
30/04/2022
Photos from วิศวกรสร้างภาพ's post
E-TEAM Consulting
We are Professional Team Design & Engineering Consulting Services
Constructions and M&E Systems Project Consultancy E-TEAM Consulting
We are Professional Team Design & Engineering Consulting Services
Constructions and M&E Systems Project Consultancy
Contract As.
Mr.Thanongsak Chatchawarn
M&E Project Consultant. Mobile: 094-9329565
Line ID: thanongsak0949329565
Email: [email protected]
เปิดเหมือนปกติ
Photos from วิศวกรสร้างภาพ's post
คอร์สเรียนออกแบบและก่อสร้างภูมิทัศน์ภายนอก
สนใจรายละเอียดคอร์ส Landscape Design & Construction คลิกเลย
ทำไม IoT Blockchain ถึงเป็นอนาคต ของชีวิตคนเมือง
สวิฟท์ ไดนามิคส์ x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ ? ในวันนี้ทั่วโลกมีอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเชื่อมโยงส่งข้อมูลถึงกัน และสั่งการได้ด้วยอินเทอร์เน็ต มากกว่า 7,000 ล้านชิ้น
และด้วยความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยี มีการคาดการณ์กันว่า ภายในปี 2030 จำนวนอุปกรณ์ IoT ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 25,000 ล้านชิ้น
และอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายวงการ
รวมถึงช่วยยกระดับวงการ IoT นั่นก็คือ เทคโนโลยี “บล็อกเชน”
แล้วทำไม “IoT Blockchain” ถึงเป็นอนาคต ของชีวิตคนเมือง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์
กระจายศูนย์ที่ว่านี้ อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือว่า
ถ้านาย A โอนเงินให้ นาย B จะเกิดข้อมูลชุดหนึ่งเรียกว่า Block
และเมื่อนาย B โอนให้นาย C ก็จะเกิดอีก Block
โดยที่ Block ทั้งสองจะเชื่อมถึงกัน และจะเชื่อมต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการโอนข้อมูลต่อไป
ซึ่งข้อมูลที่เชื่อมต่อกันเป็น Chain นี้ มีข้อดีคือสามารถตรวจสอบกลับไปยังต้นทางได้ว่า ข้อมูลที่โอนมานั้นมีอยู่จริงและถูกต้อง
และจุดเด่นของระบบการทำงานแบบนี้ก็คือ ความโปร่งใส และความปลอดภัยของการใช้ข้อมูล นั่นเอง
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ใช้ในแวดวงการเงิน
เช่น การทำธุรกรรมการเงินแบบไร้ตัวกลาง อย่างการทำธุรกรรมการเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซี
แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากบล็อกเชนจะเข้ามาปฏิวัติโลกการเงินแล้ว
เทคโนโลยีนี้ ยังสามารถยกระดับวงการอื่น รวมถึงวงการ “IoT”
โดย “สวิฟท์ ไดนามิคส์” ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ในไทย ก็กำลังเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมายกระดับแพลตฟอร์มของตัวเอง ให้เป็น “IoT Blockchain”
สวิฟท์ ไดนามิคส์ ซึ่งมี คุณนที สิงหพุทธางกูร และ คุณนิกม์ เจริญสวัสดิ์ เป็นผู้ก่อตั้ง
คือผู้พัฒนา “Sentenance”
แพลตฟอร์มบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT ที่มีลูกค้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในไทยมากกว่า 100 บริษัท
มีอุปกรณ์ IoT อยู่ในระบบมากกว่า 10,000 ชิ้น
เรียกได้ว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ในไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทใหญ่มากมาย
ที่น่าสนใจคือ สวิฟท์ ไดนามิคส์ กำลังเตรียมยกระดับแพลตฟอร์ม Sentenance IoT ให้เป็นเครือข่าย “IoT Blockchain Infrastructure” แห่งแรกของประเทศไทย
โดยใช้ชื่อแพลตฟอร์มว่า “IoTx”
IoTx เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบให้เป็นระบบปิด
มีการจัดการข้อมูลแบบกระจายศูนย์ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน และมีการควบคุมและบริหารจัดการการเข้าถึงข้อมูลขั้นสูง
ด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ จะทำให้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานกับแพลตฟอร์ม Sentenance IoT ถูกประมวลผลโดย IoTx Blockchain เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
ที่สำคัญคือ IoTx Blockchain สามารถใช้จัดการข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ได้ทุกรูปแบบ
เริ่มจากที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น กล้อง CCTV, Digital Door Lock และอื่น ๆ
อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์ IoT ในภาคอุตสาหกรรมทุกประเภทธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Smart Cities
หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมการแพทย์ ก็สามารถใช้บริหารการจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้น การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง และข้อมูลอื่น ๆ ของยาหรือวัคซีนได้อย่างแม่นยำ
IoTx Blockchain สามารถใช้งานได้ทั้งระดับองค์กร และบุคคลทั่วไป
โดย สวิฟท์ ไดนามิคส์ ตั้งเป้าที่จะพัฒนา IoTx ให้เป็น IoT Blockchain ที่มีผู้ใช้งานครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี 2025
มาถึงตรงนี้ ก็สรุปได้ว่า IoT Blockchain เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังจะเป็นอนาคตของชีวิตคนเมือง
และ “IoTx” ซึ่งเป็น IoT Blockchain ที่ใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์ม Sentenance IoT ของ สวิฟท์ ไดนามิคส์
จะช่วยยกระดับความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของการจัดการข้อมูลได้ในระดับสูงสุด นั่นเอง..
