
26/08/2023
รายการจับจ้องมองจีน "EEC อีซี่ส์ลงทุนในไทย"
Cr. Nation Online
https://www.youtube.com/watch?v=6FRuhgKy7gI
มิติด้านการลงทุนของจีนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ถือว่ามากกว่าท....
เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0
(4)
โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC หรือ อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามาร
ถในการแข่งขัน และทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพผ่านกลไกการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
รายการจับจ้องมองจีน "EEC อีซี่ส์ลงทุนในไทย"
Cr. Nation Online
https://www.youtube.com/watch?v=6FRuhgKy7gI
มิติด้านการลงทุนของจีนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ถือว่ามากกว่าท....
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ได้รับคะแนน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี 2566 (ITA)
ได้คะแนนรวม 95.83 คะแนน ได้ระดับผลการประเมิน ผ่านดี
โดยผลการประเมินอยู่ในอันดับที่ 4 ของหน่วยงาน ประเภทหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
จากการประกาศผลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและอีอีซี ฉบับรายเดือนมิถุนายน 2566 โดยเศรษฐกิจ EEC ในภาพรวมเติบโตในอัตราที่ชะลอลง จากความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ยังปัจจัยสนับสนุนจากภาคการบริโภค และภาคการท่องเที่ยว สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- ด้านการบริโภค : รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลผลติตทางการเกษตรอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index : CCI) : เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายในอนาคต ที่ไปในทิศทางที่ดีขึ้น
- ด้านการท่องเที่ยว : จำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่ง EEC เองได้มีการหารือเรื่องแผนพัฒนาเทศบาลเมืองศรีราชา (พ.ศ. 2566 - 2570) “Wellness City เมืองศรีราชา เมืองน่าอยู่ เมืองน่าเที่ยว” เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ศรีราชาสู่ต้นแบบเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต รวมถึงยังมีการจัดงาน Pattaya Festival ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นในเศรษฐกิจหลายภาคส่วนสะท้อนไปยังการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น เช่น หมวดโรงแรมและภัตตาคาร และหมวดค้าปลีก
- ด้านการลงทุน : การลงทุนยังคงทรงตัวจากความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ประกอบกับแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเฉพาะจีนและภูมิภาคที่มีการเติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการชะลอตัว สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่ลดลง อย่างไรก็ตาม EEC ได้มีสนับสนุนและผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue) เพื่อส่งเสริมและสร้างระบบนิเวศด้านการลงทุนของ EEC ในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้เศรษฐกิจ EEC ยังคงต้องเฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ที่อาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรง และหากเกิดภัยแล้งเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในพื้นที่ EEC ได้เช่นกันต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในพื้นที่ EEC ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม EEC ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงมาตรการรองรับปัญหาดังกล่าวแล้ว
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
TH :https://www.eeco.or.th/th/filedownload/3583/5e6c3ad58ec2202e7aa9269aa1d77cf5.pdf
EN :https://www.eeco.or.th/en/filedownload/3584/e32c82aac17a4ad40f123a6df174a738.pdf
EEC เน้นดึงการลงทุน 5 คลัสเตอร์ รองรับการเปลี่ยนแปลงเทรนด์การลงทุนโลก
🔰จากภารกิจที่สำคัญของอีอีซี ในการผลักดันการลงทุน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเพื่อตอบโจทย์ เทรนด์การลงทุน ในระยะต่อไป อีอีซี จึงได้จัดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ออกเป็น 5 คลัสเตอร์สำคัญ เพื่อมุ่งพัฒนาและดึงดูดการลงทุนกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งมีการเติบโตอย่างมาก เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงของโลก และด้านการแพทย์ ซึ่งความต้องการด้านสาธารณสุขและการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น
อีอีซี ขอพาไปรู้จักกับ 5 คลัสเตอร์ดังกล่าว ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศน์การลงทุน รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจของประเทศ ต่อยอดไปสู่การยกระดับสังคม และคุณภาพชีวิตประชาชน ในพื้นที่อีอีซี ได้แก่
1.อุตสาหกรรม การแพทย์และสุขภาพ
ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายการแพทย์ครบวงจร โดยจะเน้นบริหารจัดการเพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ หรือการแพทย์แม่นยำ
2.อุตสาหกรรม ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์
ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ และเน้นระบบ 5G การพัฒนา Platform เพื่อลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
3.อุตสาหกรรม ยานยนต์สมัยใหม่ (EV)
ดึงดูดการลงทุนและตั้งเป้าหมายให้พื้นที่อีอีซี เป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ที่สำคัญของภูมิภาค
4. อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ BCG
