
30/09/2023
กรมการแพทย์ ดัน "ฟาวิพิราเวียร์" เข้าบัญชียาหลักฯ รักษาไข้หวัดใหญ่
ข่าวดี กรมการแพทย์ เตรียมผลักดัน "ยาฟาวิพิราเวียร์" เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ...
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบ?
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ได้ดำเนินการด้านระบบยามาอย่างต่อเนื่อง และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำรายงานแผนพัฒนาระบบยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคปี 2550 ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดจากระบบยาที่มีต่อสุขภาพ หากมีกลไกที่เข้มแข็งในการติดตามเฝ้าระวังและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบยา จะสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
กรมการแพทย์ ดัน "ฟาวิพิราเวียร์" เข้าบัญชียาหลักฯ รักษาไข้หวัดใหญ่
ข่าวดี กรมการแพทย์ เตรียมผลักดัน "ยาฟาวิพิราเวียร์" เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ...
แพทย์นักวิจัยเผย 'ยาฟาวิพิราเวียร์' ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่แทนยาโอเซลทามิเวียร์ที่ขาดแคลนได้ ชี้เป็นเรื่องที่หมอ-เภสัชกรทุกคนน่าจะรู้ แต่สังคมไม่รู้คิดว่ารักษาโควิด-19 ยืนยันผลิตมาเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่
แพทย์นักวิจัยเผย 'ยาฟาวิพิราเวียร์' ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่แทนยาโอเซลทามิเวียร์ที่ขาดแคลนได้ ชี้เป็นเรื่องท....
“ชลน่าน” แจงกรณีเครือข่ายกัญชาค้านนโยบาย ไม่เห็นด้วยยกเลิกการปลูก 15 ต้น ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน ใช้คำว่าผู้ผลิต เช่น การปลูก 15 ต้น หากจะให้ปลูก จะปลูกอย่างไรให้มีคุณภาพ และประชาชนที่ปลูกก็สามารถเข้าสู่กระบวนการรับซื้อการผลิตได้ ไม่ใช่ให้ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่รับซื้อ ถ้าปชช.ปลูกต้องมีรายได้มีมาตรการรองรับ
“ชลน่าน” แจงกรณีเครือข่ายกัญชาค้านนโยบาย ไม่เห็นด้วยยกเลิกการปลูก 15 ต้น ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน ใช้คำว่าผู้....
นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. ดำเนินการเก็บตัวอย่าง “กุ้งขาว” สัตว์เศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีการพบรายงานของการตกค้างในเนื้อกุ้งขาว ฉลาดซื้อจึงสุ่มตัวอย่างกุ้งขาว ในปี 2566 นี้เพื่อนำมาทดสอบหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะเพื่อให้เป็นชุดการเฝ้าระวังในด้านวัตถุดิบอาหารจากที่เคยทำมาในปีก่อนหน้า
ตัวอย่างกุ้งขาวเก็บจากแหล่งที่เป็นตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แก่ ตลาดธนบุรี ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดไท ตลาดท่าน้ำนนทบุรี ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ ตลาดมหาชัย สมุทรสาคร ตลาดคลองเตยและห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ได้แก่ กูร์เมต์ สยามพารากอน ทอปส์ บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ กูรเม่ต์ มาร์เกต เดอะมอลล์ ห้างโลตัส และห้างแมคโคร รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง นำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 เพื่อทดสอบหาตัวยา 4 กลุ่ม ได้แก่ Nitrofurans metabolites , Chloramphenicol , Veterinary drug residues (Tetracycline group) และ Malachite green
ผลการทดสอบเป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะทั้ง 4 กลุ่ม
ทุกปีนิตยสารฉลาดซื้อยังคงมุ่งมั่นเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผ...
คนไทยทุกคนใช้บริการ 6 รายการนี้ได้ฟรี ที่ร้านยา
1. รับยาเม็ดคุมกำเนิด
2. รับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
3. รับถุงยางอนามัย
4. รับชุดทดสอบการตั้งครรภ์
5. รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกป้องกันโลหิตจาง
6. คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย-จิต
เพียงยื่นบัตรประชาชน
• ร้านยาที่มีสติกเกอร์ “ร้านยาของฉัน ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ”
• หรือแอปเป๋าตัง เมนูกระเป๋าสุขภาพ เลือกสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค แล้วไปรับที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้เลย
ข้อมูลเพิ่มเติม
• สายด่วน สปสช. 1330
•
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ถ่ายทอดสดการเสวนาวิชาการ "การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา"
วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 12.00-16.00 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยากร
1. รศ.ภญ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
2. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
3. รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์
4. รศ.ภญ.ดร. วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
5. ภก.ภาณุโชติ ทองยัง
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข แถลงภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกว่า หนึ่งในแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 ระยสั้น และเร่งด่วน(Quick Win) คือ เรื่องดิจิทัล เฮลท์ เป็นโครงการบัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกโรคได้ทุกที่
โดยจะเริ่มนำร่องระยะต้น 4 เขตสุขภาพ จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่
เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8 จังหวัด สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี
เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4 จังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
เขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม 7 จังหวัด พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
'หมอชลน่าน' ประกาศ 27 จังหวัด 4 เขตสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียว 30 บาทรักษาทุกโรคได้ทุกที่ เบื้องต้นครอบคลุมเฉ.....
