
08/12/2020
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตส้มโอ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #ส้มโอ
ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Soil Science Research Group DOA, หน่วยงานราชการ, กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร, Bangkok.
(1)
เปิดเหมือนปกติ
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตส้มโอ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #ส้มโอ
📣📣เกร็ดความรู้คู่ปฐพี.......ธาตุอาหารรองชนิดต่างๆ ☘️☘️
📍กลุ่มงานวิจัยปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน 📍กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา 📍กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 📍กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ย
📣📣เกร็ดความรู้คู่ปฐพี.......ปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่างๆ ☘️☘️
📍กลุ่มงานวิจัยปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน 📍กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา 📍กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 📍กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ย
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตตะไคร้ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #ตะไคร้
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #ไม่เผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแล้วได้อะไร
#กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #เคมีดิน #ปุ๋ย #พืช
https://www.facebook.com/384313785106079/posts/1388036871400427/
แหนแดงคว้าแชมป์ปุ๋ยพืชสดให้ธาตุอาหารสูงแซงพืชตระกูลถั่ว
กรมวิชาการเกษตร หนุนเกษตรกรใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ทึ่งให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ชูเป็นพืชมหัศจรรย์ตอบโจทย์ด้านเกษตรครบวงจร เข้าทางเกษตรอินทรีย์ นำไปผสมกับวัสดุปลูกช่วยต้นกล้าโตไว แถมเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเหมาะเป็นอาหารสัตว์ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้า
.
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า แหนแดงเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการผลิตพืช เนื่องจากใบของแหนแดงมีโพรงใบซึ่งมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่ตรึงไนโตรเจนอาศัยอยู่ เมื่อนำมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพบว่ามีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่วมีธาตุอาหารไนโตรเจนประมาณ 2.5 -3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นแหนแดงจึงเปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพที่สามารถใช้ทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินด้วย
.
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์แหนแดงสายพันธุ์อะซอลล่า ไมโครฟินล่า ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่าและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 30 วันให้ผลผลิตแหนแดงสดถึง 3 ตัน/ไร่ และสามารถตรึงไนโตรเจนได้ถึง 5-10 กิโลกรัม/ไร่ โดยหลังจากแหนแดงย่อยสลายจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชได้อย่างรวดเร็ว
.
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาแหนแดงได้ถูกนำมาใช้ประโยน์เป็นปุ๋ยพืชสดเฉพาะในข้าวเพียงพืชเดียวเท่านั้น นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดนำแหนแดงไปใช้ประโยชน์กับพืชอื่นให้หลากหลายชนิดมากขึ้น ประกอบกับมีกระแสส่งเสริมเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์แหนแดงจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ตอบโจทย์การทำเกษตรอินทรีย์เพราะสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เริ่มทดสอบนำแหนแดงสดไปตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปใช้กับพืชผัก เพราะหากใช้แหนแดงสดต้องใช้ปริมาณมากพืชจึงจะได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอ โดยเมื่อนำแหนแดงแห้งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารผลปรากฏว่ามีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากแหนแดงสดและยังใช้แหนแดงแห้งในปริมาณที่น้อยกว่าการใช้แหนแดงสด
.
จากผลการทดลองนำแหนแดงแห้งไปใช้กับพืชผักกินใบเช่น คะน้า กวางตุ้ง และผักสลัด โดยนำมาคลุกกับดินหรือรองก้นหลุม 1 กำมือ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี พบว่าให้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ จึงเหมาะสมอย่างมากสำหรับการผลิตพืชผักอินทรีย์ ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเกษตรกรสามารถผลิตและขยายพันธุ์แหนแดงไว้ใช้ได้เองโดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก โดย แหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมสามารถใช้ในพื้นที่ปลูกผักประมาณ 2 ตารางเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรียแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุอาหารเท่ากับปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 100 กรัม (1 ขีด)
.
ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนแม่พันธุ์แหนแดงและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแหนแดงในบ่อแม่พันธุ์สำหรับให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์เอง ซึ่งวิธีการเพาะเลี้ยงสามารถทำได้ง่ายโดยทำบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์แหนแดง 2 - 3 บ่อ เพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปขยายพันธุ์ต่อในบ่อขยายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยแหนแดงใช้ระยะเวลาขยายพันธุ์จนเต็มบ่อประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ และจะเจริญเติบโตขยายตัวไปได้เรื่อย ๆ เกษตรกรจึงสามารถผลิตได้ตลอดไม่มีวันขาดแคลน รวมทั้งยังสามารถเก็บแหนแดงแห้งใส่กระสอบไว้ได้นานถึง 3 ปีโดยที่ธาตุอาหารยังอยู่ครบ
.
นอกจากนี้ แหนแดงแห้งยังสามารถผสมลงไปในวัสดุปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกกล้าได้เลย โดยกล้าจะดูดซึมไนโตรเจนเข้าไปในรากพืชเมื่อนำกล้าลงแปลงปลูกพบว่าต้นกล้าที่ใช้แหนแดงผสมกับวัสดุปลูกสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่าต้นกล้าที่ไม่ได้ใส่แหนแดง รวมทั้งยังสามารถนำแหนแดงไปใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ปลา วัว และสุกรได้ด้วยเพราะแหนแดงสดมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งโปรตีนให้กับสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเพาะในหน้าแล้งขาดแคลนหญ้า จะเห็นได้ว่าแหนแดงเป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร
.
“ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินแต่การนำแหนแดงสดไปใช้ประโยชน์ในนาข้าว แต่ในวันนี้ได้มีการพัฒนาต่อยอดและส่งเสริมการนำแหนแดงแห้งไปใช้ประโยชน์ให้กับพื้นที่ปลูกพืชผักโดยเฉพาะพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ และในพื้นที่แห้งแล้งโดยแหนแดงจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำเอาไว้ให้พืช เนื่องจากแหนแดงแห้งสามารถซับน้ำได้ 300 เท่าของน้ำหนักตัว ที่สำคัญเกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงแหนแดงได้เองด้วยวิธีการง่ายๆ ใช้ต้นทุนน้อยมากในการสร้างบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์และบ่อขยายพันธุ์ เกษตรกรที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2 579-7523” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตกระเจี๊ยบเขียว #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #กระเจี๊ยบเขียว
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #ทำไม...ต้องหยุดเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #เคมีดิน #ปุ๋ย #พืช
ที่มา สาระและประโยชน์
จากปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
ทางเลือกสำหรับเกษตรกรเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #หลักการใช้ปุ๋ยชีวภาพให้มีประสิทธิภาพ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยชีวภาพ #ปุ๋ย #พืช
#หนังสือคู่มือปุ๋ยอินทรีย์(ฉบับนักวิชาการ) #กรมวิชาการเกษตร
ดาวน์โหลดลิงค์ด้างล่าง
https://drive.google.com/file/d/1IUy7JYnMkucxgpQgg6V1yrv_Rd1xfJz_/view?usp=sharing
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตมะระ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #มะระ #มะระขี้นก
https://www.facebook.com/2208929029320019/posts/2555004101379175/
ชู 2 ปุ๋ยชีวภาพตัวท็อปช่วยสลายฟอสฟอรัสในดินส่งต่อพืช เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต ต้านโรค ทนแล้ง
.
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วย 2 ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซาและละลายฟอสเฟต ตัวช่วยสลายฟอสฟอรัสธาตุอาหารสำคัญของพืชที่ถูกตรึงอยู่ในดินออกมาให้พืชใช้ประโยชน์อีกครั้ง ช่วยเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต แถมเป็นวัคซีนต้านโรครากเน่า ทนแล้ง ลดต้นทุนใช้ปุ๋ยเคมี สุดคุ้มใส่เพียงครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิตพืช ชงใช้ 2 ปุ๋ยร่วมกันเพิ่มประสิทธิภาพคูณ 2 ทำงานเสริมกันทั้งในรากและนอกราก
.
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์มีชีวิตที่สามารถสร้างและให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช ปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นปุ๋ยทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ช่วยทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรได้ค้นพบไมโคไรซาซึ่งเป็นเชื้อราในดินกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในราก โดยอยู่ร่วมกับรากพืชในรูปแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยพืชจะให้อาหารประเภทน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงแก่ไมโคไรซ่า ซึ่งเซลล์ของรากพืชและเชื้อราไมโคไรซ่าจะสามารถถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ โดยเส้นใยของราไมโคไรซ่าที่เจริญห่อหุ้มรากจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากพืชให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตในดินส่งต่อให้พืช โดยเฉพาะธาตุอาหารที่สลายตัวยากหรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงไว้ในดินส่งต่อให้กับพืชโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสที่มักถูกตรึงไว้ในดิน
.
จากคุณสมบัติของเชื้อราไมโคไรซ่าดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรจึงได้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพเพื่อส่งต่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิต พืชเจริญเติบโตและทนแล้งได้ดี รวมทั้งยังทนทานต่อโรครากเน่าหรือโคนเน่าที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เนื่องจากราไมโคไรซ่าที่เข้าไปอาศัยอยู่ในรากพืชจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าเข้าสู่รากพืชได้ และยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่งของอัตราการใช้ปุ๋ยปกติ
.
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า แม้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าจะมีคุณสมบัติที่ช่วยดูดธาตุอาหารที่สลายตัวได้ยากหรือถูกตรึงอยู่ในดินส่งต่อให้พืชได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วก็ตาม แต่ถ้าหากใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยละลายธาตุฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพืชมากขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประโยชน์ในการละลายฟอสเฟตออกมาใช้งานเช่นกัน โดยใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้วพบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง ซึ่งจุลินทรีย์ที่ใส่เติมลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้ง และยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของพืช
.
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลักของพืช ในดินที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะมีฟอสฟอรัสสำรองอยู่ในดินปริมาณมากอยู่แล้ว ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีให้กับพืชระหว่างการเพาะปลูกแต่พืชสามารถดูดไปใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเหลือตกค้างอยู่ในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงทำให้เกิดการสะสมของฟอสฟอรัสในดิน แต่ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์อยู่ในรูปที่ไม่ละลายพืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การขาดฟอสฟอรัสในดินจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก
.
“ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซาเป็นเชื้อราในดินที่จะเข้าไปอยู่ในรากของต้นไม้ เป็นกลุ่มที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส มีความสำคัญต่อการแตกราก ช่วยเพิ่มปริมาณรากให้กับต้นไม้ได้ดี ถ้าขาดฟอสฟอรัสต้นไม้จะแคระแกร็น ส่งผลต่อการติดดอกออกผล ส่วนปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตมีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายฟอสเฟตที่มีอยู่ในดินบางรูปที่พืชใช้ไม่ได้ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์แก่พืช ช่วยให้พืชได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น โดยปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตจะทำงานอยู่นอกรากพืช ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าจะทำงานอยู่ในรากพืช ดังนั้นหากใช้ร่วมกันจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารฟอสฟอรัสซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิตเพราะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง และการใส่ปุ๋ยชีวภาพเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานอยู่ได้จนตลอดชีวิตของพืช เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 0-2579-7522-3” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวโพดหวาน #การใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียว #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #ข้าวโพดหวาน #ข้าวโพดข้าวเหนียว
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตมะละกอ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #มะละกอ
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตขมิ้นชัน #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #ขมิ้นชัน
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตกล้วย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #กล้วย
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #หน่อไม้ฝรั่ง
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตมันเทศ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #พืชกินหัว
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตพริก #มะเขือ #่มะเขือเทศ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #พืชผักตระกูลพริกมะเขือ
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตกระเทียม #หอมแดง #หอมหัวใหญ่ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #พืชตระกูลหอมกระเทียม
#การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #แม่ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #ปุ๋ย
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตพืชผักที่รับประทานต้นและใบ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #พืชผักที่รับประทานต้นและใบ
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #การใช้ปุ๋ยในการผลิตมะยงชิด #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย #มะยงชิด
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #หลักการใช้ปุ๋ยกับไม้ผลให้มีประสิทธิภาพ #ไม้ผลทั่วไป #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ย
#การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตมันสำปะหลัง #แม่ปุ๋ย #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #มันสำปะหลัง #ปุ๋ย
#การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตอ้อย #แม่ปุ๋ย #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร #ดิน #อ้อย #ปุ๋ย
"ปุ๋ยอินทรีย์" มีประโยชน์แตกต่างจาก "ปุ๋ยเคมี" อย่างไร?
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยเคมี #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร
#การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #สับปะรด #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร
เนื้อดินและโครงสร้างดิน มีความสำคัญต่อการจัดการน้ำอย่างไร? หาคำตอบได้ที่ "เกร็ดความรู้ คู่ปฐพี" ค่ะ
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #ปุ๋ยอินทรีย์ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร
หนังสือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยพืชสวนอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้จากคิวอาร์โค้ดหรือที่ลิ้งนี้ค่ะ
#กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กรมวิชาการเกษตร
https://drive.google.com/file/d/1wD3fe4l_srex4QQnoDN9GznpO-YX94y6/view
ปุ๋ยอินทรีย์ มีธาตุอาหารพืชครบทุกธาตุ แต่มีอยู่ในปริมาณน้อย และปลดปล่อยธาตุอาหารพืชได้น้อยและช้า หากจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี จะต้องใช้ในปริมาณมาก
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี #ปุ๋ยอินทรีย์ #กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร #กรมวิชาการเกษตร
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี
#ลดการสูญเสียไนโตรเจน #ด้วยวิธีง่ายๆ #กลุ่มงานวิจัยและพัฒนารูปแบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ย
#กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กรมวิชาการเกษตร
#เกร็ดความรู้คู่ปฐพี
#เศษซากพืชมีค่า #คิดสักนิดก่อนเผา
#กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา #กรมวิชาการเกษตร
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
Bangkok
10900
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Soil Science Research Group DOAผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง Soil Science Research Group DOA:
ที่มา สาระและประโยชน์ จากปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ทางเลือกสำหรับเกษตรกรเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
แหนแดงนอกจากจะใช้แบบสดได้แล้ว ยังสามารถนำมาตากแห้งเก็บไว้ใช้งานได้อีกด้วย ติดตามได้ในคลิปนี้ค่ะ
#หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ จุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดินจึงได้ทำการคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงและผลิตเป็นหัวเชื้อ เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์และให้กระบวนการหมักเร็วขึ้น #สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-7522-3
SEAFDEC - Southeast Asian Fisheries Developme
50 Surassawadee Bld., Department of Fisheries, Kasetsart UniversityNetwork of Aquaculture Centres in Asia-Pacifi
Suraswadi Building, Department of Fisheriesศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร - AEOC
50 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักรForest Management ภาควิชาการจัดการป่าไม้
ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักรศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเส
ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรกศน.แขวงสามเสนใน - Lek Jumnanja
อาคาร 11 แฟลตตำรวจลือชา แขวงสามเสนใน เขตพญาไทกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ภายในบ้านราชวิถี ถนนราชวิถี เขตราชเทวีกลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพ
Ladya Klongsan