ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา - ศพอ.

ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา - ศพอ. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเ?

��การขับเคลื่อน #อาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ

�มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
�ข้อที่ 3 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย
�3.2 มุ่งแก้ปัญหาคนพิการในวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยการปักหมุด
บ้านเด็กพิการทั่วประเทศ

�ข้อที่ 4 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
�4.2 จัดฝึกอบรมอ

าชีพที่ สอดคล้องกับตามความถนัด ความสนใจของนักเรียนพิการ (เด็ก 1 คน 1 อาชีพ) โดยบูรณาการความร่วมมือกับสถานประกอบการ และหน่วยงานต่าง ๆ ในการฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งมหาวิทยาลัยในการส่งต่อนักเรียนพิการให้มีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
�4.5 ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพ โดยการ Up-Skill Re Skill และ New-Skill รวมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบที่หลากหลายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และผู้สูงอายุที่มีความสนใจ โดยมีการบูรณาการ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

�ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
�ข้อที่ 2 การยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
�2.6 ขยายโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้กับเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการอย่างครอบคลุม เสมอภาค และเท่าเทียม

วันที่ 10 ส.ค. 2566 เวลา 09.30 น.            ดร.นิรันดร์ สมมุติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายพุ...
10/08/2023

วันที่ 10 ส.ค. 2566 เวลา 09.30 น.
ดร.นิรันดร์ สมมุติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายพุฒิชาติ ทัดเทียม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ นำคณะครูวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จัดโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษงานประดิษฐ์ของชำร่วยและของที่ระลึกสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ประจำปีงบประมาณ 2566
ได้รับเกียรติจาก นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ นายกสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2 / ที่ปรึกษาการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ให้เกียรติบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ให้มีความสอดคล้อง ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับประเภทของคนพิการ” , นายวิศิษฐ์ ผลดก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษญ์ จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวแนะนำภาพรวมภารกิจหลักของการดำเนินงานเพื่อคนพิการจังหวัดอุบลราชธานี จัดขึ้น ณ อาคารศาลาธรรมเพื่อคนพิการ ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ บ้านศรีวนาไล จังหวัดอุบลราชธานี

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชาทรงพระเจริญ28 กรกฎาคมขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธ...
28/07/2023

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
ทรงพระเจริญ

28 กรกฎาคม
ขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน

 ด้วยเกล้าด้วยกับหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ ครู และเจ้าหน้าที่ ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคและศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

◽️    สอศ. ขอเชิญชวน คณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน นักศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมลงนามถวายพระพร พระ...
25/07/2023

◽️ สอศ. ขอเชิญชวน คณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน นักศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิพระชนมพรรษา

วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์


📍ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์
https://wellwishes.royaloffice.th
ระหว่างวันที่ 23 – 29 กรกฎาคม 2566

◽️ สอศ. ขอเชิญชวน คณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน นักศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ร่วมลงนามถวายพระพร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์


📍ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์
https://wellwishes.royaloffice.th
ระหว่างวันที่ 23 – 29 กรกฎาคม 2566

 #คนพิการเข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น   ข้อมูลย้อนหลังนักเรียน นักศึกษาพิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา...
21/07/2023

#คนพิการเข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลย้อนหลังนักเรียน นักศึกษาพิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2564 - 2566

ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,682 คน
ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,785 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2
ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,817 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79

โดยคนพิการที่เข้าศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาที่เพิ่มขึ้น คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปีการศึกษา

ผู้รวบรวมข้อมูล #ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)

🎉 คนพิการเข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79  #ข้อมูลนักเรียน นักศึกษาพิการ ปีการศึกษา 2566     🤟🧑‍🦽แบ่งปร...
17/07/2023

🎉 คนพิการเข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79
#ข้อมูลนักเรียน นักศึกษาพิการ ปีการศึกษา 2566

🤟🧑‍🦽แบ่งประเภทความพิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา 9 ประเภท

#สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สรุปยอดนักเรียน นักศึกษาพิการ ประจำปีการศึกษา 2566 (ในสถานศึกษาภาครัฐ และภาคเอกชน) รวมทั้งสิ้น 1,817 คน แบ่งตามประเภทความพิการมีจำนวนดังนี้
1.บกพร่องทางการเห็น 150 คน
2.บกพร่องทางการได้ยิน 339 คน
3.บกพร่องทางสติปัญญา 179 คน
4.บกพร่องทางการเคลื่อนไหวฯ 679 คน
5.บกพร่องทางการเรียนรู้ 162 คน
6.บกพร่องทางการพูดฯ 13 คน
7.บกพร่องทางพฤติกรรมฯ 31 คน
8.บกพร่องทางออทิสติก 134 คน
9.พิการซ้อน 13 คน
//ยังไม่ระบุลงข้อมูล 118 คน

รวมรวบข้อมูล : ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)

#ข้อมูลผู้เรียนพิการ #ปี66 #การจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ #ขยายโอกาส #การเข้าถึงการศึกษา #ลดความเหลื่อมล้ำ #จัดการศึกษาแบบเรียนรวม #ปักหมุดบ้านคนพิการ #คนพิการมีทักษะอาชีพ #สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา #ศพอ. #สอศ.

"สุทธนารีนาถ"ประกาศก้องไทยแซ่ซ้องครบรอบชนม์ฉนำโรคาพาธนิราศหายคล้ายถ้อยคำดังลำนำขอพระองค์ "ทรงพระเจริญ"๑๓ กรกฎาคม วันคล้า...
13/07/2023

"สุทธนารีนาถ"ประกาศก้อง
ไทยแซ่ซ้องครบรอบชนม์ฉนำ
โรคาพาธนิราศหายคล้ายถ้อยคำ
ดังลำนำขอพระองค์ "ทรงพระเจริญ"

๑๓ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด

🔷 วันที่ 12 กรกฎาคม 2566     🔶นายพิษณุ เวทโพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีโครง...
12/07/2023

🔷 วันที่ 12 กรกฎาคม 2566

🔶นายพิษณุ เวทโพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ (ระยะที่ 1)

ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2566

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์1 อาคารราชพฤกษ์

สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร

🔶 ทั้งนี้ก่อนการปิดประชุม ผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันนำเสนอผลสรุปการดำเนินงานภายใต้โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ตลอดระยะเวลาทั้ง 3 โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 8 กิจกรรม ที่ได้ร่วมพลังระดมสมอง สังเคราะห์ สรุปผล เรียบเรียง เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม สามารถนำเสนอผลได้อย่างชัดเจนเกิดคุณภาพ ท้ายนี้ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น สะท้อนแง่คิด และความรู้สึกที่ได้ดำเนินงาน ภายใต้โครงการอาชีวะศึกษาเพื่อคนพิการประจำปีงบประมาณ 2566

//ดำเนินการโดย วิทยาลัยเทคนิคบางแสน (ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ร่วมกับ ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา)

ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)       🎉ขอแสดงความยินดี กับ นายอาเบต  บัวดอกตูม นักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบั...
11/07/2023

ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)

🎉ขอแสดงความยินดี กับ นายอาเบต บัวดอกตูม นักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

🔷ผ่านการประเมินเป็น นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ และ นายวารินทร์ อินทะยศ นักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แผนกวิชาผ้า และเครื่องแต่งกาย ผ่านการประเมินเป็น นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

#ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา

"ธนุ"เลขาอาชีวะ เผยผู้เรียนพิการอาชีวะเตรียมรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา เป็นครั้งแรกของสอศ.     • ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จิ...
04/07/2023

"ธนุ"เลขาอาชีวะ เผยผู้เรียนพิการอาชีวะเตรียมรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา เป็นครั้งแรกของสอศ.

• ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2566 และประกาศคณะกรรมการการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับ
คนพิการในระดับอาชีวศึกษา

📍เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566

• เลขาธิการคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า โดยรายละเอียดรายการที่ให้การอุดหนุน ต่อคน/ต่อปี ในทุกหลักสูตรของปีการศึกษา ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ตามรายการและอัตราที่กำหนดในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสำนักงาน สถาบัน หรือสถานศึกษา ตามจ่ายจริงเท่ากับนักเรียนทั่วไป ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้

❇️ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ระยะสั้น) ไป-กลับ 21,000 บาท หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ) ไป-กลับ 21,000 บาท อยู่ประจำ 57,000 บาท

❇️หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ มีอัตราการอุดหนุนเท่ากัน ในกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้
>>1. กลุ่มสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สาขาที่ขาดแคลนและหรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ ธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบริการ และธุรกิจการบิน อัตราการอุดหนุนแบบไป-กลับ 60,000 บาท และแบบอยู่ประจำ 96,000 บาท อื่น ๆ อุดหนุน 50,000 บาท และ 86,000

>>2.กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

>>3.กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

>> 4.กลุ่มเกษตรศาสตร์ อัตราการอุดหนุนแบบไป-กลับ 70,000 บาท และแบบอยู่ประจำ 106,000 บาท

🔅ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาขีวศึกษา (ศพอ.) จะเร่งดำเนินการนำระเบียบ และประกาศดังกล่าว จัดทำแผนงานเพื่อเสนอขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอาชีวศึกษา ภายในปีงบประมาณ พ.ศ 2567 - พ.ศ. 2568 ซึ่งอัตราเงินอุดหนุนดังกล่าว จะทำให้คนพิการเกิดความสนใจการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา และเข้าถึงการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ทุกระดับอย่างทั่วถึงเพิ่มขึ้น ซึ่งการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา จะช่วยตอบโจทย์ผู้เรียนผู้พิการ ให้สามารถนำความรู้ และทักษะทางวิชาชีพไปประกอบอาชีพต่อไปได้
///

🔷ตารางรายการการอุดหนุน🔷

🟧 ระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ
เดินทางไป-กลับอัตราค่าใช้จ่าย 21,000 บาท/ราย/ปี

🟧ระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ เดินทางไป-กลับ อัตราค่าใช้จ่าย 21,000 บาท/ราย/ปี แบบประจำ อัตราค่าใช้จ่าย 57,000 บาท/ราย/ปี

🟧 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและหลักสูตรปริญญาตรี (ปวส./ป.ตรี)
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ
1. สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
1.1 สาขาที่ขาดแคลนและหรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน
ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์
ธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบริการ และธุรกิจการบิน
1.2 สาขาอื่นๆ นอกจาก 1.1

2. ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
3. วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เกษตรศาสตร์

ค่าใช้จ่ายไป-กลับ อัตราค่าใช้จ่าย บาท/ราย/ปี
60,000 /50,000 /70,000 /70,000/70,000

ค่าใช้จ่ายแบบอยู่ประจำ อัตราค่าใช้จ่าย บาท/ราย/ปี
96,000 /86,000 /106,000 /106,000 /106,000

#ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ         สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒ...
04/07/2023

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

วันที่ 4 กรกฎาคม 2564
ทรงเจริญพระชนมายุ 64 พรรษา

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยแข็งแรง

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้าผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสิมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด

 #เร่งพัฒนาทักษะสร้างอาชีพแก่คนพิการ          ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา มอบหมายให้ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ (ศพอ) เร่...
24/06/2023

#เร่งพัฒนาทักษะสร้างอาชีพแก่คนพิการ

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา มอบหมายให้ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ (ศพอ) เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามนโยบายเร่งด่วน Quick Win ข้อ 10 ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัดลพบุรี

จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill Re Skill) สำหรับคนพิการ และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ภายใต้โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ฃโดยนายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก ดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ผู้แทนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สอจ.ลพบุรี ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วม

📆 ระหว่างวันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2566
🏫 สถานศึกษาที่เข้าร่วม ดังนี้

📍 ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยาลัยอาชีวศึกาษาสุพรรณบุรี)
📍 ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดชัยนาท (วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดอ่างทอง (วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี (วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดสระบุรี (วิทยาลัยสารพัดช่างสระบุรี)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดลพบุรี (วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดเพชรบุรี (วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี)
📍ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม)
กลุ่มเป้าหมาย

