
12/01/2021
วารสารกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
(1)
เปิดเหมือนปกติ
วารสารกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
ความสำเร็จของงานวิจัย เมื่อเสือโคร่งในป่าไทยเพิ่มขึ้น
.
.
การจะฟื้นฟูสัตว์ป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์คู่ป่าให้สำเร็จ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ “ความรู้” จากงาน “วิจัย”
.
เพราะเมื่อมี “ความรู้” ที่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่ “การจัดการ” ที่ถูกต้อง
.
เรื่องนี้มีตัวอย่างผลสำเร็จ คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย
.
เมื่องานวันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 หน่วยงานอนุรักษ์ทั้งภาครัฐและเอกชน แถลงร่วมกันว่า...
.
“ประเทศไทยมีประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติประมาณ 160 ตัว เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 60-80 ตัว”
.
ส่วนหนึ่งของผลนั้น เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ศึกษาความรู้ ในมิติต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้นั้นมาบูรณาการเป็นงานอนุรักษ์ ป้องกันดูแลสัตว์ป่ากับถิ่นที่อยู่อาศัย
.
เพื่อให้เข้าใจภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราขอยกตัวอย่างการศึกษาของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ซึ่งได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเสือโคร่งในด้านต่าง ๆ มากมายหลายมิติ
.
ตามชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น “สถานีวิจัยสัตว์ป่า” ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของที่นี่ คือ
.
ศึกษา รวบรวม แลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่าและสภาพ แวดล้อมของสัตว์ป่า ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อบริหารความรู้ทางวิขาการให้ประชาชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
.
งานวิจัยเรื่องเสือโคร่งของที่นี่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โดยใช้กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าตั้งรอจับภาพเสือโคร่ง
.
ในปีแรกถ่ายภาพเสือโคร่งได้เพียงภาพเดียว แต่ก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการติดตามประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย ต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน
.
ตัวอย่างผลงาน “ตามรอยเสือ” ของที่นี่ เช่น การศึกษานิเวศวิทยาของเสือในถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และทุ่งใหญ่นเรศวร)
.
การติดตามตรวจวัดประชากรของเสือโคร่งและเหยื่อ การแพร่กระจายของเสือโคร่งในผืนป่าตะวันตก - ฐานที่มั่นสำคัญ ที่พบเสือโคร่งมากที่สุดของประเทศ
.
เมื่อได้ศึกษานิเวศวิทยาเสือโคร่ง ก็ทำให้ทราบถึงปัจจัยแวดล้อมของเสือ ว่าเสือโคร่งตัวหนึ่งใช้ชีวิตอย่างไร มีพฤติกรรมเป็นอย่างไร ชอบกินอะไร...
.
เมื่อรู้ว่าเสือโคร่งชอบกินอะไร ก็นำไปสู่การประเมินจำนวน “เหยื่อ” หรือสัตว์ที่ถูกเสือกินว่ามีพอต่อความต้องการและจำนวนของเสือหรือไม่
.
หากมีป่า มีเสือ แต่ไม่มีกวาง ไม่มีกระทิง เสือโคร่งก็อยู่ไม่ได้ – ก็ต้องอนุรักษ์เหยื่อของเสือควบคู่ไปด้วย
.
หรือการรู้ว่าเสือโคร่งอาศัยอยู่ตรงไหน ทำให้ทราบว่า ที่ไหนมีเสือที่ไหนไม่มี
และนำไปสู่การหาคำตอบว่า มีหรือไม่มีเพราะอะไร
.
ไม่มีเพราะไม่มีเหยื่อให้ล่า หรือเพราะมีภัยคุกคามเข้าไปถึงพื้นที่ตรงนั้นใช่หรือไม่ หรือขนาดที่อยู่อาศัยมีน้อยเกินไปหรือไม่
.
เช่น จากการวิจัย ทำให้ทราบว่าที่ป่าหลายแห่งไม่มีเสือโคร่งเพราะป่ามีขนาดเล็ก เสือโคร่งตัวผู้ 1 ตัวใช้พื้นที่ 300 ตารางกิโลเมตร ตัวเมียใช้พื้นที่ 60-80 ตารางกิโลเมตร
.
ดังนั้น อย่างน้อย ๆ ที่สุด ก็ต้องดูแลพื้นที่ของเสือได้ไม่ต่ำกว่าข้อมูลที่ศึกษา
ซึ่งก็นำไปสู่การวางแผนงานอนุรักษ์ที่เข้มข้น รัดกุม และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
.
แต่เสือโคร่ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้หยุดอยู่นิ่งกับที่ และเป้าหมายไม่ได้มีเพียงแค่รักษาสิ่งที่มี แต่ยังหมายถึงการเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น
.
ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยอีกว่า มีเสือโคร่งจากป่าห้วยขาแข้ง ได้กระจายตัวไปอยู่หากินยังอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน และพื้นที่อื่น ๆ ในป่าตะวันตก
.
ดังนั้น ถ้าจะรักษาเสือโคร่งทั้งหมดให้อยู่รอดได้เช่นเดียวกับห้วยขาแข้ง ก็ย่อมต้องหมายถึงมาตรการป้องกันในพื้นที่รอบ ๆ ให้ดีด้วย
.
หรือการดูแลในภาพกว้างที่เรียกว่า “กลุ่มป่า” ที่ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงเขตอนุรักษ์แห่งใดเพียงแห่งเดียว
.
ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทย ได้ลงมือทำตลอดในหลายปีที่ผ่านมา จนมีตัวเลขชี้วัดและฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า เสือโคร่งในป่าไทยเพิ่มขึ้นจริง
.
โดยมีการศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ เป็นหนึ่งในปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ
.
.
#Wildlife #ฟื้นฟูสัตว์ป่า #ร่วมรักษาให้สัตว์ป่าคงอยู่
#สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #WildlifeConservationBureau
ในทุกวันมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัตว์ป่า เราได้ย้อน 10 ข่าวที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดในปี 2563 เพื่อเตือนความจำว่าในปีนี้เราได้ผ่านอะไรมาบ้าง
#สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
#กรมอุทยานฯ
#DNP
!!!! ลุ้นนนนน กิจกรรมม !!!!
____“ วันเด็กแห่งชาติ " ____
.
.
เห็นหลายๆที่ ยกเลิกการจัดกิจกรรมวันเด็ก
เนื่องจากสถานการณ์โควิด - 19
แอดเลยมีกิจกรรมมาให้เด็กๆ และครอบครัว
มาร่วมสนุกกันผ่านทางเพจสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
.
.
ง่ายๆเลย เพียงแค่ทำตามกฎิกาดังต่อไปนี้
1) กดไลค์เพจ และกดไลค์โพสนี้
2) แสดงความเห็นพร้อมแนบรูปถ่าย
เด็กๆในครอบครัว คู่กับสัตว์ป่า หรือสัตว์เลี้ยงก็ได้
------------------------------------------------
!!!!!เท่านี้ก็รอลุ้นรับของรางวัลได้เลย!!!!!!
------------------------------------------------
.
.
โดยจะประกาศรางวัล วันที่ 14 มกราคม 2564
.
ส่วนรางวัลจะเป็นอะไรนั้น มาลุ้นกันนนนนนน ^..^
แต่ต้องรีบหน่อยน้า เพราะของดี มีจำนวนจำกัดดด
.
.
#สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
#WildlifeConservationOffice
-- วัน วันหนึ่ง สำคัญไฉน --
.
ในหนึ่งปี มีวันสำคัญมากมาก ที่ระบุอยู่บนปฏิทิน
ไม่ว่าจะเป็น วันสำคัญทางศาสนา วันหยุดเทศกาล
วันสำคัญของชาติ และอื่นๆ
.
แต่น้อยนัก ที่จะระบุถึง
“วันสำคัญทางสิ่งแวดล้อม”
.
โดยวันสำคัญทางสิ่งแวดล้อมนั้นถูกระบุขึ้นเพื่อให้เราทุกคน
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องราวทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ และเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจของเรื่องราวเหล่านั้นอีกด้วย
.
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะให้ความสำคัญกับวันที่กำหนดไว้พียงวันนั้นวันเดียว
เพราะการให้ความสำคัญทางสิ่งแวดล้อมเริ่มได้ที่ตัวเราทุกเมื่อ
.
มาทำทุกวันให้เป็นวันสำคัญกันเถอะ
มกราคม
14 วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
กุมภาพันธ์
2 วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
13 วันรักษ์นกเงือก
มีนาคม
3 วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก
13 วันช้างไทย
14 วันหยุดเขื่อนโลก
21 วันป่าไม้โลก
22 วันน้ำโลก
เมษายน
12 วันป่าชุมชนชายเลนไทย
22 วันคุ้มครองโลก
27 วันสมเสร็จโลก
พฤษภาคม
10 วันต้นไม้ประจำปีของชาติ
22 วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
23 วันเต่าโลก
มิถุนายน
5 วันสิ่งแวดล้อมโลก
8 วันทะเลโลก
16 วันเต่าทะเลโลก
17 วันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก
กรกฎาคม
29 วันอนุรักษ์เสือโคร่ง
31 วันพิทักษ์ป่าโลก
สิงหาคม
12 วันช้างโลก
กันยายน
1 วันสืบ นาคะเสถียร
16 วันโอโซนโลก
20 วันอนุรักษ์รักษา-คูคลองแห่งชาติ
22 วันอนุรักษ์แรดโลก
ตุลาคม
21 วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ
พฤศจิกายน
16 วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก
ธันวาคม
4 วันสิ่งแวดล้อมไทย
5 วันดินโลก
9-13 สัปดาห์มรดกโลก
26 วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ว่าด้วยเรื่อง...
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
(The 6th extinction)
.
ตอนสุดท้าย
.
งานศึกษาชิ้นใหม่ ๆ หลายชิ้น ระบุตรงกันว่า อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตกำลังดำเนินไปเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และหากเราไม่ลงมือแก้ไขปัญหาในทันที
มนุษยชาติจะได้รับผลกระทบมากเกินกว่าจะจินตนาการได้
.
วิกฤตการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ อย่างการเติบโตของจำนวนประชากร การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย การค้าสัตว์ป่า มลภาวะต่าง ๆ
.
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนผสมที่กำลังคุกคามสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตหลายร้อยชนิดให้ยืนอยู่ขอบเหวของการสูญพันธุ์ในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
.
นักวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า มันเป็นการทำลายระบบนิเวศบริการของธรรมชาติที่สำคัญ และมีผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คน
.
โดยสรุปอัตราการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นว่า มันเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมถึง 100 เท่า...
