Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทย

Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทย พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร
เปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 16.00 น. ติดต่อสอบถามผ่าน Inbox ได้ทุกวันทำการเวลา 09.00 -16.00 น.
(11)

 #ตัวอะไร ? เชื่อแน่ว่าหลายคนคงเคยมีคำถามในใจ เมื่อกินเงาะแล้วเจอหนอนตัวเล็กๆ หรือรอยทำลายที่ขั้วผล วันนี้เรามาทำความรู้...
23/10/2023

#ตัวอะไร ?
เชื่อแน่ว่าหลายคนคงเคยมีคำถามในใจ เมื่อกินเงาะแล้วเจอหนอนตัวเล็กๆ หรือรอยทำลายที่ขั้วผล
วันนี้เรามาทำความรู้จักแมลงชนิดนี้กันค่ะ

หนอนเจาะขั้วผลเงาะ (cocoa pod borer) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘾𝙤𝙣𝙤𝙥𝙤𝙢𝙤𝙧𝙥𝙝𝙖 𝙘𝙧𝙖𝙢𝙚𝙧𝙚𝙡𝙡𝙖 (Snellen, 1904) (Lepidoptera: Gracillariidae) เป็นแมลงชนิดเดียวกับหนอนเจาะผลโกโกั

พบแพร่กระจายทั่วไปในประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย จัดเป็นแมลงศัตรูสำคัญของลิ้นจี่ ลำไย เงาะ โกโก้ และ อัมพวา มักพบหนอนอาศัยกัดกินอยู่ภายในผลบริเวณขั้วหรือต่ำกว่าขั้วผลลงมาเล็กน้อย บางครั้งอาจพบกัดกินถึงเมล็ด การทำลายของหนอนชนิดนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายมากแต่เป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค และไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก
ตัวเต็มวัยของหนอนเจาะขั้วผลเงาะ เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ลำตัวยาว 4.0 – 7.0 มิลลิเมตร เมื่อกางปีกออกจะมีความกว้าง 8.0 – 13.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้าเรียวยาว สีน้ำตาลดำ ปลายปีกสีเหลือง มีลวดลายสีขาว และมีขนที่ขอบล่างของปีก ปีกคู่หลังเล็กเรียวขนาดสั้นกว่าปีกคู่หน้า และมีขนยาวโดยรอบ มีหนวดยาวกว่าปีก เมื่อยู่ในสภาพเกาะนิ่งหนวดจะลู่ไปด้านหลัง

เพศเมียวางไข่ที่ผลเงาะ ไข่มีลักษณะกลมรี ความยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ระยะไข่ 2 – 7 วัน เมื่อฟักออกจากไข่ หนอนจะเจาะเข้าไปในผล ตัวหนอนมีสีขาวอมเหลือง หัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่ขนาด 8.0 – 12.0 มิลลิเมตร ระยะหนอน 14 – 18 วัน จากนั้นหนอนจะออกจากผลและไต่ลงมาโดยการสร้างใยและหาที่เหมาะสมเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 6 – 7 วัน

การป้องกันกำจัด
1. เก็บเกี่ยวในขณะที่ผลเงาะยังไม่สุกมากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของหนอน และเก็บผลเงาะที่ร่วงหล่นนำไปฝังทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูต่อไป
2. ในแหล่งที่มีการระบาด เมื่อผลเงาะเริ่มเปลี่ยนสีควรพ่นด้วย สารฆ่าแมลง carbary (Sevin 85% WP) อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน และหยุดพ่นสารก่อนเก็บ 10 วัน

เอกสารอ้างอิง
เกรียงไกร จำเริญมา ศรุต สุทธิอารมณ์ สราญจิต ไกรฤกษ์ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา บุษบง มนัสมันคง สัญญาณี ศรีคชา วิภาดา ปลอดครบุรี และ วนาพร วงษ์นิคง. 2554. แมลงศัตรูไม้ผล. กลุมบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนารอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 150 หน้า

ที่มาข้อมูล
ดร. สุนัดดา เชาวลิต นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

มดฮันนี่พอตออสเตรเลีย #มดฮันนี่พอตออสเตรเลีย # หรือ   Honeypot ant # มักเป็นชื่อที่ใช้เรียกมดงานที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ...
16/10/2023

มดฮันนี่พอตออสเตรเลีย

#มดฮันนี่พอตออสเตรเลีย # หรือ Honeypot ant # มักเป็นชื่อที่ใช้เรียกมดงานที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘊𝘢𝘮𝘱𝘰𝘯𝘰𝘵𝘶𝘴 𝘪𝘯𝘧𝘭𝘢𝘵𝘶𝘴 ซึ่งเป็นมดที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นมดงานที่มีฤติกรรมและรูปร่างเป็นที่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง โดยมดงานจะมีการขยายบริเวณส่วนท้องเพื่อใช้เป็นที่เก็บสำรองน้ำหวาน ซึ่งมดงานที่ทำหน้าที่นี้จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “repletes” โดยพบว่าบริเวณผนังส่วนท้องจะขยายออกเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำหวานที่ได้มดงานตัวอื่น ๆ นำมาป้อนให้จนทำให้มองดูเหมือนลูกแก้วหรือหม้อเก็บน้ำผึ้งขนาดเล็ก ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ มด Honeypot ant

เมื่อเกิดสภาวะขาดแคลนอาหารมดฮันนี่พอตจะใช้น้ำหวานที่เก็บไว้บริเวณส่วนท้องนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำรองสำหรับมดภายในรัง ด้วยขนาดของส่วนท้องที่ขยายใหญ่คล้ายลูกโป่งนี้เองทำให้ มันไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากมาย จึงมักพบมดฮันนี้พอต แขวนตัวอยู่นึ่ง ๆ ภายในรัง ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะแห้งแล้งหรือขาดแคลนอาหาร จะพบมดมดงานอื่น ๆ มา ดูดกินน้ำหวานจากมดฮันนี่พอตที่เกาะอยู่ที่ผนังของรัง

โดยทั่วไปแล้วมดชนิดนี้จะอาศัยอยู่ใต้ดินที่มีสภาพแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง พบมากในทวีปออสเตรเลีย ดังนั้นนอกจากมดฮันนี่พอตจะเป็นที่เก็บน้ำหวานสำหรับบรรดามดด้วยกันแล้ว มดฮันนี่พอตยังเป็นอาหารแสนโอชะของงชนเผ่าอะบอริจิน ชนเผ่าพื้นเมืองที่ดำรงชีวิตอยู่ในทวีปออสเตรเลียอีกด้วยเช่นกัน