"กัญชาทางการแพทย์" มีการเปลี่ยนทิศทางการสื่อสารอย่างเห็นชัด เมื่อ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เข้ามานั่งตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข จากเดิม “กัญชาไม่ใช่ยาเสพติด” ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่มีชื่อกัญชาอยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศยาเสพติดประเภท 5 มาเป็น “กัญชายังเป็นยาเสพติด” ทั้งที่อาศัยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับเดียวกัน เพียงแต่หยิบยกมาสื่อสารในมุมที่ต่างกันเท่านั้น
‘กัญชา’รัฐบาลใหม่ พลิกมุม แม้เป้าหมายยังคงเดิม เตรียมดันพรบ.กัญชากัญชง ออกมาควบคุม เป็นไปได้สูงกำหนดห้าม...
ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ "การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา"
วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 12.00-16.00 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยากร
1. รศ.ภญ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
2. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
3. รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์
4. รศ.ภญ.ดร. วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
5. ภก.ภาณุโชติ ทองยัง
(ถ่ายทอดสด Facebook Live ทางเพจ @กพย. - ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา)
จากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตรา การเกิดโรคไตสูงที่สุด ซึ่งในทุกๆปีนั้น ประเทศไทยจะมีผู้ ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น ประมาณ 15000 คนถึง 18000 คน
ฉลาดซื้อ สัมภาษณ์ ธนพล ดอกแก้ว นายก สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ซึ่งนําประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยโรคไตมาถ่ายทอดถึงสาเหตุสำคัญของโรคไตที่หลายคนมองข้าม
https://youtu.be/SbXIcdx7Cno
ปัจจุบันประเทศไทยพบปัญหาวัณโรคค่อนข้างสูง และยังมีปัญหาเชื้อดื้อยาหลายขนาน เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายของวัณโรคดื้อยาหลายขนาน วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
ปัจจุบันประเทศไทยพบปัญหาวัณโรคค่อนข้างสูง และยังมีปัญหาเชื้อดื้อยาหลายขนาน เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายข....
วัณโรคคืออะไร ติดง่ายมั้ย? ถ้าเป็นแล้วจะรักษาหายได้หรือไม่? ฟังคำตอบจาก นพ.ศิริชัย แสงงามมงคล อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจ และภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน
วัณโรคคืออะไร ติดง่ายมั้ย? ถ้าเป็นแล้วจะรักษาหายได้หรือไม่?มาฟังคำตอบจาก นพ.ศิริชัย แสงงามมงคล อายุรแพทย์....
การติดเชื้อดื้อยาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทย สาเหตุที่สำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลและขาดความตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยา สื่อความรู้โดย รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การติดเชื้อดื้อยาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทย สาเหตุที่สำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่.....
[Facebook Live] วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก ครั้งที่ 5 (The 5th World Patient Safety Day) และ“วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย ครั้งที่ 7
(The 7th Thailand Patient and Personnel Safety Day)
ในวันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ
https://www.facebook.com/HATHAILANDfanpage/videos/1015480856434256
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีเชื้อดื้อยาหรือไม่ รวมทั้งจะป้องกันอย่างไร ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)
บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวสารการสูญเสียชีวิตหลายกรณีที่เกิดจาก “เชื้อดื้อยา” แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา....
