กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
(940)

ประวัติกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

จากการพัฒนาของประเทศในด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผานมา เช่น การทำการประมง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่นๆ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก ก่อให้เกิดการเลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลมาก จนเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างร

ุนแรง พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ แหล่งปะการังและหญ้าทะเลอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ประกอบกับสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและขยายพันธ์ของสัตว์น้ำ ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงอย่างมาก

ด้วยความตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเอกภาพ ขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยรวมงานที่เกี่ยวข้องในด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากกรมประมง กรมป่าไม้ และกรมพัฒนาที่ดินในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาอยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ดินชายทะเล ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเลและสัตว์ทะเล เพื่อให้กิดความสมดุลและเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
28/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮กรมทะเลชายฝั่ง ได้รับแจ้งพบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต บริเวณ บ้านคลองหก หมู่ 7 ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี...
27/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ได้รับแจ้งพบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต บริเวณ บ้านคลองหก หมู่ 7 ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบ และนำส่งรักษา
วันที่ 27 สิงหาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้รับแจ้งจากคุณสมจิตร สุขสวัสดิ์ เรื่องพบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต บริเวณ บ้านคลองหก หมู่ 7 ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เจ้าหน้าที่ ศวทอ. เข้าตรวจสอบพบว่าเป็นเต่าตนุ (Green turtle : Chelonia mydas) ขนาดแนบกระดองยาว 43 เซนติเมตร กว้าง 37.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 8.10 กิโลกรัม ไม่พบหมายเลขไมโครชิพ จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เต่าตนุตัวดังกล่าวมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่พบบาดแผลภายนอก เจ้าหน้าที่จึงนำเต่าตนุกลับมา ณ ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ศวทอ. เพื่อทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด รักษาและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

📮กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันดินบริเวณหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุ...
27/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันดินบริเวณหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
วันที่ 27 สิงหาคม 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแสนสุข กรณีพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันดินบริเวณหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผลการสำรวจเบื้องต้นพบคราบน้ำมันบริเวณศาลเจ้าพ่อแสนและพบก้อนน้ำมันดินขนาดเล็กกระจายตลอดแนวชายหาดบางแสน ระยะทางประมาณ 1.94 กิโลเมตร ไม่ทราบแหล่งที่มา จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเลและทำการสุ่มเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันดิน จำนวน 3 สถานี โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.12-8.25 อุณหภูมิ 32.2-34.4 องศาเซลเซียส ความเค็ม 27.0-27.6 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 6.10-6.67 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันดินช่วงบ่ายของวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ไม่ทราบแหล่งที่มา ทั้งนี้ แนะนำว่าไม่ควรสัมผัสก้อนน้ำมันดินเพราะอาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง และผลการวิเคราะห์การปนเปื้อนของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในน้ำทะเล จะรายงานผลให้ทราบต่อไป

📮กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่อ่าวเตล็ด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่อ่าวพุมเรียง อ.ไชยา และ พื้นที่...
27/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่อ่าวเตล็ด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่อ่าวพุมเรียง อ.ไชยา และ พื้นที่ชายฝั่ง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
และ พื้นที่อ่าวทุ่งคา-สวี อ.สวี จ.ชุมพร โดยวิธีการสำรวจทางอากาศ
วันที่ 18-27 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ศวทก.) ปฏิบัติงานสำรวจสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่อ่าวเตล็ด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่อ่าวพุมเรียง อ.ไชยา และ พื้นที่ชายฝั่ง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และพื้นที่อ่าวทุ่งคา-สวี อ.สวี จ.ชุมพร โดยวิธีการสำรวจทางอากาศ (Aerial Survey) โดยใช้อากาศยานไร้คนขับแบบ Vtol-UAV รวมพื้นที่ทั้งหมด 169.7 ตร.กม. จากผลการสำรวจพบสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่อ่าวพุมเรียง อ.ไชยา พบพะยูน 1 ตัว โลมาหลังโหนก 2 ตัว และเต่าตนุ 4 ตัว ชายฝั่ง อ.ท่าชนะจ.สุราษฎร์ธานี พบเต่าตนุ 3 ตัว ในส่วนของอ่าวเตล็ด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช และอ่าวทุ่งคา-สวี อ.สวี จ.ชุมพร ไม่พบสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้จะนำไปวิเคราะห์จำนวนประชากรและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหายากต่อไป

📮กรมทะเลชายฝั่ง ส่ง จนท. ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่บ้านพรุใหญ่ หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ....
27/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ส่ง จนท. ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่บ้านพรุใหญ่ หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นายธเนศ มั่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 มอบหมายให้ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10,11 และ 14 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่บ้านพรุใหญ่ หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ตามที่ได้รับการประสานจากนายไมตรี จงไกรจักร ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดพังงา ว่ามีชาวเลมอแกน ชื่อป้าไก่ อายุประมาณ 60 ปี เข้าไปหาหอยในป่าชายเลน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 แล้วสูญหาย ผู้นำชุมชนร่วมกับราษฎรช่วยกันออกค้นหาตั้งแต่ เวลา 20.00-01.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม 2566 แต่ยังไม่พบ จึงยุติการค้นหา และวันนี้เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่ได้บูรณาการร่วมกับอำเภอท้ายเหมือง อบต.ทุ่งมะพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ (กู้ภัยท้ายเหมือง) ผู้นำชุมชน และราษฎรในพื้นที่ จำนวน 42 คน แบ่งกำลังปูพรมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวอีกครั้ง จนกระทั่งเวลา 15.00 น. ทีมค้นหาได้พบผู้สูญหาย(เสียชีวิต) จมอยู่ในคลองในพื้นที่ป่าชายเลน จึงได้นำร่างผู้เสียชีวิตขึ้นฝั่ง แจ้งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรท้ายเหมืองและนำส่งโรงพยาบาลท้ายเหมืองเพื่อตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิต และดำเนินการตามกฏหมายต่อไป

