
13/05/2020
Faculty of Dentistry, Mahidol University.
เพราะการบริจาคของคุณ
มีความหมายกับทันตฯมหิดล
ร่วมใจ ยิ้มสู้ COVID-19 ไปด้วยกัน
น้ำใจจากทุกท่าน จะเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางทันตกรรมมหิดลผ่านวิกฤตช่วงนี้ไปได้
#DentMUTogetherWeStand
Department of Community Dentistry,
Faculty of Dentistry, Mahidol University
website : http://www.dt.mahidol.ac.th/en/department-of-community-dentistry
เปิดเหมือนปกติ
Faculty of Dentistry, Mahidol University.
เพราะการบริจาคของคุณ
มีความหมายกับทันตฯมหิดล
ร่วมใจ ยิ้มสู้ COVID-19 ไปด้วยกัน
น้ำใจจากทุกท่าน จะเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางทันตกรรมมหิดลผ่านวิกฤตช่วงนี้ไปได้
#DentMUTogetherWeStand
Faculty of Dentistry, Mahidol University.
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ
โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563
ให้บริการทางทันตกรรมเฉพาะฉุกเฉิน
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Link ข่าวประชาสัมพันธ์ : https://dt.mahidol.ac.th/th/news-20200322-2/
#ประกาศ #ทันตฯมหิดล #ทันตะ #ทันตแพทย์ #dentalmahidol #dentmu #dentist #MUDENT
Faculty of Dentistry, Mahidol University.
ประกาศเนื่องจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้มารับบริการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอยกเลิกบริการทางทันตกรรมฟรี (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป) วันที่ 2 เมษายน 2563
ท่านที่ลงทะเบียนออนไลน์ไว้แล้ว ทางคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะโทรศัพท์ประสานเพื่อนัดหมายให้มารับบริการในวันทำฟันฟรีในโอกาสต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยมา ณ โอกาสนี้
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Link ข่าวประชาสัมพันธ์ : https://dt.mahidol.ac.th/th/news-20200303-2/
#ขอยกเลิกบริการทางทันตกรรมฟรี #ทันตฯมหิดล #ทันตะ #ทันตแพทย์ #dentalmahidol #dentmu #dentist #MUDENT
Faculty of Dentistry, Mahidol University.
โครงการ WHO Fellowship Program on Primary Oral Health Care, Concentration on Mother and Child Health
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Dr. Kin Shein, Dr. Naing Aung Win, Dr. Thet Oo และ Dr. Tun Thu Ya จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่เข้าร่วม
ฝึกอบรมและศึกษาดูงานในโครงการ WHO Fellowship Program on Primary Oral Health Care, Concentration on Mother and Child Health ซึ่งจัดขึ้นโดยภาควิชาทันตกรรมชุมชน ในระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2562
โดยในวันที่ 13 ธันวาคม 2562 ศ.ดร.ทพญ.วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผศ.ดร.ทพญ. ทิพนาถ วิชญาณรัตน์ หัวหน้าภาควิชาทันตกรรมชุมชน และคณาจารย์ประจำภาควิชา ได้เข้าร่วมในพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าอบรมดังกล่าว
ดูภาพกิจกรรมได้ที่: https://dt.mahidol.ac.th/th/dt_gallery/20191213-1/
#WHOFellowshipProgramonPrimaryOralHealthCare #ภาควิชาทันตกรรมชุมชน #ทันตฯมหิดล #ทันตะ #ทันตแพทย์ #dentalmahidol #dentmu #dentist #MUDENT
นศ.ทพ.ปี6 หลักสูตรนานาชาติ เยี่ยมชมดูงานและรับแนวคิดดีๆของการบริหารงานคลีนิกทันตกรรม ที่ Smile creation dental clinic ตั้งแต่ส่วนต้อนรับ ส่วนห้องรักษา ไปจนถึงส่วนสนับสนุนต่างๆ ขอขอบพระคุณมากๆครับ😀.
