สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ

สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ, Government Official, 61 ถนน พหลโยธิน ชั้น 3-5 อาคารปลอดประสพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, Bangkok.

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมออกตรวจพื้นที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะ...
26/08/2023

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมออกตรวจพื้นที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย พบมีการกานต้นเสม็ดขาวและปลูกต้นปาล์มน้ำมัน"

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 09.50 น. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าย่อยโคกเลา เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และเจ้าหน้าที่สายตรวจปราบปรามประจำสำนักส.บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 สายที่ 1 (นครศรีธรรมราช-กระบี่) ) ได้ร่วมกันออกตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ตามที่นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และนายพนัชกร โพธิบัณฑิต ผู้อำนวยการส่วนยุทธการด้านการป้องกันและปราบปราม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบบริเวณพื้นที่ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย บริเวณบ้านโคกเลา ท้องที่หมู่ที่ 6 ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการกานต้นเสม็ดขาวและปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปถึงบริเวณดังกล่าว พบพื้นที่ป่าถูกไฟป่าเผาไหม้ ในพื้นที่มีการกานต้นเสม็ดขาว และปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แบ่งกำลังออกเป็นสามชุด เจ้าหน้าที่ชุดแรกให้เดินตรวจหาพิกัดรอบพื้นที่ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ มีการกานต้นเสม็ดขาว และปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว เจ้าหน้าที่ชุดที่สองทำการนับจำนวนต้นเสม็ดขาวที่ถูกกานเพี่อให้ยืนต้นตาย และเจ้าหน้าที่ชุดที่สามทำการนับต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ได้ใช้เครื่องมือหาค่าพิกัดจากดาวเทียม (GPS) รอบพื้นที่ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ มีการกานต้นเสม็ดขาว และปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว ได้เนื้อที่ทั้งหมด 18 -1- 94 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ 00-3-92 ไร่ ต้นเสม็ดขาวที่ถูกโดนกาน เพื่อให้ยืนต้นตาย มีจำนวนประมาณ 120 ต้น และปลูกต้นปาล์มน้ามันอายุประมาณ 3-4 ปี แทรกแซมในป่าเสม็ดขาวจำนวนประมาณ 225 ต้น คิดเป็นค่าเสียหายที่เกิดแก่รัฐเป็นอัตราไร่ละ 79,462 บาท/ไร่ (คิดเป็นค่าเสียหายเขต 2 ป่าพรุ) รวมค่าเสียหายที่เกิดแก่รัฐเป็นเงินทั้งสิ้น 1,468,855.07 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนหกหมื่นแปดพันแปดร้อยห้าสิบห้าบาทเจ็ดสตางค์)
- จากการสืบสวนข้อเท็จจริงบริเวณพื้นที่ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ มีการกานต้นเสม็ดขาว และปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทรกแซมในป่าเสม็ดขาว บางส่วนทับซ้อนกับที่ดินที่มีราษฎรแจ้งการครอบครองที่ดินตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 คือ ที่ดินที่แจ้งการครอบครองของราษฎร 2 ราย ซึ่งที่ดินดังกล่าวได้นำเข้าคณะทำงานสำรวจการถือครองที่ดิน ระดับพื้นที่พิจารณาแล้วปรากฏว่าไม่ผ่านการพิจารณาของคณะทำงานสำรวจการถือครองที่ดิน ระดับพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าเสม็ดขาวยังคงมีความอุดมสมบูรณ์และไม่มีร่องรอยการเข้าไปทำประโยชน์แต่อย่างใด
- พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
1. ฐาน ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 54 และระวางโทษตามมาตรา 72 พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
2. ฐานผู้ใดครอบครองป่าซึ่งได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 54 ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น ตามมาตรา 55 พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484
3. ฐาน ตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทำลาย ต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือทำลายทำให้เสื่อมสภาพ ขุด เก็บ ซึ่งแร่ ดิน หินกรวด ทราย ลูกรัง ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติใดๆ หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 67(2) และระวางโทษตามมาตรา 103 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2562
4. ฐาน ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า ตามมาตรา 9 และระวางโทษตามมาตรา 108 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
5. ฐานผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลาย หรือทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหายหรือเสียหายไปนั้น ตามมาตรา 97 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ 2535
ได้แจ้งความกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ตามที่ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนประสานความร่วมมื...
25/08/2023