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
27/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮ฤกษ์ดี กรมทะเลชายฝั่ง จัดพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์" พระพุทธรูปประจำกรมฯ      วันที่ 26 สิงหาคม 2566 ...
26/08/2023

📮ฤกษ์ดี กรมทะเลชายฝั่ง จัดพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์" พระพุทธรูปประจำกรมฯ

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 (เวลา 17.00 น.) สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์" พระพุทธรูปประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีนายพิชิต สมบัติมาก รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) นายโสภณ ทองดี อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวง ทส. รวมถึงผู้อำนวยการกอง/สำนัก/ส่วน เจ้าหน้าที่กรม ทช. และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมในพิธี ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
ในการนี้ พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นเพื่อปลุกเสกพระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงวัตถุมงคลรายการต่างๆ โดยพระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์มีขนาดหน้าตัก 36 นิ้ว สูง 2.2 เมตร กว้าง 1.7 เมตร จัดสร้างขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ข้าราชการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรม ทช. เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งหลังจากประกอบพิธีพุทธาภิเษกแล้วเสร็จ จะอัญเชิญพระพุทธรูปประจำกรม ทช. มาประดิษฐาน ณ สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้คนที่เดินทางมาเยี่ยมชมสวนพฤกษาศาสตร์ ได้สักการบูชาและกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งนี้ พุทธศานิกชนท่านใดสนใจเช่าบูชาพระฯ ทุกรุ่น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 087 629 6947 นายรวมยศ จันทร์เอียด ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

📮กรมทะเลชายฝั่ง ลาดตระเวนป้องกันและปราบปรามรองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย บริเวณเขตทะเลจังหวัดชลบุรีแล...
26/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ลาดตระเวนป้องกันและปราบปรามรองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย บริเวณเขตทะเลจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล นำเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 222 พร้อมเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานลาดตระเวนป้องกันและปราบปรามรองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) บริเวณเขตทะเลจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา ได้ทำการตรวจเรือประมงจำนวน 7 ลำ มีแรงงานประมง จำนวน 36 คน ได้ตรวจเอกสารประจำเรือและตรวจเอกสารใบอนุญาตต่างๆ เช่น ใบอนุญาตทำการประมง ทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ สมุดบันทึกการทำการประมง เป็นต้น ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์เรื่องการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย และการบริหารจัดการขยะบนเรือประมงนำกลับมาทิ้งบนฝั่ง ผลการตรวจเรือทุกลำมีเอกสารถูกต้องครบถ้วน ไม่พบการกระทำผิดกฎหมาย

📮สมเด็จพระสังฆราช ประทานไฟพระฤกษ์ แก่กรมทะเลชายฝั่ง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์"      วันที่ 26 ส...
26/08/2023

📮สมเด็จพระสังฆราช ประทานไฟพระฤกษ์ แก่กรมทะเลชายฝั่ง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์"

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานไฟพระฤกษ์ให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อเชิญไปประกอบในพิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์" พระพุทธรูปประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีนางสาวอาทิตา จุ้ยจู่เอี้ยม เลขานุการกรม เป็นผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมด้วยนายปานศักดิ์ ซินพรมราช ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารองค์กร นายพงษ์พันธุ์ กิจไพบูลย์ ผู้อำนวยการส่วนพัสดุ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรม ทช. เข้ารับมอบไฟพระฤกษ์ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ พิธีพุทธาภิเษก "พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์" พระพุทธรูปประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะมีพิธีขึ้นในวันนี้ เวลา 17.00 น. โดยท่านปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ

📮 ลนก.ทช. นำเจ้าหน้าที่ ทช. จัดเตรียมสถานที่เตรียมความพร้อมสำหรับพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปประจำกรมฯ    วันที่ 25 สิงหาคม ...
26/08/2023

📮 ลนก.ทช. นำเจ้าหน้าที่ ทช. จัดเตรียมสถานที่เตรียมความพร้อมสำหรับพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปประจำกรมฯ

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นางสาวอาทิตา จุ้ยจู่เอี้ยม เลขานุการกรม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ลนก.ทช.) พร้อมด้วยนายพงษ์พันธุ์ กิจไพบูลย์ ผู้อำนวยการส่วนพัสดุ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ และเตรียมความพร้อมสำหรับพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปประจำกรมฯ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร โดยพระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์ (พระประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) มีขนาดหน้าตัก 36 นิ้ว สูง 2.2 เมตร กว้าง 1.7 เมตร และวัตถุมงคลรายการต่างๆ ซึ่งจะนำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร พระพุทธศรีรัตนาสมุทราภิรักษ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลรวมไปถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด ทช. ในโอกาสครบรอบ 20 ปี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดย ภายหลังการประกอบพิธีพุทธาภิเษก จะอัญเชิญพระพุทธรูปประจำกรมฯ มาประดิษฐาน ณ สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้คนที่เดินทางมาเยี่ยมชมสวนพฤกษาศาสตร์ฯ ได้สักการบูชาและกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล อีกด้วย

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
26/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮รองพรศรี นำทีมจับรางวัลกิจกรรมออนไลน์ พาน้องล่องเล เกาะไหนใช่เลย เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ   วันที่ 25 สิงหาคม 2...
25/08/2023

📮รองพรศรี นำทีมจับรางวัลกิจกรรมออนไลน์ พาน้องล่องเล เกาะไหนใช่เลย เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเจ้าหน้าที่กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจ ทช. จับรางวัลกิจกรรมออนไลน์ พาน้องล่องเล เกาะไหนใช่เลย เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ 17 สิงหาคม 2566 โดยมีรางวัลรวม 51 รางวัล

สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีได้ที่
https://fb.watch/mE6dOZufFb/

📮 กรม ทช. ร่วมโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ”(เมื่อคุณหมุนเวียน)   วันที่ 25 สิงหาคม 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข...
25/08/2023

