
13/08/2021
แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เปิดให้บริการตรวจรักษา (โอพีดีรังสีรักษา) และฉายรังสีรักษาผู้ป่วย ในและนอกเวลาราชการตามปกติ
หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ 02-5347435 ในเวลาราชการ
เพจของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอ?
(6)
แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เปิดให้บริการตรวจรักษา (โอพีดีรังสีรักษา) และฉายรังสีรักษาผู้ป่วย ในและนอกเวลาราชการตามปกติ
หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ 02-5347435 ในเวลาราชการ
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสี ฉีดวัคซีนโควิดได้ทุกชนิดทุกยี่ห้อ ลองดูคำแนะนำอื่นๆที่เกี่ยวข้องจาก สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย
“วัคซีนโควิด ฉีดทันทีเมื่อมีโอกาส”
ผู้ป่วยโรคมะเร็งกับวัคซีนโควิด สาระดีๆจากศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
หากจำอะไรไม่ได้ “ฉีดทันทีเมื่อมีโอกาส” หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ของท่านอีกครั้ง
ที่มาข้อมูล: มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย
แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ขอแจ้งงดบริการตรวจรักษา (โอพีดีรังสีรักษา) และฉายรังสีผู้ป่วย ในและนอกเวลาราชการ ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. 2564 - 14 พ.ค. 2564
หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ 02-5347816 ในเวลาราชการ
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ แจ้งงดรับผู้ป่วยใหม่และลดการตรวจที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกท่าน
1 กรณีกำลังรักษาตัวประจำด้วยเคมีบำบัด / ฉายแสง กรุณาติดตามข่าวสารอละประกาศจากทางโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด เรายังให้บริการตามปกตินะครับ (24/3/63) แนะนำให้อัพเดทเบอร์ติดต่อไว้ให้เป็นปัจจุบันที่สุดเผื่อการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลง
2 กรณีติดตามการรักษาโดยไม่มียาใดๆ แนะนำให้เลื่อนออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นครับ
3 กรณีติดตามการรักษา/รับการรักษาด้วยยากิน ไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ท่านสามารถขอรับยาเดิมได้ตามประกาศในรูปครับ
สี่โรงเรียนแพทย์ร่วมมือสร้างแนวทางรักษาโรคมะเร็ง คลิปวีดีโอนี้เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานในปัจจุบันครับ
https://youtu.be/pC03ouNtNKs
ระมัดระวังการแชร์ข่าวปลอมที่น่าจะเข้าใจกันผิดนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=HhrWKPKyzM8&t=5s
หน่วยเคมีบำบัด ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะรีบแจ้งให้ทราบครับ
กรมบัญชีกลางออกหนังสือ 2 ฉบับ ปรับเบิกจ่ายตรงยามะเร็งกำหนดให้ยาที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบ OCPA หรือระบบลงทะเบี.....
อย่าให้โรคมะเร็ง มาหยุดยั้งความสวย
ขอเชิญชวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษากับ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมโครงการ " อยู่อย่างไรให้ใจเป็นสุข" นำทีมโดย
" พ่อมดแห่งความงาม" คุณ ป้อม วินิจ Makeup artist ชื่อดัง
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 -12.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารคุ้มเกศ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษากับ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช เท่านั้น
เข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
รับจำนวนจำกัด
ติดต่อสอบถามและลงทะเบียนได้ที่ 02-5347825
รักษามะเร็งด้วยทางเลือกมีโอกาสรอดชีวิตต่ำกว่าการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน...
ผลวิจัยพบผู้รักษามะเร็งด้วยวิธีทางเลือก มีโอกาสเสียชีวิตภายใน 5 ปี มากกว่าคนไข้ที่รักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันหลายเท่า
ทุกพลังแห่งการต่อสู้ สักวันเราจะพบกับชัยชนะ #ชีวิตก็เช่นกัน
#ทุกความพ่ายแพ้มีคุณค่าเสมอ
บนเส้นทางของผู้ชนะ ไม่เคยมีใครไม่เคยพ่ายแพ้ เป็นสัจธรรมของความเป็นจริงของโลกใบนี้
แม้แต่ นักกีฬาว่ายน้ำชาวอเมริกันผู้คว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ อย่าง ไมเคิล เฟล์ปส
