เพลงเกษตรวิถีใหม่ - ไมค์ ภิรมย์พร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพลงเกษตรวิถีใหม่ - ไมค์ ภิรมย์พร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพลงเกษตรวิถีใหม่ - ไมค์ ภิรมย์พร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพลงเกษตรวิถีใหม่ - ไมค์ ภิรมย์พร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผต.วีรชาติ เขื่อนรัตน์ เปิดงานวันรณรงค์แก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่เกษตรจังหวัดลำปาง
วีดีทัศน์ ประชุมคณะทำงานสรรหาปราชญ์เกษตร
ผต.วีรชาติ เขื่อนรัตน์ เปิดงานวันรณรงค์แก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่เกษตรจังหวัดลำปาง
วันศุกร์ที่ 26 กรกฏาคม 2562 เวลา 09.00 น. นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ (ผต.กษ.) ประธานการจัดโครงการ “จิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ” Big Cleaning กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พร้อมทั้งมีการจัดประกวดกิจกรรม 5 ส สป.กษ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และมอบรางวัล โดยแบ่งแยกตามกลุ่มหน่วยงาน ทั้งนี้สำนักตรวจราชการ ได้รับรางวัลที่ 2 สำหรับกลุ่มหน่วยงานขนาดกลาง (ส่วนกลาง)โดยมีนางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา (ผอ.สตร.) ขึ้นรับรางวัลดังกล่าว ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 115
ประชุมการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 1 รอบที่ 1
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 นายพิศาล พงศาพิชณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 1 เป็นประธานการประชุมการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 1 รอบที่ 1 ณ ห้องประชุมพระปรางค์สามยอด ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 14 โครงการ และโครงการที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายเฉพาะเรื่องหรือเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 8 โครงการ โดย ผต. กษ. ได้ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ดังนี้
1) โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่: ในประเด็นการดำเนินงานด้านการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตในการปลูกข้าว ได้เสนอแนะให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเก็บข้อมูลการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตของการปลูกข้าวนาปรังเปรียบเทียบแต่ละปี และเปรียบเทียบต้นทุน-รายได้ ของการทำนา 2 รอบต่อปี และ 3 รอบต่อปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาและประชาสัมพันธ์นโยบายลดรอบการปลูกข้าว ในประเด็นตัวชี้วัดของเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งกำหนดให้ในปีแรกต้องมีแปลงใหญ่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแปลง 50% และปีที่สองต้องผ่านการรับรอง 100% นั้น ผต. กษ. ได้เสนอแนะให้เจรจาแก้ไขตัวชี้วัดและคำอธิบายตัวชี้วัด เนื่องจากตัวชี้วัดเดิมมีความไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมในการปฏิบัติรวมถึงกำหนดเงื่อนเวลาไม่ชัดเจน ทำให้จังหวัดส่วนใหญ่ไม่ผ่านตัวชี้วัดนี้
2) โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer): ได้เสนอแนะให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ที่ขึ้นทะเบียน และหาแนวทางในการให้ค่าตอบแทนแก่ อกม. ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน นอกจากนี้ เสนอให้มีการจัดทำแนวทางการใช้ประโยชน์ Smart Farmer และ Young Smart Farmer ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการเป็นผู้จัดการแปลงใหญ่ การเป็นวิทยากรให้ ศพก.
3) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map): ขณะนี้ยังไม่มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนในพื้นที่ S3 และ N ข้าว โดย ผต. กษ.ได้มีข้อเสนอแนะว่าจังหวัดลพบุรี มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโ
ผต.เขต 12
นายประสงค์ ประไพตระกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 12 เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลักฤดูทำนาปี 2561/62
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 9.30 น. นายอภัย สุทธิสังข์ (หน.ผต.กษ.) เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนงานตรวจราชการ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำสัปดาห์ครั้งที่ 2/2562 ร่วมกับนายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ (ผต.กษ.) นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง (ผต.กษ.) นางอุมาพร พิมลบุตร (ผต.กษ) นายประสงค์ ประไพตระกูล (ผต.กษ.) และนายวรวุธ ชูธรรมธัช (ผต.กษ.) พร้อมด้วย นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา (ผอ.สตร.) นางสาวสุชาดา โฉมเชิด (รก.ผอ.กปพ.) นางสาวชนิดา แช่มตระกูล (ผู้แทน ผอ.สกร.) นางสาวนฤมล อดิเรกโชติกุล (ผู้แทน ผอ.สผง.) และเจ้าหน้าที่สำนักตรวจราชการ โดยประธานได้แจ้งที่ประชุมทราบนโยบายสำคัญของกระทรวงที่ ผต.กษ. ควรเร่งตรวจติดตาม และที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็นสำคัญดังนี้ 1) การติดตามผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในความรับผิดชอบของ กษ. 2) การขับเคลื่อนโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา 3) การเตรียมการตรวจติดตามปัญหาอุทกภัยใน จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้ และ 4) การมอบหมาย ผต.กษ. เป็นประธานอนุกรรมการอำนวยการประสานงานจัดร้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในงานกาชาด ประจำปี 2561 ทั้งนี้ ผอ.สตร.ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ผต.กษ. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานสรรหาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ระดับเขต โดยให้ผลการสรรหาฯ ให้กับ กนท. สป.กษ. (ฝ่ายเลขาฯ คทง.) ภายในวันที่ 21 ธ.ค. 2561 นอกจากนี้ได้แจ้งเรื่องปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นชอบ แนวทางการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ โดยขอให้บุคลากร สป.กษ. สวมสายคล้องบัตรประจำตัวทุกคน
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการนโยบายกระทรวงฯ จังหวัดเลย
17 มกราคม 2560
8 ธันวาคม 2560 ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมงาน “การสาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ (Unmanned tractor)เพื่อทำการเกษตรอัจฉริยะ”ภายใต้โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคณะกรรมการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้จัดขึ้น โดยมี น.ส. ชุติมา บุณยประภัศร รมช พณ (อดีตรมช.กษ. ผู้ริเริ่มโครงการ) ผวจ นครราชสีมา รองผู้อำนวยการ GISTDA รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้นำเกษตรกร เข้าร่วมงาน พร้อมทั้งชมการสาธิตแทรคเตอร์ไร้คนขับและนิทรรศการเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ณ แปลงเรียนรู้การเกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลัง(แปลงเกษตรกร) ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งได้นำเทคโนโลยีการผลิตพืชมาใช้ในกระบวนการการผลิตตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยเกษตรแบบสมัยใหม่ ประกอบด้วย
-การใช้แทคเตอร์ไร้คนขับ ร่วมกับเครื่องจักรกลเกษตรต่อพ่วงของไทย การให้น้ำตามความต้องการของพืชโดยดูจากข้อมูลความชื้นของดินและสภาพอากาศผ่านระบบเซนเซอร์ และ Internet of Things (IOT) การจัดทำแผนที่แสดงลักษณะกายภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืชตามลักษณะทางกายภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้โดรนทุก 2 สัปดาห์และประมวลผลจากภาพถ่ายระยะไกล มีการใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับดิน
- มีการจัดทำbig data การเกษตรอัจฉริยะในการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลการผลิตพืชเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตทั้ง 2 รูปแบบการผลิต (เกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะ) ซึ่งเป็นการบูรณาการ ในรูปแบบของประชารัฐ ประกอบด้วย สป.กษ. กวก. กข. พด. กสก. ชป. สศก. GISTDA บริษัท ยันมาร์ เอส.พี.จำกัด บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เกษตรกรsmart farmerและ Hokkaido University โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับเป็นต้นแบบในการทำการเกษตรอัจฉริยะ(smart agriculture)รองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของ กษขณะนี้จัดให้มี 5 แปลงที่