📮 กรม ทช. ร่วมโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ”(เมื่อคุณหมุนเวียน)

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้าร่วมโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ”(เมื่อคุณหมุนเวียน) ซึ่งเป็นการจัดการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะ และนำขยะพลาสติกกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อน (Circular Economy) และจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร และเพื่อสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรในสังกัดให้มีความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรอบที่ 12(ประจำปีงบประมาณ 66) ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ทช. ได้จัดส่งขยะพลาสติกแข็งจำนวน 36.65
กิโลกรัม และพลาสติกยืด 1.15 กิโลกรัม มียอดสะสมดังนี้ พลาสติกแข็ง จำนวน 827.64 กิโลกรัม พลาสติกยืด จำนวน 58.25 กิโลกรัม

สะสมของที่ระลึกพะยูนน้อยได้จ้า สำหรับผู้ที่พลาดรางวัลจากกิจกรรมออนไลน์ เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ และมีความประสงค์...
25/08/2023

สะสมของที่ระลึกพะยูนน้อยได้จ้า
สำหรับผู้ที่พลาดรางวัลจากกิจกรรมออนไลน์ เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ และมีความประสงค์รับน้องพะยูนตัวน้อยไปเป็นที่ระลึก สามารถสั่งซื้อตุ๊กตาพะยูนน้อย ในราคาพิเศษ on sale เหลือเพียง 99 บาท จากราคาปกติ 150 บาท (ทั้งนี้ไม่รวมค่าจัดส่ง 30 บาท) สนใจ click : https://shopme.dmcr.go.th/app/product/view/70 หรือสแกน QR Code หรือสั่งซื้อโดยตรงที่ร้านค้าสวัสดิการ ชั้น 5 กรม ทช ครับ

25/08/2023

จับรางวัลกิจกรรมออนไลน์ครั้งที่ 4/66
วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเจ้าหน้าที่กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจ ทช. จับรางวัลกิจกรรมออนไลน์ พาน้องล่องเล เกาะไหนใช่เลย เนื่องในวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ 17 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีรางวัลรวม 51 รางวัล สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีได้ใต้โพสต์นะคะ

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
25/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช บริเวณชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต จำนวน 28 สถานี      วันที่ 22-24 สิงหาคม...
24/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช บริเวณชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต จำนวน 28 สถานี
วันที่ 22-24 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช บริเวณชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต จำนวน 28 สถานี โดยดำเนินการสำรวจ และเก็บตัวอย่างน้ำมันดิน (Tar ball) รวมทั้งสิ้น 7 สถานี ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน มีค่าดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 29.9-32.9 องศาเซลเซียส ความเค็ม 25-32 พีพีที ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.96-8.32 และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 5.83-8.36 มิลลิกรัมต่อลิตร สภาพอากาศทั่วไป อากาศร้อนอบอ้าว คลื่นลมแรง และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้ พบค่าออกซิเจนละลายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการนันทนาการ ซึ่งจากการสำรวจพบก้อนน้ำมันดิน บริเวณหาดกะรน กะหลิม กมลา เลพัง ในยาง และหาดทรายแก้ว และยังพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีขียวอมเหลือง บริเวณชายหาดป่าตอง เบื้องต้นพบว่าแพลงก์ตอนที่เป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม ส่วนปัจจัยอื่นๆ จะทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และจะดำเนินการติดตาม และเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีต่อไป

คนรักทะเลปลื้ม!! ครม.ไฟเขียว "มาตรการคุ้มครองปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ" ป้องกันความเสียหายแนวปะการัง-เพิ่มประสิทธ...
24/08/2023

คนรักทะเลปลื้ม!! ครม.ไฟเขียว "มาตรการคุ้มครองปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ" ป้องกันความเสียหายแนวปะการัง-เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมดูแลให้ทั่วถึง

นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวทางทะเลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่กิจกรรมบางอย่างและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีส่วนทำให้บริเวณปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญเกิดความเสื่อมโทรมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เรือท่องเที่ยวทิ้งสมอลงบนปะการัง นักท่องเที่ยวทิ้งขยะ นักดำน้ำจับหรือยืนเหยียบปะการังขณะดำน้ำทำให้ปะการังแตกหักเสียหาย รีสอร์ทหรือโรงแรมระบายน้ำเสียลงสู่ทะเลทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อปะการังในบริเวณนั้น ในการนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เร่งหารือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนกฎหมายคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พร้อมเดินหน้าเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ กระทั่งในวันนี้ (23 สิงหาคม 2566) นับเป็นข่าวดีในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... โดยอาศัยความตาม มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันความเสียหายที่เกิดกับแนวปะการังอันเกิดจากการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำเป็นการเฉพาะและเพื่อควบคุมกำกับดูแลอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวมีมากขึ้นในขณะที่คนนำเที่ยวมีจำกัดและจากการสำรวจล่าสุดในปี 2565 พบแนวปะการังมีสถานภาพดีกว่าในช่วงปี 2563 - 2564 และมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยในปี 2565 พบแนวปะการังสถานภาพสมบูรณ์ดีร้อยละ 53 สมบูรณ์ป่านกลางร้อยละ 22 และสถานภาพเสียหายร้อยละ 25 ทั้งนี้มาตรการที่เป็นข้อกำหนดสำคัญสำหรับ (ร่าง) ประกาศดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อกำหนดในการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ ทั้งการดำน้ำตื้น การดำน้ำลึก และการเรียนดำน้ำลึก ซึ่งแต่ละประเภทของกิจกรรมดังกล่าวต้องมีผู้ควบคุมต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม และข้อกำหนดเพื่อให้เกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลในการท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น ห้ามเตะ หรือสัมผัสปะการัง สัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ ห้ามดำเนินกิจกรรม SeaWalker หรือโดยวิธีอื่นใดที่มีลักษณะเป็นเดินหรือเคลื่อนที่บนพื้นทะเล ห้ามผู้ควบคุมหรือผู้ช่วยผู้ควบคุมเคลื่อนย้ายปะการัง สัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ มาให้นักท่องเที่ยวดู ในการใช้ตีนกบห้ามมิให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของตีนกบสัมผัสปะการังหรือทำให้ปะการังได้รับความเสียหาย ห้ามให้อาหารปลาหรือสัตว์น้ำ ห้ามไม่ให้ทิ้งขยะหรือปล่อยของเสียทุกชนิดในทะเล และห้ามมิให้ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง เป็นต้น
นอกจากนี้ นายอภิชัย รรท.อทช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ระยะเวลาการบังคับใช้มีกำหนด 5 ปี และไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่มิใช่กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น การดำน้ำเพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การดำน้ำเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้การกำกับของหน่วยงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งหลังจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะดำเนินการพิจารณาตรวจทานหรือปรับปรุง (ร่าง) ประกาศฯ ก่อนการเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนาม อย่างไรก็ตาม หากประกาศฯ ใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ กรม ทช. จะสั่งการให้สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทุกแห่ง เร่งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำ และกลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง เข้าใจถึงกฎ ระเบียบ ในการคุ้มครองทรัพยากรปะการัง นอกจากนี้ ตนขอฝากถึงพี่น้องประชาชนหากพบเห็นการกระทำผิดดังกล่าวขอให้แจ้งมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร. 1362 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อกรม ทช. จะประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ ให้เร่งดำเนินการตรวจสอบทันที และเพิ่มกำลังพลตรวจตราพื้นที่การประกาศใช้กฎหมาย และสร้างเครือข่ายประชาชนให้มีส่วนร่วมและช่วยกันเป็นหูเป็นตาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความเข้มข้นการเฝ้าระวัง รวมทั้งติดตามและประเมินผล หากยังคงสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เราคงต้องใช้กฎหมายดำเนินคดีให้ถึงที่สุด และสุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ผลักดันและสนับสนุนให้ประกาศฯ ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี พร้อมประกาศใช้ตามกระบวนการ เพื่อปกป้องคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลให้สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป

24/08/2023

การพบวาฬหลังค่อม ครั้งที่ 2 ในน่านน้ำไทย

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งพบวาฬขนาดใหญ่ จากคุณเจริญ ชนะพล ซึ่งเดินทางโดยเรือท่องเที่ยวออกจากจังหวัดภูเก็ต มุ่งหน้าสู่เกาะพีพี จังหวัดพังงา ซึ่งได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์หญิงราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ว่าเป็นชนิดวาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)

🐋 วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)
เป็นวาฬซี่กรองขนาดกลาง ลำตัวสีดำ ปลายครีบข้างและท้องมีสีขาว โตเต็มที่มีความยาว 11-17 เมตร น้ำหนักประมาณ 40 ตัน ลูกแรกเกิดยาว ประมาณ 4 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม ร่องใต้คางจำนวน 12-36 ร่อง ซี่กรองมีสีดำหรือสีเขียวมะกอก จำนวน 270 – 400 ซี่ ลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ มีปุ่มกลมที่ส่วนหัว มีครีบข้างยาวถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว มีสันหยักเป็นลอนคล้ายฟันเลื่อย จากครีบหลังไปถึงโคนหาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหาง ฐานครีบข้างกว้างเป็นโหนก ครีบหลังสั้นหนาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน อาหารของวาฬหลังค่อม คือ ฝูงปลาขนาดเล็ก เคย ปู หมึก และโคพิพอด
โดยวาฬหลังค่อม ถูกพบเห็นในน่านน้ำไทยครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต โดยมีภาพถ่ายยืนยันจากนักท่องเที่ยวเพียงภาพเดียวเท่านั้น และครั้งการพบเห็นครั้งนี้เป็นรายงานการพบเห็นครั้งที่สอง

🔊หากท่านใดพบเห็น ขอความอนุเคราะห์เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลดความเร็วเรือให้ต่ำกว่า 7 น็อต ในรัศมี 400 เมตร จากตัววาฬ และใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 4 น็อต ในรัศมี 100-300 เมตร จากวาฬ ไม่ควรเข้าใกล้เกิน 100 เมตร หากวาฬว่ายเข้าใกล้เรือ ให้หยุดเรือ ไม่เปลี่ยนทิศทาง และความเร็วเรืออย่างกะทันหัน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อวาฬ ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำหรือลงเล่นน้ำกับวาฬ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือถึงขึ้นเสียชีวิต รวมทั้งอาจจะติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และคนสู่สัตว์ และไม่ควรให้อาหารแก่วาฬในธรรมชาติ

📞แจ้งการพบเห็นได้ที่ สายด่วนกรมทะเลและชายฝั่ง 1362 หรือทางเพจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งค่ะ

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
24/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮 กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ช่วยเหลือสัตว์ทะเล บริเวณหาดกะตะ จ.ภูเก็ตวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์...
24/08/2023

📮 กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ช่วยเหลือสัตว์ทะเล บริเวณหาดกะตะ จ.ภูเก็ต

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร สังกัดศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล หาดกะตะ ว่าพบเต่าเกยตื้นมีชีวิต ณ หาดกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สภาพอ่อนแรง เจ้าหน้าที่ศวอบ. จึงเข้าช่วยเหลือและตรวจสอบ พบเป็นเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) วัยรุ่น ไม่สามารถระบุเพศ ความยาวกระดอง 47.5 เซนติเมตร ความกว้างกระดอง 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 11 กิโลกรัม ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับผอม พบภาวะขาดน้ำ ใบพายหน้าขวาขาด พบสาหร่ายปกคลุมกระดองหลังและทั่วลำตัว กระดองหลังกร่อนเปื่อยอันเนื่องมาจากภาวะทุพโภชนาการร่วมกับการติดเชื้อ และพบว่ามีคราบน้ำมันในช่องปาก เจ้าหน้าที่ศวอบ. จึงทำการกำจัดคราบน้ำมัน ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดการอักเสบและสารน้ำเพื่อประคับประคองอาการ โดยมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อวางแผนทำการรักษาและพักฟื้นต่อไป

