Clicky

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมรา

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมรา เพิ่มช่องทางการสื่อสารของสมาคมฯ

วัตถุประสงค์
สมาคมเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และผู้ที่มีความสนใจในวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางสถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อม และรักษาอารยธรรมของชาติ ในฐานะองค์กรทางชีพอิสระทางสถาปัตยกรรม
2. เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่มวลสมาชิก เพื่อดำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในก

ิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพของสมาชิกและต่อสังคม
3. ให้ความรู้ คำปรึกษาทางวิชาชีพ วิชาการ และสิทธิประโยชน์ แก่สมาชิกและสังคม
4. ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ การศึกษา ค้นคว้า การวิจัยและพัฒนา เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและทันกับการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
5. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรและสถาบัน ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อพัฒนาและเผยแพร่ อุดมการณ์ บทบาท และหน้าที่ของสถาปนิก ให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของประชาชน
6. ส่งเสริม พัฒนา และติดตามการปฏิบัติตามพันธะกรณีว่าด้วยการให้บริการ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิกและประชาชน
7. กำหนดและรับรองมาตรฐาน กฎระเบียบ เกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม

เปิดเหมือนปกติ

ด่วน ปิดรับสมัครวันพุธที่ 11 ม.ค. 66 วันสุดท้าย !สมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญ  สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ  แ...
10/01/2023

ด่วน ปิดรับสมัครวันพุธที่ 11 ม.ค. 66 วันสุดท้าย !

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสถาปนิกใหม่เข้าร่วม

"การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ประจำปี 2566"

วันอาทิตย์ที่ 15 และวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พบกับเนื้อหาการบรรยายตลอดวันเพื่อทบทวนและเสริมความรู้ทางวิชาการสำหรับสถาปนิกใหม่ ให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิชาชีพและการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

อัตราค่าลงทะเบียน
* สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ 100 บาท / วัน
* รับเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ เท่านั้น หากไม่เป็นสมาชิก
สามารถสมัคร โดยสแกน QR CODE
* ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการอบรมและอาหารกลางวัน (Lunch Box Set) 1 ชุด/วัน
* รับจำนวนจำกัด 500 ท่าน

สอบถามเพิ่มเติม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โทร. 02-319-6555 ต่อ 202 หรือ 085-147-3569 หรือดาวน์โหลดใบตอบรับลงทะเบียนได้ที่ https://asa.or.th/news/15-01-25-01-2023/

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเรียนเชิญ สถาปนิก นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา ในหัวข้อ "SAFETY IN ...
06/01/2023

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเรียนเชิญ สถาปนิก นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา ในหัวข้อ

"SAFETY IN CONCERT"

ที่จะบรรยายในเรื่องสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ด้านการออกแบบจัดการผู้คนในงานคอนเสิร์ตในเชิงสถาปัตยกรรมโดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์จริงในการวางแผนและผังในงานคอนเสิร์ตระดับโลก นำโดย

1. คุณเจษฏา พัฒนถาบุตร CEO/Founder JSS Production Co.,Ltd
2. คุณยงยุทธ วัชรพฤกษ์ Production manager Live Nation Tero
3. พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข กรรมาธิการสมาคมฯ วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ

โดยการสัมมนาครั้งนี้จัดในรูปแบบ Concert เพื่อจำลองสถานการณ์จริง

ด่วนจำนวนจำกัด ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิก่อน ค่าลงทะเบียนอบรมสำหรับสมาชิกเพียง 200 บาทเท่านั้น !!!

ลงทะเบียน >>> https://forms.gle/pys2aWM35GFUFDsA7

สวัสดีปีเถาะ 2566ส่งความสุขต้อนรับปีใหม่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
29/12/2022

สวัสดีปีเถาะ 2566
ส่งความสุขต้อนรับปีใหม่

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

Merry Christmas and Happy New Year 2023The Association of Siamese Architects under Royal Patronage : ASA
24/12/2022

Merry Christmas and Happy New Year 2023
The Association of Siamese Architects under Royal Patronage : ASA

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของส...
23/12/2022

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผลงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ วันนี้จะมาแนะนำผลงาน รางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ที่สมควรได้รับการเผยแพร่
โครงการ อาคารสโมสร ราชกรีฑาสโมสร

ที่มาของโครงการ

ตั้งอยู่ที่ถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์) สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2458 เพื่อทดแทนอาคารสโมสรหลังเดิม ซึ่งเป็นสโมสรกีฬาสำหรับชนชั้นสูงในพระนคร ทั้งชาวต่างประเทศและชาวสยาม มาตั้งแต่พ.ศ.2440 มีนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) เป็นสถาปนิก นายกอลโล (E. G. Gollo) เป็นวิศวกร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็นตึกสูงสองชั้น มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวขนานกับสนามแข่งม้า มีลักษณะแบบสมมาตร ตรงกลางอาคารด้านตะวันตก (ด้านถนนสนามม้า) เป็นโถงทางเข้า มีโถงบันไดขึ้นไปชั้นสอง ซึ่งทำอาคารส่วนกลางให้สูงกว่าส่วนปีกสองข้าง ด้านตะวันออกชั้นสองทำเฉลียงโล่งมีหลังคาคลุมสำหรับชมการแข่งม้า เน้นช่วงเสากลางมุขด้วยแนวเสาคู่ ตรงกลางมีระเบียง (balcony) ยื่นออกมา เป็นบริเวณที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อมีการเสด็จฯ ทอดพระเนตรกีฬาต่างๆ ส่วนปีกอาคารประกอบด้วยห้องต่างๆ เช่น ห้องอาหาร ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ลักษณะเด่นได้แก่การใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทันสมัยและประณีต ช่วงพาดกว้าง เสาและคานมีขนาดเล็ก ตกแต่งรอยต่อเสาและคานเป็นลายบัวแบบไทยประยุกต์ หลังคาคอนกรีตแบนมีหลังคาปั้นหยาคอนกรีตซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ชายคารอบอาคารทำเป็นแผ่นคอนกรีตบาง ยื่นยาวรอบตัวอาคาร

PROJECT DATA
ที่ตั้ง : เลขที่ 1 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ : เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey)
สถาปนิกอนุรักษ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ครอบครอง : สมาคมราชกรีฑาสโมสร
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2458

ประกาศวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปิดทำการระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2565 - 2 มกราคม 2566 แ...
23/12/2022

ประกาศวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปิดทำการระหว่างวันที่
26 ธันวาคม 2565 - 2 มกราคม 2566
และจะเปิดทำการปกติ ในวันที่ 3 มกราคม 2566

ขอให้สมาชิกสมาคมฯทุกท่านดูแลสุขภาพ ด้วยความห่วงใย

The Association of Siamese Architects under Royal Patronage will close
from 26 December 2022 - 2 January 2023 and will reopen
for business on 3 January 2023.

