Clicky

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหา

วิสัยทัศน์ : เป็นเลิศด้านบริหารจัดการงานวิจัย นวัตกรรม และสารสนเทศงานวิจัย
-------------------------------------------------------------------------------
สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่ง มก. เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารและประสานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การให้บริการงานวิจัย การให้บริการวิชาการ จึงได้กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒน

าแห่ง มก. ดังนี้

ด้านการประสานและบริหารงานวิจัย
--------------------------------------
สวพ.มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีฝ่ายวิจัยและประเมินผล รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งทุนอุดหนุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน (ทุนอุดหนุนวิจัย มก.) และแหล่งทุนต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางการวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย ตลอดจนการเสริมสร้างงานวิจัย และพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ

ด้านการบริการงานวิจัย และบริการวิชาการ
----------------------------------------------
สวพ.มก. มีหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัยและวิชาการ ได้แก่ ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน และศูนย์นาโนเทคโนโลยี ซึ่งสามารถให้บริการงานวิจัยและวิชาการแก่ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การบริการเครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ การบริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ การผลิตต้นพืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการบริการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การให้คำปรึกษาและแนะนำ เป็นต้น นอกจากนั้น หน่วยงานในสังกัดยังสามารถให้บริการวิชาการ อาทิ การบริการงานเรียนงานสอน การบรรยายพิเศษ การฝึกงานนิสิต การฝึกอบรมทางวิชาการ การบริการเยี่ยมชมดูงาน

ด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย
--------------------------------------------------------------
สวพ.มก. มีฝ่ายประยุกต์และถ่ายทอดงานวิจัย รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย โดยประสาน บริการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ออกสู่สังคมและนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยสื่อรูปแบบต่างๆ ดังนี้
- การเผยแพร่โดยสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วารสารข่าว สวพ.มก. การคัดเลือกและสรุปผลงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารเคหเกษตร
- การเผยแพร่โดยสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ สื่อวิทยุกระจายเสียง ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” การเผยแพร่และถ่ายทอดทางสื่อโทรทัศน์ โดยผลิตรายการ “เกษตรศาสตร์นำไทย”
- การจัดนิทรรศการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ด้านการพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่องานวิจัย
-------------------------------------------------------------------
สวพ. มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการวิจัย มีฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย รับผิดชอบในการประสานและจัดการสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ/แลกเปลี่ยน/เชื่อมโยง ข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภายในสถาบันฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้านการวิจัยเฉพาะทาง และวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ
--------------------------------------------------------------------------
สวพ.มก. มีหน่วยงานระดับฝ่าย/ศูนย์/สถานีดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ด้านปฏิบัติงานวิจัยเฉพาะทาง ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมีความหลากหลายสาขาตามความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริการวิชาการ และบริการงานวิจัย

เปิดเหมือนปกติ

🔆 ขอเชิญนักวิจัยและผู้ประกอบการเข้าร่วมการบรรยายพิเศษ เรื่อง "รู้จักต้นทุนและการใช้ต้นทุนในการตัดสินใจ"  บรรยายโดย ผศ.ดร...
11/01/2023

🔆 ขอเชิญนักวิจัยและผู้ประกอบการเข้าร่วมการบรรยายพิเศษ เรื่อง "รู้จักต้นทุนและการใช้ต้นทุนในการตัดสินใจ"
บรรยายโดย ผศ.ดร. คมกฤษณ์ สิงห์ใจ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🔏 เพื่อการวางแผนทำสินค้าเข้าสู่ตลาด
จัดโดย RAINs for Thailand Food Valley ภาคกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ.) ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

⏰ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.45 - 16.30 น.
💻 ผ่านทาง Zoom ที่ลิงค์ https://zoom.us/j/94680525162?pwd=bEJIZE1seWw5UEpjMTAwS0JhTEJwQT09
Meeting ID: 946 8052 5162
Passcode: 488338
และ facebook Live https://www.facebook.com/ifrpd.ku

📝 ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/GzcuGkuoGt1mTV1n7

☎️ สอบถามเพิ่มเติมที่ e-mail: [email protected] โทร. 095-4525-915

KU Milk >>> to Move Idea Challenge 🥇นมเกษตร เชิญชวนเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นมเกษตร ⭐️ การประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์น...
10/01/2023

KU Milk >>> to Move Idea Challenge 🥇

นมเกษตร เชิญชวนเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นมเกษตร
⭐️ การประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นมเกษตร
⭐️ การประกวดตั้งชื่อให้กับสัญลักษณ์นำโชค (Mascots)

📣📣 แผนงานพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) บพข. เปิดรับข้อเสนอโครงการฉ...
10/01/2023

📣📣 แผนงานพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) บพข. เปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2566
📌เปิดรับตั้งแต่ วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ถึง วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 (ปิดรับข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ เวลา 17.00 น.)
👉 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://pmuc.or.th/?p=7764
สอบถามเพิ่มเติม: ดร.อมรพันธ์ บุญทองช่วย 📧 [email protected]
ดร.ภัทรานิษฐ์ ตรีเพ็ชร์ 📧 [email protected]
☎ 02-109-5432 ต่อ 880, 894

📣📣 แผนงานพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) บพข. เปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2566

📌เปิดรับตั้งแต่ วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ถึง วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 (ปิดรับข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ เวลา 17.00 น.)

