชน' เป็นอีกหนึ่งกลไกการขยายผลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ สท. ได้ร่วมกับ...
19/07/2023

'สถานีเรียนรู้' และ 'จุดเรียนรู้ระดับชุมชน' เป็นอีกหนึ่งกลไกการขยายผลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ สท. ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและชุมชน เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น 👉คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/agritec/training-hub/

การพัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นหนึ่งกลไกการทำงานที่ สท. ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ...
17/07/2023

การพัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นหนึ่งกลไกการทำงานที่ สท. ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังเช่น ชุมชนบ้านสามัคคี ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง หรือชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/agritec/area-based-approach/

นอกจากนี้ สท. ยังทำงานในพื้นที่พัฒนาพิเศษตามแนวทางการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทราและระยอง) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (จังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคามและยโสธร) พื้นที่พัฒนาภายใต้เศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร (จังหวัดราชบุรี พัทลุงและจันทบุรี) และพื้นที่พัฒนาภายใต้เศรษฐกิจ BCG Model สาขาท่องเที่ยว (อำเภอคำผอุง จังหวัดร้อยเอ็ด เชียงใหม่และกาฬสินธุ์) คลิกอ่าน'นวัตกรรม' ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน https://www.nstda.or.th/agritec/agritec-book-2023/

สท. ทำงานอย่างไรกับกลุ่มเกษตรกร/ชุมชน? หาคำตอบได้จาก ‍🌱‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน🌾 หนังสือที่บอกเล่ากลไกการทำงาน...
13/07/2023

สท. ทำงานอย่างไรกับกลุ่มเกษตรกร/ชุมชน? หาคำตอบได้จาก ‍🌱‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน🌾 หนังสือที่บอกเล่ากลไกการทำงานที่ สท. ได้ใช้ขับเคลื่อนภารกิจในช่วงปีที่ผ่านมา ✌️แล้วจะทำให้รู้จัก สท. มากขึ้นนะจ๊ะ ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ 👉https://www.nstda.or.th/agritec/agritec-book-2023/

4 กรกฎาคม 2566วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตต...
04/07/2023

4 กรกฎาคม 2566
วันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ศาสตราจารย์พิเศษ พลเอกหญิง พลเรือเอก หญิง พลอากาศเอก หญิง นายกองใกญ่ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ประสูติ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาวิกิพีเดีย: https://bit.ly/3PBYXXD

📢ขอเชิญสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “พลิกโฉมไผ่ไทยด้วยพลังชุมชนบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม”👈🗓️ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2566📍 ...
26/06/2023

📢ขอเชิญสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “พลิกโฉมไผ่ไทยด้วยพลังชุมชนบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม”👈
🗓️ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2566
📍 ณ ห้อง S106 อาคารบรรยายรวม5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
👉สมัครออนไลน์ ได้ที่ https://forms.gle/aaE3JUGRDBvStAec7

🔻 Download รายละเอียด >> http://bitly.ws/JkfU

📌 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
👩 ☎️ผู้ประสานงาน : คุณขวัญธิดา ดงหลง (098 586 7831)
คุณอุไรพรรณ ปรางอุดมทรัพย์ (081 647 6014)
📧 [email protected]
📲 LINE : อบรมขยายพันธุ์ไผ่และการใช้ประโยชน์ หรือ https://line.me/R/ti/g/EDC8m7xE-3

📚 เรียนรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยการขยายพันธุ์และแปรรูปไผ่แบบครบวงจร และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงผลงาน รวมทั้งเกิดเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับความรู้ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา และช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไม้ไผ่ของไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และนำไปสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 👍🏻

สวทช. โดย สท. นำผลิตภัณฑ์เกษตรโดยชุมชน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากทุ่งกุลาร้องไห้ เส้นพาสต้าจากถั่วเขียว สินค้าแปรรูปจากฟักทองพันธ...
12/06/2023

สวทช. โดย สท. นำผลิตภัณฑ์เกษตรโดยชุมชน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากทุ่งกุลาร้องไห้ เส้นพาสต้าจากถั่วเขียว สินค้าแปรรูปจากฟักทองพันธุ์ไข่เน่า เป็นต้น เสนอต่อบริษัท ITM Alimentaire international ซึ่งมีซุปเปอร์มาเก็ตในประเทศฝรั่งเศสกว่า 2,000 สาขา