ตามที่ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ
เข้าร่วมประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 “ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว” ณ ห้องประชุมจงรักปรีชานนท์ ตึกวนศาสตร์ 72 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2566
โดยมีนายพิชิต สมบัติมาก รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง นโยบายป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยมีนายบรรณรักษ์ เสริมทอง นายสุพจน์ ภู่รัตนโอภา นายนิกร ศิรโรจนานนท์รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมหน่วยงานภาคีด้านป่าไม้ ได้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการด้านป่าไม้ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมชมนิทรรศการ รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้และเศรษฐกิจสีเขียว และการเสวนา เรื่อง ก้าวต่อไปของไม้ไทยสู่สากล
โดยมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดผลงานทางวิชาการ ประสบการณ์ และเสริมสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรป่าไม้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ไปสู่เศรษฐกิจสากล รวมถึงการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผอ.สปฟ. มอบหมายหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และคณะนักวิจัย นำทีมผู้ทรงคุณวุฒิเดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่ศึกษาโค...
25/08/2023

นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผอ.สปฟ. มอบหมายหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และคณะนักวิจัย นำทีมผู้ทรงคุณวุฒิเดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่ศึกษาโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแสดงการจัดกลุ่มและคาดคะเนการลุกลามของไฟป่า จากข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) ในประเทศไทย” ณ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566
วันที่ 23 สิงหาคม 2566
- เวลา 10.00 น.- 12.00 น. ดร.วิจารณ์ สิมาฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก วช. และคณะ พร้อมด้วย รศ.ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิศิษฐ์ รองผู้อำนวยการ สก.สว. กำกับดูแลและปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารงบประมาณ ววน. และคณะ รับฟังบรรยายสรุปผลโครงการวิจัยฯ โดยนางสาวชัชชญา บัวเนียม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการฯ นายอนุสรณ์ รังสิพานิช ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ รวมทั้งคณะนักวิจัยจาก อส.และ สทอภ. ทั้งนี้ มีนายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา กล่าวต้อนรับ และนายศุภวัฒน์ มะทะ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคา กล่าวถึงสภาพปัญหาไฟป่าในพื้นที่
- เวลา 13.00 น.- 16.30 น. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพื้นที่ศึกษาโครงการวิจัยฯ ณ แปลงเก็บข้อมูลพื้นที่เกษตรในป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
วันที่ 24 สิงหาคม 2566
- รศ.ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิศิษฐ์ รองผู้อำนวยการ สก.สว. พร้อมคณะ ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพื้นที่ศึกษาโครงการวิจัยฯ ณ แปลงเก็บข้อมูลป่าเต็งรัง อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทั้งนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิเน้นว่าให้คำนึงถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประชาสัมพันธ์ให้มีการเข้าถึง application และให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ให้มีการต่อยอดและพัฒนาต่อไป

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง กรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดิ...
24/08/2023

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง กรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล"

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 3 สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล เจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดสตูล ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง กรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) เลขที่ 19 และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน (น.ส.3) เลขที่ 9,23,29,33 และ 39 บนเกาะหลีเป๊ะ ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ทัองที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า โดยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่าภาคเหนือ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม"โครงการฝึกอบรม...
24/08/2023

สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า โดยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่าภาคเหนือ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม"โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสมรรถนะพนักงานดับไฟป่า" ประจำปีงบประมาณ 2566 รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2566 โดยมีรายละเอียดกิจกรรมและการฝึกอบรม ดังนี้
-จัดทำพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ โดยนายสมศักดิ์ มั่งมี ผู้อำนวยการส่วนจัดการต้นน้ำ สบอ.16 เป็นผู้แทน ผอ.สบอ.16 (เชียงใหม่) เป็นประธานพิธีเปิด
- วิทยากรบรรยายเรื่อง การปฏิบัติงานร่วมกับอากาศยานเพื่อสนับสนุนภารกิจการดับไฟป่า
-การสาธิตและฝึกปฏิบัติ การขึ้น-ลง อากาศยานพร้อมอุปกรณ์ และการให้ทัศนสัญญาณ เพื่อ รับ-ส่ง อากาศยาน(เฮลิคอปเตอร์)
- เรื่องเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ(smart patrol)ในการลาดตระเวนตรวจหาไฟและป้องกันไฟป่า
- เรื่องเทคนิคการใช้แผนที่ และ gps ในงานควบคุมไฟป่า
- เรื่องเทคนิคการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ด้วยการใช้แอปพลิเคชัน canva และ CapCut

