TOAC2019 (Workshops & Idea Market)
Don't Miss Out!
พลาดไม่ได้...สำหรับนักวิจัย สกว. ที่จะต้องเข้าร่วมนำเสนอในงาน “นักวิจัยรุ่นใหม่...พบ...เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ครั้งที่ 18 (TOAC2019) ปีนี้กับ 4 Pre-congress Workshops และกิจกรรม Idea Market ที่จัดเตรียมไว้เพื่อการ "ลับคม" และ "ติดอาวุธ" ให้สำหรับนักวิจัยปีนี้ โดยจะต้องเลือกสมัครเพื่อจับจองที่นั่งใน Workshop ที่ท่านสนใจผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ที่จัดเตรียมไว้ให้ได้เลยที่
https://toac2019.com/
....ช้าหมดอดได้ร่วมเข้า workshop และกิจกรรม Idea Market ดีดีที่หาโอกาสได้ยากนะ .... ถ้าอย่างงั้นแล้วก็สม้ครเล้ยยยย 😊😊😊 แล้วเจอกัน ณ TOAC2019 นี้
#TOAC2019
TOAC2019 (Honorable Speakers)
Update! กับ Honorable Speakers ของงานประชุมวิชาการประจำปี "นักวิจัยใหม่ พบ เมธีวิจัยอาวุโส" ครั้งที่ 18 หรือ 2019 TRF-OHEC Annual Congress (TOAC2019) ที่จะมาปาฐกถาและบรรยายพิเศษเพื่อเปิดมุมมองและทิศทางการวิจัยสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันและยุคอนาคต โปรแกรมนี้พลาดไม่ได้โดยแท้!
#TOAC2019
TOAC2019 (Honorable Speakers)
Update! กับ Honorable Speakers ของงานประชุมวิชาการประจำปี "นักวิจัยใหม่ พบ เมธีวิจัยอาวุโส" ครั้งที่ 18 หรือ 2019 TRF-OHEC Annual Congress (TOAC2019) ที่จะมาปาฐกถาและบรรยายพิเศษเพื่อเปิดมุมมองและทิศทางการวิจัยสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันและยุคอนาคต โปรแกรมนี้พลาดไม่ได้โดยแท้!
#TOAC2019
โครงการ "การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System" (MMS)
#MMS
พบกับการนำเสนอผลงานทางประวัติศาสตร์รูปแบบใหม่
virtual museum อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือ
ภายในงาน 25 ปี สกว.โซนสร้างความรู้
สังคมสููงวัย
ชีวิตหลังเกษียณ ถ้าท่านมีเงินออมไม่พอใช้จะทำอย่างไร ร่วมหาคำตอบได้ใน งาน "สังคมสูงวัย สังคมแห่งโอกาส" ในวันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 13.00 น ที่สถาบันบัณฑิต ศศินทร์ สำรองที่นั่งได้ที่ โทร 0 2218 4072
การสนทนากับศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว.ปี 2558
วันนี้ขอนำเสนอวีดีโอการสนทนากับศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น 3 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ และ ศ.ดร.สมทรง บุรุษพัฒน์ โดย คุณวีณารัตน์ เลาหภคกุล เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการทำวิจัย และปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จ
การบรรยายงานเปิดตัวศ.วิจัยดีเด่นและเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปี 2558
ฝ่ายวิชาการขอนำเสนอการบรรยาย ของ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ในงานเปิดตัวศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นและเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปี 2558 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ให้ทุกท่านได้รับชมค่ะ
วัคซีนเอดส์
Research Highlights #12
แนวทางการรักษาเอดส์ ด้วยวัคซีนและการลดปริมาณยา
โรคเอดส์ หรือภาวะการติดเชื้อ HIV เป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามคนทั่วโลก และยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด นักวิจัยจึงพยายามที่พัฒนาวิธีการหรือแนวทางการรักษาภาวะการติดเชื้อ HIV รวมถึงการพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นนักวิจัยไทยที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาการและพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้รักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาโครงการวิจัยในหลายโครงการ ได้แก่