เมื่อเช้านี้ ไมเคิลลงแข่งรอบชิงชนะเลิศในรายการว่ายผีเสื้อ 100 เมตร เขาเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 2 ตามหลัง โจเซฟ สกูลลิง นักกีฬาว่ายน้ำชาวสิงคโปร์
โจเซฟ หรือ โจ เด็กหนุ่มชาวสิงคโปร์อายุ 21 ปี นอกจากการเอาชนะไมเคิลได้ในวันนี้ เหรียญทองนี้ ก็ถือเป็นเหรียญทองแรกในโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ของประเทศสิงคโปร์และเป็นเหรียญทองแรกในโอลิมปิกของโจ
"ผมผิดหวังอยู่นะ ใครล่ะที่อยากจะแพ้"
ไมเคิลให้สัมภาษณ์หลังเกม ต่อคำถามถึงความรู้สึกที่มีกับผลการแข่งขัน แม้จะบอกแบบนั้น แต่เขาหัวเราะ มีรอยยิ้มกว้าง สวนทางกับสิ่งที่พูด
"แต่รู้มั้ย ผมรู้สึกภูมิใจในตัวโจ ชัยชนะของเขามันยอดเยี่ยม"
"ผมหวังว่าชัยชนะในครั้งนี้ของโจ จะทำให้เด็กๆเรียนรู้ได้ว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ ถ้ากล้าที่จะฝัน อย่ากลัว และจงมีความเชื่อ"
"มองไปในท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ มันไม่มีขีดจำกัด ก็เหมือนความฝันของคนเรา"
ความแตกต่างอาจจะอยู่ที่ คนๆนั้น กล้าที่จะทำตามความฝันของตัวเองหรือไม่
ย้อนหลังไปเมื่อราวแปดปีก่อน เด็กชายโจ อายุเพียง 13 ปี ตอนนั้นโจเป็นแค่นักว่ายน้ำฝึกหัด โจได้พบกับไมเคิลโดยบังเอิญที่คลับแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ซึ่งไมเคิลมาเก็บตัวเพื่อเตรียมไปแข่งโอลิมปิคที่ปักกิ่ง
เหมือนทุกคนที่ชอบว่ายน้ำ โจมีไมเคิลเป็นไอดอลในใจเสมอมา โจได้ขอไมเคิลถ่ายรูป เป็นที่ระลึก ตอนนั้นโจไม่เคยคิดฝันว่าในวันหนึ่ง พวกเขาจะได้มาแข่งขันในสระว่ายน้ำเดียวกัน
ลึกๆในใจ โจมีความฝันที่จะทำได้อย่างไมเคิล เขาฝันจะได้เหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิก
แต่ตอนนั้นความเป็นจริง กับความฝันมันช่างห่างไกลกันเหลือเกิน
แต่ใครจะรู้อนาคต อีกสี่ปีต่อมา โจเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอนในปี 2012
ท่าผีเสื้อ เป็นท่าที่โจมีความถนัดที่สุด แต่ตอนนั้นด้วยความผิดพลาดหลายๆอย่าง โจทำเวลาได้ไม่ดีเลยในการแข่งขัน ไม่ผ่านรอบคัดเลือกด้วยซ้ำ
เขารู้สึกผิดหวังมาก และเสียกำลังใจ
ในเส้นทางที่เดินไปสู่ความฝัน อาจมีหลายครั้งที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้กำลังใจของคนเราหล่นหายไป สิ่งที่เลือกทำ ก็คือ การสร้างกำลังใจให้ตัวเอง แล้วเดินตามความฝันนั้นต่อไป หรือเลือกที่จะเก็บความฝันนั้นในก้นบึ้งของจิตใจ เลิกล้มทุกอย่าง
แต่เพราะอะไร โจจึงเลือกที่จะเดินหน้าคว้าฝันต่อไป
โจเล่าความทรงจำในครั้งนั้น หลังจากความพ่ายแพ้หมดรูป ในโอลิมปิกครั้งแรกว่า
"หลังแข่ง ตอนนั้นผมเดินตามหลังไมเคิล พอเขาหันมาเห็นหน้าผมเข้า ไมเคิลก็ถามผมว่า 'เกิดอะไรขึ้น' ผมเลยเล่าให้เขาฟังว่า เกิดอะไรแย่ๆอะไรกับผมบ้าง เขากอดผม แล้วพูดว่า 'นายยังเด็กนัก ยังมีทางให้นายเดินอีกไกล เรื่องครั้งนี้จะเป็นประสบการณ์ ที่ทำให้นายได้เรียนรู้ ดังนั้น จงเงยหน้าขึ้นและก้าวเดินต่อไป' ผมจำที่เขาพูดกับผมได้ทุกประโยค"
จนมาถึงวันนี้ วันที่โจคว้าเหรียญทองได้จากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่สองในชีวิตของเขา
ที่สำคัญเขาเอาชนะไมเคิล ไอดอลในดวงใจได้
ไม่ว่าจะเป็นความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ของไมเคิล หรือความพ่ายแพ้ในครั้งนั้นของโจ มันก็เป็นความพ่ายแพ้ที่ไม่สูญเปล่า
เช่นเดียวกันกับทุกความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น บนเส้นทางไปสู่ความฝันของเราแต่ละคน ถึงจะทำให้เสียน้ำตา แต่เชื่อว่า ก็จะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับเราแต่ละคนที่ได้เรียนรู้
มีคำกล่าวที่ว่า "ฝันไหนๆ ก็ตาม ไม่มีทางเป็นความจริงได้ด้วยเวทย์มนต์ใดๆ แต่ต้องอาศัยความอดทน มุมานะ และความเพียรพยายาม"
เชื่อในความฝัน และกล้าที่จะทำให้มันเป็นความจริง
เครดิต: ข้อมูลเรื่องราวดีๆ นี้ จาก http://www.straitstimes.com/sport/olympics-nobody-is-happy-to-lose-but-im-proud-of-jo-phelps
https://www.theguardian.com/sport/2016/aug/13/michael-phelps-taught-a-lesson-for-once-by-singapores-joseph-schooling
#หมอมินบานเย็น
#มะเร็ง
#บนเส้นทางของการพ่ายแพ้
มะเร็ง คำ ๆ นี้
มาพร้อมกับความน่ากลัว
มาพร้อมกับความหดหู่ สิ้นหวัง
ไม่ใช่แค่กับ คนไข้ หรือ คนทั่วไปเท่านั้น
แม้แต่ผมเองที่เป็นหมอ
"ในอดีต" ผมก็เคยรู้สึกเช่นนั้น
วันใดที่คนไข้ของเรา ตรวจเจอว่า
เป็น มะเร็ง ราวกับว่า
วันนั้นคือวันแรกของการนับถอยหลัง
แต่ก่อนที่เราจะกลัว เจ้ามะเร็ง ไปมากกว่านี้
ขอบอกก่อนว่า ทุกวันนี้ ผม ในฐานะหมอ
