สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิสัยทัศน์ : เป็นเลิศด้านบริหารจัดการงานวิจัย นวัตกรรม และสารสนเทศงานวิจัย
-------------------------------------------------------------------------------
สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่ง มก. เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารและประสานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การให้บริการงานวิจัย การให้บริการวิชาการ จึงได้กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒน

าแห่ง มก. ดังนี้

ด้านการประสานและบริหารงานวิจัย
--------------------------------------
สวพ.มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีฝ่ายวิจัยและประเมินผล รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งทุนอุดหนุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน (ทุนอุดหนุนวิจัย มก.) และแหล่งทุนต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางการวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย ตลอดจนการเสริมสร้างงานวิจัย และพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ

ด้านการบริการงานวิจัย และบริการวิชาการ
----------------------------------------------
สวพ.มก. มีหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัยและวิชาการ ได้แก่ ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน และศูนย์นาโนเทคโนโลยี ซึ่งสามารถให้บริการงานวิจัยและวิชาการแก่ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การบริการเครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ การบริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ การผลิตต้นพืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการบริการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การให้คำปรึกษาและแนะนำ เป็นต้น นอกจากนั้น หน่วยงานในสังกัดยังสามารถให้บริการวิชาการ อาทิ การบริการงานเรียนงานสอน การบรรยายพิเศษ การฝึกงานนิสิต การฝึกอบรมทางวิชาการ การบริการเยี่ยมชมดูงาน

ด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย
--------------------------------------------------------------
สวพ.มก. มีฝ่ายประยุกต์และถ่ายทอดงานวิจัย รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย โดยประสาน บริการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ออกสู่สังคมและนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยสื่อรูปแบบต่างๆ ดังนี้
- การเผยแพร่โดยสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วารสารข่าว สวพ.มก. การคัดเลือกและสรุปผลงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารเคหเกษตร
- การเผยแพร่โดยสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ สื่อวิทยุกระจายเสียง ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” การเผยแพร่และถ่ายทอดทางสื่อโทรทัศน์ โดยผลิตรายการ “เกษตรศาสตร์นำไทย”
- การจัดนิทรรศการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ด้านการพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่องานวิจัย
-------------------------------------------------------------------
สวพ. มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการวิจัย มีฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย รับผิดชอบในการประสานและจัดการสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ/แลกเปลี่ยน/เชื่อมโยง ข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภายในสถาบันฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้านการวิจัยเฉพาะทาง และวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ
--------------------------------------------------------------------------
สวพ.มก. มีหน่วยงานระดับฝ่าย/ศูนย์/สถานีดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ด้านปฏิบัติงานวิจัยเฉพาะทาง ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมีความหลากหลายสาขาตามความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริการวิชาการ และบริการงานวิจัย

🎉 🎉🎉 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัย มก. ได้รับรางวัล “นักวิจัยด้านการเกษ...
25/11/2023

🎉 🎉🎉 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัย มก. ได้รับรางวัล “นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น” ในงานประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” AgriTech and Innovation (Moving Forward : From Local to Global) โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

⭐️ รศ. ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รางวัล นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ลำดับที่ 2

⭐️ รศ. ดร.ศิวเรศ อารีกิจ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รางวัล นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ลำดับที่ 3

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลโครง...
25/11/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลโครงการวิจัยด้านการเกษตร "ดีเด่น" ในงานประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” AgriTech and Innovation (Moving Forward : From Local to Global) โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

⭐️ รศ. ดร.อำพร เสน่ห์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>> โครงการวิจัยด้านการเกษตร "ดีเด่น" ลำดับที่ 2 โครงการ: การพัฒนาแนวทางการประเมินความปลอดภัยและประเมินวิธีตรวจวัสดุสัมผัสอาหาร
⭐️ ผศ.ดร.พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>> โครงการวิจัยด้านการเกษตร "ดีเด่น" ลำดับที่ 2 โครงการ: การประเมินปริมาณน้ำฝนเชิงพื้นที่ความละเอียดสูงด้วยเรดาร์สำหรับการจำลองปริมาณน้ำท่วมแบบฉับพลัน
⭐️ รศ. ดร.ชูศักดิ์ จอมพุก คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>> โครงการวิจัยด้านการเกษตร "ดีเด่น" ลำดับที่ 2 โครงการ: การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดไร่เป็นพืชหมุนเวียนในนาข้าวในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่ 3)
⭐️ รศ. ดร.ศิวเรศ อารีกิจ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>> โครงการวิจัยด้านการเกษตร "ดีเด่น" ลำดับที่ 3 โครงการ: การพัฒนาพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม-เนื้อกะทิ แบบก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีดีเอ็นเอ

