
07/12/2022
7 ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
#ทรงพระเจริญ
"เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อย
FanPage กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการขึ้นเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
เพื่อกระตุ้นในการอนุรักษ์ และปลุก จิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น ให้ทุกภาคส่วน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป
FanPage กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการขึ้นเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
เพื่อกระตุ้นในการอนุรักษ์ และปลุก จิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น ให้ทุกภาคส่วน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป
เปิดเหมือนปกติ
7 ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
#ทรงพระเจริญ
พืชสมุนไพรน่ารู้... “มะแว้งเครือ” 𝘚𝘰𝘭𝘢𝘯𝘶𝘮 𝘵𝘳𝘪𝘭𝘰𝘣𝘢𝘵𝘶𝘮 L.
วงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น : แขว้งเคีย (ตาก)
ไม้เถา มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงเวียน ดอกช่อ กลีบดอกสีม่วง ผลสด รูปกลม เมื่อสุกสีส้ม
ราก แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้น้ำลายเหนียว ช่วยเจริญอาหาร ผล แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ บำบัดโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะ
อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม 1 หน้า 180. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559.
"งวง" อวัยวะสำคัญหลากหลายหน้าที่
"งวง" เป็นส่วนของริมฝีปากบนรวมกับจมูก ที่ยื่นยาวออกมา ช้างใช้งวงได้หลากหลายหน้าที่ หน้าที่หลักคือเป็นท่อสำหรับหายใจและใช้ดมกลิ่น นอกจากนี้ยังเป็นอวัยวะสำคัญที่ช้างใช้ในการ
สัมผัส หยิบจับสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหารและน้ำ
ภาพ : #ช้างป่าตุลา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 ศรีราชา
ที่สุดอุทยานแห่งชาติฯ : EP.20 ภาพบันทึกพันปีที่ริมโขง อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อ่านต่อ :http://news.dnp.go.th/news/21163
ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ของรัง
รัง พรรณไม้ป่าที่เราคุ้นเคยกับชื่อพฤกษศาสตร์ว่า 𝘚𝘩𝘰𝘳𝘦𝘢 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 Miq. ปัจจุบันกลับไปใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า 𝘗𝘦𝘯𝘵𝘢𝘤𝘮𝘦 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 (Miq.) Kurz ซึ่งเป็นชื่อเดิมที่ตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870
ชื่อพฤกษศาสตร์ 𝘚𝘩𝘰𝘳𝘦𝘢 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 Miq. ตั้งโดย ดร. Friedrich Anton Wilhelm Miquel นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ตีพิมพ์ในวารสาร Annales Musei Botanici Lugduno-Batavi เล่มที่ 1 หน้า 214 ค.ศ. 1864
ต่อมา ดร. Wilhelm Sulpiz Kurz นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ย้ายรังไปอยู่ในสกุล 𝘗𝘦𝘯𝘵𝘢𝘤𝘮𝘦 ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า 𝘗𝘦𝘯𝘵𝘢𝘤𝘮𝘦 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 (Miq.) Kurz ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of the Asiatic Society of Bengal Part 2 เล่มที่ 39(2) หน้า 66 ค.ศ. 1870 วงการพฤกษศาสตร์ใช้ชื่อนี้มาเป็นเวลานานถึง 108 ปี จนในปี ค.ศ. 1978 ดร. Peter Shaw Ashton นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กลับมาใช้ชื่อ 𝘚𝘩𝘰𝘳𝘦𝘢 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 Miq. อีกครั้ง
ล่าสุด ดร. Peter Shaw Ashton นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ และ ดร. Jacqueline Heckenhauer นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้จัดจำแนกพรรณไม้เผ่า Shoreae ใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์เชิงโมเลกุล ได้คืนสถานะสกุล 𝘗𝘦𝘯𝘵𝘢𝘤𝘮𝘦 กลับมา และย้ายรังจากสกุล 𝘚𝘩𝘰𝘳𝘦𝘢 มาอยู่ในสกุลนี้ ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า 𝘗𝘦𝘯𝘵𝘢𝘤𝘮𝘦 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 (Miq.) Kurz ตีพิมพ์ลงในวารสาร Kew Bulletin แบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
รัง มีเขตการกระจายพันธุ์ในเมียนมา ไทย ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นในป่าเต็งรังและเขาหินปูน ที่ระดับทะเลถึงความสูงประมาณ 1,300 ม.
เอกสารอ้างอิง
1. Ashton, P.S. (1978). Flora Malesiana Precursores: Dipterocarpaceae. The Gardens’ Bulletin, Singapore 31: 5–48.
2. Ashton, P.S. & Heckenhauer, J. (2022). Tribe Shoreae (Dipterocarpaceae subfamily Dipterocarpoideae) Finally Dissected. Kew Bulletin: 1–19. https://doi.org/10.1007/s12225-022-10057-w
3. Kurz, S. (1870). On some new or imperfectly known Indian plants. Journal of the Asiatic Society of Bengal 39(2): 61–90.
4. Miquel, F.A.W. (1864). Dipterocarpeae novae vel minus cognitae. Annales Musei Botanici Lugduno-Batavi 1: 213–215.
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่
เสือโคร่งของกลาง "มุกดา สะหวัน ข้ามโขง ข้ามแดน" สุขภาพดี สัตวแพทย์ดูแลใกล้ชิด
สพ.ญ. คชรินทร์ ราชสินธุ์ นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ รายงาน การดูแลลูกเสือโคร่งของกลางตามที่ได้ดำเนินการจับกุม ได้เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 65 จำนวน 4 ตัว (เพศผู้ จำนวน 2 ตัว , เพศเมีย จำนวน 2 ตัว)
โดยลูกเสือมีพฤติกรรมร่าเริง อุณหภูมิร่างกายปกติ ปัสสาวะปกติ อุจจาระเป็นก้อนในช่วงแรกเหลวในช่วงท้าย การกินปกติ (กินนมผงชนิด KMR ทุก 3-4 ชั่วโมง)
การชั่งน้ำหนักและวัดอุณหภูมิร่างกายเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 65 ที่ผ่านมา
น้องมุกดา วันแรก 2.79 kg ปัจจุบัน 5.995 kg.
น้ำหนักเพิ่มขึ้น2.96 kg.อุณหภูมิร่างกาย 99.1 °F
น้องสะหวัน วันแรก 3.58 kg ปัจจุบัน 6.190 kg.
น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2.61 kg.อุณหภูมิร่างกาย 98.5°F
น้องข้ามโขงวันแรก 3.67 kg ปัจจุบัน 6.675 kg.
