ทนายความอำเภอโพธิ์ไทร Lawyer at Pho Sai District

ทนายความอำเภอโพธิ์ไทร Lawyer at Pho Sai District เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน
โทร. เครือข่ายทนายความ บริการ ให้คำปรึกษา
จัดหาทนายความทั่วประเทศ
โทร 089-226-8899

12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง (12 of 22)เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่ง...
24/08/2023

12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง (12 of 22)
เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่งให้เท่าๆ กันแล้ว ในส่วนของหนี้สินที่เกิดมาร่วมกันระหว่างสมรสก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบไปในส่วนเท่าๆ กันด้วย ตัวอย่างเช่น นายสมโชคได้จดทะเบียนหย่าร้างกับนางสมพร โดยทั้งคู่มีเงินสดอยู่ 500,000 บาทที่เป็นสินสมรส ขณะเดียวกันนายสมโชคก็มีหนี้อยู่ 100,000 บาทที่เกิดจากไปกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นค่าใช่จ่ายในการเรียนของลูก ต่อมาเมื่อทั้งคู่หย่าร้างกันจะต้องแบ่งสินสมรสกันคนละ 250,000 บาท ขณะเดียวกันนางสมพรจะต้องช่วยรับผิดชอบหนี้จำนวนดังกล่าวที่นายสมโชคก่อขึ้นระหว่างสมรสจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ 50,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 มาตรา 1535 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

10. การแบ่งสินสมรส (10 of 22)เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสิน...
16/08/2023

10. การแบ่งสินสมรส (10 of 22)
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงเท่าๆ กัน และมาตรา 1535 ได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของหญิงชายภายหลังการสมรสสิ้นสุดลงไว้ว่า ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ตามส่วนเท่ากันตามบทบัญญัติดังกล่าว สรุปได้ว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงให้ชายและหญิงที่หย่ากันแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งในส่วนที่เท่ากัน ส่วนความรับผิดเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันนั้นก็ต้องรับผิดในส่วนเท่าๆ กันเช่นกัน ยกเว้นหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสร้างขึ้นเป็นหนี้ส่วนตัวโดยแท้ไม่เกี่ยวกับสินสมรส ทั้งนี้ฝ่ายที่ก่อหนี้ต้องรับผิดเองเป็นการส่วนตัว (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

9. สินสมรสคืออะไร (9 of 22)คำว่าสินสมรส ก็คือทรัพย์สินที่สามีภรรยามีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินนั้น การจัดการทรัพย์สินก็ต้องจ...
15/08/2023

9. สินสมรสคืออะไร (9 of 22)
คำว่าสินสมรส ก็คือทรัพย์สินที่สามีภรรยามีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินนั้น การจัดการทรัพย์สินก็ต้องจัดการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติไว้ว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส 2. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว และมาตรา 1474 วรรคสอง ยังบัญญัติต่อไปอีกว่า กรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะเป็นสินสมรส ต้องไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรสนั้นเอง คือได้มาระหว่างสมรสอีกประการหนึ่ง กรณีหากฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัว ต่อมามีดอกผลที่เกิดจากการใช้ทรัพย์เหล่านั้น เช่น ฝ่ายหญิงเลี้ยงสุนัขก่อนสมรส ต่อมาฝ่ายหญิงได้ทำการสมรสและสุนัขที่ได้เลี้ยงไว้นั้น ได้ให้กำเนิดลูกสุนัข ส่งผลให้ลูกสุนัขที่เกิดมาเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัว แต่เนื่องจากเกิดขึ้นภายหลังการสมรส ดังนั้น ลูกสุนัขจึงกลายเป็นสินสมรสด้วย อีกกรณีหนึ่งที่เป็นสินสมรสก็คือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์สินมาโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือที่ระบุไว้ให้เป็นสินสมรส กรณีทั้งสามประการจึงเป็นสินสมรส ซึ่งสามีและภรรยาจะต้องจัดการดูแลร่วมกันหรือต้องได้รับยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะจัดการโดยลำพังได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคแรก (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ได้แบ่งประเภทของสินสมรสไว้ 3 ประเภท ดังนี้ (1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส และ (3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ชีวิตคู่เป็นเรื่องของบุคคล 2 คน ที่ต้องแบ่งปันและใช้ชีวิตร่วมกัน แต่หากวันใดไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไปก็สามารถตกลงแยกทางกันได้ และสามารถแบ่งหรือโอนทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่กันได้ รวมทั้งหากมีหนี้สินร่วมกันก็ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา (8 of 22)ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินระหว่า...
14/08/2023