 #กาวแท่งจากหนังปลา (KU-Fish glue stick)ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของโลก ซึ่งร...
24/11/2023

#กาวแท่งจากหนังปลา (KU-Fish glue stick)
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของโลก ซึ่งระหว่างการผลิตจะมี #เศษเหลือ จากกระบวนการแปรรูปโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เล็งถึงการนำเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูป เพื่อ #เพิ่มมูลค่า จึงได้นำ #หนังปลา มาประดิษฐ์เป็นกาวแท่ง เพื่อทดแทนการสร้างกาวจากการใช้ #สารเคมี และ #ช่วยลดภาวะมลพิษ ที่เกิดจากการสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมเคมี ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สอบถามข้อมูลได้ที่ รศ.ดร.กังสดาลย์ บุญปราบ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-9891-5267 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
********************************
KU-Fish
Thailand is one of the world's leading exporters of industry. During production, there will be a lot of waste from industrial processing process. Kasetsart University aimed to increase of this by using to make glue stick as another alternative to the use of . This KU-Fish glue stick is an friendly product as it helps reduce pollution caused by chemical industry waste which affects the environment. For further information, please contact Associate Professor Dr. Kangsadan Boonprab, Department of Fishery Products, Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Bangkhen Campus, Tel. 08-9891-5267.

🌟ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่..
Fanpage : https://www.facebook.com/kasetnumthaiTV
Youtube : https://www.youtube.com/user/KasetsartNamThai
tiktok : https://www.tiktok.com/
🌟แนะนำ/ติชม เกษตรศาสตร์นำไทยได้ที่..
https://forms.gle/pwCefd4uJcsvbqcZ9
https://youtu.be/fSeJgH3dLlg

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของโลก ซึ่งระหว่างการผลิตจะมีเศษ.....

The Key Points from Development to Commercially available Product 📌Free⏱️ 13.00-15.00 Hrs.🗓️ December 14, 2023
24/11/2023

The Key Points from Development to Commercially available Product 📌Free

⏱️ 13.00-15.00 Hrs.
🗓️ December 14, 2023

📣 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนโรงเรือนปลูกพืชเพื่อทำการวิจัย 📌(ไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดื...
24/11/2023

📣 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนโรงเรือนปลูกพืชเพื่อทำการวิจัย
📌(ไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน*)

คุณสมบัติของผู้รับการสนับสนุน
1. เป็นผู้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและนวัตกรรมตามกรอบการสนับสนุนทุนวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. เป็นผู้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทโครงการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

☎️ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
จันทร์วิภา รัตนอานันต์ 093-9714467 หรือ [email protected] ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สวพ.มก.

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านสัตวแพทย์ >>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย...
23/11/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านสัตวแพทย์

>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัยด้านสัตว์ ตามกรอบการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมทับทิม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

>>> โดยมีผลงานวิจัยร่วมนำเสนอดังนี้
1. การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ทางสัตวแพทย์ นำเสนอโดย ศ. ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. นวัตกรรมระบบฟาร์มเลี้ยงและพัฒนาอาหารจากจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคต นำเสนอโดย ผศ. ดร.ชามา อินซอน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาสลิดอย่างยั่งยืน นำเสนอโดย ผศ. ดร.สาทิต ฉัตรชัยพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางพันธุกรรมและประสิทธิภาพการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ นำเสนอโดย รศ. ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. การค้นหาทดสอบชีววิธีและพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเห็บโคที่เกิดการดื้อยาในประเทศไทย นำเสนอโดย ศ. ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=84140

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ร่วมกับ สำนักหอสมุด มก. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูล SciVal" เพื่อข...
22/11/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ร่วมกับ สำนักหอสมุด มก. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูล SciVal" เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารสำนักงานบริการคอมพิวเตอร์
📚📖📒📕📙
>>> หัวข้อการอบรมฯ คือ การขับเคลื่อนงานวิจัยและสร้างผลงานตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล Big data วิทยากรโดย รศ. ดร. ชัชวาล วงศ์ชูสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

และการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล SciVal เชิงลึกเพื่อการขับเคลื่อนงานวิจัยสำหรับหน่วยงาน วิทยากรโดย รศ. ดร.อัญชสา ประมวลเจริญกิจ ฝ่ายวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

>>> จากนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติ
การอบรมภาคปฏิบัติ
- การสร้างกลุ่มและติดตั้ง My SciVal เพื่อการวิเคราะห์นักวิจัยในหน่วยงานเทียบกับคู่เทียบ
- การนำข้อมูลจากฐานข้อมูล SciVal ไปใช้ประโยชน์สำหรับหน่วยงาน โดย ดร.ฐิติมา ดีบุญมี ณ ชุมแพ ผู้จัดการงานบริการและจัดการความรู้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ขอเรียนเชิญ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการทดสอบทางประสาทส...
21/11/2023

ขอเรียนเชิญ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการทดสอบทางประสาทสัมผัส Tetrad Test : Thurstonian concept, data collection and analysis and applications และนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรยายโดยวิทยากรศิษย์เก่าภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ (PD) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

โครงการสัมมนาเสริมความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เรื่อง The Ultimate PD Alumni Knowledge Sharing Forum

จัดโดย ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ (PD) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่าน QR code หรือ https://forms.gle/PZHRre6cD5ejPLKr9 และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกัญรินทร์ หรือ คุณสุพิชญา 02-562-5004

***รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบกองทุน รศ.ดร. วิชัย หฤทัยธนาสันติ์ ในมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์****

ขอเรียนเชิญ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการทดสอบทางประสาทสัมผัส Tetrad Test : Thurstonian concept, data collection and analysis and applications และนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรยายโดยวิทยากรศิษย์เก่าภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ (PD) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

โครงการสัมมนาเสริมความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เรื่อง The Ultimate PD Alumni Knowledge Sharing Forum

จัดโดย ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ (PD) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่าน QR code หรือ https://forms.gle/PZHRre6cD5ejPLKr9 และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกัญรินทร์ หรือ คุณสุพิชญา 02-562-5004

***รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบกองทุน รศ. ดร.วิชัย หฤทัยธนาสันติ์ ในมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์****

📣📣📣การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ ครั้งที่ 62 The 62nd Kasetsart University Annual Conference วันที่ 5-7 มีนาค...
17/11/2023

📣📣📣การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ ครั้งที่ 62 The 62nd Kasetsart University Annual Conference วันที่ 5-7 มีนาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ บางเขน

>>> "ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเป็นกลางทางคาร์บอน (Knowledge of the Land for SDGs and Carbon Neutrality)"

ลงทะเบียน
https://annualconference.ku.ac.th/62/

🗓️ วันที่ 5 – 7 มีนาคม 2567
📍 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🚨🚨🚨 Deadline submission: 17 ธันวาคม 2566
=========================
สาขาการนำเสนอผลงาน:
1. สาขาพืช 🌾🍎🌷
2. สาขาสัตว์ 🐮🐷🐔
3. สาขาสัตวแพทย์ศาสตร์🐱👩🏻‍⚕️🐶
4. สาขาประมง🦐🐟🐙
5. สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์🧑‍🌾🌱🧑‍🍳
6. สาขาวิทยาศาสตร์🧑🏽‍🔬🧬🧪
7. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์🧑‍🔧👷🏘️
8. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร🏭🥫🍱
9. สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌍🌳🌱
10. สาขาศึกษาศาสตร์👨🏽‍🏫🏫👨🏽‍🎓
11. สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ📈🏦💵
12. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์👳👲🧑‍⚖️
=========================
🌐 ติดต่อสอบถาม:
🏫 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
☎️ หมายเลขโทรศัพท์: 02-579-5548
📧 E-mail: [email protected]

"งานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 26" 1-11 ธันวาคม 2566💚
14/11/2023

"งานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 26" 1-11 ธันวาคม 2566💚

ต้องใส่ไข่กี่ฟอง 🥚🍳
ถึงจะมองว่าพิเศษ​ 😎😉📣
อยากชวนเราไปเดท...DM มาน๊าาาาาา!!

