ความคิดเห็น
คำถามจากแฟนเพจได้กรุณาถามเข้ามาครับ "segregation group คืออะไรคะ ทำไมบางสายเรือสำคัญ บางสายเรือไม่สำคัญ" เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เราเลยนำมาโพสต์เป็นความรู้แก่แฟนเพจทุกท่าน
เป็นที่ทราบกันดีว่าในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้น มีข้อบังคับเรื่องการบรรทุกรวมและการแยกสินค้าอันตรายออกจากกัน ข้อบังคับเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบการขนส่ง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ IMDG Code 2020 ซึ่งเป็นข้อบังคับล่าสุดในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
"Segregation Group" เป็นข้อบังคับที่ 7.2.5 ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์การแยกสินค้าอันตรายระหว่างขนส่งออกจากกัน ในประเทศไทยคำนี้อาจถูกแปลเป็นคำว่า "กลุ่มความเข้ากันได้" ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะมันเป็นคนละความหมายกับคำว่า "compattibity group" ที่ถูกใช้เฉพาะกับสินค้าอันตรายประเภทที่ 1 (Class 1)
หลักเกณฑ์การแยกสินค้าอันตรายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 เงื่อนไข โดยเงื่อนไขแรกจะใช้การแยกในระดับ Class ตาม Segregation table (ขอยกยอดไว้อธิบายในโอกาสหน้า) และเงื่อนไขการแยกเฉพาะแต่ละ UN ซึ่งจะปรากฎรหัส "Segregation Group" ในคอลัมน์ที่ 16b (Segregation) ในบัญชีรายการสินค้าอันตราย (Chapter 3.2)
คอลัมน์ที่ 16b เป็นข้อมูลข้อบังคับเกี่ยวกับการแยกสินค้าอันตราย (Segregation) ซึ่งหากเป็น UN ที่มีข้อบังคับในส่วนนี้ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อบังคับในส่วนนี้ด้วย ข้อบังคับเหล่านี้จะปรากฎเป็นรหัสซึ่งอาจเป็นได้ 2 แบบ คือ SGxx และ SGGxx (xx เป็นเลขลำดับ) ข้อบังคับเกี่ยวกับ segregation group ก็คือชุดรหัสที่ขึ้นต้นด้วย SGG นั่นเองครับ
Segregation Group Code จะมีรหัสตั้งแต่ SGG1 - acids จนถึง SGG18 - alkalis และ SGG1a - strong acids รวมเป็น 19 กลุ่ม ซึ่งจะบ่งบอกว่าสินค้าอันตราย UN นั้นมีสมบัติการแยกกันอยู่ในกลุ่มใด และเมื่อพิจารณารหัส SG ของ UN ที่จะนำบรรจุตู้รวมหรือบรรทุกขึ้นเรือในบริเวณเดียวกันก็จะทราบว่าสอดคล้องตามข้อบังคับหรือไม่
ยกตัวอย่าง เราจะบรรจุ UN3320, SODIUM BOROHYDRIDE AND SODIUM HYDROXIDE SOLUTION , Class 8, PG III กับ UN3277, CHLOROFORMATES, TOXIC, CORROSIVE, N.O.S., Class 8(6.1), PG II ในตู้สินค้าเดียวกันได้หรือไม่ เมื่อเราตรวจสอบคอลัมน์ที่ 16b ของ UN3320 เราจะพบรหัส SGG18, SG35 (SGG18 คือ alkalis และ SG35 คือ Stow “separated from” SGG1 – acids.) และเมื่อเราไปดูคอลัมน์ที่ 16b ของ UN3277 จะพบ SGG1, SG36, SG49 นั่นเราก็ได้คีย์เวิร์ดว่า "separated form" ก็สรุปได้เลยว่า "บรรจุไปตู้เดียวกันไม่ได้"
ข้อสังเกตอย่างนึงคือ หากเราพิจารณาเงื่อนไขการแยกสินค้าอันตรายโดยใช้ Segregation table เราจะพบว่าสามารถบรรจุในตู้เดียวกันได้ ซึ่งตามข้อบังคับ IMDG Code จะต้องพิจารณาเงื่อนไขในคอลัมน์ 16b ก่อนเสมอ