น้ำหนักเพิ่มขึ้น3.005kg.อุณหภูมิร่างกาย 98.8 °F
น้องข้ามแดน วันแรก3.57 kg.ปัจจุบัน 6.395 kg. น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2.825 kg. อุณหภูมิร่างกาย 99.0 °F
โดยสัตว์แพทย์ ผู้ดูแลได้ทำการดูแลอย่างใกล้ชิด เช็ดทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำปกติ
ที่มา : ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล สำรวจแหล่งศึกษาธรรมชาติ หวังพัฒนาเป็นกิจกรรม "พายเรือชมถ้ำ"
วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ว่าที่ ร.ต.พัชรินทร์ สอนไวย์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล เปิดเผยว่า ได้นำอำเภอเนินมะปราง ร่วมสำรวจบริเวณถ้ำเรือ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล หวังพัฒนาเป็นกิจกรรมพายเรือชมถ้ำในโอกาสต่อไป
"ถ้ำเรือ" เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล มีความยาวประมาณ 1,408 เมตร ซึ่งที่ได้ชื่อว่าถ้ำเรือ เนื่องจากปรากฏร่องรอยคล้ายรูปเรือคว่ำอยู่บนเพดานของถ้ำ เกิดจากในอดีตกาล ถ้ำนี้เคยมีน้ำท่วมมาก่อน ปริมาณน้ำที่มากท่วมจนเต็มถ้ำ ประกอบกับกระแสการไหลของน้ำที่รุนแรง ได้ละลายเนื้อหินปูนในส่วนของเพดานถ้ำให้ขยายกว้างขึ้น จนมีลักษณะคล้ายเรือคว่ำในที่สุด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 85 กม. ครอบคลุมเนื้อที่ 1,775 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ หน้าผาสูงชัน ทอดยาวมีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้า หินปูนบริเวณนี้ส่วนมากเกิดจากการทับถมของเปลือกหอย พลับพลึงทะเล หรือปะการัง มีการตกตะกอนทางเคมีอยู่น้อยมาก
จากการศึกษาและจำแนกซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน ยอดสูงสุด 236 เมตร มีหน้าผาสูงชันเว้าแหว่ง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนนับหลายล้านปี จนเกิดเป็นถ้ำต่างๆ มากมายทั่วบริเวณ ประกอบด้วย ถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ถ้ำดึกดำบรรพ์ ถ้ำอักษรญี่ปุ่น ถ้ำเต่า ถ้ำลอด ถ้ำผาแดง ถ้ำค้างคาว และเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพิงผาฝ่ามือแดง ดังนั้น การเที่ยวชมถ้ำและศึกษาเรียนรู้ถ้ำหินปูน และแหล่งศึกษาแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า จึงเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้ามาเยี่ยมชมที่นี่
ที่มา: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์11
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า โรยตัวเก็บขยะ บริเวณลานหินปุ่ม
วันที่ 5 ธันวาคม 2565 นายสุธน เวียงดาว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร่วมด้วยนายสุทธิยา หลำเพชร หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก และคณะชมรม Nursery Rope Aeon Team ทีมจังหวัดพิษณุโลก และทีมจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกันโรยตัวเก็บขยะบริเวณลานหินปุ่ม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ 9
ซึ่งบริเวณลานหินปุ่ม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สำคัญ มีลักษณะเป็นหน้าผาและร่องหินแตกแยกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีความลึก แคบและชัน ทำให้นักท่องเที่ยวบางคนที่ขาดจิตสำนึก ทิ้งขยะลงในร่องหินเหล่านั้น ส่วนใหญ่พบเป็นขวดน้ำ กระดาษห่อลูกอม กระดาษทิชชู่ ซองขนม หน้ากากอนามัย ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้เอง จนเกิดการสะสมเป็นสิ่งปฏิกูล ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันส่งผลให้ทัศนียภาพที่สวยงามเสื่อมโทรมลง
ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวทุกคน ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ตามร่องหิน หรือตามซอกหลืบบริเวณต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ในยุคการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การถือขยะออกมาด้วยนั้น บ่งบอกได้ถึงภาวะความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธรรมชาติคงความสวยงาม อนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ชื่นชมตราบนานเท่านาน
5 ธันวาคม 2565 "วันพ่อแห่งชาติ"
เข้าฟรี !! อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ
เตรียมกระเป๋า!! พร้อมเที่ยว!! 🧳
ภายใต้มาตรการ “ท่องเที่ยววิถีใหม่ เที่ยวอย่างปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19”
นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบข้อมูลการปิดแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติต่างๆ
❎ ปิดประจำปี เพื่อฟื้นฟูทรัพยากร
🆘 ปิดเฝ้าระวังเหตุภัยพิบัติ
⚠️ ปิดเพื่อปรับปรุง
ได้ที่นี่👇👇
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1Ig4U84IY4r3J7ix5YTjqo20LIviN3dYpDr91sDsBBEo/edit#gid=1428682379
และอย่าลืม
จองคิวเข้าอุทยานแห่งชาติล่วงหน้าผ่านแอป QueQ
จองก่อน ชัวร์กว่า
#สำนักอุทยานแห่งชาติ
#อุทยานแห่งชาติ
#สำนักอุทยานแห่งชาติ
รู้หรือไม่ ??
●เท้าหน้าของเสือโคร่งจะมีนิ้วเท้า 5 นิ้ว ส่วนนิ้วเท้าขาหลังจะมีอยู่แค่เพียง 4 นิ้วในเท้าแต่ละข้าง
●เสือโคร่งจะมีฟันน้ำนมจำนวน 24 ซี่ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10 – 14 วัน
ภาพ : #เสือโคร่งของกลาง
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี
4 ธันวาคม
"วันสิ่งแวดล้อมไทย และ วันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ (ทสม.)"
.
“อากาศ” ที่ดีเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศในปัจจุบันเริ่มแย่ลง หลายประเทศทั่วโลกทุ่มเทเพื่อฟื้นคืนลมหายใจให้กลับเป็นดังเดิม
.
ประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน ได้จัดให้มีอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ (ทสม.) ขึ้น เพื่อเป็นแนวหน้าในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและให้องค์ความรู้แก่ชาวบ้านท้องถิ่นทั่วประเทศ
.
ปัจจุบันประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งพื้นที่ป่าไม้และป่าชุมชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมลดน้อยลง มีสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่สวยงามขึ้น แต่หากเราช่วยกัน ลมหายใจในวันข้างหน้าก็จะดีขึ้น เพราะ “ลมหายใจในอนาคต กำหนดได้ด้วยมือเรา”
.
้ชีวิตอย่างชาญฉลาดคืนธรรมชาติสู่สมดุล
#สิ่งแวดล้อมไทย
#ทสม
#พืชต่างถิ่นรุกราน “บานเช้าสีเหลือง” 𝘛𝘶𝘳𝘯𝘦𝘳𝘢 𝘶𝘭𝘮𝘪𝘧𝘰𝘭𝘪𝘢 L.