8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา (8 of 22)
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้น เมื่อชายและหญิงสมรสกัน ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันในการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายอาจมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาก่อนที่จะสมรสกัน กฎหมายจึงได้แบ่งแยกทรัพย์สินของสามีภรรยาออกเป็นสองประการ คือ สินส่วนตัวและสินสมรส โดยที่สินส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายที่จะดูแลจัดการด้วยตนเอง ส่วนสินสมรสนั้นทั้งสองฝ่ายต้องดูแลและจัดการร่วมกัน

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา ไม่ว่าเกิดจากฝ่ายสามีกระทำกับภรรยา หรือเกิดจากฝ่ายภรรยากระทำกับสามี เช่น การขโมยเงิน และของมีค่า หรือฉ้อโกงหลอกลวงเงิน แม้กฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเหตุส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 ตัวอย่างเช่น สามีขโมยสร้อยคอทองคำซึ่งเป็นสินส่วนตัวของภรรยาไปขาย แม้สามีจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็มีเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากเป็นเหตุ ส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ เนื่องจากต้องการคุ้มครองความผาสุกของสามีภรรยาในระบบครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แม้กฎหมายจะไม่เอาผิด แต่เรื่องในลักษณะนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่า

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com
……………………………………….

7. การจดทะเบียนสมรสซ้อน (7 of 22)การสมรสซ้อนเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่ไปจดทะเบียนสมรสกับ...
12/08/2023

7. การจดทะเบียนสมรสซ้อน (7 of 22)
การสมรสซ้อนเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่ไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอีกคนหนึ่งทั้งที่ตนเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว ถือว่าการสมรสครั้งหลังนี้ตกเป็นโมฆะ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 บัญญัติไว้ว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ และมาตรา 1495 บัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดี การที่จะกระทำให้การสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะโดยสมบูรณ์เพราะเหตุจดทะเบียนซ้อนนี้กฎหมายระบุให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือมีส่วนได้เสีย เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ที่คู่สมรสของตนไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงกล่าวขึ้นอ้างต่อศาลและร้องต่อศาลว่าการสมรสเป็นโมฆะ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทำอย่างไร (6 of 22)การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็คือ การที่ทั้งชายและหญิงต้องไปจดทะเบียนสมรสก...
11/08/2023

6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทำอย่างไร (6 of 22)
การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็คือ การที่ทั้งชายและหญิงต้องไปจดทะเบียนสมรสกันกับนายทะเบียนและต้องไปเปิดเผยต่อนายทะเบียนด้วยว่าตนยินยอมที่จะเป็นสามีภรรยากัน โดยที่นายทะเบียนต้องบันทึกการยินยอมไว้ด้วยหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า จดทะเบียนสมรส เมื่อกระทำครบถ้วนข้างต้นจึงจะถือว่า การจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากมีการจัดงานแต่งงานเลี้ยงแขกอย่างยิ่งใหญ่แต่ไม่ไปจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายและไม่เกิดสิทธิใดๆ ต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 และมาตรา 1458 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป ผลของการจดทะเบียนซ้อน)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

5. เงื่อนไขการสมรส (5 of 22)การสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญั...
09/08/2023

5. เงื่อนไขการสมรส (5 of 22)
การสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติไว้ว่า การสมรสจะทำได้เมื่อชายและหญิงนั้นมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสได้ ดังนั้น การสมรสจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดี หากมีเหตุที่จำเป็นอันสมควร ดังเช่น ชายและหญิงมีความสัมพันธ์กันก่อนมีอายุสิบเจ็ดปี หากหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา กรณีนี้อาจร้องต่อศาลขอทำการสมรสได้ ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามกฎหมาย (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายต้องทำอย่างไร)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

4. สินสอด (4 of 22)สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแท...
09/08/2023