ที่มาข้อมูล
ดร. ยุวรินทร์ บุญทบ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ทำไมแมลงสาบไม่สูญพันธุ์เหมือนไดโนเสาร์!! #แมลงสาบ    เราได้เคยเรียนรู้กันแล้วนะครับว่า แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบ...
08/10/2023

ทำไมแมลงสาบไม่สูญพันธุ์เหมือนไดโนเสาร์!!
#แมลงสาบ

เราได้เคยเรียนรู้กันแล้วนะครับว่า แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์หรือแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น กลุ่มตั๊กแตน แมลงกระชอน จิ้งหรีด และแมลงสาบ จะมีวิวัฒนาการต่ำกว่าพวกที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ จากไข่ ตัวอ่อน ดักแด้และตัวเต็มวัย เช่น พวกผีเสื้อ ด้วง แมลงวัน ยุง แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม๊ครับว่าแมลงสาบหรือแมลงในกลุ่ม Blattodea ซึ่งเกิดมาในยุค Carboniferous ประมาณ 350 ล้านปี ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนไดโนเสาร์ด้วยซ้ำ (200 – 250 ล้านปี) แต่ #ทำไมแมลงสาบถึงไม่สูญพันธุ์เหมือนไดโนเสาร์ วันนี้จึงจะขอมาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขปครับ

อันแรกเลยคือคุณสมบัติที่สำคัญของแมลงคือเป็นสัตว์เลือดเย็น สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาวในยุคน้ำแข็งหรือมีภูเขาไฟระเบิด แมลงสาบก็สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ครับ ลำดับต่อมาคือขนาดซึ่งแมลงสาบมีขนาดเล็กมีความสามารถในการหลบหลีกหรือหลบซ่อนศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้พื้นที่จะแคบหรือเล็กแค่ใหนแมลงสาบก็สามารถใช้ลำตัวที่ยืดหยุ่นหลบหลีกแทรกผ่านไปได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความสามารถในการขยายพันธุ์ แมลงสาบตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ประมาณ 15 ครั้งต่อปี และในแต่ตัวสามารถวางไข่ได้ 20 – 40 ฟองขึ้นอยู่กับชนิด เพราะฉะนั้นในหนึ่งปีสามารถวางไข่ได้ถึง 500 – 600 ฟองต่อตัวเมียหนึ่งตัว แล้วทราบไหม๊ครับว่าแมลงสาบมีจำนวนชนิดสูงถึง 4,000 ชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติและในบ้านเรือน ศักยภาพในการกินของแมลงสาบเป็นแบบ omnivorous scavenger คือกินซากสิ่งปฏิกูลของเน่าเปื่อย และกินทุกอย่างทั้งสัตว์และพืช จึงเป็นไปได้ยากที่แมลงชนิดนี้จะอดตายหรือขาดอาหาร ได้มีบทความได้เขียนเกี่ยวกับแมลงสาบว่าสามารถอยู่รอดหากมีดาวหางหรืออุกกาบาตวิ่งชนโลกหรือเกิดสงครามนิวเคลียร์ ลองหาอ่านดูนะครับ และยังไม่รายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่างเกี่ยวกับความสามารถของแมลงสาบทั้งด้านสรีรววิทยาและการดำรงชีวิตแต่วันนี้คุยกันเล็กน้อยพอประมาณครับ

# # # #
ที่มาของข้อมูล
ดร.จารุวัตถ์ แต้กุล
นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5 จำนวน 68 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและเข้าเยี่ยมชมพิพิธ...
06/10/2023

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5 จำนวน 68 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์-นิทรรศการแมลง กรมวิชาการเกษตร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับแมลงเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นอนุบาลได้มีประสบการณ์ตรงในบรรยากาศที่เหมาะสม

พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร ขอขอบพระคุณโรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5 ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม มา ณ ที่นี้

หากโรงเรียนใดสนใจจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านแมลงสามารถติดต่อสอบถามได้ทาง Inbox ของเพจ Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทย หรือ โทร 0 2579 5583 ในวันทำการเพื่อนัดวันเข้าชมได้เลยนะครับ

 # เปิดโลกส่องแมลง #  “มวน” ตอนที่ 15         “มวนนักกล้าม” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘼𝙣𝙤𝙥𝙡𝙤𝙘𝙣𝙚𝙢𝙞𝙨 𝙥𝙝𝙖𝙨𝙞𝙖𝙣𝙖  (Fabricius, 1781...
02/10/2023

# เปิดโลกส่องแมลง # “มวน” ตอนที่ 15
“มวนนักกล้าม” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘼𝙣𝙤𝙥𝙡𝙤𝙘𝙣𝙚𝙢𝙞𝙨 𝙥𝙝𝙖𝙨𝙞𝙖𝙣𝙖 (Fabricius, 1781) จัดอยู่ในอันดับ (Order) Hemiptera วงศ์ (Family) Coreidae มวนชนิดนี้มีลำตัวโตยาวประมาณ 20-30 มิลลิเมตร สันหลังของอกปล้องแรกกว้างที่สุดประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีต่างกันไปตั้งแต่สีเหลืองปนน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ปนแดง หรือมีสีแก่จนเกือบดำ หนวดมีสีคล้ายกับลำตัวยกเว้นปล้องสุดท้ายมีสีอ่อนกว่า ส่วนท้องด้านบนมีสีแดงยกเว้นตรงขอบและปลายสีเกือบดำ โคนขาหลัง (femur) มีขนาดใหญ่โต ตามขอบมีลักษณะเป็นปุ่มหรือฟันเล็กๆ คล้ายฟันเลื่อย มีปุ่มที่โคนและปลายข้างละปุ่มโตกว่าปุ่มตามขอบ ส่วนท้องทางด้านข้างของลำตัวปล้องที่ 2-3 มีขอบโป่งออกมา
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบดูดกินยอดและฝักอ่อนของพืชตระกูลถั่วเป็นอาหาร ถั่วที่ถูกทำลายได้รับความเสียหายมาก เช่น ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว เป็นต้น โดยดูดกินตรงยอดอ่อน ใบ ดอก และฝัก ทำให้ต้นเหี่ยว ฝักแห้งและร่วงหล่นก่อนกำหนด ถ้าหากมีแมลงเหล่านี้ระบาดมากๆ อาจทำให้ต้นเสียหาย ไม่มีฝัก หรือผลที่จะเก็บได้ จึงจัดได้ว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งระบาดขึ้นได้เป็นครั้งคราว
“มวน” ยังมีความน่าสนใจอีกมากมาย...ไว้ติดตามกันตอนต่อไปใน เปิดโลกส่องแมลง “มวน” ตอนที่ 16 >>>>