----------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมด้วย ดร.เอกอนงค์ จางบัว ผู้อำนวยการฝ่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร นำเกษตรกรและผู้ประกอบการ ได้แก่ คุณกัญญา อ่อนศรี ที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด และ คุณวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ข้าวดินดี จำกัด นำเสนอผลิตภัณฑ์จากการเกษตร ให้แก่บริษัท ITM Alimentaire international โดย Mr.Franck Marie Import Director และ Mr.Jean Baptiste Prieur Import Quality Manager เพื่อพิจารณานำไปจ่ายในซุปเปอร์มาเก็ตในประเทศฝรั่งเศส
โดยมีผลิตภัณฑ์เข้าร่วมนำเสนอดังต่อไปนี้
📍ข้าวหอมมะลิ 105 ทุ่งกุลาร้องไห้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมขายพันธุ์ข้าวตำบลหนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
📍ข้าวกล้องหอมมะลิแดงอินทรีย์ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
📍เส้นพาสต้าจากถั่วเขียว ผลิตจากถั่วเขียวพันธุ์ KUML ปลูกโดยเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง จ.อำนาจเจริญ และจำหน่ายโดยบริษัทข้าวดินดี
📍พริกไทยตรัง หรือพริกไทยปะเหลียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพริกไทยตรังและเกษตรกรรมยั่งยืน อ.เมือง จ.ตรัง
📍กระเทียมศรีสะเกษ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรแฟร์เทรดศรีสะเกษ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
📍ผลิตภัณฑ์จากฟักทองไข่เน่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ ต.บัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน
📍กาแฟ วิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้ง อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
📍ขมิ้นชัน วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก

จากการร่วมชมและชิมผลิตภัณฑ์ บริษัท ITM Alimentaire international มีความสนใจผลิตภัณฑ์จากชุมชน โดยจะมีการพิจารณาเป็นลำดับต่อไป

ทรงพระเจริญ  ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีด้วยเกล้าด้วยกระหม่...
03/06/2023

ทรงพระเจริญ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
03/06/2023

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

24/05/2023

ฝ่าวิกฤติหนอนกล้วยไม้ดื้อยาด้วยไวรัส NPV
---------------------------------------
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยบางรายจำต้องขาดสภาพคล่องหนัก เพราะการหวนกลับมาระบาดของ ‘หนอนกระทู้หอม’ ศัตรูพืชตัวฉกาจในรอบ 10 ปี ซ้ำร้ายสารเคมีปราบศัตรูพืชทุกชนิดที่เคยใช้ได้ผลกลับใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปด้วยปัญหา ‘การดื้อยา’ ส่งผลให้เกิดความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลักล้านบาท

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมแก้ปัญหาเคียงข้างผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ จังหวัดนครปฐม นำไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) ปราบหนอนกระทู้หอมในพื้นที่จนสำเร็จ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: https://www.nstda.or.th/home/news_post/bcg-delight-npv-orchid/

สวทช. ขอเชิญชวนผู้สนใจและหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมลงทะเบียนเพื่อขอรับกล้าไผ่ภายใต้โครงการส่งเสริมกา...
22/05/2023

สวทช. ขอเชิญชวนผู้สนใจและหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมลงทะเบียนเพื่อขอรับกล้าไผ่ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ (ไม้ไผ่) โดยบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจและพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกและการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่
สำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือผู้สนใจ ลงทะเบียนได้ที่

https://forms.gle/j2XH9o6zMWXA4s6P9

สำหรับหน่วยงานที่ประสงค์จะรับกล้าไผ่ ลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/kLi7AoCBMnq9bEzs5

กล้าไผ่มีจำนวนจำกัด
**การพิจารณาสนับสนุนเป็นไปตามมติของคณะทำงานของโครงการฯ ถือเป็นสิทธิ์ขาด** หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมใน LINE : อบรมขยายพันธุ์ไผ่และการใช้ประโยชน์ หรือโทรคุณอุไรพรรณ เบอร์ 081 647 6014

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม ถือเป็นพระราชพิธีสำคัญเพื่อต้อนรับการเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ และยังเป็นขวัญ...
17/05/2023

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม ถือเป็นพระราชพิธีสำคัญเพื่อต้อนรับการเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ และยังเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกร
วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย

#พืชมงคล2566

ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า พืชอัตลักษณ์เมืองน่าน‘ไข่เน่า’ คือ ชื่อของฟักทองสายพันธุ์ท้องถิ่นที่คนน่านปลูกกันรุ่นต่อรุ่นมานานกว่...
12/05/2023

ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า พืชอัตลักษณ์เมืองน่าน
‘ไข่เน่า’ คือ ชื่อของฟักทองสายพันธุ์ท้องถิ่นที่คนน่านปลูกกันรุ่นต่อรุ่นมานานกว่า 3 ช่วงอายุคน คนท้องถิ่นมักเล่าถึงฟักทองพันธุ์นี้ด้วยความภาคภูมิใจเสมอว่า ‘ไข่เน่านึ่งเสิร์ฟคู่กับน้ำพริกเป็นอาหารจานเด่นที่ต้องใช้รับแขก’ เพราะเมื่อนำผลไข่เน่าไปนึ่งจนสุกแล้ว 'เนื้อจะทั้งเหนียวและหนึบ มีรสหวานมันกำลังดี ใครได้ลองก็ต่างบอกว่าอร่อย...กินได้ไม่มีเบื่อ'
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/r/bJZ0s
#ฟักทอง #ไข่เน่า

วันฉัตรมงคลเป็นวันสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหาก...
04/05/2023

วันฉัตรมงคล
เป็นวันสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562

วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี

นับเป็นวันมหามงคลของชาติ และวันบรมราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี

และนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ เป็นต้นไป วันที่ ๔ พฤษภาคม จึงเป็น #วันฉัตรมงคล วันที่ระลึกครบรอบปีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร อันใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก

ครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 รัฐบาลไทย ได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทยได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น มีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูโภคแต่เดิมมา ควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศล พระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตรที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์

ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายจัดพิธีการงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 กล่าวไว้ว่า หลังพระราชพิธีบรมราชภิเษก 4 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ในปีถัดไปจะเป็นวันระลึกวันบรมราชาภิเษก และจะเรียกว่าวันฉัตรมงคลตลอดไปในรัชกาลนี้

ที่มา: https://workpointtoday.com/4-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1/

📣มาแล้วจ้าาา วิดีโอบันทึกอบรมออนไลน์หัวข้อ "ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและโรงเรือนปลูกผัก" เมื่อวันที่ 28 เมษาย...
02/05/2023

📣มาแล้วจ้าาา วิดีโอบันทึกอบรมออนไลน์หัวข้อ "ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและโรงเรือนปลูกผัก" เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ลงทะเบียนเรียนรู้และทบทวนกันได้ที่ 👉https://bit.ly/3nirxkU 👈

วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน มาเรียนรู้ถึงประวัติที่มาข...
01/05/2023

วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน มาเรียนรู้ถึงประวัติที่มาของวันแรงงานแห่งชาติกัน และถือเป็นวันหยุดประจำปีที่เฉลิมฉลองไปทั่วโลก

เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ "แรงงาน" เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432

ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ "วันเมย์เดย์ (May Day)" ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน

ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ หรือ วันเมย์เดย์ (May Day)
ในอดีตประเทศในแถบยุโรปจะถือเอา วันเมย์เดย์ หรือ 1 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม ในวันนี้จะพิธีเฉลิมฉลอง ขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข การเฉลิมฉลองนี้จะมีการให้ดอกไม้ร้องเพลงและเต้นรำไปรอบ ๆ เสาเมย์โพล (Maypole) เป็นการเต้นรำรอบเสาที่ประดับไปด้วยช่อดอกไม้ และริบบิ้น

เมื่อวันเวลาผ่านไป ระบบอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่หลายประเทศจึงเปลี่ยนเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2433 หลายประเทศทางตะวันตกได้มีการเรียกร้องให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน

ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ

ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432

ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
อุตสาหกรรมไทยในสมัยก่อนได้เริ่มขยายตัวมากขึ้น ผู้ใช้แรงงานต่างก็มีปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงงานก็ยังมีความซับซ้อนยากที่จะแก้ไขได้โดยงาน ทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน โดยเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ดีขึ้น ซึ่งในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงานได้จัดประชุมขึ้น โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ให้เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม ทำให้นับแต่นั้นมา วันที่ 1 พฤษภาคม จึงกลายเป็น วันกรรมกรแห่งชาติ จนต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วันแรงงานแห่งชาติ

