Our Story
กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 52 ประกอบด้วยการดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความคิดเห็น
ขอขอบคุณ กทปส. - กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ครับ
⭐️ กทปส. หนุนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 สัญชาติไทย พร้อมเชิญรัฐ เอกชนร่วมขอทุนเพื่อการพัฒนาและวิจัย
⭐️กทปส. ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการป้องกันภัย ตามวัตถุประสงค์มาตตรา 52 (2) โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี
[email protected] เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะ รวมถึงในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง โดยในวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมการติดตั้งและระบบ ณ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และ บริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพ
⭐️นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุน กทปส. เปิดเผยว่า ทิศทางการสนับสนุนการพัฒนาวิจัย ยังคงมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สาธารณะและหวังให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อย่างครอบคลุม ผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนา การเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อทุกมิติ และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การคุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องตามนโยบายของรัฐ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพงานวิจัยสู่การใช้งานจริง โดย กองทุนฯ ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติการกองทุนระยะ 4 ปี พ.ศ. 2563-2566 เช่น แผนเอไอแห่งชาติ รวมถึงนโยบายแห่งรัฐที่มีการกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
⭐️ล่าสุด กทปส. ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย โดยมีตู้รวมไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการป้องกันความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และทราบถึงสาเหตุของปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่เกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งเตือนความผิดปกติของปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อช่วยในการประหยัด โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี
H[email protected] ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 ของนักวิศวกรไทย เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้ายุคดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งสำคัญคือการจัดการองค์รวมของระบบ IoT โดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อการป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เยาว์และผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ยังติดตั้งและใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง โดยในวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินการติดตั้งและใช้ระบบ ณ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และบริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง 2 แห่งซึ่งรูปแบบารใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพที่รองรับการใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กจนถึงใหญ่