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมวางแผนหาแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า แ...
23/08/2023

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ร่วมวางแผนหาแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า และร่วมตรวจสอบพื้นที่ป่าที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช"

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ตามสั่งการของนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยการอำนวยการของนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการไฟป่าพรุควนเคร็ง สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ตามคำสั่งสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ที่ 36/2566 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ได้ปฏิบัติการดังนี้
1. เข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เป็นประธานที่ประชุม เพื่อหารือวางแผนหาแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง ณสถานีควบคุมไฟป่าทะเลน้อย จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ได้ร่วมตรวจสอบพื้นที่ป่าพรุควนเคร็งที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ บริเวณบ้านควนราบ ท้องที่หมู่ที่ 9 ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้สั่งการให้ชุดเหยี่ยวดง และชุดปฎิบัติการพิเศษ 1362 ตรวจสอบข้อเท็จจริง ...
23/08/2023

ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้สั่งการให้ชุดเหยี่ยวดง และชุดปฎิบัติการพิเศษ 1362 ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามที่ได้รับหนังสือร้องเรียนผ่านทางระบบ E-petition ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งว่าพบบุคคลเพศชาย ได้นำนกใส่กรงมาวางจำหน่ายบริเวณบาทวิถี ศาลพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยนกที่นำมาวางจำหน่ายนั้นเป็นนกขนาดเล็ก ไม่ทราบประเภทนกที่แน่ชัด นำมาใส่ไว้ในกรงขนาดเล็ก ซึ่งจะพบการนำนกมาจำหน่ายในช่วงเย็น ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. จนถึงเช้าของวันถัดไปเป็นประจำทุกวัน
วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น. ชุดเหยี่ยวดงได้ร่วมกับ ชุดปฏิบัติการพิเศษ 1362 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ผลปรากฏ ดังนี้
1. คณะเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปยังบริเวณบาทวิถี ศาลพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ได้พบบุคคลเป็นชายไม่ทราบชื่อ พร้อมกรงใส่นกวางอยู่ชิดเสาไฟฟ้า บริเวณหัวโค้งริมถนนใกล้กับศาลพระพิฆเนศดังกล่าว จากการตรวจสอบพบนกเขาใหญ่ จำนวนประมาณ 20 ตัว บรรจุอยู่ในกรง จำนวน 2 กรง ซึ่งนกเขาใหญ่ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 แต่อย่างใด
2. คณะเจ้าหน้าที่จึงได้ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ทราบว่าหากพบเห็นการนำสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนก มาค้าขายบริเวณพระพิฆเนศให้แจ้งได้ที่สายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 สำหรับผู้ที่ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองจะมีความผิด ตามมาตรา 29 ฐาน “ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 ‘’ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว’’ วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศา...
23/08/2023

การประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25
‘’ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว’’

วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566
ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายอรรถพล เจริญชันษา รรท.ออส.มอบหมายให้ นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผอ.สปฟ. เข้าร่วมพิธีเปิด การประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 ในหัวข้อ ‘’ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว’’ โดยมีนายพิชิต สมบัติมาก รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ทส. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ 5 หน่วยงานหลักในด้านป่าไม้ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และคณะวนศาสตร์ เข้าร่วมและรับฟังปาฐกถาพิเศษเรื่อง ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดย นายพิชิต สมบัติมาก รอง ปกท.ทส. บรรยาย พร้อมชมนิทรรศการในงานนี้ด้วย

วันที่ 21- 22 สิงหาคม 2566 ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา) ได้มอบหมายให้ส่วนประสาน...
23/08/2023

วันที่ 21- 22 สิงหาคม 2566 ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา) ได้มอบหมายให้ส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยฝ่ายประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในท้องที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) โดยมีนางสาวอนิตา ดาหลาย หัวหน้าฝ่ายประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยนางคณิสรา เชฐบัณฑิตย์ ผู้อำนวยการส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และเจ้าหน้าสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้า ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในพื้นที่ จำนวน 4 เครือข่าย ได้แก่

1. “เครือข่าย อส.อส. บ้านพุองกะ” หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี
- ดำเนินกิจกรรมจัดทำแนวกันไฟ การลาดตระเวนตรวจหาไฟป่า และจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ดับไฟป่า ซึ่งการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ คนในชุมชนเข้าใจบริบทของการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดีและมีกำลังใจในการดำเนินงาน
โดยมีหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าไทรโยค (นายปพน ธัญธนาพงษ์) ร่วมลงพื้นที่