จะเห็นว่า Segregation group มีความสำคัญมากในการจัดการขนส่งสินค้าอันตรายด้วยบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก หน่วยขนส่ง หรือพาหนะไปด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าสินค้าอันตรายทุกรายการจะมีรหัส SGG และตามข้อบังคับเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าอันตราย (Chapter 5.4) ก็กำหนดให้ระบุ SGG เฉพาะสินค้าอันตราย N.O.S. ที่ผู้ส่งต้องการให้แยกจากสินค้าอันตรายอื่นโดยระบุรหัส SGG ขึ้นมาเป็นพิเศษเท่านั้น ดังนั้นในข้อกำหนดของการยื่นเอกสารข้อมูลจึงไม่มีข้อบังคับที่จะต้องระบุ segregation group แก่สายเรือ และทางสายเรือเองก็สามารถนำข้อมูลสินค้าอันตรายที่ได้รับ (UN, PSN, Class, PG, Sub.hazard) มาดำเนินการตามเงื่อนไขข้อบังคับการแยกสินค้าอันตรายบนเรือของตนได้
อย่างไรก็ดี ผู้ส่งและผู้บรรจุหน่วยขนส่งจะต้องตรวจสอบการบรรจุรวมสินค้าอันตรายให้เป็นไปตามข้องบังคับ IMDG Code อย่างถูกต้องและต้องให้คำรับรองเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเอกสาร Container/vehicle packing certificate มอบให้ผู้รับขนส่งเสมอ
คสอUpdate
เหล้า ไวน์ เบียร์ ฯลฯ เหล่านี้จัดเป็นสินค้าอันตรายเมื่อขนส่งหรือเปล่า?
สหประชาชาติกำหนดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าอันตราย (UN3065) สำหรับการขนส่งในทุกรูปแบบการขนส่ง แต่อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นบางอย่างสำหรับการขนส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในกรณีที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นไม่เกิน 24% โดยปริมาตร จะไม่ถือว่าเป็นสินค้าอันตราย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นมากกว่า 24% แต่ไม่เกิน 70% โดยปริมาตร จัดเป็นสินค้าอันตราย (UN 3065, ALCOHOLIC BEVERAGES with more than 24% but not more than 70% alcohol by volume, Class 3, PG III) โดยมีข้อกำหนดพิเศษว่าหากขนส่งด้วยบรรจุภัณฑ์ขนาดไม่เกิน 250 ลิตร จะไม่จัดเป็นสินค้าอันตราย
ถ้าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นมากกว่า 70% โดยปริมาตร จัดเป็นสินค้าอันตราย (UN 3065, ALCOHOLIC BEVERAGES with more than 70% alcohol by volume, Class 3, PG III) โดยไม่มีข้อกำหนดพิเศษ
ในการขนส่งผ่านท่าเรือกรุงเทพ ในกรณีที่ถูกจัดเป็นสินค้าอันตรายต้องปฏิบัติตามระเบียบ กทท. โดยหากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีจุดวาบไฟต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสจะถูกจัดเป็นสินค้าอันตรายกลุ่มที่ 2 ที่ต้องขนถ่ายข้างลำเรือ ยกเว้นขนส่งด้วยขนาดบรรจุภัรฑ์เป้นไปตามข้อยกเว้น Linited Quantity (LQ) หรือ Excepted Quantity (EQ) จะสามารถฝากเก็บในท่าเรือกรุงเทพได้ และสามารถขอให้โรงพักสินค้าเก็บสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำเร็จรูปในห้องเก็บสินค้ามีค่าที่โรงพักสินค้าพิธีการแทนการส่งมาเก็บไว้ ณ คลังสินค้าอันตราย
ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบเงื่อนไขของ LQ และ EQ ได้จาก
http://check.dgbkp.in.th/
คสอUpdate
ข้อมูล EmS ใน IMDG COde สำคัญอย่างไร
ในคอลัมน์ที่ 15 ของตารางบัญชีรายการสินค้าอันตราย ซึ่งเป็นอยู่ใน Part 3 ของข้อบังคับ IMDG Code นั้นเป็นข้อมูลที่ถูกเรียกว่า "EmS" อันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรณีเหตุฉุกเฉินทั้งเหตุไฟไหม้ (FIRE) และเหตุรั่วไหล (SPILLAGE) สอดคล้องกับเอกสาร "วิธีการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสำหรับเรือบรรทุกสินค้าอันตราย (The EmS Guide - Revised Emergency Response Procedures for Ships Carring Dangerous Goods)"