💠 ผู้เรียนพิการ ผู้พิการ และประชาชนพิการในเขตพื้นที่ภาคกลาง 2


• โดยดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ นายกสถาบัน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2/ ที่ปรึกษาการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ผู้ชำนาญการฯ นายไพบูลย์ คำภาพักตร์ ผอ.วช.บรรหาร-แจ่มใส และดำเนินงานจากศพอ. นำคณะผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของแต่ละสถานศึกที่เข้าร่วมโครงการ ได้แบ่งกลุ่ม และร่วมกันสังเคราะห์การจัดทำอาชีพสำหรับผู้พิการ และประชาชนพิการ โดยมีประเด็นสำคัญคือ 1 อาชีพระยะสั้น 1 โครงการ 1 ตารางแผนการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น โดยคำนึงถึงอาชีพที่สอดคล้องเหมาะสมกับประเภทผู้พิการ ในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอาชีพ ต้องประกอบด้วย
-ฐานสมรรถนะที่เหมาะสมกับผู้พิการ
-หน่วยการฝึกอาชีพ
-วิธีการ/เทคนิคการสอน
-การวัดและประเมินผล
-คุณลักษณะของผู้พิการที่เข้ารับการฝึก
-วิทยากร/ครูฝึกอาชีพ
โดยการจัดฝึกอาชีพระยะสั้น สำหรับผู้พิการเน้นUp Skill Re Skill เพิ่มและขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษา พัฒนาอาชีพให้ผู้พิการ ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นเกิดผลอย่างแท้จริง เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

🔷️ข้อแนะนำในการจัดทำแผนฝึกอาชีพ🔷️

✅จัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามสมรรถนะวิชาชีพ เช่นเดียวกับผู้เรียนปกติทั่วไป "ยืดหยุ่น แต่ไม่หย่อนมาตรฐาน"

✅หลักสูตรควรสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

✅การจัดหลักสูตรสถานศึกษาต้องเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ หรือแหล่งฝึกอาชีพ รวมถึงแหล่งผู้พิการที่จะเข้าถึงการฝึกอาชีพ

✅เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนพิการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ปักหมุดให้คนพิการได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในพื้นที่ของแต่ละสถานศึกษา
#การจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ #ขยายโอกาส #การเข้าถึงการศึกษา #ลดความเหลื่อมล้ำ #จัดการศึกษาแบบเรียนรวม #ปักหมุดบ้านคนพิการ #คนพิการมีทักษะอาชีพ #สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา #ศพอ. #สอศ.

Cr. ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา

 #เอกสารการบรรยายพิเศษ  "ขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา"          📅 เมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2566   ● เร...
07/06/2023

#เอกสารการบรรยายพิเศษ "ขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา"

📅 เมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2566
● เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิด “โครงการติดตามการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา”
//ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)
📌เอกสารประกอบการบรรยาย

https://shorturl.asia/RJ2We

▫️"ขอให้ครูทุกคนให้โอกาสพวกเขาทุกคนด้วยครับ"                 นายบัณฑิต เหล้าจูมนักศึกษาปกติเรียนรวมกับนักศึกษาพิการ     ...
07/06/2023

▫️
"ขอให้ครูทุกคนให้โอกาสพวกเขาทุกคนด้วยครับ"

นายบัณฑิต เหล้าจูม
นักศึกษาปกติเรียนรวมกับนักศึกษาพิการ

สาขาวิชาไฟฟ้า

วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี

🗓️ กล่าวไว้ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
ณ วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก (ในการประชุมฯ)

06/06/2023

6 มิ.ย.66
เรืออากาศโท สมพร ปานดำ  รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช) พร้อมให้สัมภาษณ์การดำเนินงานอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ

 #อาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาสู่การมีงานทำ  📅 6 มิถุนายน 2566  • ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการการอาช...
06/06/2023

#อาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาสู่การมีงานทำ

📅 6 มิถุนายน 2566

• ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา เร่งขับเคลื่อนนโยบาย Quick Win ข้อ 10 เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) โดยมอบหมายให้เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีเปิดโครงการบันทึกข้อลงความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิธี และกิจกรรมทำแผนอาชีพระยะสั้น Up Skill, Re Skill สำหรับคนพิการ พร้อมด้วยนายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช) โดยการนำของนายสุรศักดิ์ นาคาลักษณ์ ผู้อำนวยวิทยาลัยฯ

