ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงทะเบียนประวัติอาชญากรในประเทศไทย
ความสำคัญของวันสิทธิมนุษยชนสากล
ข้อเสนอแนะ ปรับแนวปฏิบัติการตัดไฟฟ้า ไม่ให้กระทบสิทธิกลุ่มเปราะบาง-ผู้ยากไร้
ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว
หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (Human Rights Executive Program : HREP) รุ่นที่ 2
ความประทับใจในหลักสูตร สิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (Human Rights Executive Program : HREP) รุ่นที่ 1
ข้อเสนอแนะฯ ผลกระทบด้านการจราจรของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย – มีนบุรี
การประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน กับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง เหตุการณ์สลายการชุมนุมเ
การปกป้องและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได
การแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษ ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563
ทศวรรษใหม่ของเยาวชนผู้ใส่ใจและยืนเคียงข้างสิทธิมนุษยชน
โครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจและยืนเคียงข้าง สิทธิมนุษยชน (Youth Standing Up for Human Rights)
ถ่ายทอดสด (Live) ช่วงบ่าย
การเสวนา เรื่อง “ทศวรรษใหม่ของเยาวชนผู้ใส่ใจและยืนเคียงข้าง
สิทธิมนุษยชน”
ผู้ร่วมเสวนา
- นายบทมากร พรประสิทธิ์ นักเรียนโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร เยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา
- นายธนกฤต ภูดีทิพย์ นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับอุดมศึกษา
- นายกำพล ชุ่มจันทร์ อาจารย์โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพรอาจารย์ที่ปรึกษาของเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา
- นายกิตติศักดิ์ สินธุโคตร อาจารย์ประจำวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษาของเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับอุดมศึกษา
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวหัสสยา อิสริยะเสรีกุล
ถ่ายทอดสด (Live) (ช่วงเช้า ก่อนเริ่มพิธีการ)
งานพิธีการรับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณี
สิริพัชร มหาวัชรราชธิดา แก่เยาวชนที่ชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
ใน“โครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจและยืนเคียงข้างสิทธิมนุษยชน” (Youth Standing Up for Human Rights)
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2563
ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
----- กำหนดการ -----
09.00 น. สัมภาษณ์นอกรอบทีมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ได้รับรางวัล
เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
วิทยากร นางโซรยา จามจุรี
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและการเผยแพร่
สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547 พัฒนามาจากกลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และพัฒนามาเป็นเครือข่าย กระจายพื้นที่ในการทำงานไปกว้างขว้างยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นบทบาทของภาคประชาสังคมที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านต่าง ๆ เช่น ไปเยี่ยมบ้าน ประสานความช่วยเหลือไปยังภาครัฐ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพ ซึ่งปัจจุบันได้เขยายไปยังกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เช่น กลุ่มผู้หญิงในกลุ่มคนจนเมือง โดยสร้างแนวคิด victim to victor เปลี่ยนการเป็นเหยื่อสู่ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาเป็นนักข่าวพลเมือง นำเสนอเรื่องเล่าของกลุ่มผู้หญิงในภาคใต้ รณรงค์การยุติความรุนแรงในพื้นที่
ปัญหาหลัก ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อผู้หญิง นั่นคือ การสูญเสียชีวิตผู้คนในท้องที่จากเหตุการณ์ความรุนแรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน มีคนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 7,000 คน และบาดเจ็บประมาณ 13,000 คน ซึ่งไม่ใช่เพียงผู้ก่อการร้ายที่เสียชีวิต แต่ยังมีผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องที่สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เป็นปัญหาที่รุนแรงมากเพราะมีผลพวงที่ตามมามากมาย เช่น การเป็นหม้าย เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นเด็กกำพร้า ซึ่งกลุ่มเล่านี้หากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โดยตรงก็จะได้รับการเยียวยาจากรัฐ แต่มีกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ไม่เคยมีใครพูดถึง นั่นคือ กลุ่มคนที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกคุมขัง รัฐปล่อยให้คนที่เหลือในครอบครัวต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ เป็นปัญหาทางสังคมที่ส่งผลกระทบไปในวงกว้าง โดยเฉพาะในตอนนี้มีปัญหาโรคระบาดโควิด เครือข่ายฯ จึงต้องทำหน้าที่มากขึ้นไปอีก ต้องเข้าไปเยี่ยมเยือนเพื่อรับทราบข้อมูลปัญหาและแจ้งสิทธิที่เขาควรจะได้รับสิทธิการเยียวยาจากรัฐ ซึ่งมีคนที่ยังไม่ได้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอยู่อีกจำนวนมาก การเยี่ยมบ้านจะช่วยให้เขาไม่รู้สึกเดียวดายและถูกทอดทิ้ง การให้ทุนการ
กสม. กับแนวทางการจัดทำรายงานข้อเสนอแนะและรายงานผลการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง กสม. กับแนวทางการจัดทำรายงานข้อเสนอแนะและรายงานผลการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
วิทยากร นายสรรสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์
ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