ที่มาข้อมูล
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร
นักกีฏวิทยาชำนาญการ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี และ  #ผีเสื้อปิกาโซ เมื่อกล่าวถึงผีเสื้อกลางคืน ภาพจำของผู้คนส่วนมากมักนึกถึงผีเสื้อที่ไม่มีสีสั...
25/09/2023

#ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี และ #ผีเสื้อปิกาโซ

เมื่อกล่าวถึงผีเสื้อกลางคืน ภาพจำของผู้คนส่วนมากมักนึกถึงผีเสื้อที่ไม่มีสีสันหรือไม่มีลวดลายที่สวยงานประดับอยู่บนปีก ดังเช่นที่พบในผีเสื้อกลางคืนส่วนมากในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Family Noctuidae) ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กที่มักเป็นศัตรูพืช

แต่ในความจริงแล้วนั้นยังมีผีเสื้ออีกหลายชนิดในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้นี้ที่มีสีสันและลวดลายโดดเด่นสวยงาม ในบทความครั้งนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำและกล่าวถึงผีเสื้อสองชนิดในวงศ์นี้ที่น่าสนใจ มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าผีเสื้อชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้แก่ “ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี” และ “ผีเสื้อปิกาโซ”

โดย “ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี” ชนิด 𝘈𝘱𝘴𝘢𝘳𝘢𝘴𝘢 𝘳𝘢𝘥𝘪𝘢𝘯𝘴 (Westwood, 1848) อยู่ในวงศ์ย่อย Noctuinae สกุล 𝘈𝘱𝘴𝘢𝘳𝘢𝘴𝘢 Moore, 1867 มีชื่อสามัญว่า “Radiating Owlet” เนื่องจากลักษณะของลวดลายในปีกคู่หน้า มีลวดลายคล้ายเส้นรัศมีแผ่ออกจากแถบสีเข้มตรงกลางปีกไปยังส่วนของขอบปีก จึงเป็นที่มาของชื่อชนิด “𝘳𝘢𝘥𝘪𝘢𝘯𝘴” และชื่อสกุล “𝘈𝘱𝘴𝘢𝘳𝘢𝘴𝘢” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Apsaras” หรือ “Apsara” ที่หมายถึง นางอัปสร หรือ นางอัปสรา ซึ่งเป็นนางสวรรค์ประเภทหนึ่งตามเทวคติและวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาคอินเดียรวมถึงภูมิภาคอุษาคเนย์

ดังที่สามารถพบเห็นได้เป็นรูปสลักภายในบริเวณพื้นที่เทวาลัย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญนี้ ซึ่งสามารถเปรียบผีเสื้อชนิดนี้ว่ามีความงดงามดั่งนางอัปสรที่อาศัยอยู่บนสวรรค์ ในขณะที่ “ผีเสื้อปิกาโซ” ชนิด 𝘉𝘢𝘰𝘳𝘪𝘴𝘢 𝘩𝘪𝘦𝘳𝘰𝘨𝘭𝘺𝘱𝘩𝘪𝘤𝘢 Moore, 1882 อยู่ในวงศ์ย่อย Pantheinae สกุล 𝘉𝘢𝘰𝘳𝘪𝘴𝘢 Moore, 1882 มีชื่อสามัญว่า “Picasso Moth” เนื่องจากลักษณะของลวดลายของปีกคู่หน้า มีลวดลายสวยงามคล้ายลายเส้นภาพจิตรกรรมที่รังสรรค์โดยศิลปินเอกของโลกชาวสเปนผู้ล่วงลับ “ปาโบล รุยซ์ ปิกาโซ (Pablo Ruiz Picasso)”

อย่างไรก็ตามผู้ที่ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของผีเสื้อชนิดนี้ คือ Frederick Moore มีความเห็นว่า ลวดลายบริเวณปีกคู่หน้านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักขระอียิปต์โบราณ (hieroglyphics) จึงเป็นที่มาของชื่อชนิด“𝘩𝘪𝘦𝘳𝘰𝘨𝘭𝘺𝘱𝘩𝘪𝘤𝘢”

ผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะเพศผู้และเพศเมียใกล้เคียงกันในแต่ละชนิดและเป็นที่น่าสนใจว่าผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัยที่คล้ายคลึงกัน โดยพบอาศัยในป่าดิบชื้นทั่วประเทศไทย ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำจนถึงพื้นที่ในระดับความสูงประมาณ1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางแต่ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมีมักพบได้บ่อยกว่าผีเสื้อปิกาโซ เนื่องจากผีเสื้อปิกาโซมักพบในพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากกว่าผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี

และแม้ว่าจะสามารถพบผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้ได้เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย แต่ไม่มีรายงานการพบในพื้นที่ภาคกลางบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่มาข้อมูล
นายอาทิตย์ รักกสิกร นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #เพลี้ยไก่แจ้ส้ม # (Asian citrus psyllid)เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Asian citrus psyllid) มีชื่อวิทยาศาสตร์ 𝘿𝙞𝙖𝙥𝙝𝙤𝙧𝙞𝙣𝙖 𝙘𝙞𝙩𝙧𝙞 Kuwa...
18/09/2023

#เพลี้ยไก่แจ้ส้ม # (Asian citrus psyllid)

เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Asian citrus psyllid) มีชื่อวิทยาศาสตร์ 𝘿𝙞𝙖𝙥𝙝𝙤𝙧𝙞𝙣𝙖 𝙘𝙞𝙩𝙧𝙞 Kuwayama จัดอยู่ในวงศ์ Psyllidae อันดับ Hemiptera เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ความยาวจากส่วนหัวถึงปลายปีก 3 – 4 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีสีเทาปนน้ำตาลขอบปีกมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนของปีกมีลักษณะคล้ายหางไก่แจ้ ขณะที่เกาะอยู่กับที่ลำตัวจะทำมุม 45 องศากับแนวที่เกาะ หากได้รับการกระทบกระเทือนจะกระโดดหนี

หลังจากผสมพันธุ์เพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มหรือฟองเดี่ยวๆ ที่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ตัวอ่อนมีสีเหลือง ลำตัวค่อนข้างกลมแบน มีตาสีแดง 1 คู่ เห็นได้ชัดเจน ตัวอ่อนมี 5 วัย ระยะเวลาประมาณ 11 – 15 วัน ตัวอ่อนเมื่อฟักจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน ซึ่งขณะดูดกินจะสร้างขี้ผึ้งสีขาวหรือบางครั้งมีลักษณะเป็นเส้นด้ายปกคลุมลำตัว ใบที่ถูกทำลายจะหงิกงอ และเหี่ยวแห้งได้ ถ้ามีการเข้าทำลายรุนแรงทำให้ใบร่วงติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย

นอกจากนี้เพลี้ยไก่แจ้ส้มยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคใบเหลืองต้นโทรม หรือกรีนนิ่ง (greening disease) วงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัย 20 – 47 วัน เพลี้ยไก่แจ้ส้มเป็นศัตรูสำคัญของพืชตระกูลส้มทุกชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว ส้มเกลี้ยง เป็นต้น นอกจากนี้ต้นแก้ว 𝙈𝙪𝙧𝙧𝙖𝙮𝙖 𝙥𝙖𝙣𝙞𝙘𝙪𝙡𝙖𝙩𝙚 (Linneaus) เป็นพืชอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

แมลงศัตรูชนิดนี้พบระบาดทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยพบในแหล่งปลูกส้ม โดยพบปริมาณมากในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม และพฤษภาคม – กรกฏาคม

ที่มาข้อมูล
เกศสุดา สนศิริ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #ศัตรูพืช  #กำจัดวัชพืชเราทราบกันดีกว่า เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ เนื่องจากมีปากเป็นแบบเจาะดูดที่สามารถ...
11/09/2023

#ศัตรูพืช #กำจัดวัชพืช

เราทราบกันดีกว่า เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ เนื่องจากมีปากเป็นแบบเจาะดูดที่สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากเนื้อเยื่อของพืชได้ และหากมีการเข้าทำลายจำนวนมากหรือมีการระบาดอย่างรุนแรง สามารถส่งผลให้ต้นพืชเหล่านั้นตายลงได้

แต่อย่างไรก็ตามในบางประเทศได้พิจารณานำเอาความสามารถของเพลี้ยหอยเพลี้ยแป้งที่กล่าวมาข้างต้น มาประยุกต์ใช้เพื่อกำจัดวัชพืชในพื้นที่ของตัวเอง เช่น ในประเทศสเปน มีการพิจารณานำเอาเพลี้ยเกราะอ่อน ชนิด 𝘗𝘶𝘭𝘷𝘪𝘯𝘢𝘳𝘪𝘦𝘭𝘭𝘢 𝘮𝘦𝘴𝘦𝘮𝘣𝘳𝘺𝘢𝘯𝘵𝘩𝘦𝘮𝘪 (Vollot) วงศ์ Coccidae มากำจัดวัชพืชกลุ่ม ice plants ในสกุล 𝘊𝘢𝘳𝘱𝘰𝘣𝘳𝘰𝘵𝘶𝘴 วงศ์ Aizoaceae ซึ่งแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งของสเปน

ในออสเตรเลียและอเมริกาใต้ ได้นำเอาเพลี้ยแป้ง ชนิด 𝘋𝘢𝘤𝘵𝘺𝘭𝘰𝘱𝘪𝘶𝘴 𝘵𝘰𝘮𝘦𝘯𝘵𝘰𝘴𝘶𝘴 (Lamarck) เพื่อนำมาใช้กำจัดพืชในกลุ่ม 𝘊𝘺𝘭𝘪𝘯𝘥𝘳𝘰𝘱𝘶𝘯𝘵𝘪𝘢 วงศ์ Cactaceae นอกจากนี้ในออสเตรเลีย ยังมีการใช้เพลี้ยแป้งชนิด 𝘈𝘯𝘵𝘰𝘯𝘪𝘯𝘢 𝘢𝘶𝘴𝘵𝘳𝘢𝘭𝘪𝘴 เพื่อนำมาใช้กำจัดวัชพืช ชนิด 𝘊𝘺𝘱𝘦𝘳𝘶𝘴 𝘳𝘰𝘵𝘶𝘯𝘥𝘶𝘴 ในรัฐ Queensland ซึ่งโครงการนี้ได้มีการระงับโครงการเมื่อพบว่าการนำเพลี้ยแป้งที่นำมาใช้อาจกลายเป็นศัตรูพืชที่รุนแรงต่อการปลูกพืชในพื้นที่

ดังนั้นการจะพิจารณานำแมลงในกลุ่มเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย มาใช้เพื่อกำจัดวัชพืชนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความเฉพาะเจาะจงกับพืชอาหาร สภาพพื้นที่ การควบคุมการแพร่กระจายไปสู่ภาคการเกษตร และความคุ้มค่าทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง
Froggatt, W.W. (1904) The nut grass coccid (Antonina australis Green). Agricultural Gazette of New South Wales 15, 407 – 410.

Mathenage, C.W., Holford, P., Hoffman, J.H., Zimmermann, H.G. Spooner-Hart, R. and Beattie, G.A.C. 2009. Distinguishing suitable biotypes of Dactylopius tomentosus (Hemiptera : Dactylopiidae) for biological control of Cylindropuntia fulgida var. fulgida (Caryophyllales: Cactaceae) in South Africa. Bulletin of Entomological Research 99(6), 619-627.

Moran, V.C. and Zimmermann, H.G. 1984. The biological control of cactus weeds: achievements and prospects. Biocontrol News and Information 5, 297-320

Vieites-Blanco, C., Retuerto, R. Rodriguez Lado, L. and Lema 2020. Potential distribution and population dynamics of Pulvinariella mesembryanthemi, a promising biocontrol agent of the invasive plant species Carpobrotus edulis and C. aff. acinaciformis. Entomologia Generalis 40 (2), 173- 185. doi: 10.1127/entomologia/2020/0758

ที่มาข้อมูล
ชมัยพร บัวมาศ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #5ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแมลงปอ แมลงบินได้หลายชนิด เช่น ยุง ผึ้ง ต่อ แตน รวมถึงแมลงวัน มักสร้างความรำคาญใจให้กับมนุษย์ แต่...
03/09/2023

#5ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแมลงปอ

แมลงบินได้หลายชนิด เช่น ยุง ผึ้ง ต่อ แตน รวมถึงแมลงวัน มักสร้างความรำคาญใจให้กับมนุษย์ แต่แมลงปอเป็นข้อยกเว้นเพราะแมลงปอมีความมหัศจรรย์มากกว่าแมลงที่กล่าวมาข้างต้นตามภาพ

แมลงปอจัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ช่วยควบคุมปริมาณยุงโดยการกินลูกน้ำ รวมถึงศัตรูพืชในแปลงเกษตรกร

อ่านจบแล้วอย่าลืมช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำเพื่อร่วมกันสร้างบ้านใหม่ให้แมลงปอกันอีกครั้งนะครับ

เรียบเรียงบทความโดย
อิทธิพล บรรณาการ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ที่มาบทความ
https://www.smithsonianmag.com/science-nature/14-fun-facts-about-dragonflies-96882693/

 #ขนคันจากหนอนผีเสื้อ (Urticating Lepidoptera) บุ้ง ร่าน เป็นกลุ่มของหนอนผีเสื้อที่ตามลำตัวจะมีขนคัน (Urticating hair) โ...
27/08/2023