เรืออากาศโทสมพร ปานดำ เป็นประธานในการเปิดป้ายศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 และเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการผลงานเชิงประจักษ์การดำเนินงานภายใต่โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โดยสถานศึกษาอาชีวศึกษา โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ เข้าร่วมจัดนิทรรศการการสอนอาชีพระยะสั้น Up Skill, Re Skill ผลงานการดำเนินงานของวิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก วิทยาลัยเทคนิคสตูล วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จ.นครศรีธรรมราช ร่วมแสดงผลงานเชิงประจักษ์เพื่อแสดงศักยภาพการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ สู่การมีงานทำ

เรืออากาศโท สมพร ปานดำ กล่าวว่า จากข้อมูลสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย มีจำนวน 2,180,178 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เพียงร้อยละ 63.87 เกิดความท้าทายในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งอาชีวศึกษาเร่งสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ตอบโจทย์ชีวิต (Alternative Education) เรียนรู้สู่ กำลังคนสมรรถนะสูง เรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ และเรียนรู้สู่การเพิ่มเติมทักษะวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนพิการให้เกิดความสำเร็จ อาศัย Key Success : ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างหลักประกันทางการศึกษา พัฒนาระบบดูแล พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับผู้เรียนพิการ และส่งเสริมโอกาสการมีงานทำให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ “เชื่อมร้อยเครือข่ายที่เข้มแข็ง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิด All for Education เปลี่ยนความพิเศษ ให้เป็นพลัง เปิดประตูสู่โลกอาชีพ อย่างสมศักดิ์ศรี”

#ศพอ
#ขยายโอากสทางการศึกษา

“ อาชีวศึกษา คือ ประตูสู่โอกาสเป็นกลไกการเรียนรู้ที่จะช่วยเปลี่ยนความพิเศษที่เป็นพลัง เปิดประตูให้ทุกคนได้สู่โลกอาชีพอย่...
06/06/2023

“ อาชีวศึกษา คือ ประตูสู่โอกาสเป็นกลไกการเรียนรู้ที่จะช่วยเปลี่ยนความพิเศษที่เป็นพลัง เปิดประตูให้ทุกคนได้สู่โลกอาชีพอย่างเท่าเทียม และสมศักศรีเดินสู่ความเสมอภาคอย่างยังยืน”
6 มิถุนายน 2566
Cr. เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในโอกาสเปิดศูนย์ การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช)

06/06/2023

พิธีเปิดศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1
ณ วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช

 #เชิญรับชมการถ่ายทอดสด ⏰ เวลา 10.00 น. •บรรยายพิเศษ "แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาและชี้แจงก...
05/06/2023

#เชิญรับชมการถ่ายทอดสด ⏰ เวลา 10.00 น.

•บรรยายพิเศษ "แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาและชี้แจงการดดำเนินงานเพื่อคนพิการ" โดย เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

📆ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566
ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1
(วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช)

ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) 
ร่วมกับ
ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1

▫️                 🟣ทรงพระเจริญ🟣                       ๓ มิถุนายน    วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา          สมเด็จพระนางเจ...
02/06/2023

▫️
🟣ทรงพระเจริญ🟣
๓ มิถุนายน
วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา
พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ ครู และเจ้าหน้าที่
✨ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา✨

📣📣ดาวน์โหลดเกียรติบัตร✅ การประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่...
01/06/2023

📣📣ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

✅ การประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษจังหวัด

🗓️ ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2566

ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1

(วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก)

📝 โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก )
//
คลิกที่นี้ >>> https://drive.google.com/file/d/1-5YQ-l8uJwC4bXWt8uAaWrxZAmca5OL7/view?usp=sharing

 #เอกสารการบรรยายพิเศษ  "ขยายโอกาสทางการศึกษา"          📅 เมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566   ● ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เ...
01/06/2023

#เอกสารการบรรยายพิเศษ "ขยายโอกาสทางการศึกษา"

📅 เมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566
● ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิด “โครงการติดตามการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พร้อมมอบนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาและการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ”
//ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)
📌เอกสารประกอบการบรรยาย

https://shorturl.asia/0mst4

 #ขยายโอกาสทางการศึกษาสู่การมีงานทำ  📅เมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566   ● ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการกา...
29/05/2023