สังคมไทยมีกลไกในการปกป้อง คุ้มครอง และรักษาสิทธิมนุษยชนอยู่หลายกลไก เช่น ตำรวจ ศาล สภาทนายความองค์การสิทธิมนุษยชนของเอกชนแต่ที่ผ่านมานั้นยังมีคำถามว่าทำไมถึงไม่สามารถคุ้มครองได้อย่างทั่วถึง
หลักการปารีสจึงได้กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ เพื่อรับทราบการปฏิบัติงานในการปกป้อง คุ้มครอง และรักษาสิทธิมนุษยชน สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2560 มาตรา 247 ได้บัญญัติให้ กสม. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1)ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้าและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทํารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา
และคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
(3) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือคําสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(4) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
(5) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสําคัญของสิทธิมนุษยชน
การจัดทำรายงานข้อเสนอแนะและรายงานผลการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ กสม. นั้น จะเป็นการเสนอข้อเท็จจริงว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรสาเหตุที่มาของปัญหาและมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเยียวยาผู้เสียหายเสนอแนะแนวทางป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนการทำรายงานข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่มีการกระทำละเมิดสิทธิเสนอให้มีการแก้ไขซึ่งจะต้องไม่ขัดต่
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและรายงานผลการปฏิบัติงานฯ ต่อวุฒิสภา
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2562
และรายงานผลการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ต่อวุฒิสภา
วิทยากร นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
กสม. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติตตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 จัดทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพ.ศ.2560 มาตรา45 ที่กำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา โดยอย่างน้อยให้ กสม. สรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้วย และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญต่อสถานการณืสิทธิมนุษยชนของประเทศ เป็นการสะท้อนปัญหาของประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในแผนการปฏิบัติงานของ กสม. ในปีที่ผ่านมานั้นได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 7 ด้าน ประกอบด้วย
1. การตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2. การจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ
3. การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
4. การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน
5. การส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
6. การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
7. การบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร
ซึ่งเป็นการดำเนินงานจำแนกตามหน้าที่และอำนาจ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
กสม. ได้ติดตามผลการดำเนินการตาม
ข้อเสนอแนะแก้ไขฎหมายการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 2
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 2
วิทยากร นางสาวอารีวรรณ จตุทอง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 2
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้พูดถึงกรณีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยประมวลกฎหมายอาญาเรื่องการทำแท้ง ตามคำร้องของแพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ที่ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 28 หรือไม่ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 มาตรา 28 และ มาตรา 77 หรือไม่ โดยผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้ลงมติว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งบัญญัติว่า “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หรือมาตรา 28 ซึ่งจะมีผลใน 360 วัน นั่นคือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564
โดยหลักการแล้ว เมื่อมีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็จะสิ้นสภาพไป จึงต้องมีการกำหนดกฎหมายขึ้นมาใหม่ โดยจะต้องพึงระวัง ใส่ใจข้อกำหนดกฎหมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รัฐควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายให้การทำแท้งตามเหตุผลความจำเป็นเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของหญิงตั้งครรภ์และสิทธิของทารกในครรภ์ ซึ่งจะต้องทำให้สมดุลกัน ให้ผู้หญิงมีสิทธิที่จะยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของเขา โดยการที่รัฐจะออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคล กระทบกับชีวิตคนคนหนึ่งนั้น จะต้องให้ข้อมูลที่รอบด้านว่าหากกำหนดกฎหมายแบบนี้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องจะกระทบอย่างไรบ้าง
สังคมไทยต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบั
ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงประมวลกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์
เรื่อง ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
วิทยากร นางสาวอารีวรรณ จตุทอง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยประมวลกฎหมายอาญาเรื่องการทำแท้ง ตามคำร้องของแพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ที่ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 28 หรือไม่ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 มาตรา 28 และ มาตรา 77 หรือไม่