พาเค้าไปเที่ยวโหน่ย.....😘
"งานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 26"
1-11 ธันวาคม 2566
🫰😄🫰
พลาดไม่ได้กับกิจกรรมต่างๆมากมาย
ชมนิทรรศการด้านพืช🌱 สัตว์ 🐮
เครื่องจักรกลการเกษตร🚜 เทคโนโลยีและนวัตกรรม 🕹
ร่วมฝึกอบรมวิชาชีพ
รับชมมหกรรมกีฬา⚽️ และศิลปวัฒนธรรมบันเทิง
พร้อมเลือกซื้อสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน
---------------------------
ส่งท้ายปีนี้จัดเต็มความสุขยาวกันไปเลย 11 วัน
1-11 ธันวาคม 2566
ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
😀😀😀😀😀
ติดตามรายละเอียดได้ที่
https://kps.ku.ac.th/kasetfair/
TikTok
https://www.tiktok.com/.kps
#งานเกษตรกำแพงแสน2566
#มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน


เปิดวาร์ป >>>
น้องอีน-ปาณิศา สุทธิสว่าง KU79 คณะอุตสาหกรรมบริการ
IG : Helloeinnn
FB : https://www.facebook.com/aeensainap
TikTok : https://www.tiktok.com/

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลั...
13/11/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัยด้านอาหาร ตามกรอบการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมทับทิม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โดยมีผลงานวิจัยร่วมนำเสนอดังนี้
1. การวิจัยขั้นแนวหน้าด้านอาหารในอนาคต นำเสนอโดย รศ. ดร.อนุวัตร แจ้งชัด คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. การกระตุ้นกลิ่นรสและรสชาติอาหารสำหรับผู้สูงอายุ นำเสนอโดย รศ. ดร.นันทวัน เทอดไทย คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. แนวทางใหม่ในการลดความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสสารไนไทรต์และสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปของคนไทย นำเสนอโดย ผศ. ดร.กนิฐพร วังใน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. การพัฒนาพรีไบโอติกจากสาหร่ายทะเลเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชั่น นำเสนอโดย ผศ. ดร.จันทนา ไพรบูรณ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. การใช้ประโยชน์จากสารสกัดพฤกษเคมีในสาหร่ายเศรษฐกิจ Caulerpa เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง นำเสนอโดย ผศ. ดร.บงกช วิชาชูเชิด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
6. การปรับเปลี่ยนสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้และความสัมพันธ์กับโรคอ้วนโดยพรีโอติกและโพรไบโอติกส์ นำเสนอโดย รศ. ดร.มัสลิน นาคไพจิตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83862

รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมบุคลากร ร่วมแสดงความยินดี งานวันคล้ายวัน...
12/11/2023

รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. พร้อมบุคลากร ร่วมแสดงความยินดี งานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 44 ปี และงานแถลงข่าว "งานเกษตรกำแพงแสนประจำปี 2566" 💚💚💚

>>> ซึ่งภายในงานฯ จัดแสดงนิทรรศการ ผลงานวิจัยของอาจารย์/นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มากมาย และพิธีมอบรางวัลแก่บุคลากรดีเด่น นิสิตดีเด่น วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องคอนเวนชั่น ศูนย์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตกำแพงแสน

12/11/2023

วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 44 ปี
และงานแถลงข่าว การจัดงานเกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2566
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566

KUTAC หนึ่งในโครงการ Deep Dci and Tech Acceleration ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบพข. ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้มีการเร่งผลงานวิจัยแ...
10/11/2023

KUTAC หนึ่งในโครงการ Deep Dci and Tech Acceleration ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบพข. ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้มีการเร่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงลึกขับเคลื่อนไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้มีโอกาสนำเสนอท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ 💚 เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้มีโอกาสทำงานเรื่องนี้ร่วมกับพันธมิตรมหาวิทยาลัยอื่น

📌📌สวพ.มก. เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ศูนย์...
09/11/2023

📌📌สวพ.มก. เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ศูนย์วิจัยและสถานีวิจัย ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รุ่นที่ 2)
✳️✳️รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83801

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี รศ. ดร.เอกไท วิโรจน์สกุลชัย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สวพ.ม...
08/11/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี รศ. ดร.เอกไท วิโรจน์สกุลชัย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สวพ.มก. และคณะทำงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🎉🎉🎉

>>> ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทบุคลากรซีเนียร์ อายุ 45 ปีขึ้นไป ในการประกวดนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2566 จากผลงาน “เครื่องดูดละอองฝอยกำลังสูงทางทันตกรรม” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83815

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลั...
07/11/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย กลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมไพลิน สวพ.มก.