#ขนคันจากหนอนผีเสื้อ (Urticating Lepidoptera)

บุ้ง ร่าน เป็นกลุ่มของหนอนผีเสื้อที่ตามลำตัวจะมีขนคัน (Urticating hair) โดยที่ปลายขนจะมีลักษณะเป็นหนามแหลม ตรงกลางขนจะเป็นท่อกลวง โคนของท่อจะเชื่อมต่อกับต่อมพิษ (Poison gland) ซึ่งอยู่ที่โคนขนคัน น้ำพิษจะถูกหลั่งออกมาเมื่อถูกสัมผัส และเข้าสู่ร่างกายได้อาจจะเกิดโดยตรงจากการสัมผัสกับแมลง หรือโดยทางอ้อมจากการสัมผัสกับขนซึ่งปลิวมาในอากาศ ความรุนแรงของพิษขึ้นอยู่กับชนิดของหนอน

อาการที่เกิดจากสารพิษเกิดได้หลายรูปแบบ มีตั้งแต่ คัน ปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มใส เป็นผื่นลมพิษ เป็นต้น ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อหดเกร็ง ชา หายใจลำบาก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากเป็นผื่นลมพิษ อาจจะล้างด้วยแอมโมเนียและตามด้วยขี้ผึ้งซึ่งประกอบด้วย ichthyol 10 % เพื่อบรรเทาอาการ กรณีที่มีการแพ้รุนแรงอาจจำเป็นต้องนำส่งโรงพยาบาล

ที่มาข้อมูล
ดร. สุนัดดา เชาวลิต นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #ด้วงไทรโลไบท์ ( ) หรือ  #หิ่งห้อยยักษ์เทียม ด้วงไทรโลไบท์ (Trilobite Beetle) หรือ หิ่งห้อยยักษ์เทียม เป็นแมลงในอันดับ ...
20/08/2023

#ด้วงไทรโลไบท์ ( ) หรือ #หิ่งห้อยยักษ์เทียม

ด้วงไทรโลไบท์ (Trilobite Beetle) หรือ หิ่งห้อยยักษ์เทียม เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera วงศ์ Lycidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘗𝘭𝘢𝘵𝘦𝘳𝘰𝘥𝘳𝘪𝘭𝘶𝘴 sp. ทั้งนี้ตัวเต็มวัยด้วงไทรโลไบท์เพศผู้มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับแมลงในกลุ่มด้วง แต่ด้วงไทรไลไบท์เพศเมียนั้นมีรูปร่างแปลกและมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

โดยเพศเมียจะคงลักษณะเป็นตัวหนอนตลอดวงจรชีวิต (larviform female) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร ซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แปลกตามีความคล้ายคลึงกับไทรโลไบท์ (Trilobite) สิ่งมีชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ด้วงไทรโลไบท์นั้นมีวิวัฒนาการมาเมื่อประมาณ 47 ล้านปีก่อน หลังจากที่ไทรโลไบท์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 200 ล้านปี

นอกจากนี้ด้วงไทรโลไบท์เพศเมียยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับหิ่งห้อยยักษ์เพศเมียแต่แตกต่างกันที่ไม่มีปล้องแสงบริเวณปลายส่วนท้อง จึงทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หิ้งห้อยยักษ์เทียม"

ด้วงไทรโลไบท์จัดเป็นแมลงหายาก-ใกล้สูญพันธุ์ พบเห็นได้ยาก เนื่องจากด้วงไทรโลไบท์มักดำรงชีวิตอยู่เฉพาะป่าดิบชื้นที่คงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งด้วงไทรโลไบท์ที่พบในประเทศไทยนั้นมีเพียงการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ในเบื้องต้น

และถือเป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจพบและนำมาเลี้ยงเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับวงจรชีวิตของเจ้าด้วงดึกดำบรรพ์ชนิดนี้

ที่มาข้อมูล
ดร. ยุวรินทร์ บุญทบ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #กำเนิดแมลง  #วิวัฒนาการของแมลงแมลงวันกับแมลงสาบอะไรเกิดก่อนกัน และนักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไร!!พอดีมีเด็กๆ ถามว่าแมลงว...
14/08/2023

#กำเนิดแมลง #วิวัฒนาการของแมลง
แมลงวันกับแมลงสาบอะไรเกิดก่อนกัน และนักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไร!!

พอดีมีเด็กๆ ถามว่าแมลงวันกับแมลงสาบอะไรเกิดก่อนกัน หรือบ้างก็ถามว่า ระหว่างแมลงกับไดโนเสาร์อะไรเกิดก่อนกัน แล้วนักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไร วันนี้จะมาคุยให้ฟังสั้นๆ สนุกๆ พอเป็นกระษัยครับ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากชนิดมากที่สุดในโลกในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และในอดีตนักกีฏวิทยาทำการจัดกลุ่มและเรียกชื่อชนิดของแมลงหรือแม้แต่ศึกษาวิวัฒนาการของแมลง จากลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกเพียงอย่างเดียว เช่น ลำตัว ปีก เส้นขน เป็นต้น

แต่ปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงระดับเซลล์หรือดีเอ็นเอในการยืนยันวินิจฉัยชนิดของแมลงเพื่อความถูกต้องและชัดเจน เช่นเดียวกันในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงมีการใช้มากกว่าชิ้นส่วนของดีเอ็นเอหรือยีนส์ แต่เป็นการใช้องค์ประกอบมูลฐานของโปรตีนหรือที่เรียกว่ากรดอะมิโน ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลง มีการศึกษาทั้งซากดึกดำบรรพ์และแมลงที่ค้นพบในปัจจุบัน แล้วเค้าทำกันอย่างไร

เริ่มจากนักวิทยาศาสตร์สกัดโปรตีนและดีเอ็นเอออกมาจากเซลล์ของแมลง หลังจากนั้นเค้าก็ไปแปลงเป็นรหัสพันธุกรรม (ATCG ที่เรารู้จักกัน) และนำมาเรียงเป็นแถวเปรียบเทียบเพื่อเข้ากระบวนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียก ว่า Phylogenomic analysis

ส่วนผลที่ได้มาทำให้เราพอสรุปได้ง่ายๆ ว่า แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ จากไข่ ตัวอ่อน ดักแด้และตัวเต็มวัย เช่น พวกผีเสื้อ ด้วง แมลงวัน ยุง จะมีวิวัฒนาการที่สูงกว่าแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์หรือแบบ เปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละเล็กทีละน้อย เช่น กลุ่มตั๊กแตน แมลงกระชอน จิ้งหรีด และแมลงสาบ เป็นต้น

