16/05/2019
Assumption Museum
-ภราดาฮีแลร์เป็นตัวแทนคณะมิซซังสยาม อ่านคำถวายชัยมงคลในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗-
.....ครั้น ได้ เวลา ๔ นาฬิกา หลัง เที่ยง (วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙) คณะ ต่าง ๆ เข้า แถว หน้า พระ ที่ นั่ง พระ บาท สมเด็จ พระ เจ้า อยู่ หัว พร้อม ด้วย สมเด็จ พระ ราชินี ก็ ได้ เสด็จ ออก ให้ หัวหน้า คณะ ที่ประชุม คอย นั้น เฝ้า ทูลละออง ธุลี พระบาท และ อ่าน คำ ถวาย พร ชัย มงคล ตาม ลัทธิ, ภาษา และ อาชีพ ของ ตน โดย จำเพาะ (ผู้เขียนบันทึกคือนายอับดุลลาบายเข้าสมาคมกับพ่อค้าชาติดาวดีโบราห์ ในการเข้าเฝ้า ฯ)
ใน ที่ นี่ จะ ไม่ ขอ กล่าว ถึง คณะ ต่าง ๆ เพราะ จะ พิสดาร มาก ไป จะ ขอ เลือก กล่าว เพียง ที่ เกี่ยว กับ โรงเรียน อัสสัมชัญ ให้ สม กับ หน้า ของ อุโฆษ. ครั้น พระบาท สมเด็จ พระ เจ้า อยู่ หัว และ สมเด็จ พระ ราชินี ประทับ เหนือ พระ ราชอาสน์ และ ต่าง ได้ ถวาย คำนับ นอบ น้อม ด้วย เคารพ ยิ่ง พร้อม กัน แล้ว คณะ มิซซัง คาทอลิก ซึ่ง อยู่ เวร ถวาย คำ อำนวย พระ พร ก่อน ก็ ได้ เริ่ม อ่าน คำ ชัยมงคล ทูล เกล้า ฯ ถวาย ให้ ทรง ทราบ พระ หฤทัย ว่า รู้ สึก ภูมิ์ ใจ และ ปลื้ม ใจ อย่าง ไร ใน การ ที่ มี โอกาส มา สแดง ความ จงรัก ภักดี กตัญญู กตเวที ต่อ พระ มหา กษัตริย์ ผู้ สืบ สันตติวงศ์ ดำรง ราชัย สนอง องค์ พระ เชฎฐาธิราช และ วีระกษัตร์ ใน พระ บรมราชวงศ์ จักรี.
พอ ได้ ยิน เสียง คำ ต้น แล้ว ผม และ อัสสัมชนิก อื่น ผู้ ประชุม อยู่ ที่ นั่น ต่าง รู้ สึก ภูมิ ใจ มิ ใช่ น้อย ที่ จำ สำเนียง นั้น ได้ ว่า เปน เสียง ของ คุณ ครู เอง ซึ่ง ชิน หู มา แต่ กาล ก่อน ได้ ยิน จน นับ ครั้ง ไม่ ถ้วน. ผม รู้ สึก อย่าง ไร ต่อ ไป ผม ไม่ ขอ กล่าว ใน ที่ นี่ จะ ขอ แต่ ให้ ท่าน ผู้ อ่าน สมมุติ ตน ว่า เปน ตัว ผม ได้ ยิน ครู เก่า ของ ตน กำลัง อ่าน สำเนา คำ ถวาย ชัย มงคล ที่ ผม ได้ ยิน เอง วัน นั้น แล้ว เข้า ใจ ว่า จะ รู้ สึก ภูมิ์ ใจ และ จะ พา กัน โมทนา สาธุ ตาม น้ำ เสียง นั้น ทุก ๆ คำ.
--------------------------------------------------
"ทูล เกล้า ฯ ถวาย พระบาท สมเด็จ ฯ พระ ปรมินทร มหา ประชาธิปก พระ ปก เกล้า เจ้า อยู่ หัว
ด้วย ใน อภิลักขิตมหามงคลสมัย แห่ง พระ ราชพิธี บรม ราชาภิเษก นี้ ข้า พระ พุทธิเจ้า ใน นาม แห่ง มิซซัง โรมัน คาทอลิก ผู้ ได้ มา ตั้ง การ บำรุง กุศลกิจ และ ศาสนกิจ ใน สยามรัฐสีมา ราชอาณาเขตต์ โดย ร่ม เย็น เปน สันติสุข ขอ รับ พระ ราช ทาน พระ บรม ราชวโรกาส รวม น้ำ จิตต์ อัน ผ่องใส ซึ่ง เต็ม ไป ด้วย กตัญญู กตเวที สแดง ความ จงรัก ภักดี ปีติ ปราโมทย์ ใน การ ที่ พระองค์ เสด็จ ดำรง ราชัย เปน มหา ประมุข แห่ง ชาติ สยาม สืบ พระ ราชสันตติวงศ์ ต่อ ไป.