คำว่า มะเร็ง ไม่ได้แปลว่าหมดทางต่อไปอีกแล้ว
ปัจจุบัน วิทยาการ เรื่องการรักษามะเร็ง
พัฒนาไปมาก และใช้คำว่าก้าวกระโดดก็พอได้
สำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้น
เราสามารถ ตรวจเจอได้เร็วขึ้น
รักษาได้ดีขึ้น และหายกันเป็นเรื่องปกติ
ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
มะเร็งรังไข่, มะเร็งต่อมลูกหมาก
หรือ แม้กระทั่ง มะเร็งตับที่เราเคยกลัว ๆ กัน
เดี๋ยวนี้ตรวจเจอได้เร็ว รักษาเร็ว หายได้สบาย ๆ
สำหรับมะเร็งที่อยู่ในระยะที่รักษาไม่หายขาด
ยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็พัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ
เทคนิคการรักษาใหม่ ๆ
การฉายแสง
การใช้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ทำให้ คนไข้มีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น
มะเร็งปอดระยะที่สาม ที่สี่
ที่เมื่อก่อน เจอแล้วต้องส่ายหัว
ไม่ทันสามเดือนก็หมดเวลา
เดี๋ยวนี้ ในรายที่ตอบสนองต่อยาได้ดี
ยืดอายุได้เป็นปีก็เคยเห็นมาแล้ว
มะเร็งลำไส้ แม้ในระยะแพร่กระจาย
การให้ยา การผ่าตัด การฉายแสง
ช่วยประคับประคองให้คนไข้
จากที่อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
เดี๋ยวอยู่กันได้ปี สองปี ก็เห็นอยู่บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น สำหรับผมแล้ว
เมื่อไหร่ เจอ เจ้ามะเร็ง
ไม่ได้แปลว่า จบกัน อีกต่อไป
ยังมีทางไป มีทางสู้อยู่เสมอ
สำหรับคนทั่วไป ก็เช่นกัน
เมื่อเจอคำ ๆ นี้ อย่าได้หยุดอยู่แค่นั้น
หากจำอะไรไม่ได้จากการอ่านโพสต์นี้
ขอให้จำไว้คำเดียวก็คือ
"อย่าเพิ่งหันหลังให้หมอ"
ปรึกษาหมอเสมอ, หมอเฉพาะทางเสมอ
หมอ ทั่วไปก็เช่นกัน ส่งคนไข้ไปพบ
หมอเฉพาะทางด้านนี้เสมอ
ไม่ว่าเราจะเรียนจบมากี่ปีก็ตาม
หากเคยคิดว่า มะเร็งคือปลายทาง
ต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่
วิทยาการใหม่ ๆ ยาใหม่ ๆ เทคนิคใหม่ ๆ
เราตามกันเองไม่ทัน
ต้องพึ่งพา หมอมะเร็งเท่านั้น
=============================
ถึงยังไง
ผมก็ไม่เคยคิดจะเป็นหมอรักษามะเร็ง
ด้วยเหตุผลเดียวก็คือ
ไม่อยากอยู่บนสนามรบที่มีแต่ความพ่ายแพ้
สนามรบ คำ ๆ นี้ไม่ได้โอเว่อร์แต่อย่างใด
มันคือความรู้สึก ที่เกิดขึ้นจริง ๆ
ผมเข้าไปตรวจคนไข้ที่รับเข้ามารักษาตัว
ในคืนที่ผ่านมา เวลาที่เจอคนไข้อาการหนัก ๆ
ช็อก ใส่ท่อช่วยหายใจ มียา มีน้ำเกลือ
มีสายระโยงระยางเต็มไปหมด
ในเวลานั้น หมอก็เหมือนทหาร
เข้ามารบกับโรคต่าง ๆ ภาวะต่าง ๆ
ที่กำลังจะแย่งชีวิตของคนไข้ไป
หมอก็ขนอาวุธเท่าที่มีมาใช้
ระดมสติปัญญาทุกอย่างที่อาจารย์เคยให้มา
ออกมาใช้จนหมด เพื่อสู้ เพื่อเอาชนะ
บางครั้งแพ้ บางครั้งชนะ
แต่ไม่ว่ายังไง ๆ ทุก ๆ ครั้ง
ผม ก็มีสิทธิหวังชัยชนะเสมอ
แต่กับโรคมะเร็ง มันเป็นอีกแบบ
เมื่อใด ที่เราวินิจฉัยว่า
คนไข้เป็นมะเร็งระยะที่รักษาไม่หายขาดแล้ว
ก็เหมือน เรารู้แล้วว่า สู้อย่างไร ยังไงก็แพ้
นักรบ ที่เข้าสู่สนามรบ
ที่รู้ผลลัพธ์ปลายทางว่า ยังไงก็แพ้..
แค่คิด ใจผมก็เหี่ยวแห้งแล้ว
แต่ หมอที่เรียนมาด้านนี้
พวกเขามีหัวใจแบบไหน ?
ผมไม่เคยรู้ชัด ๆ หรอกครับ
รู้เพียงแต่ว่า
มันต้องแกร่งกว่าหัวใจของผมแน่ ๆ
ทุกครั้งที่เจอหรือนึกถึง
หมอมะเร็งที่รักษาคนไข้ระยะสุดท้าย
ผมได้แต่ชื่นชม และ นับถืออยู่ในใจเสมอ
จนไม่กี่วันนี้ น้องคนนึงได้เขียนสเตตัสเอาไว้
ได้สอนให้ผมรู้ว่า บนเส้นทางนี้
มีอะไรที่มากกว่านั้น
น้องทำให้ผมนึกถึงประโยคจากหนังสือ
ที่เคยอ่านเมื่อนานมาแล้วว่า
"บนเส้นทางที่นำไปสู่การพ่ายแพ้
ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เราต้องเอาชนะ"
(เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
ขอเอามาฝากให้อ่านกันครับ
=============================
By Archara Supavavej
มีหลายคนถามว่าทำไมถึงเลือกเรียน
สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
เหตุผลนึงคือการที่เราได้เห็นคนไข้
ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย รักษาให้เค้าอยู่ได้นานที่สุด
ที่เค้าจะอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ได้กลับไปทำอะไรที่อยากทำ
และเตรียมตัวที่จะจากไปอย่างสงบ
วันนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ได้เห็น
คนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายที่รักษากันมา 4 ปีกว่า
จากไปอย่างสงบ
ทั้งที่เค้าแย่มาตั้งแต่เมื่อคืน
แต่เค้าไม่ยอมหลับตา รอจนเรามาราวน์เช้า
จับมือกัน คุยกัน คนไข้จึงยอมหลับตา
เมื่อเราเดินออกจากห้องคนไข้ไม่ถึงครึ่งชม.