นอกจากนี้แมลงขนาดเล็กพวก ตัวสองง่าม แมลงหางดีด และชีปะขาว จะเกิดในยุค Silurian ซึ่งเป็นยุคที่ยังไม่มีการเกิดของไดโนเสาร์ ส่วนยุค Carboniferous ประมาณ 350 ล้านปีเป็นยุคที่มีการเกิดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำซึ่งยุคนี้จะมีการเกิดของแมลงกลุ่มแมลงปอ จิ้งหรีดและเพลี้ยขนาดเล็ก

ส่วนไดโนเสาร์เกิดขึ้นในช่วงกลางของยุค Triassic ประมาณ 200 – 250 ล้านปี ซึ่งยุคนี้จะมีการเกิดของแมลงกลุ่ม ผีเสื้อ แมลงวัน และยุง หากจำกันได้ในภาพยนต์เรื่อง Jurassic Park เราจะเห็นยุงที่ไปดูดเลือดไดโนเสาร์ ก็พอสังเขปนะครับสำหรับความสนุกเล็กๆ น้อยๆ ของจุดกำเนิดของแมลง

เอกสารอ้างอิง
Bernhard Misof et al. 2014. Phylogenomics resolves the timing and pattern of insect evolution. Science 346, 763. DOI: 10.1126/science.1257570.

# # # #
ที่มาของข้อมูล
ดร.จารุวัตถ์ แต้กุล
นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #เปิดโลกส่องแมลง “มวน” ตอนที่ 14“มวนธัญพืช” (Two spotted sesame bug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘌𝘺𝘴𝘢𝘳𝘤𝘰𝘳𝘪𝘴 𝘨𝘶𝘵𝘵𝘪𝘨𝘦𝘳 (Thunberg...
06/08/2023

#เปิดโลกส่องแมลง “มวน” ตอนที่ 14

“มวนธัญพืช” (Two spotted sesame bug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘌𝘺𝘴𝘢𝘳𝘤𝘰𝘳𝘪𝘴 𝘨𝘶𝘵𝘵𝘪𝘨𝘦𝘳 (Thunberg, 1783) จัดอยู่ในอันดับ (Order) Hemiptera วงศ์ (Family) Pentatomidae

มวนชนิดนี้มีลำตัวยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีเหลืองปนแดงอ่อน และมีจุดเป็นรูเล็กๆ เท่าปลายเข็มสีดำปนสีบรอนซ์กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีขอบด้านข้างของสันหลังอกปล้องแรก สามเหลี่ยมสันหลังเห็นได้ชัดเจน มีจุดใหญ่สองจุดบนสามเหลี่ยมสันหลัง หนวดมีสีน้ำตาลอ่อน ปลายหนวดสีดำ ด้านล่างของลำตัวและขาสีเหลืองปนน้ำตาลอ่อน ตรงกลางของอกและด้านล่างท้องมีสีดำ

พืชอาหารของมวนชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าว ข้าวโพด งา และพืชตระกูลหญ้า โดยชอบดูดกินเมล็ดอ่อน ผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน และลำต้นพืช ทำให้ต้นและผลเจริญช้า หรือมีอาการแคระแกร็นไม่น่ารับประทาน

“มวน” ยังมีความน่าสนใจอีกมากมาย...ไว้ติดตามกันตอนต่อไปใน เปิดโลกส่องแมลง “มวน” ตอนที่ 15>>>>

ที่มาข้อมูล
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร นักกีฏวิทยาชำนาญการ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #ผีเสื้อหางติ่ง สกุลย่อย 𝘈𝘤𝘩𝘪𝘭𝘭𝘪𝘥𝘦𝘴 ในประเทศไทยผีเสื้อหางติ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงในบทความครั้งนี้ เป็นผีเสื้อกลางวันขนาด...
29/07/2023

#ผีเสื้อหางติ่ง สกุลย่อย 𝘈𝘤𝘩𝘪𝘭𝘭𝘪𝘥𝘦𝘴 ในประเทศไทย

ผีเสื้อหางติ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงในบทความครั้งนี้ เป็นผีเสื้อกลางวันขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง Papilionidae วงศ์ย่อย Papilioninae เผ่า Papilionini สกุล 𝘗𝘢𝘱𝘪𝘭𝘪𝘰 Linnaeus, 1758 สกุลย่อย 𝘈𝘤𝘩𝘪𝘭𝘭𝘪𝘥𝘦𝘴 Hübner, [1819] มีชื่อสามัญว่า “Peacock”

เนื่องจากลักษณะทางด้านใต้ของปีกคู่หลังบริเวณขอบปีก มีจุดลวดลายเป็นวงสีแดงเรียงตัวตามขอบปีกนี้ (submarginal spots) ดูคล้ายกับนกยูงยามรำแพนหาง อีกทั้งด้านบนของปีกผีเสื้อกลุ่มนี้มักมีสีสันสดใส สีเขียว สีเขียวอมฟ้า หรือสีฟ้า จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญนี้ ซึ่งในประเทศไทยพบผีเสื้อหางติ่งสกุลย่อยนี้ จำนวน 4 ชนิด คือ

1. ผีเสื้อหางติ่งปารีส 𝘗𝘢𝘱𝘪𝘭𝘪𝘰 𝘱𝘢𝘳𝘪𝘴 Linnaeus, 1758 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Paris Peacock ผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะใกล้เคียงกัน พบอาศัยในป่าดิบชื้น พื้นที่ต่ำจนถึงพื้นที่ระดับความสูงประมาณ 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบได้บ่อยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้พบได้ในบางพื้นที่ แต่ไม่พบในพื้นที่ภาคกลางบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

2. ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน 𝘗𝘢𝘱𝘪𝘭𝘪𝘰 𝘢𝘳𝘤𝘵𝘶𝘳𝘶𝘴 Westwood, 1842 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Blue Peacock ผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะใกล้เคียงกัน พบอาศัยในป่าดิบเขาที่ระดับความสูงประมาณ 1,500 – 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน

3. ผีเสื้อหางติ่งแววมยุรา 𝘗𝘢𝘱𝘪𝘭𝘪𝘰 𝘣𝘪𝘢𝘯𝘰𝘳 Cramer, 1777 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Common Peacock ผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะแตกต่างกัน โดยผีเสื้อเพศผู้มีกลุ่มขนที่สร้างฟีโรโมน (androconial scales) บริเวณปีกคู่หน้า ซึ่งไม่พบในผีเสื้อเพศเมีย แต่ผีเสื้อเพศเมียมีสีสันสดใสกว่าในเพศผู้ สำหรับผีเสื้อชนิดนี้พบอาศัยในป่าดิบชื้น พื้นที่ต่ำจนถึงพื้นที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แบ่งออกเป็น3 ชนิดย่อย ได้แก่