จากกรณีที่แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ซึ่งเป็นแพทย์ในเครือข่ายแพทย์อาสาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามกฎหมายและเปิดคลินิกศรีสมัยการแพทย์ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกตำรวจจับเนื่องจากสงสัยว่าเปิดทำแท้งผิดกฎหมาย แต่แพทย์หญิงศรีสมัย ท่านได้ให้ข้อมูลว่าได้รับอนุญาตจากสำนักอนามัยการเจริญพันธ์ ของกรมอนามัยในการทำแท้ง และได้ทำถูกต้องตามระเบียบการทำแท้งของแพทยสภา จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย
โดยผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้ลงมติว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งบัญญัติว่า “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หรือมาตรา 28
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของแพทย์ที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือหญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น การถูกข่มขืน กระทำชำเรา ผู้กระทำไม่มีความผิด” ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 77
และประเด็นสุดท้ายคือ การพิจารณาถึงความสมควรในการปรับปรุงกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และมาตรา 305 สมควรได้รับการ
บุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง การรับสมัครบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม
ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563
วิทยากร นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำลังดำเนินการคัดเลือกบุคคลและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในส่วนของการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 ด้านที่ประเทศได้ร่วมเป้นภาคี เช่น สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และดำเนินการด้วยความมุ่งมั่นมาอย่างต่อเนื่อง ให้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563 จำนวน 7 รางวัล เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชู และประกาศเกียรติคุณของบุคคลและองค์กรที่อุทิศตนปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนให้สังคมได้รับรู้ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนรุ่นหลังต่อไป ซึ่งการมอบรางวัลได้ดำเนินการมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 แล้ว
การพิจารณาคัดเลือกจะมีแนวทางในการพิจารณาผลงาน เช่น พิจารณาผลการดำเนินงานที่เป็นที่ประจักษ์ มีประสบการณ์ ภารกิจ ขอบเขต และระยะเวลาในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมายาวนานต่อเนื่อง การทำงานมีความเสี่ยง ความยากลำบาก หรือความทุ่มเทในการทำงานเพื่อปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต มีการทำงานที่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและยั่งยืน
ทั้งนี้ บุคคลหรือองค์กรที่มีความสนใจจะเสนอชื่อเข้าร่วมการคัดเลือกครั้งนี้ สามารถเสนอชื่อตนเองหรือเสนอชื่อผู้อื่นได้ โดยให้ดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์ของสำนักงาน กสม. และจัดส่งใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูปและข้อมูลประกอบการพิจารณาอื่น ๆ ถ้ามี มายังช่องทางการรับสมัครต่าง ๆ คือ มาส่งด้วยตนเองที่สำนักงาน กสม.ในวันและเวลาราชการ ส่งทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน กสม. โดยวงเล็บมุมซองว่า สมัคร/เสนอชื่อบุคคลหรือองค์กรดีเด่น หรือส่งมาทางอีเมล [email protected] ภาย
เยาวชนคนรุ่นใหม่ : กำลังสำคัญสร้างนวัตกรรม เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง เยาวชนคนรุ่นใหม่ : กำลังสำคัญสร้างนวัตกรรม
เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
วิทยากร นายวัส ติงสมิตร
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทุกฝ่าย รวมไปถึงสถานศึกษาที่ต้องปิดการเรียนการสอน กสม.เห็นถึงความสำคัญของเยาวชนที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหานี้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียน นิสิต นักศึกษา จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนชุมชนเคารพสิทธิฯ กสม. จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจและยืนเคียงสิทธิมนุษยชน (Youth Standing Up for Human Rights) ขึ้นมา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ กสม. มุ่งเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนผ่านการประกวดแนวคิดและแผนงานเพื่อผลิตผลงานนวัตกรรมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในหัวข้อ ‘สิทธิมนุษยชนกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19)’ โดยเชิญชวนให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาร่วมประกวดแผนงานและผลงานนวัตกรรมส่งเสริมสิทธิฯ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2563 เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเท่าทันเรื่องสิทธิมนุษยชน สามารถสร้างเครือข่ายไปยังกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง หรือผู้นำชุมชนในท้องถิ่นได้ รวมทั้ง สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
โดยจะคัดเลือกทีมผู้ผ่านเข้ารอบในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 35 ทีม และระดับอุดมศึกษาจำนวน 35 ทีม รวมทั้งสิ้น 70 ทีม ทั่วประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ส่งเข้าประกวดทีมละ 20,000 บาท เพื่อผลิตผลงานนวัตกรรมส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยจะมีการประกาศผลการตัดสินการประกวดในวันที่ 7 กันยายน 2563 กระบวนการหลังจากนั้น จะมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ที่สำคัญและจุดประกายความคิดด้านสิทธิมนุษยชนให้เยาวชนได้นำไปต่อยอด และจะต้องส่งผลงานมายังสำนักงาน กสม. ในช่วงต้นเดือนกันยายน
การลงโทษนักเรียนด้วยวิธีการตัดผม คือ การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน?