เน้นการลงทุนด้านการเกษตรและเทคโนโยลีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศ
5. อุตสาหกรรม บริการ
ผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย การบินและโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และอุตสาหกรรมบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นเป้าหมายและแนวคิดของการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ให้ก้าวสู่ ต้นแบบส่งเสริมเศรษฐกิจการลงทุนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เชื่อมต่อความหวังของคนไทย และหมุดหมายของนักลงทุน และประชากรโลก
#เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Website : www.eeco.or.th
Facebook : โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก – EEC
YouTube : EEC WE CAN
สกพอ. ขับเคลื่อนมิติพัฒนาสินค้าชุมชน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ อีอีซี ผ่านตราสัญลักษณ์ EEC Select
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. Kick off โครงการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ เสริมคุณค่า ต่อยอดอัตลักษณ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการเชื่อมโยงในทุกมิติ ยกระดับผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นจากการพัฒนาเขตพื้นที่ อีอีซี อย่างยั่งยืน ระดมผู้เชี่ยวชาญกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ผ่านตราสัญลักษณ์ EEC Select
ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (EEC Select) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ก่อนรับรองให้เป็น “ผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (EEC Select)” ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโยลีหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ดังกล่าวในหลากหลายมิติ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และพัฒนาเครือข่ายให้แก่ผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ - ปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยการดำเนินงานในครั้งนี้ สกพอ. ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต และ การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงผู้ประกอบการในระดับประเทศ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (EEC Select) อาทิ คุณธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติหม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ คุณกิตติวุฒิ ศศิวิมลพันธุ์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ President & CEO บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) คุณณพาภรณ์ โพธิรัตนังกูร ประธานบริหาร นายเลิศ กรุ๊ป คุณวดี ภิญโญทรัพย์ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนสังคม (CSV) ไอคอนสยาม คุณวีระศักดิ์ เพ้งหลัง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ ดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ คุณวิรัตน์ ศิริสกุลงาม เลขาธิการหอการค้าภาคตะวันออก
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/1655
สกพอ. ต้อนรับคณะผู้แทน AMRO Asia และ S&P Global Ratings
เพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนและโครงสร้างพื้นฐานหลัก ในพื้นที่ อีอีซี
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ชลจิต วรวังโส วีรกุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และคณะ ให้การต้อนรับคณะผู้แทน AMRO Asia และ S&P Global Ratings ในฐานะบริษัทชั้นนำด้านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจและการลงทุนระดับโลก โดยการเดินทางเยือนในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ในการติดตามความคืบหน้าและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายหลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย เพื่อนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยผู้แทน สกพอ. ได้ให้ข้อมูลความก้าวหน้าการลงทุนและการดำเนินงานโครงการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซีล่าสุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อโครงการอีซีซีและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ
โดยคณะผู้แทน S&P Global Ratings นำโดยนาย Philip Chung, Senior Director of Sovereign and International Public Finance Ratings ได้มีโอกาสลงพื้นที่หารือกับ นายคุณวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) และนายพรเจริญ ธนานาถ ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างโครงการ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (Asia Era One) ในประเด็นความคืบหน้าด้านการก่อสร้าง แนวทางการดำเนินธุรกิจ และความเป็นไปได้ในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการพัฒนา ของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่เตรียมการสำหรับเส้นทางวิ่งและทางขับที่ 2 และพื้นที่ Solar Farm สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในสนามบินอู่ตะเภา