.
หรือหมายความว่าการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นใน 1 ปี มีอัตราเทียบเท่าการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปีในอดีต
.
และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่ผ่าน ๆ มา ล้วนเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ หรือผลกระทบจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้ไดโนเสาร์ถึงกาลอวสาน
.
แต่วิกฤตการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง และผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์กำลังทำให้สิ่งมีชีวิตถึงหนึ่งล้านสายพันธุ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
.
ปัจจุบัน มีหลายสายพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรต่ำกว่า 1,000 ชีวิต เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังบนโลกจำนวน 515 สายพันธุ์กำลังอยู่ในวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ ประมาณครึ่งหนึ่งอาจมีจำนวนประชากรน้อยกว่า 250 ชีวิต และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ในอีก 20 ปี ข้างหน้า
.
นอกจากนี้ กว่า 237,000 สายพันธุ์ นอกเหนือจาก 515 สายพันธุ์กำลังอยู่ในวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ ณ ขณะนี้ ได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1900
.
และสัตว์ที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการสูญพันธุ์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขตร้อนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบุกรุกถิ่นฐานของมนุษย์
.
หากไม่มีความพยายามในการอนุรักษ์ที่มากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้มากที่สัตว์ทั้ง 515 สายพันธุ์จะหายไปภายในทศวรรษหน้า
.
นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของมนุษยชาติ สิ่งที่เราทำในระหว่าง 10-15 ปีข้างหน้า จะเป็นตัวกำหนดความหลากหลายทางชีวภาพบนโลก และอนาคตของเผ่าพันธุ์มนุษย์
.
ในความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า แม้สิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจดูห่างไกลจากตัวเรา และไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ประเด็นสำคัญ คือ...
.
มนุษย์ไม่อาจแยกตัวออกจากธรรมชาติ เราล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับ อาหาร น้ำ อากาศ และระบบนิเวศอื่น ๆ หากเรายังคงทำลาย สิ่งเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาสร้างอันตรายให้แก่เรา
.
เจน กูดดอลล์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ให้ความเห็นต่อวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งนี้ว่า...
.
“เรากำลังใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกราวกับว่าเป็นของที่ไม่มีวันหมด และให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจก่อนการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งทำให้พืชและสัตว์ค่อย ๆ สูญพันธุ์ สุขภาพของระบบนิเวศก็จะถูกทำลาย เพราะว่าทุกสายพันธุ์ล้วนมีบทบาทเชื่อมร้อยกันอย่างซับซ้อนเป็นห่วงโซ่ของชีวิต”
.
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงการเชื่อมร้อยของระบบนิเวศ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง คือ เรื่องการล่มสลายของระบบนิเวศสาหร่ายทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเมื่อปี 1990
.
เนื่องจากการทำประมงที่เกิดขนาด ทำให้เหล่าวาฬเพชรฆาตต้องอาศัยนากทะเลเป็นเหยื่อ ซึ่งนากทะเลนั้นถือเป็นตัวควบคุมประชากรเม่นทะเล เมื่อนากลดลงจำนวนเม่นทะเลก็เพิ่มมากขึ้น และได้เข้าไปกัดกินสาหร่ายทะเลทำให้สมดุลนิเวศได้รับ
.
ความเสียหาย และยังส่งผลต่อบรรดาสัตว์น้ำน้อยใหญ่ที่ต้องอาศัยสาหร่ายทะเลเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
.
นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงความเชื่อมโยงอีกกรณี อย่างการระบาดของ COVID-19 อันเป็นตัวอย่างปฏิสัมพันธ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบมาสู่สุขภาพของคนเรา
.
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การระบาดของ COVID-19 มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว และอาจถูกส่งต่อมาถึงมนุษย์ผ่านสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากตลาดค้าสัตว์ป่า โดยการระบาดของไวรัสในยุคปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 30-50 สายพันธุ์
.
ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เช่น โรคซาร์ส เมอร์ส อีโบลา ล้วนมีที่มาปัญหาเดียวกัน คือ การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
.
หากโลกยังคงสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต่อไปจะมีผลกระทบเรื่องอื่น ๆ ตามมาอีก
.
“นี่ไม่ใช่ทางเลือก นี่คือการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตและมนุษยชาติ”
.
.
#The6thextinction #การสูญพันธุ์ครั้งที่6 #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #WildlifeConservationBureau #ร่วมรักษาให้สัตว์ป่าคงอยู่
๘ มกราคม
วันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบด้าน เนื่องจากทรงมีความสนพระทัยในด้านต่าง ๆ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านกีฬา (แบตมินตัน ขี่ม้า) ด้านศิลปกรรม (การออกแบบเสื้อผ้า)
.
และนอกจากที่กล่าวมานี้ พระองค์ยังทรงมีความสนพระทัยและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีโครงการในพระอุปถัมภ์คือ
“โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริฯ”
.
โดยโครงการมีการดำเนินการที่สำคัญด้านต่างๆ ได้แก่
- ด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ มีการจัดตั้งหน่วยย่อยปฐมพยาบาลสัตว์ทะเลหายาก และชุดเคลื่อนที่เร็วและประสานงานเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก
- ด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยและแนวปะการัง มีการวางปะการังเทียม เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จำนวน 1,850 แท่ง
.