2. “เครือข่าย อส.อส. บ้านท่ากะทิ” หมู่ที่ 6 ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
- ดำเนินกิจกรรมประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนและสมาชิกหมู่บ้านจัดทำแนวกันไฟชุมชน มีการลาดตระเวนดูแลรักษาป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ดำเนินการช่วยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยมีหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสลักพระ-เอราวัณ (นายจรัล สามงามเขียว) ร่วมลงพื้นที่

3. “เครือข่าย อส.อส. บ้านปลายดินสอ” หมู่ที่ 5 ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์
จังหวัดกาญจนบุรี
- ดำเนินกิจกรรมลาดตระเวนดูแลรักษาป่า ตั้งจุดสกัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ มีการป้องกันรักษาป่าตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น คือ การบวชป่า และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานดับไฟป่า มีการพัฒนาแหล่งน้ำ รวมทั้งได้จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันสัตว์ป่า (ลิง) ที่มารบกวนพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ (นายสัมพันธ์ งามประพันธ์) สบอ.3 (บ้านโป่ง) ร่วมลงพื้นที่

4. “เครือข่าย อส.อส. บ้านบนเขาแก่งเรียง” หมู่ที่ 3 ตำบลบนเขาแก่งเรียง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
- ดำเนินกิจกรรมลาดตระเวนดูแลรักษาป่า ตั้งจุดสกัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ มีการป้องกันรักษาป่าตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น คือ การบวชป่า รวมทั้งได้ซ่อมแซมปรับปรุงฝายต้นน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำ และปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินถล่ม โดยมีผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ (นายสัมพันธ์ งามประพันธ์) สบอ.3 (บ้านโป่ง) ร่วมลงพื้นที่

ทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าว มีประธานเครือข่ายและสมาชิกเครือข่าย ให้การต้อนรับและชี้แจงการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยทั้ง 4 เครือข่าย ได้ดำเนินกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) ลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และเฝ้าระวังสถา...
22/08/2023

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) ลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และเฝ้าระวังสถานการณ์ลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว"

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ตามสั่งการของ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยการอำนวยการของนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) เจ้าหน้าที่ฐานปฎิบัติการป้องกันรักษาป่าพรานนุช เจ้าหน้าที่สวนพฤกษศาสตร์ชวังน้ำเย็น ลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และเฝ้าระวัสถานการณ์ลักลอบตัดไม้พะยูงอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากเมื่อ วันที่ 19 สิงหาคม 2566 คณะเจ้าหน้าที่สวนพฤกษศาสตร์วังน้ำเย็นได้พบมีร่องรอยการลักลอบตัดไม้พะยูงในสวนพฤกษศาสตร์
โดยร่วมกันออกตรวจปราบปรามในพื้นที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์วังน้ำเย็น ดังนี้
1.บริเวณป่าชุมชนบ้านหนองเรือ หมู่ที่ 15 ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ไม่พบการ
กระทำผิดแต่อย่างใด
2. บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำบ้านวังจระเข้ หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใด
3. บริเวณอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานอาคารอัดน้ำบ้านหนองเรือ หมู่ที่15 ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใด
4. บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์ ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว และในพื้นที่ใกล้เคียง ผลการปฏิบัติงานไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใด

*สามารถชมคลิปวีดีโอการปฏิบัติงานได้ในคอนเม้นต์*

ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด ครั้งที่ 8/2566วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุ...
22/08/2023

ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน
ร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด ครั้งที่ 8/2566

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม)

สำนักงาน ป.ย.ป. ได้จัดการประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด ครั้งที่ 8/2566 โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วยคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการนี้นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