ขอขอบพระคุณวิทยากรพิเศษ ทพ.สิทธิพัน ฝ่ายทันตกรรม รพ.ห้วยพลู จ.นครปฐม และวิทยากรพิเศษทุกๆท่าน ในการแนะนำให้ข้อมูลความรู้สำหรับนศ.ทพ.ปี6 หลักสูตรนานาชาติ ประทับใจมากๆครับ.
อ.ทพญ.สิรินทิพย์ ดูแลพานศ.ทพ.ปี6 หลักสูตรนานาชาติ ศึกษาดูงานระบบการทำความสะอาดเครื่องมือติดเชื้อ ระบบการกำจัดขยะติดเชื้อ ที่CSSD และระบบยูนิตทันตกรรมที่ศูนย์ฯผู้สูงอายุของที่คณะ.
IDCMR exchange program 2019.
นศ.ทพ.ปี5 ร่วมงาน ตลาดนัดสุขภาพ การนำเสนอผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาปริญญาโทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน จัดโดยภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล .
ขอขอบคุณวิทยากรพิเศษ ทพ.ชัยพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ที่มาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ให้กับนศ.ทพ.ปี5และนศ.ผู้ช่วยฯปี2 ในการปฐมนิเทศการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามนศ.ทพ.ปี5 ครับ.
“หน้าจน” เป็นยังไง?
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังกังวลกับโรคอ้วน และ โรคไม่ติดต่อต่างๆ ที่เกิดจากการบริโภคที่มากเกินไป ในขณะเดียวกัน อีกซีกโลกนึง มีผู้คนมากกว่า 140,000 คนต่อปี กำลังทนทุกข์และเสียชีวิตจากโรคที่เกิดร่วมกับการขาดสารอาหาร
นี่คือภาพ “face of poverty” ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรค NOMA ที่ระบาดในแอฟริกามานานแล้ว
แผลมักจะเริ่มจากแผลเล็กในช่องปาก และเกิดการติดเชื้อ จนเป็นแผลทะลุออกมานอกช่องปากในระยะเวลารวดเร็ว 90%ของผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตเพราะไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แก่
🔹 เด็กที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี
🔹 ความยากจน
🔹 ภาวะขาดสารอาหาร
🔹 อนามัยช่องปากไม่ดี
เป็นต้น
NOMA เป็นโรคที่ป้องกันได้ และ รักษาได้ หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อ่านเพิ่มเติมได้จาก link 2.
References:
1.http://www.facingafrica.org/what-is-noma/images-of-noma/ (for image)
2.https://www.afro.who.int/sites/default/files/2017-07/Information_brochure_EN.pdf
ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้โอวาทแก่นศ.ทพ.ปี6 ในการปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนาม นศ.ทพ.ปี6 ปีการศึกษา 2561 ครั้งที่2
วันพุธที่ 23 มกราคม2562
ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้โอวาทแก่นศ.ทพ.ปี6 ในการปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนาม นศ.ทพ.ปี6 ปีการศึกษา 2561 ครั้งที่2
วันพุธที่ 23 มกราคม2562
การสัมนาทันตแพทย์พี่เลี้ยงการฝึกภาคสนามของนศ.ทพ. 7-8 ม.ค.62 โรงแรมคงการ์เดน เชียงราย
การสัมนาทันตแพทย์พี่เลี้ยงการฝึกภาคสนามของนศ.ทพ. 7-8 ม.ค.62 โรงแรมคงการ์เดน เชียงราย
การสัมนาทันตแพทย์พี่เลี้ยงการฝึกภาคสนามของนศ.ทพ. 7-8 ม.ค.62 โรงแรมคงการ์เดน เชียงราย
การสัมนาทันตแพทย์พี่เลี้ยงการฝึกภาคสนามของนศ.ทพ. 7-8 ม.ค.62 โรงแรมคงการ์เดน เชียงราย
การปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนาม นศ.ทพ.ปี6 ปีการศึกษา 2561 ครั้งที่1
วันพุธที่ 2 มกราคม2562
การปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนาม นศ.ทพ.ปี6 ปีการศึกษา 2561 ครั้งที่1
วันพุธที่ 2 มกราคม2562
การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนามสำหรับนศ.ทพ. พื้นที่จ.บุรีรัมย์ 27-29 พ.ย.61 โรงแรม Best Western Buriram
การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคสนามสำหรับนศ.ทพ. พื้นที่จ.บุรีรัมย์ 27-29 พ.ย.61 โรงแรม Best Western Buriram
สาระดีดี มีประโยชน์ 😊
https://yourteeththai.wordpress.com
.