วงศ์ : Passifloraceae
ชื่อสามัญ : Sundrops, Yellow alder,Yellow elder, West Indian holly
ถิ่นกำเนิด : เม็กซิโกถึงอเมริกากลาง ฟลอริดาตอนใต้ถึงหมู่เกาะแคริบเบียน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3–12 ซม. ก้านใบมีต่อม 2 ต่อมชัดเจน ก้านดอกติดก้านใบบางส่วน ใบประดับรูปใบหอก ขอบจัก มีต่อม 2 ต่อม กลีบเลี้ยงมีขนหนาแน่น หลอดกลีบยาว 5–8 มม. กลีบรูปใบหอก ยาว 0.8–2 ซม. ดอกสีเหลือง มีก้านสั้น ๆ กลีบดอกรูปไข่กลับกว้างหรือกลม ยาว 2–3 ซม. ผลรูปทรงรีกว้างถึงรูปทรงเกือบกลม ยาว 0.6–1 ซม. แนบติดก้านใบ เยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ :
บานเช้าสีเหลือง ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้ง พื้นที่รกร้าง ริมถนน นาข้าว ไร่อ้อย และริมทะเล ขึ้นบนดินทรายหรือดินเหนียวปนทราย
โทษ : แก่งแย่งที่อยู่อาศัยของพรรณไม้พื้นเมือง ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางสมุนไพร ใบมีสรรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
“รมว.วราวุธ” เปิดงานมหกรรม ทส. พบประชาชนฯ ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ปชช.ร่วมงานคึกคัก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดงานมหกร
ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกช้างป่าพลัดหลงบริเวณอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
นายอนันต์ โพธิ์พันธ์ุ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับรายงานจากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ กรณี ชาวบ้านในพื้นที่พบลูกช้างป่าพลัดหลงจากฝูง ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ชาวบ้านได้สร้างคอกไม้ไผ่ขนาดเล็ก เพื่อรอฝูงช้างป่าให้เข้ามารับลูกช้างป่าพลัดหลงตัวดังกล่าว แต่ยังไม่พบฝูงช้างป่ามารับแต่อย่างใด จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่เข้าช่วยเหลือ
โดยได้ออกปฏิบัติการช่วยเหลือลูกช้างป่าพลัดหลง ตามลำดับเหตุการณ์ ดังนี้
วันที่ 29 พ.ย. 2565 นายไชยวุฒิ อารีย์ชน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ประสานงานขอสนับสนุนทีมสัตวแพทย์ ประจำ สบอ.3 (บ้านโป่ง) เข้าประเมินสุขภาพลูกช้างป่า
ต่อมา นายมานะ เพิ่มพูล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ประชุมทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการสุขภาพสัตว์ป่า และสัตวแพทย์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่า จัดเตรียมอุปกรณ์การรักษาในเบื้องต้นและเดินทางเข้าพื้นที่ภายในวันดังกล่าว ถึงพิกัดที่พบลูกช้างป่า ในช่วงค่ำจึงทำการประเมินอาการสุขภาพและเข้าทำการรักษาในเบื้องต้น พบ ลูกช้างป่าพลัดหลง เพศเมีย จำนวน 1 ตัว อายุประมาณ 1 เดือนเศษ น้ำหนักโดยประมาณ 130-150 กิโลกรัม มีสภาพอ่อนแรงมาก ขาดน้ำรุนแรง ถ่ายเหลว มีเยื่อเมือกซีด พบแผลหลุมในช่องปาก พบแผลแมลงวันวางไข่บริเวณปลายริมฝีปากล่างและใบหู พบรอยขีดข่วนบริเวณลำตัว ได้การให้นมผงชนิดเอนฟาแลคผสมยาขับลมไกรวิเตอร์ ทุก 1 ชม. และให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ วันที่ 30 พ.ย. 2565 ทำการรักษาต่อเนื่อง ตามแผนการรักษาของทีมสัตวแพทย์
ขณะเดียวกัน ทีมสัตวแพทย์และคณะเจ้าหน้าที่ ได้ประชุมเพื่อประเมินแนวทางการรักษา พบปัญหา อุปสรรคด้านพื้นที่ เดินทางเส้นทางชัน (เดินขึ้นเขา) ป่ารกทึบ ไม่สามารถใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ทีมสัตวแพทย์ ลงความเห็นว่า ควรนำลูกช้างป่าพลัดหลงตัวดังกล่าว มาดูแลรักษาเบื้องต้น ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เนื่องจากมีทีมสัตวแพทย์จากสบอ.3 (บ้านโป่ง ) สัตวแพทย์จากส่วนกลางกรมอุทยานฯ รวมทั้งยารักษา และอุปกรณ์ที่มีความพร้อม สะดวกในการเดินทาง และระยะทางการเคลื่อนย้ายใกล้กว่าพื้นที่อื่นๆ จะทำให้การรักษามีผลดีต่อสุขภาพของลูกช้าง เพราะไม่สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ภายในเร็ววัน โดยลงความเห็นว่า ควรใช้เฮลิคอปเตอร์เข้า ขนย้ายลูกช้างป่าดังกล่าว
โดยในเวลา 8.00 น.ของวันที่ 3 ธันวาคม 2565 เฮลิคอปเตอร์ทหาร ภายใต้การกำกับการของ พลตรี วุทธยา จันทมาศ ผบ.กกล.สุรสีห์ พ.อ.รณวรรณ พจน์สถิตย์ ผบ.ฉก.ลาดหญ้า พ.อ.ธัชเดช อาบัวรัตน์ รอง ผบ.ฉก.ลาดหญ้า และพันเอกธัชเดช อาบัวรัตน์ รองเสนาธิการกองกำลังสุรสีห์ กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี ยกตัวเคลื่อนย้ายลูกช้างจาก พื้นที่ป่า ในเขต ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ควบคุมการเคลื่อนย้ายบนเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมสัตวแพทย์ จำนวน 3 ท่าน (สพ.ญ.ลักขณา ประสิทธิชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สพ.ญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษสอป.สบอ.3 (บ้านโป่ง) สพ.ญ.ณฐนน ปานเพ็ชรนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก) ใช้เวลาการบินประมาณ 30 นาที มายังพิกัดจุดลง ฮ. ณ โรงเรียนวัดคอกช้าง ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