We apologize for any inconvenience this may have caused.

ASA Journal09/2022 : Metal Attraction.ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้โลหะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในแวดวงสถาปัตย...
22/12/2022

ASA Journal
09/2022 : Metal Attraction
.
ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้โลหะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในแวดวงสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง เริ่มจากเหล็กกล้าเป็นที่นิยมช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในงานส่วนประกอบทางโครงสร้างของอาคาร มาสู่การใช้เป็นส่วนประดับตกแต่งของภายนอกอาคาร จนกระทั่งเมื่อมีการผลิตเหล็กกล้า ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงมากขึ้น และสามารถดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายกว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักสำหรับงานวิศวกรรมสะพาน และอาคารสูงในเมืองอย่างชิคาโกและนิวยอร์ก จนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการปฏิวัติแนวคิดทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองและอุตสาหกรรมการก่อสร้างไปพร้อมกัน
.
ด้วยศักยภาพของกระบวนการผลิตวัสดุโลหะนั้นส่งผลต่อการผลักดันผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร้ขอบเขต และกระบวนการก่อสร้างที่รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังแปลงรูปทรงงานสถาปัตยกรรมที่หนาหนักมาสู่ความโปร่งเบา ด้วยผังพื้นที่เปิดโล่งเป็นอิสระมากขึ้น และเปลี่ยนเส้นขอบฟ้าของเมืองต่างๆ ให้เต็มไปด้วยอาคารสูงระฟ้า มาจนถึงปัจจุบันที่เรายังคงเห็นวัสดุเหล็กมีวิวัฒนาการของการผลิตและคุณสมบัติที่พิเศษขึ้น สามารถใช้เป็นองค์ประกอบของอาคารได้ในหลากหลายรูปแบบ
.
ใน Metal Attraction วารสารอาษาฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 นี้ จึงนำเสนอผลงานสถาปัตยกรรม 4 ชิ้นต่างโปรแกรมและขนาด ที่ใช้เหล็กในการสร้างสรรค์ ผ่านแนวคิดและเงื่อนไขในการออกแบบ ตลอดจนสุนทรียภาพที่เกิดจากการใช้โลหะในรูปแบบและรายละเอียดที่แตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ ในส่วนของคอลัมน์ที่เกี่ยวกับวัสดุนั้น ยังคงมีรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆของเหล็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาอัพเดทแก่ผู้อ่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานออกแบบ
.
ASA Professional คุณอมตะ หลูไพบูลย์ และคุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ จาก Department of Architecture ได้มาเล่าสู่กันฟังถึงวิถีการทำงานและประสบการณ์วิชาชีพกว่า 18 ปีของบริษัท ที่มีผลงานออกแบบระดับรางวัลมากมายทั้งจากในและต่างประเทศ รวมถึงส่วนแนะนำสตูดิโอออกแบบรุ่นใหม่ๆ อย่าง blankstudio
.
นอกเหนือจากวารสารอาษาออนไลน์และฉบับรูปเล่มให้สมาชิกทุกท่านได้ติดตามแล้วนั้น ASA Platform ยังมีกิจกรรมเสวนาออนไซต์ และทัวร์เยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรมพร้อมกับสถาปนิกผู้ออกแบบให้สมาชิกสมาคมได้เข้าร่วมโดยท่านสามารถอัพเดทข่าวสารต่างๆ ได้ทาง Facebook และ Instagram เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสาร และกิจกรรมพิเศษในโอกาสต่อไป
.
อ่านบทความเต็มๆ ในวารสารอาษาฉบับออนไลน์ได้ที่
https://asa.or.th/journal/asa-journal-09-2022/
_
Text: ASA Journal


เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด นำโดย คุณ อัลวินวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายขาย แ...
22/12/2022

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด นำโดย คุณ อัลวินวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายขาย และ คุณสิราภรณ์ โอ กอร์แมน ผู้จัดการฝ่ายขาย เข้าพบ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อมอบของที่ระลึกเนื่องในโอกาสปีใหม่ พร้อมทั้งพูดคุยปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานในอนาคต

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอขอบพระคุณ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีมาตลอด

กิจกรรมของ ISAสถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม สุดท้ายของปีนี้ พาสมาชิกไปเยี่ยมชม อาคารสำนักงานใหม่ของสภาวิศวกร วันนี้...
22/12/2022

กิจกรรมของ ISAสถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม สุดท้ายของปีนี้ พาสมาชิกไปเยี่ยมชม อาคารสำนักงานใหม่ของสภาวิศวกร วันนี้ได้รับการต้อนรับเป็นพิเศษที่อบอุ่น จากคุณกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 มากล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม และ คุณอติวิชย์ กุลงามเนตร สถาปนิกหัวเรือใหญ่ กับ ทีม AATTN8A ที่มาร่วมบรรยายให้ความรู้ ในการออกแบบอาคารเชิงลึก ได้ความรู้ใหม่หลายอย่างมาก พร้อมพาเดินชมอย่างเป็นกันเอง เป็นประโยชน์มากกับทุกคนที่ได้ไปร่วมฟังบรรยายและเยี่ยมชมวันนี้
อาคารสำนักงานสภาวิศวกรใหม่นี้ ต้องชื่นชมแนวคิดของทีมออกแบบคนรุ่นใหม่ทุกคน ทั้งสถาปนิก วิศวกร ทีมงานทั้งหมดที่เกี่ยวของ และสภาวิศวกร ที่มีแนวความคิดในการสร้างอาคารสำนักงาน 7 ชั้น ที่ก้าวหน้ามาก ที่คำนึงถึงประชาชนคนเมืองย่านลาดพร้าว ต้องการให้เป็นพื้นที่ ที่ให้กับทั้งวิศวกรรวมทั้งประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงง่าย ได้ใช้เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ เป็นพื้นที่ public space เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง และให้เป็นที่ได้พักผ่อน หย่อนใจ ให้ทุกคนในย่านนี่
นอกจากนี้ อาคารนี้ ยังมีการออกแบบที่คิดถึงสิ่งแวดล้อม และเป็นอาคารที่ล้ำสมัย สวยงาม facade อาคารที่แสงสามารถผ่านได้ ป้องกันและระบายความร้อน และสามารถ display เป็นหน้าจอแสดงภาพพยากรณ์อากาศมีประโยชน์ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนภายนอกอาคารที่ผ่านไปมา ใช้พื้นที่คุ้มค่าทุกตารางเมตร มีการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน ให้อาคารเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ที่ไม่ได้ซับซ้อนแต่ใช้งานได้จริง
นอกจากมีสวนขั้นบันไดขนาดใหญ่ด้านหน้า ที่ปลูกต้นไม้ได้จริงแล้ว แล้วสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น อาคารจอดรถอัตโนมัติที่จอดรถ suv ได้ถึง 68คัน และอาคารยังมีระบบบำบัดหมุนเวียนน้ำเสียมาใช้เพื่อดูแลสวนต่างๆ อีกด้วย
กิจกรรมวันนี้ต้องขอขอบคุณสภาวิศวกร ที่ให้ความอนุเคราะห์ให้เข้าเยี่ยมชมอาคาร ขอบคุณวิทยากรทุกท่านคุณอติวิชย์ กุลงามเนตร , คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยากร และอีกหลายท่านที่มาร่วมให้ความรู้ในวันนี้ เป็นอย่างมาก
ต้องขอขอบคุณทีมงาน ISAสถาบันสถาปนิกทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ตลอดทั้งปี ขอบคุณเจ้าหน้าที่สมาคมสถาปนิกทุกท่านที่สนับสนุนทุกอย่าง เหนือทุกครั้งที่ทำกิจกรรมกัน และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ Fc ผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่าน ที่ติดตามกันอย่างเหนียวแน่น ไว้พบกันใหม่ ปีหน้าครับ จะมีกิจกรรมดีๆ เป็นประโยชน์ น่าสนใจให้ทุกคนได้เข้าร่วมแน่นอน
ันสถาปนิกสยาม
ิกสยาม