ประกันสังคม
.
ปลายปีแล้วอย่าลืมใช้สิทธิ์กันนะจ๊ะ
.
ทุกคนคงรู้สิทธิ์อุดขูดถอน ปีละ900 กันอยู่แล้ว
.
แต่เอ๊ะ คุ้นๆมั้ยมันอีกสองสิทธิ์นะอย่าลืม วันนี้มารู้จักสิทธิ์ประกันสังคมที่คนไม่ค่อยพูดถึงกันจ้า
.
#myteeththai #ประกันสังคม #SSO #ไม่สำรองจ่าย
Thai Dental Council
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์
ขอเชิญสมัครเป็นหน่วยบริการร่วม
ให้บริการด้านทันตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพ
เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ระยะเวลารับสมัครและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
Website http://bkk.nhso.go.th
Facebook รู้จริงสิทธิบัตรทอง สปสช. กทม.
https://www.facebook.com/BKKNHSO/
สำนักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา
28 กันยายน 2561
หลายๆครั้งที่ไปนิเทศงานนักศึกษา และได้ยินการนำเสนอว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม" เพราะเราถูกฝังหัวกันมาอย่างนั้น แต่จากข้อมูลปี 2011 พบว่า ทุกวันนี้มันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว...
เงินร้อยบาทในกระเป๋าคุณมาจากไหน?
เรามักพูดกันเสมอว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ เราได้ยินคำกล่าวทำนองนี้มายาวนานจนหลายคนหลงเข้าใจว่าประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการเกษตรสูง เช่น เรามักชื่อกันว่าไทยพึ่งพาการส่งออกผลผลิตสินค้าเกษตรเป็นหลัก
แต่ในความเป็นจริง ปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนไปจากอดีตที่เคยเข้าใจกันมากแล้ว ตัวเลขที่เห็นได้ชัดเจนคือสัดส่วนรายได้ของประเทศไทย (GDP) ซึ่งหากย่อ GDP ของชาติเป็นเงิน 100 บาทในกระเป๋าสตางค์ของทุกท่าน รายได้ 100 บาทนี้จะมาจาก
ภาคอุสาหกรรม 39 บาท
ภาคบริการ 25 บาท
ภาคการค้าส่ง ค้าปลีก 13.5 บาท
ภาคการขนส่งและการสื่อสาร 9.6 บาท
ภาคเกษตรกรรม 8.6 บาท
ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่ 4.3 บาท
--
http://www.whereisthailand.info/2012/05/gdp-by-sector/
สุขภาพช่องปากคนไทย เป็นอย่างไรบ้างนะ 🧐
มาอัพเดท “ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากครั้งที่ 8” กันดีกว่า !!! 💕😊 (สำรวจครั้งล่าสุดปี 2555)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บของสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย : http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/main.php?filename=stat
ขอขอบพระคุณท่านวิทยากร ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ และ ดร.บรรจง จำปา จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำหรับการบรรยายเพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกภาคสนามนศ.ทพ.ชั้นปีที่5 ครับ.
วันศุกร์ที่20 กรกฎาคม 2561 อาจารย์ภาควิชาทันตกรรมชุมชนและนศ.ทพ.ชั้นปีที่4 นำสื่อให้ความรู้สุขภาพช่องปากมาแนะนำกับน้องๆนักเรียนโรงเรียนสวนมิสกวัน.