อัน ว่า ประเพณี การ เสด็จ ขึ้น เถลิง ถวัลยราชสมบัติ บรม ราชาภิเษก แห่ง พระ ราชา ธิบดี ประเทศ ใด ก็ ย่อม นำ มา ซึ่ง ความ ปรีดา ปราโมทย์ แก่ ประชาชน พลเมือง ใน ประเทศ นั้น เปน ธรรมดา แต่ การ บรมราชาภิเษก แห่ง สมเด็จ พระ ราชาธิบดี ใน สยาม ประเทศ นี้ ยิ่ง นำ มา ซึ่ง ความ ปลาบ ปลื้ม ปรีดา ปราโมทย์ อัน ใหญ่ หลวง ของ อาณา ประชาราษฎร์ ทั้งปวง ทุก ถ้วน หน้า ด้วย ว่า ประเพณี นิยม ของ ชาว ชน พลเมือง สยาม แต่ ดึก ดำบรรพ์ ลง มา จน ทุก วัน นี้ มิ จำเพาะ แต่ ต่าง คน ต่าง มี ความ เกรง ขาม ต่อ พระ บารมี แห่ง พระ เจ้า แผ่น ดิน เท่า นั้น ต่าง ยัง พา กัน นิยม นับถือ มี ความ จงรัก ภักดี ต่อ เบื้อง พระ ยุคลบาท อย่าง ล้น พ้น เพราะ ราช ประเพณี สยาม แต่ ไหน ๆ มา พระ มหา กษัตร์ ย่อม ทรง ดำเนิน ทาง รัฐประสาสโนบาย โดย มัทวธรรม มี พระ หฤทัย อ่อน โยน เยือก เย็น ไป ด้วย พระ มหา กรุณาธิคุณ ใน ประชา ชน ทั่ว หน้า ตลอด ทั่ว วิเทศกชน ที่ เข้า มา พึ่ง พระ บารมี ดุจ บิดา กรุณา ใน บุตร์.
แม้ แต่ แรก ที่ พระ องค์เสด็จ ขึ้น เถลิง ถวัลยราชสมับติ ก็ ได้ ดำเนิน พระ ราชกรณียกิจ สแดง ให้ เห็น ปรากฎ ชัด ว่า มุ่ง พระ ทัย จะ เจริญ ตาม รอย ยุคลบาท แห่ง สมเด็จ พระ ราชาธิบดี พระ องค์ ก่อน มี สมเด็จ พระ บรมชนกาธิบดี ปิยมหาราช ของ ชาว ไทย เปน อาทิ พระ ราชจรรยา ของ พระ องค์ ข้อ นี้ เปน พระ คุณ สมบัติ ให้ เห็น พระ หฤทัย อัน กว้าง ขวาง ของ พระ องค์ ว่า ไพบูลย์ พูน เปี่ยม ไป ด้วย พระ ปรีชา ญาณ อัน สุขุม คัมภีรภาพ และ ประกอบ ไป ด้วย เมตตา กรุณา ใน หมู่ ประชากร เปน ยอด เยี่ยม เพราะ ฉะนั้น ใน โอกาส แห่ง ศุภวารดฤถี พระ ราชพิธี บรมราชาภิเษก นี้ ประชาชน พลเมือง ทุก ถ้วน หน้า ต่าง จึง พา กัน มี จิตต์ ปรีดา โสมนัส นิยม ชม ชื่น อยู่ พรัก พร้อม น้อม กาย ถวาย ชีวิต ไว้ ใน ใต้ ฝ่าละออง ยุคล บาท แซร่ ซร้อง ร้อง ประกาศ ถวาย พระ พร ชัย มงคล ขอ ให้ พระ องค์ เสด็จ สถิต ใน ราชัย ยืน ยาว นาน ทรง สำราญ พระ ราชหฤทัย ทุก ทิพาราตรี เพื่อ ความ ศิริมงคล สวัสดี แก่ ประเทศ สยาม และ พศกนิกร ทั้ง ปวง