นอกจากนี้ คณะผู้แทนฯ ได้เข้าพบหารือกับ ดร.ประวิทย์ เป้าทอง วิศวกรโยธาอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงและผู้แทนการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อรับทราบความคืบหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ซึ่งมีความก้าวหน้าแล้วกว่า 60% ได้แก่ การขุดลอกและถมทะเล การพัฒนาท่าเรือก๊าซ การมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญและการใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึง แนวทางการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินงานของ อีอีซี ในภาพรวม มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เป้าหมายเกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านภายใน 5 ปี โดยเน้นการอำนวยความสะดวกในการลงทุนอย่างครบวงจรสำหรับการลงทุน 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ นวัตกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เศรษฐกิจ BCG และอุตสาหกรรมการบริการ ภายในช่วงปี 2565-2570 รวมไปถึงพัฒนาด้านการศึกษา และจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในพื้นที่ อีอีซี ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
อีอีซี จับมือ 4 ภาคีเครือข่ายธุรกิจ จัดงาน EEC Cluster Fair 2023
เดินเครื่องขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการลงทุน ชู 5 คลัสเตอร์ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เข้าร่วมงานแถลงข่าวการจัดงาน EEC Cluster Fair 2023 ได้ผนึกความร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ หอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน EEC Cluster Fair 2023 ซึ่งเป็นงานแสดงศักยภาพการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ สร้างโอกาสเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ และดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาร่วมลงทุน โดยมีหมุดหมายที่สำคัญให้พื้นที่อีอีซี เป็น “จุดหมายในการลงทุนใหม่ของประเทศ”
สำหรับงาน EEC Cluster Fair 2023 จัดขึ้นร่วมกับงาน MiRA และ Subcon EEC 2023 งานแสดงเทคโนโลยีด้านการบำรุงรักษา การซ่อมบำรุงที่ทันสมัย เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โซลูชันงานอุตสาหกรรมจากแบรนด์ชั้นนำ พร้อมงานแสดงชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเวทีเจรจาจับคู่ธุรกิจที่สำคัญของภูมิภาค ผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี โดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุชพัทยา จ. ชลบุรี
อีอีซี ขยายเครือข่ายพลังสตรีต่อเนื่อง พร้อมเสริมบทบาทสตรีเชื่อมโยงประโยชน์การพัฒนา อีอีซี สู่ชุมชนในทุกมิติ
ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นประธานกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน และเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามแผนผัง อีอีซี หรือ พลังสตรี อีอีซี พร้อมบรรยายความคืบหน้า อีอีซี และมอบแนวทางเกี่ยวกับบทบาทพลังสตรี อีอีซี เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชน โดยมีนางสาวฉัตรประอร นิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและมอบทิศทางการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อรองรับการพัฒนา อีอีซี และนางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชนและสายงานเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร อีอีซี เป็นประธานมอบเกียรติบัตรแก่เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนประมาณ 200 คน
ณ โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท จังหวัดฉะเชิงเทรา
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/1654
EEC พร้อมเปิดรับคลื่นลงทุน EV จากจีน!!
Cr: InfoQuestNews
➡อ่านข่าวเพิ่มเติม : https://www.infoquest.co.th/➡รายงานโดยสำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ส.ค. 66)Thailand's leading information service provider and news agency."...
งานแถลงข่าวการจัดงาน EEC Cluster Fair 2023
วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มิติการขับเคลื่อน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างเป็นรูปธรรม
•พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคสำคัญ
ผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง โดยประสานความร่วมมือหน่วยงานเจ้าของโครงการ และเอกชนคู่สัญญา ให้การก่อสร้างทุกโครงการสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยสะดวกและเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์
•ขับเคลื่อนการลงทุนเทคโนโลยีระดับสูง
เร่งรัดการลงทุน 5 คลัสเตอร์ ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแพทย์ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า BCG และบริการ คู่ไปกับการพัฒนาระบบนิเวศ กำหนดสิทธิประโยชน์ และมาตรการพิเศษในการชักชวนการลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากโครงการการลงทุนนั้นๆ
•เชื่อมประโยชน์การลงทุนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
พัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนในพื้นที่ เชื่อมโยงสู่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนอย่างยั่งยืน
#เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
-------------------
Website : www.eeco.or.th
Facebook : โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EEC
YouTube : EEC WE CAN
“นายกฯ ประยุทธ์” ติดตามความก้าวหน้า EECi - ท่าเรือมาบตาพุด เพิ่มความมั่นใจพื้นที่อีอีซี
ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก สร้างต้นแบบพื้นที่โอกาสแห่งการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยยั่งยืน