คมสัน ลาภาอุตย์ Poonpon Khowiboonchai Yao Ngoenwiwatkul
การฝึกอบรมหลักสูตรทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุระยะสั้น สาขาการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ.
10 กรกฎาคม 2561.
แสดงความยินดีกับบุคคลากรของภาควิชา
คุณสิริมา พลจินดา รางวัลคนดีศรีทันตฯมหิดล รักในงาน บริการด้วยใจ
อ.ทพ.คมสัน ลาภาอุตย์ รางวัลพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น(ประเภทวิชาการ ปฏิบัติงานติดต่อกันเกิน 10 ปี)
ที่ได้รับมอบรางวัลในโอกาสวันสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 7 มิถุนายน 2561.
Sirima Phonchinda Yao Ngoenwiwatkul Tippanart Vichayanrat Poonpon Khowiboonchai Nich Luks คมสัน ลาภาอุตย์ Alps Chadaporn Sirinthip Amornsuradech Chuleeporn Choetkiertikul
Oreintation วิชาออกโรงเรียน school health program นศ.ทพ.ชั้นปีที่5.
การนำเสนอ การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม ปีการศึกษา 2560
ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล's cover photo
มาฟังพี่ๆปี6 นำเสนอโครงการกันเถอะนะออเจ้าาาา
โปสเตอร์โครงการจากการฝึกภาคสนามจัดแสดงพร้อมให้ซักถามได้เต็มที่ แล้วเจอกันนะคะ 😊
————————————————————-
วันที่ 5 มีนาคม 2561
เวลา 12.00-13.00 น. และ 16.00-18.00 น.
วันที่ 6 มีนาคม 2561
เวลา 12.00-13.00 น.
ที่โถงชั้น 1 ข้างโรงอาหาร M dent
ปวดฟันคุดมาก ทำอย่างไรดี 😫
คุณหมอคะ หนูปวดฟันคุดมากกกกกก
แต่ไม่อยากผ่าค่ะ ยังทำใจไม่ได้...
ปล่อยไว้ได้มั้ยคะ มันจะดีขึ้นมั้ย?
#ฟันคุด #ฟันคุดไม่ผ่าได้มั้ย
Mahidol University
วิธีดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กแต่ละวัย (ตั้งแต่แรกเกิด-12 ปี)
ในปัจจุบัน มีสื่อทางสุขภาพออกมาจำนวนมาก
แต่ไม่ใช่ทุกอันที่ข้อมูลจะถูกต้องและเชื่อถือได้
ควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆแหล่ง
ก่อนตัดสินใจปฏิบัติตามนะคะ 😊
โพสต์นี้ยาวมาก ...
ช่วง 2-3 วันมานี้ มีคุณแม่หลายท่านส่งข้อความถามมาใน inbox ของเพจฟันน้ำนมพร้อม ๆ กันแบบไม่ได้นัดหมาย
สอบถามได้ความว่าเป็นข้อมูลจากทันตแพทย์ท่านหนึ่งเขียนไว้
คุณแม่เห็นว่าแตกต่างจากที่เพจฟันน้ำนมแนะนำ จึงถามเข้ามาว่าตกลงควรจะเชื่อใครดี เพราะเป็นหมอฟันเหมือนกัน
ข้อความมีดังนี้นะครับ ...
... "ควรให้ลูกเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุมั้ย???"
คำตอบคือถ้าสิ่งนั้นมันดีและเป็นทางเอกแห่งคำตอบจริง ๆ ผมจะทำให้ลูกผมและตัวผมเองแน่นอน
แต่คำตอบสำหรับคำถามข้อนี้ คือที่บ้านผมไม่มีใครใช้ฟลูออไรด์
ทำไม????