ข้อมูลจะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกจแเป็นข้อมูลสำหรับกรณีไฟไหม้ (Fire schedule) เช่น F-H อีกชุดนึงจะเป็นข้อมูลสำหรับกรณีรั่วไหล (Spillage schedule) เช่น S-Q และถ้าพบว่ามีการขีดเส้นใต้รหัสใดๆ ก็จะหมายถึงจะมีคำแนะนำในกรณีพิเศษเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ซึ่งรหัสทั้งสองชุดนี้จะนำไปสู่ข้อมูลตามวิธีการตอบโต้เหตุฉุกเฉินดังกล่าว (เอกสารนี้ IMO ก็รวบรวมไว้ใน IMDG Code เล่ม Supplement ด้วยเช่นกัน)
ข้อมูล EmS เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องมีการแจ้งให้กับผู้เกี่ยวข้องตามข้อบังคับที่ ๕.๔.๓.๔ โดยสามารถดำเนินการส่งมอบด้วยวิธีการใดๆ ดังนี้
1. เพิ่มเป็นรายการข้อมูลพิเศษในเอกสารขนส่ง มานิเฟส หรือเอกสารประกอบสินค้าอันตราย
2. แยกเป็นเอกสารประกอบ เช่น เป็นข้อมูลใน SDS
3. แยกเป็นเอกสารขั้นตอนปฏิบัติ เช่น ขั้นตอนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ขั้นตอนปฐมพยามบาล
แม้ว่าข้อมูล EmS จะเป็นข้อมูลที่บังคับ (madatory) ต้องมีการส่งมอบตาม IMDG Code แต่วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นคำแนะนำ (recommendatory) ผู้ปฏิบัติสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นแนวทางในปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินด้วยวิธีการที่เหมาะสมได้
ระเบียบ กทท. ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าอันตรายของท่าเรือกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๖๓ แบ่งสินค้าอันตรายออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันออกไป
ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบกลุ่มของสินค้าอันตรายได้จาก
http://check.dgbkp.in.th/ โดยกรอกเพียงหมายเลข UN และกดตรวจสอบเท่านั้น ก็จะทราบว่าสินค้าอันตรายนั้นจัดอยู่ในกลุ่มใด และยังทราบปริมาณและเงื่อนไขของ Limited Quantity และ Excepted Quantity ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่ท่าเรือกรุงเทพรับฝากเก็บอีกด้วย
ไม่เคยยื่น DG คงไม่เก็ต 🤣🤣🤣
แม้การขนส่งทางถนนในประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อบังคับสากลใดๆ แต่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. 2558 ใช้มาตรฐานความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (ADR) ในการขนส่งสินค้าอันตราย (วัตถุอันตราย) ทางถนนของประเทศไทย
ดังนั้น การดำเนินการตามเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกรมฯ ที่เกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน จะทำการขนส่งที่ต่อเนืองไปสอดคล้องกับข้อกำหนดสากล
ข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึง เมื่อเราต้องการขนส่งสินค้าอันตราย ได้แก่
1. ตัวรถต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นหรือที่ใช้สําหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน
2. ต้องมีเอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย
3. ภาชนะบรรจุให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ติดป้ายอักษร ภาพ และเครื่องหมาย ที่ภาชนะและที่รถขนส่งตามมาตรฐานที่กำหนด
5. การผูกรัด การติดตรึง และการบรรทุกเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