พยาบาลโทรบอกว่าคนไข้เสียชีวิตแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะที่ให้หมอได้มีโอกาส
ดูแลและส่งคุณจนถึงนาทีสุดท้าย
การเป็นหมอมะเร็งนี่ทำให้เรา
ได้สัมผัสถึงคุณค่าของคำว่า
"การรอใครคนนึงจนนาทีสุดท้ายของชีวิต"
----------------------------------------------------
Photo Credit : www.jacquelinedujour.com
-----------------------------------------------------
กำลังใจจากผู้ป่วยตัวจริง สู้ๆนะคะคนไข้ทุกท่าน ทีมแพทย์และพยาบาลดูแลทุกท่านอย่างเต็มที่
นอกจากไข่แล้ว เนื้อสัตว์ก็เป็นแหล่งบูทโปรตีนชั้นดี เรียกพลังเม็ดเลือดขาวได้ ทานวนๆไปค่ะ
หลายครั้งที่มนุษย์คีโมไปเจาะเลือดที่ รพ.
แล้วเม็ดเลือดขาวต่ำเตี้ยเรี่ยดิน
ลองปรับเวลานอนให้เยอะๆ อย่าเครียด
และกินโปรตีนทุกสิ่ง เพื่อบูทอัพพลังเม็ดเลือดขาวกันนะ
กินไข่วนไปค่าาา #เสียงสูง
หลายๆท่านอาจจะเคยได้รับแชร์เรื่อง เครื่องมือชื่อ HIFU ในการรักษามะเร็ง จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ ลองติดตามข้อมูลดีๆจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทยนะคะ
กรุงเทพฯ 24 ก.ค. – มีการแชร์บนโลกโซเชียลถึงเครื่องมือในการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่ได้ผล เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์. -สำนักข่าวไทย
รีรัน ข้อมูลเรื่องการดื่มนมกับโรคมะเร็ง
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์ค่ะ หนึ่งน้ำใจ ให้โอกาส ได้บุญด้วยค่า
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราเข้ามาสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
"วาระสุดท้ายของชีวิต หมายความว่า ภาวะอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรค ที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ และ จากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทั่วไปในทางวิชาชีพ เห็นว่า ภาวะนั้นจะนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน และให้รวมถึงภาวะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาพผักถาวรด้วย"
สัจจะธรรมของชีวิตคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราหลีกหนีไม่พ้น ดังนั้นความตายอาจไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะกลัวหรือกังวล แต่ หมอเชื่อเหลือเกินว่าส่วนใหญ่จะกลัวว่าจะตายอย่างทุกข์ทรมาน คนไข้โรคมะเร็งมักมีความกังวลตรงนี้อย่างมาก โรคมะเร็งไม่ได้น่ากลัวแต่ความทุกข์ทรมานของโรคมะเร็งต่างหากที่น่ากลัว แม้ว่าการรักษาในปัจจุบันจะก้าวหน้าขึ้นไปมาก แต่ ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะด้วยโรคมะเร็งหรือโรคอื่นใดเราทุกคนก็อาจเข้ามาสู่ วาระสุดท้ายของชีวิต คำถามคือจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาระสุดท้ายนั้นมาถึง และเราจะมีแนวทางการรับมืออย่างไรบ้างคือวัตถุประสงค์หลักของบทความนี้
เมื่อวาระสุดท้ายมาถึงคนไข้จำนวนมากจะสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ หรือหมดสติไม่รู้ตัว เมื่อปรากฏต่อหน้าแพทย์ แพทย์มีหน้าที่ให้การรักษาทันทีโดยไม่ต้องรอการร้องขอ นั่นหมายถึงกระบวนการทุกอย่างทางการแพทย์เพื่อยื้อชีวิตจะโหมกระหน่ำเข้ามา เช่น การเจาะเลือด การใส่สายสวนต่างๆ การใส่ท่อช่วยหาย การปั๊มหัวใจช่วยชีวิต การกระตุกไฟฟ้าหัวใจ แต่ในคนไข้มะเร็งที่อยู่ในวาระสุดท้ายแล้วนั้น กระบวนการเหล่านี้เป็นเพียงกระบวนการยื้อชีวิตในความหมายว่าร่างกายเท่านั้น ผลมักพบว่าคนไข้เสียชีวิตอยู่ดี ทั้งจากการช่วยไม่สำเร็จ หรือช่วยสำเร็จแต่สภาพคนไข้มาสู่จุดวิกฤติซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกินจะช่วยไหว แต่สิ่งที่ทรมานที่สุดคือการช่วยสำเร็จแต่คนไข้ต้องมีลมหายใจต่อไปในสภาพที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อยู่ได้ด้วยเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ
แม้ว่าคนไข้เกือบทั้งหมดไม่ปรารถนาเหตุการณ์เช่นนี้ แต่เหตุการณ์เช่นนี้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่สม่ำเสมอ เพราะ เรามักไม่ได้มีการพูดคุยหรือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่า ควรทำอย่างไร เมื่อเหตุการณ์มาถึง คนที่ต้องตัดสินใจคือญาติซึ่งบ่อยครั้งก็จะไม่กล้าตัดสินใจเพราะจะรู้สึกเหมือนว่าเราไม่ได้ช่วยเขา จนทำให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ก่อนจะไปสู่ทางออก เรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต เรามาดูกันก่อนว่าหากเราไม่ต้องการการรักษาเหล่านั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ในกรณีที่ผู้ป่วยแสดงความประสงค์ไม่รับการรักษาพยาบาลที่เป็นไปเพียงเพื่อการยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายนั้น ผู้ป่วยก็จะยังได้รับการรักษาต่อไป โดยเปลี่ยนแปลงเพียงเป้าหมายของการรักษาจากการยื้อชีวิต(แม้ว่าจะต้องทรมานแค่ไหนก็ตาม) ไปสู่การรักษาประคับประคองเพื่อคุณภาพชีวิต(แม้ว่าจะไม่ได้ยืดเวลามีชีวิตออกไปก็ตาม) การรักษาเหล่านี้เป็นการดูแลให้กระบวนการที่นำไปสู่การเสียชีวิตเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยแพทย์ไม่ได้มีส่วนเร่งให้การเสียชีวิตเกิดเร็วกว่าที่ธรรมชาติควรจะเป็น ดังนั้นไม่ใช่ การุณยฆาต ในขณะที่คนไข้ก็ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะของตัวโรคและการจากรักษาที่เปล่าประโยชน์
ในปัจจุบันกฏหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแล้ว โดยมีใจความสำคัญคือ เมื่อผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะพอเพียง สามารถระบุประเภทของการรักษาต่างๆที่ไม่ต้องการจะได้รับ หากได้รับอยู่สามารถยกเลิกหรือระงับบริการเหล่านั้นได้ ดังนั้นปัญหาสำคัญจึงตกอยู่ที่ผู้ป่วยต้องมีสติสัมปชัญญะพอเพียง จึงควรทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเอาไว้ ก่อนที่วาระสุดท้ายจะมาถึง เพื่อให้แพทย์ให้การดูแลรักษาตรงตามความต้องการ
สำหรับคนไข้โรคมะเร็ง ใครบ้างที่ควรทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้า ผมแนะนำว่าควรทำทุกคนครับ ไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดก็ได้ เพราะเราไม่มีวันรู้อนาคต เราไม่มีวันรู้ว่าเราจะได้มีสติเมื่อตอนวาระสุดท้ายเข้ามาแบบไม่ตั้งตัวหรือเปล่า
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ หากยังไม่ถึงวาระสุดท้ายแพทย์จะใช้เป็นเหตุผลในการปฏิเสธการรักษาหรือไม่ คำตอบคือไม่แพทยจะทำการดูแลต่อไปตามปกติครับ เฉพาะเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายเท่านั้น และนอกจากนี้แม้จะมีหนังสือแสดงเจนตาล่วงหน้าแพทย์ก็จะต้องถามยืนยันจากผู้ป่วยซ้ำอีกครั้งเมื่อวาระสุดท้ายมาถึงหากผู้ป่วยยังมีสติรู้ตัวอยู่ ดังนั้นแม้จะมีหนังสือหากวาระสุดท้ายมาถึงแล้วก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าจะยุติการรักษาตามความต้องการทันทีเสมอไปหากยังรู้ตัวเราก็มีโอกาสเปลี่ยนใจได้เช่นกัน
ดังนั้นเราอาจเลือกไม่ได้ว่าจะตายเมื่อใด แต่เรามีสิทธิเลือกได้ว่าจะตายดีหรือจะตายอย่างไร ขอให้ใช้สิทธิเสียตั้งแต่ตอนที่ยังมีสติรู้ตัวครับ
คำถามหนึ่งที่เจอบ่อยเมื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งมาเจอผมคือ ทำไมนะ ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่พอมาเป็นมะเร็งก็เจอในระยะสุดท้ายเลย คำถามนี้สะท้อนปัญหาอะไรหลายๆอย่างได้เป็
[ Infographic ] มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รักษาได้
More: www.infographicmove.com
จากใจชาวศูนย์มะเร็ง ทุกคน
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไร กำลังใจและความเข้าใจจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ
"ผมอยู่นี่ครับ"
เมื่อคืนได้มีโอกาสอ่านเรียงความแผ่นหนึ่งของเด็กชั้น ป.4
ตัวอักษรที่ร่ายเรียงมีความยาวหลายบรรทัด
ผมเจอตัวอักษรยาวๆ ในภาษาญี่ปุ่นทีไร
มันลดสมาธิในการอ่านของผมไปพอสมควร
แต่เรียงความฉบับนี้ ชวนติดตามไปจนถึงบรรทัดสุดท้าย
เป็นรื่องราวความห่วงใยของลูกที่มีต่อคุณแม่
ค่อยๆ อ่านไปพร้อมๆ กันนะครับ
"ผมอยู่นี่ครับ"
โดย ด.ช. Morita นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมฟุตทซึ จังหวัดชิบะ
แม่กลับมาแล้ว !
แม่ของผมที่นอนโรงพยาบาลมาเกือบ 1 เดือนกลับมาที่บ้านแล้ว
วันที่แม่ออกจากโรงพยาบาล ผมไม่นัดเล่นกับเพื่อนคนไหน
และระหว่างทางกลับบ้านไม่แวะที่ใดๆ เพื่อที่จะได้กลับถึงบ้านให้เร็วที่สุด
อยากจะพูดคุยกับแม่ที่ไม่ได้เจอกันมานาน ให้มากที่สุด
มีเรื่องที่อยากคุยมากจริงๆ
เมื่อผมกลับไปถึงบ้าน ก็ได้กลิ่นหอมลอยมาจากในครัว
นี่เป็นกลิ่นของโปรดของผมนี่ Hotcake ราดน้ำผึ้ง
แม่ยืนอยู่ในครัว ดูผอมลงไปนิด
แต่เมื่อเห็นแม่ยังดูแข็งแรงดี ผมก็รู้สึกสบายใจขึ้นมา
"กลับมาแล้วหรือจ้ะ?"