และจากการติดตามประเมินผลพบสัตว์ทะเลในพื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และด้านการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์ มีการจัดกิจกรรมเก็บขยะแนวชายฝั่งทะเล และปล่อยพันธุ์เต่าทะเลหายากคืนสู่ธรรมชาติ
.
ตลอดจนรณรงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสัตว์ทะเลหายาก ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล เพื่อฟื้นคืนความสมบูรณ์และความสมดุลทางธรรมชาติให้แก่ท้องทะเลไทย อีกทั้งสัตว์ทะเลหายากไม่ให้ถูกทำลายเพิ่มขึ้น
อยากจะชวนเธอมาเล่นน้ำ...
.
#สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว
#สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
#WildlifeConservationOffice
ถึงจะหนาว แต่มันสนุกนี่นา
ว่าด้วยเรื่อง...
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
(The 6th extinction)
.
ตอนที่ 2
.
ว่าด้วยเรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ - นับแต่อดีตเป็นต้นมา โลกเผชิญหายนะเรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตมาแล้วถึง 5 ครั้ง
.
แต่การสูญพันธุ์ครั้งใหม่กลับเดินหน้าเข้ามาหาเราอย่างรวดเร็ว
และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจากทั่วโลกต่างก็พันธงว่า พวกเราทุกคนในฐานะมนุษย์ล้วนสร้างปัจจัยเร่งให้เกิดหายนะก่อนกำหนด
.
อะไรทำให้การสูญพันธุ์เกิดขึ้นเร็ว...
.
เหตุผลอันดับแรก คือ การที่สัตว์ป่าต้องสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย เพราะป่าถูกทำลาย
ปัจจุบันโลกเรามีพื้นที่ป่าลดน้อยลงอย่างมาก แถมที่มีอยู่ก็กระจายกันเป็นหย่อม ไม่เชื่อมต่อถึงกัน
.
การสูญเสียป่าเป็นภัยต่อสัตว์ที่อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ IUCN Red List โดยสัตว์ได้รับผลกระทบราว 85% สายพันธุ์จากทั้งหมด
.
และแน่นอนว่า สิ่งที่ทำลายป่าได้ ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากการเข้าไปยึดพื้นที่ป่าของมนุษย์เรานี่ล่ะ
.
ขณะเดียวกัน มนุษย์เรายังมีส่วนรุกรานป่าทางอ้อมโดยการเชื้อเชิญ ‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น’ (invasive specie) ให้เข้ามาทำร้านชนิดพันธุ์ประจำถิ่นทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
.
สัตว์ต่างถิ่นบางพวก แข็งแรง เอาตัวรอดเก่ง แต่ก็กลับไปทำลายวงจรชีวิตชนิดพันธุ์ประจำถิ่น จนวงโซ่อาหารที่มีอยู่ขาดตอน
.
ในประเทศไทยมีพืชต่างถิ่น 36 ชนิด อาทิ ‘จอกหูหนูยักษ์’ เมื่อโตเต็มที่จะมีใบเบียดเสียดกันมากและซ้อนทับกันเป็นชั้นหนาเต็มผืนน้ำไปหมด ทำให้แสงแดดส่องลงมาไม่ถึงและน้ำขาดออกซิเจน
.
มีสัตว์ต่างถิ่นอีก 56 ชนิด อาทิ ‘หอยเชอรี่’ Pomacea canaliculata ที่มีทักษะแย่งอาหารเป็นเลิศ คอยแย่งอาหารหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง Pila spp และมักผสมพันธุ์กับหอยโข่งจนมีการปนเปื้อนทางพันธุกรรม
.
นอกจากนั้น ปัจจัยจากมลภาวะที่เราใช้และปล่อย เช่น พวกสารเคมีต่าง ๆ ก็เข้าไปปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อม กระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
.
หรืออยากการใช้ถุงพลาสติกก็เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้รณรงค์อย่างแข็งขันให้ผู้เข้าเที่ยวชมลดการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์
.
เพราะเมื่อพลาสติกเหล่านั้น หลุดรอด ปลิดภัยเข้าไปในระบบนิเวศ สัตว์ป่าก็จะกลายเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้อย่างเต็มประดา
.
ดังปรากฏในข่าวสารมากมาย เรื่องความตายของสัตว์ป่าที่มาจากพลาสติก
.
.
จะเห็นว่า...
.
สิ่งต่าง ๆ ที่เราทำ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง และทำให้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
.
.
#The6thextinction #การสูญพันธุ์ครั้งที่6 #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #WildlifeConservationOffice #ร่วมรักษาให้สัตว์ป่าคงอยู่
ว่าด้วยเรื่อง...
'การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (The 6th extinction)'
.
[ตอนที่ 1]
.
เชื่อว่าผู้อ่าน แฟนตัวยง ของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า คงเคยได้ยินคำว่า ‘การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6’ (The 6th extinction) ...
.
โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษนี้ คำคำนี้ถูกใช้บ่อยขึ้น เพื่ออธิบายถึงสภาพความเป็นไปที่สิ่งมีชีวิตบนโลกเรากำลังเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน
.
เรื่องนี้อาจฟังดูราวเหมือนภาพยนตร์วันสิ้นโลก แต่ในความเป็นจริง ทราบหรือไม่ว่าหายนะนั้น กำลังเขยิบเข้ามาใกล้ขึ้นทุกขณะ
.
นับแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมา ธรรมชาติ สมดุล วงจร ก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตระดับล้างโลกมาแล้วถึง 5 ครั้งใหญ่ ๆ
.
ในแต่ละครั้ง ได้กวาดสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตไปราว 50-90 % ไปจากโลก กลายเป็นจุดจบของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ แต่ชั่วขณะต่อมาก็เป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายชีวิต ที่แตกหน่อแผ่กิ่งก้านสาขาในช่วงเปลี่ยนผ่าน วนเวียนเช่นนั้นอยู่เสมอ...
.
ว่าแต่ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ หมายถึงอะไร - คำถามนี้สามารถอธิบายสั้น ๆ ได้ว่า...
.
มันคือการทำลายล้างทางชีวภาพ
โดยมีอัตราประชากรของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก
ลดลงอย่างรวดเร็ว
.
จริง ๆ แล้ว การสูญพันธุ์เป็นเรื่องพื้นฐาน เพราะในแต่ละวันจะมีสัตว์หรือพืชสายพันธุ์เกิดใหม่ พร้อม ๆ กับมีสายพันธุ์ที่ค่อย ๆ สูญหายไป
.
โดยทางสถิติเคยบันทึกเอาไว้ว่า... ในรอบ 100 ปี จะมีสายพันธุ์หายไม่เกิน 1 ใน 10,000 สายพันธุ์
.
แต่ ‘การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6’ สิ่งมีชีวิตกลับสูญพันธุ์ในอัตราที่สูงผิดปกติ กล่าวคือ
.
เรากำลังสูญเสียสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2 สายพันธุ์ต่อ 10,000 สายพันธุ์ในรอบ 100 ปี
ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน่ ส่งผลให้ระบบนิเวศพังลงมาทั้งระบบ
.
การสูญพันธุ์ในอดีต ครั้งแรกเกิดขึ้นปลายยุคออร์โดวิเชียน เมื่อราว 443 ล้านปีที่แล้ว ยุคน้ำแข็งที่รุนแรงทำให้ระดับน้ำทะเลลดลงถึง 100 เมตร ทำให้ชนิดพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ใต้น้ำราวร้อยละ 60 – 70 ต้องสูญพันธุ์ไป และเมื่อน้ำแข็งละลายก็ทำให้มหาสมุทรขาดออกซิเจน
.
ครั้งที่ 2 การสูญพันธุ์ ณ ปลายยุคเดโวเนียน เมื่อราว 360 ล้านปีที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ที่ยาวนานทำให้ชนิดพันธุ์ที่อาศัยในน้ำตื้นสูญพันธุ์ไปกว่าร้อยละ 70 รวมถึงปะการังจำนวนมหาศาล
.
ครั้งที่ 3 การสูญพันธุ์ ณ ยุคเพอร์เมียน – ไตรแอสสิค เมื่อราว 250 ล้านปีที่แล้ว เป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ทำให้ชนิดพันธุ์กว่าร้อยละ 95 ต้องสูญพันธุ์ไปรวมทั้งไทรโลไบท์และแมลงขนาดใหญ่ เป็นเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับการระเบิดของภูเขาไฟที่ทวีปไซบีเรียนที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
.
ครั้งที่ 4 การสูญพันธุ์ ณ ยุคไตรแอสสิค- จูราสสิค เมื่อราว 200 ล้านปีที่แล้ว เป็นการสูญพันธุ์ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดอีกครั้ง ทำให้ชนิดพันธุ์สูญพันธุ์ราวร้อยละ 75 และทำให้พื้นผิวโลกปราศจากสิ่งมีชีวิตอื่น และทำให้ไดโนเสาร์ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก
.
และครั้งที่ 5 การสูญพันธุ์ ณ ยุคครีเตเชียส และเทอเธียรี เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว เกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่ชนโลกที่ประเทศเม็กซิโก หลังจากที่เกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ทำให้ไดโนเสาร์และแอมโมไนท์สูญพันธุ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์ยึดครองพื้นผิวโลก
.
พอเราได้ย้อนดู เรื่องการสูญพันธุ์ครั้งที่ผ่าน ๆ มา ก็พอเห็นภาพเลา ๆ ได้ว่า เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทั้งในและนอกโลก มาเหตุและปัจจัยที่ทำให้การสูญพันธุ์เกิดขึ้น
.
ทว่า...สำหรับการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 นี้ ดูเหมือนว่า ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ เริ่มสรุปสาเหตุออกมาได้ ดูเหมือนว่าจะมีเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ในฐานะตัวเร่งให้เกิดการสูญพันธุ์
.
ซึ่งผลงานวิจัยหลายชิ้นต่างสรุปตรงกันว่า “มนุษย์” คือส่วนหนึ่งของปัญหานี้
ว่าแต่ “มนุษย์ทำอย่างไร ให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เกิดขึ้นได้ เราจะไขปริศนานี้ ในตอนต่อไป
.
.
