
09/01/2021
KU Survey Engineering for Agriculture Thailand
การลดต้นทุนอย่างนึง คือ การที่นักวิเคราะห์ข้อมูล สามารถพัฒนาระบบ นำเสนอ และจัดการข้อมูลได้เอง (ไม่ต้องจ้าง)
การใช้ leaflet plugin Geoman ในการจัดการเวกเตอร์บนเว็บที่มีความสามารถเทียบเท่า GIS Desktop
------------------------------
สำหรับการทำงานยอดนิยมอย่าง web map คงไม่ต้องพูดถึงประโยชน์อะไรกันมากเนื่องจากทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ แต่ถ้าต้องการ advance ขึ้น (แน่ ๆ) คือ เป็นมากกว่าการแสดงผล (ส่วนใหญ่ยังติดอยู่แค่การแสดงผล) เช่น การ analysis เลย การทำบนเว็บเลย เป็นเรื่องไม่ง่ายแน่นอน (ผมว่าตลาดต้องการแบบนี้มาก ๆ ในตอนนี้)
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ผมว่าสำคัญ ก็คือ ไม่ค่อยมีหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในเรื่องเหล่านี้ครับ
สำหรับผู้ที่เขียนโปรแกรมแบบ search ใน google และ stack overflow รวมไปถึงผู้ที่ไม่ได้เรียนการคำนวณทางวิศวกรรมสำรวจ ก็มักจะเจอกับปัญหาที่แตกต่างกัน และทำให้ไปได้ไม่เร็ว (ปัญหาแยกกันตามพื้นความรู้ที่แยกจากกัน) ก็คือ
(1) ผู้ที่ไม่ได้เรียน computer science (ใช้เรียนแบบ google และ stack overflow มักจะเป็นผู้ที่เรียนฝั่งสารสนเทศภูมิศาสตร์มา) จะเจอปัญหาในการอ่าน API Document อย่างเขัาใจ (สำคัญสุด ๆ สำหรับการโปรแกรมมิ่ง) เพราจะทำให้ไม่เข้าใจหลักการที่สำคัญมาก ๆ ในการที่จะสามารถ modify หรือแก้ปัญหาโปรแกรมมิ่งให้ตรงกับ requirement (เนื่องจากไม่มี tool ใช้ตรง ๆ) ก็คือ ไม่เข้าใจการ Inheritance, Override, Overload, Instantiate, prototype, composition และอื่น ๆ ที่จะทำให้ไม่ งง ในการเขียน Class และ Object และการเรียกใช้งาน instance object ที่มีการ interite interfaces มาจากหลาย class ซึ่งที่จริงแล้ว เราจะ modify ตามใจได้เลยนะครับ ถ้าเข้าใจ (หรืออาจจะ inherite ตัวฟังก์ชั่นใหม่เฉพาะของตัวเองเลยให้ตรงตามความต้องการไม่ต้องใช้วิธี indirect ซึ่งผมใช้บ่อยมาก)
(2) สำหรับผู้ที่เรียน computer science ที่เข้าใจข้อ (1) เป็นอย่างดีแล้ว ก็พบกับปัญหาพื้นฐานที่มักจะไม่เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลและฟังก์ชัน geospatial ก็จะพบปัญหากับเรื่องแรก ๆ เลย คือ ระบบพิกัด ระบบ tile และโครงสร้างที่หลากหลายของ spatial data (บาง lib สลับ lat,long กับ long,lat บางอัน x,y N,E) รวมไปถึงการ analysis บนเว็บด้วย Turf.js ระยะกริด UTM ระยะจริง Geodesic ระยะบนโค้ง หรือการคำนวณจาก sherical line, area ไปเป็น plane area หรือการทำข้อมูลในสามารถทำงานร่วมกันได้ บางทีก็ต้องสร้าง raster grid ขึ้นมาแทน point array เพื่อให้แสดงผลได้เต็มพื้นที่ ฯลฯ
นี่คือปัญหา ซึ่งผมว่าในยุค disruption นี้ คงต้องสร้างหลักสูตรพวกนี้ขึ้นมากจากผู้ที่มีความรู้สมบูรณ์ทั้งสองส่วนนี้ (ในแง่การที่จะนำผลการวิจัยไป implement เป็นระบบปฏิบัติการณ์ใช้กันจริง ๆ จัง ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งงบประมาณซื้อการพัฒนาหรือซอฟแวร์ระบบที่มักจะมีราคาสูง) ซึ่งถ้าพัฒนาบุคคลากรในส่วนนี้เพิ่มเยอะ ๆ น่าจะลดต้นทุนการสร้างระบบได้มาก และการพัฒนาองค์กร น่าจะทำได้เร็วกว่านี้มากครับ
...หาเรียนยาก... หาตำราอ่านก็ยาก.... ขาดแคลน...
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนของเราได้บ้างนะครับผม
ขอบคุณครับ