เวลา 10.00 น. เฮลิคอปเตอร์ถึง โรงเรียนวัดคอกช้างโดยปลอดภัย เวลา 10.30 น. เคลื่อนย้ายลูกช้างโดยรถบรรทุกขับเคลื่อน 4 ล้อ เป็นรถย้ายสัตว์ป่าโดยเฉาะซึ่งมีตู้ควบคุมอุณภูมิและอุปกรณ์กู้ชีพเบื้องต้น เดินทางโดยรถยนต์ ระยะ 120 กิโลเมตร (ประมาณ 2 ชั่วโมง) เพื่อนำลูกช้างไปทำการรักษา ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์ พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี
โดยจะได้นำลูกช้างส่งต่อเพื่อพักรักษาตัว ณ อาคารอเนกประสงค์ซึ่งเตรียมความพร้อมสถานที่โดยการฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อย และมีความพร้อมด้านยารักษา อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ทำการวางแผนการรักษาฟื้นฟูลูกช้างต่อไป
#ดอกไม้บานเดือนนี้ "กระดุมเงิน"
ในช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว ตามลานหินทรายบนเขา ในภาคอีสาน เช่น ที่ผาแต้ม น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกผาหลวง ภูผาเทิบ ภูพาน ภูวัว ภูสิงห์ และในท้องนาที่เคยเป็นป่าเต็งรังมาก่อน เช่น ที่ดงนาทาม หนองหญ้าม้า ในจังหวัดอุบลราชธานี จะพบพรรณไม้สกุลกระดุมเงิน (𝘌𝘳𝘪𝘰𝘤𝘢𝘶𝘭𝘰𝘯) วงศ์กระดุมเงิน (Eriocaulaceae) ออกดอกสีขาว ๆ ละลานตาเต็มไปหมด และมักจะขึ้นปะปนกับพืชกินแมลงหลายชนิด เช่น ดุสิตา 𝘜𝘵𝘳𝘪𝘤𝘶𝘭𝘢𝘳𝘪𝘢 𝘥𝘦𝘭𝘱𝘩𝘪𝘯𝘪𝘰𝘪𝘥𝘦𝘴 Thorel ex Pellegr. ทิพเกสร 𝘜. 𝘮𝘪𝘯𝘶𝘵𝘪𝘴𝘴𝘪𝘮𝘢 Vahl สร้อยสุวรรณา U. bifida L. สรัสจันทร 𝘉𝘶𝘳𝘮𝘢𝘯𝘯𝘪𝘢 𝘤𝘰𝘦𝘭𝘦𝘴𝘵𝘪𝘴 D.Don จอกบ่วาย 𝘋𝘳𝘰𝘴𝘦𝘳𝘢 𝘣𝘶𝘳𝘮𝘢𝘯𝘯𝘪𝘪 Vahl รวมทั้งพรรณไม้วงศ์กระถินทุ่ง เช่น กุง 𝘟𝘺𝘳𝘪𝘴 𝘱𝘢𝘶𝘤𝘪𝘧𝘭𝘰𝘳𝘢 Willd. กระถินทุ่งใหญ่ 𝘟. 𝘪𝘯𝘵𝘦𝘳𝘴𝘪𝘵𝘢 Malme
กระดุมเงิน เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะในป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) และป่าไม้สนเขา (Lower montane coniferous forest) ที่มีลานหินทราย นอกจากนั้น บางชนิดก็ขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ หนองบึง ใกล้ระดับทะเล พรรณไม้สกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ ๔๘๐ ชนิด ในไทยพบ ๓๖ ชนิ
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
เริ่มแล้ว !! มหกรรม ทส. พบประชาชนฯ ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ วันที่ 2 – 3 ธันวาคม นี้
วันที่ 2 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น. นายรัชฎา สุริยกุล ณ
รู้หรือไม่ !! เสือโคร่ง ปกติจะนั่งฉี่ยอง ๆ แบบสุนัขตัวเมีย
ส่วนที่ฉี่พุ่งไปด้านหลัง เป็นฝอย เป็นการฉี่เพื่อทำเครื่องหมาย แสดงอาณาเขตถิ่นที่อยู่ของตน เมื่อเสือตัวเมียเป็นสัด ดมเจอฉี่ตัวผู้ ก็จะเดินตามหา เพื่อให้ผสมพันธุ์ หากเป็นตัวผู้ก็จะหนีไปหากินแหล่งอื่น หลีกเลี่ยงการต่อสู้กัน ยกเว้นเสือที่เป็นหนุ่มเต็มตัว อาจตามหาเพื่อต่อสู้ แย่งอาณาเขตหากิน หรือแย่งตัวเมียกันได้ กลิ่นฉี่พุ่งฯ เป็นกลิ่นแอมโมเนีย ฉุนมาก เสือเล็ก ๆ เมื่อสูดเข้าไปมากๆ ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี อาจทำให้เกิดปอดบวมตายได้
ภาพ : เสือโคร่งของกลาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี
#งานวิจัยจากกลุ่มป่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพรรณไม้ในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่”
กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นผืนป่าอนุรักษ์เชิงระบบนิเวศ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า มีความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนมีทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 3,845,083 ไร่ หรือ 6,152 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ ประกอบด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง
จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ของโครงการความหลากหลายของพรรณพืชในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ที่ดำเนินงานวิจัยโดยนักวิจัยจากกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2561-2564 เฉพาะในแปลงสำรวจ พบพรรณไม้ 729 ชนิด เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว 11 ชนิด และพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก 1 ชนิด คือ ชาฤๅษีเขาใหญ่ Paraboea khaoyaica Kaitongsuk, Triboun & Sungkaew นอกจากนั้น ยังพบพืชอาหาร ไม้ผลป่า และพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น กระท้อน 𝘚𝘢𝘯𝘥𝘰𝘳𝘪𝘤𝘶𝘮 𝘬𝘰𝘦𝘵𝘫𝘢𝘱𝘦 (Burm.f.) Merr. มะไฟ 𝘉𝘢𝘤𝘤𝘢𝘶𝘳𝘦𝘢 𝘳𝘢𝘮𝘪𝘧𝘭𝘰𝘳𝘢 Lour. รางจืด 𝘛𝘩𝘶𝘯𝘣𝘦𝘳𝘨𝘪𝘢 𝘭𝘢𝘶𝘳𝘪𝘧𝘰𝘭𝘪𝘢 Lindl. สุรามีฤทธิ์ 𝘗𝘰𝘭𝘺𝘢𝘭𝘵𝘩𝘪𝘢 𝘱𝘢𝘳𝘷𝘪𝘧𝘭𝘰𝘳𝘢 Ridl. กำลังวัวเถลิง 𝘈𝘯𝘢𝘹𝘢𝘨𝘰𝘳𝘦𝘢 𝘭𝘶𝘻𝘰𝘯𝘯𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 A.Gray โด่ไม่รู้ล้ม 𝘌𝘭𝘦𝘱𝘩𝘢𝘯𝘵𝘰𝘱𝘶𝘴 𝘴𝘤𝘢𝘣𝘦𝘳 L. กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ จึงถือเป็นแหล่งรวมพรรณไม้ที่สำคัญของประเทศ (วรดลต์และคณะ, 2564)
จากการที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่มีพืชอาหาร ไม้ผลป่า และพืชสมุนไพรที่หลากหลาย ก่อให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพรรณไม้มากมาย เช่น ภูมิปัญญาด้านอาหาร การใช้สมุนไพรบำรุงร่างกาย งานหัตถกรรมใบลาน ไม้กวาดดอกหญ้า และการสานเสื่อหวาย ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง วรดลต์ แจ่มจำรูญ, สมราน สุดดี, มนตรี แสงสวัสดิ์ และ เสกสรร ไกรทองสุข. 2564.
ความหลากหลายของพรรณพืชในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จัดกิจกรรม น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง ร.9” พัฒนา “เกาะในหลวง” เฉลิมพระเกียรติพ่อหลวง
วันนี้ (1 ธันวาคม 2565) ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ที่ปรึกษา รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี นายสมเจตน์ จันทนา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ทส. จังหวัดเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.อส.) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบุรี (ทสม.) อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ “โครงการตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 พัฒนาเกาะพลับพลา” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) 5 ธันวาคม 2565 และในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ โอกาสนี้ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมพลับพลาที่ประทับบนเกาะพลับพลา (เกาะในหลวง) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อีกด้วย
ดร.ยุทธพล เปิดเผยว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนถึง 5,151 โครงการ พร้อมทั้งในโอกาสวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ท่าน เพื่อเป็นการหลอมรวมจิตใจพี่น้องประชาชน รวมไปถึงการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อชาวเมืองเพชรบุรี หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ “โครงการตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 พัฒนาเกาะพลับพลา” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยได้นำเครือข่ายอาสาสมัครทุกเครือข่ายของกระทรวงฯ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย ทสม. เครือข่าย อส.อส. และเครือข่าย อสทล. รวมถึงเจ้าหน้าที่ในสังกัด ทส. ผู้ประกอบการเดินเรือ และพี่น้องประชาชน เดินทางมายังเกาะพลับพลา เพื่อร่วมวางพวงมาลาต่อหน้าพระบรมรูป และเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ ทำความสะอาดและร่วมกันบำรุงรักษาต้นไม้ในพื้นที่บริเวณโดยรอบเกาะพลับพลาแห่งนี้ ซึ่งในอดีตนั้น เป็นพื้นที่รับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนเขื่อนแก่งกระจาน เมื่อปี พ.ศ.2516 และ พ.ศ.2518 อีกทั้งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ยังได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่ง วนรอบเกาะพลับพลาเพื่อทอดพระเนตรภูมิทัศน์อันสวยงามโดยรอบเกาะอีกด้วย ซึ่งชาวเมืองเพชรบุรีได้ให้ความสำคัญ จึงได้เรียกเกาะพลับพลานี้ว่า “เกาะในหลวง”
ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะซ่อมแซมพลับพลาที่ประทับ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกาะพลับพลา หรือ เกาะในหลวง ในด้านต่าง ๆ เช่น กิจกรรมก่อสร้างกลุ่มอาคารบนเกาะพลับพลา กิจกรรมพัฒนาป้ายสื่อความหมาย กิจกรรมก่อสร้างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อาคารร้านค้า รวมไปถึงห้องน้ำ-ห้องสุขา ให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่ต้องการขึ้นมาที่เกาะพลับพลา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ปรึกษา รมว.ทส. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การพัฒนาเกาะพลับพลาหรือเกาะในหลวง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกไม่นานนี้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น นอกจากพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกาะพลับพลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ที่จะสร้างความภูมิใจให้กับคนเพชรบุรี ทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและผู้ประกอบการ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
รู้หรือไม่ ! เสียงครางในลำคอ (Purr) แบบแมว เสือก็ทำได้นะ
เสือ สามารถส่งเสียง – เพอร์ (Purr) ตอนหายใจออกได้เหมือนกัน แต่แค่ทำตอนหายใจเข้าไม่ไเท่านั้น
ข้อมูล : Greenpeace
ภาพ : มุกดา สะหวัน ข้ามโขง ข้ามแดง
สัตว์ป่าของกลาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี
ขอเชิญร่วมงาน "มหกรรม ทส. พบประชาชน “ทรัพยากรสร้างมูลค่า พัฒนาคุณภาพชีวิต ปลุกจิตสำนึก รักสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ครั้งที่ 2 ” ระหว่างวันที่ 2 - 3 ธันวาคม 2565 ณ สนามบินเก่าจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป
ร่วมช้อปสินค้าราคาถูก ชิมอาหารพื้นเมือง ชมนิทรรศการจากหน่วยงานในสังกัด กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกิจกรรมจากแต่ละหน่วยงาน คลินิก ทส. ให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรับเรื่องราวร้องทุกข์ บูธแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่ายทั่วประเทศ กิจกรรมการแสดงของศิลปินท้องถิ่นรวมถึงการแสดงของศิลปิน "ไข่มุก" และ "ไก่ The voice"
อช.หมู่เกาะสิมิลัน สำรวจสถานภาพปะการังและเฝ้าระวังดูแลทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่อุทยานฯ
วันที่ 1 ธันวาคม 2565 นางรักชนก แพน้อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน นำกำลังเจ้าหน้าที่ดำน้ำสำรวจสถานภาพปะการัง บริเวณจุดดำน้ำเรือนกล้วยไม้ (East of Eden), เฝ้าระวังการกระทำผิดตาม พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และลาดตระเวนในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใด
โดยการสำรวจสถานภาพแนวปะการังเป็นประจำ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพความสมบูรณ์หรือความเสียหายของแนวปะการัง และติดตามศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อนำไปประกอบในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานฯ และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวต่อไป
งานวิจัยในป่าอนุรักษ์ "ผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา"
อุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มีความโดดเด่นด้านความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน คาดว่าจะมีผีเสื้อกลางวันประมาณ 450 ชนิด จนได้รับสมญานามว่า "เมืองผีเสื้อแห่งป่าตะวันออก" ดึงดูดผู้คนให้หลั่งไหลเข้าไปชื่นชมผีเสื้อกลางวัน โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี จนเกิดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสระแก้ว
อุทยานแห่งชาติปางสีดาได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาผีเสื้อ จึงต้องการให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผีเสื้อกลางคืนบางกลุ่มที่มีความสำคัญและโดดเด่น สามารถพบเห็นได้ง่าย รวมถึงการศึกษาหนอนผีเสื้อกลางวันและหนอนผีเสื้อกลางคืนที่มีความสัมพันธ์กับชนิดพืชอาหารที่พบได้ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพื่อนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลและนำไปสู่การสร้างกิจกรรมการดูผีเสื้อที่หลากหลายและมีความยั่งยืน
รศ. ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว และนายภราดร ดอกจันทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับนายพนัชกร โพธิบัณฑิต และนายศุภชัย บุญสุข อุทยานแห่งชาติปางสีดา จึงได้ศึกษาความหลากหลายและความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของชนิดผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อในอุทยานแห่งชาติปางสีดา โดยเก็บตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยด้วยกับดักแสงไฟใน 4 จุดเก็บตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างหนอนผีเสื้อจากต้นพืชอาหารจากการเดินสำรวจตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติปางสีดาจำนวน 4 เส้นทาง ทุก ๆ 2 เดือน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2560
จากการศึกษาพบผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 25 วงศ์ 211 สกุล 392 ชนิด โดยผีเสื้อกลางคืนในวงศ์ Tortricidae มีความหลากหลายมากที่สุดถึง 96 ชนิด ในส่วนของตัวหนอนผีเสื้อกลางคืน พบ 9 วงศ์ 20 สกุล 20 ชนิด และหนอนผีเสื้อกลางวันมีจำนวน 4 วงศ์ 17 สกุล 21 ชนิด โดยหนอนผีเสื้อกลางวันในวงศ์ Nymphalidae มีความหลากหลายมากที่สุด 14 ชนิด ส่วนพืชอาหาร พบจำนวน 31 สกุล 33 ชนิด
การวิเคราะห์ความหลากหลายของทั้งผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อพบว่า ในฤดูฝนมีค่าดัชนีความหลากหลายของแชนนอนสูงกว่าในฤดูแล้ง นอกจากนี้ ได้ค้นพบและตีพิมพ์ผีเสื้อกลางคืนชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด ในวงศ์ Tortricidae ได้แก่ 𝘉𝘢𝘣𝘶𝘳𝘪𝘢 𝘱𝘢𝘶𝘤𝘶𝘴𝘵𝘳𝘪𝘤𝘢, 𝘔𝘦𝘵𝘦𝘯𝘥𝘰𝘵𝘩𝘦𝘯𝘪𝘢 𝘪𝘮𝘱𝘢𝘳𝘪𝘭𝘪𝘴 และ 𝘓𝘰𝘣𝘰𝘴𝘤𝘩𝘪𝘻𝘢 𝘣𝘪𝘴𝘱𝘪𝘯𝘢
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
- ด้านวิชาการ ได้ทราบข้อมูลความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อในอุทยานแห่งชาติปางสีดา
- ด้านการจัดการพื้นที่ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืน
รหัสโครงการ 6010807
โครงการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติปางสีดา
ผู้วิจัย รศ. ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว นายภราดร ดอกจันทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายพนัชกร โพธิบัณฑิต นายศุภชัย บุญสุข อุทยานแห่งชาติปางสีดา
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #งานวิจัยในป่าอนุรักษ์
61, ถนนพหลโยธิน
Bangkok
10900
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า แผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า แ:
#DNPnewsTV กรมอุทยานแห่งชาติฯ เปิดยุทธการสนธิกำลังป้องกันการลักลอบตัดไม้มีค่า อนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารของประเทศ
การดูแลช้างป่า "ตุลา" การดูแลลูกช้างกำพร้า "ตุลา" นับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะตอนที่เจ้าหน้าที่เจอ ตุลา นั้นมีอายุเพียง 1 -2 เดือน เท่านั้น เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ จึงต้องเน้นเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ เพราะลูกช้างอาจท้องร่วงและเสียชีวิตได้ง่าย โดยพี่เลี้ยงจะคอยอยู่กับลูกช้างตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อสังเกตพฤติกรรม และสุขภาพ สำหรับการกินนมของช้าง "ตุลา" นั้น เริ่มแรกได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือน้ำนมแม่ช้าง จากสวนนงนุชพัทยา โดยควาญช้าง นำแม่ช้างที่เพิ่งตลอดลูก จำนวน 4 เชือก มารีดนม สามารถรีดนมแม่ช้าง ได้ปริมาณกว่า 500 ซีซี นับว่าเป็นโชคดีของตุลา ที่ได้กินนมของแม่ช้าง ปัจจุบัน พี่เลี้ยง ให้ตุลา กินนม ใช้หัวนมเทียมต่อเข้ากับขวดนม โดยป้อนทุก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งการให้นมมักเป็นช่วงเวลาเดียวกันทุก
สายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 เมื่อพบเหตุ การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า การล่าและลักลอบค้าสัตว์ป่า การเกิดไฟป่า ช้างป่าร่อน ไข้หวัดนก ภัยธรรมชาติ สัตว์ป่าสร้างความเดือดร้อน สัตว์ป่าพลัดหลง สัตว์ทะเลเกยตื้น และสอบถามข้อมูลทั่วไปของประชาชน ติดต่อ สายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ ช่องทางออนไลน์ www.facebook.com/1362dnp #dnp1362 #ศูนย์สายด่วนพิทักษ์ป่า #กรมอุทยานแห่งชาติฯ
"งวง" อวัยวะสำคัญของช้างป่า "ช้างป่า" มีสายตาที่ไม่ดีนักในช่วงตอนกลางวัน ในช่วงกลางวัน ช้างป่าสามารถมองเห็นในระยะไม่เกิน 25 ฟุต แต่รู้หรือไม่ ช้างทดแทนการมองเห็นด้วยส่วนประสาทสัมผัสอื่น โดยใช้ "งวง" (ส่วนสำคัญสุด) เพื่อการดมสิ่งต่าง ๆ โดยการส่ายงวงขึ้นกลางอากาศ เพื่อดูว่ามีกลิ่นผิดปกติอะไรบ้าง นอกจากงวงแล้ว ช้างยังใช้ส่วนประสาททางหู ในการฟังเสียง ตรวจหาสิ่งต้องสงสัย เช่นเสียงไม้หัก เสียงเดินเหยียบใบไม้ "ตุลา" เป็นลูกช้างป่าเล็ก เพราะอายุยังไม่ถึง 1 ปี จึงมีนิสัย ขี้อ้อน ขี้เล่น อยากรู้อยากเห็น และบางครั้งก็มีดื้อบ้าง และมักแสดงออกโดยการแกว่งงวงไปมางวงเพื่อสัมผัสกลิ่น เพราะบริเวณงวงช้าง ประกอบไปด้วยระบบประสาทที่ละเอียดอ่อนและกล้ามเนื้อที่มากถึง 40,000 มัดเลยทีเดียว ที่มา: ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
"ตุลา" ร่าเริงสดใส พัฒนาการดีขึ้นทุกวัน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นางสาวธนภัทร แย้มสุวรรณ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา" ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 8 พฤศจิกายน จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 23 ครั้ง จำนวน 15.55 ลิตร นอนหลับเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง การขับถ่ายเป็นก้อนที่นิ่มลงเล็กน้อยแต่ยังเหนียว สีเทานม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส พฤติกรรมร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม มีความอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้สัตวแพทย์ยังมีการเสริมยาบำรุงเลือดอยู่ กลางคืนเวลานอน เจ้าหน้าที่ห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืนส่วนในตอนกลางวันที่อากาศร้อน ใช้การเช็ดตัวเพื่อช่วยระบายความร้อน พาเดินออกกำลังกายในช่วงที่มีแสงเช้าและเย็น ที่มา : ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนั
"ตุลา" ร่าเริงสดใส พัฒนาการดีขึ้นทุกวัน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นางสาวธนภัทร แย้มสุวรรณ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา" ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 8 พฤศจิกายน จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 23 ครั้ง จำนวน 15.55 ลิตร นอนหลับเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง การขับถ่ายเป็นก้อนที่นิ่มลงเล็กน้อยแต่ยังเหนียว สีเทานม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส พฤติกรรมร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม มีความอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้สัตวแพทย์ยังมีการเสริมยาบำรุงเลือดอยู่ กลางคืนเวลานอน เจ้าหน้าที่ห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืนส่วนในตอนกลางวันที่อากาศร้อน ใช้การเช็ดตัวเพื่อช่วยระบายความร้อน พาเดินออกกำลังกายในช่วงที่มีแสงเช้าและเย็น ที่มา : ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนั
มาแล้ว "เหมยขาบ" แรกบนยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศา บรรยากาศเช้าวันที่ 7 พ.ย.65 ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บนยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 4 องศาเซลเซียส และมีเหมยขาบขาวโพลนเกาะตามยอดหญ้าพบบริเวณลาดจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย) นับว่าเกิดขึ้นเป็นแรกของฤดูหนาวในปีนี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยเห็นต่างพากันถ่ายภาพด้วยความตื่นเต้น
มาแล้ว "เหมยขาบ" แรกบนยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศา บรรยากาศเช้าวันที่ 7 พ.ย.65 ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บนยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 4 องศาเซลเซียส และมีเหมยขาบขาวโพลนเกาะตามยอดหญ้าพบบริเวณลาดจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย) นับว่าเกิดขึ้นเป็นแรกของฤดูหนาวในปีนี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยเห็นต่างพากันถ่ายภาพด้วยความตื่นเต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอพระราชทานไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ในวันอาทิตย์ที่ ๖ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
นมของผม ใครอย่ายุ่ง !! "ตุลา" ถือเป็นลูกช้างกำพร้า ที่พลัดหลงจากแม่ จึงอาจไม่ได้รับนมน้ำเหลือง ร่างกายอาจมีปัญหามาก คือลูกช้างจะไม่มีภูมิต้านทานโรคและมักจะเกิด ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงทำให้ลูกช้างถึงตายได้ การเลี้ยงลูกช้างกำพร้าทำได้ยากและมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของลูกช้าง ลูกช้างมักเสียชีวิตด้วยสาเหตุสำคัญคือ ท้องเสีย สุขภาพทรุดโทรม อิเล็กโทรไลท์ไม่สมดุล และติดเชื้อแทรกซ้อน นมผงสำหรับเลี้ยงทารก จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะมาเสริมสุขภาพให้ "ตุลา"
นมของผม ใครอย่ายุ่ง !! "ตุลา" ถือเป็นลูกช้างกำพร้า ที่พลัดหลงจากแม่ จึงอาจไม่ได้รับนมน้ำเหลือง ร่างกายอาจมีปัญหามาก คือลูกช้างจะไม่มีภูมิต้านทานโรคและมักจะเกิด ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงทำให้ลูกช้างถึงตายได้ การเลี้ยงลูกช้างกำพร้าทำได้ยากและมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของลูกช้าง ลูกช้างมักเสียชีวิตด้วยสาเหตุสำคัญคือ ท้องเสีย สุขภาพทรุดโทรม อิเล็กโทรไลท์ไม่สมดุล และติดเชื้อแทรกซ้อน นมผงสำหรับเลี้ยงทารก จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะมาเสริมสุขภาพให้ "ตุลา"
"เลียงผา" แห่งผาสูง ออกมาโชว์ตัวท่ามกลางทะเลหมอก บริเวณ กิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยดอยอินทนนท์ วันนี้ 3 พฤศจิกายน 2565 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอนอินทนนท์ รายงานว่า มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวบริเวณกิ่วแม่ปานเพื่อสัมผัสอากาศหนาวกัน ซึ่งในช่วงนี้จะมีเลียงผา สัตว์ป่า สงวนหายากใกล้สูญพันธุ์ ออกมาอาบแดด ช่วงเช้า โดยเมื่อช่วงเวลา 10-11 น. คุณจันทภา คำไผ่ประพันธ์กุล ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ได้พบเจอกวางผา จำนวน 2 ตัว บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน จึงได้ถ่ายคลิปมาให้ได้ชมกัน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สงบเงียบปราศจากการรบกวนของผืนป่าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ลักษณะเส้นทางกิ่วแม่ปานเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไป และสุดท้ายจะวกกลับมาบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ในช่วงระยะกิโลเมตรแรกจะเป็นทางเดินขึ้นเพียงอย่างเดียว มีบันไดทางขึ้นเป็นช่วงๆ สลับกับทางเดินธรรมชาติ ส่วนกิโลเมตรที่ 2 จะเป็นทางเดินลงบนสันเขา 1 กิโลเมตร และทางเดินกิโลเมตรที่ 3 จะเป็นทางเดินในป่า มีทางเดินขึ้นสลับทางเดินลงจนจบ 5 เขาเล็ก โดยจุดที่ชันที่สุดจะอยู่ที่เขาลูกแรกและลูกที่ 4 เพราะมีบันไดเดินขึ้นเรื่อยๆ
ลักษณะเส้นทางกิ่วแม่ปานเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไป และสุดท้ายจะวกกลับมาบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ในช่วงระยะกิโลเมตรแรกจะเป็นทางเดินขึ้นเพียงอย่างเดียว มีบันไดทางขึ้นเป็นช่วงๆ สลับกับทางเดินธรรมชาติ ส่วนกิโลเมตรที่ 2 จะเป็นทางเดินลงบนสันเขา 1 กิโลเมตร และทางเดินกิโลเมตรที่ 3 จะเป็นทางเดินในป่า มีทางเดินขึ้นสลับทางเดินลงจนจบ 5 เขาเล็ก โดยจุดที่ชันที่สุดจะอยู่ที่เขาลูกแรกและลูกที่ 4 เพราะมีบันไดเดินขึ้นเรื่อยๆ
ลักษณะเส้นทางกิ่วแม่ปานเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไป และสุดท้ายจะวกกลับมาบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ในช่วงระยะกิโลเมตรแรกจะเป็นทางเดินขึ้นเพียงอย่างเดียว มีบันไดทางขึ้นเป็นช่วงๆ สลับกับทางเดินธรรมชาติ ส่วนกิโลเมตรที่ 2 จะเป็นทางเดินลงบนสันเขา 1 กิโลเมตร และทางเดินกิโลเมตรที่ 3 จะเป็นทางเดินในป่า มีทางเดินขึ้นสลับทางเดินลงจนจบ 5 เขาเล็ก โดยจุดที่ชันที่สุดจะอยู่ที่เขาลูกแรกและลูกที่ 4 เพราะมีบันไดเดินขึ้นเรื่อยๆ
ลักษณะเส้นทางกิ่วแม่ปานเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไป และสุดท้ายจะวกกลับมาบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ในช่วงระยะกิโลเมตรแรกจะเป็นทางเดินขึ้นเพียงอย่างเดียว มีบันไดทางขึ้นเป็นช่วงๆ สลับกับทางเดินธรรมชาติ ส่วนกิโลเมตรที่ 2 จะเป็นทางเดินลงบนสันเขา 1 กิโลเมตร และทางเดินกิโลเมตรที่ 3 จะเป็นทางเดินในป่า มีทางเดินขึ้นสลับทางเดินลงจนจบ 5 เขาเล็ก โดยจุดที่ชันที่สุดจะอยู่ที่เขาลูกแรกและลูกที่ 4 เพราะมีบันไดเดินขึ้นเรื่อยๆ
ช้างป่า "ตุลา" น้ำหนักเพิ่ม 81.25 กก. ยังขี้อ้อน น่ารักเหมือนเดิม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นายไพโรจน์ พรมวัฒ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 18 ครั้ง จำนวน 9.2 ลิตร นอนหลับทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน เฉลี่ยต่อครั้งประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง การขับถ่ายปกติ เป็นเนื้อครีม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.7 องศาเซลเซียส ร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม สัตวแพทย์เสริมยาบำรุงเลือด ช่วงกลางคืนระหว่างนอนห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืน และทำความสะอาดร่างกายตอนกลางวัน จากนั้นเดินออกกำลังกายในตอนเย็น โดยน้ำหนักประจำสัปดาห์ อยู่ที่ 81.5 กิโลกรัม
ช้างป่า "ตุลา" น้ำหนักเพิ่ม 81.25 กก. ยังขี้อ้อน น่ารักเหมือนเดิม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นายไพโรจน์ พรมวัฒ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 18 ครั้ง จำนวน 9.2 ลิตร นอนหลับทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน เฉลี่ยต่อครั้งประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง การขับถ่ายปกติ เป็นเนื้อครีม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.7 องศาเซลเซียส ร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม สัตวแพทย์เสริมยาบำรุงเลือด ช่วงกลางคืนระหว่างนอนห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืน และทำความสะอาดร่างกายตอนกลางวัน จากนั้นเดินออกกำลังกายในตอนเย็น โดยน้ำหนักประจำสัปดาห์ อยู่ที่ 81.5 กิโลกรัม