วันนั้นผมได้ยินเสียงของแม่ชัดมากเป็นพิเศษ
และ Hotcake ที่ราดไปด้วยน้ำผึ้งก็อร่อยมากๆ
สภาพครอบครัวของผมกลับมาเป็นเหมือนแต่ก่อนแล้ว ก่อนที่แม่จะเข้าโรงพยาบาล
แต่ทว่า..หลังจากแม่กลับมาได้ระยะหนึ่ งผมพึ่งสังเกตเห็นว่าอาการของแม่แตกต่างไปจากเดิม
รสชาติของซุปมิโสะที่แม่ทำมีรสชาติข้นไป บางครั้งก็ไปในทางตรงกันข้าม
ผมจึงเผลอพูดออกไปว่า
"ช่วงนี้ รสชาติมิโสะแปลกไปเนอะ"
ทันใดนั้น สีหน้าแม่ก็เปลี่ยนไปเหมือนเจอปัญหาอะไรบางอย่าง
"จริงๆ แล้วนะลูก หลังจากแม่ผ่าตัดมา แม่ก็ไม่รู้รสชาติอาหาร และไม่รับรู้กลิ่นแล้ว
ดังนั้น แม่ไม่สามารถปรุงรสอาหารได้เหมือนเดิมอีกแล้ว"
แม่พูดประโยคนี้เสร็จก็ถอนหายใจ
พอได้ยินดังนั้นผมก็นึกได้ว่า ก็จริงนะ เพราะช่วงนี้แม่ไม่ค่อยทานข้าวเลย
แล้วกับข้าวที่ทำ ก็เป็นกับข้าวที่ไม่ต้องปรุงรสเป็นส่วนใหญ่
เวลาผ่านไป ภาพแม่ที่เคยเข้าครัวอยู่บ่อยๆ ก็เริ่มจางหายไป
กลายเป็นกับข้าวส่วนใหญ่มาจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ บ้าน
เมื่อเห็นสถานการณ์ดังนั้นผมก็มีความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่ง
ผมทำอาหารไม่เป็น แต่ผมจำรสชาติอาหารฝีมือแม่ได้ดี
ดังนั้น แม่ทำอาหาร ส่วนผมจะเป็นคนปรุงรสให้เอง
เราทำอาหารด้วยกันก็ได้
"เดี๋ยวผมเป็นคนปรุงรสให้เอง มาทำอาหารด้วยกันนะแม่"
แม่แปลกใจเล็กๆ สำหรับข้อเสนอของผม แต่ก็ตอบตกลงผมในทันที
"งั้นเรามาทำเมนูปลาบุริเทริยากิกันมั้ย?" แม่พูดอย่างนั้น
เมนูปลาบุรีเทริยากิเป็นเมนูโปรดของครอบครัวผม
ย่างปลาจนหนังกรอบ หลังจากนั้นก็ผสมน้ำราดปลาตามส่วนผสมที่กำหนดไว้
แม่จะทำอาหารจนถึงตรงนี้ หลังจากนั้นผมจะต้มปลาในน้ำราด
และปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่คนในครอบครัวชอบ
พอได้ชิมรสชาติน้ำราดอีกครั้ง "นี่แหละรสชาติประจำ"
หลังจากผมพูดประโยคนี้แม่ก็กลับมายิ้มได้อีกครั้ง
หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา แม่และผมก็ทำอาหารร่วมกันมาโดยตลอด
มีบางครั้งที่พ่อเข้ามาร่วมวงทำอาหารด้วย
ผมตื่นเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในทุกๆเช้า เพื่อมาทำอาหาร
แม่ของผมไม่อยากเป็นภาระของครอบครัว อะไรๆ ก็ทำด้วยตัวเอง
แต่แม่ครับ ผมอยู่ตรงนี้ครับ
ผมเข้มแข็งกว่าที่แม่คิดมาโดยตลอด
ดังนั้น แม่จะพึ่งผมมากกว่านี้ก็ได้นะครับ ผมจะอยู่ตรงนี้
ความคิดนี้วนเวียนอยู่ในใจผมตลอด
พร้อมไปกับคำขอพรเพื่อให้แม่หายป่วยจากโรคนี้ สักวันหนึ่ง
*********************************
น้องโมริตะครับ
พี่เชื่อว่า น้องจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอีกหลายครอบครัว
ไม่เฉพาะในประเทศน้อง
แต่คือแรงบันดาลใจสำหรับคนทั้งโลก
ขอให้แม่น้องหายไวๆ และน้องก็เป็นกำลังใจให้แม่ต่อไปนะ
Boom JapanSalaryman
* * * * * * * * * * * * * * * *
ผมมีอีกช่องทางการสื่อสารผ่าน instagram
นะครับ คลิกเพื่อติดตามได้ที่นี่
Instagram.com/japansalaryman
Credit รูปจาก http://musojuku.jp/bifu-blog/?p=58229
บทความนี้ดีมากๆ เข้าถึงจิตใจคนไข้ ประยุกต์ใช้ได้ทุกโรค #โรคมะเร็งก็เช่นเดียวกัน😄😄😄
ขอบคุณบทความดีๆจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยนะคะ
#เรื่องของการเยี่ยมไข้
จำนงศรี หาญเจนลักษณ์
(ตัดตอนจาก นิตยสาร THE WISDOM ฉบับเดือนเมษายน 2559)
-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:
คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยป่วยหนัก ไม่ว่าจะจากโรคร้ายแรง หรือการผ่าตัดใหญ่ หรือที่นอนรักษาตัวนานๆ ด้วยโรคที่ไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่น้อยคนที่จะไม่เคยไปเยี่ยม คนป่วยประเภทนี้ ไม่ว่าจะด้วยรัก ห่วงใย หรือด้วยมารยาท หน้าที่
แต่อยากรู้บ้างไหมคะ ว่าคนไข้ในสภาพนี้ จะชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรเมื่อคนมาเยี่ยม อะไรบ้างที่ทำให้รู้สึกดี อะไรที่ทำให้อึดอัด รำคาญ
เมื่อเร็วๆนี้ ก็มีหมอ พยาบาล คนป่วย ญาติคนป่วย พระสงฆ์ และคนที่สนใจประมาณ 30 คน ตั้งวงกันที่บ้านข้าพเจ้าเอง การปุจฉาวิสัชนากันในเรื่องนี้ ชัดเจนว่า สุขภาวะทางใจกับทางกายนั้น มีผลกระทบต่อกันอย่างมาก