หมอธีระวัฒน์ แนะ ‘เลิกนิสัย’ เป็นอะไร แล้วต้อง ‘กินยา’ ไว้ก่อน ยกตัวอย่างเคสที่ต้องอึ้ง
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก แนะนำเรื่องผลการกินยามากเกินไป
หมอธีระวัฒน์ แนะ ‘เลิกนิสัย’ เป็นอะไร แล้วต …
( 21 ก.ค.) “ปดิพัทธ์” รับร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง จากภาคประชาชน หวัง ใช้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์ สร้างฐานรายได้ ให้เกษตรกรอยู่ดี กินดี สังคมสงบสุข สร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจระดับชาติให้สูงขึ้น
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง รับยื่นร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง แห่งชาติ พ.ศ. จากนายวิเชียร ศรีสุด นายกสมาคมสร้างสรรค์เกษตรกรไทย ในฐานะประธานร่างพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชงแห่งชาติ พ.ศ. และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 60 คน ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบด้วย 13 หมวด 99 มาตรา มีหลักการว่า ด้วยประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 บัญญัติให้กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป แต่ยังขาดพระราชบัญญัติว่าด้วยกัญชา กัญชงเพื่อควบคุม จัดระบบระเบียบการปลูก การนําไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเป็นการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมป้องกันการใช้กัญชา กัญชง และสารสกัดไปใช้ในทางที่ผิด จึงมีการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น โดยมีมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ให้นำกัญชา กัญชง และสารสกัดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางด้านการแพทย์ การพาณิชย์ อุตสาหกรรม แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเภสัชกรรม สัตวแพทย์ การเลี้ยงสัตว์ แพทย์พื้นบ้าน การท่องเที่ยว สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และการใช้ประโยชน์ในครัวเรือนวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรม แปรรูปผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ บูรณาการร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน ทั้งส่งเสริมสนับสนุน ควบคุม การนำเข้า ส่งออก สกัด จำหน่าย แปรรูป และมีมาตรการทางกฎหมาย ควบคุมการนำกัญชา กัญชง และสารสกัดไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และบุคคลอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ทั้งควบคุม ดูแลคุ้มครองสถานที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อบุคคลอื่น
รัฐสภา วันนี้ ( 21 ก.ค.) “ปดิพัทธ์” รับร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง จากภาคประชาชน หวัง ใช้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์ สร้า...
“หมอชลน่าน ควง สันติ” เข้าห้องทำงานวันแรก ประกาศนโยบายสำคัญ ตั้ง ‘คกก.สุขภาพแห่งชาติ’ พร้อมสานต่อนโยบายกัญชาทางการแพทย์
“หมอชลน่าน ควง สันติ” เข้าห้องทำงานวันแรก ชื่นมื่น! ประ …
เนื่องในโอกาสสัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก (World Antimocrobial Awarness Week) ประจำปี 2023 ขอเชิญผู้มีอายุ 18-25 ปี ส่งผลงานการ์ตูน 4 ช่อง เพื่อพิชิตเงินรางวัลชนะเลิศมูลค่า 15,000 บาท!
[ขอเชิญผู้มีอายุ 18-25 ปี ส่งผลงานการ์ตูน 4 ช่อง!! เนื่องในโอกาสสัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก (World Antimocrobial Awarness Week) ประจำปี 2023 เพื่อพิชิตเงินรางวัลชนะเลิศมูลค่า 15,000 บาท!!]
------
เชื้อดื้อยา คือหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่น่าเป็นห่วงในระดับโลก
คนทั่วไปมักคิดว่าสาเหตุของเชื้อดื้อยามาจากการใช้ยาต้านเชื้อ(Antimicrobial)แบบผิดๆของคนเราเท่านั้น
แต่ที่จริงแล้ว เชื้อดื้อยาสามารถเกิดได้ทั้งจากการปนเปื้อนของยาต้านเชื้อในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา และการใช้ยาต้านเชื้ออย่างผิดวิธีในกระบวนการผลิตอาหาร ทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อสุขภาพ จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
แล้วโลกจะเป็นอย่างไร!? วงการอาหารจะปลอดภัยหรือไม่!? หยิบอุปกรณ์วาดรูปของท่านขึ้นมา!!
ร่วมใช้จินตนาการสร้างสรรค์ และศิลปะการวาดการ์ตูน ในการต่อต้านเชื้อดื้อยาไปกับพวกเรา!!
-------
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
https://drive.google.com/drive/folders/1NHIpvVIYjClpWFmD5L3ZhzWJiIaU-WMb?usp=drive_link
ข่าวปลอม อย่าแชร์! คณบดีศิริราชและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก ขายผลิตภัณฑ์ Oclarizin เพื่อแก้ปัญหาสายตา
จำนวนผู้เข้าชม 16,383,545 ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ข่าวปลอม อย่าแชร์! คณบดีศิริราชและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิ....
นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 268 ผลทดสอบยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง
นิตยสารฉลาดซื้อยังคงเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าอาหารของเราได้รับการใส่ใจทั้งในภาคการเกษตร ประมงและภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหาร ฉลาดซื้อ จึงร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. ดำเนินการเก็บตัวอย่าง “กุ้งขาว” สัตว์เศรษฐกิจของไทย
ทุกปีนิตยสารฉลาดซื้อยังคงมุ่งมั่นเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผ...
ศิลปินลูกทุ่ง จ๊ะ-นงผณี มหาดไทย แชร์เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพ่อของตัวเอง เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนอื่นๆ ในการระมัดระวังตัว เกี่ยวกับการสั่งยาจากรายการทีวี หรือวิทยุ มารับประทานด้วยตัวเอง
"จ๊ะ นงผณี" เตือนภัย! แชร์ประบการณ์ตรงของคุณพ่อเป็นอุทาหรณ์ สั่งยาจากทีวี-วิทยุ กินเอง ทำสุขภาพทรุด เนื้อตั....