โดยที่ประชุมได้ร่วมกันให้ข้อมูลในประเด็นการใช้เครื่องมือกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ผู้ก่อมลพิษ PM 2.5 ลดการก่อมลพิษ และเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลดการก่อมลพิษ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของ ค่าปรับ ค่าภาษีการปล่อยมลพิษ การซื้อขาย Carbon Credit มาตรการอุดหนุนและแรงจูงใจ การประกันรายได้สินค้าทางการเกษตรแก่ผู้ไม่เผา รวมถึงการมี Traceability system (ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ) การใช้กลไกภาษีส่งเสริมสินค้าที่เป็นมิตกับสิ่งแวดล้อม เป็นตัน ซึ่งจะทำให้ผู้ก่อมลพิษมีการปรับตัว เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตในห่วงโซ่อุปทานให้ดีขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนอากาศสะอาด และการเข้าสู่เงื่อนไขการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ผลการหารือจากการประชุมดังกล่าว คณะทำงานฯ จะรวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ ไปดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดต่อไป โดยสำนักงาน ป.ย.ป. และคณะทำงานฯ จะนำข้อเสนอแก้ปัญหา PM 2.5 และร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดเสนอต่อรัฐบาล ในวันศุกร์ที่ 1 กันยายน นี้

"ประชุมหารือแนวทางการใช้อากาศยานป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน"วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุ...
22/08/2023

"ประชุมหารือแนวทางการใช้อากาศยานป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน"

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเอนกประสงค์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และเจ้าหน้าที่สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการใช้อากาศยาน ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยมีนายกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน เพื่อให้การใช้อากาศยานบูรณาการร่วมกับภาคพื้นป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยมีประเด็นในการหารือดังนี้
- การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และการพัฒนานวัตกรรม
- การจัดการพื้นที่ทั้งในส่วนของอากาศยานและภาคพื้นดิน
- การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
- การจัดการด้านงบประมาณแบบบูรณาการ
ซึ่งในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประเด็นหารือในเรื่องของการจัดการพื้นที่ บางพื้นที่ที่เกิดเหตุไม่มีศูนย์ปฏิบัติการ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และที่ประชุมได้มีมติจัดตั้งคณะอนุกรรมการในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถวางแผนบริหารจัดการเข้าถึงพื้นที่พร้อมบูรณาการงบประมาณให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม
สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า

"ผอ.สคฟ.สปฟ. ลงพื้นที่ควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็ง"วันที่ 20 สิงหาคม 2566นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป...
20/08/2023

"ผอ.สคฟ.สปฟ. ลงพื้นที่ควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็ง"

วันที่ 20 สิงหาคม 2566
นายนครินทร์ สุทัตโต ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ลงพื้นที่สั่งการและร่วมดับไฟป่า บริเวณทิศเหนือบ้านควนตีน ม.6 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยมีเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าทะเลน้อย ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านครศรีธรรมราช สถานีควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็ง และเหยี่ยวไฟนครศรีธรรมราช สงขลา เข้าร่วมปฏิบัติการดับไฟป่าในครั้งนี้ เริ่มดับเวลา 09.00 น. ดับเสร็จ เวลา 21.35 น.

"ทุกหน่วยงานปฏิบัติภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็งอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ"วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ทุกหน่ว...
20/08/2023

"ทุกหน่วยงานปฏิบัติภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็งอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ"

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานร่วมกันปฏิบัติภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็งในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.นครศรีธรรมราช ดังนี้
1. ตั้งจุดเฝ้าระวัง และลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟป่า บริเวณเส้นทางคลองบัติ (ม.3) บริเวณเส้นทางบ่อปลาจุฬาภรณ์ ทุ่งกระจูดหน้าวัดควนเคร็ง (ม. 4 และ11) บ้านควนยาว (ม.3) บ้านเสม็ดงาม (ม.8) บ้านควนป้อม บ้านควนตีน และ บ้านควนไทร
2. ตรวจพบไฟ 3 จุด (บริเวณทิศเหนือบ้านควนตีน ม. 6 บริเวณด้านทิศใต้ถนนเส้นทางเคร็ง-ยวนนก ม.4 และบริเวณบ้านพรุทุ่งยนต์ ม.6 ต.เคร็ง อ.ชะอวด) จึงได้บูรณาการเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และเจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟ กรมป่าไม้ เข้าดับไฟ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และขุดหาแหล่งน้ำดับไฟ และสามารถควบคุมไฟได้
3. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำท่อพญานาค จำนวน 2 เครื่อง สูบน้ำเข้าแปลงกระจูดหน้าวัดควนเคร็ง และสูบน้ำเข้าป่าพรุ บริเวณ บ้านควนป้อม จำนวน 1 เครื่อง (ปภ.) บ้านควนตีน จำนวน 2 เครื่อง (สำนักงานชลประทานที่ 15 และกรมทรัพยากรน้ำ ภาค 8 และปภ.)

* สามารถรับชมคลิปวิดีโอการปฏิบัติงานได้ในคอมเม้นต์*

"ทุกหน่วยงานเดินหน้าร่วมปฏิบัติภารกิจป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง"วันที่ 19 สิงหาคม 2566 ทุกหน่วยงานร่วมปฏิบัติภา...
19/08/2023

"ทุกหน่วยงานเดินหน้าร่วมปฏิบัติภารกิจป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง"

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 ทุกหน่วยงานร่วมปฏิบัติภารกิจป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง ดังนี้
1.เตรียมความพร้อมกำลังพลและอุปกรณ์ดับไฟป่า และประชุมวางแผนปฏิบัติการแผนการบิน สำรวจจุดพื้นที่ไฟไหม้ และสภาพพื้นที่ป่า พร้อมทั้งสนับสนุนทิ้งน้ำควบคุมไฟ
2. ออกลาดตระเวนและตั้งจุดเฝ้าระวังบริเวณบ้านดอนจี้หมุด บ้านควนป้อม พื้นที่วงล้อมราชินี และพื้นที่เสี่ยงในพลี หมู่ 7-11-12 ต.การะเกด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้านแก่ชาวบ้านพรุดินสอ และบ้านปลายดิน
3. ร่วมดับไฟใน ขหล.บ่อล้อ กับเครือข่าย อส.อส.บ้านจิกพนม ในพื้นที่บ้านปลายดิน ม.3 ต.บ้านตูล ควบคุมเสร็จในเวลา 13.30 น. เนื้อที่เสียหายประมาณ 2 ไร่ และมอบให้ ขหล บ่อล้อ ดำเนินการกล่าวโทษ ต่อไป
4. เดินเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 5 จุด ได้แก่ บริเวณประตูน้ำต้นไทร ด้านทิศตะวันออกสถานีฯ บ้านต้นไทร ริมถนนที่ทำการ ขหล.บ่อล้อ (บ้านทับแขก) และบ้านในแหลม รวมถึงติดตั้งเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทานในฝั่งขหล บ่อล้อ ทั้งสิ้น 5 จุด 5 เครื่อง
5. ประจำหอดูไฟทั้ง 3 หอ หอไฟต้นไทร หอไฟบ่อล้อ และหอไฟควนพัง

*สามารถรับชมคลิปวีดีโอการปฏิบัติงานได้ในคอมเม้นต์"

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เฝ้าระวัง และป้...
19/08/2023

"เจ้าหน้าที่สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เฝ้าระวัง และป้องปรามการเผาป่า ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง"

วันที่19 สิงหาคม 2566 ตามสั่งการของ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยการอำนวยการของนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า
เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการไฟป่าพรุควนเคร็ง สำนักงานสนับสนุนการป้องกันเเละปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) ตามคำสั่งสำนักสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ที่ 36/2566 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ได้ปฏิบัติการลาดตระเวนการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เฝ้าระวัง และป้องปรามการเผาป่า ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง
- บริเวณบ้านควนพัง ท้องที่หมู่ที่2 ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
- บริเวณบ้านเกาะป่ายาง ท้องที่หมู่ที่6 ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
- บริเวณบ้านบางนกกวัก ท้องที่หมู่ที่ 12 ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช
*สามารถชมคลิปวีดีโอการปฏิบัติงานได้ในคอนเม้นต์*

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา)ได้มอบหมายให้น...
18/08/2023