References
-https://explodingtopics.com/blog/iot-stats
-https://www.swiftdynamics.co.th/
-https://www.sentenance.com/
-https://www.sitearound.com/
ขั้นตอนการเลื่อนระดับใบอนุญาตสามัญวิศวกร
รวมสุดยอดฟรีแลนซ์ 10 อันดับ ในหมวดหมู่ Web Scraping💻
.
1. Tuntun5555 https://bit.ly/fw_Tuntun5555
2. Teejirapat https://bit.ly/fw_Teejirapat
3. Wunchatp https://bit.ly/fw_Wunchatp
4. Kongchat https://bit.ly/fw_Kongchat
5. Saowalukk https://bit.ly/fw_Saowalukk
6. Supapong https://bit.ly/fw_Supapong
7. Koonpw37 https://bit.ly/fw_Koonpw37
8. Bankwc https://bit.ly/fw_bankwc
9. Werapong https://bit.ly/fw_Werapong
10. Cccyyy https://bit.ly/fw_Cccyyy
.
สำหรับใครที่สนใจต้องการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ⌨️ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ ก็สามารถเข้าไปปรึกษาและจ้างงานฟรีแลนซ์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนได้เลย
Photos from E-Team Consulting's post
#ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่_EEC_ด้วย_AIP_Platform
.
เราจะเข้าใจพื้นที่ได้อย่างไรหากไม่สามารถมองเห็นภาพรวม การพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นงานที่มีความซับซ้อนหลายมิติ ต้องอาศัยองค์ประกอบข้อมูลจำนวนมากและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในพื้นที่ใดๆ ข้อมูลเชิงพื้นที่จึงมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาบริบทเพื่อพัฒนาพื้นที่ คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่าภูมิสารสนเทศคือเครื่องมือสำคัญที่เปรียบเสมือนเลนส์แว่นตาส่องพื้นที่ขนาดใหญ่ และขาดไม่ได้ในกระบวนการวางแผนบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังเช่นโครงการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่เป็นต้นแบบในการใช้ประโยชน์ภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน
.
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EEC เป็นพื้นที่ศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่นำร่องในการนำโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ หากแต่ก็มีความซับซ้อนของระบบนิเวศเชิงพื้นที่ในหลายมิติ และบทเรียนจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก็เพียงพอที่จะทำให้การวางแผนพัฒนาครั้งต่อไปของภาคตะวันออกต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
.
#มอง_EEC_ผ่านเลนส์ภูมิสารสนเทศ
.
GISTDA ร่วมกับมูลนิธิเสนาะ อูนากูล และสถาบัน TDRI (Thailand Development Research Institute) ได้ศึกษาและจัดทำ “รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2564” เพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ AIP Platform ในการติดตามการพัฒนาพื้นที่ EEC ขับเคลื่อนแนวคิดการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาเชิงพื้นที่
.
ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศร่วมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เราจะสามารถมองภาพ EEC ในมุมกว้างทั้งในมิติพื้นที่ มิติเวลา รวมไปถึงมิติเชิงภูมิสังคม เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์ทิศทางที่ดีที่สุดสำหรับฉากทัศน์ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นศักยภาพของพื้นที่ในการลงทุนอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางโครงข่ายโลจิสติกส์ สาธารณูปโภค การจัดการความหนาแน่นของโรงงานอุตสาหกรรม การจัดการของเสียจากอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาและการรักษาฟื้นฟูทรัพยากร
.
ผลการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ของ EEC โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศร่วมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า สภาพภูมิประเทศในพื้นที่ EEC มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต มีการขยายตัวของการตั้งถิ่นฐานชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นตามบริบทของการพัฒนาเมืองที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ทำให้ลักษณะทางกายภาพมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการจัดการขยะ ทั้งขยะชุมชนและของเสียจากอุตสาหกรรม
.
แน่นอนการพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะทำอย่างไรให้สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ ในขณะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต สุขภาวะ ความเท่าเทียม และด้านภูมิสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเปราะบางของประเด็นปัญหา จำเป็นต้องวางแผนเชิงนโยบายอย่างรอบด้าน ตัดสินใจบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน
.
#GISTDA_ร่วมขับเคลื่อน_EEC_ด้วย_AIP_Platform
.
GISTDA มีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (Big Geo-Spatial Data) และพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ AIP Platform (Actionable Intelligence Policy) ภายใต้โครงการ THEOS-2 เพื่อใช้ในการติดตามการพัฒนาภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง โดยเป็น Platform กลางในการกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล สามารถแสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สถานะตัวชี้วัดในทุกด้าน เพื่อให้สามารถมองภาพรวมความเชื่อมโยงในพื้นที่และคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลง สามารถทราบทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ที่สามารถรองรับได้ (Carying capacity) และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและเท่าเทียม
.
#AIP_สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่_EEC_อย่างไร?
.
ทุกวันนี้ข้อมูลถูกผลิตขึ้นมาจำนวนมหาศาล จากหลากหลายแหล่ง หลากหลายรูปแบบ แน่นอนว่าทุกข้อมูลมีความสำคัญ แต่ปัญหาที่มักพบคือ จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร?
.
AIP คือระบบอัจฉริยะที่จะเข้ามาแก้ปัญหานี้ เป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลให้สามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนให้เกิดประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น เราสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายมาประมวลผลและวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกัน สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของปัญหา และแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย รวมไปถึงข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากร งบประมาณ กำลังคน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างตรงจุดมากที่สุด โดยมีตัวชี้วัดที่กำหนดไว้บ่งชี้ให้ทราบถึงผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่ และผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานที่สะท้อนสถานการณ์จริงได้อีกด้วย
.
ตัวอย่างเช่น การวางแผนจัดการขยะในพื้นที่ EEC ด้วยข้อมูลที่เพียงพอร่วมกับศักยภาพของระบบ เราจะสามารถทราบได้ว่าโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมมีเพียงพอไหม กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่หรือไม่ เส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการวางโครงข่ายเดินรถเก็บขยะชุมชนในแต่ละตำบลคือเส้นทางใด และหน่วยงานใดบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานนี้ เป็นต้น เหล่านี้จะทำให้หน่วยงานสามารถวิเคราะห์และวางแผนแนวทางในการกำจัดขยะในพื้นที่ EEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงเพื่อวางแผนรับมือได้ ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยหลายพันปัญหาที่สามารถหาทางออกร่วมกันบนพื้นฐานของข้อมูลด้วยระบบ AIP
.
#ก้าวต่อไปของ_AIP_กับการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
.
ปัจจุบันทีม GISTDA ได้ทุ่มเทลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่องอย่างต่อเนื่อง ทั้งในพื้นที่ EEC และพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชนในพื้นที่ ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและอัพเดทข้อมูลให้มีความทันสมัย ทั้งข้อมูลด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว การบริการจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ด้วยระบบ AIP และเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำระบบ AIP ไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต
.
#จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #จิสด้า #GISTDA #อวกาศ #การพัฒนาเชิงพื้นที่ #EEC #เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก #การบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน #นิคมอุตสาหกรรม #ภาคตะวันออก #ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ #การสร้างสมดุล #การรักษาฟื้นฟูทรัพยากร
โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ค้ารายย่อย ในเขตพัฒนาพิเศษภาค
ตะวันออก EEC ร่วมส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP) ด้วยการเพิ่มความสามารถในการขาย
สร้างเครื่องมือการตลาด ขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน
การผลิตสินค้าโอทอป (OTOP) ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่ อาทิ ทุเรียนทอดกรอบ เครื่องเงิน
พุดดิ้งมะพร้าวอ่อน ข้าวกล้อง สบู่เปลือกมังคุด มะม่วงน้ำดอกไม้ และหมูแท่งอบกรอบ
เป็นต้น
ทำให้ผู้ซื้อสินค้า นักท่องเที่ยว ได้ใช้สินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ
เกิดแรงจูงใจกลับมาเที่ยวซ้ำ ทำให้ชุมชนคนพื้นที่ อีอีซี เกิดการสร้างงาน
สร้างอาชีพ มีรายได้ดีมั่นคง
#EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก #NEWS
อ่านเพิ่มเติม :
https://www.eeco.or.th/th/news/419
#วิชาออกแบบชีวิต ด้วย #DesignThinking
น่าสนใจมาก ควรมีสถาบัน มีคอร์สสอนเรื่องนี้ให้เด็กยุคใหม่
Photos from วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) Engineering Institute of Thailand's post
ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC ด้วย 4 ยุทธศาสตร์สร้างสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้กลยุทธ์การเติบโตแบบ “สมดุล” และ “ยั่งยืน”
1. จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
2. ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต อยู่ในสิ่งแวดล้อมเมืองที่ได้มาตรฐานสากลทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างสมดุลเป็นธรรม
ให้การพัฒนาพื้นที่ EEC เคียงคู่ไปกับความต้องการของชุมชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
#EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
อ่านเพิ่มเติม :
https://www.salika.co/2021/06/16/4-strategy-to-create-environment-in-eec/
📌ด้วยเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นด้านวิศวกรรม มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้นวิศวกรจึงต้องได้รับการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้วิศวกรมีคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่ในระดับสูง
📢วันนี้ทางสมาคมฯ ร่วมกับวิศวกรสร้างสรรค์ มีคอร์สอบรมสำหรับคุณแล้วค่ะ
.
📣 การบรรยายในหัวข้อเรื่อง "หลักเกณฑ์การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (CPD) และการสะสมหน่วยความรู้เพื่อใช้ประกอบการเลื่อนระดับสามัญวิศวกร" ฟรี 🤩 ผ่านโปรแกรม zoom webinar
.
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565
เวลา 13:30 - 15:30 น.
.
วิทยากรบรรยายโดย
🔵 ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย
🔵 ผศ.ชายชาญ โพธิสาร เลขาธิการสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย
.
ผู้สนใจเข้ารับฟังสามารถ scan QR code หรือกดลิ้งค์
🔻
https://us02web.zoom.us/.../reg.../WN_VVWCqXo-R-y2vqa12W4wXw
เพื่อสำรองสิทธิ์ได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย และรับประกาศนียบัตรเมื่ออบรมจบหลักสูตร ‼ จำนวนจำกัดเพียง 500 สิทธิ์เท่านั้น ‼
.
Facebook : TSEA - สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย
Line id : @tsea.public
Websites : www.tsea.or.th
#TSEA #สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย
สนับสนุนโดย #ทีมวิศวกรสร้างสรรค์
Extremely Useful Wire Connection Tips & More
● ประสบการณ์การวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากมายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ●
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์มชิราคาวะ ณ จ.ฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าฯ ของบ้านปู เน็กซ์ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา⚡️💚
#โซลูชันพลังงานฉลาดเพื่อความยั่งยืน #บ้านปูเน็กซ์
Banpu NEXT ตัวจริงเรื่องการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและระบบโซลาร์อย่างครบวงจร ที่มีประสบการณ์การติดตั้งระบบฯ ด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เราออกแบบเฉพาะเหมาะสมกับทุกพื้นที่ ทั้งหลังคาอาคาร หลังคาลานจอดรถ โซลาร์ฟาร์ม และ โซลาร์ลอยน้ำ
สอบถามและรับคําปรึกษา ฟรี! ได้ที่: Call center 02-095-6599
หรือ Add LINE: https://bit.ly/BanpuNEXT-Line
Email: [email protected]
Website: www.banpunext.co.th
The U.S. Navy tests its ships in this ultimate indoor ocean.
🎥Department of Defense
#engineering
.
https://fb.watch/bBaRiUG4pu/
.
.
E-TEAM Consulting
We are Professional Team Design & Engineering Consulting Services
Constructions and M&E Systems Project Consultancy
Contact As.
Mr.Thanongsak Chatchawarn
M&E Project Consultant.
Mobile: 094-9329565
Line ID: thanongsak0949329565
Email: [email protected]
#ฝากกดLike FB Page : E-Team Consulting
>> https://bit.ly/3bAmbI8
.