𝘗. 𝘣𝘪𝘢𝘯𝘰𝘳 ssp. 𝘴𝘵𝘰𝘤𝘬𝘭𝘦𝘺𝘪 Gabriel, 1936 พบในจังหวัดตาก
𝘗. 𝘣𝘪𝘢𝘯𝘰𝘳 ssp. 𝘵𝘳𝘪𝘶𝘮𝘱𝘩𝘢𝘵𝘰𝘳 Fruhstorfer, 1902 พบในจังหวัดน่าน
𝘗. 𝘣𝘪𝘢𝘯𝘰𝘳 ssp. 𝘱𝘪𝘯𝘳𝘢𝘵𝘢𝘯𝘢𝘪 Racheli & Cotton, 1983 พบในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจันทบุรี

4. ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว 𝘗𝘢𝘱𝘪𝘭𝘪𝘰 𝘱𝘢𝘭𝘪𝘯𝘶𝘳𝘶𝘴 Fabricius, 1787 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Banded Peacock ผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะใกล้เคียงกัน พบอาศัยในป่าดิบชื้น พื้นที่ต่ำจนถึงพื้นที่ระดับความสูงประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรี ตลอดคาบสมุทรมลายู

ผีเสื้อหางติ่งชนิดที่กล่าวถึงนี้ มีระยะวงจรชีวิตประมาณปีละ 2 - 3 รุ่น (multivoltine) ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ตัวหนอนกินใบพืชหลายชนิดในวงศ์ส้ม Rutaceae โดยเฉพาะสกุลกำจัดต้น 𝘡𝘢𝘯𝘵𝘩𝘰𝘹𝘺𝘭𝘶𝘮 สกุลเครืองูเห่า 𝘛𝘰𝘥𝘥𝘢𝘭𝘪𝘢 และสกุลเพี้ยกระทิง 𝘔𝘦𝘭𝘪𝘤𝘰𝘱𝘦 ส่วนผีเสื้อตัวเต็มวัยมักพบบินดูดน้ำหวานจากดอกไม้หลายชนิดในป่า

สำหรับในประเทศไทย ผีเสื้อหางติ่งในสกุลย่อยนี้เฉพาะผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียวเพียงชนิดเดียวถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของไทย

ที่มาข้อมูล
อาทิตย์ รักกสิกร นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #เสาอากาศเคลื่อนที่หากพูดถึงเสาอากาศ ทุกคนคงนึกถึงอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์หรือวิทยุ แต่ในวันนี้เราจะมารู้จักแมลงชนิดหนึ...
24/07/2023

#เสาอากาศเคลื่อนที่

หากพูดถึงเสาอากาศ ทุกคนคงนึกถึงอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์หรือวิทยุ แต่ในวันนี้เราจะมารู้จักแมลงชนิดหนึ่งที่มีอวัยวะคล้ายเสาอากาศติดตัวตลอดเวลา แมลงชนิดนั้นคือ “เพลี้ยอ่อน” (Aphid)

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดศัตรูสำคัญของพืชหลายชนิดในบ้านเรา เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ่อนนุ่มเคลื่อนไหวได้ช้า จัดอยู่ในอันดับ (Order) Hemiptera อันดับย่อย (Suborder) Sternorrhyncha วงศ์ (Family) Aphididae ซึ่งลักษณะเด่นของเพลี้ยอ่อนคือ ปลายท้องด้านบนบริเวณปล้องที่ 5 หรือ 6 มีท่อเรียวยาวคล้ายเสาอากาศ จำนวน 1 คู่ ที่เรียกว่า ไซฟังคูไล (siphuncululi) หรือ คอร์นิเคิล (cornicle) ซึ่งจะมีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกันในเพลี้ยอ่อนแต่ละชนิด

ท่อนี้ไม่ได้มีไว้รับสัญญาณแต่อย่างใด แต่เพลี้ยอ่อนจะใช้ในการปล่อยของเหลวเหนียวออกมาเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู เช่น ตัวห้ำ โดยของเหลวจะติดตามหนวดหรือปากของตัวห้ำ เช่น เพลี้ยอ่อนสำลี 𝘊𝘦𝘳𝘢𝘵𝘰𝘷𝘢𝘤𝘶𝘯𝘢 𝘭𝘢𝘯𝘪𝘨𝘦𝘳𝘢 Zehntner จะปล่อย alarm pheromone และของเหลวออกมาเมื่อมีตัวห้ำเข้ามาใกล้

ที่มาข้อมูล
เกศสุดา สนศิริ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

 #ครั่ง&มด  &Antในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต เราสามารถพบเห็นการอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือความ...
16/07/2023

#ครั่ง&มด &Ant

ในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต เราสามารถพบเห็นการอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างครั่งกับมด (สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับครั่งได้ #ครั่ง) ซึ่งแมลงทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันในแบบต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์

ครั่งเป็นแมลงปากดูดที่สามารถดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืชชนิดต่างๆ เพื่อเป็นอาหารและสร้างการเจริญเติบโตของตัวครั่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการขับถ่ายมูลหวาน (honeydew) ออกมา ซึ่งมูลหวานเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารอันโอชะของบรรดามดทั้งหลายที่รายล้อมครั่ง และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ของมดที่ต้องตอบแทนเหล่าครั่งที่ผลิตมูลหวานให้

โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ของมดและครั่ง ในรัฐมัธย ประเทศทางตอนกลางของอินเดียที่พบว่ามีมดจำนวนมากถึง 11 ชนิดที่ได้รับมูลหวานจากครั่งชนิด 𝘒𝘦𝘳𝘳𝘪𝘢 𝘭𝘢𝘤𝘤𝘢 (Kerr) โดยมดเหล่านี้จะทำหน้าที่ปกป้องครั่งจากศัตรูในธรรมชาติ เช่น กลุ่มตัวห้ำตัวเบียนที่ลงทำลายครั่ง

สอดคล้องกับงานวิจัยจากประเทศจีนที่ได้ทำการวิจัยในยูนนาน เพื่อศึกษาผลกระทบของครั่งจากตัวเบียนเมื่อมีมดคอยทำหน้าที่ปกป้อง โดยได้มีการออกแบบการทดลองในการเลี้ยงครั่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) การเลี้ยงครั่งแบบไม่มีมดคอยกินมูลหวาน 2) การเลี้ยงครั่งที่มีมดหลากหลายชนิดที่คอยกินมูลหวาน และ 3) การเลี้ยงครั่งที่มีมดเพียงชนิดเดียวคอยกินมูลหวาน

ซึ่งพบว่าในแบบที่ 1 จะพบจำนวนแตนเบียนมากกว่าแบบที่มีมดแต่ต้องเป็นระยะที่ครั่งเป็นตัวเต็มวัย โดยหากเป็นช่วงระยะตัวอ่อนจะพบแตนเบียนในปริมาณที่ต่ำในทุกการทดลอง

จะเห็นได้ว่าในการเลี้ยงครั่งนั้นย่อมสามารถพบเห็นมดได้เป็นเรื่องปกติซึ่งการกินมูลหวานจากครั่งของมดก็มีส่วนทำให้การเจริญเติบโตของครั่งเป็นไปตามธรรมชาติของระบบนิเวศที่ช่วยลดปริมาณราดำที่จะเกิดตามกิ่งพืชอาศัยหรือปริมาณของตัวห้ำตัวเบียนที่จะมาทำลายครั่งในธรรมชาติ

แม้ว่าการที่มีปริมาณมดที่มากเกินไปอาจสร้างความล่าช้าในการสร้างรังของครั่งไปบ้างแต่ระบบนิเวศเหล่านี้ล้วนคือความสมดุลในธรรมชาติที่ได้สรรสร้างขึ้นมา

ที่มาข้อมูล
ชมัยพร บัวมาศ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ ปากเกร็ด นนทบุรี จำนวน 120 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึก...
13/07/2023

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ ปากเกร็ด นนทบุรี จำนวน 120 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์-นิทรรศการแมลง กรมวิชาการเกษตร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ลักษณะทั่วไปของแมลง ฝึกสร้างทักษะในการค้นหาคำตอบจากสิ่งที่สงสัย และการตั้งคำถามจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทั้งร่างกาย อารมณ์ และปัญญาอย่างสมวัย

พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร ขอขอบพระคุณโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ ปากเกร็ด นนทบุรี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม มา ณ ที่นี้

หากโรงเรียนใดสนใจจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านแมลงสามารถติดต่อสอบถามได้ทาง Inbox ของเพจ Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทย หรือ โทร 0 2579 5583 ในวันทำการเพื่อนัดวันเข้าชมได้เลยนะครับ

 #แมลงทับแมลงทองขี้สองกองก็บินหนีไปแมลงทับ (Jewel beetle) จัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae เป็นแมลงในกลุ่มด้วงที่มีเอกลักษณ์เฉพ...
10/07/2023

#แมลงทับแมลงทองขี้สองกองก็บินหนีไป

แมลงทับ (Jewel beetle) จัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae เป็นแมลงในกลุ่มด้วงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยบริเวณลำตัวด้านบนของทั้งส่วนหัว อก และท้อง มีสีสันเหลือบโลหะสดใสและมันวาว เปรียบดัง “อัญมณีมีชีวิต” นอกจากแมลงทับจะสร้างความสวยงามต่อการพบเห็นแล้ว ยังได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เช่น ต่างหู สร้อยคอ เข็มกลัด เป็นต้น

นักกีฏวิทยา กรมวิชาการเกษตร แบ่งกลุ่มของแมลงทับออกเป็น 3 กลุ่ม คือ แมลงทับป่า แมลงทับบ้าน และแมลงทับแคระ โดยใช้เกณฑ์ความหายาก สถานที่พบ และขนาดลำตัวในการจัดหมวดหมู่เบื้องต้น ทั้งนี้แมลงทับมีการเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ ตัวหนอนจะอาศัยกัดกินภายในเนื้อไม้ หรือรากพืช และเข้าดักแด้ในดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ความชื้นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้แมลงทับออกจากพื้นดินมากัดกินใบพืชที่กำลังเริ่มผลิบานจากการได้รับฝน และผสมพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

แต่ปัจจุบันปริมาณแมลงทับในประเทศไทยลดลงอย่างน่าใจหาย ทั้งนี้สาเหตุหลักของการลดลงไม่ได้เกิดการถูกจับเพื่อนำไปทำเครื่องประดับ แต่เกิดจาก...

พื้นที่ป่าที่ถูกรุกราน พืชอาหารของแมลงทับ (ไผ่เผ็ก ไผ่โจด ใบมะขามเทศ ใบจิก ใบพันชาด ใบมะค่าแต้) ถูกเผาและตัดทำลาย พื้นที่เกษตรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูอย่างต่อเนื่องจนเกิดสารพิษตกค้างในดิน ความสมดุลของระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งเหนี่ยวนำให้ดักแด้ของแมลงทับขยายระยะเวลาการพักตัวเพื่อฟักออกมาในปีถัดไป ในขั้นวิกฤติแมลงทับอาจจะตายจากไปพร้อมกับระบบนิเวศที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นสักที

น่าอิจฉาประเทศเพื่อนบ้านของเรานะครับที่ยังคงมีปริมาณแมลงทับอยู่อย่างมากมายเมื่อเทียบกับประเทศไทย ปริมาณของแมลงทับที่พบในปัจจุบันแปรผันตรงกับความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในประเทศนั้นๆ อย่างแท้จริง

ที่มาข้อมูล
อิทธิพล บรรณาการ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา สายไหม จำนวน 25 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและเข้าเ...
04/07/2023

วันนี้นักเรียนและคณะครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา สายไหม จำนวน 25 คน ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์-นิทรรศการแมลง กรมวิชาการเกษตร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรชีวิตของแมลง ลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม รวมถึงประโยชน์และโทษของแมลงทางการเกษตร บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เสียงหัวเราะ และการถามตอบมากมาย

พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร ขอขอบพระคุณโรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา สายไหม ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม มา ณ ที่นี้

หากโรงเรียนใดสนใจจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านแมลงสามารถติดต่อสอบถามได้ทาง Inbox ของเพจ Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทย หรือ โทร 0 2579 5583 ในวันทำการเพื่อนัดวันเข้าชมได้เลยนะครับ

ที่อยู่

Department Of Agriculture
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 16:00
อังคาร 09:00 - 16:00
พุธ 09:00 - 16:00
พฤหัสบดี 09:00 - 16:00
ศุกร์ 09:00 - 16:00

เบอร์โทรศัพท์

+6625795583

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Insect Museum Thailand - พิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศไทยผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

รบกวนสอบถามครับ แมลงอะไรครับปีกแปลกดี
ปีกเค้าเหมือนฉลากปิดราคาสินค้าเลยครับ
สอบถามหน่อยครับว่าเป็นแมลงชนิดใด
สวัสดีค่ะ เร็วๆนี้
จะมีจัดงานแสดงแมลงอีกไหมคะ
แมลงไรคับ
อยากทราบว่ามันคือแมลงอะไรครับ
น่ารักคับ
สวัสดีครับ สอบถามครับแมลงชนิดนี้มีชื่อไหมครับ?...
#}