Powered By
00:14
/
02:00

ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ที่ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติได้ แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีอายุได้เพียง 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งยังกำหนดให้วันกรรมกรเป็นวันหยุดตามประเพณี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นมีความไม่แน่นอน จึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปีเพื่อเป็นการเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม โดยในบางมีก็ได้มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดโอกาสให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร โดยได้มอบหมายให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ภายในงานได้มีการจัดให้ทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแแสดงความรู้ ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

ที่มา: https://www.sanook.com/campus/1404416/

ที่อยู่

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
Bangkok
12120

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+66816476014

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


Bangkok บริการภาครัฐอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

BCG CANVAS FOR RESEARCHER
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เชิญชวนนักวิจัยที่มีความสนใจร่วมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย หัวข้อ “ BCG CANVAS FOR RESEARCHER ” วิทยากรโดย ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส เมืองนวัตกรรมอาหาร สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.
ในวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมปางอุบล โรงแรมวังจันทน์ริเวอร์วิว พิษณุโลก (Onsite)
ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ : https://shorturl.asia/clxiL
บ่ายนี้ 13 กย. 65 ลงแปลง พื้นที่เพาะเมล็ดผัก ม.แม่โจ้

- ขอบคุณ กองทุนเมล็ดพันธุ์สาธารณะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.

- จัดอบรมคัดพันธุ์พืชผัก และ เมล็ดพันธุ์อินทรีย์

- ปรับปรุงพันธุ์พืช อะไรคือ OP
อะไรคือ Hybrid

- อ.หน่อยเอะอะ จับตอน พี่ก็นึกว่าตอนกิ่ง
ที่แท้ เด็ดเกสรตัวผู้ออก ถถถ.

- กะเพรา เขียว แดง ยังปรับปรุงให้เป็นลูกผสม ได้ใบเขียว แต่ความหอมจากกะเพราแดง แต่ไม่อยากได้ใบแดง

- ยีนเด่น ใช้เป็นต้นแม่ อยากได้อะไรเพิ่ม ไปหาต้นพ่อมาผสม

- การใช้พลาสติกคลุมป้องกันวัชพืช ต้นทุนถูกกว่าใช้แรงงาน เพิ่งถึงบางอ้อ

-ระบบน้ำหยด อัตโนมัติ

- เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และ เกสรกระเทย พัฒนาเพื่อความสามารถในการให้ผลผลิตในทุกฤดูกาล

- เด็ดสุดคือ วิวดี ปลูกผัก ท่ามกลางขุนเขาและสายหมอก ฟินดิ

- เห็นต้นไม้ใหญ่ๆแล้วคิดถึงโครงการ T-VER ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน น่าจะได้ carbon credit เพียบ

ตามไปสับตะไคร้กันได้ที่ YouTube : Agritec

#สนใจสั่งซื้อเมล็ดได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เนื้อหาวิชาเรียน 2 วันนี้

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม 12 ก.ย. (เช้า)
https://bit.ly/3L8fA8M

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม 12 ก.ย. (บ่าย)
https://bit.ly/3DmzKud

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม 13 ก.ย.
https://bit.ly/3RZU2h7


#เมล็ดพันธุ์อินทรีย์
#ปลูกผักใบได้อะไรก็ปลูกได้
#ช่วยกันเก็บเมล็ดพันธุ์โดยการปลูกกินแล้วเก็บเมล็ด
#แจกจ่ายแล้วเพาะต่อจะได้ทนทานต่อโรคแมลง
หากท่านใดกำลังหาความรู้เรื่องการผลิตพืชผักเชิญนะคะ🥦🥬🫑
ขอบคุณคณะวิทยากรของ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. ที่บรรยายและตอบข้อซักถาม ได้รับข้อมูลความรู้เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการทำเกษตรอย่างดีเลยครับ
การผลิตอาหารโค “ทีเอ็มอาร์” (TMR) 🐂🐄

หลายๆ ท่านคงเคยยินเกี่ยวกับอาหารน้องวัว 🐮แบบ TMR กันมาบ้างแล้วนะคะ วันนี้นำ Infographic น่ารักๆ เนื้อหาน่าสนใจมาฝากค่ะ ^^ 🥰

โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.

https://www.nstda.or.th/agritec/tech-book-2019/

#ทีเอ็มอาร์ #อาหารสัตว์ #อาหารโค
#}