#The6thextinction #การสูญพันธุ์ครั้งที่6 #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #WildlifeConservationOffice #ร่วมรักษาให้สัตว์ป่าคงอยู่
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Bangkok
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ยินดีที่ได้รู้จัก...”สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า” เขาเป็นใคร? เขาทำอะไร? เขาเกี่ยวข้องอะไรกับสัตว์ป่า? . ในโอกาสที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ จะมีอายุครบ 18 ขวบ ในวันที่ 2 ต.ค. 2563 เฟซบุ๊กสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการต่อธารกำนัล... . สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช . และก่อนจะมาเป็น “สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า” เราเคยเป็น “กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ในสังกัดกรมป่าไม้” เมื่อปี 2518 . ในปี 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ถือกำเนิด “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” ขึ้น . และนั่นก็คือต้นทางของ “สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า” อย่างเป็นทางการจวบจนทุกวันนี้ . สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งด้านป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่ ภายใต้วิสัยทัศน์.. “สัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัย ได้รับการอนุรักษ์ จัดการอย่างมีมาตรฐาน” . การจัดการนั้นดำเนินการอย่างไร? มีมาตรฐานอย่างไร? ขอเชิญทุกท่านหาคำตอบได้ในวิดีโอชุดนี้... . สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งอยู่ที่ : อาคารสืบ นาคะเสถียร ชั้น 5-6 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เลขที่ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร . เปิดทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. . เรามีเว็บไซต์ด้วยนะ : http://portal.dnp.go.th/p/WildlifeConserve . . #แนะนำสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า #WildlifeConservationOffice
วันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 Global Tiger Day 2020 -------------------------------------- เสือโคร่งตัวแรกที่เดินผ่านกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า มีชื่อว่า T5 . T5 คือจุดเริ่มต้นของการติดตามประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีจุดสิ้นสุด . การไม่มีจุดสิ้นสุด หมายถึง จำนวนประชากรเสือโคร่งในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี . และยังหมายถึงการเรียนรู้ ความผูกพัน จนก่อเกิดสายสัมพันธ์ใหม่ ที่เรียกว่า . . "การอนุรักษ์เสือโคร่ง" . . -------------------------------------- ร่วมตามติดความผูกพันระหว่างเสือโคร่งกับนักวิจัย : . "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร -------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายและกิจกรรมการอนุรักษ์เสือโคร่ง ผนังโค้ง ชั้น 5 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 -------------------------------------- ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประเทศไทย, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิฟรีแลนด์, Thailand Tiger Project, แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย . . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
วันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 Global Tiger Day 2020 -------------------------------------- . เราทราบกันแล้วว่า เสือโคร่ง 1 ตัว ต้องการพื้นที่ดำรงชีพ 60-300 ตร.กม. . และผืนป่าไทยมีจำนวนประชากรเสือโคร่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% . ทุกวันนี้ ขณะที่มนุษย์กำลังค้นหาทางเดินชีวิตเป็นของตนเอง เสือโคร่งก็เช่นกัน... เสือโคร่งวัยรุ่น กำลังเดินทางไปยังผืนป่าอื่น ๆ ที่สมบูรณ์เพื่อเริ่มต้นชีวิตของตัวเอง . ผืนป่าไทย มีศักยภาพมากแค่ไหน ในการรองรับจำนวนเสือโคร่งที่เพิ่มขึ้นนี้? . เราจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้เหมาะสมสำหรับรองรับเสือโคร่งในอนาคตอันใกล้นี้ได้หรือไม่? . และเราจะทำอย่างไรให้เสือโคร่งกับชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากผืนป่าได้โดยเกื้อกูลกัน? "คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ เสือโคร่งก็อยู่ได้" . . -------------------------------------- ร่วมค้นหาแนวทางบูรณาการผืนป่าเพื่อเสือโคร่งที่ : . "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร -------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายและกิจกรรมการอนุรักษ์เสือโคร่ง ผนังโค้ง ชั้น 5 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 -------------------------------------- ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประเทศไทย, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิฟรีแลนด์, Thailand Tiger Project, แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย . . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
วันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 Global Tiger Day 2020 -------------------------------------- . เสือโคร่ง เป็นสัตว์ผู้ล่าที่น่าเกรงขาม แต่... ไม่เหี้ยมโหดเท่ามนุษย์ . เสือโคร่ง ล่าเหยื่อเพื่อความอยู่รอด แต่... มนุษย์ ล่าเสือโคร่งเพื่อกิเลส . เรา...มีวิธีปกป้องเสือโคร่งและสัตว์ป่าให้รอดพ้นจากน้ำมือมนุษย์ได้อย่างไร? . . -------------------------------------- ร่วมปกป้องเสือโคร่งไปกับผู้พิทักษ์ป่าที่ : . "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร -------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายและกิจกรรมการอนุรักษ์เสือโคร่ง ผนังโค้ง ชั้น 5 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 -------------------------------------- ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประเทศไทย, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิฟรีแลนด์, Thailand Tiger Project, แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย . . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
วันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 Global Tiger Day 2020 -------------------------------------- . เสือโคร่ง เป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ . ทั้งยังอาศัยอยู่ในผืนป่าอันกว้างใหญ่ไพศาล . หลายคนจึงมีคำถามว่า “นักวิจัยตามศึกษาเสือโคร่งได้อย่างไร?” . แท้ที่จริงแล้ว เสือโคร่ง ทิ้งร่องรอยไว้ในป่าอย่างแยบยล แต่ก็มากพอจะให้นักวิจัยสะกดรอยตามไปได้ . . -------------------------------------- ร่วมตามหาและลุ้นไปกับนักวิจัยเสือโคร่ง : . "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร -------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายและกิจกรรมการอนุรักษ์เสือโคร่ง ผนังโค้ง ชั้น 5 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 -------------------------------------- ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประเทศไทย, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิฟรีแลนด์, Thailand Tiger Project, แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย . . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
วันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 Global Tiger Day 2020 ------------------------------------- อาหารมื้อโอชะของเสือโคร่ง คือ วัวแดง กวาง เก้ง กระทิง และหมูป่า . เสือโคร่ง กินเหยื่อแต่ละครั้งที่ล่าได้ ประมาณ 18-40 กิโลกรัม . หากต้องการเพิ่มประชากรเสือโคร่ง ก็ต้องเพิ่มประชากรเหยื่อไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดความสมดุล ระหว่างผู้ล่าและผู้ถูกล่า . และเหยื่อก็ต้องการอาหารอันโอชะ จำพวกหญ้าหรือใบไม้ เพื่อการดำรงชีพ . จึงเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องรักษาไว้ซึ่งทุ่งหญ้า ผืนป่า แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมให้ครบถ้วนทั้งระบบ ------------------------------------- มาร่วมกันคำรามให้กึกก้อง "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 ------------------------------------- ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประเทศไทย, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิฟรีแลนด์, Thailand Tiger Project แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย . . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
เสือโคร่ง 1 ตัว ครอบครองพื้นที่ป่า ตั้งแต่ 60-300 ตารางกิโลเมตร . อาณาเขตครอบครองของเสือโคร่ง ครอบคลุมพื้นที่อาศัยของบรรดาสัตว์ป่าน้อยใหญ่หลากหลายชนิด . "การอนุรักษ์เสือโคร่ง" จึงมีความหมายมากกว่า เพียงการรักษาให้จำนวนประชากรเสือโคร่งยังคงอยู่และเพิ่มมากขึ้น . แต่ยังหมายถึง "การรักษาผืนป่าขนาดใหญ่ ยังผลให้ป่าสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นระบบนิเวศอันมีความหลากหลายทางชีวภาพ" ----------------------------------------------------------------- มาร่วมกันคำรามให้กึกก้อง ในงานวันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2563 "ป่าไทยไม่ไร้เสือ - Roar for Thai Tigers" 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ----------------------------------------------------------------- เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 . #29กรกฎาคมวันเสือโคร่งโลก #29JulyGlobalTigerDay #ป่าไทยไม่ไร้เสือ #RoarForThaiTigers #สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
>>>> ชบาแก้วกลับบ้านนนนนนนนน <<<< ยินดีกับชบาแก้วด้วยจร้าที่ได้กลับบ้าน และการนำลูกช้างป่า ส่งคืนโขลงช้างได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองที่ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำทีมโดย ผอ.กาญจนา นิตยะ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ดร.สุชาติ โภชฌงค์ผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศสัตว์ป่า,นายทวีป คำแพงเมือง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว,นายประทีป โรจนดิลก นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ,นายฑิฐิ สอนสา นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ,ทีมสัตวแทย์ สบอ.10(อุดรธานี) และน.ส.นันทิตา รักษาชาติ สัตวแพทย์ สบอ.8 (ขอนแก่น) ,เจ้าหน้าที่ทั้งจากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ สบอ.10 (อุดรธานี) ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2562 วันที่ 18 กันยายน 2562 โดยการจัดทำคอกช้างชั่วคราว และนำลูกช้างเข้าไปบริเวณป่าลานช้าง โดยวางกำลังเจ้าหน้าที่ตามจุดต่าง ๆ (บนห้าง)เพื่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ กล้องถ่ายคลื่นความร้อน ตลอดจนการวางอาหารล่อ(อ้อย) เพื่อให้โขลงช้างเข้ามา ปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนถึงเวลา 23.30 น. พบกลุ่มโขลงช้างเข้ามาหลายชุด จนพบกลุ่มช้างโขลงสุดท้ายเข้ามาบริเวณคอกช้าง(ชบาแก้ว) ประมาณ 20 ตัว มีช้างทุกเพศ ทุกวัย ช้างโตเต็มวัย ช้างวัยรุ่น ลูกช้าง โดยมีช้างที่เข้าไปในคอกจำนวน 2 ตัว และพังคอกนำลูกช้างวิ่งเข้าไปในป่า วันที่ 19 กันยายน 2562 ได้นำคณะทำงานเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เพื่อติดตามร่องรอยของโขลงช้างที่นำลูกช้างป่า(ชบาแก้ว) ไป พบว่าช้างโขลงดังกล่าวมุ่งหน้าไปทางป่าห้วยพวง(วัดถ้ำบูชา) จึงได้วางกำลังเพื่อติดตามและเฝ้า ระวังโขลงช้างป่าที่คาดว่าลูกช้างป่า(ชบาแก้ว)จะอยู่ในโขลงช้างป่าโขลงนี้ และอีกชุดก็ทำการติดตามเฝ้าระวังในพื้นที่โดยรอบ ขอบพระคุณ หลวงปู่เสถียร เจ้าอาวาสวัดถ้ำพระ ได้เมตตาเป็นองค์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ขอบคุณภาพกล้องถ่ายคลื่นความร้อน : ดร.สุชาติ โภชฌงค์
วีดิโอปล่อยสัตว์ป่า ได้แก่เนื้อทราย 70 ตัว ละมั่ง 30 ตัว เป็น soft release ในงานรำลึก 29 ปี สืบ นาคะเสถียร ขอบคุณภาพเคลื่อไหว จาก ไทย พีบีเอส