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะผู้ตรวจกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) ณ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบัวล้มช้าง ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ดังนี้
- ศพก. อำเภอบางเลน มีการพัฒนาฐานเรียนรู้ให้มีความพร้อมในการให้บริการแก่เกษตรกร ในเชิงการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบและทีมงานให้เป็น Smart Farmer ทั้งนี้ ศพก.อำเภอบางเลนได้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่องเพื่อการวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพของ ศพก. ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และของชุมชนอย่างยั่งยืน
- โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นแปลงใหญ่ต้นแบบของจังหวัดนครปฐม โดยมีนายไพรัช เส็งเจริญ เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิก 58 ราย มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 1,399 ไร่ ผลิตข้าวเป็นสินค้าแปลงใหญ่ พันธุ์ข้าวที่ปลูก กข 31 (ข้าวหนัก 4 เดือน) กข 57 (ข้าวหนัก 4 เดือน) กข 61 กข 47 พิษณุโลก 2 และ MGC1 และขอจดวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ ในชื่อ กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน บ้านบัวล้ม มีการเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรจาก ธ.ก.ส. ในอัตราดอกเบี้ย ล้านละ 100 บาท โดยกลุ่มฯ ได้กู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อนำมาซื้อปัจจัยการผลิตให้กับสมาชิกแปลงใหญ่ตามความต้องการของสมาชิก และจำหน่ายในราคาต่ำกว่าท้องตลาด ทำให้สามารถแก้ปัญหาหนี้สินของสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ได้
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต ๑๕ และ ๑๖ นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ ได้เดินทางมาเป็นประธานในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดลำปาง ในการติดตามผลความก้าวหน้าโครงการตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รอบที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สรุปผลโครงการภายใต้แผนบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง และโครงการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ โครงการส่วนใหญ่ ดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด มีการเบิกจ่ายงบประมาณเกือบ ๑๐๐ % ยังคงมีบางโครงการเบิกจ่ายงบประมาณยังไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งได้ฝากให้ส่วนราชการที่โครงการยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายใต้นโยบายกระทรวง และนโยบายของรัฐมนตรีฯ ขอให้ช่วยกันร่วมบูรณาการ เร่งรัด เพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จ
ช่วงบ่ายลงพื้นที่โครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยพ่อ ภายใต้ร่วมพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนที่ ๔ ต.วังเงิน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง โดยดำเนินกิจกรรมการเพาะเห็ดหอม มีสมาชิกจำนวน ๘๓ ราย ผลิตก้อนเห็ดได้ ๖,๐๐๐ ก้อน/วัน ราคาเห็ดหอม ๑๘๐ บาท/ ก.ก.
วันพฤหัสบดีที่ 20 เม.ย. 60 นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ ผตร.กษ. เยี่ยมแปลงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ นายวีระยุทธ. ศรีจวน ณ ม.7 ต.ธวัชบุรี อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งได้รับปัจจัยครบ มีผังฟาร์ม การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องและมีการขยายผลแก่เกษตรกรข้างเคียงด้วย
วันนี้ (19 เม.ย.60) นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ ผตร.กษ.เยี่ยมแปลงเกษตรกร นางอุไลย์ ทบวัน โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ม.10 ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับปัจัยการผลิตครบและดำเนินการแล้วได้ผลดี. มีสมาชิกเครือข่ายจำนวนมาก และ มีความพร้อมเป็นตัวอย่างในการถ่ายทอดความรู้ต่อไป
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เดินทางมาตรวจราชการติดตามสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยมีนายสุรจิตต์
อินทรชิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยวน พันธ์สวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 6 และ 7 เข้าร่วมการตรวจราชการดังกล่าวด้วย
ซึ่งได้เยี่ยมชมคลีนิกเกษตรเคลื่อนที่และการให้บริการเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยด้านดิน พืช ปศุสัตว์
วันนี้ (3 สิงหาคม 2559) เวลา 09.30 น.