1) โครงการ PREDICT Study เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มการรักษาเด็กติดเชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัส ถือเป็นโครงการเดียวในโลกที่มุ่งศึกษาเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษา HIV ในเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ ผลการศึกษา ในกรณีของเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ การรักษาไม่ให้ผลที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะรีบให้การรักษาทันทีเมื่อทราบว่าเด็กติดเชื้อหรือรอรักษาเมื่อมีค่า CD 4 ต่ำกว่า 15% ผลที่ได้จึงเป็นประโยชน์ที่ช่วยพัฒนาแนวทางในการรักษาการติดเชื้อ HIV ในเด็ก โดยขณะนี้ได้นำไปใช้เป็นแนวทางการรักษาขององค์การอนามัยโลกปี คศ. 2013 และนำมาใช้ในแนวทางการรักษาของไทยในปี พศ. 2557
2) โครงการ PEARL study: เพื่อปรับลดขนาดขนาดยา Lopinavir ให้เหมาะสมกับเด็กไทยและเอเชีย: เป็นโครงการวิจัยแบบควบคุมและลดขนาดของยา lopinavir ลง 30% ในการรักษาการติดเชื้อ HIV ในเด็ก ซึ่งผลพบว่าสามารถกดปริมาณไวรัสในเลือดได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาขนาดมาตรฐาน จึงได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาแนะนำไว้ในแนวทางการรักษาของไทยในปี 2557 เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
3) โครงการ LASA study : เพื่อปรับลดขนาดของยา Atazanavir (ATV) ให้เหมาะกับในผู้ใหญ่ชาวไทย/เอเชีย เนื่องจากยาชนิดนี้ถือเป็นยาหลักสำหรับสูตรที่สองหลังดื้อยาสูตรแรก แต่มีราคาแพงและมีผลข้างเคียงตาเหลืองตัวเหลืองได้ ผลการศึกษาพิสูจน์ได้ว่าการใช้ ATV ในขนาด 200 mg ต่อวันให้ผลการรักษาดี ทำให้ประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง อย่างน้อย 350 ล้านบาทใน 5 ปี ในการรักษาผู้ติดเชื้อ 2000 ราย ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่องค์การอนามัยโลกจะแนะนำให้เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อในเอเชียต่อไป
4) โครงการ HIV-STAR study เพื่อศึกษาการรักษาท
ยุทธวิธีก่อนคลอด : การป้องกันความผิดปกติของทารก
Research Highlights #11
ยุทธวิธีก่อนคลอด : การป้องกันความผิดปกติของทารก
ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในทารกของประชากรไทย ได้แก่ ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง หัวใจพิการโดยกำเนิด กลุ่มอาการดาวน์ สามารถป้องกันได้ด้วยยุทธวิธีก่อนคลอด เช่น การตรวจมาร์คเกอร์อัลตราซาวด์ของโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ช่วยให้วินิจฉัยได้เร็วขึ้นตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การตรวจทางโลหิตวิทยา มาร์คเกอร์ทางชีวภาพหลายอย่างที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะซีด ตลอดจนสารที่ช่วยบ่งชี้หัวใจทารกทำงานผิดปกติ การตัดชิ้นเนื้อรกตรวจดีเอ็นเอ หรือการเจาะเลือดสายสะดือทารกในครรภ์ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ตั้งครรภ์ที่ทารกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ตลอดจนเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการวินิจฉัย
ความรู้เหล่านี้ได้จากการศึกษาวิจัยของ ศ.นพ.ธีระ ทองสง สังกัดภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ศึกษาแนวทางและทดสอบยุทธวิธีก่อนคลอดที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความถูกต้องและความคุ้มทุน ราคาถูก สะดวกต่อการประยุกต์ใช้ในวงกว้าง
ผลงานวิจัยนี้เป็นแนวทางและต้นแบบในการกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้อุบัติการณ์ของโรคธาลัสซีเมียรายใหม่ในภูมิภาคแถบนี้ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน เด็กรายใหม่ที่ต้องมาเติมเลือดจากโรคธาลัสซีเมียลดลงอย่างมาก และเป็นครั้งแรกในวงการสาธารณสุขไทยที่อันตรายจากภาวะทารกบวมน้ำจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ทได้ลดลงอย่างชัดเจน และภาวะนี้ได้หายไปเลยจากกลุ่มสตรีที่มาฝากครรภ์และคัดกรองที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผลดังกล่าวได้นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เป็นโรคลงได้ในจำนวนมหาศาล
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้
พยาธิใบไม้ตับ
Research Highlights #10
“ละว้าโมเดล” ต้นแบบควบคุมและป้องกันพยาธิใบไม้ตับแบบบูรณาการ