ส่วน มิซซัง โรมัน คาทอลิก ซึ่ง ข้า พระ พุทธิเจ้า เปน ผู้ รับ ภาระ ใน โอกาส อัน ประเสริฐ นี้ ก็ ขอ ให้ พระองค์ ทรง พระ กรุณา โปรด มั่น พระ หฤทัย ว่า พระ พร ชัย มงคล ของ ประชาชน ชาว สยาม นั้น เปน พระ พร ชัย มงคล ของ คณะ มิซซัง โรมัน คาทอลิก ใน เมือง ไทย ทุก ๆ คน ด้วย กับ ขอ ทรง พระ กรุณา โปรด ทรง ทราบ ว่า ต่าง ได้ อ้อนวอน ขอ พร แด่ พระ ผู้ เปน เจ้า แห่ง สากลโลก ขอ ให้ ทรง โปรด ประสิทธิ์ ประสาท พระ พร ที่ กราบ บังคม ทูล พระ กรุณา มา นี้ ให้ มี ผล สำ เร็จ ทุก ประการ พระ องค์ มี พระ ราช ประสงค์ สิ่ง ใด ขอ พระ ผู้ เปน เจ้า ทรง โปรด ให้ ได้ ทรง รับ เต็ม เปี่ยม บริบูรณ์ โดย สมควร แก่ ตำ แหน่ง สมเด็จ พระ ราชาธิบดี ขัตติย มหาราช อัน ปรากฎ พระ เกียรติยศ พระ เกียรติคุณ ใน กาล ก่อน.
ขอ พระ องค์ ทรง พระ กรุณา โปรด เกล้า โปรด กระหม่อม รับ คำ ถวาย พระ พร ชัย มงคล อัน ซื่อ สัตย์ สุจริต ของ ข้า พระ พุทธิเจ้า ใน นาม ของ มิซซัง โรมัน คาทอลิก ใน เมือง ไทย นี้ ด้วย เทอญ.
การ จะ ควร ประการ ใด แล้ว แต่ จะ ทรงพระ กรุณา โปรด เกล้า โปรด กระหม่อม ขอ เดชะ."
(วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๘)
ครั้น จบ คณะ หนึ่ง อีก คณะ หนึ่ง ก็ รับ ต่อ ๆ จน สำเร็จ ทุก คณะ แล้ว พระบาท สมเด็จ พระ เจ้า อยู่ หัว ทรง พระราชดำรัส ตอบ ว่า
"เรา ขอ ขอบ ใจ ท่าน ทั้ง หลาย, ทั้ง ฝ่าย ศาสนิก บริษัท และ วาณิชนิกร อัน ได้ มา สโมสร สันนิบาต เพื่อ ประสาท พร ชัย โดย ไมตรี จิตต์ แด่ เรา และ สมเด็จ พระ บรมราชินี ณ บัด นี้.
โดย ฐานะ แห่ง โลก สันนิวาส ใน เวลา นี้ ประเทศ ต่าง ๆ ย่อม ต้อง อาศัย ซึ่ง กัน และ กัน, หมู่ ชน ต่าง ๆ ภาย ใน ประเทศ ก็ ต้อง อาศัย ซึ่ง กัน และ กัน, ตลอด ลง ไป จน เอกชน ก็ ต้อง ทำ กิจ หิตานุ เคราะห์ แก่ กัน และ กัน โดย ลำดับ. มนุษย์ เรา ได้ ประจักษ์ ใจ ขึ้น ทุก ที ว่า สิ่ง ที่ ควร มุ่ง ควร ปรารถนา นั้น คือ การ ช่วย กัน และ กัน หรือ จะ ว่า การ สามัคคี ทั่ว โลก โดย ปราศจาก ความ ถือ ชาติ์ ถือ สกุล นั้น ก็ ได้. เพราะ ฉนั้น การ ปกครอง บ้าน เมือง ใช่ว่า จะ สำเร็จ ได้ ด้วย ผู้ มี หน้า ที่ รับ ราชการ ถ่าย เดียว นั้น หา มิ ได้ เลย, ต้อง อาศัย ความ ช่วย เหลือ พร้อม เพรียง กัน ใน หมู่ พล เมือง ทุก ชนิด ทุก อาชีพ ทุก ชาติ. เช่น ใน ทาง ให้ การ ศึกษา ซึ่ง เรา ไม่ จำ เปน ต้อง ชี้แจง ยืด ยาว เลย ว่า คณะ ศาสนิก บริษัท เช่น คณะ เปรสบีเตเรียน และ มิซซัง โรมันคาทอลิก ได้ มี คุณูปการ แก่ บ้าน เมือง เพียง ไร ด้วย ความ ประจักษ์ อยู่แล้ว; หรือ ใน ทาง ค้า ขาย และ ทาง ประสาท ความ สมบูรณ์ ให้ แก่ ประเทศ ก็ เหมือน กัน คง ไม่ มี เสียง แย้ง ได้ ว่า เรา ได้ รับ ผล จาก การ ที่ มี พ่อ ค้า ต่าง ชาติ เช่น พวก ท่าน ทั้งหลาย เข้า มา ทำ มา หา กิน เพียง ไร. ใช่ แต่ เท่า นั้น เรา ยัง รู้ สึก ภูมิ ใจ ไม่ น้อย อีก ด้วย ที่ ได้ เห็น พ่อ ค้า ไทย เกิด ขึ้น บ้าง แล้ว จน ได้ เห็น แต่ง คณะ ผู้ แทน เข้า มา อวยพร ให้ แก่ เรา ใน บัด นี้. ทั้ง นี้ แหละ ล้วน เปน พยาน ส่อ ให้ เห็น ได้ ดี แท้ ว่า เมือง เรา มี องค์ แห่ง ความ เจริญ พอ จะ หวัง ได้ เสมอ ว่า ยัง จะ งอก งาม ยิ่ง ขึ้น ต่อ ไป. การ ที่ ประชาชน แต่ง หัวหน้า คณะ ผู้ แทน มา อำนวยพร แก่ เรา ครั้ง นี้ เปน ที่ หมาย สำคัญ แห่ง ความ พร้อม เพรียง ใน สามัคคีธรรม ว่า เรา ทั้งหลาย จะ อยู่ ด้วย กัน จะ ทำ มา หา กิน ด้วย กัน เปน อัน ดี, ด้วย ความ รู้ สึก เช่น นี้ เรา จึง มี ความ ปีติ ยิ่ง นัก ที่ ได้ มา ต้อน รับ ท่าน ทั้งหลาย ครั้ง นี้. เรา ยินดี รับ พร ของ ท่าน ด้วย ความ ปีติ ปราโมทย์ และ ขอ อำนวย พร ตอบ แทน ให้ ท่าน ทั้ง หลาย มี ความ สุข ความ เจริญ ให้ ทำมา ค้า ขึ้น มี ความ ปรารถนา สิ่ง ใด ใน ทาง ที่ ชอบ ขอ ให้ เปน ผล สำเร็จ ดัง มโนรถ, กับ ขอ จง ได้ รับ ความ ขอบ ใจ ของ พระ ราชินี และ ตัว เรา เอง ทุก คณะ และ จง นำ ความ ขอบ ใจ นี้ ไป ให้ แก่ บรรดา ประชาชน ซึ่ง ท่าน เปน ผู้ แทน วัน นี้ โดย ทั่ว กัน."
ครั้น เฝ้า เสร็จ แล้ว ก็ พา กัน ออก จาก ท้อง พระโรง มา เฝ้า ถวาย ชัย อีก ครั้ง หนึ่ง หน้า พระ ลาน ใน พร้อม ด้วย หมู่ ราษฎร พล เมือง แล้ว ผม ก็ เดิน กลับ บ้าน กำลัง ระลึก ถึง กิจมหามงคล อัน น่า พึง ใจ นั้น มิ รู้ หาย.
-------------------------------------
ตัดทอนบางส่วนจากบทความ ชื่อ
"จดหมายของ นายอับดุลลาบาย ถึง คุณครู"
ตีพิมพ์ใน อัสสัมชัญ อุโฆษสมัย เล่มที่ ๕๐
ปีที่ ๑๓ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๖๙ / ๑๙๒๖
เนื้อหา : บันทึกความทรงจำของนายอับดุลลาบาย อัสสัมชนิก เลขประจำตัว ๓๕๑๗ บอกเล่าบรรยากาศเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗ โดยผู้เล่าได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดีย เข้าเฝ้า ฯ เพื่อถวายพระพรชัยมงคล
ภาพประกอบ : บางส่วนของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗ ถ่ายโดยนายอับดุลลาบาย ตีพิมพ์ในอัสสัมชัญ อุโฆษสมัย เล่มเดียวกัน