
07/06/2023
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(23)
เปิดเหมือนปกติ
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
ปภ.แจ้ง 20 จังหวัดภาคเหนือ - ภาคกลาง - ภาคใต้ เตรียมรับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน - คลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 7 – 11 มิ.ย. 66
(6 มิ.ย.66) เวลา 18.40 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 20 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เตรียมรับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน - คลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 7 – 11 มิ.ย.66 กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และจัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 13 (173/2566) ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในขณะที่มีร่องมรสุมพาดผ่านสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 7 - 11 มิถุนายน 2566 ดังนี้
📌 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ได้แก่
➡️ ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (ทุกอำเภอ) เชียงราย (อ.แม่สาย เชียงแสน) พะเยา (อ.ปง เชียงม่วน) แพร่ (อ.สอง ร้องกวาง หนองม่วงไข่) น่าน (อ.ปัว บ่อเกลือ ทุ่งช้าง เชียงกลาง) อุตรดิตถ์ (อ.ท่าปลา น้ำปาด) ตาก (อ.แม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง อุ้มผาง) พิษณุโลก (อ.วังทอง นครไทย ชาติตระการ) และเพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า)
➡️ ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี (อ.ศรีสวัสดิ์ ทองผาภูมิ สังขละบุรี) ชลบุรี (อ.บ้านบึง ศรีราชา บางละมุง) ระยอง (อ.เมืองฯ แกลง บ้านค่าย) จันทบุรี (อ.เมืองฯ เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง) และตราด (ทุกอำเภอ)
➡️ ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (ทุกอำเภอ) พังงา (ทุกอำเภอ) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ เกาะลันตา คลองท่อม) ตรัง (อ.เมืองฯ รัษฎา ห้วยยอด นาโยง) และสตูล (อ.เมืองฯ ละงู ทุ่งหว้า)
📌 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำคลื่นลมแรง ได้แก่
➡️ ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์) พังงา (อ.เมืองฯ เกาะยาว ทับปุด ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก) ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ) และสตูล (อ.เมืองฯ ละงู มะนัง ทุ่งหว้า)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) จึงได้แจ้งเน้นย้ำจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่แต่ละจุดอย่างใกล้ชิด รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักหรือบริเวณฝนสะสมและและจัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ภาคใต้ได้ประสานให้จังหวัดออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด พร้อมประสานกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวังให้มากขึ้น และหากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามสภาพอากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป ///////
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2566
📌 รายงานสาธารณภัยทั่วไทย ในรอบ 24 ชั่วโมง ประจำวันที่ 2 มิถุนายน 2566
#ปภ
่วงใยความปลอดภัยคนไทยทุกคน
👉 raining.disaster.go.th
☎️ สายด่วน 1784
🔶FB : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
🔶Twitter
🔶Line
🔶YouTube DDPMNews รู้ทันภัยกับ ปภ.
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 2 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2566
สถานีข่าว ปภ. EP. 29 (26 พฤษภาคม 2566)
รายการสถานีข่าว ปภ. ตอนที่ 29 "ข่าวสารสาธารณภัย เตือนก่อน รู้ไว ปลอดภัยทุกเวลา" เนื้อหารายการในวันนี้.... ช่วงที...
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00-10.00 น. Dr.Li Jinfa,
Vice-Minister for Geological Survey, Ministry of Natural Resources of China and President of China Geological Survey (CGS) พร้อมคณะผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน และผู้แทนจากกรมทรัพยากรธรณี เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ณ อาคารปฏิบัติการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (บางนา) พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปหัวข้อ บทบาท หน้าที่ และขั้นตอนการแจ้งเตือนภัยพิบัติ โดยมี นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้การต้อนรับ
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 26พฤษภาคม 2566
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
📌 ปภ.แจ้ง 13 จังหวัดภาคตะวันออก - ใต้ - กทม. เตรียมรับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน - คลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 27 - 30 พ.ค.66
(25 พ.ค.66) เวลา 21.25 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 13 จังหวัดภาคตะวันออก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร เตรียมรับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน - คลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 27 - 30 พ.ค.66 กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และจัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (150/2566) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 น. แจ้งว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยและลงสู่อ่าวมะตะบัน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
📌 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ได้แก่
➡️ ภาคกลาง 3 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด) ปทุมธานี (อ.คลองหลวง ธัญบุรี) สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)
➡️ ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี (อ.บ้านบึง ศรีราชา บางละมุง) ระยอง (อ.เมืองฯ แกลง ปลวกแดง) จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง มะขาม ท่าใหม่ นายายอาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน สอยดาว) และตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)
➡️ ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (ทุกอำเภอ) พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี)
📌 พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
➡️ ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์) พังงา (อ.เมืองฯ เกาะยาว ทับปุด ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก) ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ) และสตูล (อ.เมืองฯ ละงู มะนัง ทุ่งหว้า)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่แต่ละจุดอย่างใกล้ชิด รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักหรือบริเวณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำท่วมขัง ขอให้ระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ในกรณีที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันที ทั้งนี้ ได้กำชับให้จัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรง ให้จังหวัดออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด พร้อมประสานกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวังให้มากขึ้น และหากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามสภาพอากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป ///////
#ปภ #แจ้งเตือน #ข่าว #เตือนภัย #ฝนตกหนัก #น้ำท่วม #อุทกภัย #ฝน
👉 raining.disaster.go.th
่วงใยความปลอดภัยคนไทยทุกคน
☎️สายด่วน 1784
🔶FB : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
🔶Twitter
🔶Line
🔶YouTube DDPMNews รู้ทันภัยกับ ปภ.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 25 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
รายการสถานีข่าว ปภ. EP 28 (19 พฤษภาคม 2566)
รายการสถานีข่าว ปภ. ตอนที่ 28 "ข่าวสารสาธารณภัย เตือนก่อน รู้ไว ปลอดภัยทุกเวลา" เนื้อหารายการในวันนี้.... ช่วงที...
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
มท.1 สั่งการผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2566 คาดฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด สิงหาคม – ตุลาคม 66 เน้นย้ำ สายด่วนนิรภัย 1784 รับแจ้งเหตุ และสแตนบายเจ้าหน้าที่พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (22 พ.ค. 66) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝน ปี 2566 ซึ่งจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศคาดการณ์ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย และในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย สำหรับในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เพื่อให้การเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2566 เป็นไปตามกฎหมาย แผน และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัดให้มีข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่มในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน รายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยของหน่วยงานต่าง ๆ การกำหนดจุด/พื้นที่ปลอดภัยประจำหมู่บ้าน/ชุมชน แผนอพยพประชาชน และสถานที่จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ช่องทางการสื่อสาร ให้ชัดเจน พร้อมทั้งให้มีการซักซ้อมแนวปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้ประโยชน์จาก "ผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำในหมู่บ้าน/ชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo - Social Map)" ในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ และวางแผนการติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน
“สำหรับพื้นที่เสี่ยงในเขตชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเส้นทางคมนาคมที่มักเกิดอุทกภัยเป็นประจำ ให้เร่งขุดลอกท่อระบายน้ำ ดูดเลน ทำความสะอาดร่องน้ำ และสำหรับคลอง แหล่งน้ำต่าง ๆ ให้กำจัดวัชพืช ขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อใช้รองรับน้ำฝนและน้ำจากท่อระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้วางแผนการลำเลียงน้ำที่มีการระบายในช่วงน้ำมากไปยังพื้นที่รองรับน้ำต่าง ๆ ที่มีน้ำน้อย อาทิ การเปิดทางน้ำ การสูบส่งน้ำไปยังแหล่งกักเก็บน้ำของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้กรณีเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง พร้อมทั้งตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ พนังกั้นน้ำ และปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงตามหลักวิศวกรรม เพื่อรองรับกรณีฝนตกหนักหรือน้ำไหลเข้า ไหลผ่านในปริมาณมาก และต้องตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้า หากประเมินว่าอาจเกิดอันตรายกับประชาชน ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าและเร่งรัดแก้ไขปัญหาโดยทันที นอกจากนี้ หากมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ให้แจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธรณภัยแต่ละระดับ เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือตามแผนเผชิญเหตุ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนทราบถึงสถานการณ์ แนวปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูลและขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐในทุกช่องทางสื่อสาร” พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าว
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการเผชิญเหตุ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการหลักในการระดมสรรพกำลัง ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดย “ในเขตชุมชนเมือง” ที่เกิดฝนตกหนักและส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน ให้ฝ่ายปกครองบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมเฝ้าระวัง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งจัดกำลังตรวจตราเฝ้าระวังบริเวณเสาไฟฟ้าในเขตชุมชน สถานศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือ แจ้งเตือนประชาชนที่สัญจรไปมาบริเวณดังกล่าว “สำหรับพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหา” ให้บูรณาการหน่วยงานฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร ตลอดจนภาคเอกชน ใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งจัดชุดปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชน อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน การแจกจ่ายอาหาร สิ่งของด้านการดำรงชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เร่งบรรเทาสถานการณ์ให้พี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติสุขได้โดยเร็ว และบูรณาการหน่วยงานทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชน
“กรณีเส้นทางคมนาคมมีน้ำท่วมขังหรือได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ให้จัดทำป้ายแจ้งเตือน และจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย โดยหากเส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด หรือบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมขังสูงให้จัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง อำนวยความสะดวกให้ประชาชน พร้อมทั้งเร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้การคมนาคมของพี่น้องประชาชนและภาคขนส่งสามารถใช้การได้ ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย และภัยต่าง ๆ ขอให้ได้ติดต่อประสานงานแจ้งสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้การช่วยเหลือโดยทันที” พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย
#กระทรวงมหาดไทย #บําบัดทุกข์บํารุงสุข
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 457/2566
วันที่ 22 พ.ค. 2566
Photos from กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM's post
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 23พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 22พฤษภาคม 2566
Photos from กลุ่มประชาสัมพันธ์กรมอุตุนิยมวิทยา's post
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 21พฤษภาคม2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 20 พฤษภาคม2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 18พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 17 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 15พฤษภาคม 2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2566
4353 Sukhumvit Road
Bangkok
10260
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ:
Administrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana RoadSoutheast Asian Ministers of Education Organi
Sukhumvit Roadกรมสรรพสามิต :: Excise Department
ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯITD - International Institute for Trade and D
ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาซอย 12 ถนนพญาไท กรุงเทพฯTICA - Thailand Incentive and Convention Asso
The Legacy Viphawadi