โรคพยาธิใบไม่ในตับ เป็นโรคที่พบมาในภาคอีสานของประเทศไทย เกิดจากการไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในพื้นที่ ที่ยังคงนิยมรับประทานอาหารประเภทปลาน้ำจืดที่มีตัวอ่อนพยาธิในระยะติดต่อแบบดิบๆ หรือปรุงไม่สุก เช่น ก้อยปลา ปลาส้ม ปลาดิบ เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยของ ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สังกัดภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของพยาธิใบไม้กับการเกิดมะเร็งในท่อน้ำดี ได้ค้นพบความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีรายงาน อาทิ
- พยาธิใบไม้ตับทำให้เกิดการอักเสบและการหนาตัวของท่อน้ำดีนอกตับและผนังถุงน้ำดี ทำให้น้ำดีไหลช้า เกิดตะกอนน้ำดี นำไปสู่เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้น นิ่วท่อน้ำดีตับจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีตับ
- โปรตีน granulin ในสารคัดหลั่งจากพยาธิใบไม้ตับเป็นสารสำคัญที่กระตุ้นให้เซลล์ท่อน้ำดีแบ่งตัว และหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และการเกิดมะเร็งได้
ศ.ดร.บรรจบ ได้นำองค์ความรู้จากห้องปฏิบัติการสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ได้บุกเบิกการควบคุมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบบูรณาการ โดยชุมชนมีส่วนร่วมนำไปสู่ “ละว้าโมเดล” เพื่อเป็นต้นแบบนำไปสู่ “หมู่บ้านปลอดพยาธิใบไม้ตับ” ซึ่งสามารถลดอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาซึ่งเป็นพาหะตัวกลางในแก่งละว้าจากสูงสุดร้อยละ 70 เหลือน้อยกว่าร้อยละ 1
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งระยะแรกโดยการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarkers) ทั้งนี้เพราะอยากเห็นประชาชนชาวอีสานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้
วัสดุผสมซีเมนต์และคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Research Highlights #9
วัสดุผสมซีเมนต์และคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การผลิตปูนซีเมนต์มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมากจากวัตถุดิบและจากเชื้อเพลิงที่ใช้ การผลิตหนึ่งตันของปูนซีเมนต์คาดว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1 ตัน คิดเป็น 5-6% ของการปล่อยทั้งหมดของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก จึงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเราในอนาคตหากไม่ได้รับการดูแล ดังนั้นการพัฒนาวัสดุซีเมนต์และคอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนี้ได้
ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สังกัด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เช่น เถ้าแกลบ มาใช้เป็นวัสดุประสานในการผลิตซีเมนต์และคอนกรีต ซึ่งช่วยลดการเกิดก๊าซในการผลิต ช่วยลดต้นทุน และคอนกรีตที่ได้มีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาวิจัยการใช้วัสดุที่มีอนุภาคขนาดเล็กระดับนาโนเมตร (วัสดุนาโน) มาเป็นวัสดุผสมเพิ่มเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีสมบัติและใชังานได้หลากหลาย มีประสิทธิภาพสูง มีความสามารถตอบสนองหรือซ่อมแซมตัวเองได้ เป็นวัสดุฉลาด (Smart material) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคตได้ และส่งผลในเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้
เมลาโทนิน...กุญแจสำคัญยับยั้งโรคอัลไซเมอร์
Research Highlights #8
เมลาโทนิน...กุญแจสำคัญยับยั้งโรคอัลไซเมอร์
คุณเคยมีอาการอย่างนี้ไหม
แอบคิดในใจว่า..เราลืมปิดแก๊สรึเปล่านา...เราล๊อคประตูบ้านรึยัง...โทรศัพท์หายไปไหน (ทั้งๆที่อาจจะกำลังถืออยู่ในมือ)....
หลายคนอาจสงสัยว่าเราเริ่มมีความเสื่อมของสมองรึเปล่า อาการความเสื่อมของสมองมักเกิดในผู้สูงวัยที่เริ่มมีความเสื่อมของร่างกาย เช่น ทุกคนจะรู้จักกันในชื่อโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
แต่เราจะมีแนวทางป้องกันความเสื่อมนี้ได้อย่างไร...งานวิจัยอาจช่วยให้คุณได้เข้าใจกระบวนการเหล่านี้ได้มากขึ้น..
ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. ได้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องปัจจัยต่อความเสื่อมของสมอง และพบว่า เมลาโทนินอาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของสมองได้
เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่เซลล์ไพเนียล ( pinealocytes) ซึ่งอยู่ในต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง และช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย ถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด
เมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลการวิจัยที่แสดงว่า เมลาโทนินสามารถยับยั้งการตายของเซลประสาทจากอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งผลของ amphetamine ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ทำให้สมองเสื่อมได้ และช่วยการแบ่งตัวและช่วยการพัฒนาของเซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาท (neural stem cell) ได้ จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยชะลอความชราภาพของผู้สูงอายุ
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้
แคลเซียม2
Research Highlights #7
สมดุลกระดูกและแคลเซียม ภาค 2
คุณรู้ไหมการว่ายน้ำ มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ไม่ต่างจากการออกกำลังกายแบบกระทบกระแทกอื่นๆ เช่น การวิ่ง ความรู้นี้ได้รับการค้นพบโดย ศ.ดร.นพ. นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สังกัดภาควิชาภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำให้สามารถนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน และผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนได้
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่มีความทันสมัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในประชากรไทย อีกหลายเรื่อง เช่น
ทฤษฏีการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้ไม่ได้มีเพียงแค่กลไกเดียวอย่างที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้ แต่สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาศัยชุดของโปรตีนที่จำเพาะ และมีความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการดูดซึมแคลเซียมของแม่ที่กำลังให้นมบุตร องค์ความรู้นี้อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์prebiotics และ probiotics สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ใหญ่ได้
วิธีการบรรเทาความเสื่อมของกระดูกที่เกิดจากกรด ด้วยการให้แคลเซียมเสริมในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลไกการขนส่งแคลเซียมที่ร่างกายมีอยู่
ทฤษฎีของเซลล์เยื่อบุผิวกระดูก ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนแคลเซียมระหว่างกระดูกกับพลาสมา การแลกเปลี่ยนนี้เป็นกลไกให้ร่างกายสามารถปรับระดับแคลเซียมในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำกว่าปกติได้อย่างทันท่วงที ทำให้ไม่เกิดอันตรายถึงชีวิต
ทฤษฎีการสร้างกระดูกเทียมจาก hydroxyapatite nanocomposite ซึ่งมีโปรตีนกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกฝังอยู่ภายใน โดยอาศัยนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีด้านเซลล์ชีววิทยา เพื่อใช้เสริมความแข็งแรงของกระดูก หรือใช้เพื่อเร่งการประสานกันของกระดูกภายหลังเกิดกระดูกหัก
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้
โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแคลเซียมฯ
Research Highlights #6
สมดุลกระดูกและแคลเซียม
โรคกระดูกพรุน แม้จะไม่ใช่โรครุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน แต่ก็จัดว่าเป็นโรครุนแรงในสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในระยะเวลาอันใกล้ การรับประทานแคลเซียมเสริมอาจไม่ใช่ทางออกสุดท้าย หากเราไม่เข้าใจกลไกของสมดุลแคลเซียมและกระดูกในร่างกายมนุษย์
คุณรู้ไหมว่า.. ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยมากเพียงร้อยละ 15-20 ของปริมาณที่รับประทาน หากต้องการให้ประสิทธิภาพสูงกว่านี้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม เช่น โพรแลคติน ในคุณแม่ให้นมบุตร วิตามินดี หรือการทานร่วมกับน้ำตาลบางชนิด เป็นต้น ความรู้เหล่านี้ได้จากการค้นคว้าวิจัยของ ศ.ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. และ ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สังกัดภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทั้งสองท่านได้ศึกษาถึงการแก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพของลำไส้ในการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆ และรวบรวมเครือข่ายนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา เช่น ชีววิทยาด้านการแพทย์ระดับโมเลกุล ออร์โธปิดิกส์ ชีวฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์ เกษตรและอาหาร เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์แคลเซียมที่มีคุณภาพสูง จากเกล็ดปลา ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จึงอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยรับประทานแคลเซียมได้เพิ่มขึ้น จากที่คนไทยวัยผู้ใหญ่รับประทานแคลเซียมเพียง 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
---------------------------------------------------
เรื่องน่ารู้ยังมีอีกมาก... อย่าลืมแวะเข้ามาเติมความรู้ด้านต่างๆที่ Facebook: ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณก็สัมผัสได้