4. สินสอด (4 of 22)
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ดังนั้น สินสอดเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน ทองคำ หรืออาจเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองหรืออาจเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของฝ่ายหญิง เป็นการตอบแทนที่ให้หญิงนั้นยอมสมรสกับตนเอง แต่เมื่อทำการหมั้นแล้ว หากฝ่ายหญิงไม่ทำการสมรสกับฝ่ายชายโดยผิดสัญญาหรือมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์บางอย่างที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิด ทำให้ฝ่ายชายไม่ควรสมรสกับฝ่ายหญิง ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง และวรรคสามบัญญัติเอาไว้ (โปรดติดตามโพสต์ต่อไปเรื่องเงื่อนไขการสมรส)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่ (3 of 22)กรณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรส อ...
08/08/2023

3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่ (3 of 22)
กรณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องให้ทำการสมรสด้วยไม่ได้ เพราะเหตุว่า การสมรสนั้นต้องเป็นการยินยอมที่จะอยู่กินฉันท์สามีภรรยากันด้วยความเต็มใจ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ที่บัญญัติว่า การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ แต่อย่างใดก็ดี ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน รวมทั้งหากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไปเรื่องสินสอด)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว1. อยากมีคู่ต้องดูอายุด้วย2. การหมั้นคืออะไร3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือ...
06/08/2023

เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว
1. อยากมีคู่ต้องดูอายุด้วย
2. การหมั้นคืออะไร
3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
4. สินสอด
5. เงื่อนไขการสมรส
6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องทำอย่างไร
7. การจดทะเบียนสมรสซ้อนมีผลอย่างไร
8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
9. สินสมรสคืออะไร
10. การแบ่งสินสมรส
11. สินส่วนตัวคืออะไร
12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง
13. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนกัน
14. การรับบุตรบุญธรรม
15. สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรม
16. สิทธิของบุตรบุญธรรม
17. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
18. ชื่อสกุลนั้นสำคัญไฉน
19. ความผิดฐานทิ้งลูก
20. ความผิดฐานแท้งลูก
21. ความรุนแรงในครอบครัว
22. สามีภริยาทำร้ายร่างกายกัน
23. ความผิดต่อชีวิต (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

มรดก* มรดกคืออะไร* มรดกเล็กใหญ่ ใครมีสิทธิก่อน* รู้จักผู้สืบสันดาน * ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดก* หากเจ้ามรดกมีคู่สมรส...
27/07/2023

มรดก
* มรดกคืออะไร
* มรดกเล็กใหญ่ ใครมีสิทธิก่อน
* รู้จักผู้สืบสันดาน
* ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดก
* หากเจ้ามรดกมีคู่สมรสแล้วถึงแก่ความตายการแบ่งมรดกทำอย่างไร่
* บุตรนอกกฎหมาย บุตรบุญธรรม มีสิทธิรับมรดกหรือไม่
* การเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่
* ลำดับทายาทโดยชอบธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดก
* ทายาทของกองมรดกที่มีสิทธิได้รับมรดกนั้นอย่างไร
* มรดกเป็นปืน ให้ระวัง
* มรดกของพระต้องทำอย่างไร ทายาทต้องทำอย่างไร
* เหตุเพราะไม่ทำพินัยกรรม ทายาทถึงมีปัญหา
* เป็นพระสงฆ์มีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่
* ทรัพย์สินของพระที่ได้มาระหว่างบวช มรณภาพแล้ว ทรัพย์นั้นไปใหน (ติดตามโพสต์ต่อเนื่องเรื่องมรดกได้ที่นี้)
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com ……………………………………………………..

สู้คดี.com อยากมีชู้ต้องดูที่คำพิพากษานี้ด้วย และอยากมีคู่ต้องดูที่อายุด้วยเช่นกันหนุ่มสาวหรือวัยรุ่นมักใจร้อนอยากจดทะเบ...
18/07/2023

สู้คดี.com
อยากมีชู้ต้องดูที่คำพิพากษานี้ด้วย และอยากมีคู่ต้องดูที่อายุด้วยเช่นกัน
หนุ่มสาวหรือวัยรุ่นมักใจร้อนอยากจดทะเบียนสมรสกันเร็วๆ แต่ในทางกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ จึงจะทำการสมรสกันได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรก็ขอให้ศาลสั่งให้สามารถสมรสกันได้ ตัวอย่างเช่น นายเอกับนางสาวบี ทั้งคู่อายุ 15 ปี ทั้งสองรักกันมากและต้องการจดทะเบียนสมรสกันแต่ไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต ในทางกลับกัน สมมุติว่านายเอกับนางสาวบีเกิดได้เสียกันและนางสาวบีได้ตั้งท้อง บิดาและมารดาของทั้งสองฝ่ายจึงต้องไปร้องขออนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ปรึกษาหรือค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com ……………………………………………………..