ด้านกายนั้นแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบหลักไปแล้ว คนดูแลกับคนเยี่ยม คงปฏิเสธความรับผิดชอบด้านใจไม่ได้ ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจว่า ถึงแม้คนเราจะแตกต่างกัน ด้วยนิสัยใจคอ เพศ พื้นฐาน แต่ไม่มีใครอยากทุกข์ อยากเจ็บปวด หวาดกลัว กังวล หรืออยากเป็นภาระกับใคร
เรื่องนี้ได้มีการวิเคราะห์วิจัยกันมาพอสมควร ในแวดวงการดูแลผู้ป่วยแบบที่เรียกกันว่า palliative care คือ การดูแลผู้ป่วยอย่างประคับประคองให้สุขสบายที่สุดทั้งกายใจ เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายที่รักษาไม่หาย และผู้ป่วยระยะท้าย
คนเยี่ยมที่ดี คือคนที่พร้อมที่จะฟัง พร้อมที่จะรับรู้ อารมณ์ความรู้สึกของคนป่วย มากกว่าที่จะพูด อย่าพิรี้พิรัยซักไซ้เรื่องโรคของเขา เพราะใครมาใครก็ถาม คนไข้ส่วนใหญ่เอือมที่จะต้องเล่าแล้วเล่าอีก คนเยี่ยมเลี่ยงมาถามหมอ พยาบาลหรือญาติจะดีกว่า (ยกเว้น คนไข้ที่เหงา ไม่มีค่อยคนเยี่ยม อาจจะอบอุ่นที่มีคนถามอย่างต้องการรู้จริงๆ)
คำถามที่ดีที่สุดคือ “ตอนนี้รู้สึกยังไง” ด้วยใจที่เปิดพร้อมฟัง ประโยคนี้อบอุ่นและมีความหมายกว่า “เป็นไงบ้าง” ซึ่งทำให้คนฟังรู้สึกว่าถาม เพราะไม่รู้จะถามอะไร)
“ตอนนี้รู้สึกยังไง” ยังให้โอกาสที่เขาเลือกตอบสั้นๆก็ได้ หรือจะร่ายยาวก็ได้ เพราะบางคนก็ชอบเล่าเรื่องความเจ็บป่วยของตัวเอง ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างละเอียดละออ
แต่ถ้าเห็นว่าคนไข้เพลีย ไม่อยากคุย คนเยี่ยมก็นั่งเงียบๆสบายๆ เหมือนนั่งเป็นเพื่อน คนไข้อาจจะเป็นฝ่ายเริ่มพูดเอง หรือไม่ก็ได้ คนเยี่ยมก็ควรจะรู้จักดูจังหวะที่จะลา
อยากจะฝากเคล็ดลับการเยี่ยมที่ค่อนข้างดีไว้สักหน่อยนะคะ ก่อนที่จะเข้าประตู ลองหยุดสักนิด มองใจตัวเองว่ามีอารมณ์ค้างอะไรติดไหมอยู่ในขณะนั้น แล้วก็ปล่อยให้มันละลายหายไป ด้วยการตั้งสติ หายใจยาวๆละเอียดๆสักสองสามครั้ง
จิตแพทย์ท่านหนึ่งเล่าถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ด้าน neuroscience ที่พิสูจน์ว่า ผู้ป่วยสามารถรับผลความผ่อนคลายอันเป็นสุขภาวะได้ จากพลังเมตตาที่แผ่มาจากคนที่ทำสมาธิ ถึงแม้จะอยู่ในห้องถัดไป
ฉะนั้น แน่นอนว่าความเครียดของคนเยี่ยม เป็นพลังทางลบกับคนป่วย
วงปุจจฉาวิสัชนาวันนั้น ได้พบพฤติกรรมที่คนไข้ไม่ชอบในคนเยี่ยม และคนเฝ้าไข้ มาหลายหัวข้อดังนี้
- ไม่ชอบให้แนะนำโน่นนี่ด้วยท่าทีที่กดดัน(โดยไม่รู้ตัว) เช่น ควรใช้อาหารเสริมตัวนี้ ยาตัวนั้น สมุนไพรชนิดนี้ หมอทางเลือกคนนั้น ฯลฯ คนไข้มะเร็งบางคนบอกว่า ใครมาใครก็แนะนำ ยิ่งป่วยนานเข้าก็ยิ่งเยอะ จนเครียดไปหมด เกรงใจก็เกรงใจ สับสนก็สับสน ไม่รู้จะเชื่อใคร มิหนำซ้ำ ยังมีที่งอนหรือโกรธซะอีกว่า แนะนำแล้วไม่เชื่อไม่ทำตาม
- ไม่ชอบการถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เช่น ให้กิน ให้ดื่ม เมื่อไม่อยากกินหรือดื่ม ในกรณีนี้มักจะเป็นญาติสนิท หรือพ่อแม่ ลูกหลาน
- ไม่ชอบให้คนเยี่ยมถือวิสาสะ ชี้แนะ รุกล้ำความเป็นส่วนตัว เช่น (เรื่องจริงเมื่อเร็วๆนี้) แม่เพื่อนของเด็กที่เจ็บหนักจากอุบัติเหตุ มาเยี่ยม แล้วเจ้ากี้เจ้าการสั่งให้ย้ายทิศหัวเตียงที่หันไปทิศใต้ “เพราะมันเป็นทิศคนตาย”
- ไม่ชอบให้คนเยี่ยมเยี่ยมนานเกินไป พูดมากเกินไป มาตั้งนั่งวงคุยกันเอง หรือคุยกับหมอเรื่องคนไข้ เสมือนคนไข้ไม่มีตัวตนอยู่ตรงนั้น
- ไม่ชอบให้คนเยี่ยมถกเถียงกันเองในเรื่องของตัวคนไข้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลหรือการรักษา ไม่ชอบให้เถียงกันในเรื่องอะไรทั้งนั้น. อยากให้คุยแต่เรื่องสบายๆ
- ไม่ชอบให้มาบอกให้ “สู้” หรือให้ “อดทน”เอาไว้ เพราะเขาต้อง”สู้” และ”อดทน”อยู่แล้ว ในสภาพที่เป็นอยู่ คนที่บอกว่าให้ “สู้” นั้น มาสู้ความเจ็บปวด และความทุกข์ในกายใจ หรือแค่บอก ให้สู้ ให้อดทน แล้วก็กลับไปใช้ชีวิตกับงานการครอบครัวตัวเอง
- ไม่ชอบให้เอาปัญหามาให้แก้ หรือ มาฟ้องเกี่ยวกับคนโน้นคนนี้
- ไม่ชอบให้เยี่ยมพร่ำเพรื่อไม่เป็นเวลา อยากให้มีการจัดการช่วงเวลาการเยี่ยม เพื่อจะได้ มีเวลาเป็นของตัวเองและเวลาพักผ่อน
-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:-:
บทความนี้ น่าจะ เป็นประโยชน์ และให้แง่คิด ได้มากมาย ลองอ่านกันดู นะครับ
#หมอปันเฌอ
เครดิตภาพ: http://board.postjung.com/876629.html
ขอมาตอบเรื่องที่ติดค้างมาจากคราวก่อนเกี่ยวกับการกลืนน้ำแร่นะครับ