(วันที่ 9 ส.ค 66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะติดตามที่สำคัญ อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการลงพื้นที่ ในจังหวัดระยอง ติดตามความก้าวหน้าพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี โดยมีนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ โดยคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) ติดตามภาพรวมการดำเนินการโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เมืองนวัตกรรมชีวภาพการเกษตรสมัยใหม่ EECi Biopolis ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน EECi Aripolis รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักในพื้นที่อีอีซี
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/1651
#เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
-------------------
Website : www.eeco.or.th
Facebook : โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EEC
YouTube : EEC WE CAN
4 กลไกพิเศษ เร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1. พื้นที่ชัดเจน
กำหนดพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (อิสเทิร์นชีบอร์ด) เป็นพื้นที่แรก เนื่องจากเป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วโลก เป็นฐานการลงทุนด้านอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา
2. แผนดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน
รัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายและกรอบการพัฒนาที่เหมาะสม ร่วมกับภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน
3. สิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน
มาตรการส่งเสริมการลงทุน การสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศด้านการลงทุน (Investment Eco System) และกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้ทำงานได้ผลอย่างรวดเร็ว
4. กฎหมายและองค์กรกำกับที่ชัดเจน
มี พ.ร.บ. และมีสำนักงาน เพื่อรองรับความต่อเนื่องของการพัฒนาพื้นที่
จึงเป็นจุดเริ่มต้น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี สู่การพลิกโฉมเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เกิดโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ พัฒนาความรู้ เทคโนโลยีใหม่ สร้างบุคลากรทักษะสูง สร้างการลงทุนสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมกรุงเทพถึง อีอีซี เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเดียวกัน
💸เพิ่มรายได้ ท่องเที่ยวโต
-เชื่อมอู่ตะเภา เป็นสนามบินกรุงเทพแห่งที่ 3 รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน ใน 5 ปี เพิ่มเป็น 30 ล้านคนใน 10 ปี เพิ่มเป็น 60 ล้านคนใน 15 ปี
-รองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เดินทางง่าย สร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยว
🚅เพิ่มความสะดวกการเดินทาง
-ลด การจราจรคับคั่ง ใช้น้ำมัน อุบัติเหตุ มลพิษ ความแออัดจากกรุงเทพมหานคร
-จูงใจ นักลงทุนเข้าพื้นที่อีอีซี
👷♂️เพิ่มโอกาสการจ้างงาน
-เกิดการจ้างงาน ภาคธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี ภาคแรงงานการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 16,000 อัตรา
✅ประโยชน์ตรงชุมชน สร้างอาชีพ รายได้ดี มีงานในพื้นที่มั่นคง
#โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก-EEC
อนาคต eec ภายใต้เลขาใหม่
CR. Suthichai Live
วันที่ 7 สิงหาคม 2566
อนาคต EEC ภายใต้เลขาฯคนใหม่: Suthichai Live 7-8-2566
อีอีซี รุกสร้างการมีส่วนร่วมคนพื้นที่ เปิดฟังความเห็นแผนภาพรวม ฯ อีอีซี ระยะ 2 ต่อเนื่อง ชูเข็มทิศหลักพัฒนาต้นแบบพื้นที่ ลงทุนเพิ่มขีดความสามารถไทย พัฒนาเมืองทันสมัย ดึงคนอยู่อาศัยทั่วโลก
(วันที่ 3 ส.ค.66) นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เป็นประธาน การจัดประชุมรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 – 2570 โดย มี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้เกียรติเข้าร่วม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ เอกชน ภาคส่วนชุมชนในพื้นที่จาก 3 จังหวัดอีอีซี (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) ร่วมรับฟังการนำเสนอ (ร่าง) แผนภาพรวมฯ อีอีซี ดังกล่าว รวมทั้งได้เปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็น และตอบข้อซักถาม จากผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 คน เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม การจัดทำแผนรวมฯ อีอีซี ให้แก่พื้นที่ อีอีซี ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จ.ชลบุรี
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาอีอีซี พ.ศ. 2566- 2570 ในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนต่อเนื่องจากที่ อีอีซี ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ส่วนกลางเมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยจากนี้จะได้รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะทั้งหมด มาปรับปรุงทบทวน แผนภาพรวมฯ อีอีซี ในระยะที่ 2 ซึ่งจะเป็นแผนหลักเพื่อการพัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างยั่งยืน เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์ พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย สะดวก ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/1650
ภารกิจสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ภารกิจที่รอไม่ได้
CR : Postoday
https://www.posttoday.com/pr-news/697868?fbclid=IwAR31uh-e26qZNOUDNwWe4GxnZRc2FrrH7M1Z-GsYC1yCBh2DpzO5DX8BKX8
ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ได้กินเวลากว่า 2 เดือนครึ่งแล้ว กระบวนการจัดตั....