ช้างป่า "ตุลา" น้ำหนักเพิ่ม 81.25 กก. ยังขี้อ้อน น่ารักเหมือนเดิม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นายไพโรจน์ พรมวัฒ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 18 ครั้ง จำนวน 9.2 ลิตร นอนหลับทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน เฉลี่ยต่อครั้งประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง การขับถ่ายปกติ เป็นเนื้อครีม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.7 องศาเซลเซียส ร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม สัตวแพทย์เสริมยาบำรุงเลือด ช่วงกลางคืนระหว่างนอนห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืน และทำความสะอาดร่างกายตอนกลางวัน จากนั้นเดินออกกำลังกายในตอนเย็น โดยน้ำหนักประจำสัปดาห์ อยู่ที่ 81.5 กิโลกรัม
ช้างป่า "ตุลา" น้ำหนักเพิ่ม 81.25 กก. ยังขี้อ้อน น่ารักเหมือนเดิม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นายไพโรจน์ พรมวัฒ สัตวแพทย์ รายงานสุขภาพของลูกช้างป่า "ตุลา ตั้งแต่เวลา 6.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม จนถึงเวลา 6.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน กินนมทั้งหมด 18 ครั้ง จำนวน 9.2 ลิตร นอนหลับทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน เฉลี่ยต่อครั้งประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง การขับถ่ายปกติ เป็นเนื้อครีม อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.7 องศาเซลเซียส ร่าเริง ซุกซน ไม่มีอาการซึม สัตวแพทย์เสริมยาบำรุงเลือด ช่วงกลางคืนระหว่างนอนห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตลอดทั้งคืน และทำความสะอาดร่างกายตอนกลางวัน จากนั้นเดินออกกำลังกายในตอนเย็น โดยน้ำหนักประจำสัปดาห์ อยู่ที่ 81.5 กิโลกรัม
#DNPnewsTV : กรมอุทยานแห่งชาติฯ เพิ่มประสิทธิภาพรับมือไฟป่า ส่งมอบรถน้ำดับเพลิง 700 ลิตร จำนวน 20 คัน รายละเอียดเพิ่มเติม : http://news.dnp.go.th/news/12575
DNPnews :อุทยานฯ แก่งกระจาน เผยภาพกล้องดักถ่ายพบ 'จระเข้น้ำจืด' อาบแดดริมแม่น้ำเพชรบุรี อ่านเพิ่ม:http://news.dnp.go.th/news/12399
#โผล่หน้ายังไงให้โลกจำ จ๊ะเอ๋ !! ขุนไกรมาแล้ว (23 ม.ค. 65 ) สพญ. สุภกานต์ แก้วโชติ (หมอฟ้า) นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) ได้ส่งคลิปของเลียงผา "ขุนไกร" มาให้ทุกท่านได้ชมกันอีกแล้ว หลังห่างหายไปพักใหญ่ หมอฟ้า เล่าว่า สุขภาพขุนไกรตอนนี้ปกติ แข็งแรงดี ได้รับการถ่ายพยาธิประจำปีไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา กินผลไม้ ยอดไม้ได้ดี ช่วงนี้ก็เปิดกรงให้ออกมาเดินเล่น แต่น้องก็จะเดินไปไม่ไกลมาก คือเดินบริเวณรอบ ๆ กรง แต่มักจะซนไปตามบ้านพัก ส่วนคลิปนี้เป็นคลิปเมื่อวาน ที่เจ้าหน้าที่ถ่ายไว้ ขุนไกรซนมาก อยากรู้อยากเห็นเลยเอาหัวไปมุดช่องที่ขาด โชคดีที่พี่ๆ หันไปเห็น ก็เลยช่วยนำหัวออกมาได้ #ขุนไกร #เลียงผาผลัดหลง #เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่14ตาก #สั
กับดักสัตว์ป่า.. ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามชีวิตสัตว์ป่าเท่านั้น บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนเองก็ได้รับบาดเจ็บเช่นกัน... #หยุดกับดักสัตว์ป่ามหันตภัยทำร้ายชีวิต
ขสป.ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ลาดตระเวนเก็บกู้กับดักสัตว์ป่า วันที่ 21 มกราคม 2565 นายรัฐพล บุญมี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Smart Patrol ร่วมกันลาดตระเวนตามแผนเดือน มกราคม 2565 โดยกำหนดการลาดตระเวนเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ และดำเนินการตามโครงการหยุดกับสัตว์ป่า มหันตภัยทำร้ายชีวิตของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยออกมาตรการรณรงค์ให้ทุกหน่วยงานในสังกัด อส.ร่วมกันค้นหา เก็บกู้ กับดักสัตว์ หรืออุปกรณ์อื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เช่น แร้ว ปืนผูก ตะปู หรืออุปกรณ์อื่น ในพื้นที่รับผิดชอบ แล้วนำออกจากพื้นที่ ทำให้พื้นที่นั้น เป็น “พื้นที่ปลอดกับดักสัตว์ป่า” ซึ่งการใช้เครื่องมือดักสัตว์ป่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงอย่างยิ่งต่อส
นาทีชีวิต !! เจ้าหน้าที่เข้าช่วยหมูป่าติดบ่วงดักสัตว์ ในเขต อช.น้ำตกห้วยยาง 9 ม.ค. 65 เพจอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง เผยแพร่คลิปเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ช่วยเหลือหมูป่าติดแร้วดักสัตว์ ขณะลาดตระเวนเชิงคุณภาพ เพื่อป้องกัน การกระทําผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และ สัตว์ป่า ในพื้นที่รับผิดชอบ พบ "หมูป่าฎ ติดแร้วที่นายพรานดักไว้ จึงได้ทำการช่วยเหลือและรอดชีวิตกลับเข้าป่าได้อย่างปลอดภัย ซึ่งผลกระทบของบ่วงหรือแร้วดักสัตว์ อาจทำให้สัตว์ป่า ที่ถูก กับดักตายหรือกลายเป็นสัตว์ป่าพิการไปตลอดชีวิต ปัจจุบัน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเก็บกู้ กับดักสัตว์ป่า บ่วง แร้ว ในพื้นที่รับผิดชอบ และกำชับให้ดำเนินคดีกับผู้ลักลอบล่าสัตว์ป
"พังยายเกตุ" ช้างชราป่ารอยต่อ สุขภาพดีขึ้น สัตวแพทย์ ติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง นางสาวมัชฌมณ แก้วพฤหัสชัย หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) รายงาน สัตวแพทย์จากศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาช้างป่าอำเภอท่าตะเกียบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่าอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าติดตามอาการช้างป่าพังยายเกตุ ช้างป่ากินอาหารได้ปกติ (กล้วย ข้าวโพด สับปะรด มะละกอ เต่าร้าง อาหารเม็ดสำหรับช้าง) และกินโปรตีนอัลบูมินไข่ขาว และวิตามินบำรุงร่างกายใส่ในผลไม้ การก้าวเดินช้า ซึ่งพบได้ปกติในช้างป่าวัยชรา ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ปกติ ค่าคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย = 3/5 (1 = ผอมมาก 2 = น้ำหนักต่ำกว
“ทุกความสำเร็จในการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ล้วนเกิดจากความร่วมมือของบุคลลากรทุกคน ตลอดจนทุกภาคส่วนที่ส่งเสริม สนับสนุนในทุกภารกิจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของทุกคนอย่างดีดังเดิมตลอดไป” “ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานด้วยความทุ่มเทและเสียสละตลอดปีที่ผ่านมา และขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผมขอส่งต่อความห่วงใยไปยังเจ้าหน้าที่ทุกคน ขอให้ท่านภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรักษาไว้ให้เป็นสมบัติที่สำคัญของชาติสืบต่อไป” “และเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2565 ข
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก RTA Chemical Depart
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ถนนพหลAdministrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana RoadSoutheast Asian Ministers of Education Organi
Sukhumvit Roadกรมสรรพสามิต :: Excise Department
ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯITD - International Institute for Trade and D
ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกTICA - Thailand Incentive and Convention Asso
The Legacy Viphawadi