#ขยายโอกาสทางการศึกษาสู่การมีงานทำ

📅เมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566
● ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิด“โครงการติดตามการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พร้อมมอบนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาและการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ” ในโอกาสนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบรถมอบรถเข็นและรถเข็นโยก แก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 2 คัน จัดทำโดยศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี)

●ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และแผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาต้องการจําเป็นพิเศษ และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดําเนินงานเกิดประสิทธิภาพ และพบว่ากลุ่มผู้พิการกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค โดย สอศ. ตระหนักและเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนอาชีพจะเข้าถึงผู้เรียนพิการ และสามารถสร้างองค์ความรู้ ให้แก่ผู้เรียนพิการ การฝึกทักษะอาชีพสร้างงานเพื่อให้ผู้พิการมีอาชีพ สามารถทํางานและเลี้ยงดูตนเองได้ มีสิทธิเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปในสังคม
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า จึงเป็นโอกาสอันดีที่ภาคีเครือข่ายจะได้ร่วมดำเนินการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ให้มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป ช่วยกันพัฒนาผู้เรียนพิการ และประชาชนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ให้มีองค์ความรู้ มีทักษะอาชีพ สามารถนําไปต่อยอดการดํารงชีวิตเข้าสู่สถานประกอบการ หรือ ตลาดแรงงานได้ ด้วยอาชีวศึกษา โดยไม่เป็นภาระของสัมคม มีเงินเก็บ มั่นคง มั่งคั่ง มีความสุขกับ การดํารงชีวิต รวมทั้งเป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษะอาชีพ สร้างงานเพื่อให้ผู้พิการมีอาชีพ สามารถทำ งานและได้เลี้ยงดูตนเอง โดยไม่เป็นภาระของสังคมต่อไป

●ในโอกาสนี้ สอศ. โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัดกระบี่ กับ เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 29 แห่ง เพื่อเสริมทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ ให้ผู้พิการได้รับโอกาสสร้างความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้กับผู้ต้องการพิเศษ และการแสดงนิทรรศการจัดการอาชีวศึกษาและการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) อาทิ วิชาผลิตภัณฑ์ผ้าด้วยเทคนิคภาพพิมพ์บนผิวน้ำ โดยวิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ ห้องเรียนตัดผมเคลื่อนที่ โดยวิทยาลัยการอาชีพตรัง งานขนมปาท่องโก๋แลดโดนัท โดยวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก หลักสูตรซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช) หลักสูตรขนมปังไส้ทะลัก และโรตีกรอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี)

//ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)
//ศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา
ภาพกิจกรรม
https://drive.google.com/drive/folders/1J8-mWfw0O16zQWGiDyFc_jhvaILCZyO-?usp=sharing

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566     • ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ ให้เกียรติบรรยายและให้ข้อเสนอแน...
25/05/2023

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566
• ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ ให้เกียรติบรรยายและให้ข้อเสนอแนะแนวทางและกรอบสำหรับการขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด 77 จังหวัด ทั้งแบบ on-site และ online การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด โดยมี ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาการจัดการศึกษาพิเศษ นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ผู้แทนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ผู้อำนวยการ ผู้แทนศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 และภาคเหนือ 2 พร้อมด้วยศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัด ภาคเหนือ เข้าร่วมจำนวน 17 จังหวัด และผู้เข้าร่วมโครงการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 68 แห่ง ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก)ดำเนินการโดย ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ณ วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก

• โดยครั้งนี้ได้มีการเสนอแนะให้ประสานความร่วมมือและข้อมูลจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เพื่อนำข้อมูลระดับจังหวัดมาใ้ในการวางแผนการทำงานเชิงรุก ค้นหา และพาผู้พิการและผู้ต้องการจำเป็นพิเศษมาเรียนอาชีวศึกษา รวมทั้งเสนอแนะให้มีการจัดทำรายงานข้อมูลผู้เรียน ครู และสถานประกอบการ มาใช้ในการวางแผนการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อไป
#ปรับการทำงานเป็นแบบเชิงรุกมากกว่าการรอรับ
#สร้างความพิเศษให้เป็นพลัง
#ศพอ.
//..
>>>เอกสารประกอบการบรรยาย การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด โดย ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

https://shorturl.asia/LzI8K

บรรยายพิเศษ "การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด"โดย ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐาน...
25/05/2023

บรรยายพิเศษ "การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด"

โดย ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ
วันที่ 25 พฤษภาคม 2566

ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก)
Youtube live >>

บรรยายพิเศษ "Up sills , Re skills, New skills, " โดย ดร.สาโรจน์ ขอจ๋วนเตี๋ยว ในการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำ...

" ความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนความพิเศษเป็นพลัง"
25/05/2023

" ความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนความพิเศษเป็นพลัง"

"สอศ. สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนความพิเศษให้เป็นพลัง"📍วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เรืออากาศโท สมพร ...
24/05/2023

"สอศ. สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนความพิเศษให้เป็นพลัง"

📍วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด โดยมี ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาการจัดการศึกษาพิเศษ นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ผู้แทนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ผู้อำนวยการ ผู้แทนศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 และภาคเหนือ 2 พร้อมด้วยศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา จังหวัด ภาคเหนือ เข้าร่วมจำนวน 17 จังหวัด และผู้เข้าร่วมโครงการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 68 แห่ง ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก)
📍เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บรรยายพิเศษ ขับเคลื่อนศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา สร้างโอกาสเรียนรู้ เพื่อการมีงานทำ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ภายใต้นโยบายจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ” นโยบายหลัก ข้อ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษา (Equity) สร้างโอกาสความเสมอภาคทุกช่วงวัย การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พิการทุกช่วงวัย มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป รวมทั้งเป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษาอาชีพ สร้างงานเพื่อให้คนพิการมีอาชีพ สามารถทำงานและได้เลี้ยงดูตนเอง โดยไม่เป็นภาระของสังคมด้วยกลไกการเรียนรู้ สู่การมีงานทำ ด้านการบริหารจัดการและกลไกการขับเคลื่อน ด้านหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น Up Skill, Re Skill ด้านการจัดการศึกษาทวิภาคี ด้านการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ มีสมรรถนะ เพิ่มสัดส่วนครูต่อนักเรียน ด้านผู้เรียนที่มีทักษะ Soft Skill มีระบบการส่งต่อ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำ ภายใต้แนวคิดความพิเศษที่มีอยู่ในตัวของทุกคนนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพไปได้ถึงจุดสูงสุด ครูจึงต้อง “เปลี่ยนความพิเศษ ให้เป็น พลัง”
📍เพื่อร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค 10 ศูนย์ และศูนย์การส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษจังหวัด 77 แห่ง โดยการประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด มีเป้าประสงค์หลักเพื่อดำเนินการจัดทำแผน การเก็บข้อมูลผู้เรียนพิการ การดูแลช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดการศึกษา การส่งต่อสู่การศึกษาและเข้าสู่งานอาชีพ ประสานงาน ส่งต่อผู้เรียนภายในจังหวัดไปสู่สถานศึกษาที่มีความพร้อม ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดการจัดตั้ง ได้ที่ >>> https://shorturl.asia/421Ap

📍รองเลขาธิการ กล่าวเพิ่มเติมในตอนหนึ่งจากการบรรยายพิเศษว่า “ร่วมกันต่อจิ๊กซอว์ ให้อาชีวศึกษาได้ทำหน้าที่ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้น ด้ายการเปลี่ยนความพิเศษให้เป็นพลัง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่พร้อมสู่โลกอาชีพ”

📍โดยมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมประชุมทั้งในที่ประชุม และระบบออนไลน์ จำนวน 150 คน ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2566 จัดโดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก) เป็นผู้ดำเนินงาน ณ วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

////ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.) 24 พ.ค. 66///////

:: เชิญร่วมรับชม “การจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอา...
23/05/2023