⭐️ทั้งนี้กองทุนฯ ได้มีการจัดสรรทุน ดังนี้ ทุนประเภทที่ 1 ที่มีกรอบการจัดสรรเงินทุนไว้ที่ 400 ล้านบาท และเมื่อปิดรับข้อเสนอไปแล้วมีผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการรวม 113 โครงการ รวมวงเงินขอรับการสนับสนุนทั้งสิ้น 1,567,124,612 บาท ซึ่งถือว่าผลตอบรับการขอทุนเป็นตามเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรทุนโดยทาง กทปส. ได้เปิดให้ทุนประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นกรอบการให้ทุนเชิงยุทธศาสตร์ในปี 2564 กำหนดไว้ที่ 670 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ภารกิจด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจมุ่งเป้าของกองทุนวิจัยและพัฒนา จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจด้านคลื่นความถี่และดาวเทียม จำนวน 70 ล้านบาท
⭐️สำหรับการจัดสรรทุนภายใต้ทุนประเภทที่ 2 ยังมีทุนอีก 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.ทุนต่อเนื่อง ซึ่งทาง กทปส. จะพิจารณาให้สำหรับผู้ที่เคยรับทุนส่งเสริมและสนับสนุนและต้องการต่อยอดงานวิจัย เพื่อให้ขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยทาง กทปส. จะให้ทุนต่อเนื่องเฉพาะวัตถุประสงค์ตามมาตราวงเล็บสอง ด้านการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น ซึ่งปีนี้มีการกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 30 ล้านบาท 2 ทุนตามนโยบายรัฐ ซึ่งทาง กทปส. เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ ยื่นคำขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนโดยตรง และในปีนี้เอง ปี 2564 กทปส. ได้มีการเปลี่ยนเกณฑ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนสำหรับทุนประเภทนี้แตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ ในปีที่ผ่านมาเราจะให้ทุนโดยตรงไปยังส่วนราชการเพื่อดำเนินโครงการเอง แต่เกณฑ์ใหม่ทาง กทปส. จะให้ส่วนราชการเสนอโครงการและจะมีการคัดเลือกโครงการที่ผ่านการพิจารณาเพื่อประกาศขอบเขตงานโครงการ และคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ
⭐️ “ขอเชิญชวนให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษาเข้ามาขอทุนให้มากขึ้นที่ผ่านมา โดยสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวผ่านทาง
https://btfp.nbtc.go.th และ กทปส. - กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ซึ่งภายในเว็บไซต์จะมีข้อมูลตั้งแต่การยื่นขอทุน หลักเกณฑ์การขอทุน คู่มือและการกรอกข้อมูลในการขอทุน รวมทั้งกฎหมายและข้อบังคับโดยท่านสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ ทั้งนี้ผมอยากให้ กทปส. เราได้ช่วยประเทศไทยในการสนับสนุนทุนโดยฉพาะด้านการพัฒนาและวิจัยสำหรับประเทศ” นายชาญวุฒิ อำนวยสิน กล่าวทิ้งท้าย : ขอบคุณข่าวจาก Smart Live
𝕄𝕚𝕤𝕤 & 𝕄𝕚𝕤𝕥𝕖𝕣, 𝕄𝕚𝕤𝕤 ℚ𝕦𝕖𝕖𝕟 & 𝕄𝕣𝕤. 𝔻𝕖𝕒𝕗 𝕋𝕙𝕒𝕚𝕝𝕒𝕟𝕕
คุณนับดาว องค์อภิชาติ ผู้อำนวยการกองประกวด Miss & Mister, Miss Queen & Mrs. Deaf Thailand ได้รับเชิญในรายการ "D มีดี" ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ได้เล่าถึง น้อง ๆ ที่มีความฝัน ที่อยากก้าวสู่วงการบันเทิง นายแบบ/นางแบบ
ฝากแฟนคลับติดตามชม
📍 รายการ "D มีดี"
ออกอากาศทาง ททบ.5 HD1 (กดช่องหมายเลข 1) ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น. เริ่ม 3 เม.ย.
.
ผลิตรายการโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยรับทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
➺ ━━━━━━━━━━━━━━━━━ ✯
ขอบคุณ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU
กทปส. - กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ
➺ ━━━━━━━━━━━━━━━━━ ✯
𝕋𝕖𝕒𝕞 𝕄𝕚𝕤𝕥𝕖𝕣 𝔻𝕖𝕒𝕗 𝕋𝕙𝕒𝕚𝕝𝕒𝕟𝕕 𝟚𝟘𝟚𝟘
ธาม วรปรัชญ์ "1st Mister Deaf Thailand 2020"
ได้เป็นพิธีกรรับเชิญ รายการ D มีดี
ฝากแฟนคลับชมภาษามือของ ธาม ตามคลิก
📍
https://youtu.be/jacu0C-Dt84
.
รายการ "D มีดี" รายการโทรทัศน์ที่ทุกคนรับชมร่วมกันได้ นำเสนอด้วย #ภาษามือเต็มจอ พร้อมด้วยเสียงบรรยายภาพและคำบรรยายแทนเสียง (เมื่อชมทางทีวีดิจิตอล)
.
ออกอากาศทาง ททบ.5 HD1 (กดช่องหมายเลข 1) ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น. เริ่ม 3 เม.ย.
.
ผลิตรายการโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยรับทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
➺ ━━━━━━━━━━━━━━━━━ ✯
ขอบคุณ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU
กทปส. - กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ
➺ ━━━━━━━━━━━━━━━━━ ✯
กทปส. เผยงบฯวิจัย ปี 64 วงเงิน 1.1 พันล.ลุย 5G เต็มสูบ
ผลักดัน'ดิจิทัลอีโคซิสเต็ม-วิทยุดิจิทัล'ประโยชน์สาธารณะ
กรุงเทพฯ 9 ธันวาคม 2563 - กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เผยแผนจัดสรรงบฯวิจัยรับปี 2564 เดินหน้าพัฒนางานวิจัย/นวัตกรรมรับยุค 5G เน้นใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สายประสิทธิภาพสูงขับเคลื่อนสังคม พร้อมสร้างประโยชน์สาธารณะ ภายใต้วงเงิน 1,100 ล้านบาท อาทิ การสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล และการพัฒนาระบบวิทยุดิจิทัล โดยวงเงินดังกล่าว ได้ถูกจัดสรรเป็นทุน 2 ประเภท ได้แก่ ทุนประเภทที่ 1 ทุนเปิดกว้าง วงเงิน 400 ล้านบาท และ ทุนประเภทที่ 2 ทุนที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ประกาศกำหนด วงเงิน 700 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2563 กทปส. ได้ผลักดันให้เกิดโครงการสำคัญ อาทิ ‘มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์’ นวัตกรรมตรวจวัดอุณหภูมิสัญชาติไทย ที่แม่นยำเทียบเท่าต่างชาติ ‘คลาวด์ แอนด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง’ สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในยุคดิจิทัล
นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เปิดเผยว่า กทปส. ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไร้สาย ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะสูงสุด ได้กำหนดกรอบวงเงินการจัดสรรเงินจากกองทุน ประจำปี 2564 ภายใต้กรอบวงเงิน 1,100 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขการอนุมัติงบฯ จากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G โครงข่ายไร้สายประสิทธิภาพสูง สู่การพัฒนางานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนใน 3 กลุ่มสำคัญ ดังนี้ ‘กิจการโทรคมนาคม’ การสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างความรู้ พร้อมปั้นบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน 5G ‘กิจการกระจายเสียง/โทรทัศน์’ การพัฒนาระบบวิทยุดิจิทัล และเทคโนโลยี 4K 8K ในกิจการโทรทัศน์ และ ‘คุ้มครองผู้บริโภค’ การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงระบบการสื่อสารต่าง ๆ ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับวงเงินดังกล่าวที่ กทปส. ได้ดำเนินการจัดสรรนั้น แบ่งออกเป็นประเภททุนต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ทุนประเภทที่ 1 ทุนเปิดกว้าง (Open Grant) โครงการที่เกิดจากผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนจากเงิน กทปส. ภายใต้วงเงิน 400 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ยื่นขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม - 5 เมษายน 2564
ทุนประเภทที่ 2 ทุนที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ประกาศกำหนด โดยแบ่งการสนับสนุนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ทุนตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารกองทุน และ ทุนต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมวงเงิน 700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 กทปส. ได้ดำเนินการจัดสรรงบฯ 2,900 ล้านบาท ผลักดันโครงการต่าง ๆ ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญดังนี้ 1. ด้านบริการเพื่อสังคม (USO) การดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง 2. ด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) การศึกษาวิจัยและพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร 3. ด้านพัฒนาศักยภาพบุคลากร (HRD) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection) ครอบคลุมด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อาทิ ‘มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์’ (μTherm-FaceSense) นวัตกรรมตรวจวัดอุณหภูมิสัญชาติไทย ที่แม่นยำเทียบเท่าต่างชาติ ‘ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีวีอาร์’ (VR) การพัฒนาศูนย์เรียนรู้และหลักสูตรเทคโนโลยีเสมือน หนุนปั้นบุคลากรรับเทรนด์ดิจิทัล โครงการพัฒนา ‘คลาวด์ แอนด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง’ (Cloud & Edge Computing) สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในยุคดิจิทัล ฯลฯ
ทั้งนี้ สำหรับโครงการหรือกิจกรรม ที่ผู้สนใจยื่นขอรับการจัดสรรเงินจาก กทปส. จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน จะต้องมีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ มีเป้าหมายและผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งผู้ขอรับทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอโดยตรง และต้องไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากแหล่งงบประมาณอื่นมาก่อน โดยสามารถศึกษาหรือติดตามรายละเอียดการขอรับทุนฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ กทปส. - กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ และเว็บไซต์
https://btfp.nbtc.go.th นายนิพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย