
04/07/2023
🛎️ ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรม
หลักสูตร “การพัฒนาผู้ให้บริการด้านการเกษตรสมัยใหม่” จัดโดย วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นเพจที่รวบรวมข้อมูลด้านการบริห? จัดทำโดยส่วนนโยบายและแผนพัฒนาด้านการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
🛎️ ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรม
หลักสูตร “การพัฒนาผู้ให้บริการด้านการเกษตรสมัยใหม่” จัดโดย วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันที่ 27-30 มิถุนายน 2566 นางฐานิยา พิรุณสาร พันธุ์บุญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและพิจิตร เพื่อสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวในประเด็นต้นทุนโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตให้กับท่าข้าวและโรงสี ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
วันที่ 12-14 มิถุนายน 2566 นางสาวจุฑาวรรณ พลประชิต นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวในประเด็นต้นทุนโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตให้กับท่าข้าวและโรงสี ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
โย่ว!! และนี่คือเสียงจาก กนผ.
ฝากกดไลค์ KM ของ กนผ. ด้วยนะคะ
วันที่ 22-26 พฤษภาคม 2566 นางศาสตริยา อนันท์ธนศาล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและนครสวรรค์ เพื่อสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวในประเด็นต้นทุนโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตให้กับท่าข้าวและโรงสี ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ด้านการเกษตร (สนล.) ในฐานะผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนล. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแบบจำลองการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยแบบล่วงหน้า (Predictive Model) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมีนางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการ สศช. เป็นประธานการประชุม และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยมี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอมเพิล คอลซัลแทนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นที่ปรึกษา ในการศึกษาและพัฒนาแบบจำลองการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยแบบล่วงหน้า (Predictive Model) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นต่อรายงานผลการศึกษาขั้นต้น (Inception Report) พร้อมทั้งทบทวนภาพรวมการจัดทำข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย เพื่อพัฒนาแบบจำลองให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยที่ปรึกษาจะดำเนินการรวบรวมตัวแปรนำเข้าสำหรับการพัฒนาแบบจำลองเสนอต่อที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
การประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ครั้งที่ 1/2566
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566
นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้ดำเนินการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2566 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ผู้แทนจากหน่วยงาน อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดเป้าหมาย
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดที่เป็นผู้ประสานงานหลัก (Focal Point) ระยะที่ 1 ได้นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ในสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มะเขือเทศ และข้าวโพดหวาน รวมทั้งผู้ประสานงานหลัก (Focal Point) ระยะที่ 2 ได้รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการฯ ในสินค้าเป้าหมาย 8 ชนิด ได้แก่ พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา น้ำยางสด ปาล์มน้ำมัน และมะเขือเทศ
นอกจากนี้ ผู้แทน ส.อ.ท. รายงานสรุปการเปลี่ยนแปลงจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 1 และ 2 เพื่อให้ที่ประชุมทราบ
วันที่ 25-27 เมษายน 2566 นางศาสตริยา อนันท์ธนศาล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา เพื่อสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวในประเด็นต้นทุนโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตให้กับท่าข้าวและโรงสี ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
วันที่ 27-31 มีนาคม 2566 นางฐานิยา พิรุณสาร พันธุ์บุญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี ชัยนาท และสุพรรณบุรี เพื่อสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวในประเด็นต้นทุนโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตให้กับท่าข้าวและโรงสี ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
วันที่ 15 มีนาคม 2566 นางฐานิยา พิรุณสาร พันธุ์บุญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร (สนล.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนล. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ Global Value Chain & Trade Facilitation ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตร ปี 2566 (ไตรมาส 1: ตุลาคม - ธันวาคม 2565) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคการเกษตร (พ.ศ. 2566 - 2570) อาทิ โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
โครงการพัฒนา/ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนับสนุนโลจิสติกส์ภาคการเกษตร โครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เกษตรเพื่อลดการสูญเสีย โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร (สนล.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนล. ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา เพื่อสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลประกอบการจัดทำต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าวขาว ภายใต้โครงการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยได้สัมภาษณ์เกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการโรงสีข้าว ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. พระนครศรีอยุธยา จำกัด สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด และหจก. ต.ทวีรุ่งเรือง (1992) ในประเด็นตั้งแต่กระบวนการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว การรับซื้อและรวบรวมผลผลิต ตลอดจนการแปรรูปข้าว รวมถึงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ สำหรับการจัดทำโครงการฯ ต่อไป
📘Final Report
โครงการศึกษารูปแบบการขนส่งทุเรียนสดจากไทยไปจีน
#สศก
การประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ครั้งที่ 3/2565
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565
นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้ดำเนินการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ผู้แทนจากหน่วยงาน อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดเป้าหมาย
ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลการประเมินโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ปี 2564 (เบื้องต้น) โดย ดร.อนุวัฒน์ ผิวอ่อน ผู้อำนวยการส่วนประเมินผลการพัฒนาด้านพืช ศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และมีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ ระยะที่ 1 ซึ่งผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดที่เป็นผู้ประสานงานหลัก (Focal Point) ได้รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มะเขือเทศ และข้าวโพดหวาน
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการฯ ระยะที่ 2 ในสินค้าเกษตรเป้าหมาย 9 ชนิด ได้แก่ พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา น้ำยางสด ปาล์มน้ำมัน และมะเขือเทศ โดยประธานการประชุมได้เน้นย้ำให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และเกษตรจังหวัดที่เป็นที่ตั้งโรงงาน เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานในระยะที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายตลาดนำการผลิต ซึ่งจะทำให้เกษตรกรและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์สูงสุด
การประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ครั้งที่ 2/2565
วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 น. นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร เป็นผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ครั้งที่ 2/2565
ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีนางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมเสวนาและระดมความคิดเห็นประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อ
ร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะนำความเห็นและข้อเสนอแนะ
ที่ได้จากการประชุมไปปรับปรุงรายละเอียดร่างแผนปฏิบัติการฯ ให้สมบูรณ์ ก่อนเสนอคณะทำงานฯ พิจารณาในครั้งต่อไป
เมื่อวันที่ 11 - 13 พฤษภาคม 2565 นางสาวจุฑาวรรณ พลประชิต นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลภายใต้โครงการศึกษารูปแบบการขนส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสัมภาษณ์นายสมพล ช่างบุ หัวหน้าด่านตรวพืชจันทบุรี เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจปล่อยตู้คอนเทนเนอร์บรรจุทุเรียนสำหรับส่งออกไปจีน รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการล้งที่รวบรวมทุเรียนในพื้นที่จันทบุรี อาทิ ล้งป๋ายิ้ม ล้งโกอาร์-เจ้สาว
ทั้งนี้ ได้สัมภาษณ์ผู้แทนบริษัท สยามดราก้อน เฟรช ฟรุ๊ต จำกัด ที่ประกอบธุรกิจร่วมกับสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด และศึกษาดูงานการบริหารจัดการทุเรียนสำหรับขายในตลาด modern trade ในประเทศ และการจัดการห้องเย็น รวมถึงสัมภาษณ์นายสุนทร นพพันธ์ ประธานสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด เกี่ยวกับบทบาทของสหกรณ์ฯ ในการรวบรวมผลผลิตของเกษตรกรสมาชิก
วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.30 น. นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร (สนล.) เป็นผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลการดำเนินการโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีนางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ
ที่ประชุมร่วมให้ความเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) โครงการฯ และสาธิตการใช้งานระบบข้อมูลโลจิสติกส์เบื้องต้น พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการระบบข้อมูลโลจิสติกส์ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย สศช.ควรผลักดันให้ทุกหน่วยงานดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.)
วันที่ 5 - 6 พฤษภาคม 2565 นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อํานวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ภายใต้โครงการศึกษารูปแบบการขนส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสัมภาษณ์นายชัยชนะ นุ่นเส้ง หัวหน้าด่านตรวจพืชลาดกระบัง ณ ด่านตรวชพืชลาดกระบัง และนายณัฐภูมิ รัตนพันธุ์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ณ ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง ในประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการตรวจปล่อยสินค้าเกษตรจากไทยไปจีน รวมถึงสัมภาษณ์ตัวแทนบริษัท Shipping ที่ให้บริการจัดทำเอกสารสำหรับการส่งออกสินค้าทางน้ำ ในประเด็นขั้นตอนการจัดทำเอกสารผ่านระบบ e-Phyto ตลอดจนรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน
วันที่ 6 - 8 เมษายน 2565 นางฐานิยา พิรุณสาร พันธุ์บุญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลภายใต้โครงการศึกษารูปแบบการขนส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสัมภาษณ์นายสมพล ช่างบุ หัวหน้าด่านตรวพืชจันทบุรี ในประเด็นเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจตู้คอนเทนเนอร์ทุเรียนที่ส่งออกไปยังจีน และพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้สัมภาษณ์ผู้ประกอบการล้งที่รวบรวมทุเรียน อาทิ บริษัท มอนโค ฟรุ๊ต (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท หอมหมื่นลี้ แอนด์ เจที จำกัด บริษัท ปั้นเพลิน อินเตอร์ ฟรุต เอ็กพอร์ต จำกัด บริษัท ดรากอน เฟรช ฟรุท จำกัด เกี่ยวกับกระบวนการรวบรวมทุเรียนเพื่อส่งออก รูปแบบและเส้นทางการขนส่งไปยังจีน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคจากการปิดด่านภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ครั้งที่ 2/2565
วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 นางสาวกัลยา สงรอด ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการร่วม ได้เข้าร่วมการประชุม กรกอ. ครั้งที่ 2/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายสมัย ลี้สกุล และนายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ระดับภาค เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย
โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้รับทราบการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในกลุ่มจังหวัดนำร่อง ภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งได้พิจารณาข้อเสนอโครงการของคณะอนุกรรมการฯ ภาคกลางและโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
การประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ครั้งที่ 2/2565
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 นางสาวกัลยา สงรอด ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้ดำเนินการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ระยะที่ 1 ในสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มะเขือเทศ และข้าวโพดหวาน
นอกจากนี้ ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ระยะที่ 2 โดยที่ประชุม เห็นชอบชนิดสินค้าและบริษัทรับซื้อในระยะที่ 2 จำนวน 9 ชนิดสินค้า ได้แก่ พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา น้ำยางสด ปาล์มน้ำมัน และมะเขือเทศ และ 19 บริษัทรับซื้อ พร้อมทั้งมอบหมายเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและเกษตรจังหวัด ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย ขับเคลื่อนโครงการฯ ระยะที่ 2 สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ต่อไป
วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร (สนล.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนล. ได้เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลในการจัดทำรายงานระบบ Logistics+ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าธุรกิจบริการ ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วย Microsoft Teams โดยมีนางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง ผู้อำนวยการกองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เป็นประธานการประชุม และนายปริญญ์ บุญดีสกุลโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรอนทิส จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ และมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย
สำหรับการพัฒนาระบบ Logistics+ ระยะที่ 1 ประกอบด้วยชุดข้อมูลการค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ที่สำคัญ 6 รายงาน ได้แก่ (1) ขีดความสามารถของโลจิสติกส์ไทยเทียบกับเวทีโลก (2) สภาพธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย (3) ศักยภาพการเติบโตของธุรกิจในแต่ละพื้นที่ (4) โอกาสในการขยายธุรกิจของโลจิสติกส์ไทย (5) ปัจจัยที่กำหนดขีดความสามารถของโลจิสติกส์ไทย (6) ข้อมูลเปรียบเทียบความสามารถผู้ประกอบการ และระยะที่ 2 จะดำเนินการเพิ่มเติม 4 รายงาน ได้แก่ (1) แนวโน้มของการลงทุนจากต่างประเทศ (Investment Trends) (2) สถานการณ์การขนส่งสินค้า (Sea Freight Situations) (3) สรุปภาพรวมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย (Thailand e-Commerce Summary) และ (4) สถานการณ์แรงงานด้านธุรกิจบริการโลจิสติกส์ (Logistics Labor) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของภาครัฐและเอกชนได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หารือการจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ระยะที่ 2
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ครั้งที่ 1/2565
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565 ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการฯ ได้เข้าร่วมการประชุม กรกอ. ครั้งที่ 1/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล) ผู้แทนหน่วยงานในสังกัด กษ. และประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ระดับภาค เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย
โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ของภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งได้เห็นชอบให้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดนำร่อง โดยให้คณะอนุกรรมการฯ ระดับภาค และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดร่วมกันต่อไป
วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 ได้มีการประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ครั้งที่ 1/2565 รูปแบบ VDO Conference ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย) ประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานการประชุม และผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร (ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน
โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ระยะที่ 1 ในสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มะเขือเทศ และข้าวโพดหวาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่สู่เกษตรอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 โดยจะดำเนินการในสินค้าเกษตร 8 ชนิด และ 18 บริษัทรับซื้อ พร้อมทั้ง มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) รายสินค้า ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และนำไปสู่การขับเคลื่อนโครงการฯ ระยะที่ 2 ต่อไป
เมื่อวันที่ 16-18 ธันวาคม 2564 นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร (สนล.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนล. ลงพื้นที่ร่วมกับนางสาวสุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน นางวรินภรณ์ นรเดชเดชานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ จังหวัดหนองคาย เพื่อประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และระดมความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยกับหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อให้การศึกษาโครงการฯ มีความสมบูรณ์และครอบคลุมในทุกมิติ
นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่รับฟังข้อมูลจากการเปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีน โดย พ.ต.อ.ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ นายด่านศุลกากร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรหนองคาย และนางกนกวรรณ สุวรรณกนิษฐ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านการตลาด พร้อมด้วยนายธรรมศักดิ์ ธุระกิจ หัวหน้ากองบริการสินค้าคอนเทนเนอร์ ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์การส่งออกสินค้าและสินค้าผ่านด่านศุลกากรหนองคายจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่มีการขนส่งสินค้าเที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564
