
สถานที่รวบรวมและจัดแสดงข้อมูล วัต? http://web2.sat.or.th/museum/
ที่อยู่
286 ราชมังคลากีฬาสถาน โซน W การก
Bangkok
10240
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
แจ้งเตือน
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ การกผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
ส่งข้อความของคุณถึง พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ การก:
วิดีโอทั้งหมด
ทางลัด
Our Story
ความเป็นมา เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2533 คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคมและการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทยและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ ขึ้นในอาคารสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เพื่ออนุรักษ์มรดกทางการกีฬาของประเทศไว้ให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาค้น คว้าเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมาของการกีฬาของชาติ รวมทั้งเพื่อจัดตั้งเป็นหอเกียรติยศของอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ในการนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจดำเนินการโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ (กกท.) ประกอบด้วย 1. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2. ผู้แทนสำนักงบประมาณ 3. ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ 4. ผู้แทนกรมศิลปากร 5. ผู้แทนมหาวิทยาลัยศิลปากร 6. ผู้แทนการกีฬาแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ โดยแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการอำนวยการ 2. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ 3. คณะอนุกรรมการจัดเตรียมสถานที่และครุภัณฑ์ 4. คณะอนุกรรมการพิจารณาวัตถุพิพิธภัณฑ์กีฬา คณะอนุกรรมการแต่ละฝ่ายได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยทันที โดยได้มีการสำรวจออกแบบอาคารสถานที่และบริเวณการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การ ขอรับบริจาค วัตถุสิ่งของทางการกีฬาเพื่อนำไปจัดแสดง ในการนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเรือใบ 3 ลำ ให้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์กีฬา ส่วนของบริจาคจากนักกีฬาและบุคคลในในวงการกีฬา กกท. ได้รับการทยอยบริจาคมาที่จัดว่าโดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ เหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่นครลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2527 จากนายทวี อัมพรมหา โดยที่คณะอนุกรรมการอำนวยการได้พิจารณาเห็นว่าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬา แห่งชาติ เป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องเตรียมการเพื่อให้แล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกัน กับการก่อสร้างสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติเสร็จเรียบร้อย จึงได้เสนอให้การกีฬาแห่งประเทศไทยพิจารณาผนวกค่าใช้จ่ายของโครงการไว้ในคำขอตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2534 ซึ่งเมื่อเริ่มต้นโครงการ ได้รับการอนุมัติวงเงินก่อหนี้ผูกพันโครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 18,932,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2534 ต่อมา เมื่อคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ได้มีมติเห็นชอบให้โครงการพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงได้รับอนุมัติให้ขยายวงเงินก่อหนี้ผูกพันโครงการ เพิ่มเติมเป็นเงิน 30 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่18 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และต่อมาการกีฬาแห่งประเทศไทยได้รับอนุมัติให้เพิ่มเติมวงเงินก่อหนี้ผูกพัน โครงการอีกครั้งเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 47,901,500 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2541 จึงทำให้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติสำเร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะเปิดให้ บริการแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ National Sports Museum มีพื้นที่จัดแสดงและใช้ประโยชน์อื่นๆ ประมาณ 2,500 ตารางเมตร เปิดบริการเป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของนักกีฬาและบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการ กีฬาไทย 2. เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความเป็นมาของการกีฬา ทั้งระดับสากลและของชาติไทย 3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกทางการกีฬาของประเทศชาติ ระเบียบการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ ให้ผู้ชมเข้าชมได้ตามอัธยาศัยโดยลงทะเบียนผู้เข้าชมที่โถงต้อนรับ หากผู้มาชมเป็นหมู่คณะ จะจัดเจ้าหน้าที่นำชมพร้อมการบรรยายข้อมูล โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดการเข้าชมกับงานพิพิธภัณฑ์กีฬาฯล่วงหน้า
ข้อควรปฏิบัติในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ 1. ไม่สูบบุหรี่ 2. ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาภายในพิพิธภัณฑ์กีฬา 3. ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในพิพิธภัณฑ์และขณะการเยี่ยมชม 4. ไม่ส่งเสียงหรือกระทำการรบกวนผู้อื่น 5. การชมนิทรรศการถาวรและวัตถุกีฬาด้วยความสุภาพ ไม่จับ ไม่แตะต้องวัตถุ ไม่ปืนป่าย นั่งในบริเวณที่มีป้ายห้าม 6. อนุญาตให้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ ในกรณีที่ต้องการบันทึกภาพนิ่ง วิดีโอเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการเผยแพร่ต่อ หรือธุรกิจการค้าจะต้องติดต่อกับพนักงานอย่างเป็นทางการ 7. สัมภาระที่นำมายกเว้นสิ่งของมีค่าสามารถฝากวางไว้บริเวณเค้าเตอร์หรือบริเวณที่เจ้าหน้าที่แนะนำ
การนำเสนอแบ่งส่วนการจัดสิ่งแสดงและเผยแพร่ ออกเป็น 9 ห้อง จัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการถาวรประกอบด้วย 1.โถงต้อนรับ 1.1 ตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 1.2 แผ่นศิลาชื่อพระราชทาน "ราชมังคลากีฬาสถาน" 1.3 เคาน์เตอร์บริการผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ 1.4 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ 2.ห้องวิวัฒนาการกีฬาสากลของไทย 2.1 ตู้แสดงเอกสารต้นฉบับเพลงกราวกีฬา 2.2 แผ่นกระจกสลักเพลงกราวกีฬา และคำแปลภาษาอังกฤษ 2.3 แผ่นกระจกสลักเพลงโอ...เอเชี่ยนเกมส์ 2.4 แบบจำลองสนามราชมังคลากีฬาสถาน 2.5 ภาพราชมังคลากีฬาสถาน 2.6 ภาพสนามกีฬาสมโภชเมืองเชียงใหม่ 700 ปี 2.7 ภาพอาคารอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก 2.8 บอร์ดแสดงบทนำวิวัฒนาการกีฬาของไทย 2.9 บอร์ดแสดงประวัติความเป็นมาของกีฬาสากลชนิดต่างๆ 2.10 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ 3. ห้ององค์กรกีฬา 3.1 เสาหลักกีฬาของไทย 3.2 บอร์ดแสดงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 3.3 บอร์ดแสดงการกีฬาแห่งประเทศไทย 3.4 บอร์ดแสดงของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ 3.5 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพและตู้จัดแสดงวัตถุกีฬา 4.หอเกียรติยศนักกีฬา 4.1 โผน กิ่งเพชร และบอร์ดแสดงประวัติรูปจำลอง 4.2 บอร์ดแสดงประวัตินักกีฬาเกียรติยศ ได้แก่ 4.3 สุทธิ มัณยากาศ นักกีฬากรีฑา 4.4 อภิเดช ศิษย์หิรัญ นักกีฬามวยไทยอาชีพ 4.5 ชาติชาย เชี่ยวน้อย นักกีฬามวยสากลอาชีพ 4.6 เจริญ วรรธนสิน นักกีฬาแบดมินตัน 4.7 อาณัติ รัตนพล นักกีฬากรีฑา 4.8 ปรีดา จุลละมณฑล นักกีฬาจักรยาน 4.9 รัชนีวรรณ บูลกุล นักกีฬาว่ายน้ำ 4.10 พเยาว์ พูนธรัตน์ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น 4.11 สุชาติ แจสุรภาพ นักกีฬากรีฑา 4.12 ทวี อัมพรมหา นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น 4.13 สกุล คำตัน นักกีฬาคนพิการประเภทพุ่งแหลน 4.14 ผจญ มูลสัน นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น 4.15 รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ นักกีฬาว่ายน้ำ 4.16 อาคม เฉ่งไล่ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น 4.17 สุระ แสนคำ (เขาทราย แกแล็คซี่) นักกีฬามวยสากลอาชีพ 4.18 วัฒนา ภู่โอบอ้อม นักกีฬาสนุกเกอร์อาชีพ 4.19 สมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น พร้อมด้วยเกียรติประวัติของนักกีฬาไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับสากลอีกหลายๆท่าน 4.20 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ
5. ห้องสมาคมกีฬาและกีฬาพื้นบ้านไทย บอร์ดแสดงประวัติสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้แก่ 5.1 กรีฑา 5.2 กอล์ฟ 5.3 กาบัดดี้ 5.4 กีฬาคนพิการ 5.5 ขี่ม้า 5.6 เรือใบ 5.7 จักรยาน 5.8 ซอฟท์บอล 5.9 ตะกร้อ 5.10 เทควันโด 5.11 เทเบิลเทนนิส 5.12 บาสเกตบอล 5.13 เบสบอล 5.14 แบดมินตัน 5.15 โบว์ลิ่ง 5.16 ฟันดาบ 5.17 ฟุตบอล 5.18 มวยไทย 5.19 มวยปล้ำ 5.20 มวยสากล 5.21 ยกน้ำหนัก 5.22 ยิงธนู 5.23 ยิงปืน 5.24 ยิมนาสติก 5.25 ยูโด 5.26 รักบี้ฟุตบอล 5.27 เรือพาย 5.28 ลอนเทนนิส 5.29 วอลเล่ย์บอล 5.30 ว่ายน้ำ 5.31 สนุกเกอร์ 5.32 คาราเต้ - โด 5.33 เปตอง 5.34 วูซู 5.35 ฮอกกี้ 5.36 แฮนด์บอล บอร์ดแสดงกีฬาพื้นบ้านไทย ได้แก่ 5.37 กระบี่กระบอง 5.38 แข่งเรือ 5.39 ว่าวไทย 5.40 ดาบไทย 5.41 ตะกร้อ 5.42 ขี่ม้าส่งเมือง 5.43 หมากรุกไทย 5.44 มวยไทย 6. ห้องกิตติคุณ ภาพบุคคลผู้ทำประโยชน์แก่วงการกีฬาของไทย ที่คัดเลือกเบื้องต้น ได้แก่ 6.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์อุปถัมภ์กิจกรรมกีฬาของชาติ 6.2 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี : ผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา 6.3 หลวงศุภชลาศัย : อธิบดีกรมพลศึกษา 6.4 พระยาจินดารักษ์ : ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์คนแรก 6.5 หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ : ผู้ก่อตั้ง อ.ส.ก.ท. (กกท.) และริเริ่มการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์) 6.6 นายกอง วิสุทธารมณ์ : ผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาเขตฯ (กีฬาแห่งชาติ) 6.7 หลวงชาติตระกาลโกศล : ผู้นำการจัดตั้งสนามกีฬาในภูมิภาค 6.8 พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ : กรรมการโอลิมปิกสากลในประเทศไทย คนแรก 6.9 นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ : บิดาแห่งกีฬาเวชศาตร์ในประเทศไทย 6.10 นายแพทย์บุญสม มาร์ติน : ผู้ริเริ่มการก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ 6.11 นายเจือ จักษุรักษ์ : ปูชนียบุคคลด้านวงการกีฬา 6.12 นายวันจักร วรดิลก : ผู้ริเริ่มการก่อตั้งศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม กกท. 7. ห้องพระองค์เจ้าพีระ 7.1 พระรูปจำลองพระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช 7.2 รถยนต์แข่งรอมิวลุส จำลอง 7.3 บอร์ดแสดงพระประวัติ และพระจริยวัตรด้านการกีฬาของ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช 7.4 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ 8. ห้องพระบรมวงศานุวงศ์กับการกีฬา 8.1 พระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 8.2 บอร์ดแสดงพระราชจริยวัตรด้านการกีฬาของพระบรมวงศานุวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้น 8.3 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ 9.ห้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการกีฬา 9.1 เรือใบฝีพระหัตถ์ ที่ทรงพระราชทานให้พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ จำนวน 3 ลำ 9.2 บอร์ดแสดงพระราชประวัติ พระราชจริยวัตรด้านการกีฬา และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการกีฬาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 9.3 คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ "พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ" ตั้งอยู่ที่ 286 การกีฬาแห่งประเทศไทย ราชมังคลากีฬาสถาน โซน W4 - โซน W5 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 - เปิดทำการ : วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 นาฬิกา (เปิดให้เข้าชมเวลา 9.00น.) - ปิดทำการ : วันเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ - การบริการ : ไม่เก็บค่าเข้าชม - โทรศัพท์ 0 21867111 ต่อ7423 หรือ 0 2718 5912 - 4 - โทรสาร. 0 2718 5913 - เว็บไซต์. http://web2.sat.or.th/museum/