👉 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://pmuc.or.th/?p=7764

สอบถามเพิ่มเติม: ดร.อมรพันธ์ บุญทองช่วย 📧 [email protected]
ดร.ภัทรานิษฐ์ ตรีเพ็ชร์ 📧 [email protected]
☎ 02-109-5432 ต่อ 880, 894

นำเสนอแนวทางบริหารจัดการ ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาผู้อำนวยการ สวพ.มก.  👨‍🔬 👩‍🔬🧑‍🔬>>> สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษ...
09/01/2023

นำเสนอแนวทางบริหารจัดการ ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาผู้อำนวยการ สวพ.มก. 👨‍🔬 👩‍🔬🧑‍🔬

>>> สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการนำเสนอแนวทางบริหารจัดการและซักถามผู้สมัครเข้ารับการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 9 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=78094

✳️✳️สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ประกาศปิดทำการ วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น.
06/01/2023

✳️✳️สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ประกาศปิดทำการ วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น.

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ งานวิจัย (กลุ่มฟิสิกส์และวิศวกรรมเคมี) >>>คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง...
05/01/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ งานวิจัย (กลุ่มฟิสิกส์และวิศวกรรมเคมี)

>>>คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย (กลุ่มฟิสิกส์และวิศวกรรมเคมี) ตามกรอบงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 5 มกราคม 2565 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โดยมีผลงานวิจัยนำเสนอดังนี้
- เทคโนโลยีและวัสดุควอนตัมเพื่อการเกษตรแม่นยำ: มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงและการคำนวณทางทฤษฎี นำเสนอโดย รศ.ดร.สุธี บุญช่วย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาระดับนาโนสำหรับการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ นำเสนอโดย รศ.ดร.ธงไทย วิฑูรย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

📣📣สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ขอเชิญร่วมรับฟังการนำเสนอ แนวทางการบริหารจัดการ และซักถามผู้สมัครเข้ารับการสรรหาผู้อำนวยกา...
04/01/2023

📣📣สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ขอเชิญร่วมรับฟังการนำเสนอ แนวทางการบริหารจัดการ และซักถามผู้สมัครเข้ารับการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

04/01/2023

❗️❗️ปิดรับสมัคร เนื่องจากมีผู้สมัครครบตามจำนวนที่กำหนด❗️❗️
📣📣 ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก. ร่วมกับศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มข. ขอประชาสัมพันธ์โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 8:30 – 16:30 น. ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex

📌สงวนสิทธิ์เฉพาะบุคลากรและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ม.เกษตรศาสตร์
📌จำนวน 150 คนแรกเท่านั้น
⚠️เนื่องจากมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ผู้สมัครรักษาสิทธิ์เข้ารับการอบรมตามกำหนดการดังกล่าว ⚠️
🔹ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://bit.ly/3GbREiT (ปิดรับสมัคร 11 ม.ค. 66 หรือมีผู้สมัครครบเต็มจำนวน)

#แหนแดงกับการเพาะเลี้ยงในแปลงอินทรีย์#แหนแดง เป็น #เฟิร์นน้ำ ขนาดเล็กพบอยู่ทั่วไปบริเวณบึง แหล่งน้ำนิ่ง และสามารถ #ขยายพ...
04/01/2023
แหนแดง กับการเพาะเลี้ยงในแปลงอินทรีย์

#แหนแดงกับการเพาะเลี้ยงในแปลงอินทรีย์
#แหนแดง เป็น #เฟิร์นน้ำ ขนาดเล็กพบอยู่ทั่วไปบริเวณบึง แหล่งน้ำนิ่ง และสามารถ #ขยายพันธุ์ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแหนแดงมีคุณสมบัติเป็นทั้ง #ปุ๋ยพืชสด #ปุ๋ยชีวภาพ และ #อาหารสัตว์ เนื่องจากในใบของแหนแดง สามารถตรึง #ไนโตรเจน จากอากาศทำให้แหนแดงเจริญเติบโตได้เร็ว และมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูง สลายตัวง่ายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็ว จึงมีการนำแหนแดงแห้งมาใช้ในการปลูกผักชนิดต่างๆ ทำให้แหนแดงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นแหล่งไนโตรเจนสำหรับการปลูกผัก ด้วยระบบ #เกษตรอินทรีย์ สอบถามข้อมูลได้ที่ วันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์ นักวิจัย ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร. 08-6686-6890
******************************************
Azolla spp. and organic farming
Azolla spp. (mosquito fern, duckweed fern, fairy moss, water fern) is a small aquatic fern commonly found everywhere in marshes, still water bodies. It can propagate quickly. Azolla has the properties of green manure, biofertilizer and animal feed. Its leaves can get nitrogen directly from the air to make it grow fast. It has quite high nitrogen content. It decomposed easily and releases nutrients rapidly. Thus, dried Azolla is used to grow various vegetables. It is an alternative nitrogen source for organic farming. For further information, please contact Wanwisa Wattanaphansak, researcher, Center for Research and Academic Services, Faculty of Agriculture, Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus ,Tel. 08-6686-6890