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง การลงโทษนักเรียนด้วยวิธีการตัดผม
คือ การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน?
วิทยากร สรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์
ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
การลงโทษ จริงๆแล้วในระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการไม่มีการอนุญาตให้ใช้อำนาจหรือแตะต้องเนื้อตัวร่างกายของเด็ก โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษาด้วย ซึ่งจากการที่ครูทำโทษด้วยการตัดผมเด็กนั้น ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย เข้าข่ายทารุณกรรมเด็ก เป็นการสร้างความเจ็บปวดทางจิตใจ โดยเฉพาะเด็กมัธยมที่มีฮอร์โมนเพศเริ่มทำงาน เด็กจะรู้ว่าเขาเป็นเพศไหม มีอารมย์ทางเพศเกิด และมีต้องการความสนใจจากเพศตรงข้าม เพราะฉะนั้น การที่เด็กมีการแต่งกาย การทำผม แต่งหน้าที่แตกต่างจากคนอื่นก็เพื่อสร้างจุดสนใจ เด็กต้องการแสวงหาอัตลักษณ์ของตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าในสายตาของคนอื่น การกล้อนผมทำให้ถูกมองจากเพศตรงข้ามว่าน่าเกลียด ถูกมองด้วยความเสียหาย ความรู้สึกทางใจหรือสุขภาพจิตถูกทำร้าย การทำให้เด็กรู็สึกอับอายจึงเท่ากับการทำร้ายจิตใจอย่างร้ายแรง
การลงโทษไม่สามารถเปลี่ยนพติกรรมได้ แต่จะทำอย่างไรให้เด็กรักษาระเบียบวินัย ต้องมีการใช้จิตวิทยา และพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งในระบบการเรียนของครูนั้น ไม่มีการเรียนการสอนเรื่องการพัฒนาพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสมให้แก่เด็ก เป็นจุดอ่อนของการศึกษา ครูจึงไม่มีทักษะในการจัดการ จึงใช้ประสบการณ์เก่า ๆ ที่เคยพบเจอมาใช้ลงโทษเด็ก ซึ่งการพัฒนาเด็ก ปรับพฤติกรรมเด็กต้องเป็นไปข้อกำหนด ไม่ใช่ทำด้วยความอำเภอใจ การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการควรสร้างความเข้าใจในการปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่ละเมิดสิทธิเด็ก และปรับเนื้อหาการสอนที่ควรจะแนะนำให้เด็กหันไปพัฒนาตนเอง การแสดงออก การมีทักษะทางสังคมในทางที่เหมาะสม ที่จะช่วยสร้างจุดเด่นให้เด็กได้ ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่เป็นนักกีฬา เด็กที่มีผลการเรียนดี เด็กจะได้รับความสนใจ เด
ข้อเสนอแนะเพื่อยุติการใข้ความรุนแรงทางเพศต่อ นักเรียนโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์
เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อยุติ
การใข้ความรุนแรงทางเพศต่อ
นักเรียนโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา
วิทยากร นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
ข้อเสนอแนะเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงทางเพศต่อนักเรียนจากครูและบุคลากรในสถานศึกษา
การเหตุการณ์ที่เยาชนต้องเจอปัญหาการใช้ความรุนแรงทางเพศ การถูกละเมิดสิทธิโดยครูและบุคลากรในสถานศึกษา ทาง กสม. ได้ติดตามข้อมูลเหล่านี้และมองว่าต้องมีการทบทวนกระบวนการคุ้มครองเด็ก เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน เพราะการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องร้ายแรงและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ แต่ไม่มีการแก้ปัญหาตามแนวทางที่ควรจะเป็น ซึ่งมักจะจบปัญหาด้วยการเงียบเพราะความอาย หรือความกลัวจากการถูกข่มขู่ สังคมต้องตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการคุ้มครองเด็ก เหตุใดจึงมีการใช้ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากคนแปลกหน้า แต่เกิดจากผู้ใกล้ชิด ญาติ พี่น้อง หรือแม้กระทั่งพ่อของเด็กเอง เกิดอะไรกับครูและผู้ปกครอง เหตุใดจึงขาดการยับยั้งชั่งใจ สังคมต้องตระหนักและทบทวน เพราะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เด็กเป็นอนาคตของประเทศชาติที่จะต้องได้รับการปกป้อง เด็กต้องมีโอกาส