กลลวงตาบริษัทยาข้ามชาติ: กรณียาวัณโรคเชื้อดื้อยาเบดาคิไลน์ โดย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
https://www.facebook.com/TNPplus/posts/639825314917976
กลลวงตาบริษัทยาข้ามชาติ: กรณียาวัณโรคเชื้อดื้อยาเบดาคิไลน์
"วัณโรคเชื้อดื้อยา" (DR-TB) เป็นภัยร้ายแรงต่อสาธารณสุขของโลกที่มีแผนจะขจัดให้หมดไปในปี 2030 แต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้แผนที่วางไว้ต้องล่าช้าออกไปอีกหลายปี โดยเมื่อปี 2021 อัตราการระบาดของวัณโรคเชื้อดื้อยาทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งในจำนวนผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อวัณโรคดื้อยาประมาณ 455,000 คน มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับการรักษา
#ยาเบดาคิไลน์ (Bedaquiline หรือ BDQ) กลายเป็นยาหลักในการรักษาวัณโรคเชื้อดื้อยา แต่ด้วยราคายาที่แพงและปริมาณผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจนถึงขั้นขาดแคลน ทำให้โครงการบริจาคยาต่างๆ ไม่นำยานี้มาใช้เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามด้านสาธารณสุขในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางในหลายประเทศ แต่ผลักให้ผู้ป่วยต้องใช้ยาชนิดอื่นที่ใช้เวลารักษานานกว่า มีประสิทธิภาพน้อยกว่า และต้องทรมานจากผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงกว่ายาเบดาคิไลน์
ปี 2012: ผู้ถือสิทธิบัตรยาเบดาคิไลน์ คือบริษัทเจนเซน (Janssen) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson and Johnson หรือ J & J) จะขายยาเบดาคิไลน์ในประเทศต่างๆ ในราคาที่ต่างกัน ถ้าประเทศรายได้น้อยขายในราคา 900 ดอลลาร์ ประเทศรายได้ปานกลางขายใน 3,000 ดอลลาร์ และในประเทศรายได้สูงขายในราคา 30,000 ดอลลาร์
ปี 2014: บริษัทเจนเซนและหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) เริ่มโครงการบริจาคยาที่มีชื่อว่า Global Drug Facility (GDF) ให้กับประเทศที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนโลกทำให้มีโควตาการรักษาด้วยยาเบดาคิไลน์ได้ 60,000 คอร์สการรักษา
ปี 2018: ประเทศแอฟริกาใต้ทำข้อตกลงกับบริษัทเจแอนด์เจซื้อยาเบดาคิไลน์ในราคา 400 ดอลลาร์ต่อคอร์สการรักษา กลายมาเป็นราคามาตรฐานสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับสิทธิ์ในโครงการ GDF เช่นกัน ต่อมาปี 2020 โครงการ GDF ประกาศลดราคายาเบดาคิไลน์ลงเหลือ 272 ดอลลาร์ต่อคอร์สการรักษา
ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 สิทธิบัตรหลักของยาเบดาคิไลน์หมดอายุลง สร้างความหวังว่าจะมีการผลิตยาชื่อสามัญในราคาที่เข้าถึงได้สำหรับประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าถ้าบริษัทยาชื่อสามัญสามารถผลิตยาเบดาคิไลน์ได้จะมีราคาเพียง 48 – 102 ดอลลาร์ต่อคอร์สการรักษา โดยที่บริษัทยา 'ยังได้กำไรอยู่'
แต่บริษัทเจแอนด์เจกลับยื่นขอจดสิทธิบัตรยาเบดาคิไลน์ฉบับอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นกลวิธีที่จะยืดอายุสิทธิบัตรและการคุ้มครองการผูกขาดให้นานออกไป เช่น ขอคุ้มครองในเรื่องรูปแบบเกลือ โพลีมอร์ฟ ฯลฯ ของสารเคมีที่นำมาผลิตยาเบดาคิไลน์ ซึ่งที่เป็นที่ความรู้สามัญที่รู้จักกันโดยทั่วไปในแวดวงเภสัชกรรมอยู่แล้ว ขอคุ้มครองในเรื่องการใช้ยาเบดาคิไลน์เพื่อการบำบัดรักษาวัณโรค ขอคุ้มครองในเรื่องรูปแบบการใช้ยา (เช่น ยากิน ยากินร่วมกับอาหาร การใช้ยา เบดาคิไลน์ร่วมกับยาอื่น) ซึ่งเราเรียกกลวิธีแบบนี้ว่า "สิทธิบัตรแบบไม่มีวันหมดอายุ" (Evergreening Patent)
นักกิจกรรมจึงเรียกร้องให้บริษัทเจแอนด์เจเพิกถอนคำขอจดสิทธิบัตรสำหรับยาเบดาคิไลน์ทั้งหมด และสัญญาว่าจะไม่บังคับใช้สิทธิบัตรอื่นๆ ที่จดเพิ่มเติมไป แต่แทนที่บริษัทเจแอนด์เจจะทำให้ยาเบดาคิไลน์เข้าถึงได้ในประเทศที่มีความจำเป็นกลับเลือกที่จะทำข้อตกลงกับโครงการ GDF ที่เน้นผลประโยชน์ด้านการตลาด แม้ว่าข้อตกลงนี้ทำให้ประเทศรายได้น้อยและปานกลางเข้าถึงยาเบดาคิไลน์ไม่แพงได้บ้าง แต่อีกหลายประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางและมีปัญหาวัณโรคเชื้อดื้อยารุนแรงเช่นกันกลับถูกเลือกปฏิบัติและถูกกีดกัน