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่บริเวณ หาดชลาทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และรณรงค์ เกี่ยวกับการอนุรัก...
23/08/2023

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่บริเวณ หาดชลาทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และรณรงค์ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สทช.5) โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสงขลา (ศอทล.สข.) ลงพื้นที่บริเวณ หาดชลาทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และรณรงค์ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การบริหารจัดการขยะทะเล การป้องกันตนเองจากแมงกะพรุนพิษ และโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ พร้อมมอบสื่อประชาสัมพันธ์แก่คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนเนียง จังหวัดสงขลา รวมจำนวน 125 คน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์ร่วมกัน

📮 กรมทะเลชายฝั่ง ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดการประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 "ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว"วันที่ 23 ส...
23/08/2023

📮 กรมทะเลชายฝั่ง ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดการประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 "ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว"

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมการประชุมการป่าไม้ ครั้งที่ 25 "ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว" โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากนายพิชิต สมบัติมาก รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรอุตสาหกรรมป่ไม้ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นิสิต นักศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งบุคลากรของหน่วยงานภาคีด้านป่าไม้ และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วม จำนวนกว่า 500 คน ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) กรุงเทพมหานคร

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้สร้างความเข้าใจด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการป่าไม้ สร้างเครือข่ายผู้ดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สามารถเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ และคุณค่าด้านป่าไม้ของประเทศให้เข้มแข็ง รวมถึงเป็นเวทีให้บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ ตลอดจนหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานป่าไม้เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป

📮 กรม ทช. เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 (17th AMME) ณ นครเวียงจันทน์ สปป. ลาว    วันที่ 23...
23/08/2023

📮 กรม ทช. เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 (17th AMME) ณ นครเวียงจันทน์ สปป. ลาว

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 (เวลา 09.00 น.) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้บริหารในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสนี้ นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท. อทช.) นางสุรีย์ สตภูมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล นางดาวรุ่ง ใจจริง ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน นางสาวบุญจิรา เผดิมรอด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ และนางสาวสุภัชชา ขุนทอง นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ เข้าร่วมพิธีเปิดและเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 (17th AMME) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติลาวนครเวียงจันทน์ สปป. ลาว โดยมีผู้นำ และคณะจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน และร่วมพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อาทิ การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของการประชุม COP-28 การรับรองแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น การรับรองอุทยานมรดกอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้รับการรับรองอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูเขียว-น้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง และการมอบรางวัล ASEAN-Eco School Award และ Youth Eco-champions Award Recipients ในการประชุมครั้งนี้ด้วย

📸 ให้ภาพถ่ายของคุณได้มีโอกาสเล่าเรื่องทุกความงดงามของธรรมชาติในเมืองไทย เพื่อส่งต่อความรัก ความหวงแหน ความตระหนักถึงคุณค...
23/08/2023

📸 ให้ภาพถ่ายของคุณได้มีโอกาสเล่าเรื่อง
ทุกความงดงามของธรรมชาติในเมืองไทย
เพื่อส่งต่อความรัก ความหวงแหน ความตระหนักถึงคุณค่า
เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ สมบัติอันล้ำค่าของโลกใบนี้
ให้สมบูรณ์ยั่งยืนสืบไป…

📣 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ขอเชิญช่างภาพหัวใจธรรมชาติ
ส่งภาพถ่าย และคลิปวิดีโอ เข้าร่วมประกวดในโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2566

🏆 รางวัล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเงินรางวัลรวมกว่า 700,000 บาท พร้อมสิทธิ์ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติฯ
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ

📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์
🌐 www.trueplookpanya.com/event/photocontest/login
ส่งภาพ และคลิปวิดีโอได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2566
เพิ่มเติม📲 02-858-6378

📍ชมภาพความสวยงามของ ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’
เพิ่มเติมได้ที่📱 www.instagram.com/cp_photocontest/
‘ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม ทรูปลูกปัญญา’
#สัตว์มีค่าป่ามีคุณ #ครั้งที่29

#ทรูปลูกปัญญา #ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม
#ประกวดภาพถ่าย #ถ่ายภาพ #ภาพธรรมชาติ
#ภาพสัตว์ป่า

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
23/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮กรมทะเลชายฝั่ง (สำนักฯ 7) สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มา...
22/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง (สำนักฯ 7) สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มาตรา 5 แห่ง พรบ.ทช.พ.ศ.2558 จ.ตรัง และสตูล
วันที่ 22 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 จัดประชุมสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มาตรา 5 แห่ง พรบ.ทช.พ.ศ.2558 เพื่อคัดเลือกตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากชุมชนชายฝั่ง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ณ ห้องประชุมภัชรัตน์ โรงแรมวัฒนาพาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยมีนายณัฐวุฒิ สังข์สุข นายอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยชุมชนชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดตรังและสตูล155 ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2จังหวัด และผู้เข้าร่วม รวม 200 คน ในการนี้ผู้สมัครผู้ทรงคุณวุฒิท้องที่จังหวัดตรัง 6 ท่านเข้าร่วม 5 ท่าน และจังหวัดสตูล 1 ท่าน ได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุมและชุมชนชายฝั่งลงคะแนนคัดเลือกสำหรับจังหวัดตรังผลการคัดเลือกปรากฏ ดังนี้ จังหวัดตรัง นายอาบีดีน จิเหลาตัวแทนกลุ่มรักษ์เลลิบง ผู้ได้คะแนนสูงสุด จังหวัดสตูลนายเหลด เมงไซ ตัวแทนกลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น
ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ถึงหลักเกณฑ์แนวทางในการสนับสนุนชุมชนชายฝั่ง งบเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และแนะนำการเข้าร่วมโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชนและการปลูกป่าเพื่อประโยชน์คาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชนสำหรับชุมชนที่สนใจ

📮กรมทะเลชายฝั่ง ประชุม คกก. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและกำกับดูแลธรรมาภิบาลข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ...
22/08/2023

📮กรมทะเลชายฝั่ง ประชุม คกก. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและกำกับดูแลธรรมาภิบาลข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ครั้งที่ 3/2566

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 (เวลา 10.00 น.) ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและกำกับดูแลธรรมาภิบาลข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ครั้งที่ 3/2566 โดยมีผู้บริหาร คณะกรรมการฯ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์อำนวยการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชั้น 8 กรม ทช. และผ่านระบบการประชุมทางไกล (Conference)
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการดิจิทัลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของกรม ทช. พร้อมทั้งพิจารณาความเหมาะสมของโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัด โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 เพื่อให้การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการกำกับด้านข้อมูลของกรมฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำแผนปฏิบัติการดิจิทัลฯ มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของกรม รวมทั้งการเตรียมความพร้อมจัดประชุมพิจารณาฐานผลการปรับปรุงข้อมูลเกาะและหาดในเขตน่านน้ำไทย โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการฯ และแผนปฏิบัติการดิจิทัลระยะ 5 ปี ทั้งนี้ กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯ ระดับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

📮กรม ทช. เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ นครเวียงจันทน์ สาธา...
22/08/2023

📮กรม ทช. เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 (เวลา 09.00 น.) นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รรท.อทช.) นางสุรีย์ สตภูมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล นางดาวรุ่ง ใจจริง ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน นางสาวบุญจิราเผดิมรอด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ และนางสาวสุภัชชา ขุนทอง นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment: 17th AMME) ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 โดยมี 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทะเลไทยมีอะไรสรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว🗓 ...
22/08/2023

ทะเลไทยมีอะไร
สรุปสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2566 มีข่าวเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 4 ข่าว
🗓 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://edailyreport.dmcr.go.th

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่ตรวจยึดพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณ  หมู่ที่ 12  บ้านห้วยคล้าและหมู่ที่ 6 จ.ชุมพร     วันที่ 21 สิงหาคม 25...
21/08/2023

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่ตรวจยึดพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณ หมู่ที่ 12 บ้านห้วยคล้าและหมู่ที่ 6 จ.ชุมพร

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 โดยศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดชุมพร ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ ชพ.7 (ทุ่งตะโก) ,สารวัตรกำนันตำบลตะโก ,ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 ต.ตะโก และผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ต.ตะโก ร่วมกันตรวจยึดพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณ หมู่ที่ 12 บ้านห้วยคล้าและหมู่ที่ 6 บ้านควนดิน ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร พบมีการใช้รถแบคโฮไถปรับพื้นที่ป่าชายเลน มีการขุดร่องน้ำในพื้นที่ พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนถูกโค่นล้ม พื้นที่ป่าเสียหาย เนื้อที่ 2.66 ไร่ ค่าเสียหายของรัฐ 314,757.80 บาท พื้นที่ดังกล่าว คาบเกี่ยวกับแนวเขตป่าสงวนฯ ป่าเลนคลองตะโก คลองท่าทอง และคลองบางมุด และอยู่นอกเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 และ 22 สิงหาคม 2543 แต่มีระบบนิเวศน์เป็นป่าชายเลน จึงเป็นป่าชายเลนโดยสภาพ ขณะตรวจยึดพบนายจันทรานน ญาณโสภณา คนขับรถแบคโฮ อยู่ในที่เกิดเหตุ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายจันทรานน ญาณโสภณา ผู้ถูกจับกุมไปส่งมอบให้พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรทุ่งตะโก สำหรับรถแบคโฮของกลางได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12 บ้านห้วยคล้า ต.ตะโก เป็นที่เรียบร้อย ตาม ปจว.ข้อที่ 8 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 20.09 น. คดีอาญาที่ 212/2566 ยึดทรัพย์ที่ 73/2566 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ที่อยู่

Government Complex
Bangkok
10210

เบอร์โทรศัพท์

+6621411299

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

ในปี2542ท่านชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี พี่น้องเครือข่ายประมงพื้นบ้านเดินทางไกลไปหาท่านที่บ้านพักซอยหมอเหล็ง กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องเรือปั่นไฟจับปลากะตัก(ที่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน) ท่านบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ดูแลกระทรวงเกษตรฯ บอกให้พี่น้องไปหารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ(สมัยนั้นคือนายปองพล อดิเรกสารจากพรรคชาติไทย)แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ปัญหาเรื่องเรือปั่นไฟจึงยังคาราคาซัง….

ถึงปีพ.ศ.นี้ พรรคประชาธิปัตย์ดูแลกระทรวงเกษตรฯมาหลายปี พรก.ประมง2558มาตรา57ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีเกษตรฯในการออกประกาศห้ามจับพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นเรือ แต่เกือบ7ปีแล้ว ท่านรัฐมนตรีก็ไม่ยอมปฏิบัติการออกประกาศตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้…

พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน/ห่วงโซ่ทางอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำก็ยังถูกทำลาย ทั้งจากการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลาก/เรือปั่นไฟ …

คำถามง่ายๆประชาชนโดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านในเขตชายฝั่ง22จังหวัดซึ่งถือเป็นจำนวน80%ของผู้ประกอบอาชีพประมง จะหวังพึ่งพาพรรคประชาธิปัตย์ได้อยู่อีกไหม???