🌟ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่..
Fanpage : https://www.facebook.com/kasetnumthaiTV
Youtube : https://www.youtube.com/

🌟แนะนำ/ติชม เกษตรศาสตร์นำไทยได้ที่..
https://forms.gle/pwCefd4uJcsvbqcZ9

https://youtu.be/rfsFzQ8w-8o

แหนแดง เป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็กพบอยู่ทั่วไปบริเวณบึง แหล่งน้ำนิ่ง และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง.....

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ...
03/01/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌾🌾🌾

ได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการวิจัย “Rainbow Rice: A Paradigm Shift in Biofortification” 💚💚💚
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=78013

31/12/2022
แมคคาเดเมีย

🌰 เมล็ดแมคคาเดเมียอบแห้ง ผลิตจากเครื่องกะเทาะเมล็ดแมคคาเดเมีย . 🪵🐿️
🌳 ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
🌳 ปลอดภัย ไร้สารพิษ
🌳 เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วิจัยโดย
⭐️ นางสาววริยา ด่อนศรี (นักวิจัย) สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ แปลงภูทับเบิก Phetchabun Research Station คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
⭐️ รศ. ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

31/12/2022
Nanofiber คุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

🥤เปลี่ยนขยะและพลาสติกให้เป็นวัสดุพิเศษที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และสามารถนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารได้ 🥔🍟
⭐️ รองศาสตราจารย์ ดร. ทองใส จำนงการ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและพลศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมบุคลากร สวพ.มก. รวมพลังสวดมนต์ เจร...
28/12/2022

ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมบุคลากร สวพ.มก. รวมพลังสวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคล แด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมจงรักษ์ ไกรนาม รร.สาธิตเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

⭐️นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2566⭐️สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ครศร ศ...
27/12/2022

⭐️นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2566⭐️

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 💚💚💚

>>>ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปีงบระมาณ 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 👍👍👍
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77993

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมผู้บริหาร มก. กล่าวเปิด "โครงการอธิการบดีพบผู้บริหารและบุคล...
23/12/2022

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมผู้บริหาร มก. กล่าวเปิด "โครงการอธิการบดีพบผู้บริหารและบุคลากร สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" วันที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. 💚💚💚

>>> เพื่อถ่ายทอดนโยบายและทิศทางการบริหารงานสู่การปฏิบัติ บรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆ

>>> ทั้งนี้ ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคและเสนอแนวทางการบริหารงานในอนาคต หรือความต้องการให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนในด้านต่างๆ
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77960

22/12/2022
วันที่ 2 ของการอบรม “การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2566” วันที่ 22 ธันวาคม...
22/12/2022

วันที่ 2 ของการอบรม “การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2566” วันที่ 22 ธันวาคม 2565 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. 📕📗📘📙📚

>>> วิทยากร Dr. Andrew John Warner ได้ช่วยผู้เข้าอบรมปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ (Manuscript) เพื่อให้พร้อมในการส่ง (Submitted) ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม

>>> นอกจากนี้ทีมงานวารสาร Agriculture and Natural Resources (ANRES) และ Kasetsart Journal of Social Science (KJSS) ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ได้มาแนะนำรายละเอียดและขั้นตอนการส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวด้วย
ส่งบทความตีพิมพ์วารสาร ANRES 📥 [email protected]
ส่งบทความตีพิมพ์วารสาร KJSS 📥 [email protected]
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77797

ขอเชิญบุคลากร นิสิต และผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาพิเศษ Future Research on Computer Science and Engineering "ทิศทางงานวิจัยทางด...
22/12/2022

ขอเชิญบุคลากร นิสิต และผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาพิเศษ Future Research on Computer Science and Engineering "ทิศทางงานวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์" ในงาน The 26th International Computer Science and Engineering Conference 2022 (ICSEC2022)

>>> วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00-11.30 น. ณ ห้องระพีสาคริก ชั้น 2 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (อาคาร 9) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
https://kuse.csc.ku.ac.th/icsec2022

ฝ่ายพัฒนาศักยภาพการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. จัดโครงการอบรม “การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิ...
21/12/2022

ฝ่ายพัฒนาศักยภาพการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. จัดโครงการอบรม “การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2566” วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ณ อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

>>> เป้าหมายการจัดอบรม “การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยฯ” ในครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาอาจารย์ นักวิจัย สามารถจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติได้ โดยวิทยากร ดร.แอนดรูว์ วอร์นเนอร์, English Editor ซึ่งมีประสบการณ์ในการปรับปรุงแก้ไขผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์วารสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวารสารมาตรฐานสากลมากกว่า 2,000 ผลงาน
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77797