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า (นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา)ได้มอบหมายให้นายนาวี ช้างภิรมย์ ผู้อำนวยการส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานโครงการความร่วมมือเสริมสร้างชุมชนให้ปลอดภัยจากธรณีพิบัติภัยดินถล่ม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศ ณ ห้องโถงกรมทรัพยากรธรณี ชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี
โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีฯ พิธีรับมอบอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำฝน จำนวน 500 กระบอก จากนางสาวโศภิษฐา โชติช่วง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อมอบให้ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมีนายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอส. เป็นผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการรับมอบ เพื่อนำไปติดตั้งในพื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำและอุทยานแห่งชาติ เพื่อใช้สำหรับการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่ ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายสิทธิชัย เสรีส่องแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง
นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า “กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – ปัจจุบัน และสนับสนุนการซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยที่ร่วมกันจัดทำไว้ โดยมีอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยกว่า 45,000 คน ในพื้นที่ 51 จังหวัด และเครือข่ายวัดปริมาณน้ำฝน กว่า 7,300 คน โดยจะส่งต่อกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนให้แก่เครือข่ายฯ พร้อมกับสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัย โดยบูรณาการความร่วมมือการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก กับหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนหรือช่วงฤดูมรสุมต่อไป
ทั้งนี้ภายในงานยังมีนิทรรศการและกิจกรรมเสวนาวิชาการถอดบทเรียนการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มของชุมชนจากเหตุการณ์แผ่นดินถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์ จากผู้รู้ผู้ชำนาญด้านการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม ในหัวข้อเรื่อง “อยู่กับความเสี่ยงภัย อย่างยั่งยืน” โดยนายทินกร ทาทอง ผู้ตรวจราชการกรมทรัพยากรธรณี นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ นักธรณีวิทยาอาวุโส นายธวัฒชัย ปาละคะมาน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) และนายดำเนิน เชียงพันธ์ อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย เพื่อนำองค์ความรู้ด้านแผ่นดินถล่มไปพัฒนาขีดความสามารถของทุกภาคส่วนในการเตรียมพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มของประเทศไทย

“สปฟ. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเ...
18/08/2023

“สปฟ. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ครั้งที่ 4/2566”

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า มอบหมายให้นายพนัชกร โพธิบัณฑิต ผู้อำนวยการส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม นายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านป้องกันรักษาป่า พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือการติดตามความคืบหน้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง กรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ครั้งที่ 4/2566 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีนายอนันต์ ปิ่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ เป็นผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมีพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีประเด็นสรุปดังนี้
1. ที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินการคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง กรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล
2. รายงานการตรวจสอบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2497 ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล
3. รายงานการของบประมาณรายจ่ายงบกลาง ปี พ.ศ. 2566 ในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ

โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รายงานผลการดำเนินงานความคืบหน้าเกี่ยวกับ การตีความและวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศต่างช่วงชั้นปี บริเวณเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล จากจำนวนทั้งหมด 36 แปลง ดำเนินการแล้วเสร็จ 27 แปลง และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 9 แปลง ทั้งนี้ มีข้อสั่งการในที่ประชุมเกี่ยวกับกรมอุทยาน ฯ 2 ประเด็น ได้แก่ เร่งดำเนินการตีความภาพถ่ายทางอากาศ และพิจารณาแปลงที่มีการแจ้ง ม.64 และประกอบกิจการโรงแรม พร้อมแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบโดยด่วนต่อไป

#เกาะหลีเป๊ะ #แก้ไขปัญหา #สยป #สปฟ

"ปฏิบัติงานป้องกันและเฝ้าระวังไฟป่าอย่างต่อเนื่อง"วันที่ 17 สิงหาคม 2566 สถานีควบคุมไฟป่าทะเลน้อย ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะ...
17/08/2023

"ปฏิบัติงานป้องกันและเฝ้าระวังไฟป่าอย่างต่อเนื่อง"

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 สถานีควบคุมไฟป่าทะเลน้อย ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านราธิวาส ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่ากาญจนบุรี และสายตรวจปราบปราม สบอ.5 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ปฏิบัติงานป้องกันและเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช ดังนี้

- เตรียมพร้อมกำลังพล เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ดับไฟป่า

- ตั้งจุดเฝ้าระวังไฟป่าและลาดตระเวนป้องกันไฟป่าบริเวณบ้านควนป้อม บ้านควนไทร บ้านควนราบ บ้านควนตีน บ้านควนยาว บ้านโคกเลา และบ่อปลาจุฬาภรณ์ ต.เคร็ง อ.ชะอวด

- ติดตั้งและเดินเครื่องสูบน้ำท่อพญานาค จำนวน 2 เครื่อง สูบน้ำเข้าแปลงกระจูดหน้าวัดควนเคร็ง และเดินเครื่องสูบน้ำเข้าป่าพรุ บริเวณพื้นที่เสี่ยง ดังนี้
1. บ้านควนป้อม จำนวน 1 เครื่อง (ปภ.)
2. บ้านควนตีน จำนวน 2 เครื่อง (สำนักงานชลประทาน ที่ 15 และกรมทรัพยากรน้ำภาค 8)
3. บ้านหัวปลวกช้าง จำนวน 1 เครื่อง (ปภ.)
4. หน้าวัดควนเคร็ง (กรมทรัพยากรน้ำภาค 8)

*สามารถชมคลิปวีดีโอการปฏิบัติงานได้ในคอนเม้นต์*

 #สำนักป้องกันฯร่วมจับกุมและแถลงข่าว #      ‘’กรณี การตรวจยึด ซากเกล็ดลิ่นหรือนิ่ม ณ บก.ปทส.”          วันที่ 17 สิงหาคม...
17/08/2023

#สำนักป้องกันฯร่วมจับกุมและแถลงข่าว #

‘’กรณี การตรวจยึด ซากเกล็ดลิ่นหรือนิ่ม ณ บก.ปทส.”

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา เวลา 15.30 น. นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า มอบหมายส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม โดยนายยุทธพงค์ ดำศรีสุข นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านป้องกันรักษาป่า เข้าร่วมการแถลงข่าว กรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ ส.ทล.1 กก.4 บก.ทล. เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปทส. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 สำนักงานสนับสนุนการป้องกันและ ปราบปรามที่ 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ร่วมกับจับกุมผู้ต้องหา 2 คน ชื่อนายธนากร ขอสงวนนาม และนายรุ่ง ขอสงวนนาม ตรวจยึด ของกลาง
1.เกล็ดลิ่นหรือนิ่ม จำนวน 42 กระสอบ น้ำหนักรวมประมาณ 1,400 กก.
2. รถบรรทุกหกล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว หมายเลขทะเบียน 71-9569 สงขลา จำนวน 1 คัน
กระทำผิด พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ฐาน ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
โดยมี พ.ต.อ.อริยพล สินสอน รอง ผบก.ปทส. พร้อมด้วยนายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าว
โดยวันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 20.00 น เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม ได้รับแจ้งจากสายลับว่าจะมีการขนเกล็ดลิ่นหรือเกล็ดนิ่มออกนอกประเทศ โดยใช้เส้นทาง (ทล.2046)ร้อยเอ็ด-โพนทอง เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้รายงานผู้บังคับบัญชา และสั่งการให้ออกตรวจตามเส้นทางดังกล่าว ถึงทางหลวง ทล.2046 กม.50-51 ต.สมสะอาด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ พบรถบรรทุกหกล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว หมายเลขทะเบียน 71-9569 สงขลา มีผ้าใบปกคลุมสิ่งของที่บรรทุกมา ตรงกับที่สายให้ข้อมูลมา จึงแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและเรียกให้รถหยุด เพื่อขอทำการตรวจสอบ พบนายธนกรฯ เป็นคนขับ และนายรุ่งฯ นั่งโดยสารข้างคนขับ ชุดจับกุมสอบถามบรรทุกอะไรมา ผู้ต้องหาตอบว่าเป็นดินปลูกต้นกัญชานำส่งลูกค้าในจังหวัดมุกดาหาร เจ้าหน้าที่จึงขอตรวจค้น พบเกล็ดลิ่นหรือเกล็ดนิ่ม บรรจุในกระสอบสีขาว จำนวน 42 กระสอบ น้ำหนักประมาณ 1,400 กิโลกรัม วางปะปนอยู่กับกระสอบดินปลูกกัญชา จำนวน 100 กระสอบ นายธนกรฯ ให้การเบื้องต้นว่าได้รับค่าจ้าง 7,000 บาทต่อเที่ยว มีหน้าที่ขับรถช่วยกันมาส่งสินค้า,นายรุ่ง ฯเป็นเจ้าของรถได้ค่าจ้าง 20,000 บาทต่อเที่ยว โดยรับสินค้าดังกล่าวมาจากจังหวัดราชบุรี จึงได้ร่วมจับกุมผู้ต้องหา ทั้ง 2 รายพร้อมของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวน บก.ปทส. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

#ทั้งนี้ตั้งแต่สถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาขบวนการค้าตัวนิ่ม หรือตัวลิ่นข้ามชาติได้หายไปจากประเทศไทยโดยคดีนี้เป็นคดีการขนส่งซากตัวนิ่มหรือลิ่น(เกล็ด) ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่ง เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะขยายผลการสืบสวนเพื่อหยุดยั้งขบวนการค้าสัตว์ป่าข้ามชาติต่อไป

#สปฟ #สยป #สปป2 #ตรวจยึดซากตัวนิ่ม

ที่อยู่

61 ถนน พหลโยธิน ชั้น 3-5 อาคารปลอดประสพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


Bangkok บริการภาครัฐอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด
#}