และมีพรรคการเมืองไหนบ้างที่กล้าประกาศให้เป็นนโยบายว่าจะฟื้นฟูทะเลไทยให้ยั่งยืนให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของคนในสังคมนี้???
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ…

“ปลาทูน่า..สดๆจับได้พื้นที่ชายฝั่งสงขลา

เมื่อทะเลมีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับสัตว์น้ำที่หายไปจากพื้นที่
นานแสนนาน วันนี้ปรากฎการณ์ชาวประมงพื้นบ้าน บ้านพังสาย อ.สทิงพระ จ.สงขลาสามารถจับปลาทูน่าได้
100 กว่ากิโลกรัม….เราเชื่อมั่นในทะเลไทย

Cr.Sayan Sayan Thongsri
บันทึกเอาไว้ว่าทะเลจะนะมีดี จะต้องหยุดนิคมอุตสาหกรรมจะนะ…
บริษัท บริษัท กรมชลประทานกรมทางหลวงชนบท จำกัดบริษัท กรมชลประทานกรมทางหลวงชนบท จำกัดบริษัท กรมชลประทานกรมทางหลวงชนบท จำกัดบริษัท กรมชลประทานกรมทางหลวงชนบท จำกัด จำกัด
คนเมืองสงขลา..ออกมาแล้วครับ

ขบวนแห่ "บอกรักทะเลจะนะ"
วันนี้ 18 ธ.ค. 64 เริ่มเวลา 12.30 น.

🤬พังพินาศหมดละมนุษย์เอ๋ยยย จะจับปลาเข้าใจได้ แต่อย่าทิ้งความชิบหายแบบนี้ไว้ได้มั้ย😡
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง please do something 🙏🥲
วันนี้ 9 ธันวาคม 2564
เวลา 14.00 น. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นจะเดินจะเดินทางไปกระทรวงหมาดไทย เพื่อเรียกร้องให้นิพนธื บุญญามณี ลาออกจากตำแหน่ง รมต.เนื่องจากในขณะดำรงตำรงตำแหน่งได้มีนโยบายโครงการเดินสำรวจออกโฉลดโดยการเอื้อให้กับกลุ่มคนใกล้ชิดกวาดซื้อที่ดินไปขายต่อให้บริษัททีพีไอเพื่อจัดตั้งเป็นนิคมอุตตสาหกรรมจะนะ และพยายามทำทุกวิถีทางในการผลักดันโครงการโดยใช้เครือข่ายและบริวารในการในส่วนราชการที่มีบริวารของตัวเองในการผลักดันเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจากสสีเขียวและสีม่วง กล่าวหาว่าที่ดินและทะเลจะนะไม่มีความอุดมณ์สมบูรณ์ ถูกอภิปรายในสภาหลายครั้งเกี่ยวกับผลผระโยชน์ทับซ้อน

ภาคค่ำ - 18.30 น. เวทีวิพากษ์ ณ หน้า UN
1. ศอบต. - บทบาทที่ผิดเพี้ยนของ ศอ.บต.จากบทบาทการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้ กับการผลักดันโครงการเอื้อทุนเอกชน
2. รมต.นิพนธ์ มหาดไทย - ผลประโยชน์ทับซ้อนจากาดำรงตำแหน่ง ปัญหาทีดินจากโครงการสำรวจออกโฉนด
3. ความสัมพันธ์ 3 ป. - ประยุทธ ประวิท ป๊อก นิพนธ์
ถ้าของจริง จะกลัวอะไร

โดย: Lertchai Sirichai

นายนิพนธ์ บุญญามณี พยายามบอกว่าที่ดินที่จะนะบริเวณที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมทำอะไรไม่ได้นอกจากปลูกแตงโม บอกว่าประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนโครงการมีเพียงส่วนน้อยที่คัดค้าน และบอกว่าเขาทำเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน
พลเอกประยุทธ์ก็พูดแล้วพูดอีกว่าเขาทำทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ประเทศจะต้องหลุดกับดักรายได้ปานกลาง
หากเรื่องที่ทั้งสองคนพูดนี้เป็นความจริงทำไมจึงทำตามข้อเรียกร้องของชาวจะนะไม่ได้
เพราะชาวจะนะเขาเห็นว่าที่พวกคุณพยายามผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมที่จะนะนั้นทำโดยผิดขั้นตอนตามกฎหมาย กีดกันการมีส่วนรวมของประชน และมีหลักฐานชัดเจนถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ผลักดันโครงการ
ชาวจะนะเขาเรียกร้องด้วยท่าทีประนีประนอม และให้เกียรติทุกฝ่ายอย่างมาก เพราะเขาไม่เรียกร้องให้หยุดโครงการแบบทีนทีทันใด หรือแบบไม่รับฟังกัน
แต่เขาเรียกร้องในสิ่งที่นานาอารยประเทศเขาทำกันทำเมื่อต้องการผลักดันให้เกิดโครงการขนาดใหญ่ คือ ต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาที่เรียกว่า “การประมินสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SEA)” ซึ่งที่ผ่านมาการผลักดันโครงการนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ทำ และหากผลการศึกษาออกมาอย่างไรชาวบ้านจะยอมรับ
เพียงแต่ว่าต้องศึกษาโดยคณะกรรมการที่มีความรู้ น่าเชื่อถือ และเป็นการศึกษาแบบให้ประชาขนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
และที่ผ่ามาผู้ผลักดันโครงการได้ถือโอกาสขับเคลื่อนโครงการไปเลย โดยอาศัยกลไกรัฐที่ตนเองควบคุมอยู่และอิทธิพลเงินของกลุ่มทุน ชาวจะนะขอให้การดำเนินการใดๆในทุกเรื่องทุกกรณีต้องยุติไป และให้รอผลการศึกษา SEA
ถ้าสิ่งที่ที่นายนิพนธ์พูดก็ดี สิ่งที่พลเอกประยุทธ์พูดก็ดี เป็นของจริง ทำไมจะต้องกลัวสิ่งที่ชาวจะนะเสนอ เพราะหากเป็นโครงการที่ดี จะไม่มีผลกระทบใดๆ จะแก้ปัญหาของประชาชนได้ ไม่มีใครแอบผลักดันโครงการอยู่เบื้องหลังเพื่อหวังผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง การศึกษา SEA ก็ต้องผ่านแน่ ๆ อยู่แล้ว
จึงไม่เห็นต้องกลัวอะไร
ถ้าอ้างว่า โครงการจะล่าช้า คำถามคือ คุณจะรีบไปไหน
เศรษฐกิจโลกขณะนี้ก็ซบเซาอย่างมาก การหวังว่าจะมีใครมาลงทุนจึงเป็นเรื่องยาก
แม้เขตเศรษฐกิจพิเศษขนาดใหญ่ที่รัฐลงทุนไปอย่างมาก เช่น EEC การเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนต่างๆก็ยังห่างเป้าหมายมากมายนัก
และการยืดเวลาไ่ปอีกซึ่งคงไม่มากมายนัก จะเสียหายอะไร ไม่ดีกว่าการปล่อยให้โครงการดำเนินไปอย่างปิดบัง ฉ้อฉล ขาดการมีส่วนร่วม หรอกหรือ
เพราะหากเกิดผลกระทบขึ้นมา จะใหญ่โตมาก แล้วใครจะรับผิดชอบ
ศอ.บต. ก็เช่นเดียวกัน การที่อ้างว่าสิ่งที่ตนเร่งดำเนินการนั้นเป็นไปตามกฎหมาย ตามระเบียบแบบแผนที่ถูกต้อง และตนเองทำเพื่อประชาชนในพื้นที่นั้น ถ้าเป็นของจริงจะกลัวอะไรกับการที่ชาวจะนะเสนอให้ตรวจสอบการทำงานในเรื่องนี้ เพราะมีเหตุมากมายที่ชวนให้สงสัยว่า ศอ.บต. เร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างไม่ขอบ
คำถามก็คือ หากสิ่งที่นายนิพนธ์พูดและทำเป็นของจริง สิ่งที่พลเอกประยุทธ์พูดและทำเป็นของจริง สิ่งที่ ศอ.บต. พูดและทำเป็นของจริง แล้วจะกลัวอะไร จะศึกษาอะไร อย่างไร ที่เป็นความถูกต้องชอบธรรมก็ท้าให้ทำไปเลย เพราะเมื่อเป็นของจริงจะศึกษาอะไร อย่างไร ผลก็ออกมาเหมือนกัน
หรือว่าความเป็นจริงจะกลับตาลปัตรเป็นตรงกันข้าม
คือ สิ่งที่พูดและทำไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงการแสดงให้สังคมหลงเชื่อ ของจริงก็คือมีนักการเมือง กลุ่มทุน และข้าราชการประจำ กำลังร่วมกันแสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่สนใจใยดีต่อชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่จะต้องสังเวยให้แก่ความโลภนี้ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่คนในวงกว้างอันเนื่องมาจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตามมา
เป็นเพียงคำถามนะครับ ไม่ใช่ข้อกล่าวหา