เติบโตในสังคมที่ดีและเป็นกำลังของชาติต่อไป
กสม. มีความกังวลกับปัญหาที่เกิดขึ้นและตั้งใจที่จะแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ในระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมานี้ กสม.ได้มีการจัดให้มีการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ผู้ที่อยู่ในกระบวนการจัดการศึกษา สื่อแขนงต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรวบรวมข้อมูลของปัญหาและแนวทางการแก้ไข มีการตรวจสอบและรับฟังอย่างรอบด้าน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถใช้ได้จริง สอดคล้องกับบริบททางสังคม และเป็นไปตามหลักการของอนุสัญญาสิทธิเด็ก ซึ่งภายในเดือนสิงหาคมนี้ กสม. จะสามารถนำเสนอข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาเชิงระบบไปยังรัฐบาลได้ ให้โรงเรียนกลับมาเป็นสถานที่ปลอดภัยของเด็ก ๆ อีกครั้ง มีครูที่เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้ที่คุ้มครองเด็ก รัฐบาลต้องทบทวนและมอบให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ นำข้อเสนอแนะไปดำเนินงานให้เด็กได้รับความปลอดภัยและพัฒนาในแนวทางที่ถูกต้อง
การจากรับฟังความเห็นทั้งสามครั้งที
สู่ 2 ทศวรรษของ กสม.
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง สู่ 2 ทศวรรษของ กสม.
วิทยากร นายวัส ติงสมิตร
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งมาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หลังจากที่รัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ก็มีพระราชบัญญัติออกมาตาม และได้ประกาศใช้ในปี 2542 ผ่านกระบวนการโปรดเกล้าแต่งตั้งในปี 2544 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม
กสม.ปัจจุบันเป็นชุดที่สาม และกำลังอยู่ในขั้นตอนการสรรหา กสม. ชุดที่ 4 โดย กสม.ในแต่ละชุดมีดังนี้
ชุดที่ 1 จำนวน 11 ท่าน ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 - 24 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรก มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ วันที่ 13 กรกฎาคม 2544 และครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ซึ่งในช่วงของการปฏิบัติหน้าที่ ได้เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่ กสม. ชุดแรกยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2552
ชุดที่ 2 จำนวน 7 ท่าน ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2552 - 19 พฤศจิกายน 2558
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 2 จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 24 มิถุนายน 2558
ชุดที่ 3 จำนวน 7 ท่าน เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปัจจุบัน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดที่ 3 เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
บทบาทหน้าที่ของ กสม. มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกในแต่ละฉบับ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห
วันสถาปนาองค์กร กสม. ครบรอบ 19 ปี ภาคบ่าย
พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติให้แก่ข้าราชการเกษียณอายุราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่บุคลากรสำนักงาน กสม. เจ้าของผลงานที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด 3 ลำดับแรก ในการประกวดคำขวัญเพื่อรณรงค์ป้องกันและต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายใต้กิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรของสำนักงาน กสม.