1. ฟลูออไรด์(อาจ)ทำให้ฟันแข็งทนต่อกรดกัดฟันผุของแบคทีเรียขึ้นมาได้บ้างก็จริง แต่ผมไม่กลัวฟันผุ เพราะฟันผุจะเกิดขึ้นเมื่อมีการหลงเหลือเศษอาหารไว้ในช่องปากนานเกินครึ่งชั่วโมงเป็นต้นไป ดังนั้น ผมและลูก ๆ จึงแปรงฟันทุกครั้งหลังทานอาหารทุกอย่าง จึงไม่มีเศษอาหารเหลือให้แบคทีเรียกินต่อ (นี่คือทางเอกของการป้องกันฟันผุ)
🔖 เพจฟันน้ำนมตอบ ... ฟันผุไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีเศษอาหารอยู่ในช่องปากเกินครึ่งชั่วโมง
เมื่อเรากินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เชื้อโรคในช่องปากนำไปย่อยสลายให้เกิดกรด ... ภายในระยะเวลาแค่ประมาณ 1-2 นาทีหลังกินอาหารจำพวกนี้ ก็ทำให้ pH ต่ำลง จนต่ำกว่า critical pH เมื่อนั้นก็จะเกิดการละลายของผลึกแร่ธาตุในฟัน (demineralization)
ผลึกแร่ธาตุในฟันส่วนใหญ่เป็น hydroxyapatite และมีส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงผลึกเป็น fluorapatite
Critical pH ของ hydroxyapatite คือประมาณ 5.5
Critical pH ของ fluorapatite คือประมาณ 4.5
fluorapatite เป็นโครงสร้างผลึกใหม่ที่เกิดจาก fluoride ion ไปแทนที่ hydroxyl ion ทำให้ผลึกแข็งแรงและทนกรดมากขึ้น คือทำให้ฟันแข็งแรงขึ้นและผุยากขึ้น ... พูดแบบง่าย ๆ การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ช่วยให้ฟันแข็งแรงขึ้น ผุยากขึ้น
หลัง pH ตก ... เมื่อมีการไหลของน้ำลาย น้ำลายจะค่อย ๆ ปรับสภาพกรดด่างในช่องปาก ทำให้ pH ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติของช่องปากแต่ละคนภายใน 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปาก, อัตราการไหลของน้ำลาย, แร่ธาตุในน้ำลาย ฯลฯ ... เมื่อระดับแร่ธาตุในน้ำลายมากเกินภาวะอิ่มตัวก็จะผลักแคลเซียมและฟอสเฟตสู่ผิวฟันเกิดการคืนกลับแร่ธาตุไปที่ผิวฟัน (remineralization)
ดังนั้นฟันผุไม่ได้แค่เกิดจากเหลือเศษอาหารไว้นานเกินครึ่งชั่วโมงนะครับ แต่มีกลไกอื่น ๆ เกี่ยวข้องด้วย
นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ยังมีความสำคัญในการป้องกันฟันผุหลายด้านคือ
- ยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุ
- ส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุ
- ยับยั้งการเจริญเติบโต การแบ่งตัวและการเผาผลาญของแบคทีเรียก่อโรคในขี้ฟัน (biofilm)
....................