เลิกจ้าง ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยอย่างไรปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายบริษัทต้องปิดกิจการลง ซึ่งส่งผลกระทบ...
11/07/2023

เลิกจ้าง ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยอย่างไร

ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายบริษัทต้องปิดกิจการลง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นลูกคลื่นต่อลูกจ้างในสถานประกอบการนั้นๆ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 30 วัน
2) ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 90 วัน
3) ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 180 วัน
4) ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 6 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 240 วัน
5) ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 300 วัน
ดังนั้น หากบริษัทปิดกิจการลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ปรึกษาหรือค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com ……………………………………………………..

เครือข่ายทนายความ ให้บริการจัดตั้งผู้จัดการมรกด ราคาเดียวทั่วประเทศไม่ต้องเสียเวลาไปหาอัยการ เสียเวลาค้นหาเอกสาร เสียเวล...
08/07/2023

เครือข่ายทนายความ ให้บริการจัดตั้งผู้จัดการมรกด ราคาเดียวทั่วประเทศ
ไม่ต้องเสียเวลาไปหาอัยการ เสียเวลาค้นหาเอกสาร เสียเวลาเข้าคิวรอนาน
โทร. 0994644445

ตำรวจปลอม อย่าตกใจ มีสติ ยกมือถือขึ้นมาถ่ายภาพไว้ แล้วฟังผู้ที่แอบอ้างตัวเองเป็นตำรวจแต่งกายคล้ายตำรวจ ขอดูบัตรประจำตัว ...
25/06/2023

ตำรวจปลอม อย่าตกใจ มีสติ ยกมือถือขึ้นมาถ่ายภาพไว้ แล้วฟังผู้ที่แอบอ้างตัวเองเป็นตำรวจแต่งกายคล้ายตำรวจ ขอดูบัตรประจำตัว อย่ากลัวไปสถานีตำรวจ มีสติแล้วจะไม่เสียสตางค์ครับ

“คนมีสี ดูยังไงก็เท่ห์” ความคิดแบบนี้ได้ครอบงำบางท่านจนนำไปสู่การแอบอ้างแสดงตนว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527 เคยตัดสินว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดังที่เจ้าพนักงานตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่งกางเกงสีกากี สวมเสื้อคอกลมขาว คาดเข็มขัดหนัง ยืนให้สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมาให้หยุดรถ เพื่อตรวจตรงจุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ อันทำให้บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ในการเรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า ได้รับเงินจากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยแสดงตน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้บ้าน 099 464 4445

ผู้รับเหมาทิ้งงาน ป้องกันได้อย่างไรและต้องดำเนินการอย่างไรบ้านคือวิมานของเรา เราอุตส่าห์เก็บเงินจากการทำงานมาเกือบทั้งชี...
07/06/2023

