ศูนย์บริการเพื่อการเรียนรู้ DSLC
เป็นแหล่งเรียนรู้ใจกลางสุขุมวิท ย่านเอกมัย ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เปิดทำการทุกวัน ระหว่างเวลา 9.00-17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และที่มีประกาศพิเศษ
** บริการส่งเสริมการอ่าน ให้บริการหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร นวนิยาย การ์ตูนส์และหนังสือ
หลากหลายประเภท ฟรีสมัครสมาชิก เพื่่อใช้ใบริการ ยืม-คืน หนังสือ ไปอ่านที่บ้าน
** มุมเรียนรู้และกิจกรรมสำหรับเด็ก ให้บริการหนังสือเด็กและเยาวชน และกิจกรรมสำหรับเด็ก
** กลุ่มการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ดนตรี การฟังที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
**กิจกรรมอบรมโดยวิทยากรจิตอาสาทั้งด้าน อาหาร การเงิน เทคโนโลยี และอื่นๆ
ติดต่อศูนย์บริการเพื่อการเรียนรู้ DSLC โทร .02 3812633
ความคิดเห็น
สวัสดีผู้ใช้บริการทุกท่านค่ะ 🙏 ทางศูนย์บริการเพื่อการเรียนรู้ กศน.เขตคลองเตย 🥳 ได้เข้าร่วมประกวด ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ (Co-Learning Space) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับสำนักงาน กศน.จังหวัด กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ ที่ทุกท่านได้มาใช้บริการและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางศูนย์มาโดยตลอด ขอขอบพระคุณทุกท่านค่ะ 🙏😘
😁 แนะนำหนังสือน่าสนใจ 📕😁
" แสงแห่งชีวิต "
อย่าเกลียดใครจนทำร้ายชีวิตของตัวเอง
อย่าโง่เป็นทุกข์ จนทำร้ายชีวิตตัวเอง
ชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้แค่… “ครั้งเดียว”
สำหรับบางคน มันอาจไม่ยาวนานพอที่จะมีเวลา “รัก” ใครสักคนด้วยซ้ำ…
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเปรียบเสมือนไฟฉายชี้ส่องนำทาง
เพื่อให้ผู้อ่านได้หลุดออกจากกับดักของ “ชีวิต”
ได้ค้นพบจุดพลิกผันชีวิตเพื่อปลดล็อกปมในใจของตัวเอง…
แน่นอน หากท่านอยากเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง
อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่…ในสภาวะวิกฤตการณ์เฉกเช่นนี้
อยากก้าวเดินหน้าใหม่…ในสภาวะที่ชีวิตมืดแปดด้าน
อยากเปลี่ยนเป้าหมายใหม่…ในสภาวะที่จิตใจอ่อนล้า อ่อนแรงเต็มที
อยากพบวิถีใหม่ ที่ดีกว่าเดิม…ในสภาวการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากอะไรก่อนดี
สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเริ่มทำทันทีคือ ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองใหม่!!
แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดีล่ะ?
หนังสือเล่มนี้…เปรียบเสมือนแว่นขยายที่จะทำให้เรามองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เพื่อมองตนเอง สำรวจตนเอง ปรับเปลี่ยนวิธีการมองโลกรอบตัว ที่ยังมืดมนอยู่ให้สดใสมากขึ้น
จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อการใช้ชีวิตในมุมมองใหม่...ทันทีที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบ
ประกาศ 🎉🎉🎉
ศูนย์บริการเพื่อการเรียนรู้ กศน.เขตคลองเตย เริ่มให้บริการกิจกรรมตามปกติในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อนๆสามารถลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้ไม่เกิน 15 คน สนใจลงชื่อได้ที่เจ้าหน้าที่👉👉👉 02-3812633 🗡🗡❤️❤️
วันพยาบาลสากล 2022 / 2565 ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวันพยาบาลสากล เพื่อระลึกถึงผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
วันพยาบาลสากล
วันพยาบาลสากล (ภาษาอังกฤษ: International Nurses Day ;IND) สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2514
ทั้งนี้เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2363 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของ Florence Nightingale จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี Florence Nightingale มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ 20 ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาลแต่ไม่ได้รับการอนุญาตเนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วยจนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนีได้ดังใจฝัน
ต่อมาในปี 2400 เกิดสงครามไครเมีย (Crimean War) มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (The lady of the lamp)
ภายหลังสงครามสิ้นสุด Florence Nightingale ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล “ไนติงเกล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย
ประวัติการพยาบาลไทย
ความสำคัญของการพยาบาล และบุคลากรในด้านการพยาบาลมีมาอย่างต่อเนื่องนับแต่อดีต การพยาบาลไทยนั้น กล่าวได้ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตในการคลอดของสตรี ในสมัยก่อนสำหรับผู้หญิงเรียกได้ว่าการคลอดลูกเหมือนการออกศึก ในยุคนั้นใช้หมอตำแยซึ่งไม่ค่อยมีความรู้ในการทำคลอด และพระองค์ก็ได้ทรงประสบกับพระองค์เองด้วย
ต่อมาเมื่อประเทศเปิดรับการแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น มีมิชชันนารีเข้ามามากแต่มักจะเป็นหมอสอนศาสนาที่มีแต่ผู้ชายทั้งหมด ซึ่งในสมัยก่อนสตรีรักนวลสงวนตัวมากโดยเฉพาะหญิงชาววัง ทำให้ไม่สามารถรักษากับหมอผู้ชายได้ พระองค์ท่านเล็งเห็นถึงความยากลำบากนี้จึงได้ก่อตั้ง “โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล” ขึ้นมา เพื่อให้สตรีเป็นแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีความรู้ในการทำคลอดสตรีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แม้ในยุคแรกโรงเรียนแห่งนี้เน้นการเรียนการสอนด้านการผดุงครรภ์ แต่ผู้ที่มาเรียนก็ต้องเรียนการพยาบาลด้วย เนื่องจากต้องดูแลพยาบาลคนไข้และคนที่มาคลอด จนกระทั่งในยุคที่มีการพัฒนาสูงสุด คือ ยุคของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร ที่พระองค์ท่านไปศึกษาต่างประเทศ และกลับมาพัฒนาการแพทย์ให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งพระองค์ยังมีสายพระเนตรยาวไกล หากการแพทย์เจริญเพียงอย่างเดียวการพยาบาลไม่เจริญก็ไม่ได้เพราะต้องทำงานควบคู่กันจึงได้พัฒนาการพยาบาลด้วย พระองค์ทรงพัฒนาทั้งหลักสูตรทั้งสถานที่ โดยเฉพาะทุนร็อกกี้ เฟลเลอร์ พระองค์ท่านให้พยาบาลชาวอเมริกันมาปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลของไทยให้เป็นมาตรฐานเทียบเท่าสากล มีห้องแล็ปในการเรียนซึ่งถือเป็นการพัฒนาทั้งการพยาบาลและการผดุงครรภ์ควบคู่กันไป