อีอีซี ดึงธุรกิจใหญ่ ต่อยอดซัพพลายเชนในประเทศ
CR : EEC FOCUS
อีอีซี มองความท้าทาย เรื่องการดึงบริษัทท้องถิ่น เข้าร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ เพิ่มซัพพลายเชนในประเทศ ให้บร....
สกพอ. จัดพิธีลงนามถวายพระพร
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(28 ก.ค. 66) ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พร้อมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 เพื่อแสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ รวมทั้งได้ประดับพระบรมฉายาลักษณ์ เครื่องราชสักการะ ประดับธงชาติคู่ธงอักษรพระนามาภิไธย ว.ป.ร. ณ สำนักงานอีอีซี ชั้น 25 อาคารโทรคมนาคม บางรัก พร้อมกันนี้ สกพอ. ได้ดำเนินการให้บุคคลทั่วไป ร่วมลงนามถวายพระพร ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์ www.eeco.or.th ตลอดเดือนกรกฎาคม 2566 นี้
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/650
6 เดือน ต่างชาติขอลงทุนอีอีซี ทะลุ 300 โครงการ
CR : EEC Focus
การลงทุนในพื้นที่อีอีซี 306 โครงการ มีเงินลงทุนรวม 171,470 ล้านบาท โดยมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุดในจัง.....
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี
เปิดรับสมัคร
1. ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักอุตสาหกรรมยานยนต์ 1 อัตรา
2. เจ้าหน้าที่อาวุโส สำนักอุตสาหกรรมยานยนต์ 2 อัตรา
รายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนี้
อีอีซี ร่วมกับ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว
ต่อยอดความร่วมมือดึงการลงทุน Greater Bay Area
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นำคณะผู้แทน เยือนมลฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย นายพิริยะ เข็มพล ที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ. และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน นางจิราพร สุดานิช กงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว และผู้แทนจากสำนักงานอีอีซี โดยการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ ขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี และสานต่อความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามถ้อยแถลงร่วม ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งลงนามโดยนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ กรุงเทพมหานคร
คณะฯ ได้พบกับ Mr. Zhu Wei รองผู้อำนวยการ Guangdong Provincial Development and Reform Commission ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความร่วมมือภูมิภาค GBA เพื่อหารือและขยายขอบเขตความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง (MOU) ฉบับใหม่ ซึ่งต่อยอดจาก MOU ฉบับเดิม ซึ่งได้มีการลงนามความร่วมมือไปเมื่อปี 2019 เพื่อให้สอดคล้องกับถ้อยแถลงร่วม ที่มุ่งเน้นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีการลงนาม MOU ฉบับใหม่ ในการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย - มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong-Thailand High-Level Cooperation Conference: HLCC) ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม นี้
นอกจากการพบปะหน่วยงานภาครัฐที่เป็นกลไลหลักในการขับเคลื่อนตามกรอบความร่วมมือที่สำคัญแล้ว คณะฯ ได้พบและหารือกับผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน เพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้าของการค้าการลงทุน การพัฒนาพื้นที่ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิทัล และโลจิสติกส์สู่พื้นที่อีอีซี โดยได้พบปะกับบริษัทในเมืองเซินเจิ้น ได้แก่ บริษัท BYD Auto ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ของจีน ซึ่งที่ผ่านได้ประกาศการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในประเทศแล้วกว่า 22,000 ล้านบาท และบริษัท Huawei Technologies ผู้ประกอบการ 5G และเทคโนโลยีด้าน IoT รายใหญ่อันดับต้นๆของจีน ซึ่งมีการลงทุนในประเทศไทยและมีการลงนามความร่วมมือกับอีอีซีในเรื่องการพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล โดยการไปเยือนทั้ง 2 บริษัทในครั้งนี้อีอีซี ได้มีการหารือและชักชวนให้บริษัทเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมและสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมดิจิทัลแบบครบวงจรในประเทศไทย นอกจากนี้คณะฯยังเดินทางไปยังเขตนครกว่างโจว เพื่อหารือบริษัท GAC Aion ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Guangzhou Automotive Group และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับติดอันดับ 1 ใน 10 ของจีน โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัทได้ยื่น LOI ให้สำนักงานอีอีซี แจ้งความประสงค์ลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่อีอีซีกว่า 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้หารือกับบริษัท Ehang ซึ่งเป็นบริษัท Startup ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าด้านอากาศยานขับเคลื่อนอัตโนมัติ (autonomous aerial vehicles) จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq ของอเมริกา โดยบริษัทมีความร่วมมือกับกลุ่มซีพี และมีความสนใจที่จะนำโดรนแท็กซี่ไร้คนขับ เข้ามาทำการบินทดสอบรับส่งผู้โดยสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีอีซี
เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า หรือ Guangdong -Hongkong-Macao Greater Bay Area (GBA) ก่อตั้งเมื่อปี 2017 ตามนโยบายของรัฐบาลจีน โดยเป็นข้อริเริ่มของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน และยังเป็น Platform สำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างมณฑลกวางตุ้งและภูมิภาคอาเซียน โครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจีนตอนใต้คือ มณฑลกวางตุ้งซึ่งครอบคลุม 9 พื้นที่ได้แก่ นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองฝอซาน เมืองหุ้ยโจว เมืองตงกวน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมินและเมืองจ้าวชิ่ง และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า มีประชากรประมาณ 87 ล้านคน ขนาด GDP มากกว่า 13 ล้านล้านหยวน มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ ยาชีวภาพ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
TH : https://www.eeco.or.th/th/news/647
EN : https://www.eeco.or.th/en/news/648
อีอีซี เสริมพลังเยาวชน สร้าง EEC2 Young Leaders
เยาวชนแกนนำ รักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม
มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการ สายงานพื้นที่และชุมชนและสายงานเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นประธานเปิดโครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี สแควร์ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง มีครูและเยาวชนจาก 6 โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนกว่า 50 คน โดยนางธัญรัตน์ อินทร เน้นย้ำให้เด็กๆ รู้จักโครงการสำคัญของ อีอีซี เพื่อพร้อมปรับตัวและพัฒนาทักษะรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาตนเองสู่นักนวัตกร เพราะอนาคตเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลต่อการจ้างงาน การจ้างแรงงานไร้ฝีมือจะลดลง แต่จะเน้นบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงกับเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป สิ่งสำคัญคือความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะเป็นสมรรถนะที่มีความต้องการสูงมากในอนาคต
สำหรับโครงการ อีอีซี สแควร์ ได้ดำเนินการพัฒนาเยาวชนต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2566 ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและศักยภาพเยาวชน อีอีซี สแควร์ ให้เป็น “เยาวชนแกนนำ” ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันปัญหาจากสิ่งแล้วล้อมมากกว่าแก้ไข ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตร และใช้นวัตกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และการศึกษาดูงานที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi จังหวัดระยอง เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ อีอีซี เพื่อให้เยาวชนได้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ซึ่งครูและเยาวชนให้ความสนใจอย่างมากและพร้อมจะนำประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ไปขยายผลคิดริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง ต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.eeco.or.th/th/news/646
อีอีซี เปิดรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนภาพรวมพัฒนา อีอีซี ระยะ 2 วางเป้า 5 ปี ต้นแบบการนำพาความเจริญ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน สังคม และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
(วันที่ 21 ก.ค.66) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี จัดการประชุมรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย
นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการฯ สายงานนโยบายและแผน และผู้บริหาร อีอีซี ร่วมนำเสนอ (ร่าง) แผนภาพรวมฯ อีอีซี รวมทั้งได้เปิดเวทีเพื่อรับฟังคิดเห็น ตอบข้อซักถามจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานประมาณ 200 คน ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาอีอีซี พ.ศ. 2566- 2570 ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญและทิศทางขับเคลื่อนองค์กร อีอีซี รวมทั้งเพื่อต่อยอดและทบทวนแผนภาพรวมฯ อีอีซี ในระยะที่ 1 (2561- 65) ที่ผ่านมา โดยกรอบแนวคิดใน (ร่าง) แผนภาพรวมฯ อีอีซี (2566 -70) ปัจจัยสำคัญจะพิจารณาให้สอดคล้องการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายหลักรัฐบาล โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในประเทศและระดับโลก ซึ่งอีอีซี ได้สร้างการมีส่วนร่วมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน และจะนำข้อเสนอแนะ ไปปรับปรุง (ร่าง) แผนภาพรวมฯ อีอีซี ให้สอดคล้องตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์ พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย สะดวก ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/645