ผู้รับเหมาทิ้งงาน ป้องกันได้อย่างไรและต้องดำเนินการอย่างไร

บ้านคือวิมานของเรา เราอุตส่าห์เก็บเงินจากการทำงานมาเกือบทั้งชีวิตมาสร้างบ้าน อีกทั้งยังต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาเพิ่มเพื่อให้บ้านของเราเสร็จสมบูรณ์ ไม่อยากปวดหัว เสียเงิน เสียเวลา ควรพาผู้รับเหมามาทำสัญญาที่สำนักงานทนายความก่อนนะครับ ถ้าชวนแล้วไม่มาให้นึกไว้เลยว่า ทิ้งงาน โกงเราแน่ๆ คุณควรเริ่มจากการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอักษร (อย่าใช้ฉบับผู้รับเหมาเด็ดขาดคุณเสียเปรียบ) ให้ใช้ฉบับทนายความหรือคุณร่างเองครับ หัวข้อที่คุณต้องเขียนไว้ในสัญญาจ้าง ดังนี้
- [ ] คู่สัญญาเป็นใคร มีใครค้ำประกันผลงานบ้าง กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ต้องมีกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการคำประกันงานในฐานะส่วนตัวด้วย
- [ ] สัญญาจ้างเริ่มต้นเมื่อไหร่ ส่งมอบงานสิ้นสุดสัญญาจ้างเมื่อไหร่
- [ ] ราคาค่าจ้าง แบ่งเป็นค่าของ(ต้องมีใบเสร็จรับเงินที่เชื่อถือได้)และค่าแรง (ระบุรายชื่อแรงงานที่ทำงานให้คุณ) คุณควรหาเวลาสั่งซื้อสินค้าเองจะประหยัดร้อยละ 20-30
- [ ] เมื่อเริ่มต้นทำงานต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่างเข้ามาในพื้นที่ทำงาน แล้วถึงจ่ายเงินงวดแรกได้
- [ ] เมื่อเริ่มต้นทำงานต้องต่อเนื่อง ต้องมีคนงานทุกวันละ 3-5 คนแล้วแต่ขนาดของงาน ถ้าไม่มีคนงานถือว่าผู้รับจ้างผิดสัญญา สัญญาจ้างเลิกกัน
- [ ] ต้องมีผู้ตรวจรับงาน (ผู้ว่าจ้างหามาเอง ห้ามเอาคนของผู้รับเหมา)
- [ ] ต้องแบ่งจ่ายค่าจ้างตามงวดงานแต่ละงวด หลังจากผู้ตรวจรับงานได้ตรวจงานแล้ว
- [ ] ต้องมีคนหรือเงินประกันผลงานภายใน 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย
- [ ] ต้องมีช่างหรือคนงานเข้ามาแก้ไข ซ่อมแซม ภายใน 3 วันนับแต่วันแจ้ง ไม่มาดำเนินการปรับรายวันๆละ 1000-2000 บาท เอาที่เหมาะสม (เยอะได้ศาลตัดเอง)
- [ ] ต้องกำหนดค่าปรับกรณีทิ้งงานหรือทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด วันละ 3-5000 บาทแล้วแต่ขนาดของงาน (เยอะได้ศาลตัดเอง)
- [ ] ต้องมีค่าทนายความในการ ติดตามหนี้ ฟ้องคดี บังคับคดี สัญญาละ 50,000 บาทหรือมากกว่านั้น (เยอะได้ศาลตัดเอง)
เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่คุณควรเขียนไว้ในสัญญาจ้างนะครับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ
โทร. 099 464 4445
ปรึกษาหรือค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้
www.ทนายภูวงษ์.com ……………………………………………………..

ทรัพย์มรดกพระภิกษุ ตกกับใคร เมื่อมรณภาพแล้วเมื่อพระภิกษุ ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินทั้งหมดตกแก่วัด แต่ถ้าพระภิกษุ ได้ทำพินัยกร...
07/06/2023

ทรัพย์มรดกพระภิกษุ ตกกับใคร เมื่อมรณภาพแล้ว

เมื่อพระภิกษุ ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินทั้งหมดตกแก่วัด แต่ถ้าพระภิกษุ ได้ทำพินัยกรรมยกให้ใคร คนนั้นได้ทรัพย์มรดกชิ้นนั้นไป
หากในระหว่างบวชเป็นพระสงฆ์มีญาติโยมมอบเงินทอง ที่ดิน รถยนต์ให้ใช้ และปรากฎว่าต่อมาภิกษุรูปนั้นเกิดมรณภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1623 กำหนดว่า ทรัพย์สมบัติดังกล่าวต้องตกเป็นของวัด ที่จำพรรษาอยู่ ดังนั้น ทายาทจะมาร้องขอส่วนแบ่งจากวัดไม่ได้ ยกเว้นแต่ ระหว่างท่านยังมีชีวิตอยู่ได้มอบทรัพย์สินเงินทองให้ใคร หรือทำพินัยกรรมเอาไว้ให้บุคคลอื่นได้ เพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นของท่านที่จะมอบให้ใครก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระมนัสได้ทำพินัยกรรมมอบรถยนต์ให้แก่น้องชายตัวเองเอาไว้ ต่อมาเมื่อพระมนัสมรณภาพ รถยนต์คันดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของน้องชาย โดยที่วัดไม่มีสิทธิ์ยึดครองเอาไว้ ส่วนทรัพย์สินอื่นๆ ที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ย่อมตกเป็นของวัด โดยที่ญาติของพระมนัสจะมาเรียกร้องไม่ได้เช่นกัน
ถ้าพระต้องการจะยกทรัพย์สินของตัวเองให้ใคร ต้องเขียนพินัยกรรมยกให้กับคนนั้นนะครับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ
โทร. 099 464 4445
ปรึกษาหรือค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com ……………………………………………………..