>>> โดยมีผลงานวิจัยนำเสนอ 5 เรื่องด้วยกัน คือ
1. การพัฒนา Lactobacillus reuteri KUB-AC5 สายพันธุํใหม่ด้วยแนวทางชีววิทยาสังเคราะห์สำหรับการหมักเซลล์ความหนาแน่นสูงของการผลิตโปรไบโอติก นำเสนอโดย ผศ. ดร.กิติพงษ์ รัตนาภรณ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารสำคัญและสารปนเปื้อนในสมุนไพรสำคัญของไทย เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในการแพทย์และอุตสาหกรรมเกษตร นำเสนอโดย ดร.กฤตยา เพชรผึ้ง ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สวพ.มก.
3. การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนและการวิเคราะห์หาเครื่องหมายโมเลกุลในเลือดลิงที่ติดเชื้อมาลาเรีย เพื่อการพัฒนาชุดตรวจโรคมาลาเรีย นำเสนอโดย สพ.ญ.ดร.ภวิกา ลิ้มอุดมพร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.นวัตกรรมการใช้ประโยชน์แหนเป็ดและจุลินทรีย์ร่วมอาศัย เพื่อบำบัดน้ำเสียและพัฒนาเป็นพลาสติกชีวภาพ นำเสนอโดย ศ. ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. การออกแบบและพัฒนาสารซึ่งมีศักยภาพเป็นยารักษาโรคสำหรับผู้สูงอายุ นำเสนอโดย รศ. ดร.วันชัย ปลื้มภาณุภัทร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83740

 #การใช้ชีววิธีในการควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda J.E. S...
07/11/2023

#การใช้ชีววิธีในการควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda J.E. Smith) เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพดที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน หรือข้าวโพดฝักสด เนื่องจากทำให้ฝักข้าวโพดมีตำหนิ ไม่สามารถต้มขายเป็นฝักได้ ในระยะต้นอ่อนทำให้ข้าวโพดตาย ส่วนในระยะแก่พืชจะไม่เจริญเติบโต ฝักลีบเล็กไม่สมบูรณ์ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหาย 50-73% ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาเชื้อรา Metarhizium rileyi ซึ่งพบอยู่บนซากของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยเมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการเข้าทำลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด พบว่าเชื้อราชนิดนี้สามารถทำลายหนอนได้ดี ทำให้หนอนตายได้ 100% ซึ่งหนอนจะเริ่มเคลื่อนที่ช้าลง และหยุดกัดกินใบข้าวโพดหลังได้รับเชื้อรา สามารถลดการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ได้ไม่แตกต่างจากแปลงที่ใช้สารเคมี สอบถามได้ที่ ดร.วราภรณ์ บุญเกิด และรัตนาวดี อ่อนวงษ์ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 09-4261-4599
*********************************************
Using of Fall
Fall armyworm are corn’s major enemies which cause huge damage to farmers farming sweet corns or specialty corns since the corns get defective and can’t be cooked for sale. If the corns get defective during the seedling stage, they will die. Meanwhile, if the corns are in the mature stage, they won’t grow and their ears are withered, flawed, and small. If the fall armyworm severely spread out, the production yields will get damaged by 50-73%. The National Corn and Sorghum Research Center, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkhen Campus, has studied Metarhizium Rileyi Fungus found on the remains of fall armyworms. After we tested its effectiveness in killing the fall armyworms, we got the result that this type of fungus can effectively and completely kill the fall armyworms 100%. After the armyworms get defected by this fungus, they will start moving slowly and stop eating corn leaf blades. This can help reduce the damage caused by the fall armyworms similar to using pesticides on fields. For further inquiries or additional information, please contact Dr. Warapon Bunkoed and Ms. Rattanawadee Onwong, The National Corn and Sorghum Research Center, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkhen Campus. Tel: 09-4261-4599.
🌟ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่..
Fanpage : https://www.facebook.com/kasetnumthaiTV
Youtube : https://www.youtube.com/user/KasetsartNamThai
tiktok : https://www.tiktok.com/
🌟แนะนำ/ติชม เกษตรศาสตร์นำไทยได้ที่..
https://forms.gle/pwCefd4uJcsvbqcZ9
https://youtu.be/fSeJgH3dLlg

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda J.E. Smith) เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพดที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้.....

🌳 AGRICULTURE AND NATURAL RESOURCES 🌳Invitation your manuscript submission to  .  is online open-access journal indexed ...
07/11/2023

🌳 AGRICULTURE AND NATURAL RESOURCES 🌳
Invitation your manuscript submission to .
is online open-access journal indexed in . 📥
Page charge: 5,000 Baht for Thais and USD 200 for oversea authors. 💸
✅ : THE PAGE CHARGE IS ‼️
FROM July 1st, 2023 to December 31st, 2024.💚

🌳 AGRICULTURE AND NATURAL RESOURCES 🌳
Invitation for your manuscript submission to .
is online open-access journal indexed in . 📥
Page charge: 5,000 Baht for Thais and USD 200 for oversea authors. 💸
✅ : THE PAGE CHARGE IS ‼️
FROM July 1st, 2023 to December 31st, 2024.💚

Analytical workshop for forest biology at  ร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์การไปเยือนประเทศ  #ปานามารศ. ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร์ ...
06/11/2023

Analytical workshop for forest biology at
ร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์การไปเยือนประเทศ #ปานามา
รศ. ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร์ Bier Ekaphan Kraichak
#ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 12.30-13.15น.

🔔ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก ขอเชิญอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการวิจัย เข้าร่ว...
06/11/2023

🔔ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ สวพ.มก ขอเชิญอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการวิจัย เข้าร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ครั้งที่ 1/2567 (On-Site) (ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน) (พร้อมรับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ PDF File)

🎉🕐ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 08:00 – 16:30 น.

🏠ณ ห้องประชุมวัฒนา สวรรยาธิปัติ ชั้น 4 ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

💻สมัครออนไลน์โดยใช้บัญชีอีเมลของท่านในการ Log-in จากนั้นคลิกสมัครได้ที่ https://kasets.art/hc1mzZ (รับจำนวนจำกัด 150 คน) (หมดเขต 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)

🟡ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์อบรม และรายละเอียดเพิ่มเติม https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83616

🟡ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Labsafety-มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติงานวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ศึกษารายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=51996

สำหรับท่านที่สนใจ โอกาสดีๆ มาอีกแล้วค่ะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มก. วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับ...
05/11/2023

สำหรับท่านที่สนใจ โอกาสดีๆ มาอีกแล้วค่ะ
คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มก. วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับศุนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยง BSF #จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ( #ฟรี) ใน #งานเกษตรแฟร์ นนทรีอีสานครั้งที่ 17 ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องพรรณานิคม อาคาร 7 และศูนย์เรียนรู้ BSF รับจำนวนจำกัดเพียง 30 คนเท่านั้น สมัครได้ที่
QR Code หรือ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSczCF5q7cgp7JTO_TkQklcpeoBswtMdNuLk_t_Cy871Q6SmQw/viewform

📢 ขอเชิญบุคลากรและผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานทางการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์...
03/11/2023

📢 ขอเชิญบุคลากรและผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานทางการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์”
📍 รุ่นที่ 1 ในวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30-17.00 น
📍 รุ่นที่ 2 วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30-17.00 น.
ณ ห้องประชุมเชียงใหม่ แกรนด์วิว 1 โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว (Chiangmai Grandview Hotel)
• วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้และความเข้าใจ ของบุคลากร นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานทางด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
✏️ ผู้ที่ผ่านการประเมินหลังการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
✏️ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/MN8j7RB1pExwQpuj6
• ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้แผนงานการพัฒนาบุคลากรด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
โทรศัพท์ 09-2974-3886 อีเมล [email protected]

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวัสดุ 💚💚💚>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเ...
02/11/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านวัสดุ 💚💚💚

>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย กลุ่มงานวิจัยด้านวัสดุ ตามกรอบการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมไพลิน สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โดยมีผลงานวิจัยนำเสนอ 2 เรื่องด้วยกัน คือ
⭐️ ผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาวัสดุฐานพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร นำเสนอโดย รศ. ดร.รังรอง ยกส้าน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

⭐️ ผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการหมักเพื่อผลิตอาหารแบบเรียลไทม์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอินฟราเรดใกล้ นำเสนอโดย ดร.ศุมาพร เกษมสำราญ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83667

💚KURDI💚 ขอแสดงความยินดี 🩺“วันคล้ายวันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 1 ปี" 🩺>>> รองศาสตราจารย์ ดร.วราภ...
01/11/2023

💚KURDI💚 ขอแสดงความยินดี 🩺“วันคล้ายวันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 1 ปี" 🩺
>>> รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมผู้บริหารและบุคลากร สวพ.มก. ขอแสดงความยินดีแด่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องในงาน “วันคล้ายวันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 1 ปี" วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

30/10/2023
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับส่วนงานที่ได้รับรางวัลส่วนงานที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพ...
27/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับส่วนงานที่ได้รับรางวัลส่วนงานที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติสูงสุด 3 อันดับแรก
อันดับที่ 1 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อันดับที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อันดับที่ 3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์ผู้สร้างสร...
27/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติสูงสุด
⭐️ KU Research Star ⭐️
⭐️ ผศ.ดร.ถิรวัฒน์ รายรัตน์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
⭐️ ผศ.ดร.ปัญญาวุธ จิรดิลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
⭐️ ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ เลาศรีรัตนชัย คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยผู้มีค่า h-index สู...
27/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยผู้มีค่า h-index สูงสุด

>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

27/10/2023

รางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติสูงสุด
⭐️ KU Research Star ⭐️
⭐️ ผศ.ดร.ถิรวัฒน์ รายรัตน์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
⭐️ ผศ.ดร.ปัญญาวุธ จิรดิลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
⭐️ ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ เลาศรีรัตนชัย คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ ม...
27/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2566 💚💚💚
⭐️ ระดับ PLATINUM ผลงานวิจัยที่ทรงคุณค่าสร้างผลกระทบระดับสูงสุด รศ. ดร.อำพร เสน่ห์ และคณะวิจัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์พลาสติกรีไซเคิลชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลท (rPET) สำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร
⭐️ ระดับ gold รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูงมาก ศ. ดร.คณพล จุฑามณี และคณะวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: สารปรับปรุงดิน: การสร้างมูลค่าเพิ่มของลีโอนาร์ไดต์จากกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า
⭐️ ระดับ silver รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูง รศ. ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ และคณะวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: สูตรน้ำยางเพื่อใช้ผลิตเป็นหมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
⭐️ ระดับ silver รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูง อาจารย์กิติพงศ์ ตั้งกิจ และคณะวิจัย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: ผลกระทบเกี่ยวกับการส่งออกไม้สักสวนป่าและไม้พะยูง

>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🏆🏆สวพ.มก. ขอเรียนเชิญเป็นเกียรติร่วมในงานมอบรางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ปี 2564 และรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกร...
26/10/2023

🏆🏆สวพ.มก. ขอเรียนเชิญเป็นเกียรติร่วมในงานมอบรางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ปี 2564 และรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ในวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:30-13:30 น. ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
❇️❇️ ตรวจสอบรายละเอียดบทความที่ได้รับและไม่ได้รับรางวัล และรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่ : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83222

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านพืช>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศา...
25/10/2023

KURDI ติดตามและประเมินผลฯ กลุ่มงานวิจัยด้านพืช

>>> คณะกรรมการติดตามและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย กลุ่มงานวิจัยด้านพืช ตามกรอบงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมไพลิน สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โดยมีผลงานวิจัยนำเสนอ 4 เรื่องด้วยกัน คือ
1) ผลงานเรื่อง การใช้เทคโนโลยีมัลติโอมิกส์สำหรับวิจัยความต้านทานต่อเชื้อไวรัสใบด่างในมันสำปะหลัง นำเสนอโดย ผศ. ดร.วันวิสา ศิริวรรณ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2) ผลงานเรื่อง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์กัญชงเพื่อสุขภาพและพัฒนาคุณภาพเส้นใยและสารสำคัญ นำเสนอโดย ผศ. ดร.ธนพล ไชยแสน ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3) ผลงานเรื่อง แพลตฟอร์มสำหรับบริการ orthomosaic และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับเกษตรแปลงใหญ่จากภาพถ่ายอากาศและข้อมูลเซนเซอร์สำหรับประเทศ นำเสนอโดย ศ. ดร.จันทนา จันทราพรชัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) ผลงานเรื่อง การขยายเขตรากพืชในดินดอนเนื้อหยาบเสื่อมโทรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านการไถกลบลึกวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน นำเสนอโดย รศ. ดร.สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83547

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี แด่อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระท...
25/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดี แด่อาจารย์/นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2566 💚💚💚
>>> ในงานมอบรางวัลผลงานวิจัย ปี 2564 และรางวัลผลงานที่สร้างผลกระทบ ปี 2566 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 8.30-13.30 น. ณ ห้องรวงข้าว ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