2. ฟลูออไรด์ที่ตกค้างมีผลในการทำลายประสิทธิภาพของสมอง ในวงการทันตแพทย์จึงระวังอย่าให้เด็กเล็กกลืนยาสีฟันและยาสีฟันของเด็กควรมีฟลูออไรด์ให้น้อยที่สุด (ไม่เกิน 500 ppm) แต่ในวงการแพทย์ทางเลือกและธรรมชาติบำบัด เค้าจะเชื่อและระวังในพิษของฟลูออไรด์มากกว่าแพทย์ทั่ว ๆ ไป และจะพยายามหลีกเลี่ยงการได้รับฟลูออไรด์โดยไม่จำเป็น
🔖 เพจฟันน้ำนมตอบ ... ฟลูออไรด์ก็เหมือนเกลือ น้ำตาล วิตามินที่เรากินกันนี่แหละครับ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเกิดประโยชน์ น้อยไปก็ไม่ได้ผล มากไปก็ไม่ดี
ฟลูออไรด์มีพิษจริงมั้ย ... จริงครับ เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงมากในครั้งเดียว หรือได้รับปริมาณสูงเกินปริมาณเหมาะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ปริมาณฟลูออไรด์ที่แนะนำให้ใช้ในการแปรงฟัน ไม่ทำให้สมองเสื่อมหรือฟันตกกระได้ครับ หรือแม้แต่การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ก็มีการควบคุมดูแล คำนวณปริมาณแล้วว่าควรใช้เท่าไรจึงจะปลอดภัย
ในวงวิชาการทันตแพทย์ทำวิจัยเรื่องฟลูออไรด์มามากกว่า 60 ปี องค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นเครื่องมือหลักในการป้องกันฟันผุ
ปัจจุบัน ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยแนะนำให้ใช้ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นครับ ตาม link นี้ https://www.facebook.com/pg/thaimilkteeth/photos/?tab=album&album_id=1055843981227406
อเมริกา อังกฤษก็แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ตาม link นี้ครับ
https://www.facebook.com/pg/thaimilkteeth/photos/?tab=album&album_id=1105649876246816
https://www.facebook.com/pg/thaimilkteeth/photos/?tab=album&album_id=1151389151672888
ส่วนเรื่องความรู้ในวงการแพทย์ทางเลือกและธรรมชาติบำบัดนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ศึกษา เห็นว่าดี ถูกต้อง จะทำตามก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล
ในอนาคต เมื่อมีการศึกษา วิจัยเรื่องแนวทางของแพทย์ทางเลือกและธรรมชาติบำบัดจนมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ในวงวิชาการทันตแพทย์ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเปลี่ยนคำแนะนำเอง ส่วนในปัจจุบันคำแนะนำที่เกิดจากการทบทวนงานวิจัยที่น่าเชื่อถือคือ ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครับ
....................
3. แต่ถ้า"จำเป็น"ต้องเคลือบฟลูออไรด์เจลจริง ๆ เพราะคนไข้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุง่ายมาก เช่นไม่มีน้ำลาย ใส่ฟันปลอมถอดได้ ฯลฯ ก็ควรทำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ แต่ในเคสธรรมดาทั่ว ๆ ไป ผมไม่แนะนำให้ทำ
🔖 เพจฟันน้ำนมตอบ ... เคลือบฟลูออไรด์ควรทำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ ไม่ควรทำเองถูกต้องแล้วครับ
ส่วนนิยามของเคสธรรมดาทั่ว ๆ ไปคือ???
ในทางวิชาการ เราแบ่งคนไข้เป็นความเสี่ยงฟันผุระดับต่าง ๆ เสี่ยงน้อยไปจนถึงเสี่ยงมาก ในแต่ละระดับมีรายละเอียดแตกต่างกันไป เป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ที่จะตรวจ ซักประวัติ ประเมินความเสี่ยงฟันผุของแต่ละบุคคลว่าอยู่ในระดับใด และให้การรักษาหรือการป้องกันที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ความเสี่ยงฟันผุเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ละคนมีสภาพช่องปากต่างกัน สภาพฟันไม่เหมือนกัน ปริมาณเชื้อโรคฟันผุต่างกัน น้ำลายมีความเป็นกรดด่างไม่เท่ากัน พฤติกรรมการกิน การทำความสะอาดช่องปาก แตกต่างกัน
เราไม่ควรเหมารวม แนะนำคนไข้ทุกคนผ่านประสบการณ์ส่วนตัวเหมือนกันหมด
....................
4. ถ้าผมอยากป้องกันฟันผุจริง ๆ แต่ไม่อยากได้รับฟลูออไรด์ ผมมีวิธีอีกเยอะแยะ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แต่ฟลูออไรด์เจล เช่นสร้างนิสัยให้แปรงฟันบ้วนปากทุกครั้งหลังทานอาหารทุกอย่าง /การใช้ tissue salt ของทางโฮมิโอพาธี่ย์(cal-fur) /การปรับสภาพร่างกายและน้ำลายให้มีฤทธิเป็นด่างเพื่อต้านกรดของแบคทีเรียได้ดีขึ้น /การใช้ยาสีฟันที่มีสารccpp.ที่ช่วยดึง calcium กลับสู่ฟัน /การกินอาหารที่มี calcium สูงเพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรงแทนการเสริมฟลูออไรด์ ฯลฯ
🔖 เพจฟันน้ำนมตอบ...
สร้างนิสัยให้แปรงฟันบ้วนปากทุกครั้งหลังทานอาหารทุกอย่าง – อันนี้ดีครับ
การใช้ tissue salt ของทางโฮมิโอพาธี่ย์(cal-fur) – หมอไม่รู้จัก ขอข้ามไปนะครับ
การปรับสภาพร่างกายและน้ำลายให้มีฤทธิเป็นด่างเพื่อต้านกรดของแบคทีเรียได้ดีขึ้น - หมอไม่รู้จัก ขอข้ามไปนะครับ
การใช้ยาสีฟันที่มีสาร ccpp. ที่ช่วยดึง calcium กลับสู่ฟัน – น่าจะหมายถึงสาร CPP-ACP ใช้ได้ครับ ทำมาจากผลิตภัณฑ์ของนมวัว ไม่เหมาะกับเด็กที่แพ้นมวัว แต่มีราคาค่อนข้างสูง คือ หลอดละ 7-800+ บาท ... และตามคำแนะนำ ยังคงแนะนำยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นอันดับแรก ส่วน CPP-ACP เลือกใช้ประกอบตามความเหมาะสมเฉพาะรายไป
การกินอาหารที่มี calcium สูงเพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรงแทนการเสริมฟลูออไรด์ – ฟันที่ขึ้นในช่องปากแล้ว เคลือบฟันมีการสะสมแร่ธาตุสมบูรณ์ การกินแคลเซี่ยมไม่ช่วยให้ฟันแข็งแรงครับ ... ฟันที่ขึ้นแล้วในช่องปาก สร้างความแข็งแรงด้วยฟลูออไรด์ผ่านการสัมผัสฟันโดยตรง เช่นจากยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ ฯลฯ ผลึกที่มีฟลูออไรด์ไปสะสมจะทนต่อกรดได้ดีกว่าตามข้อที่ 1 ครับ
....................
สิ่งที่อยากบอกมีเพียงเท่านี้ครับ
แอดมิน 2
ภาควิชาขอขอบคุณท่านคณบดี ศ.ดร.วรานันท์ บัวจีบ ในการให้โอวาทแก่นศ.ทพ.ปี6 ในการปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมสำหรับการไปฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม ภาควิชาทันตกรรมชุมชน ปีการศึกษา 2560
ภาควิชาขอขอบคุณท่านคณบดี ศ.ดร.วรานันท์ บัวจีบ ในการให้โอวาทแก่นศ.ทพ.ปี6 ในการปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมสำหรับการไปฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม ภาควิชาทันตกรรมชุมชน ปีการศึกษา 2560
6 Yothi Street
Bangkok
10400
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทัน:
มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, NRU & HERP
128/356 ชั้น 33A อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท เขตราชเทวีExcellent Center in Otolaryngology Head & Nec
2 Phayathai Rd., Phayathai, Rajtheveeสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด กรุงเทพ
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดTOEA ศูนย์อบรมคนหางานก่อนไปทํางานต่างประเทศ
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศทนายความจังหวัดชุมพร Chumphon Lawyer
22 K-Building, Sukhumvit 35Management of Technology, College of Innovati
College of Innovation, Thammasat University