อีอีซี ต้อนรับเอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำประเทศไทย พัฒนาความร่วมมือ ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ให้การต้อนรับ H.E. Mr. Abderrahim Rahhaly, Ambassador of His Majesty the King of Morocco to the Kingdom of Thailand ณ สำนักงาน สกพอ. โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือถึงโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโมร็อกโกและไทยในด้านต่างๆ เช่น พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ระบบการเงินการธนาคาร การศึกษา เป็นต้น รวมทั้งหารือในประเด็นการส่งเสริมการลงทุนระหว่างอีอีซีกับโมร็อกโกในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งทางโมร็อกโก มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), Aviation (การบิน) เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eeco.or.th/th/news-release-pr/643
อีอีซี เดินสายโรดโชว์เซี่ยงไฮ้ ซูโจว หางโจว
ต่อยอดลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และโลจิสติกส์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นำคณะผู้แทน เยือนนครเซี่ยงไฮ้ ซูโจว และหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน คณะผู้แทนประกอบด้วย นายพิริยะ เข็มพล ที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ. และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน นางสาวปฤณัต อภิรัตน์ กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ และผู้แทนจากสำนักงานอีอีซี โดยการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสานต่อความร่วมมือเชิงปฏิบัติอื่นๆ ระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta: YRD) นอกจากนี้ยังเป็นการผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนที่ระบุในถ้อยแถลงร่วม ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งลงนามโดยนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ กรุงเทพมหานคร
คณะฯ ได้พบกับ Mr. Ruan Qing รองผู้อำนวยการ Shanghai Development and Reform Commission ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความร่วมมือภูมิภาค YRD เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การค้าการลงทุน และโลจิสติกส์ รวมถึงศึกษาแนวทางความร่วมมือระหว่าง EEC และ YRD ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นอกจากการพบปะหน่วยงานภาครัฐที่เป็นกลไลหลักในการขับเคลื่อนตามกรอบความร่วมมือที่สำคัญแล้ว คณะฯ ได้พบและหารือกับผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน เพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้าของการพัฒนาพื้นที่ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ Automation and Digital อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน รวมถึงเทคโนโลยีด้าน BCG สู่พื้นที่อีอีซี โดยได้พบปะกับบริษัทในเขตซูโจว มลฑลเจียงซู ได้แก่ Harmontronics Automation Technology ซึ่งมีเทคโนโลยีที่โดดเด่นในเรื่องระบบ Automation และการจัดการสายการผลิตอัตโนมัติ เขตหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ได้แก่ บริษัท Geely Holding ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าอันดับติดอันดับ 1 ใน 10 ของจีน และ Alibaba Group ซึ่งเป็น E-Commerce รายใหญ่ที่สุดของจีน และบริษัท China Tianying ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในจีนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะและของเสีย การผลิตไฟฟ้าจากขยะ รวมถึงเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานแบบใหม่ เช่น Gravity Energy Storage
เขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี (Yangzte River Delta) ประกอบด้วยนครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมลฑลอานฮุย มีพื้นที่ขนาด 358,000 ตร.กม. มีประชากร 340 ล้านคน ขนาด GDP คิดเป็น 1 ใน 4 ของประเทศ หรือมากกว่า 14 ล้านล้านหยวน มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวม ยาและเวชภัณฑ์ ยานยนต์พลังงานสะอาด E-Commerce รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยงกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ในปี 2565 จีนเป็นแหล่งคำขอ FDI ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยมีมูลค่าประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐมาจากภูมิภาค YRD และประมาณครึ่งหนึ่งของการลงทุนโดยรวมของจีนกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่อีอีซี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
TH : https://www.eeco.or.th/th/news/641
EN : https://www.eeco.or.th/en/news/642
CAT TOWER
Bangkok
10500
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EECผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EEC:
ภาพรวมกิจกรรม อีอีซี ดึงพลังเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนบ้านเกิดอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “EEC ต้นแบบ สร้างอนาคต” โดยอีอีซี ได้เปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วม ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา จำนวน 10 ทีม ร่วมกันสร้างสรรค์เนื้อหาผลงานผ่าน 5 โจทย์นวัตกรรมหลัก และนำเสนอผ่านช่องทางสื่อโซเชี่ยลมีเดียของน้องๆ อาทิ Facebook TikTok และ Instagram เพื่อเป็นต้นแบบขยายเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกันพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านเกิด และเป็นกระบอกเสียงสำคัญเผยแพร่ข้อมูลอีอีซี สร้างความรู้ความเข้าใจสู่สาธารณชนวงกว้างต่อไป
9 สิงหาคม 2565 ครม.เห็นชอบ ขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของไทย ให้เป็น "เกษตรอัจริยะ" และ สิทธิประโยชน์โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) จำนวน 1,032 ไร่ ดึงนักลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี ขอขอบคุณ : เพจ ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามชม รายการ Perspective สัมภาษณ์พิเศษ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการฯ EEC (ตอนที่ 2) วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. เวลา 21.00 น. ช่อง 9 MCOT
มารู้จักกับ ARAI Academy ต้นแบบสถาบันการศึกษาแนวใหม่ ในพื้นที่ EEC ที่ไม่ใช่แค่เพียงการเรียน การสอนอย่างเดียว แต่เป็นการศึกษายุคใหม่ EEC Demand Driven สร้างคนตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง พร้อมฟังแนวคิดดี ๆ จาก ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล คนต้นแบบด้านการศึกษา EEC ที่ได้ฝากแนวคิด วิธีปรับการเรียนการสอนให้เข้ากับการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เรียนจบ ได้งานตรงความสามารถ สร้างอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง #EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก #คนต้นแบบ
ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมงาน "4 ปี EEC ภารกิจขับเคลื่อนไทย เชื่อมทุกมิติ อย่างยั่งยืน" ในวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น. #EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
มาทำความรู้จักกับโครงการบัณฑิตอาสาในพื้นที่ EEC ว่าเป็นโซ่ข้อกลางที่เชื่อมชุมชนเข้ากับการพัฒนาพื้นที่ และสร้างงานให้บัณฑิตจบใหม่ ไม่ต้องทำงานไกลบ้าน และได้มีประสบการณ์ตรงเพื่อพัฒนาบ้านเกิดอย่างไร มาร่วมกันสนับสนุนให้โครงการบัณฑิตอาสา EEC ก้าวสู่ต้นแบบขยายผลไปยังชุมชนในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน #EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก #คนต้นแบบ
นานแล้วที่เรา...ไม่เจอกัน ชลบุรี เมืองเดียว เที่ยวใกล้ ได้ครบความสุขที่ต้องการ วันหยุดยาวนี้...อย่าลืมแวะเที่ยวชลบุรี ให้หายคิดถึงกัน #ท่องเที่ยว #ชลบุรี
จะดีแค่ไหน ถ้าเจ้าของสวนทุเรียน ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่สวนตลอดเวลา ก็สามารถควบคุมทุกอย่างได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ต้นทุนลดลง ใช้คนน้อยลง แต่รายได้เพิ่มขึ้น มาทำความรู้จักกับคุณสมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง คนต้นแบบเกษตรกรยุคใหม่ในพื้นที่ EEC ว่ามีวิธีคิดและการปรับตัวอย่างไรกับการนำนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีในการจัดการสวนทุเรียน ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สร้างทั้งรายได้และความสุขที่ยั่งยืน #EEC #โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก #คนต้นแบบ
ความก้าวหน้าในการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เป็นพื้นที่นวัตกรรมใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ตั้งอยู่ที่วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต EECi พร้อมเปิดดำเนินการเดือนมิถุ
แถลงข่าว การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 7/2564 22 ธันวาคม 2564
ขอเชิญรับชม MOU LIVE STREAMING พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-11.30 น.
#อีอีซีเชื่อมโลกให้ไทยแล่น #งบบูรอีอีซี66
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง
หมู่ที่ 16 ตำบลบ่อสุพรรณ, Amphoe Song Phi Nongสำนักงานเกษตรอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
324, Phanom Thuanสำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี สาขาพนมทวน
หมู่ 8 ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง ตำบล พนมทวน อำเภอ พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, Amphoe Phanom ThuanAdministrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana Roadสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ngam Wong Wan Roadกรมสรรพสามิต :: Excise Department
ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯITD - International Institute for Trade and D
ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาซอย 12 ถนนพญาไท กรุงเทพฯสำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร Internati
Dinso Road Phra Nakhon Distสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
Sathorn Road