#เครื่องอัดกระถางจากเศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร การผลิต #เครื่องอัดกระถางเพาะชำ ได้พัฒนามาจาก #เครื่องอัดถ้วยใบไม้ และเครื...
21/12/2022
เครื่องอัดกระถางจากเศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร

#เครื่องอัดกระถางจากเศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร การผลิต #เครื่องอัดกระถางเพาะชำ ได้พัฒนามาจาก #เครื่องอัดถ้วยใบไม้ และเครื่องอัดกระถางจากผักตบชวา การอัดกระถางด้วยระบบเครื่องไฮโดรลิค และเครื่องอัดแบบมือโยกสามารถขึ้นรูป #กระถางเพาะชำกล้าไม้ โดยเศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่นำมาใช้ได้ อาทิเช่น ใบไม้ ขุยมะพร้าว ใยมะพร้าว ฟางข้าว ขี้เลื่อย ผักตบชวา และวัสดุอื่นๆ กล้าไม้พร้อมกระถางนี้สามารถนำลงปลูกได้เลยโดยไม่ต้องถอดกระถางออก ระบบรากจึงไม่ถูกกระทบกระเทือนช่วยให้กล้าไม้และต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโตและใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการทดแทนการใช้ถุงเพาะชำพลาสติก หรือกระถางดำในการเพาะชำต้นไม้ สอบถามได้ที่ ผศ.นงลักษณ์ เล็กรุ่งเรืองกิจ ศูนย์พลังงานฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร.09-1021-9191

************************************
Biodegradable pot making machine from agricultural waste.
Plants seedling pot making machine has been developed from the combination of a leaf cup making machine and a water hyacinth pot making machine. The seedling pot can be made by a machine either a hydraulic or a hand-operated system that can press materials and shape it to be a seedling plot. Agricultural waste that can be used such as leaves, coconut coir, coconut fibers, rice straws, saw dust, water hyacinth, etc. The whole pot with the plant can be placed in the ground for planting directly, no need to take the pot off. This will allow the seedling and the plant to continue to grow well without being interrupted; the root system has already settled well with the environment. This biodegradable pot is another alternative to replace a black plastic bag or pot for plant nursery. Further information, please contact Asst. Prof. Nonglak Lekrungruangkit, Energy and Environmental Center, Faculty of Engineering, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus Tel.09-1021-9191

🌟ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่..
Fanpage : https://www.facebook.com/kasetnumthaiTV
Youtube : https://www.youtube.com/user/Kasetsar...
🌟แนะนำ/ติชม เกษตรศาสตร์นำไทยได้ที่..
https://forms.gle/pwCefd4uJcsvbqcZ9
https://youtu.be/dWoERuKRadc

การผลิตเครื่องอัดกระถางเพาะชำ ได้พัฒนามาจากเครื่องอัดถ้วยใบไม้ และเครื่องอัดกระถางจากผักตบชวา การอัดกร...

ถวายพระพร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ >>> สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าล...
20/12/2022

ถวายพระพร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

>>> สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่ออธิษฐานจิตแด่พระองค์ท่านอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77744

พิธีลงนามฯ การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 🐟🦀...
19/12/2022

พิธีลงนามฯ การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 🐟🦀🦞🦑🐢

>>> รองศาสตราจารย์ ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กรมประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ณ กรมประมง

>>> เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการทำประมงเชิงบวกด้วยการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศทางทะเลให้คงความสมบูรณ์ อีกทั้งยังส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศต่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77725

19/12/2022

📣📣📣ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก ขอเชิญบุคลากร และนิสิต ม.เกษตรศาสตร์ เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity)”

🗓 ระหว่างวันที่ 26 - 27 มกราคม 2566 เวลา 08:30 – 16:30 น.
ณ ห้องอบรม 408 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🔶สมัครออนไลน์ ได้ที่ https://bit.ly/trainingbiosafety (หมดเขต 9 ม.ค. 2566 หรือจนกว่ามีผู้สมัครครบตามจำนวนที่กำหนด )
🔶รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/3FxFWio
🔶ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์อบรมได้ ภายในวันที่ 11 มกราคม 2566 ที่ http://bit.ly/3Py190i

📌หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Biosafety-มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ ของ ม.เกษตรศาสตร์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือคลิก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=54602 ค่ะ 💙

“ประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายใน ปี 2580 โดยมีหัวหอกสำคัญ คือ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีหน้าที่...
17/12/2022

“ประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายใน ปี 2580 โดยมีหัวหอกสำคัญ คือ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสร้างกำลังคน วิจัยเพื่อผลิตองค์ความรู้ และ พัฒนานวัตกรรม เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

⭐️โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃”บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 🌳 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน เชื่อมโยงกับคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับชาติ หรือไม่ อย่างไร … มหาวิทยาลัย ต้องกำหนดต...
17/12/2022

“เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน เชื่อมโยงกับคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับชาติ หรือไม่ อย่างไร … มหาวิทยาลัย ต้องกำหนดตัวชี้วัดตาม SDGs 3 ข้อ ที่เป็นจุดเด่น และ SDG17 เรื่องความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน”

⭐️ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง
ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย
⭐️ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว
ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภา มก. #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

17/12/2022
การประชุมวิชาการทปอ. ประจำปี 2565

“มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมที่จะขับเคลี่อนเรื่อง Neutrality และ SDGs อย่างเข้มข้น”

🌳 ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ 🌳
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565
“บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 🍃
วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“#คาร์บอนเครดิต  เป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการลด GHG ที่มีต้นทุนในการลดสูง ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตหรือปริมาณ  ที่กักเก็บ...
17/12/2022

“#คาร์บอนเครดิต เป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการลด GHG ที่มีต้นทุนในการลดสูง ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตหรือปริมาณ ที่กักเก็บหรือลดได้จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ผ่านการรับรองจากหน่วยตรวจสอบความใช้ได้/ทวนสอบ GHG และขึ้นทะเบียนกับ อบก.”
💚💚💚

⭐️โดย ดร.สาธิต เนียมสุวรรณ ⭐️
ผู้จัดการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 🌳 #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“#คาร์บอนเครดิต เป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการลด GHG ที่มีต้นทุนในการลดสูง ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตหรือปริมาณ ที่กักเก็บหรือลดได้จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ผ่านการรับรองจากหน่วยตรวจสอบความใช้ได้/ทวนสอบ GHG และขึ้นทะเบียนกับ อบก.”
💚💚💚

⭐️โดย ดร.สาธิต เนียมสุวรรณ ⭐️
ผู้จัดการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 🌳 #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“ประเทศไทย ปักหมุดเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยมีเทนจากการปลูกข...
17/12/2022

“ประเทศไทย ปักหมุดเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยมีเทนจากการปลูกข้าว เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน 50% (2050) ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 69% (2035) เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) และ ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน” 💚💚💚

⭐️โดย นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี⭐️
ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 🌳 #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“ประเทศไทย ปักหมุดเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยมีเทนจากการปลูกข้าว เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน 50% (2050) ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 69% (2035) เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) และ ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน” 💚💚💚

⭐️โดย นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี⭐️
ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 🌳 #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🌿

“อยากให้มหาวิทยาลัย วิจัยเพื่อศึกษาความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าบก และป่าชุมชน” 💚💚💚 โดย ศ.ดร.สนิท ...
17/12/2022

“อยากให้มหาวิทยาลัย วิจัยเพื่อศึกษาความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าบก และป่าชุมชน” 💚💚💚 โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว
ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภา มก. 🌳 #ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“อยากให้มหาวิทยาลัย วิจัยเพื่อศึกษาความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าบก และป่าชุมชน” 💚💚💚 โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว
ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภา มก. 🌳 ในงาน “บทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” การประชุมวิชาการทปอ.ประจำปี2565 🍃 วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กร...
16/12/2022
ร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอพระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว🙏🙏🙏

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมด้วยบุคลากร สวพ.มก. ร่วมแสดงความยินด...
16/12/2022

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมด้วยบุคลากร สวพ.มก. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบปีที่ 29

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมด้วยบุคลากร สวพ.มก. ร่วมแสดงความยินด...
16/12/2022

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมด้วยบุคลากร สวพ.มก. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบปีที่ 30

🔔🔔 ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก ขอเชิญนิสิต ม.เกษตรศาสตร์ เข้าร่วม โครงการอบรมให้ความรู้  ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย....
16/12/2022

🔔🔔 ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก ขอเชิญนิสิต ม.เกษตรศาสตร์ เข้าร่วม โครงการอบรมให้ความรู้ ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย..ทำไมต้องมี" (สำหรับนิสิต ครั้งที่ 1/2566) รับประกาศนียบัตร Electronic (PDF File)

📍📍วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 08:30 – 12:00 น.
(pink laptop) ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Cisco Webex

📍📍สมัคร Online โดยใช้บัญชี KU-Google ในการ Log-in มือถือ/คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ของท่านก่อน แล้วคลิกสมัครได้ที่ http://bit.ly/3BHrPFX (หมดเขต 20 มกราคม พ.ศ. 2566)
📍📍ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์อบรม และรายละเอียดเพิ่มเติม https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77651
📍📍ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Labsafety-มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติงานวิจัย มก. ศึกษาได้ที่ เว็บไซต์ https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=51996

ขอกราบถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงหายจา...
16/12/2022

ขอกราบถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว

ข้าพระพุทธเจ้า
คณะผู้บริหาร และบุคลากร
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมลงนามถวายพระพร : https://wellwishes.royaloffice.th/

KURDI ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย ประจำปี 2564 – 2565 ตามแผนงานวิจัย เรื่อง ระบบผลิตและพัฒนานักวิจัยขั้น...
15/12/2022