#สภาวิศวกร

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 นายอดุลย์ แก้วดี กรรมการกลาง และประธานสถาบันสถาปนิกสยามฯ และ นายชิมาดะ ทาคายะสุ ประธาน ...
21/12/2022

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 นายอดุลย์ แก้วดี กรรมการกลาง และประธานสถาบันสถาปนิกสยามฯ และ นายชิมาดะ ทาคายะสุ ประธาน บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดแนวความคิดการออกแบบในหัวข้อ The Bangkok Toilet Design 2022 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ร่วมมอบรางวัลในกิจกรรมครั้งนี้ ณ งาน Thailand Friendly Design ไบเทคบางนา

โดย กิจกรรมประกวดแบบในครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่าง สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ บริษัทโตโต้ฯ เพื่อให้สถาปนิก นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้นำเสนอห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกคนโดยใช้หลัก Universal Design เพื่อให้ทุกคนเข้ามาใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากกรุงเทพมหานครในการใช้ต้นแบบสถานที่ ณ สวนป่าเบญจกิติ

สามารถดูผลงานการประกวดของผู้ได้รับรางวัลที่
https://asa.or.th/news/the-bangkok-toilet-design-2022-final/

ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลโครงการ The BANGKOK TOILET DESIGN 2022โดยมีรายชื่อดังนี้รางวัลชนะเลิศรหัส TOTO 263คุณเอื้ออรรถ อั...
21/12/2022

ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล
โครงการ The BANGKOK TOILET DESIGN 2022

โดยมีรายชื่อดังนี้

รางวัลชนะเลิศ
รหัส TOTO 263
คุณเอื้ออรรถ อังพานิชเจริญ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
รหัส TOTO 142
คุณวิชานันท์ เจียรธาราทิพย์

รองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 133
คุณกันต์ เลาหวณิช
คุณพรคริสต์ เกียรติศรีชาติ

รองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 141
คุณกิรณา อินอยู่
คุณอนันตศักดิ์ ท้วมสุข
คุณนิชาพัฒน์ เกียรติเขมภัสร์
คุณแสงจันทร์ กลัญชัย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 217
AplusCon Architects

รายละเอียดเพิ่มเติม https://asa.or.th/news/the-bangkok-toilet-design-2022-final/

ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 01/66ISA Material info online รอบรู้เรื่องวัสดุก่อสร้าง ครั้งที่ 1-66"Working with wate...
21/12/2022

ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 01/66
ISA Material info online รอบรู้เรื่องวัสดุก่อสร้าง ครั้งที่ 1-66

"Working with waterproofing"

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น.
LIVE สดทางเพจสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิทยากรรับเชิญ : คุณ มนัญญา รุดดิษฐ์ Sika, คุณบดินทร์ เรี่ยวธรรมรัฐ Xypex
ดำเนินรายการโดย : คุณวิญญู วานิชศิริโรจน์, คุณปฏิกร ณ สงขลา
** กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่าย **

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฝ่ายจัดอบรม โทรศัพท์ 0-2319-6555 ต่อ 202

ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 01/66
ISA Material info online รอบรู้เรื่องวัสดุก่อสร้าง ครั้งที่ 1-66

"Working with waterproofing"

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น.
LIVE สดทางเพจสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิทยากรรับเชิญ : คุณ มนัญญา รุดดิษฐ์ Sika, คุณบดินทร์ เรี่ยวธรรมรัฐ Xypex
ดำเนินรายการโดย : คุณวิญญู วานิชศิริโรจน์, คุณปฏิกร ณ สงขลา

กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมสถาปนิกสยามฯ
ฝ่ายจัดอบรม โทรศัพท์ 0-2319-6555 ต่อ 202

รวมภาพบรรยากาศกิจกรรม  ครั้งที่ 1 ณ Queen Sirikit National Convention Center  (QSNCC) ที่เพิ่งจบลงไปเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ...
20/12/2022

รวมภาพบรรยากาศกิจกรรม ครั้งที่ 1 ณ Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC) ที่เพิ่งจบลงไปเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 18 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา
.
อีกหนึ่งกิจกรรมรูปแบบ On-site จาก ASA Platform ที่กำลังจะถูกนำมาจัดขึ้นอย่างเป็นประจำ เพื่อเปิดพื้นที่ให้สมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมได้อย่างเปิดกว้าง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นกันเอง
.
ซึ่งกิจกรรมรูปแบบ Site Tour ในครั้งแรกนี้ จะประสบความสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้ 3 สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร ตกแต่งภายใน และออกแบบภูมิทัศน์อาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้แก่ คุณนพดล ตันพิวัฒน์ จาก Design 103 International Limited คุณอริศรา จักรธรานนท์ จาก onion และ คุณนำชัย แสนสุภา จาก Shma SoEn ที่ให้เกียรติรับเชิญมาเป็นผู้บรรยายและนำชมสถานที่ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้บรรยากาศการดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างอบอุ่น และคึกคักด้วยจำนวนของผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 60 ท่าน
.
สำหรับท่านใดที่พลาดกิจกรรมในครั้งนี้ และสนใจเข้าร่วมกิจกรรม On-site จาก ASA Platform ในครั้งหน้า ก็สามารถกดติดตามเพจ ASA Plstform และอินสตาแกรม ASA Platform เอาไว้ได้ เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารด้านสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ ที่จะนำมาประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านได้ทราบกันอย่างต่อเนื่อง
.
ขอบคุณภาพถ่ายสำหรับใช้ประกอบเอกสาร ASA Site Tour ครั้งที่ 1 จาก Peerapat Wimolrungkarat (ADD)
_
Text: ASA Journal
Photo Courtesy of art4d


ขอพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงหายจากพระอากา...
19/12/2022

ขอพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ววัน

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการบริหาร สมาชิก และเจ้าหนา้ที่
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของส...
16/12/2022

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผลงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ วันนี้จะมาแนะนำผลงาน รางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ที่สมควรได้รับการเผยแพร่

โครงการ เรือนรักษ์รถไฟสูงเนิน นครราชสีมา

ที่มาของโครงการ

เรือนรักษ์รถไฟสูงเนินถูกสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างอาคารสถานีรถไฟสูงเนินในพุทธศักราช 2443 เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่รถไฟที่ปฏิบัติหน้าที่ ที่สถานีรถไฟสูงเนิน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเรือนรักษ์รถไฟสูงเนินเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงแบบเรียบง่าย หลังคาทรงจั่ว โครงสร้างเป็นโครงสร้างไม้ตั้งอยู่บนเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

เรือนรักษ์รถไฟสูงเนินประกอบด้วยอาคารไม้ 2 หลังเชื่อมต่อกันด้วยสะพานไม้ อาคารหลังที่ 1 ประกอบด้วยส่วนทางขึ้นบ้านและชานบ้านกว้าง 4 เมตร ยาว 9.75 เมตร และส่วนพักอาศัยเดิมเป็นห้องโล่งกว้าง 4 เมตร ยาว 9.75 เมตร ทั้งสองส่วนมีหลังคาทรงจั่วคลุมตลอดแนวอาคาร อาคารหลังที่ 2 ประกอบด้วยส่วนพักอาศัยเดิมและชานบ้าน แบ่งออกเป็น 3 ห้อง มีผนังกั้นระหว่างห้อง แต่ละห้องกว้าง 3.25 เมตร ยาว 4 เมตร ชานบ้านกว้าง 2 เมตร ยาว 9.75 เมตร ทั้งสองส่วนมีหลังคาทรงจั่วคลุมตลอดแนวอาคาร ถัดจากส่วนพักอาศัยเดิมและชานบ้านเป็นชานเชื่อมนอกบ้าน กว้าง 2.50 เมตร ยาว 9.75 เมตร ส่วนชานเชื่อมนอกบ้านนี้ไม่มีหลังคาคลุม ถัดจากชานนอกบ้านเป็นส่วนครัวเดิม แบ่งออกเป็น 3 ห้อง มีผนังกั้นระหว่างห้อง แต่ละห้องกว้าง 3.50 เมตร ยาว 3.25 เมตรส่วนครัวเดิมมีหลังคาทรงจั่วคลุมตลอดแนวอาคาร

PROJECT DATA
ที่ตั้ง : อุทยานสถานีรถไฟสูงเนิน เรือนรักษ์รถไฟสูงเนิน
เลขที่ 604 – 608 หมู่ที่ 1 ตําบลสูงเนิน อําเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ : ไม่ปรากฏชื่อผู้ออกแบบ
สถาปนิกอนุรักษ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ครอบครอง : การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมายให้
กลุ่มอนุรักษ์สถานีรถไฟสูงเนินดูแลและใช้ประโยชน์โดยนางพรนิภา ฉะกระโทก
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2443
ปีที่อนุรักษ์เสร็จ : พ.ศ. 2564

ASA Journal September - October 2022 : Metal Attractionวารสารอาษา ฉ.09/2022 (ก.ย. - ต.ค.) สามารถอ่านฉบับออนไลน์และดาวน์โ...
16/12/2022

ASA Journal September - October 2022 : Metal Attraction
วารสารอาษา ฉ.09/2022 (ก.ย. - ต.ค.)
สามารถอ่านฉบับออนไลน์และดาวน์โหลดได้แล้วที่ https://asa.or.th/journal/asa-journal-09-2022/
_


Photos from สถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยามฯ's post
14/12/2022

Photos from สถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยามฯ's post

สมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญ  สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ  และสถาปนิกใหม่เข้าร่วม"การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนส...
13/12/2022

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสถาปนิกใหม่เข้าร่วม

"การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ประจำปี 2566"

วันอาทิตย์ที่ 15 และวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:30 - 16:30 น.
ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พบกับเนื้อหาการบรรยายตลอดวันเพื่อทบทวนและเสริมความรู้ทางวิชาการสำหรับสถาปนิกใหม่
ให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิชาชีพและการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

อัตราค่าลงทะเบียน
* สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ 100 บาท / วัน
* รับเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ เท่านั้น หากไม่เป็นสมาชิก
สามารถสมัคร โดยสแกน QR CODE
* ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการอบรมและอาหารกลางวัน (Lunch Box Set) 1 ชุด/วัน
* รับจำนวนจำกัด 500 ท่าน

สอบถามเพิ่มเติม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โทร. 02-319-6555 ต่อ 202 หรือ 085-147-3569 หรือดาวน์โหลดใบตอบรับลงทะเบียนได้ที่ https://asa.or.th/news/15-01-25-01-2023/

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของส...
09/12/2022

ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผลงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ วันนี้จะมาแนะนำผลงาน รางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ใน ระดับดี
โครงการ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

ที่มาของโครงการ

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ในอดีตเป็นอาณาบริเวณบ้านพักอาศัยของครอบครัวคิวรีเปอล์ นายห้างป่าไม้ชาวอังกฤษ โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตผ่านสถาปัตยกรรมเรือนล้านนาของลุ่มน้ำปิง และเป็นศูนย์กลางรองรับกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น โดยเรือนที่จัดแสดงได้รับมอบโดยการบริจาคจากเจ้าของเรือนหรือ ทายาท และได้มีวิธีการอนุรักษ์โดยการรื้อถอนจากแหล่งที่ตั้งเดิม ขนย้าย และนำมาปลูกสร้างให้คงตามรูปแบบ สถาปัตยกรรมเดิม ยกเว้นบ้านพักอาศัยของครอบครัวคิวรีเปอล์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่เมื่อเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบัน มีเรือนโบราณ 9 หลัง หลองข้าว 4 หลองข้าว และเรือนเครื่องผูก (ไม้ไผ่) 1 หลัง ตั้งอยู่รอบลานกิจกรรม ดังนี้ คือ

1. เรือนไทลื้อหม่อนตุด สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2460 รูปแบบของเรือนแสดงให้เห็นการปรับตัวของชาวไทลื้อ ที่อพยพจากสิบสองปันนามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ มีการผสานวิถีชีวิตแบบไทลื้อและไทยวนเข้าไว้ด้วยกัน

2. เรือนทรงอาณานิคมคิวรีเปอล์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2469 เป็นเรือนของชาวตะวันตกที่หลงเหลือในจังหวัด เชียงใหม่เพียงไม่กี่หลัง ตัวเรือนแสดงให้เห็นเทคนิคการก่อสร้างแบบโบราณที่ใช้ผนังรับน้ำหนัก