เจ้าหนี้ทำอย่างไร เมื่อลูกหนี้ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย การให้ผู้อื่นยืมเงินเมื่อเขาลำบากก็นับว่าเป็นการช่วยเหลือเขาอีกทางหน...
06/06/2023

เจ้าหนี้ทำอย่างไร เมื่อลูกหนี้ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย

การให้ผู้อื่นยืมเงินเมื่อเขาลำบากก็นับว่าเป็นการช่วยเหลือเขาอีกทางหนึ่ง แต่ก็ควรต้องทำด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะเมื่อเป็นเงินจำนวนมากซึ่งเราก็หามา ด้วยความยากลำบากและเราเองก็ไม่อยากจะสูญเงินก้อนนั้นไป
ปัญหาก็คือว่าเงินจำนวนเท่าไรจึงควรจะต้องทำสัญญาหรือทำหนังสือขึ้น เป็นหลั กฐานการกู้ยื มตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ที่ ระบุว่า หากกู้เงินเกิน 2,000 บาท ต้องมีสัญญาหรือหลักฐานเป็นหนังสือขึ้นมาและต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกคืนเงินกันได้ และต้องเขียนสัญญาหรือเขียนข้อความนี้ไว้ในการแชทด้วย “ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ดังนี้

- [ ] ลูกหนี้ต้องคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายในวันที่ …. เดือน……. ปี ….
- [ ] ดอกเบี้ยเงินกู้และผิดนัดในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด
- [ ] ค่าปรับร้อยละ 5 ต่อเดือนของต้นเงินที่ค้างชำระจนกว่าชำระหนี้แล้วเสร็จ
- [ ] ค่าทนายความ 20,000 บาท ในการติดตามทวงถาม ฟ้องคดีและค่าบังคับคดี
ถ้าลูกหนี้ตกลงถึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ยืมเงิน หากเรารอบคอบไว้ก่อน ก็อาจจะไม่เจอเรื่องการเบี้ยวหนี้ให้ปวดหัว และปวดใจในภายหลัง

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ
โทร. 099 464 4445
ปรึกค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com ……………………………………………………..

สิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุม              บุคคลใดก็ตามถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายย...
04/06/2023

สิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุม
บุคคลใดก็ตามถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายยังถือว่าผู้นั้นบริสุทธิ์อยู่ จนกว่าจะถูกฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด ดังนั้นสิทธิของผู้ต้องหาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 ได้กำหนดสิทธิของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาไว้ว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวหรือคุมขัง มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม หรือสถานที่ถูกควบคุมตัวในโอกาสแรกที่ถูกจับ และมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว รวมถึงให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำในชั้นสอบสวน และได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ตลอดจนได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วย นอกจากนี้ กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าพนักงานปกครอง หรือตำรวจผู้รับมอบตัว หรือผู้จับกุมต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุมให้ทราบในโอกาสแรกที่ถูกจับกุมด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ปรึกษาหรือค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com ……………………………………………………..

ทนาย (ไม่ได้) ความ คดีศาลแขวง ทนายความต้องดำเนินการอะไรบ้างก่อนอุทธรณ์หรือฎีกาฎีกาที่ 188/2563คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจ...
28/04/2023

ทนาย (ไม่ได้) ความ
คดีศาลแขวง ทนายความต้องดำเนินการอะไรบ้างก่อนอุทธรณ์หรือฎีกา
ฎีกาที่ 188/2563
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 เว้นแต่โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ และ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์มาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า “รับอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยทราบ การส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ โดยไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้ศาล 099 464 4445 ปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com

ขับรถขณะเมาสุรา  ติดคุก ศาลไม่รอการลงโทษฎีกาที่ 411/2565               การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราย่อมส่งผลต่อร่างกายทำ...
04/04/2023