วันสถาปนาองค์กร กสม. ครบรอบ 19 ปี ภาคเช้า
การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สู่สองทศวรรษของ กสม." และการแถลง "สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญของ กสม." เนื่องในโอกาสวันสถาปนาองค์กร กสม. ครบรอบ 19 ปี โดยนายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและรายงานผลการปฏิบัติงาน
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2562
และรายงานผลการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
วิทยากร นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
กสม.ได้นำเสนอรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562 และรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่อสภาผู้แทนราชฎรได้รับทราบ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมาและได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวให้สาธารณชนได้รับทราบ ซึ่งในปีที่ผ่านมา กสม. เห็นว่า รัฐบาลมีความพยายามในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในหลายประการ เช่น การปรับปรุง/แก้ไขกฎหมาย การส่งเสริมให้ผู้มีอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิดังกล่าวมากขึ้น ซึ่ง กสม. เห็นว่ายังมีการดำเนินการบางประการที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จึงได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 4 ด้าน ดังนี้
1. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กสม. เห็นว่า รัฐบาลควรปรับปรุงระเบียบหรือแนวปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อประชาชน เช่น การขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ควรมีมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ดำเนินกิจกรรมด้วยสันติวิธีจากการถูกข่มขู่คุกคามหรือทำร้าย ควรเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งได้เสนอไปเมื่อปี 2562 และได้รับทราบว่า ครม. ให้ความเห็นชอบที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และควรใช้ความระมัดระวังในการบังคับใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในส่วนสิทธิแรงงาน ปัญหาการค้าระหว่างประเทศส่งผลให้มีการปิดโรงงานหลายแห่งโดยค้างการจ่ายค่าจ้างและเลิกจ้าง ทั้งมีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในภาคธุรกิจมากขึ้น รัฐบาลจึงควรดูแลให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานของพนักงานจ้างเหมาบริ
Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQI
ร่วมติดตามการให้สัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)
เรื่อง Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจ
ของ LGBTQI
วิทยากร คุณเจษฎา แต้สมบัติ
ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อ
สิทธิมนุษยชน
ในรายการสำนึกของสังคม
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FM 101.5 MHz
เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศ LGBTQI เกิดจากการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้มีความหลากหลายทางเพศจนเป็นที่ยอมรับของสังคมมากยิ่งขึ้น และกำหนดให้เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็น "เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ" หรือ Pride Month เพื่อรณรงค์และเฉลิมฉลองช่วงเวลาแห่งการแสดงความเป็นตัวเองอย่างภูมิใจ ซึ่งในปัจจุบัน อาจจะรู้จักกลุ่มหลากหลายทางเพศจากตัวย่อหลัก ๆ อยู่ 6 ตัว คือ LGBTQI
L = Lesbian ผู้หญิงรักผู้หญิง
G = Gay ผู้ชายรักผู้ชาย
B = Bisexual คนที่รักทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
T = Transgender คนข้ามเพศ (ทอม,กะเทย,และกลุ่มคนข้ามเพศอื่นๆ)
Q = Queer คนที่ยังไม่ตรงการระบุ
I = Intersex คนที่เกิดมามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติหรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่นๆ ที่ค่อยๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์
ซึ่งยังมีอีกหลายคำที่ใช้เพื่อแสดงความเป็นตัวตน
ของกลุ่มผู้หากหลายทางเพศ
ในส่วนของเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ปกป้อง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ แต่จะมีการดำเนินงานเกี่ยวกับกลุ่มคนข้ามเพศมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เพราะเป็นกลุ่มที่ถูกละเมิดละเมิดสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ ถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจหลากหลายรูปแบบ มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากที่กลุ่มคนข้ามเพศจะปรากฏความแตกต่างทางกายภาพอย่างชัดเจนมากกว่า ซึ่งการดำเนินของมูลนิธิจะมีทั้งในส่วนของงานวิชาการและการขับเคลื่อนทางสังคม ได้แก่ การศึกษาวิจัย ทบทวนรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มหลากหลายทางเพศในกรณีศึกษาต่าง การขับเคลื่อนโยบาย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างความเสมอภาคทางเพศ เพราะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่มีการรับรองและคุ้มครองในทางกฎหมายเทียบเท่ากับบุคคลต่างเพศ แต่ก็มีความพยายามจากนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อรณรงค์การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิดังกล่าว เช่น การรณรงค์กรณีการคัดเลือกทหาร โดยการระบุโรคกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศเป็น “ผู้วิกลจร