3. เรือนพญาปงลังกา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2439 เป็นเรือนขนาดใหญ่ของคหบดี แสดงให้เห็นถึงการแบ่งพื้นที่ การใช้สอยในส่วนของเรือนนอน เติ๋น ชาน และครัวไฟ (ห้องครัว) มีฮางลิน (รางระบายนาฝน) ด้วยไม้ซุงท่อนเดียว ขุดร่องตรงกลาง รองรับตรงกลางระหว่างชายคาของเรือนสองหลัง
4. เรือนกาแลพญาวงศ์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 เป็นเรือนจั่วแฝดสองจั่วสำหรับครอบครัวขยาย โครงสร้าง เรือนใช้วิธีการเข้าสลัก ลิ่ม และเดือยประกอบตัวเรือน

5. เรือนกาแลอุ๊ยผัด สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2456 เป็นเรือนขนาดเล็กสำหรับครอบครัวเดี่ยว ตัวเรือนแสดง ให้เห็นภูมิปัญญาเชิงช่างที่ใช้เสาเรือนต้นเล็กจำนวนหลายต้นรับน้ำหนักตัวเรือนแทนการใช้เสาต้นใหญ่

6. เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2470 - 2480 เป็นเรือนที่มีพัฒนาการต่อมาจากยุค เรือนกาแล ตัวเรือนมีห้องนอน เติ๋น แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน ปิดมิดชิด และมีความเป็นส่วนตัว มากกว่าเรือน ในยุคเก่า

7. เรือนพื้นถิ่นแม่แตง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2460 เป็นเรือนพื้นถิ่น หลังคาทรงจั่ว ตัวเรือนมีขนาดพอเหมาะ แบ่งพื้นที่ใช้สอยตามการใช้งานได้อย่างลงตัว

8. เรือนฝาไหลของแม่นายคำเที่ยง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2457 ตัวเรือนถูกออกแบบพิเศษด้วยการทำฝาเรือน แบบ “ฝาไหล” สามารถเปิดและปิดได้โดยการเลื่อนฝาชั้นบนและล่างได้ทั้งหลัง ถือเป็นภูมิปัญญาเชิงช่าง ที่ออกแบบให้ตัวเรือนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

9. เรือนทรงปั้นหยาอนุสารสุนทร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2467 เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ รูปแบบสถาปัตยกรรม อิทธิพลจากตะวันตก โดยออกแบบการสร้างตามวัตถุประสงค์ใช้งานของเจ้าของเรือนที่เป็นหมอรักษาโรค และตัว เรือนตั้งอยู่ในย่านการค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยและชั้นล่างเปิดเป็นคลินิกและร้านขายยา

10. หลองข้าวหลวงเลาหวัฒน์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 เป็นหลองข้าวขนาดใหญ่ รองรับโครงสร้างอาคาร ด้วยเสาไม้ขนาดใหญ่ 14 ต้น ป้านลมมีการประดับตกแต่งสวยงาม

11. หลองข้าวป่าซางนันทขว้าง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 เป็นหลองข้าวขนาดใหญ่ หน้าจั่วตกแต่งด้วย ลวดลายนกยูง ในอดีตเจ้าของได้ปรับปรุงหลองข้าวมาใช้งานอื่นแทนการเก็บข้าว มีการเสริมบันไดและไม้ฉลุ เพิ่มเติม

12. หลองข้าวสารภี สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2450 เป็นหลองข้าวส าหรับครอบครัวขนาดปานกลาง สภาพและ รูปแบบของหลองข้าวมีความครบถ้วนสมบูรณ์ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ

13. หลองข้าวเปลือย เป็นหลองข้าวที่สร้างขึ้นใหม่ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงรูปแบบหลอง ข้าวหลังคาทรงแม่ไก่ หลองข้าวนี้ไม่มีฝาผนัง จึงเอาข้าวใส่ในเสวียนแทน ซึ่งเป็นภาชนะทำมาจากไม้ไผ่สาน พอก ทับด้วยมูลวัว ยางไม้ และดินเหนียว

14. เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนขนาดเล็กสำหรับการอยู่อาศัยของหนึ่งครอบครัว สร้างขึ้นในพิพิธภัณฑ์ ทุก 3 – 5 ปี เพื่อเป็นเรือนตัวอย่างแสดงให้เห็นเทคนิคการสร้างด้วยการมัด ผูก ยึด ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ

PROJECT DATA
ที่ตั้ง : เลขที่ 239 ถนนคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ : ไม่ปรากฏชื่อผู้ออกแบบ
สถาปนิกอนุรักษ์
ผู้ครอบครอง : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2536

๕ ธันวาคมวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติน...
05/12/2022

๕ ธันวาคม
วันคล้ายวันพระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการบริหาร สมาชิกและเจ้าหน้าที่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

พรุ่งนี้ ! ขอเชิญพบกับ การบรรยายสดออนไลน์"THAILAND CONTEMPORARY ARCHITECTURE FORUM"ในวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลาไทย ...
02/12/2022

พรุ่งนี้ ! ขอเชิญพบกับ การบรรยายสดออนไลน์

"THAILAND CONTEMPORARY ARCHITECTURE FORUM"

ในวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลาไทย 12.00 น. ( 13:00 : Beijing Time, UTC +8) ผ่านระบบซูม

ผู้สนใจรับฟังสามารถรับชมผ่านออนไลน์ได้ที่
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCiySM6MZV51suhTuHlxGYBg
[email protected]群岛archipelago: https://space.bilibili.com/521255250/
[email protected]群岛 | Archipelago

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.architecture-asia.com/Data/List/ForumSeries

จัดโดย Architecture Asia ร่วมกับ ARCASIA / The Architectural Society of China / Tongji University

ASA Platform ขอเชิญสมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิต-นักศึกษาสถาปัตยกรรม และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม  ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ปร...
02/12/2022

ASA Platform ขอเชิญสมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิต-นักศึกษาสถาปัตยกรรม และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) วันอาทิตย์ ที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น. [จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 30 คน]
.
บรรยายและนำทัวร์โดย
1. คุณนพดล ตันพิวัฒน์ จากสำนักงานสถาปนิก Design 103 International Limited (ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมอาคาร QSNCC)
2. คุณอริศรา จักรธรานนท์ จากสำนักงานสถาปนิก onion (ผู้ออกแบบและตกแต่งสถาปัตยกรรมภายในโครงการ)
.
Early Registration เปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม #ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ เก็บค่าเข้าร่วมกิจกรรมคนละ 200 บาท
และนิสิต นักศึกษาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ เก็บค่าเข้าร่วมกิจกรรมคนละ 100 บาท
**ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้รับวารารอาษา (ASA Journal) คนละ 1 เล่ม เป็นของที่ระลึก
.
ลงทะเบียนและอ่านข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3OVWmoM
หรือสอบถามข้อมูลอื่นๆ ได้ที่ Inbox
_


***ปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

ASA Platform ขอเชิญสมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิต-นักศึกษาสถาปัตยกรรม และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) วันอาทิตย์ ที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น. [จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 30 คน]
.
บรรยายและนำทัวร์โดย
1. คุณนพดล ตันพิวัฒน์ จากสำนักงานสถาปนิก Design 103 International Limited (ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมอาคาร QSNCC)
2. คุณอริศรา จักรธรานนท์ จากสำนักงานสถาปนิก onion (ผู้ออกแบบและตกแต่งสถาปัตยกรรมภายในโครงการ)
.
Early Registration เปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม #ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ เก็บค่าเข้าร่วมกิจกรรมคนละ 200 บาท
และนิสิต นักศึกษาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ เก็บค่าเข้าร่วมกิจกรรมคนละ 100 บาท
**ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้รับวารารอาษา (ASA Journal) คนละ 1 เล่ม เป็นของที่ระลึก
.
ลงทะเบียนและอ่านข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3OVWmoM
หรือสอบถามข้อมูลอื่นๆ ได้ที่ Inbox
_


ภาพที่แสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นรมย์ของงาน WOW2022 ณ. สวนเบญจกิติ (ระหว่างวันที่23-26 พ.ย. 2565)*รางวัลชนะเลิศภาพรื่นรมย...
01/12/2022

ภาพที่แสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นรมย์ของงาน WOW2022 ณ. สวนเบญจกิติ (ระหว่างวันที่23-26 พ.ย. 2565)
*รางวัลชนะเลิศ
ภาพรื่นรมย์กลางสายฝน โดย คุณ ธรรมรัตน์ สวัสดิชัย
*รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ภาพสีสันงาน WOW2022 โดย นายสุกฤษฏิ์ หิรัญสารพงศ์
*รางวัล POPULAR in social media (ตรวจสอบตามเงื่อนไขกติกา และ ภายใต้concept หัวข้อโจทย์)
ภาพอารมณ์ดีเพราะมีความสุข โดย นายวิสรรค์ แพงประเสริฐ
*รางวัลชมเชย ได้แก่
- ภาพสีสันแห่งความสุข โดย ภาสกร บรรดาศักดิ์
- ภาพเติบโต โดย Anupong bunruksa
- ภาพทุ่งดอกไหมพรม โดย พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์
- ภาพเดินไปด้วยกัน โดย อนุสรณ์ แก่นวงษ์
- ภาพมีสุข โดย Monchai Parteeppichai
- ภาพ Festival colors โดย จิรา ชุมศรี
- ภาพ Learn โดย นฤเบศร์ งามใส
- ภาพในฝัน โดย Norachai Kulvespattarawong
- ภาพสะกดคำว่า WOW โดย ธนกฤต สิงหกลางพล
- ภาพ Little Big Wings โดย วรวุฒิ ชัยกิตติกรณ์
*รางวัลเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่
- ภาพลวดลายสีสัน โดย พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์
- ภาพสีสันในสวน โดย กิตติรัชต์ วิภาตกนก
- ภาพความสุขของทานตะวัน โดย เอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์
- ภาพบรรเลงสีสร้างศิลปะ โดย อัครายชญ์ เพ็ชร์อำไพ
- ภาพ Happy Ground โดย เสกสรร เสาวรส
- ภาพ WOW โดย หรรษา ตั้งมั่นภูวดล
- ภาพโลกแห่งสีสันและความสุข โดย Siripong Patumaukkarin
- ภาพมิติสีสันแห่งความสุข สนุกสนาน โดย ดนัย ดอกไม้ทอง
- ภาพความพอดี โดย เลอสม ล่วงพ้น
- ภาพโลกสีเขียว โดย พรชัย กิตติวงศ์สกุล
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล สิทธิ์ขาดการตัดสินเป็นของคณะกรรมการผู้จัดงาน และ ผู้สนับสนุนรางวัล ขอบคุณผู้เข้าร่วมส่งภาพประกวดทุกท่าน ที่ให้ความสนใจและร่วมส่งภาพความสนุกอัศจรรย์ในงาน WOW2022 ครั้งนี้
𝐖𝐎𝐖 อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ เพราะเรื่องของเมืองคือเรื่องของทุกคน
#𝐖𝐎𝐖 #𝐖𝐎𝐖𝐅𝐞𝐬𝐭𝐢𝐯𝐚𝐥 #𝐖𝐎𝐖𝐅𝐞𝐬𝐭𝐢𝐯𝐚𝐥𝟐𝟎𝟐𝟐 #อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ #เทศกาลเมืองน่าอยู่ #𝐰𝐨𝐧𝐝𝐞𝐫𝐨𝐟𝐰𝐞𝐥𝐥𝐛𝐞𝐢𝐧𝐠 #𝐀𝐒𝐀 #𝐀𝐒𝐀𝐑𝐞𝐚𝐥𝐄𝐬𝐭𝐚𝐭𝐞 #𝐀𝐦𝐚𝐫𝐢𝐧 #𝐍𝐈𝐀 #ททท #กทม

ที่อยู่

248/1 ซ. 17 ถนนพระราม9 แขวงบางกะปิ เ
Bangkok
10310

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 18:00
พุธ 09:00 - 18:00
พฤหัสบดี 09:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

02-3196555

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมรา:

วิดีโอทั้งหมด

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


Bangkok บริการภาครัฐอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

ด่วน ปิดรับสมัครวันพุธที่ 11 ม.ค. 66 วันสุดท้าย !

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสถาปนิกใหม่เข้าร่วม

"การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ประจำปี 2566"

วันอาทิตย์ที่ 15 และวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พบกับเนื้อหาการบรรยายตลอดวันเพื่อทบทวนและเสริมความรู้ทางวิชาการสำหรับสถาปนิกใหม่ ให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิชาชีพและการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

อัตราค่าลงทะเบียน
* สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ 100 บาท / วัน
* รับเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ เท่านั้น หากไม่เป็นสมาชิก
สามารถสมัคร โดยสแกน QR CODE
* ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการอบรมและอาหารกลางวัน (Lunch Box Set) 1 ชุด/วัน
* รับจำนวนจำกัด 500 ท่าน

สอบถามเพิ่มเติม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โทร. 02-319-6555 ต่อ 202 หรือ 085-147-3569 หรือดาวน์โหลดใบตอบรับลงทะเบียนได้ที่ https://asa.or.th/news/15-01-25-01-2023/
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเรียนเชิญ สถาปนิก นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา ในหัวข้อ

"SAFETY IN CONCERT"

ที่จะบรรยายในเรื่องสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ด้านการออกแบบจัดการผู้คนในงานคอนเสิร์ตในเชิงสถาปัตยกรรมโดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์จริงในการวางแผนและผังในงานคอนเสิร์ตระดับโลก นำโดย

1. คุณเจษฏา พัฒนถาบุตร CEO/Founder JSS Production Co.,Ltd
2. คุณยงยุทธ วัชรพฤกษ์ Production manager Live Nation Tero
3. พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข กรรมาธิการสมาคมฯ วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ

โดยการสัมมนาครั้งนี้จัดในรูปแบบ Concert เพื่อจำลองสถานการณ์จริง

ด่วนจำนวนจำกัด ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิก่อน ค่าลงทะเบียนอบรมสำหรับสมาชิกเพียง 200 บาทเท่านั้น !!!