จากข้อมูลล่าสุดที่อ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2021 ประเทศที่ถูกกีดกันเหล่านี้มีผู้ป่วยด้วยวัณโรคเชื้อดื้อยาอย่างน้อย 112,100 คน แต่มีไม่ถึง 50% (57,408 คน) เท่านั้นที่ได้รับการรักษา
นายออตโตมาน เมลลุค (Othoman Mellouk) หัวหน้าการรณรงค์ของภาคีเพื่อการเข้าถึงยาในราคาไม่แพงหรือเอ็มเอ็มเอ (Make Medicine Affordable: MMA) กล่าวว่า ข้อตกลงนี้ทำให้การสาธารณสุขของโลกถอยหลังเข้าคลองและเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเจแอนด์เจ (Johnson & Johnson (J&J)) ในการขายยาเบดาคิไลน์ (Bedaquiline) โก่งราคาทำกำไรได้ต่อไป แทนที่จะทำให้ผู้ป่วยในประเทศที่จำเป็นต้องใช้ยานี้โดยด่วนได้เข้าถึงยา แทนที่จะแก้ไขปัญหาสุขภาพของโลกด้วยยาที่พัฒนาขึ้นจากทุนที่มาจากสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับกีดกันประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยามากที่สุดในโลก ดังนั้น บริษัทเจแอนด์เจต้องสัญญาว่าจะไม่บังคับใช้หรือยื่นขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันหมดอายุกับยาเบดาคิไลน์อีก
ด้าน น.ส. มาเรีย ชิเบาวา องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีชื่อย่อว่า ITPC – EECA กล่าวว่า “นักกิจกรรมจะต้องกดดันบริษัทเจแอนด์เจอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้บริษัทยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรไม่มีวันหมดอายุเพิ่มอีก และคัดค้านคำขอจดสิทธิบัตรที่ได้ยื่นไปแล้ว เพื่อไม่ให้ปล่อยงบสาธารณสุขของประเทศโดนสูบไปเข้ากระเป๋าบริษัทยาอีก”
ตอนนี้เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในภาคี MMA ได้ยื่นหนังสือคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรยาเบดาคิไลน์ในประเทศต่างๆ รวมแล้วกว่า 15 ฉบับ ประกอบไปด้วยเบลารุส บราซิล อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา #ไทย ยูเครน และเวียดนาม โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2020 สำนักงานสิทธิบัตรของบราซิลได้ปฏิเสธการขอจดสิทธิบัตรแบบไม่มีวันหมดอายุของยาเบดาคิไลน์ และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานสิทธิบัตรของไทยก็ได้ปฏิเสธคำร้องขอจดสิทธิบัตรแบบไม่มีวันหมดอายุจำนวน 2 จาก 4 ฉบับของยาเบดาคิไลน์ด้วยเช่นกัน
อ้างอิงและเรียบเรียงจาก: https://makemedicinesaffordable.org/j-js-deal-with-the-global-drug-facility-disguises-the-continued-issue-with-access-to-bedaquiline-to-treat-drug-resistant-tuberculosis/
ที่มาภาพยา: https://www.indiamart.com/proddetail/sirturo-bedaquiline-100mg-tablets-2851496353691.html
#การเข้าถึงยา #สิทธิบัตรยา #เบดาคิไลน์
วิดีโอการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้ยาสมเหตุผล (RDU) ของจังหวัดเชียงราย
RDU Chiang Rai
แนะนำหนังสือ สรุปการเสวนาเนื่องในโอกาสสถาบันวิจัยสังคมครบ 4 รอบ (48 ปี) หัวข้อ “พื้นที่รวมมิตรร่วมคิดร่วมสร้าง ท่ามกลางความแตกต่าง”
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานวิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เสนอแนวทางในการพัฒนาสังคม และเสนอประเด็นเกี่ยวกับสังคมสู่สาธารณะมาเป็นเวลาครบ 4 รอบหรือ 48 ปีเต็ม ในวาระการสถาปนาสถาบันฯ ครบ 48 ปีในวันที่ 22 เมษายน 2565 บุคลากรและกัลยาณมิตรจึงร่วมกันย้อนคิดถึงบทบาทและความคาดหวังของวงวิชาการและสาธารณะต่องานของสถาบันวิจัยสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์ความสำคัญของพื้นที่กลางที่บ่มเพาะความคุ้นเคยจนเป็นพื้นที่รวมมิตรที่ร่วมคิดร่วมสร้าง ทำให้เกิดงานและโครงการต่าง ๆ ที่ขยายตัวไปดำเนินการและมีผลกระทบสูงต่อวงวิชาการและสังคมโดยรวม
การเสวนาจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
ช่วงที่ 1
– ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์
– รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
– รองศาสตราจารย์ นพนันท์ วรรณเทพสกุล
ช่วงที่ 2
– รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา ธาดานิติ
– รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์
– ศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว
ช่วงที่ 3
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
– ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช
– คุณเตือนใจ ดีเทศน์
– ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว
ดาวน์โหลด: http://www.cusri.chula.ac.th/archives/book/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AD
ย้ำเครื่องสำอางในขวด“รูปแบบยาฉีด (แอมพูล/ไวอัล)” ห้ามฉีดเข้าผิวหนัง
จากกรณีที่มีการโฆษณาและรีวิวในเว็บไซต์โดยมีการนำเครื่องสำอางในขวดรูปแบบยาฉีด (แอมพูล/ไวอัล) ฉีดเข้าร่างกายหรือใช้ร่วมกับเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ในการผลักดันสารเข้าสู่ผิวหนังเพื่อความสวยงามและอ้างว่าผลิตภัณฑ์ผ่าน อย. แล้วนั้น อย. ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเป็น “เครื่องสำอาง” จะไม่มีการประเมินความปลอดภัยจากการใช้ กรณีนำไปฉีดหรือใช้ร่วมกับเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากเครื่องสำอางจะใช้ทาภายนอก หากนำเครื่องสำอางไปใช้ผิดวิธีหรือผิดวัตถุประสงค์อาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้
ที่ผ่านมา อย. ได้มีการเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางที่พบว่ามีการนำไปใช้ฉีดแล้ว จำนวน 3 ฉบับ และมีการดำเนินคดีผู้โฆษณาจำนวน 12 ราย
จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบการโฆษณาและรีวิวในเว็บไซต์โดยมีการนำเครื่องสำอางในขวดรูป....
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 เผยแพร่ “ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566” เปลี่ยนข้อบังคับใหม่ ให้หมอใช้ชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อบรรยายเชิงวิชาการเท่านั้น ‘ห้ามโฆษณาแก่ประชาชน’ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากแพทยสภา
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=679462724218454&id=100064641973550
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 เผยแพร่ “ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566” เปลี่ยนข้อบังคับใหม่ ให้หมอใช้ชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อบรรยายเชิงวิชาการเท่านั้น ‘ห้ามโฆษณาแก่ประชาชน’ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากแพทยสภา
------------------------------
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 เผยแพร่ “ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566” ประกาศวันที่ 13 ก.ค. 2566 ซึ่งลงนามโดย ศ.เกียรติคุณ สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
สำหรับสาระคัญ คือ การให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมีสิทธิในการใช้ชื่อทางการค้าหรือชื่ออื่นใดของผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อประโยชน์ในการบรรยายทางการแพทย์ในการประชุมวิชาการ ในการสอนบุคลากรทางการแพทย์หรือการสอนนักศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
รวมถึงห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมใช้ชื่อทางการค้าหรือชื่ออื่นใดของผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งทางตรง หรือทางอ้อม ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่ออื่นใด ในการให้ความรู้ในทำนองโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นๆ ต่อประชาชนทั่วไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากแพทยสภาก่อนเท่านั้น
------------------------------
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thecoverage.info/news/content/5305
การสัมมนาวิชาการ "มองโลกมองไทยต่อประเด็น สถานการณ์กัญชาหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายในประเทศไทยและต่างประเทศ "
วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566
#บอร์ดสสส.เห็นชอบ #แผน2567 กำหนดวาระกลาง “ #เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ” ตั้งเป้าเห็นผลใน 1 ปี
ฉลาดซื้อคือคำตอบ ตอน “โรคไตในเด็ก กับขนมขบเคี้ยว?”
https://youtu.be/1C5EaS0KGe8
#โรคไต #โรคไตในเด็ก #ฉลาดซื้อคือคำตอบ #ฉลาดซื้อ #นิตยสารฉลาดซื้อ #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค🍨🥤
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชวนติดตามสาระดีๆ เพื่อช่วยให้เรารู้เท่าทัน จากสารคดีชุด ฉลาดซื้อ คือคำตอบ ตอน "สูงว....
แนะนำรายการ "กระต่ายตื่นรู้" รายการเพื่อสร้างการรู้เท่าทันโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ข้อมูลงานวิจัยอาการเส้นเลือดที่จอประสาทตาตัน หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 รายงานในวารสาร Nature
Risk assessment of retinal vascular occlusion after COVID-19 vaccination
Coronavirus disease 2019 (COVID-19) vaccines are associated with several ocular manifestations. Emerging evidence has been reported; however, the causality between the two is debatable. We aimed to investigate the risk of retinal vascular occlusion after COVID-19 vaccination. This retrospective coho...
วัคซีนโควิด ผลข้างเคียง ที่ต้องพิจารณา
วัคซีนโควิดเป็นที่ยอมรับกันในประโยชน์ ที่ใช้กันทั่วโลกแต่ในขณะเดียวกัน ผลไม่พึงประสงค์ ผลข้างเคียงและแ...
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองควบคุมวัตถุเสพติด อยู่ระหว่างการจัดทำ "ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะสารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชง พ.ศ. ...." ออกตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
มีกำหนดรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 7-21 สิงหาคม 2566 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย
ระบบกลางทางกฎหมาย
มลพิษอากาศ PM2.5 เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะ ปี 2050 จะมีคนตายเพิ่มเกือบล้านคน/ปี งานวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ใน Lancet
ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการ กพย. ให้สัมภาษณ์ Thai PBS Podcast กรณีองค์การอนามัยโลกแจ้งเตือนยาแก้ไอสำหรับเด็ก 4 ยี่ห้อที่ไม่ได้มาตรฐาน พบการปนเปื้อนของ ไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
องค์การอนามัยโลกแจ้งเตือนยาแก้ไอสำหรับเด็ก 4 ยี่ห้อที่ไม่ได้มาตรฐาน พบการปนเปื้อนของ ไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สารนี้อันตรายอย่างไร และคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
ฟังจาก ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรมปศุสัตว์ ตรวจยึดไส้กรอกหมู (ไส้กรอกตราสิงโต) ในกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสารจากต่างประเทศ เตือน! ไส้กรอกหมูลักลอบนำเข้า เสี่ยงแพร่โรคโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
ตอน งานวิจัยนมดัดแปลงสูตรถั่วเหลืองกับอาการปวดท้องประจำเดือน
ฟังรายการ #ภูมิคุ้มกัน ดำเนินรายการโดย: ชนาธิป ไพรพงค์
🎧 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน | https://thaip.bs/zXLGIXh
🎧 Youtube | https://youtu.be/5pQIvGDONQI
🎧 Spotify | https://thaip.bs/Z3EH1cW
🎧 Google Podcast | https://thaip.bs/EycuB1c
#ผู้บริโภค #คิดก่อนเชื่อ #วิจัย #พิษวิทยา #ยาแก้ไอ #เด็ก #ไดเอทิลีนไกลคอล #เอทิลีนไกลคอล #ยา #ไส้กรอก #ไส้กรอกตราสิงโต #นมถั่วเหลือง #ประจำเดือน
#บทความน่าสนใจ จัดการกับความเข้าใจผิดของผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาในบริบทของอาการเจ็บคอ: การเรียนรู้จากการฟังสื่อสังคมออนไลน์
Addressing Consumer Misconceptions on Antibiotic Use and Resistance in the Context of Sore Throat: Learnings from Social Media Listening
A misunderstanding of the mechanism of action and bacterial targets of antibiotics by consumers may drive inappropriate antibiotic use and antimicrobial resistance (AMR). Tackling AMR requires an in-depth understanding of consumer beliefs and misconceptions. We explored consumer conversations on a n...
ระเบียบวาระการวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์ จัดลำดับความสำคัญของหัวข้อการวิจัย 40 หัวข้อ สำหรับการสร้างข้อมูลเพื่อการจัดทำนโยบายภายในปี 2030 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลชี้นำต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย ผู้ให้ทุน พันธมิตรที่ดำเนินการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคมในการสร้างหลักฐานใหม่เพื่อแจ้งการดื้อยาต้านจุลชีพ
https://www.who.int/publications/m/item/global-research-agenda-for-antimicrobial-resistance-in-human-health
The global research agenda for antimicrobial resistance in human health prioritizes 40 research topics for evidence generation to inform policy by 2030. It aims to guide policy-makers, researchers, funders, implementing partners, industry and civil society in generating new evidence to inform antimicrobial resistance policies and interventions as part of efforts to address antimicrobial resistance, especially in low-and-middle-income countries.
The research agenda is global in scope and focuses on antimicrobial resistance in the human health sector, especially infections caused by the WHO bacterial priority pathogens and WHO fungal priority pathogens with critical importance for antimicrobial resistance (such as Candida auris, Aspergillus fumigatus and Cryptococcus neoformans), and drug-resistant Mycobacterium tuberculosis.
Policy brief
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 39: ไซบูทรามีน ยาลดความอ้วน ยาลดชีวิต
ดาวน์โหลด:https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series39.pdf
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 39: ไซบูทรามีน ยาลดความอ้วน ยาลดชีวิต
ดาวน์โหลด:https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series39.pdf
(หากดาวน์โหลดไม่ได้ ให้คลิกขวา แล้วเลือก Save link as...)
***
เนื้อหาในเล่ม
- ผู้จัดการกพย. แถลง โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
- หน้า 3 - เรื่องจากปก: ปัญหาผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนที่มีไซบูทรามีน โดย ภก.วสันต์ มีคุณ, ภญ.กนกพร ธัญมณีสิน
- หน้า 8 - หมุนดูโลก: สถานการณ์การปลอมปนยาไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์สุขภาพในต่างประเทศ โดย ผศ.ดร.ภญ.อรกัญญ์ ภูมิโคกรักษ์
- หน้า 12 - ทันสถานการณ์: การยกระดับสถานะของไซบูทรามีน โดย อ.ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
- หน้า 15 - รู้เขา-รู้เรา: ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของไซบูทรามีนและปัญหาที่พบในทางจิตเวช โดย อ.ภก.ถนอมพงศ์ เสถียรลักขณา
- หน้า 18 - จับกระแส: ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงจากสื่อเก่าสู่สื่อใหม่ ใครจัดการ โดย สถาพร อารักษ์วทนะ
- หน้า 31 - ใกล้ตัว: ยาลดความอ้วนคือยาลดชีวิต โดย ภก.บุรีวิชญ์ สุยะชัย
- หน้า 33 - เก็บตก: ป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมด้วยเครื่องมือ: 4 สงสัย 2 ส่งต่อ โดย อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, นศภ.หทัยรัตน์ แซ่ลี้, นศภ. อิทธิกร ป้อพันธุ์ดุง
- หน้า 39 - เสียงสะท้อนจากพื้นที่: อันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไซบูทรามีน
กรณีศึกษา: โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง โดย ภก.จัตุพล กันทะมูล
- หน้า 43 - ไฮไลท์: เมจิกสกินและลีน : ‘ฝีแตก’ สะท้อนปัญหาระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
- แนะนำเว็บไซต์ โดย อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี
***
รายงานสุขภาพคนไทย 2566 : คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารวิศิษฐ์ประจวบเหมาะ ชั้น 4 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
Bangkok
10330
จันทร์ | 09:00 - 17:00 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 09:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 17:00 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กพย. - ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง กพย. - ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา:
[2/2] การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค” ช่วงบ่าย จัดในรูปแบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 *** กำหนดการช่วงบ่าย 13.00 - 14.00 น. มองย้อนสะท้อนคิดสถานการณ์....ยาชายแดนประเทศ - ภก.พงษ์ศักดิ์ นาต๊ะ โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย - ภก.อิ่นแก้ว สิงห์แก้ว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย - ภก.สุภนัย ประเสริฐสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู - คุณจุฑา สังขชาติ กรรมการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาภาคใต้ - คุณชุมพล แสงวรรณ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาภาคกลาง 14.00 - 14.45 น. สถานการณ์ยาในผู้สูงอายุ และนวัตกรรมการแก้ไข - ภญ.อารีวรรณ ทองขุนดำ รองประธานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาภาคใต้ - อ. ภญ. ดร.กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม - ผศ. ดร.ส
[1/2] การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค” ช่วงเช้า จัดในรูปแบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 *** กำหนดการช่วงเช้า 10.00 - 10.15 น. พิธีเปิด โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) 10.15 - 11.15 น. สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน - ภญ.อรพินท์ พุ่มภัทรชาติ โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ - คุณพวงทอง ว่องไว เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ - ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด - ภก.สัญญา ชัยหาญ เลขานุการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาภาคใต้ - ภก.สันติ โฉมยงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 11.15 - 12.00 น. สถานการณ์และการจัดการเชิงระบบ: การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ - รศ.ภญ.ดร.หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล คณะเภสัชศาสตร์ มห
Administrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana RoadQueen Sirikit National Convention Center
Queen Sirikit National Convention Center 60 Ratchadaphisek RoadGraduate School of Applied Statistics, NIDA
Serithai Roadสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ngam Wong Wan RoadChemistry at Mahidol University
Rama Vi Road RachathewiSoutheast Asian Ministers of Education Organi
Sukhumvit Road