⭐️ ระดับ PLATINUM ผลงานวิจัยที่ทรงคุณค่าสร้างผลกระทบระดับสูงสุด รศ. ดร.อำพร เสน่ห์ และคณะวิจัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์พลาสติกรีไซเคิลชนิด
พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลท (rPET) สำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร
⭐️ ระดับ gold รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูงมาก ศ. ดร.คณพล จุฑามณี และคณะวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: สารปรับปรุงดิน: การสร้างมูลค่าเพิ่มของลีโอนาร์ไดต์จากกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า
⭐️ ระดับ silver รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูง รศ. ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ และคณะวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: สูตรน้ำยางเพื่อใช้ผลิตเป็นหมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
⭐️ ระดับ silver รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูง อาจารย์กิติพงศ์ ตั้งกิจ และคณะวิจัย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัย: ผลกระทบเกี่ยวกับการส่งออกไม้สักสวนป่าและไม้พะยูง
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83565

📣📣 ขอเชิญบุคลากรและผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานทางการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร...
20/10/2023

📣📣 ขอเชิญบุคลากรและผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานทางการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์”
🔷 ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
🔷 ณ อาคารโรงเรียนสัตวแพทย์กรมปศุสัตว์อนุสรณ์ ห้อง 2-104 ชั้น 1 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)

🟡 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้และความเข้าใจ ของนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานทางด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน
✏️ผู้ที่ผ่านการประเมินหลังการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
✏️ลงทะเบียน https://forms.gle/FUe6ZAMTVQKSNEAe7 ภายในวันที่ 27 ต.ค. 2566 (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน)

🔹ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้แผนงานการพัฒนาบุคลากรด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
โทรศัพท์ 0621815463 อีเมล [email protected]

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ รศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงศ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลั...
19/10/2023

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแก่ รศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงศ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปีงบประมาณ 2567 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=83527

ที่อยู่

50 Ngam Wong Wan Road, Ladyaow Chatuchak
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

025611986

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

Our Story

วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักที่สร้างความเข้มแข็งด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับภูมิภาค ------------------------------------------------------------------------------- สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่ง มก. เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารและประสานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การให้บริการงานวิจัย การให้บริการวิชาการ จึงได้กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ดังนี้ ด้านการประสานและบริหารงานวิจัย -------------------------------------- สวพ.มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีฝ่ายวิจัยและประเมินผล รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งทุนอุดหนุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน (ทุนอุดหนุนวิจัย มก.) และแหล่งทุนต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางการวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย ตลอดจนการเสริมสร้างงานวิจัย และพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการบริการงานวิจัย และบริการวิชาการ ---------------------------------------------- สวพ.มก. มีหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัยและวิชาการ ได้แก่ ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน และศูนย์นาโนเทคโนโลยี ซึ่งสามารถให้บริการงานวิจัยและวิชาการแก่ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การบริการเครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ การบริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ การผลิตต้นพืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการบริการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การให้คำปรึกษาและแนะนำ เป็นต้น นอกจากนั้น หน่วยงานในสังกัดยังสามารถให้บริการวิชาการ อาทิ การบริการงานเรียนงานสอน การบรรยายพิเศษ การฝึกงานนิสิต การฝึกอบรมทางวิชาการ การบริการเยี่ยมชมดูงาน ด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย -------------------------------------------------------------- สวพ.มก. มีฝ่ายประยุกต์และถ่ายทอดงานวิจัย รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัย โดยประสาน บริการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ออกสู่สังคมและนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยสื่อรูปแบบต่างๆ ดังนี้ - การเผยแพร่โดยสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วารสารข่าว สวพ.มก. การคัดเลือกและสรุปผลงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารเคหเกษตร - การเผยแพร่โดยสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ สื่อวิทยุกระจายเสียง ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” การเผยแพร่และถ่ายทอดทางสื่อโทรทัศน์ โดยผลิตรายการ “เกษตรศาสตร์นำไทย” - การจัดนิทรรศการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ด้านการพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่องานวิจัย ------------------------------------------------------------------- สวพ. มก. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานพัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการวิจัย มีฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย รับผิดชอบในการประสานและจัดการสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ/แลกเปลี่ยน/เชื่อมโยง ข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภายในสถาบันฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้านการวิจัยเฉพาะทาง และวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ -------------------------------------------------------------------------- สวพ.มก. มีหน่วยงานระดับฝ่าย/ศูนย์/สถานีดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ด้านปฏิบัติงานวิจัยเฉพาะทาง ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมีความหลากหลายสาขาตามความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริการวิชาการ และบริการงานวิจัย

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด
#}