น้ำแร่ เป็นชื่อที่เรียกแบบง่ายๆของ สารเภสัชรังสี ไอโอดีน 131 (Iodine -131) โดยอาจเป็นในรูปแบบน้ำหรือเม็ดแคปซูล ซึ่งเป็นสารที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว สารดังกล่าวจะเข้าไปจับในบริเวณต่อมไทรอยด์ และปลดปล่อยรังสีออกมายังต่อมไทรอยด์ มีผลทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อไทรอยด์ฝ่อลงหรือถูกทำลายไป โดยการกลืนน้ำแร่ใช้ในการรักษาได้หลายโรค ได้แก่
1. การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
2. การรักษาภาวะคอพอก
3. การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิด Follicular และ Papillary
ซึ่งปริมาณของน้ำแร่ที่ใช้ในการรักษาแต่ละโรคนั้นจะมีความแตกต่างกันไป และมีวิธีการในการเตรียมผู้ป่วยที่แตกต่างกันออกไปนะครับ
โดยในครั้งนี้จะขอพูดถึงการกลืนน้ำแร่ในการรักษาโรคมะเร็งไทรอยด์ก่อนนะครับ ภายหลังจากการผ่าตัดที่เป็นการรักษาหลักแล้ว ผู้ป่วยที่มีผลชิ้นเนื้อเป็นเซลล์ชนิด Follicular และ Papillary จะต้องรับการรักษาด้วยน้ำแร่และรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอไปตลอดชีวิต
การรักษาด้วยการกลืนน้ำแร่นั้น ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในห้องพิเศษ ห้ามออกนอกห้องโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อแยกไม่ให้ผู้อื่นได้รับรังสีเนื่องจากผู้ป่วยจะมีการปลดปล่อยรังสีออกจากร่างกาย ระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะใช้เวลาประมาณ 3 – 7 วัน หรือจนกว่าระดับรังสีที่ปลดปล่อยจากร่างกายผู้ป่วยจะลดลงถึงระดับที่ปลอดภัยและเหมาะสม
ภายหลังกลับจากโรงพยาบาล ตัวผู้ป่วยจะยังมีสารรังสีอยู่ในร่างกายและค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าปริมาณรังสีดังกล่าวจะไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่เพื่อไม่ให้บุคคลรอบข้างได้รับรังสี โดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์
1. ดื่มน้ำมากๆ และปัสสาวะบ่อยๆ เพื่อขับสารรังสีออกจากร่างกาย
2. ภายหลังการใช้ห้องน้ำ ควรกดชักโครก 2 - 3 ครั้ง หรือราดน้ำมากๆ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำมากๆ
3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับเด็กและสตรีมีครรภ์
4. แยกที่นอนคนเดียวหรือเว้นที่นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
5. กิจวัตรประจำวันอื่นๆ สามารถปฏิบัติได้ตามปกติ
ภายหลังการรักษาด้วยการผ่าตัดและกลืนน้ำแร่แล้ว ผู้ป่วยควรมาตรวจพบแพทย์และรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ งดเว้นการตั้งครรภ์จนกว่าภาวะของโรคจะสงบอยู่ในระยะที่ปลอดภัย และปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการตั้งครรภ์
รายละเอียดการตรวจหรือรักษาด้วยสารเภสัชรังสี การกลืนน้ำแร่ ยังมีอีกหลากหลายหัวข้อ ซึ่งขอนำเสนอในครั้งถัดไปนะครับ
ผู้ที่สนใจสามารถไปลองหารายละเอียดเพิ่มเติมได้นะครับ
http://radio.md.chula.ac.th/nuclearmedicine/?page_id=122
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Bangkok
10220
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ
Phahonyothin Roadกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ
ถนน พหลโยธินศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศ พอ.
ถนนพหลโยธิน แขวงสายไหม เขตสายไหมATTS Honor Guard Drill Team โรงเรียนจ่าอากาศ
โรงเรียนจ่าอากาศ 171/1 ถนนพหลโยธินศูนย์ฝึกย่อยนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพอา
ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมืองAdministrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana Roadสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ngam Wong Wan Roadกรมสรรพสามิต :: Excise Department
ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯITD - International Institute for Trade and D
ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาซอย 12 ถนนพญาไท กรุงเทพฯสำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร Internati
Dinso Road Phra Nakhon Distสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
Sathorn Road