#สื่อเถื่อนข่าว
"ปลากระบอกนาทับ" จะหายไปพร้อมกับการมาของนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ?
_______________________________________________

"ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยกินปลาบอกที่ไหนหรอยพันนี้”

คุณยายตั้ง อายุ 87 ปี ได้พูดออกมาหลังจากดินแกงส้มปลากระบอกคลองนาทับ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ทั้งหวาน มัน หอม เนื้อนุ่มละมุลลิ้น ได้กินแล้วไม่อยากกลืน ติดใจไม่รู้ลืม

ระบบนิเวศคลองนาทับ เป็นคลองขนาดใหญ่ น้ำทะเลไหลเข้าออกผสมกับน้ำจืดที่ไหลลงมาจากเทือกเขาต้นน้ำเกือบตลอดปี นำแร่ธาตุและสารอาหารลงสู่ลำคลองส่งผลให้เกิดแพลงตอนพืช ,แพลงตอนสัตว์ที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำและเกิดเป็นคลองสามน้ำคือ ส่วนปลายน้ำเค็ม ส่วนกลางน้ำกร่อย ส่วนต้นน้ำจืด มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ตลอดแนวริมคลอง เหมาะเป็นที่อยู่อาศัย ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ทีผสมผสานได้อย่างลงตัว ส่งผลให้คลองนาทับมีสัตว์น้ำชุกชุม เป็นเส้นเลิอดใหญ่หล่อเลี้ยงชุมชน ในอดีตคนในชุมชนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจับสัตว์น้ำในลำคลองเลี้ยงดูครอบครัว

ปลากระบอกนาทับถือเป็นอาหารทะเลชั้นเลิศ และเป็นแหลงรายได้ของคนในคลองนาทับ เส้นเลือกใหญ่ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำของท้องทะเลจะนะและอ่าวไทย หากเกิดโครงการอุตสาหกรรมจะนะขึ้น คลองนาทับจะถูกใช้เป็นแหล่งทิ้งน้ำเสีย หรือเป็นที่เทียบเรือเล็ก ทำให้ปลากระบอก ที่มีรสชาติอร่อย เหลือไว้เพียงชื่อ การเข้ามาของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยไม่ผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เราอาจจะทำให้แหล่งปลากระบอกอร่อยที่สุดในประเทศไทยหายไปด้วย
เรื่องโดย : ดร. ปรีชา ร่มบ้านโหล๊ะ สถาบันวิจัยและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง สมาคมรักษ์ทะเล
#สมาคมรักษ์ทะเลไทย
อาจจะไม่ได้ส่งออกไปต่างประเทศเหมือนรถยนต์/อาจจะไม่ได้เพิ่มGDPในนามของการพัฒนาที่พวกท่านต้องการ…

แต่ทะเลจะนะคือแหล่งอาหาร/คืออาชีพ/คือปากท้องคนในพื้นที่ คือความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ของชุมชน

#หยุดนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
ขออนุญาตฝากประชาสัมพันธ์สัมมนาที่น่าสนใจ ร่วมกันเข้าใจวิธีการอยู่ร่วมกันกับป่าเพื่อความยั่งยืน

International Webinar on Biosphere Reserves : Living in Harmony with Nature, Lessons Learned, and Way Forward on 15 December 2021 via Zoom Webinar.
-You are most welcomed to join !
-Save the date and make a registration by scan the QR code, or follow this link :
#}