KURDI ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย ประจำปี 2564 – 2565 ตามแผนงานวิจัย เรื่อง ระบบผลิตและพัฒนานักวิจัยขั้นสูงเพื่อสร้างความพร้อมในการแข่งขันด้านการเกษตรและอาหาร ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ 👍👍👍

ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 18 หน่วย ดังนี้
1) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีรังสี เพื่อวัสดุขั้นสูง โดย รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสนบุญเรือง
2) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเซลลูโลส เพื่อวัสดุและเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดย รศ.ดร.ประกิต สุขใย
3) หน่วยวิจัยเฉพาะทางก๊าซและเคมีเซนเซอร์อัจฉริยะ เพื่องานประยุกต์ด้านอาหารและการเกษตร โดย รศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข
4) หน่วยวิจัยเฉพาะทางการจำลองระดับโมเลกุล เพื่อการเกษตรและอาหาร โดย รศ.ดร.ประภาศิริ พงษ์ประยูร
5) หน่วยวิจัยเฉพาะทางโปรตีนชีวสารสนเทศและวิศวกรรมโปรตีนเพื่อการเกษตร โดย รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล
6) หน่วยวิจัยเฉพาะทางพันธุศาสตร์สัตว์เขตร้อนชื้น โดย รศ.ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ
7) หน่วยวิจัยเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์น้ำ โดย รศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐ์พงษ์
8)หน่วยวิจัยเฉพาะทางวัสดุขั้นสูง เพื่อนวัตกรรมพลังงาน โดย รศ.ดร.พงศ์เทพ ประจงทัศน์
9) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวล เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดย ผศ.ดร.กษิดิศ พนมสุวรรณ
10) หน่วยวิจัยเฉพาะทางวัสดุนาโนขั้นสูง เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน โดย รศ.ดร.ธงไทย วิฑูรย์
11) หน่วยวิจัยเฉพาะทางขั้นสูงด้านการแปรรูปของเสียและชีวมวล โดย รศ.ดร.ชินธันย์ อารีประเสริฐ
12) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ฟังก์ชันขั้นสูง เพื่อเกษตรและอาหาร โดย รศ.ดร.ณัฐดนัย หาญการสุจริต
13) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เพื่อความปลอดภัยอาหาร โดย รศ.ดร.จิตศิริ ราชตนะพันธุ์
14) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีการบรรจุอัจฉริยะ เพื่ออาหาร โดย ศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล
15) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตและการนำส่งสารชีวโมเลกุลเชิงหน้าที่ โดย รศ.ดร.อุทัย กลิ่นเกษร
16) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเทคโนโลยีนวัตกรรมของโปรไบโอติกและสารสกัดจากพืช เพื่ออาหารเชิงหน้าที่ โดย รศ.ดร.ภคมน จิตประเสริฐ
17) โครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเฉพาะทางการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ด้านเกษตรและอาหาร โดย ผศ.ดร.พาพิศ วงศ์ชัยสุวัฒน์
18) หน่วยวิจัยเฉพาะทางเครื่องจักรกลการเกษตร โดย รศ.ดร.ประเทือง อุษาบริสุทธิ์

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล เจริญสิทธิ์ อาจารย์ประจำภา...
13/12/2022

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล เจริญสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🏆🏆🏆

>>>ที่ได้รับรางวัล 2022 Flinders University Alumni Awards ศิษย์เก่าผู้มีความโดดเด่นในสาขา Marine Bioproducts for Human Health and Nutrition โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2565 ประเทศออสเตรเลีย
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77544

✳️✳️✳️สวพ.มก. ขอเชิญเข้าร่วม การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยวิทยากร...
13/12/2022

✳️✳️✳️สวพ.มก. ขอเชิญเข้าร่วม การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยวิทยากร Dr. Andrew John Warner ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2565 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมไพลิน ชั้น 3 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=77240

🍂 : Postnatal and postweaning endocrine setting in dairy calves through hair cortisol, dehydroepiandrosterone and dehydr...
09/12/2022

🍂 : Postnatal and postweaning endocrine setting in dairy calves through hair cortisol, dehydroepiandrosterone and dehydroepiandrosterone sulphate
✏️ : Tanja Peric, Antonella Comin, Marta Montillo, Chiara Spigarelli, Mirco Corazzin, Alessio Cotticelli, Alberto Prandi
💡 of the work: The care of calves on dairy farms between birth and weaning can improve their long-term development and growth. In fact, a poor newborn health status and a high allostatic load may adversely affect development in dairy cows. To determine cortisol, dehydroepiandrosterone (DHEA) and dehydroepiandrosterone sulphate (DHEA-S) individually is useful for an understanding of the individual state, being biomarkers of hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis activity.
📍 : As a preliminary study, to investigate the hair concentrations of cortisol, DHEA, DHEA-S and their ratios in dairy calves in two key periods of their growth characterized by considerable environmental changes.
Ⓜ️ & Methods: Hair sampling was conducted on clinically healthy dairy calves during the postnatal period at age 64.8±0.65 d (POP; mean±standard error; n = 73) and during the postweaning period at age 155.3±0.85 d (PWP, n = 62). The hair hormone concentrations were measured using a radioimmunoassay.
💯 : Hair cortisol concentrations were higher in the POP than in the PWP. Furthermore, the cortisol:DHEA and cortisol:DHEA-S ratios were higher in the first period of evaluation, showing a higher animal allostatic load at birth.
🔎 finding: Identification was achieved non-invasively of calves with a high allostatic load through biomarkers of HPA axis activity. The evaluation of this activity is very important given its influence on many biological processes, such as energy balance, development of the reproductive system and immune response.

✅ Cite this paper > > Peric, T., Comin, A., Montillo, M., Spigarelli, C., Corazzin, M., Cotticelli, A., Prandi, A. 2022. Postnatal and postweaning endocrine setting in dairy calves through hair cortisol, dehydroepiandrosterone and dehydroepiandrosterone sulphate. Agr. Nat. Resour. 56: 867-876. doi.org/10.34044/j.anres.2022.56.5.01AGRICULTURE
📥 Download at 👇👇👇👇
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/256567

ที่อยู่

50 Ngam Wong Wan Road, Ladyaow Chatuchak
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

025611986

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหา:

วิดีโอทั้งหมด

Our Story

วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักที่สร้างความเข้มแข็งด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับภูมิภาค ------------------------------------------------------------------------------- สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่ง มก. เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารและประสานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การให้บริการงานวิจัย การให้บริการวิชาการ จึงได้กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ดังนี้ ด้านการประสานและบริหารงานวิจัย -------------------------------------- สวพ.มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีฝ่ายวิจัยและประเมินผล รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งทุนอุดหนุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน (ทุนอุดหนุนวิจัย มก.) และแหล่งทุนต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางการวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย ตลอดจนการเสริมสร้างงานวิจัย และพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการบริการงานวิจัย และบริการวิชาการ ---------------------------------------------- สวพ.มก. มีหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัยและวิชาการ ได้แก่ ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน และศูนย์นาโนเทคโนโลยี ซึ่งสามารถให้บริการงานวิจัยและวิชาการแก่ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การบริการเครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ การบริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ การผลิตต้นพืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการบริการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การให้คำปรึกษาและแนะนำ เป็นต้น นอกจากนั้น หน่วยงานในสังกัดยังสามารถให้บริการวิชาการ อาทิ การบริการงานเรียนงานสอน การบรรยายพิเศษ การฝึกงานนิสิต การฝึกอบรมทางวิชาการ การบริการเยี่ยมชมดูงาน ด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย -------------------------------------------------------------- สวพ.มก. มีฝ่ายประยุกต์และถ่ายทอดงานวิจัย รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย โดยประสาน บริการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ออกสู่สังคมและนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยสื่อรูปแบบต่างๆ ดังนี้ - การเผยแพร่โดยสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วารสารข่าว สวพ.มก. การคัดเลือกและสรุปผลงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารเคหเกษตร - การเผยแพร่โดยสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ สื่อวิทยุกระจายเสียง ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” การเผยแพร่และถ่ายทอดทางสื่อโทรทัศน์ โดยผลิตรายการ “เกษตรศาสตร์นำไทย” - การจัดนิทรรศการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ด้านการพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่องานวิจัย ------------------------------------------------------------------- สวพ. มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการวิจัย มีฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย รับผิดชอบในการประสานและจัดการสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ/แลกเปลี่ยน/เชื่อมโยง ข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภายในสถาบันฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้านการวิจัยเฉพาะทาง และวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ -------------------------------------------------------------------------- สวพ.มก. มีหน่วยงานระดับฝ่าย/ศูนย์/สถานีดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ด้านปฏิบัติงานวิจัยเฉพาะทาง ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมีความหลากหลายสาขาตามความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริการวิชาการ และบริการงานวิจัย

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

#กาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์คาร์ติมอร์
🌳 เหมาะสมกับการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง
🍃 ลักษณะต้นเตี้ย เก็บง่าย
🪵 ให้ผลผลิตสูง
🐾 ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรู
☕️ ให้รสชาติหอมกรุ่นของกาแฟ . . นายวีระยุทธ แสนยากุล สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ แปลงภูทับเบิก Phetchabun Research Station คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
📣 อีกหนึ่งนวัตกรรม ผลงานวิจัย เรื่อง "นวัตกรรมการผลิตเปปไทด์ฟื้นฟูผิวคุณภาพสูงจากรังนกแอ่น KU"
🧐🧐👨🏼‍🔬
ได้รับสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ส่วนกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>> บริหารงานวิจัยโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันอังคารที่ 10 พฤษภาคมนี้ ทางปางช้างแม่แตงจะจัดงานแถลงข่าวและจัดกิจกรรมพิเศษ Art for elephant โดยมีศิลปินระดับชาติมากมายหลายท่าน นำโดย อาจารย์พรชัย ใจมา ศิลปินรางวัลศิลปาธร แห่งหอศิลป์ChinagMai Art Museum อ.แม่ออน มาร่วมวาดภาพกับช้างน้อยศิลปินแห่งปางช้างแม่แตง เพื่อนำไปร่วมนิทรรศการศิลปะเพื่อช้าง ที่จะจัดขึ้น ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. ในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ เพื่อนำรายได้สนับสนุนและช่วยเหลือช้าง 🐘 🐘🐘🐘