ลงทะเบียน >>> https://forms.gle/pys2aWM35GFUFDsA7
ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล โครงการ BlueScope Design Award 2022

https://asa.or.th/news/bluescope-design-award-2022_final/
สวัสดีปีเถาะ 2566
ส่งความสุขต้อนรับปีใหม่

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
Merry Christmas and Happy New Year 2023
The Association of Siamese Architects under Royal Patronage : ASA
ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผลงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ วันนี้จะมาแนะนำผลงาน รางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ที่สมควรได้รับการเผยแพร่
โครงการ อาคารสโมสร ราชกรีฑาสโมสร

ที่มาของโครงการ

ตั้งอยู่ที่ถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์) สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2458 เพื่อทดแทนอาคารสโมสรหลังเดิม ซึ่งเป็นสโมสรกีฬาสำหรับชนชั้นสูงในพระนคร ทั้งชาวต่างประเทศและชาวสยาม มาตั้งแต่พ.ศ.2440 มีนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) เป็นสถาปนิก นายกอลโล (E. G. Gollo) เป็นวิศวกร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็นตึกสูงสองชั้น มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวขนานกับสนามแข่งม้า มีลักษณะแบบสมมาตร ตรงกลางอาคารด้านตะวันตก (ด้านถนนสนามม้า) เป็นโถงทางเข้า มีโถงบันไดขึ้นไปชั้นสอง ซึ่งทำอาคารส่วนกลางให้สูงกว่าส่วนปีกสองข้าง ด้านตะวันออกชั้นสองทำเฉลียงโล่งมีหลังคาคลุมสำหรับชมการแข่งม้า เน้นช่วงเสากลางมุขด้วยแนวเสาคู่ ตรงกลางมีระเบียง (balcony) ยื่นออกมา เป็นบริเวณที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อมีการเสด็จฯ ทอดพระเนตรกีฬาต่างๆ ส่วนปีกอาคารประกอบด้วยห้องต่างๆ เช่น ห้องอาหาร ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ลักษณะเด่นได้แก่การใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทันสมัยและประณีต ช่วงพาดกว้าง เสาและคานมีขนาดเล็ก ตกแต่งรอยต่อเสาและคานเป็นลายบัวแบบไทยประยุกต์ หลังคาคอนกรีตแบนมีหลังคาปั้นหยาคอนกรีตซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ชายคารอบอาคารทำเป็นแผ่นคอนกรีตบาง ยื่นยาวรอบตัวอาคาร

PROJECT DATA
ที่ตั้ง : เลขที่ 1 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ : เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey)
สถาปนิกอนุรักษ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ครอบครอง : สมาคมราชกรีฑาสโมสร
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2458
ประกาศวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปิดทำการระหว่างวันที่
26 ธันวาคม 2565 - 2 มกราคม 2566
และจะเปิดทำการปกติ ในวันที่ 3 มกราคม 2566

ขอให้สมาชิกสมาคมฯทุกท่านดูแลสุขภาพ ด้วยความห่วงใย

The Association of Siamese Architects under Royal Patronage will close
from 26 December 2022 - 2 January 2023 and will reopen
for business on 3 January 2023.

We apologize for any inconvenience this may have caused.
ASA Journal
09/2022 : Metal Attraction
.
ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้โลหะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในแวดวงสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง เริ่มจากเหล็กกล้าเป็นที่นิยมช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในงานส่วนประกอบทางโครงสร้างของอาคาร มาสู่การใช้เป็นส่วนประดับตกแต่งของภายนอกอาคาร จนกระทั่งเมื่อมีการผลิตเหล็กกล้า ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงมากขึ้น และสามารถดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายกว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักสำหรับงานวิศวกรรมสะพาน และอาคารสูงในเมืองอย่างชิคาโกและนิวยอร์ก จนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการปฏิวัติแนวคิดทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองและอุตสาหกรรมการก่อสร้างไปพร้อมกัน
.
ด้วยศักยภาพของกระบวนการผลิตวัสดุโลหะนั้นส่งผลต่อการผลักดันผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร้ขอบเขต และกระบวนการก่อสร้างที่รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังแปลงรูปทรงงานสถาปัตยกรรมที่หนาหนักมาสู่ความโปร่งเบา ด้วยผังพื้นที่เปิดโล่งเป็นอิสระมากขึ้น และเปลี่ยนเส้นขอบฟ้าของเมืองต่างๆ ให้เต็มไปด้วยอาคารสูงระฟ้า มาจนถึงปัจจุบันที่เรายังคงเห็นวัสดุเหล็กมีวิวัฒนาการของการผลิตและคุณสมบัติที่พิเศษขึ้น สามารถใช้เป็นองค์ประกอบของอาคารได้ในหลากหลายรูปแบบ
.
ใน Metal Attraction วารสารอาษาฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 นี้ จึงนำเสนอผลงานสถาปัตยกรรม 4 ชิ้นต่างโปรแกรมและขนาด ที่ใช้เหล็กในการสร้างสรรค์ ผ่านแนวคิดและเงื่อนไขในการออกแบบ ตลอดจนสุนทรียภาพที่เกิดจากการใช้โลหะในรูปแบบและรายละเอียดที่แตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ ในส่วนของคอลัมน์ที่เกี่ยวกับวัสดุนั้น ยังคงมีรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆของเหล็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาอัพเดทแก่ผู้อ่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานออกแบบ
.
ASA Professional คุณอมตะ หลูไพบูลย์ และคุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ จาก Department of Architecture ได้มาเล่าสู่กันฟังถึงวิถีการทำงานและประสบการณ์วิชาชีพกว่า 18 ปีของบริษัท ที่มีผลงานออกแบบระดับรางวัลมากมายทั้งจากในและต่างประเทศ รวมถึงส่วนแนะนำสตูดิโอออกแบบรุ่นใหม่ๆ อย่าง blankstudio
.
นอกเหนือจากวารสารอาษาออนไลน์และฉบับรูปเล่มให้สมาชิกทุกท่านได้ติดตามแล้วนั้น ASA Platform ยังมีกิจกรรมเสวนาออนไซต์ และทัวร์เยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรมพร้อมกับสถาปนิกผู้ออกแบบให้สมาชิกสมาคมได้เข้าร่วมโดยท่านสามารถอัพเดทข่าวสารต่างๆ ได้ทาง Facebook และ Instagram เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสาร และกิจกรรมพิเศษในโอกาสต่อไป
.
อ่านบทความเต็มๆ ในวารสารอาษาฉบับออนไลน์ได้ที่
https://asa.or.th/journal/asa-journal-09-2022/
_
Text: ASA Journal


เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด นำโดย คุณ อัลวินวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายขาย และ คุณสิราภรณ์ โอ กอร์แมน ผู้จัดการฝ่ายขาย เข้าพบ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อมอบของที่ระลึกเนื่องในโอกาสปีใหม่ พร้อมทั้งพูดคุยปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานในอนาคต

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอขอบพระคุณ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีมาตลอด
กิจกรรมของ ISAสถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม สุดท้ายของปีนี้ พาสมาชิกไปเยี่ยมชม อาคารสำนักงานใหม่ของสภาวิศวกร วันนี้ได้รับการต้อนรับเป็นพิเศษที่อบอุ่น จากคุณกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 มากล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม และ คุณอติวิชย์ กุลงามเนตร สถาปนิกหัวเรือใหญ่ กับ ทีม AATTN8A ที่มาร่วมบรรยายให้ความรู้ ในการออกแบบอาคารเชิงลึก ได้ความรู้ใหม่หลายอย่างมาก พร้อมพาเดินชมอย่างเป็นกันเอง เป็นประโยชน์มากกับทุกคนที่ได้ไปร่วมฟังบรรยายและเยี่ยมชมวันนี้
อาคารสำนักงานสภาวิศวกรใหม่นี้ ต้องชื่นชมแนวคิดของทีมออกแบบคนรุ่นใหม่ทุกคน ทั้งสถาปนิก วิศวกร ทีมงานทั้งหมดที่เกี่ยวของ และสภาวิศวกร ที่มีแนวความคิดในการสร้างอาคารสำนักงาน 7 ชั้น ที่ก้าวหน้ามาก ที่คำนึงถึงประชาชนคนเมืองย่านลาดพร้าว ต้องการให้เป็นพื้นที่ ที่ให้กับทั้งวิศวกรรวมทั้งประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงง่าย ได้ใช้เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ เป็นพื้นที่ public space เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง และให้เป็นที่ได้พักผ่อน หย่อนใจ ให้ทุกคนในย่านนี่
นอกจากนี้ อาคารนี้ ยังมีการออกแบบที่คิดถึงสิ่งแวดล้อม และเป็นอาคารที่ล้ำสมัย สวยงาม facade อาคารที่แสงสามารถผ่านได้ ป้องกันและระบายความร้อน และสามารถ display เป็นหน้าจอแสดงภาพพยากรณ์อากาศมีประโยชน์ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนภายนอกอาคารที่ผ่านไปมา ใช้พื้นที่คุ้มค่าทุกตารางเมตร มีการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน ให้อาคารเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ที่ไม่ได้ซับซ้อนแต่ใช้งานได้จริง
นอกจากมีสวนขั้นบันไดขนาดใหญ่ด้านหน้า ที่ปลูกต้นไม้ได้จริงแล้ว แล้วสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น อาคารจอดรถอัตโนมัติที่จอดรถ suv ได้ถึง 68คัน และอาคารยังมีระบบบำบัดหมุนเวียนน้ำเสียมาใช้เพื่อดูแลสวนต่างๆ อีกด้วย
กิจกรรมวันนี้ต้องขอขอบคุณสภาวิศวกร ที่ให้ความอนุเคราะห์ให้เข้าเยี่ยมชมอาคาร ขอบคุณวิทยากรทุกท่านคุณอติวิชย์ กุลงามเนตร , คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยากร และอีกหลายท่านที่มาร่วมให้ความรู้ในวันนี้ เป็นอย่างมาก
ต้องขอขอบคุณทีมงาน ISAสถาบันสถาปนิกทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ตลอดทั้งปี ขอบคุณเจ้าหน้าที่สมาคมสถาปนิกทุกท่านที่สนับสนุนทุกอย่าง เหนือทุกครั้งที่ทำกิจกรรมกัน และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ Fc ผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่าน ที่ติดตามกันอย่างเหนียวแน่น ไว้พบกันใหม่ ปีหน้าครับ จะมีกิจกรรมดีๆ เป็นประโยชน์ น่าสนใจให้ทุกคนได้เข้าร่วมแน่นอน
ันสถาปนิกสยาม
ิกสยาม

#สภาวิศวกร
เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 นายอดุลย์ แก้วดี กรรมการกลาง และประธานสถาบันสถาปนิกสยามฯ และ นายชิมาดะ ทาคายะสุ ประธาน บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดแนวความคิดการออกแบบในหัวข้อ The Bangkok Toilet Design 2022 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ร่วมมอบรางวัลในกิจกรรมครั้งนี้ ณ งาน Thailand Friendly Design ไบเทคบางนา

โดย กิจกรรมประกวดแบบในครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่าง สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ บริษัทโตโต้ฯ เพื่อให้สถาปนิก นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้นำเสนอห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกคนโดยใช้หลัก Universal Design เพื่อให้ทุกคนเข้ามาใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากกรุงเทพมหานครในการใช้ต้นแบบสถานที่ ณ สวนป่าเบญจกิติ

สามารถดูผลงานการประกวดของผู้ได้รับรางวัลที่
https://asa.or.th/news/the-bangkok-toilet-design-2022-final/
ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล
โครงการ The BANGKOK TOILET DESIGN 2022

โดยมีรายชื่อดังนี้

รางวัลชนะเลิศ
รหัส TOTO 263
คุณเอื้ออรรถ อังพานิชเจริญ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
รหัส TOTO 142
คุณวิชานันท์ เจียรธาราทิพย์

รองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 133
คุณกันต์ เลาหวณิช
คุณพรคริสต์ เกียรติศรีชาติ

รองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 141
คุณกิรณา อินอยู่
คุณอนันตศักดิ์ ท้วมสุข
คุณนิชาพัฒน์ เกียรติเขมภัสร์
คุณแสงจันทร์ กลัญชัย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
รหัส TOTO 217
AplusCon Architects

รายละเอียดเพิ่มเติม https://asa.or.th/news/the-bangkok-toilet-design-2022-final/
x

Bangkok บริการภาครัฐอื่นๆ (แสดงผลทั้งหมด)

MeFage จัดหาแพทย์ และพยาบาล ไปทำ Fun Feed គណៈកម្មការផ្តល់ភាពស្របច្បា วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ Roth บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุต กรมการศาสนา 1765 สายด่วนวัฒนธรรม HoyHon Circus Studio AQM GROUP Wattana Land Readjustment, Thailand The Honorary Consulate of Westarctica in Thailand Vibharam Hospital ဝိဘာရာမ်ဆေးရုံ มายด์บุ๊ค ร้านหนังสือเช่า-ขา