:: เชิญร่วมรับชม “การจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด : เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานการขับเคลื่อนตามนโยบายเร่งด่วน Quick Win ข้อ 10 การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ (ศพอ.) ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก) ”
📆 วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก) และระบบออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์
⏰️ 09.00 – 10.30 น.
• เปิด"ทิศทางการขับเคลื่อนการขยายโอกาส" เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และการสร้างควาข้าใจในการขับเคลื่อนงานตามประกาศจัดตั้งศูนย์ฯ โดย: ‘เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา’
⏰️ 10.30 - 11.30 น.
• แนวทางการดำเนินงานภายใต้โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ โดย: ‘นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา’
⏰️ 11.30 - 12.00 น.
• สถานศึกษาตัวอย่างในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนพิการ “วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1)”
⏰️ 13.00 - 15.00 น.
• แนวทางการดำเนินงาน และแผนการขับเคลื่อนศูนย์ฯภาค/จังหวัด โดย ‘ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา’
👉🏻 การพัฒนาอาชีพ Up Skill Re Skill
👉🏻 การรายงานผลการดำเนินงาน
👉🏻 การรายงานจำนวนผู้เรียนพิการ ประจำปีการศึกษา 2566
📆 วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก) และระบบออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์

• ทิศทางการและแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน โดย ‘ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุริจและบริการ’

👉🏻 สรุปจำนวนผู้เรียนพิการ และผู้เรียนในโครงการ กสศ. ทุกชั้นปี ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
👉🏻 สรุปจำนวนครู ที่สอนผู้เรียนพิการ ตามตารางสอนภาคเรียนที่ 1/2566
👉🏻 จัดทำคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์จัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และคำสั่งคณะกรรมการเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัด...... ตามโครงสร้างที่กำหนด

#ศพอ.

23/05/2023

สัมภาษณ์พิเศษ เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
"อาชีวศึกษาระบบเรียนรู้เพื่อมีงานทำตอบโจทย์ชีวิต ผู้มีความต้องการพิเศษ"

ในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และกิจกรรมจัดทำแผนพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) สำหรับคนพิการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 17 พฤษภาคม 2566

สัมภาษณ์โดย นางสาวนราวดี แก้วแกมเกตุ เจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์ (DJ เหมียว)

#ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาคกลาง2
#ศพอ.

22/05/2023

:: เชิญร่วมรับชม “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : เพื่อการดำเนินงานส่งเสริมผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อสายอาชีพชั้นสูงและการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาในการยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน”
📆 วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ โรงแรม เดอะ ควอเตอร์ อารีย์ กรุงเทพฯ ห้องอารีย์ 1-2
⏰️ 09.00 – 10.00 น.
• เปิดทิศทางนโยบายและการขับเคลื่อนบทบาทของ สอศ. เพื่อสร้างความร่วมมือลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาในการยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดย: ‘เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา’
• เปิดบทบาทของ กสศ. เพื่อสนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ตลาดแรงงานอย่างมีศักยภาพ ด้วยการส่งเสริมผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อสายอาชีพชั้นสูง โดย: ‘ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา’
⏰️ 10.00 - 10.30 น.
• พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
⏰️ 10.30 - 11.30 น.
• เวทีเสวนาวิชาการ “นวัตกรรมการทำงานและแนวทางการขยายผลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสายอาชีพและพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน”
โดย:
• ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สอศ.
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์อานนท์ นิยมผล คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
• แพทย์หญิงศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม
อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• คุณพรเทพ เจริญผลจันทร์ ผู้จัดการส่วนชุมชนสัมพันธ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
⏰️ 11.30 - 12.00 น.
• ชมนิทรรศการนวัตกรรมการยกระดับการจัดการศึกษาสายอาชีพแบบองค์รวม โดย ‘นักศึกษาทุน ผู้บริหารและครู สถานศึกษาในโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง’
👉🏻 การพัฒนาระบบดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของผู้รับทุนให้สามารถเรียนจบตามกำหนดเวลา
👉🏻 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูง
👉🏻 การส่งเสริมโอกาสการมีงานทำของผู้ที่จะจบการศึกษา
#บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ #พัฒนาทุนมนุษย์ #การศึกษาสายอาชีพ #ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง #กสศ #สอศ

ที่อยู่

Bangkok
10300

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 17:00
อังคาร 08:30 - 17:00
พุธ 08:30 - 17:00
พฤหัสบดี 08:30 - 17:00
ศุกร์ 08:30 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา - ศพอ.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา - ศพอ.:

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด
#}