ขับรถขณะเมาสุรา ติดคุก ศาลไม่รอการลงโทษ
ฎีกาที่ 411/2565
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราย่อมส่งผลต่อร่างกายทำให้ไม่สามารถใช้ความระมัดระวังได้อย่างเต็มที่ดังเช่นในภาวะที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ และความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะย่อมลดลง โดยเฉพาะการขับรถในเวลากลางคืนที่มีแสงสว่างน้อย โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น การที่จำเลยขับรถในเวลากลางคืนในขณะเมาสุราด้วยความเร็วสูงเกินสมควรทั้งจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมรถให้หยุดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถที่อยู่ข้างหน้าได้ทัน เป็นเหตุให้ชนผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์อยู่ด้านหน้าอย่างแรงจนถึงแก่ความตาย นอกจากนี้เมื่อพนักงานสอบสวนมีคำสั่งให้ทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่ จำเลยกลับฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมรับการทดสอบโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอีกด้วย นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและขาดความรับผิดต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง และได้ความจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติโดยจำเลยไม่คัดค้านว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฐานขับรถขณะเมาสุรา ซึ่งในคดีดังกล่าวศาลได้ให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่จำเลยกลับมากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันอีก แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้หลาบจำหรือสำนึกที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดี แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนหรือจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ทายาทผู้ตายจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยแล้ว หรือมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอื่นดังที่อ้างในฎีกา ก็ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
การที่จำเลยไม่ยอมทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่สั่งตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 142 วรรคสอง ความว่า ในกรณีเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43(1)หรือ(2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันจะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่ ซึ่งหากฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้จะมีส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา 154(3) โดยระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท จึงเห็นได้ว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนี้ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามความหมายของมาตรา 368 แห่ง ป.อ.อันเป็นกฎหมายทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมรับการทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่ เป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง 2 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368 เนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว ตามมาตรา 154(3)

ลงโทษให้วิ่งรอบสนามนักเรียนเสียชีวิตฎีกาที่ 5129/2546จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1...
03/04/2023

ลงโทษให้วิ่งรอบสนามนักเรียนเสียชีวิต
ฎีกาที่ 5129/2546
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนการเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม ต่ออีก 3 รอบ เป็นการกระทำโทษที่วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสมตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อนักเรียนยังทำไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียงเล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมีอายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้ เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนล้มลง ในการวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว การตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกำลังตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจ ก็ตาม มิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้น้อยลง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ทำการสอนวิชาพลศึกษาในชั่วโมงวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้น ม.1 ห้อง 1/4 ของโรงเรียน ว. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ทำให้เด็กชาย พ. นักเรียนคนหนึ่งในชั้นดังกล่าวถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาของเด็กชาย พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้นั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

วันอาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์ 2566ทนายเตือนภัย เรื่อง ยาเสพติดมีโทษทางอาญา เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม www.สู้คดี.com  คอ...
12/02/2023

วันอาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์ 2566
ทนายเตือนภัย เรื่อง ยาเสพติดมีโทษทางอาญา
เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม
www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyerhelpme

ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันป้องกันและแก้ไข เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย โดยกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 เช่น เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า ฯลฯ ไว้ในครอบครอง มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 67

บริเวณชายแดนระหว่างประเทศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่เฝ้าระวังได้ยาก ประกอบกับบางพื้นที่มีการลักลอบปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น เพื่อเสพหรือเพื่อจำหน่ายเองอีกด้วย โดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 68 วรรค 2 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่นำเข้าหรือส่งออก ยาเสพติดประเภท มอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองล้านบาทถึงห้าล้านบาท

“วัยรุ่น” เป็นวัยที่ชอบลองสิ่งแปลกใหม่ จึงทำให้อาจถูกบุคคลอื่นชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การให้ทดลองเสพยาเสพติด เป็นต้น หากบุคคลใดใช้อุบายหลอกลวง บังคับขู่เข็ญ หรือทำร้ายร่างกาย เพื่อให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดมีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 มาตรา 93 วรรค 1
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com

วันพฤหัสที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566ทนายเตือนภัย เรื่อง รับมรดกปืน รีบจัดการให้เรียบร้อยwww.สู้คดี.com คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099...
09/02/2023

วันพฤหัสที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ทนายเตือนภัย เรื่อง รับมรดกปืน รีบจัดการให้เรียบร้อย
www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนาย: https://bit.ly/helpmelawyer

การได้รับมรดกจากพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ที่ดิน เงินทอง ฯลฯ สินทรัพย์เหล่านี้ผู้เป็นลูกหลานย่อมยินดีจะรับไว้และเต็มใจที่จะดำเนินการเพื่อ ครอบครอง แต่ถ้าหากมรดกนั้นเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย เช่น พวกอาวุธปืน ควรจะต้องทำอย่างไร แม้ว่าผู้รับจะอยากได้หรือไม่ก็ตาม แต่ผู้รับมรดกมีหน้าที่ที่จะต้องไปดำเนินการ ตามกฎหมาย คือแจ้งต่อนายทะเบียนภายในท้องที่ภายใน 30 วันว่าผู้ครอบครอง เดิมนั้นเสียชีวิตแล้ว และขอใบอนุญาตใหม่สำหรับตนเองเพื่อครอบครองอาวุธปืน เป็นไปตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 64 วรรคแรก หากไม่ทำหรือละเลย ปล่อยทิ้งเอาไว้ ก็อาจกลายเป็นการครอบครองอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจมีความผิดตามมาตรา 83 ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445
อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com

วันอาทิตย์  5 กุมภาพันธ์ 2566ทนายเตือนภัย เรื่อง นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างwww.สู้คดี.com  คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099...
05/02/2023

วันอาทิตย์ 5 กุมภาพันธ์ 2566
ทนายเตือนภัย เรื่อง นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง
www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyerhelpme

เมื่อมีการจ้างงานเกิดขึ้น นายจ้างจะต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด หากผลปรากฏว่าลูกจ้างทำความเสียหายแก่บุคคลอื่น อันเป็นผลมาจากการกระทำหรือปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง และการกระทำนั้นเกิดประโยชน์แก่นายจ้าง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายนั้นร่วมกับลูกจ้างด้วย ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคม อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 425

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

วันอังคาร 10 มกราคม 2566ทนายเตือนภัย เรื่อง ปลอมบัตรประชาชน ปลอมเอกสารต่างๆ มีโทษทางอาญาครับwww.สู้คดี.com คอลเซ็นเตอร์ท...
10/01/2023

วันอังคาร 10 มกราคม 2566
ทนายเตือนภัย เรื่อง ปลอมบัตรประชาชน ปลอมเอกสารต่างๆ มีโทษทางอาญาครับ
www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyernearcourt

ปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงบัตรประชาชน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ดังนั้น การปลอมแปลงบัตรประชาชนของผู้อื่น หรือนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 มาตรา 15 ในฐานความผิดผู้ใดนำบัตรหรือใบรับหรือใบแทนของผู้อื่นไปใช้แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

วันพฤหัสบดี 29 ธันวาคม 2565ทนายเตือนภัย เรื่อง เป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิดwww.สู้คดี.com คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445...
29/12/2022

วันพฤหัสบดี 29 ธันวาคม 2565
ทนายเตือนภัย เรื่อง เป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิด
www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนาย: https://bit.ly/helpmelawyer

การมึนเมาขณะขับรถอาจทำให้ เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงแต่ก็มีผู้ละเมิด กฎหมายกันประจำ ทำให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจต้องมาตั้งด่านตรวจหานักดื่ม ที่ไม่ยอมทำตามกฎหมาย นักดื่มที่ ขับไปแล้วเจอด่านตำรวจบังคับให้ เป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ บางคน อาจใช้วิธีไม่ยอมให้เป่าลมหายใจลงใน เครื่องทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ เพราะรู้ว่าตำรวจไม่มีอำนาจบังคับ ให้ทำได้ และคิดว่าเมื่อไม่เป่าก็ ไม่มีหลักฐานให้เอาผิดได้ นับเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะปัจจุบันมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 มาตรา 142 สาระสำคัญคือหากผู้ขับขี่ไม่ยินยอม เป่าทดสอบให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นฝ่าฝืนขับขี่รถขณะเมาสุรา และจะมีผลให้ผู้ที่ไม่ยอมเป่าทดสอบ ปริมาณแอลกอฮอล์ได้รับโทษเท่ากับ ผู้ที่เมาแล้วขับ คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอน ใบอนุญาต
สรุปว่าเป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิด ทางที่ดีต้องแก้ไขจากต้นเหตุ คือไม่ควร ดื่มสุราแล้วขับรถ

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

ที่อยู่

Bangkok
10110

เบอร์โทรศัพท์

0892268899

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ทนายความอำเภอโพธิ์ไทร Lawyer at Pho Sai Districtผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท


Government Buildings อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด
#}