. https://m.facebook.com/ETeamConsultings/?notif_t=page_fan¬if_id=1635781798430042&ref=m_notif
"ปัญหาด้านบัญชียอดฮิตของ SME และ Start-ups ไทยที่อาจทำให้มูลค่าบริษัทลดต่ำลงหากไม่แก้ไข"
-------------------------------------------------------------
AcctWise บริการที่ปรึกษาด้านบัญชีเพื่อเตรียมระดมทุน โดยทีมงานประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในองค์กรชั้นนำด้านตลาดทุน
Call: 088-637-2436
Email: [email protected]
www.acctwiseltd.com
#startup #techcompany #valuation #accounting #SME #LiVEExchange #consulting #investing #ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #ระบบบัญชี #ธุรกิจ
ประกาศชื่อผู้ชนะประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ 8.2หมื่นล้าน
*เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ23กม.ลุ้น7วันรฟม.เซ็นสัญญา
*ลุยเวนคืนจ่ายชดเชย 1.5หมื่นล้าน17สถานี/โรงจอด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นำรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา งานจ้างก่อสร้างโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ครั้งที่ 2 โดยการประกวดนานาชาติ ทั้ง 6 สัญญา วงเงินรวมประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท ลงนามโดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.
ประกาศผ่านเว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เรียบร้อยแล้ว หลังจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล) เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบผลการประกวดราคางานจ้างฯ เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา
สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน – หอสมุดแห่งชาติ ผู้ชนะการประมูล ได้แก่ CKST-PL JOINT VENTURE (ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) ราคาที่เสนอ 19,433,000,000 บาท
สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า ได้แก่ CKST-PL JOINT VENTURE ราคาที่เสนอ 15,878,000,000 บาท
สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า – สะพานพุทธ โดย ITD - NWR MRT JOINT VENTURE (ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)) ราคาที่เสนอ 15,109,000,000 บาท
สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง ได้แก่ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) ราคาที่เสนอ 14,982,000,000 บาท
สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง – ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stapling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ราคาที่เสนอ 13,094,800,000 บาท
สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ราคาที่เสนอ 3,589,000,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ตามปกติของการประมูลโครงการ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟม. ต้องนำรายชื่อผู้ชนะการประมูลขึ้นประกาศผ่านเว็บไซต์ รฟม. ประมาณ 7 วันทำการ หากไม่มีข้อทักท้วงใด รฟม. จะลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะประมูล ทั้ง 6 สัญญาได้ทันที
จึงคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ช่วงต้นเดือน มี.ค.65 จากนั้นจะเข้าสู่งานก่อสร้าง ซึ่งจะใช้เวลา 2,005 วัน หรือประมาณ 5 ปีครึ่ง จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 70
โครงการนี้จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพฯฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ มีระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร(กม.) มี 17 สถานี แบ่งเป็น 10 สถานีใต้ดิน ระยะทาง 13.6 กม. และ 7 สถานียกระดับ ระยะทาง 10 กม.
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า รฟม. กำลังเร่งสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อทยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเข้าก่อสร้าง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ พ.ศ. 2563
เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน –ราษฎร์บูรณะนั้น กำหนดเวนคืนที่ดินประมาณ 410 แปลง อาคารสิ่งปลูกสร้างประมาณ 500 หลังคาเรือน นอกจากจะเวนคืนเพื่อพัฒนาแนวรถไฟฟ้าแล้ว ยังเวนคืนเพื่อใช้เป็นจุดขึ้น-ลง 17 สถานี และพื้นที่ก่อสร้างโรงจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) 50 ไร่ด้วย โดยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ กำหนดกรอบวงเงินไว้ประมาณ 1.59 หมื่นล้านบาท.
——————————-
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุ...
91/244 RK Office Park Suwinthawong Rd., Minburi Bangkok 10510
Bangkok
10510
จันทร์ | 08:30 - 17:30 |
อังคาร | 08:30 - 17:30 |
พุธ | 08:30 - 17:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 17:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 17:30 |
เสาร์ | 08:30 - 17:30 |
Apple, EPSON, EFI, Roland, Cannon, Fujixerox, Ricoh, Dell, HP, Compaq, Acer, Asus, IBM, SUN, CISCO, Oracle, SAP, Siemens, ABB, NEC, Sheneider Squre-D, Invensys, JhonsonControl, Huneywell, Rockwell, Emerson, Power-One, Panasonic, Phillip, Sharp, Bosch, Samsung, Ericsson, Huawei, ZTE, Nokia Siemens Networks, Motolola, Interlink, D-Link, Telco, Forth, Krone, Thai Yazaki, Bangkok Telecom, Molex, Ampheno, HUBER+SUHNER, TE, Mitsubishi Electric,
GE, Tycon,
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ E-Team Consultingผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง E-Team Consulting:
Administrative Court of Thailand
120 Moo3 Chaeng Watthana RoadQueen Sirikit National Convention Center
Queen Sirikit National Convention Center 60 Ratchadaphisek Rd, Khlong Toei, Bangkok 10110Graduate School of Applied Statistics, NIDA
148 Serithai RdChemistry at Mahidol University
272 Rama VI Rd. Rachathewi