💚💚เกษตรฯ มั่นใจ ไม่มีสินค้าเกษตรทะลักเข้าไทย ผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน เตรียมพร้อมทุกด้าน กำชับเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบทั้งด้านคุณภาพ และปฏิบัติตามระเบียบอย่างรัดกุม #สศก
พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกร
การสัมมนาเพื่อระดมความเห็นต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2566 – 2570
วันที่ 9 ธันวาคม 2564 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธานการสัมมนาเพื่อระดมความเห็นต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคการเกษตร เข้าร่วมสัมมนา
การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาประเด็นและแนวทางการพัฒนา พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
💚💚 เกษตรฯ พร้อมใช้ประโยชน์ เส้นทางรถไฟลาว-จีน หลังเปิดหวูดขบวน ปฐมฤกษ์ 2 ธันวาคมนี้ มั่นใจ ดันส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปจีนฉลุย หากประกาศอนุญาตให้ใช้เส้นทางขนส่งอย่างเป็นทางการ #สศก
UPDATE : สถานการณ์ปิดด่านโหยวอี้กวน
1. ด่านโหยวอี้กวน มีรายงานปิดด่าน เนื่องจากระบบ
2. ด่านรถไฟผิงเสียง ปรับเวลาการทำงานใหม่
3. ด่านบ่อเต็นเปิดทดสอบระบบให้รถสินค้าผ่านแดน-รถระหว่างประเทศ ผ่านได้ฝ่ายละ 110 คัน/วัน
ขอรายงานความคืบหน้าการเปิด-ปิดด่าน บอเต็น-โม่หาน โดยได้รับแจ้งอย่างไม่เป็นทางการจากรอง หัวหน้าด่านบ่อเต็น แจ้งว่า ลาวและจีนตกลงให้รถขนส่งสินค้าไทยผ่านแดนลาวไปจีน และรถขนส่งสินค้า รปท. ฝ่ายลาว-จีน ฝ่ายละ 110 คัน/วัน โดยที่ผู้ประกอบการขนส่งต้องประสานงานล่วงหน้านัดหมายตู้กับด่านบ่อเต็นและประเภทของตู้สินค้า ล่วงหน้าครับ
*** (ฝ่ายด่านจีนยืนยันยังไม่อนุญาตตู้ควบคุมอุณหภูมิข้ามด่านช่วงนี้)
สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง ได้ติดต่อประสานไปยังศุลกากรด่านโหย่วอี้กวน ได้รับการยืนยันว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขระบบดังกล่าว และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบโดยด่วน เนื่องจากทางด่านฯ เองก็ตระหนักว่า การปิดด่านโหย่วอี้กวนจะมีผลกระทบกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและพยายามจะแก้ไขให้กลับมาใช้งานปกติโดยเร็ว
ทั้งนี้ สคต. หนานหนิง ได้ประสานกับสำนักงานเกษตรกว่างโจว ทราบว่า ทางสำนักงานเกษตรกว่างโจวทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว และได้แจ้งไปยังด่านตรวจพืชนครพนมและด่านตรวจพืชมุกดาหาร ในการชะลอออกใบรับรองสุขอนามัยพืช หรือใบ PC ( Phytosanitary Certificate) ชั่วคราว
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
ทีมงานสมาคมทุเรียนไทย
Bangkok
10900
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โลจิสติกส์เกษตรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง โลจิสติกส์เกษตร:
เสียงสะท้อนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผลไม้ภาคตะวันออก คุณภาณุวัชร์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนมังคุด ได้ให้สัมภาษณ์แก่คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (คุณอุษา โทณผลิน ผู้แทนกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร และคุณศิระเวช ธารเพชวัฒนา ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (ชลบุรี)) และ คุณปิติคนธ์ วิเชียร ผู้แทนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้ สมาคมฯ มีสมาชิกกว่า 200 ราย ครอบคลุมเมืองผลไม้สำคัญในภาคตะวันออกและภาคใต้ 6 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ระยอง ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี การรวบรวมผลไม้ แบ่งเป็น ภาคตะวันออก ช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. และภาคใต้ ช่วงเดือน มิ.ย.-ม.ค. การส่งออกไปจีน แบ่งเป็น 1) ทางถนน ส่วนใหญ่ส่งออกผ่าน จ.มุกดาหาร (เส้นทาง R9) บางส่วนไปทาง จ.เชียงราย (เส้นทาง R3A) 2) ทางเรือ จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ไป จีน เดิมมีการส่งออกทางเรือไปอินโดนีเซียด้วยแต่ปัจจุบันมีสัดส่วนน้อยมาก คุณภานุวัชร์ ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อทำให้การขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ผลไม้ในภาคตะวันออกมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นแก่เกษตรกรและประเทศชาติ ดังนี้ 1) การผ่อนปรนระเบียบการจ้างแรงงานต่างชาติข้ามจังหวัดเพื่อลดต้นทุนการขออนุญาตใช้แรงงานต่างชาติ 2) การตรวจสอบรับรองมาตรฐาน GAP ให้ทันต่อความต้องการของเกษตรกร 3) การจัดทำผังเมือง (พื้นที่สีเขียว) ทำให้ไม่สามารถสร้างห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาผลไม้ได้ 4) เงินทุน ช่วงวันหยุดยาวโดยเฉพาะสงกรานต์ ร้านค้าปิดทำให้ต้องซื้อวัตถุดิบ เช่น กล่อง โฟมไว้ล่วงหน้าให้เพียงพอ ซึ่งใช้เงินทุนสูง บริษัทขนาดเล็กอาจมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียน 5) การส่งออก โดยการพึ่งพาตลาดจีนเพียงตลาดเดียว ทำให้ประเทศเกิดความเสี่ยงด้านราคา ควรต้องขยายตลาดใหม่ในต่างประเทศใหม่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอินเดีย เป็นต้น 6) การพัฒนาเส้นทางคมนาคม เชียงของ-บ่อเต็น (เส้นทาง R3A) ให้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเวียดนามในการส่งออกผลไม้ไปยังจีนผ่านเส้นทาง R9 ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ดังกล่าว ไปจัดทำเป็นนโยบายและแผนเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผลไม้ไทยต่อไป
เสียงสะท้อนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผลไม้ภาคตะวันออก คุณภาณุวัชร์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนมังคุด ได้ให้สัมภาษณ์แก่คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (คุณอุษา โทณผลิน ผู้แทนกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร และคุณศิระเวช ธารเพชวัฒนา ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (ชลบุรี)) และ คุณปิติคนธ์ วิเชียร ผู้แทนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้ สมาคมฯ มีสมาชิกกว่า 200 ราย ครอบคลุมเมืองผลไม้สำคัญในภาคตะวันออกและภาคใต้ 6 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ระยอง ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี การรวบรวมผลไม้ แบ่งเป็น ภาคตะวันออก ช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. และภาคใต้ ช่วงเดือน มิ.ย.-ม.ค. การส่งออกไปจีน แบ่งเป็น 1) ทางถนน ส่วนใหญ่ส่งออกผ่าน จ.มุกดาหาร (เส้นทาง R9) บางส่วนไปทาง จ.เชียงราย (เส้นทาง R3A) 2) ทางเรือ จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ไป จีน เดิมมีการส่งออกทางเรือไปอินโดนีเซียด้วยแต่ปัจจุบันมีสัดส่วนน้อยมาก คุณภานุวัชร์ ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อทำให้การขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ผลไม้ในภาคตะวันออกมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นแก่เกษตรกรและประเทศชาติ ดังนี้ 1) การผ่อนปรนระเบียบการจ้างแรงงานต่างชาติข้ามจังหวัดเพื่อลดต้นทุนการขออนุญาตใช้แรงงานต่างชาติ 2) การตรวจสอบรับรองมาตรฐาน GAP ให้ทันต่อความต้องการของเกษตรกร 3) การจัดทำผังเมือง (พื้นที่สีเขียว) ทำให้ไม่สามารถสร้างห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาผลไม้ได้ 4) เงินทุน ช่วงวันหยุดยาวโดยเฉพาะสงกรานต์ ร้านค้าปิดทำให้ต้องซื้อวัตถุดิบ เช่น กล่อง โฟมไว้ล่วงหน้าให้เพียงพอ ซึ่งใช้เงินทุนสูง บริษัทขนาดเล็กอาจมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียน 5) การส่งออก โดยการพึ่งพาตลาดจีนเพียงตลาดเดียว ทำให้ประเทศเกิดความเสี่ยงด้านราคา ควรต้องขยายตลาดใหม่ในต่างประเทศใหม่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอินเดีย เป็นต้น 6) การพัฒนาเส้นทางคมนาคม เชียงของ-บ่อเต็น (เส้นทาง R3A) ให้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเวียดนามในการส่งออกผลไม้ไปยังจีนผ่านเส้นทาง R9 ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ดังกล่าว ไปจัดทำเป็นนโยบายและแผนเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผลไม้ไทยต่อไป
แหล่งปลูกผักชลบุรี ใครๆ ก็นึกถึงที่นี่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกแตงกวาตำบลสระสี่เหลี่ยม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักที่เข้มแข็งแห่งเดียวในชลบุรี โดย คุณประไพ น่วมนคร ประธานวิสาหกิจฯ และสมาชิก ได้ให้ข้อมูลทีมงานซึ่งนำทีมโดย คุณอุษา โทณผลิน ผู้แทนกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คุณนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี และคุณปิติคนธ์ วิเชียร ผู้แทนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ดังนี้ วิสาหกิจฯ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 48 จากสมาชิก 16 ราย ปัจจุบันเพิ่มเป็น 32 ราย พื้นที่กว่า 120 ไร่ ปี 62 นี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเข้าโครงการแปลงใหญ่ ผลผลิตหลัก ประกอบด้วย กระเจี๊ยบเขียว 600 กก./วัน แตงกวา 300 กก./วัน ถั่วฝักยาว 300 กก./วัน ข้าวโพดข้าวเหนียว 1.5 ตัน/2 เดือน การเก็บเกี่ยวจะทำช่วงบ่ายถึงกลางคืน แล้วส่งเข้ากลุ่มเพื่อคัดเกรด ทำความสะอาด และบรรจุถุง ถุงละ 5 กก.หรือใส่ตะกร้า ตะกร้าละ 10 กก. ส่งถึงตลาดไท ประมาณตี 2-3 ดำเนินการภายใต้โครงการตลาดไทซีเล็ค สำหรับกระเจี๊ยบเขียวของวิสาหกิจฯ ได้รวมกับเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง สระบุรี เพชรบูรณ์ ส่งผลผลิตเข้า บริษัท ทรี ซีซั่น ฟรุ๊ตส์ อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออก ปัญหาที่พบ ได้แก่ 1) การยื่นขอ GAP ซึ่งตรวจรับรองโดยเอกชน ดำเนินการล่าช้า และ 2) พื้นที่ทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่าและยังไม่มีพื้นที่ของวิสาหกิจฯ ทำให้เป็นข้อจำกัดในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจำเป็น เช่น โรงคัดแยกบรรจุ GMP หรือ ห้องเย็น 3) การสนับสนุนเรื่องช่องทางการตลาดให้เข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในจังหวัด
แหล่งปลูกผักชลบุรี ใครๆ ก็นึกถึงที่นี่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกแตงกวาตำบลสระสี่เหลี่ยม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักที่เข้มแข็งแห่งเดียวในชลบุรี โดย คุณประไพ น่วมนคร ประธานวิสาหกิจฯ และสมาชิก ได้ให้ข้อมูลทีมงานซึ่งนำทีมโดย คุณอุษา โทณผลิน ผู้แทนกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คุณนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี และคุณปิติคนธ์ วิเชียร ผู้แทนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ดังนี้ วิสาหกิจฯ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 48 จากสมาชิก 16 ราย ปัจจุบันเพิ่มเป็น 32 ราย พื้นที่กว่า 120 ไร่ ปี 62 นี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเข้าโครงการแปลงใหญ่ ผลผลิตหลัก ประกอบด้วย กระเจี๊ยบเขียว 600 กก./วัน แตงกวา 300 กก./วัน ถั่วฝักยาว 300 กก./วัน ข้าวโพดข้าวเหนียว 1.5 ตัน/2 เดือน การเก็บเกี่ยวจะทำช่วงบ่ายถึงกลางคืน แล้วส่งเข้ากลุ่มเพื่อคัดเกรด ทำความสะอาด และบรรจุถุง ถุงละ 5 กก.หรือใส่ตะกร้า ตะกร้าละ 10 กก. ส่งถึงตลาดไท ประมาณตี 2-3 ดำเนินการภายใต้โครงการตลาดไทซีเล็ค สำหรับกระเจี๊ยบเขียวของวิสาหกิจฯ ได้รวมกับเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง สระบุรี เพชรบูรณ์ ส่งผลผลิตเข้า บริษัท ทรี ซีซั่น ฟรุ๊ตส์ อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออก ปัญหาที่พบ ได้แก่ 1) การยื่นขอ GAP ซึ่งตรวจรับรองโดยเอกชน ดำเนินการล่าช้า และ 2) พื้นที่ทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่าและยังไม่มีพื้นที่ของวิสาหกิจฯ ทำให้เป็นข้อจำกัดในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจำเป็น เช่น โรงคัดแยกบรรจุ GMP หรือ ห้องเย็น 3) การสนับสนุนเรื่องช่องทางการตลาดให้เข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในจังหวัด
"โลจิสติกส์ล้ง จุดรวบรวมทุเรียนคุณภาพ ส่งออกต่างประเทศ ในราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร" กระบวนการจัดการโลจิสติกส์ ณ จุดรวบรวม "ล้งโกศล" ขั้นตอนแรก เริ่มจากการคัดแยกทุเรียนเป็น 3 เกรด ได้แก่ A B และ C รวมทั้งนำน้ำขมิ้นป้ายที่ก้านทุเรียน ขั้นตอนที่สอง ติดสติ๊กเกอร์ที่ก้านทุเรียน พร้อมชั่งน้ำหนักที่ 18 กิโลกรัมต่อเข่ง ขั้นตอนที่สาม บรรจุทุเรียนลงกล่องลัง กล่องละประมาณ 6-8 ลูก ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก โดยแบ่งเป็น 2 ชั้น มีกระดาษลังกั้นแต่ละลูก เพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย ชั้นตอนที่สี่ แพ็คกล่องลังและแยกกองตามเกรด ขั้นตอนสุดท้าย ขนทุเรียนในกล่องขึ้นตู้คอนเทนเนอร์โดยใช้รถโฟล์คลิฟท์ ซึ่งจะเปิดตู้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากต้องรักษาอุณหภูมิในตู้ หากการขนส่งทางถนนจะใช้อุณหภูมิ 15° และทางน้ำ 14°
อะไร คือ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factors) ของสถาบันเกษตรกร ประสบการณ์จากการลงพื้นที่โลจิสติกส์ โดย คุณอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
"กะเพรา" หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี สมาชิกมาส่งที่โรงคัดแยกบรรจุของกลุ่ม ก่อนส่งมอบให้ลูกค้า คือ CPF ต่อไป
เก็บผักอินทรีย์สดๆ อ.สนามชัยเขต (ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บผักใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดคอสคือ ช่วงเช้า ส่วนผักกินผล เช่น มะเขือ เก็บได้ตลอดทั้งวัน)
วิธีเก็บมัลเบอร์รี่ ไร่หม่อนมงคล จ.ฉะเชิงเทรา โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งวัน ลูกหม่อนที่มีสีดำทั้งลูกจะมีรสหวาน ส่วนลูกหม่อนที่มีสีดำอมเเดงจะมีรสหวานอมเปรี้ยว นำไปขายสด เเละแปรรูป เป็นน้ำหม่อนเพื่อสุขภาพ รวมถึงโยเกิร์ตมัลเบอร์รี่
ไร่หม่อนมงคล คุณวิรัตน์ โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักผลไม้สดเเละการแปรรูป อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
วิธีการคัดเกรดมะม่วงด้วยเครื่องคัดผลมะม่วง โดยใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์ ของสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ธุรกิจส่งออกทุเรียนไทยใต้เงาทุนจีน เผยแพร่เมื่อ 24 เม.ย. 2018 ห้องเย็นจีนรุกตลาดไทย แปรรูปทุเรียนส่งขาย ร่วมทุนคนไทย เชิญสื่อจีนทำข่าวทุเรียนส่งออกทีมอลล์ถึงสวน ที่มา: https://youtu.be/5tPYLqdW0dk
ทุเรียนจันทบุรีราคาพุ่งสูงสุดโลละ 110 บาท ที่มา: https://youtu.be/pc0MA7mg6x0
รถไฟสายอนาคตของภาคตะวันออก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ยุคใหม่ ที่มา: https://youtu.be/5sf4KebCn5c
21 ก.พ. 61 ข่าวค่ำ มิติใหม่ ทั่วไทย คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยันคัดค้านโครงการก่อสร้างทางด่วนทุกรูปแบบ #ThaiPBSnews #ทางด่วน #เกษตร #มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มา: https://youtu.be/30m2uIAUor4
21 ก.พ. l ข่าวค่ำ มิติใหม่ ทั่วไทย การพัฒนาเส้นทางแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าอีก 7 สาย พร้อมกับการพัฒนาทางด่วน ที่มาพร้อมกับเสียงคัดค้านการสร้างทางด่วนจาก ม.เกษตรฯ #ThaiPBSnews #ทางด่วน #เกษตร #มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล #รถไฟฟ้า ที่มา: https://youtu.be/sHbN_10qTDc
ระบบอำนวยความสะดวกประกอบธุรกิจ Doing Business Portal ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=WybwTttP4DQ
กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
Phaholyothin Road Jatujakสำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น ทช.
กรมทางหลวงชนบท สสท. 9 ถนนพหลโยธิน อนุสาวรีย์ บางเขน กทมสำนักงานพัฒนาระบบบริหาร กรมทางหลวงชนบท
กรมทางหลวงชนบท ถ. พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมทางหลว
Phahonyothin Roadสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท
สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท ชั้น 7 อาคาร 4 เลขที่ 9 ถนน พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์กลุ่มงานสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม สำนักสำ
ถ. พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขนกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก RTA Chemical Department
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม กรุงเทพฯกองร้อยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ กรมทหารราบที่ ๑๑
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์Administrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana RoadQueen Sirikit National Convention Center
Queen Sirikit National Convention Center 60 Ratchadaphisek RoadGraduate School of Applied Statistics, NIDA
Serithai Roadสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ngam Wong Wan RoadChemistry at Mahidol University
Rama Vi Road Rachathewiสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี 5-7 Soi Sukhumvit