นายสุรจิตต์ อินทรชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 6 และ 7
เข้าร่วมประชุมการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายสมพาศ นิลพันธ์) และผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตตรวจราชการที่ 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 รอบที่ 2 ณ ห้องประชุมตาปี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยมีแผนงาน/โครงการที่ตรวจติดตาม รวม 3 เรื่องดังนี้
1.การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม
2.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ : มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล ได้แก่ 1) มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการส่งเสริมความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน (กยจ.)
2) มาตรการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรตามมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
และ3)มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้าน
3.การตรวจราชการตามมาตรา 34 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 การตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559
□วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00 น. นางกุลรัศมิ์ อนันต์พงษ์สุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 14 ร่วมงานโครงการเกษตรอินทรีย์สัญจร "ร้อยใจสานปณิธาน สู่การทำเกษตรอินทรีย์" จังหวัดยโสธร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรกรรม ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ซึ่งทางจังหวัดยโสธรได้จัดงานดังกล่าวนี้ขึ้น โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในการเปิดงาน และมีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดยโสธรเข้าร่วมงาน และจัดนิทรรศการที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ทางจังหวัดได้มีกำหนดการจัดงานดังกล่าวให้ครบทุกอำเภอในจังหวัดยโสธร (9 อำเภอ ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อให้คนยโสธรรับรู้และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์อย่างกว้างขวางและส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด ทั้งนี้ทางจังหวัดมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 60,000 ไร่ ภายในปี 2561 นอกจากนี้ทางจังหวัดมีนโยบายจะพัฒนาให้เกษตรกรมีการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งตำบล 100 เปอร์เซนต์ อย่างน้อย 1ตำบล ภายใน 5 ปีนี้□
นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 3,9 ให้สัมภาษณ์รายการคนไทยหัวใจเกษตร ออกอากาศวันที่ 24 มิถุนายน 2559 โดนมีประเด็นดังนี้
📌 การเตรียมความพร้อมให้เกษตรกร ก่อนการ
เพาะปลูกโดยเฉพาะเรื่องข้าว
📌 การติดตาม การแก้ไขปัญหานมโรงเรียน
📌 การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา
เครดิตภาพ : farm channel
รายการคนไทยหัวใจเกษตร วันที่ 15 มิถุนายน 2559 นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 3,9 ติดตามการดำเนินงาน โครงการห้วยโสมง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ณ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 16,000 ไร่ ความจุ 295 ล้านลบ.ม. ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 85 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใน อ.นาดี และอ.กบินทร์บุรี คิดเป็นพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 100,000 ไร่
เครดิตภาพ : farm channal
รายการคนไทยหัวใจเกษตร วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2559 นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรเขต 9 ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ณ จังหวัดจันทบุรี
เครดิตภาพ : farm channel
รายการคนไทยหัวใจเกษตร วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 9 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว และติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง จ.ชลบุรี
เครดิตภาพ : farm channel
23 เม.ย.59 ศรีสะเกษ
ผตร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ
🚩ลงพื้นตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ภายใต้โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 ณ บ้านบึงบูรพ์ หมู่ 8 ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรเขต 3 และ 9 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ตามนโยบายเร่งด่วนของท่านพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครดิต : farm channel
นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 3 ได้ติดตามและให้กำลังใจเกษตรกรที่เข้าอบรมการเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 ณ อำเภอพระประแดง ปัญหาที่เกษตรกรประสบ ได้แก่ การรุกล้ำของน้ำเค็ม ทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายน้ำประปาเพิ่มขึ้นในสำหรับน้ำเพื่อการเกษตรได้มอบหมายให้ Single Command ประสานกับหน่วยงานประปาในพื้นที่เพื่อหาทางลดค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำเพื่อการเกษตร
เครดิตภาพ : farm channel
นางกุลรัศมิ์ อนันต์พงษ์สุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 14 เป็นประธานเปิดป้ายโรงเรียนเกษตรกรศรีสำราญวิทยา อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