โดยในงานจะมีการแถลงข่าวเวลาประมาณ 12.00 น.จากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ตัวแทนศิลปินเพื่อช้าง สมาคมสหพันธ์ช้างไทย ปางช้างแม่แตง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ และในช่วงบ่ายจะมีการวาดภาพร่วมกันระหว่างช้างน้อยศิลปินและศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติตลอดไปเรื่อยๆ จนถึงตอนเย็น

ติดต่อประสานงาน
ดวง ธนภูมิ อโศกตระกูล
061-9278951
🎯🎯สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมเรื่อง “การบริหารจัดการงานวิจัย และเครื่องมือบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่และชุมชน”
✳️✳️ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=72872
🔔🔔 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1/2565
✳️✳️ รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=72752
❇️ ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST)
ขอเชิญผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

⭐️ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรื่อง Branding and Packaging for The [email protected]

⏰ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เวลา 08.45-16.30 น.
แบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meeting

📝 ลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่ https://forms.gle/kNuKdmE3VTWv9xw38
ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นี้

☎️ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
คุณปรียชาติ จันทโชติ
ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์: 094-705-8054
E-mail: [email protected]

https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=72873
📣 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ อ.ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มก. และ รศ.ดร.จินตนา อันอาตม์งาม หัวหน้าภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มก. 🎉🎉🎉

ได้รับรางวัล “GOLD WIIPA SPECIAL AWARD”🏅🏅🏅 KPS: SELECTIVE BIO-HERBICIDE TO CONTROL WATER HYACINTH IN THAILAND ในงาน The 2022 Shanghai International Invention and Innovation Exhibition (Online) ระหว่างวันที่ 14-16 เมษายน 2565 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน 🇨🇳
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีแก่ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🌱🌿🪴🌱🌿🪴
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 86 ปี ณ บริเวณหน้าตึกวนศาสตร์ 72 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=72653
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🎉🎉🎉🎉

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) พุทธศักราช 2564 จากกระทรวงวัฒนธรรม
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=72647
🔆 ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
ภายใต้สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

📝 ขอเชิญเข้าฟังการสัมมนา
ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในรอบระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564)

⏰ วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565
เวลา 13.30 – 16.30 น.

🖥 โดยใช้โปรแกรม Cisco Webex Meeting
ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=mcb72794a6d300565a945d994a8889fc1
Meeting number: 2521 716 4267
Password: mAaVAtps375
📣 คำว่า "วิจัย" คือการไม่หยุดนิ่ง สานต่อและต่อยอดจากผลผลิตที่ได้จากธรรมชาติสิ่งมีชีวิต..สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเชิงการค้า..ด้วยนวัตกรรมงานวิจัยชั้นยอด...

การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานวิจัยของกลุ่มนักวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยชั้นเยี่ยม เป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อยอด.."นวัตกรรมการผลิตเปปไทด์ฟื้นฟูผิวคุณภาพสูงจากรังนกแอ่นเคยู" สู่ผลิตภัณฑ์ "KAPIOKU birth of beauty set"

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเป็นตัวแทนในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณทีมคณะนักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำโดย ดร. พิลาณี ไวถนอมสัตย์และคณะนักวิจัย ที่ผลิตผลงานวิจัยดีๆออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง มา ณ โอกาสนี้

และที่ขาดไม่ได้เลยต้องขอขอบพระคุณท่านรองอธิการบดี ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลทุกท่านที่ให้ความกรุณาส่งเสริม/ชี้แนะ/แนะนำเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนางานวิจัยที่ดียิ่งขึ้นมา ณ โอกาสนี้

และที่ขาดไม่ได้เป็นอย่างยิ่งคือขอขอบพระคุณท่านคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ท่านอธิการบดี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานในครั้งนี้และหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนต่อยอดในปีที่ 2 เพื่อต่อยอดงานวิจัยให้ดียิ่งๆขึ้นไป🙏🙏🙏😄😄👍👍👍👍

ผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อผ่านทางสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือติดต่อโดยตรงกับทีมงานวิจัยได้เลย
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรัง กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้ Smart Somsanook ประชาสัมพันธ์ ทม.ควนลัง เทศบาลตำบลจะนะ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย ราชาแห่งเอนามุล สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นคร ศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืชป่า จ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังห สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเร การประปาส่วนภูมิภาคสาขากำแ ปลวกแดง 21140 RTP Cyber Village สภ.อากาศอำนวย