6. คนขับรถต้องผ่านการฝึกอบรมและมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔
นอกจากนี้ ผู้รับใบอนุญาตขนส่งต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายตามที่อธิบดีฯ ประกาศกำหนดด้วย
อย่างไรก็ดี สำหรับการขนส่งที่เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. 2559 จะได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ รวมถึงไม่ต้องใช้คนขับรถมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ด้วย
แต่หากขนส่งสินค้าอันตรายเพื่อการส่งออกผ่านท่าเรือ ตัวสินค้าอันตรายและหน่วยขนส่งที่ใช้ ต้องดำเนินการตามข้อบังคับสากลที่เกี่ยวข้อง (IMDG Code)
กรณีที่เรือมีการบรรทุกสินค้าอันตรายและเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า กทท. จะไม่รับขนถ่ายสินค้าอันตรายประเภทที่ 1, 6.2 และ 7 แล้วสายเรือตัวแทนต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ตามระเบียบระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าอันตรายของท่าเรือกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๖๓ (
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/013/T_0001.PDF) กำหนดให้เรือหรือตัวแทนสายเรือต้องยื่นสำแดงรายการสินค้าอันตรายที่นำเข้ามาภายในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเขตท่าเรือกรุงเทพนั้นหมายถึงพื้นที่ในเขตรั้วศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ หลักผูกเรือกลางน้ำ และท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงด้วย
ดังนั้น เรือที่บรรทุกสินค้าอันตรายไว้บนเรือ แม้ว่าจะไม่มีการขนถ่ายผ่านท่าเรือกรุงเทพ "ต้องยื่นข้อมูลสินค้าอันตรายแก่ท่าเรือกรุงเทพทุกรายการ"
ดังนั้น เรือที่บรรทุกสินค้าอันตรายกลุ่มที่ 1 ( Class 1, 6.2, 7) จึงต้องยื่นข้อมูลผ่ายระบบ One Stop e-Port Service (
http://www.e-service.port.co.th/EPort/) ด้วยเช่นกัน แต่จะไม่มีการขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ
ผ่านไปด้วยดีกับการฝึกปฏิบัติและการซ้อมอพยบในเหตุการณ์ไฟไหม้สินค้าอันตราย โดยแผนกป้องกันอุบัติภัย ร่วมกับสำนักแพทย์และอนามัย การท่าเรือแห่งประเทศไทย แผนกคลังสินค้าอันตราย ท่าเรือกรุงเทพฯ และ แผนกควบคุมสินค้าอันตราย ท่าเรือกรุงเทพ
ทั้งนี้ ได้รับการอำนวยความสะดวกและร่วมสังเกตการณ์จากสถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ สำนักท่าเรือภูมิภาค และแผนกรักษาความปลอดภัย รวมทั้งได้รับความร่วมมือในการร่วมฝึกซ้อมจากผู้ใช้บริการเป็นอย่างดี
การฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และได้ข้อสรุปเพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบต่อไป
#คสอUpdate
ประกาศครับ
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ท่าเรือกรุงเทพจะจัดซ้อมขั้นตอนการเผชิญเหตุไฟไหม้สินค้าอันตราย ณ บริเวณคลังสินค้าอันตรายและพื้นที่ใกล้เคียง
ผู้ใช้บริการในพื้นคลังสินค้าอันตราย รวมถึงแผนกควบคุมสินค้าอันตราย แผนกคลังสินค้าตกค้าง ได้โปรดอย่าตื่นตระหนก (จนเกินเหตุ) และให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามขั้นตอนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม้สินค้าอันตรายจนจบเหตุการณ์
ขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ทางคลังสินค้าอันตรายจะให้บริการตามปกติทันทีหลังจากการฝึกซ้อมเสร็จสิ้น