ภาพวิดีโอสัตว์ป่าจากกล้อง camera trap ที่เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐานได้ติดตั้งไว้ในพื้นที่ เป็นอีกหนึ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีการติดตามประชากรสัตว์ป่าหลังการปล่อยได้อย่างมีคุณภาพ
ประกาศแสดงเจตจํานงของผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดย นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
>>> เป็ดแดงได้โบยบินอีกครั้ง <<< วีดีโอ "#ส่งสัตว์คืนวนา #เพื่อป่าสมบูรณ์" ในโครงการ “การมีส่วนร่วมกำหนดแนวเขตควบคุม จัดที่ทำกิน/ปลูก/ และปล่อยสัตว์ป่า เพื่อการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน” วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี สัตว์ป่าที่ปล่อยทั้งหมดมี 6 ชนิด ได้แก่ #เป็ดก่า, #เป็ดแดง, #ไก่ไก่ฟ้าหลังขาว, #ไก่ฟ้าพญาลอ, #นกยูง, #ไก่ป่าตุ้มหูขาว รวม 467 ตัว
"โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังสะพุง" --------------------------------------------- เป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความต้องการใช้น้ำของราษฎรในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง และสามารถรักษาผืนป่าภูเขียวเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานที่สำคัญของรัฐบาล โดย กรมอุทยานแห่งชาติฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ
---- วันช้างไทย ---- ---- 13 มีนาคม ---- . _กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช_ ขอรณรงค์ให้ทุกพื้นที่ปลอดจากกับดักสัตว์ป่า
ใครคิดถึงแก้วบ้าง มาทางนี้ ๆ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้ทำของเล่นให้กับหมีแก้ว โดยนำไม้ไผ่มาเจาะรูหลาย ๆ รูและนำผักผลไม้ใส่เข้าไปในไม้ไผ่ ทำให้หมีแก้วสนุกกับการ(Enrichment)ในครั้งนี้มาก กินอาหารและน้ำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันหมีแก้วมีมวลร่างกายสมมาตรฐานดีแล้ว ขับถ่ายปกติดี สุขภาพโดยรวมแข็งแรง สมบูรณ์ดี นายพสวัตน์ โชติวัตพงษ์ชัย หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุงรายงาน
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "วิถีเรียบง่ายในป่าใหญ่" ---------------------------------------------------- Cr. GREEN ASIA FILMS
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "ชีวิตไพรในยามค่ำ" ------------------------------------------------ Cr. GREEN ASIA FILMS
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "สายสัมพันธ์แห่งท้องทุ่ง" ------------------------------------------------------ Cr. GREEN ASIA FILMS
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "นักแสดงแห่งพงไพร" --------------------------------------------- Cr. GREEN ASIA FILMS
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "นักแสดงแห่งพงไพร" --------------------------------------------- Cr. GREEN ASIA FILMS
สารคดีสัตว์ป่า ตอน "ตามะแนแห่งผืนป่า" ------------------------------------------------ Cr. GREEN ASIA FILMS
ภารกิจควบคุมประชากรลิง ของทีงงานสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้านนรสิงห์ หนึ่งในภารกิจของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
50 ปี #วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ------26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ------ “#สังคมอยู่เย็น #สัตว์ป่าเป็นสุข” เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้ร่วมเฉลิมฉลองวาระครบ 50 ปี ของการจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ และรณรงค์ให้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่มีผลกระทบต่อชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม ปัญหานั้นเกิดขึ้นจากการลดลงของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่การเกษตร บุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนการล่าสัตว์ป่าโดยผิดกฎหมาย เพื่อดำรงชีพและการค้าสัตว์ป่า ส่งผลกระทบต่อสถานภาพและการดำรงอยู่ของสัตว์ป่า สัตว์ป่าหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว บางชนิดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และบางชนิดต้องสูญพันธุ์ไป เช่น สมัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ว่าทุกภาคส่วนจะร่วมกันดำเนินการหาวิธีแก้ไขแล้วก็ตาม แต่อย่างไรแล้วเป้าหมายของกรมอุทยานแห่งชาติฯนั้น ต้องการให้ชุมชนและสัตว์ป่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย เกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยกัน อันจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์สมดุลกับธรรมชาติในระบบนิเวศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำหนดจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 24-27 ธันวาคม 2561 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพ
สำนักอุทยานแห่งชาติ - National Parks of Th
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทรสายด่วส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชส่วนส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สำนักเศรษฐกิจก
อาคารเทียมคมกฤสกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่
2143/1 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักรSubmarine Squadron (กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธก
Submarine Squadron Headquarterร้านสถานีส้มตำ ข้าง ส.น วัดพระยาไกร บางคอแหลม
ร้านสถานีส้มตำ อยู่ข้างๆ ส.น วัดพระยาไกร เจริญกรุง 101 แขวงวัดพระยาไกร เขต บางคอแหลมกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ : Land Re
224 กรมโยธาธิการและผังเมือง อาคาร 4 ชั้น M แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางThe Customs Department [กรมศุลกากร] , Ministr
เลขที่1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตยThai Law Reform Commission (TLRC)
394/14 Samsen Road Dusitสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
420/8 ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี