กลุ่มกฎหมาย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มกฎหมาย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝ่ายพัฒนากฎหมาย กลุ่มกฎหมาย ชั้น 5
กรมพัฒนาฝีมือแรงง
(3)

04/07/2023

กลุ่มกฎหมาย ขอเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม องค์กรคุณธรรม ประจำปีงบปรมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมสวมใส่ผ้าไทยเพื่อส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์

04/07/2023

กลุ่มกฎหมาย ขอเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม องค์กรคุณธรรม ประจำปีงบปรมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม สร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่น่าทำงาน

04/07/2023

กลุ่มกฎหมาย ขอเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม องค์กรคุณธรรม ประจำปีงบปรมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมการใช้ทรัพยากรของทางราชการอย่างประหยัดและคุ้มค่า

กลุ่มกฎหมาย ขอเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม องค์กรคุณธรรม ประจำปีงบปรมาณ พ.ศ. 2566 รายละเอียดสามารถดาวโหลดได้ที่https:...
04/07/2023

กลุ่มกฎหมาย ขอเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม องค์กรคุณธรรม ประจำปีงบปรมาณ พ.ศ. 2566 รายละเอียดสามารถดาวโหลดได้ที่
https://www.dsd.go.th/legalaffairs/Region/ShowACT/95774?region_id=2

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย " ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา การทำร้ายร่างกาย"
01/06/2023

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย " ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา การทำร้ายร่างกาย"

ทำร้ายร่างกายจ่าย 500 ใครว่าจบ โทษตามเเต่ละดับความเจ็บเป็นอย่างไรบ้างครับ
บาดเจ็บเล็กน้อย มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
บาดเจ็บสาหัส มีโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 – 200,000 บาท
อ้างอิง ประมวลกฎหมายอาญา

#ทำร้ายร่างกาย #สังคมเคารพกฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #ข่าววันนี้ #โหนกระเเส

ความรู้เรื่องแรงงาน " นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น จึงเลิกจ้างลูกจ้างและช่วยหางานให้ลูกจ้างเข้าทำงานบริษัทใหม่ ต้อง...
01/06/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น จึงเลิกจ้างลูกจ้างและช่วยหางานให้ลูกจ้างเข้าทำงานบริษัทใหม่ ต้องนับอายุงานต่อเนื่องหรือไม่"

นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น จึงเลิกจ้างลูกจ้างและช่วยหางานให้ลูกจ้างเข้าทำงานกับบริษัทใหม่ แบบนี้ต้องนับอายุงานต่อเนื่องหรือไม่

ต้องเข้าใจก่อนว่าการการนับอายุงานต่อเนื่องให้ได้จะต้องเป็นกรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง หากไม่ใช่เปลี่ยนตัวนายจ้าง คือออกจากงานที่หนึ่งมาแล้วมาทำงานที่ใหม่ แม้ที่ทำงานใหม่จะเป็นกิจการในเครือของนายจ้างก็ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง ก็จะไม่มีการนับอายุงานต่อ หรือแม้แต่สิทธิประโยชน์ หากไม่ใช่เปลี่ยนตัวนายจ้างลูกจ้างจะอ้างว่าได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องไม่น้อยจากบริษัทนายจ้างเดิมไม่ได้

ขออธิบายหลักกฎหมายการเปลี่ยนตัวนายจ้างก่อนว่าอาจเกิดจากกรณีนายจ้างตาย แล้วกิจการตกทอดไปถึงลูก หรือมีการควบรวมบริษัทกัน แล้วเกิดเป็นบริษัทใหม่ หรือมีการขายกิจการให้นายจ้างคนใหม่ หรือเปลี่ยนนิติบุคคลบริษัท เช่นนี้ เป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง ทางเลือกของลูกจ้างมี ๒ ทาง คือ

๑) ย้ายไปทำงานกับนายจ้างใหม่ หรือเปลี่ยนตัวนายจ้าง เช่นนี้ สิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมอย่างไร นายจ้างใหม่ต้องรับไปด้วย เช่น เงินเดือน หรือสวัสดิการต้องไม่น้อยกว่าเดิม หรือระยะเวลาการทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชยต้องนับต่อเนื่องกัน เช่น ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างเดิม ๑๗ ปี เปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างใหม่อีก ๕ ปี เมื่อเลิกจ้างหรือเกษียณนายจ้างใหม่จะอ้างว่ามาทำงานเพียง ๕ ปีและจ่ายค่าชดเชยเพียง ๑๘๐ วันไม่ได้ แต่ต้องรวมระยะเวลาการทำงานจากที่เดิม ๑๗ ปีเข้ากับระยะเวลา ๕ ปีด้วย เท่ากับลูกจ้างทำงาน ๒๒ ปี ซึ่งต้องจ่ายค่าชดเชย ๔๐๐ วัน

๒) หากลูกจ้างไม่ไปทำงานด้วย กฎหมายให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ซึ่งทำงาน ๑๗ ปีก็จะได้ค่าชดเชย ๓๐๐ วัน

ทำงานนานเพียงใด ได้ค่าชดเชยกี่วันให้ดูมาตรา ๑๑๘ แห่ง พรบ คุ้มครองแรงงานฯ ประกอบ

กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการ และมีการเลิกจ้าง และนายจ้างช่วยหางานใหม่ให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างใหม่อาจเป็นบริษัทในเครือก็ได้ กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง เหตุผลง่าย ๆ คือมีการเลิกจ้าง มาคั่นกลางแล้ว

เมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างก็ต้องมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากไม่จ่ายค่าชดเชยก็ต้องไปร้องแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงาน ภายใต้อายุความ ๑๐ ปี

เหตุที่เป็นเช่นนีเพราะกรณีนี้ไม่มีการรับโอนตัวลูกจ้าง หรือเปลี่ยนแปลง หรือควบกิจการ แต่เป็นการเลิกจ้าง

ที่มา ข้อหารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๕/๑๐๖๖๘ ลว ๕ เมษายน ๒๕๖๕

ความรู้เรื่องแรงงาน
01/06/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน

คุยเฟื่องเรื่องแรงงาน Ep.52
-----------------------
🌐 Website: labour.go.th
👍 Facebook/Twitter/YouTube
: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
☎️ Hotline: 1546 หรือ 1506 กด 3
📲 Line:

ความรู้เรื่องแรงงาน " ทำผิดเล็กน้อยเลิกจ้างทันทีไม่ได้ เป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม"
01/06/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " ทำผิดเล็กน้อยเลิกจ้างทันทีไม่ได้ เป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม"

ทำผิดไม่ร้ายแรง ต้องเตือนก่อน เลิกจ้างทันทีไม่ได้

[มาแล้วอบรมหัวข้อเลิกจ้าง ออนไลน์ สอบถามไลน์ไอดี labourlaw]

กฎหมายแรงงานกำหนดหลักไว้ว่าหากลูกจ้างฝ่าฝืน "ข้อบังคับในการทำงาน" หรือ "ระเบียบ" หรือ "คำสั่ง" อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง

กรณีไม่ร้ายแรง ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จะเลิกจ้างทันทีไม่ได้ หากเลิกจ้างทันทีจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างออกหนังสือเตือนแล้ว และลูกจ้างทำผิดซ้ำในลักษณะเดียวกันในรอบ ๑ ปี นับแต่ที่ได้ทำความผิด (ไม่ใช่นับจากวันที่ออกหนังสือเตือน) นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 3360/2526

ความรู้เรื่องแรงงาน ตอนที่ 83
01/06/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน ตอนที่ 83

ตอนที่ 83 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
📚 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
ลูกจ้างสมัครใจขอเกษียณอายุก่อนกำหนด ถือเป็นการเลิกจ้างได้หรือไม่?

⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18641-18658/2557
คดีนี้โจทก์ทั้ง 19 คน ฟ้องว่าโจทก์กับพวกเป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยอนุมัติให้โจทก์กับพวกเกษียณอายุก่อนอายุครบเกษียณ เป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์กับพวก จำเลยให้การว่าโจทก์กับพวกลาออกตามระเบียบการขอเกษียณอายุก่อนกำหนดไม่ถือเป็นการเลิกจ้างแต่เป็นการสมัครใจลาออกด้วยการเกษียณ จำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จครบถ้วนแล้ว ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยมีระเบียบการเกษียณของพนักงาน ข้อ 4 กำหนดว่า บริษัทจะจ่ายเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานที่สมัครใจลาออกก่อนครบอายุเกษียณตามสูตรดังต่อไปนี้... หลังจากที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์กับพวกเกษียณอายุก่อนอายุครบเกษียณตามที่แสดงความจำนง โจทก์กับพวกก็ได้ยื่นใบลาออกต่อจำเลย การแสดงความจำนงขอเกษียณอายุก่อนครบอายุเกษียณเป็นความสมัครใจของโจทก์กับพวก การที่จำเลยอนุมัติเป็นการอนุมัติให้เกษียณอายุก่อนอายุครบเกษียณและให้ลาออกตามที่ขอ จึงเป็นการลาออกเอง มิใช่การเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้อง โจทก์กับพวกอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีประกาศ เรื่อง การแจ้งความจำนงเกษียณอายุก่อนอายุครบเกษียณ กำหนดว่า “พนักงานที่มีอายุงานครบ 17 ปี ขึ้นไป บริษัทเปิดโอกาสให้สมัครใจเกษียณได้...ทั้งนี้การพิจารณาอนุมัติให้อยู่ในดุลพินิจของบริษัทเป็นรายบุคคลไป” เมื่อโจทก์กับพวกยื่นความจำนงขอเกษียณอายุก่อนครบอายุเกษียณด้วยความสมัครใจและจำเลยอนุมัติ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหมดกับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ ดังนั้นโจทก์กับพวกจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย พิพากษายืน
---------------------------------------
#กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#กสร
#กสรคุ้มครองสิทธิพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

ความรู้เรื่องแรงแรงงาน " ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม''
05/04/2023

ความรู้เรื่องแรงแรงงาน " ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม''

ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่

การพิจารณาว่าต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ เบื้องต้นก็ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทก่อนว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ เพราะหากไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายแรงงายย่อมไม่สามารถนำมาปรับใช้

ยกตัวอย่างในคดีหนึ่ง กรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาดในการทำงานของกรรมการรายนี้ไม่ปรากฎว่าต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงาน และแม้ว่าจะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทโดยต้องมาทำงานทุกวันก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาได้

นอกจากนี้ยังปรากฎว่ากรรมการรายนี้ยังเป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท การทำงานจึงทำในฐานะผู้ซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทที่ร่วมก่อตั้งมา แม้จะได้รับเงินเดือน แต่เมื่อการทำงานไม่ใช่ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน

ดังนั้นเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย

เพราะฉะนั้นการไล่กรรมการออกอาจไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเสมอไป ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทเป็นที่ตั้ง

(คำพิพากษาฎีกาที่ 2548/2548)

#ค่าชดเชยรายได้ #ค่าจ้าง #ประกันสังคม #เงิน #ออฟฟิศ #เงินเดือน #เลิกจ้าง #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ไล่ออก #กรรมการบริหาร

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย " ทำให้เสียทรัพย์"
05/04/2023

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย " ทำให้เสียทรัพย์"

ความรู้เรื่องแรงงาน " ที่พักฟรี บริษัทจะหักค่าน้ำค่าไฟที่บริษัทสำรองจ่ายได้หรือไม่"
05/04/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " ที่พักฟรี บริษัทจะหักค่าน้ำค่าไฟที่บริษัทสำรองจ่ายได้หรือไม่"

บริษัทจัดที่พักฟรี จะหักค่าน้ำค่าไฟที่บริษัทสำรองจ่ายจากค่าจ้างได้หรือไม่

หลักกฎหมายห้ามมิให้หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด แต่กฎหมายก็มีข้อยกเว้นที่ให้สามารถหักได้ ถ้าเป็นการหักหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือแยกต่างหากอย่างชัดเจน เป็นการเฉพาะ คือต้องเขียนแยกออกมาเป็นอีก 1 ใบ จะเขียนรวมกับสัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ปนหรือซ่อนเอาไว้ไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ต้องการให้แอบนำเอาข้อสัญญาหักค่าจ้างนี้ไปซ่อนไว้ในสัญญาอื่น

การที่นายจ้างจัดสวัสดิการที่พักฟรีแก่ลูกจ้างหากดำเนินการโดยนายจ้างไม่ได้รับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจใด ๆ เช่น ไม่มีการจัดเก็บค่าที่พัก แต่ผู้เข้าพักจะต้องจ่ายค่าน้ำประปากับค่าไฟฟ้าเอง หรืออาจเป็นกรณีนายจ้างออกให้บางส่วนและลูกจ้างออกบางส่วน ส่วนที่ใช้เกินลูกจ้างจะต้องออกเอง หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังนี้ ถือว่าเป็น “สวัสดิการเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว”

ส่วนของค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ที่นายจ้างหักไป หากได้ทำข้อตกลงเอาไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็สามารถหักได้เพราะเป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างฝ่ายเดียว (ข้อหารือกองนิติการที่ รง 0505/2059 ลว 8 สิงหาคม 2562)

เช่นนี้ ฝ่ายบุคคล หรือนายจ้างจึงสามารถหักเงิน ตามที่สำรองจ่ายไปได้ตามมาตรา 76(3) ประกอบมาตรา 77

-สนใจอบรม กฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขใหม่ โทร 06-21911-757 หรือไลน์ไอดี labourlaw อบรมออนไลน์วันที่ 9 เมษายน 2556

ความรู้เกี่ยวกับ " คุณสมบัตรของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์"
05/04/2023

ความรู้เกี่ยวกับ " คุณสมบัตรของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์"

หน่วยงานของท่านกำลังอยากทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กันอยู่ใช่ไหม❓
แล้วรู้ไหม❓ ว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ง่ายต่อการส่ง จัดเก็บ แลกเปลี่ยนข้อมูล และน่าเชื่อถือ
วันนี้ ADTE by ETDA ขอเสนอ 5 คุณสมบัติของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตาม ขมธอ. 11 ของ สพธอ. มาแนะนำกัน จะได้เข้าใจและมั่นใจในการเปลี่ยนจากเอกสารกระดาษมาเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

✅1. มีความเป็นต้นฉบับและสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้ (Original Document)
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้เป็นพยานเอกสารในชั้นศาลนั้นมีความเป็นต้นฉบับแล้ว ซึ่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต้องสามารถรักษาความถูกต้องของข้อความ และแสดงข้อความในภายหลังได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

✅2. สามารถอ่านเข้าใจได้โดยบุคคล (Human Readable)
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำให้ผู้รับปลายทางอ่านเข้าใจได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าใจความหมายของข้อความที่แสดงนั้นได้

✅3. สามารถแลกเปลี่ยนข้อความที่ปรากฏหรืออยู่ในเอกสารได้ (Exchangeable)
ในกรณีที่ต้องนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องจัดเก็บในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ (Machine Processable) เช่น Extensible Markup Language (XML) หรือ Comma Separated Values (CSV) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

✅4. มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้องลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการรับรองข้อความโดยหน่วยงานที่มีอำนาจ ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข และสามารถนำข้อความดังกล่าวไปใช้ในการอ้างอิงได้ ซึ่งก็คือการใช้ลายมือชื่อดิจิทัลในการลงนามเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

✅5. มีการเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Enhancement)
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถเพิ่มมาตรการที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเอกสารได้ เช่น การจัดทำหมายเลขอ้างอิง การแสดงลายน้ำ
🔔ส่วนใครที่อยากเจาะลึกเรื่อง e-Document โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ 3 นั่นก็คือ สามารถแลกเปลี่ยนข้อความที่ปรากฏหรืออยู่ในเอกสารได้ (Exchangeable)
ADTE by ETDA ขอชวนมาร่วม Hands-On Workshop กันยาว ๆ ถึง 6 ชั่วโมงเต็ม กับหลักสูตร “𝗘-𝗗𝗢𝗖𝗨𝗠𝗘𝗡𝗧 𝗜𝗡 𝗣𝗥𝗔𝗖𝗧𝗜𝗖𝗘𝗦: สร้างได้ ทำเป็นกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ชั้น 15
✍️สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ที่ https://forms.office.com/r/MGSVcc2hj7
📌อ่านรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.etda.or.th/th/ADTE/E-Document-in-Practices.aspx
อย่าพลาด!! มาสร้าง e-Document ด้วย Hands-On Workshop ให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไปด้วยกัน
---------------------
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Inbox ADTE by ETDA
Mail: [email protected]
Tel: 02-123-1234 (จ - ศ เวลา 8.30 - 17.30 น.)
#คอร์สอบรม #ดิจิทัล #ตอบโจทย์ชีวิตดิจิทัลกับADTE

ความรู้เรื่องงาน " ไมใช่นายจ้าง ลูกจ้างกันแล้ว จะตามมาเลิกจ้างอีกได้หรือไม่"
04/04/2023

ความรู้เรื่องงาน " ไมใช่นายจ้าง ลูกจ้างกันแล้ว จะตามมาเลิกจ้างอีกได้หรือไม่"

เลิกจ้างแล้ว จะเลิกจ้างคนที่ไม่ใช่ลูกจ้างอีกได้อย่างไร

กฎหมายกำหนดว่าคนที่จะเลิกจ้างกันได้ต้องมีสถานะเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน ซึ่งนายจ้างคือคนที่รับลูกจ้างเข้าทำงานและตกลงจะจ่ายค่าจ้างให้ ส่วนลูกจ้างคือคนที่ตกลงทำงานเพื่อรับค่าจ้าง

หากมีการเิลกจ้าง อันหมายถึงการที่ "นายจ้าง" ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อ โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ ส่วนการเลิกจ้างอาจเป็นการเลิกจ้างโดยชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเลิกจ้างโดยปริยายคือมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้ลูกจ้างทำงานต่อก็ได้

ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละ พฤติการณ์อะไรบ้างที่ถือเป็นการเลิกจ้าง นี่คือสิ่งที่ต้องพยายามศึกษาหาความรู้ ซึ่งทางเพจก็ได้โพสพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้วหรือไม่เป็นประจำ

เมื่อนายจ้างเลิกจ้างแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างคนที่ไม่ใช่ลูกจ้างแล้วไม่ได้ เช่น โทรไปบอกว่าไม่ต้องมาทำงานแล้ว หรือมีหนังสือแจ้งว่าสัญญาจ้างสิ้นสุด เป็นต้น

เคยมีคดีที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันทำสัญญากันไปเรื่อย ๆ ทุกปีเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายการจ่ายค่าชดเชย ครั้นเมื่อครบสัญญานายจ้างเสนอทำสัญญาแต่ลูกจ้างต่อรองรับโบนัส กระทั่งครบกำหนดสัญญาแต่ตกลงกันไม่ได้ ต่อมานายจ้างยึดบัตรพนักงานและไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปกรณีดังกล่าวตามพฤติการณ์ถือเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างย่อมสินสุดลง

หลักจากเลิกจ้างแล้ว นายจ้างอ้างว่าลูกจ้างไม่มาทำงาน ๗ วัน จึงเลิกจ้างเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา ๑๑๙ (๕) ซึ่งศาลพิพากษาการละทิ้งหน้าที่ภายหลังการเลิกจ้างแล้วย่อมมีไม่ได้

ข้อสังเกต
การเลิกจ้างก็ดี การลงโทษก็ดี สิ่งเหล่านี้จะต้องกระทำในขณะที่ต้องมี "สถานะ" การเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน อย่างก็ตาม การไม่มีสถานะการเป็นลูกจ้างนายจ้างผลก็อาจทำให้กฎหมายไม่คุ้มครองอดีตลูกจ้าง เช่นนี้ การทำข้อตกลงทำสัญญาใด ๆ ก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองเช่นกัน โดยเฉพาะการตกลงว่าจะไม่เรียกร้อง หรือฟ้องร้องจากนายจ้าง

ความรู้เรื่องแรงงาน " มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับเพื่อนร่วมงานเลิกจ้างได้ "
04/04/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับเพื่อนร่วมงานเลิกจ้างได้ "

กรณีมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับเพื่อนร่วมงานนายจ้างก็อาจเลิกจ้างได้

กรณีนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ประการ คือ ก) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ข) ฝ่าฝืนระเบียบ ค) ฝ่าฝืนคำสั่ง ซึ่งทั้ง ๓ ประการนี้ได้กำหนดข้อห้าม หรือข้อให้ต้องปฏิบัติเอาไว้แต่ลูกจ้าง “ฝ่าฝืน”

การฝ่าฝืนอาจแบ่งออกเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจะต้องออกหนังสือตักเตือนก่อน แต่ถ้าร้ายแรงก็อาจเลิกจ้างได้

กรณีมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับเพื่อนร่วมงานในสังคมที่เจริญมากขึ้นมองว่าเป็นการใช้ความรุนแรง เป็นสังคมที่ไม่พึงปรารถนา

เคยมีคดีที่ลูกจ้างไปสอบถามเพื่อนร่วมงานว่าทำงานเสร็จหรือยัง เพื่อนร่วมงานไม่ตอบ ลูกจ้างจึงชกต่อยเพื่อนร่วมงานนั้นไป 2 ที การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง

ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ 2321/2540

-อบรมกฎหมายใหม่ ออนไลน์
และมีแบบฟอร์มที่ต้องทำแจก, ๑๐๐๐ บาท
เรื่อง การทำงานทางไกล work from home และ
สิทธิที่จะปฎิเสธการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง
๙ เมษายน ๒๕๖๖ ครึ่งวันเช้า สอบถามไลน์ไอดี labourlaw

04/04/2023

ความรู้เรื่องกฎหมาย "จอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น มีความผิด"

ความรู้เรื่อง 7 วิธีใช้ Mobile Banking ให้ปลอดภัย
04/04/2023

ความรู้เรื่อง 7 วิธีใช้ Mobile Banking ให้ปลอดภัย

✨7 วิธีใช้ Mobile Banking ให้ปลอดภัย ✨

#แบงก์ชาติ
--------------------------------
ช่องทางในการติดตามข่าวสารจากแบงก์ชาติ
Facebook : https://www.facebook.com/bankofthailandofficial/
Website : https://www.bot.or.th/
Twitter : https://twitter.com/bankofthailand
Instagram : https://www.instagram.com/bankofthailand.official/
Blockdit : https://www.blockdit.com/bankofthailand
LINE : https://lin.ee/P5xJWV2
LINE TODAY : https://today.line.me/th/v2/publisher/102833
YouTube : https://www.youtube.com/c/BankofThailandofficial

ความรู้เรื่องแรงงาน " ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้าน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง "
04/04/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้าน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง "

ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง!!

เรื่องบางเรื่องแม้ไม่พูด คำตอบก็อาจชัดเจนได้จากพฤติกรรม ก็เหมือนความรักนั่นแหละ ไม่พูดว่ารัก แต่ก็มีวิธีการแสดงออกหลายอย่างให้รู้ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม การรับรู้ของคนแตกต่างกัน พูดบ้างก็ดี อย่าวให้คิดเอง เพราะนี่เป็นคนคิดมาก ทั้งบวกมากลับมาก เอ๊ะ ..เข้าเรื่องนี้ได้ไงยังก่อนพี่ทนายยยย
กลับมาเข้าเรื่องก่อน เดี๋ยวไกลไปกว่านี้ เรื่องของเรื่องวันนี้คือ ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้เลิกจ้รางหรือยัง ไม่บอกตรงๆแต่ทำแบบนี้ ไม่เข้าใจ หรืออาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน

ในเรื่องนี้ เคยมีคดีแบบเดียวกันเลยในปี 62 ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2562 ว่า
นายจ้าง แสดงพฤติกรรมแนวๆเดียวกันนั้นและศาลตัดสินว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์เลิกจ้าง !!

“พฤติการณ์เลิกจ้าง” โดยพฤติการณ์ในคดีนี้คือ หลังสิ้นสุดการทำงานโครงการ บริษัทแจ้งลูกจ้างว่าไม่ต้องเข้ามาทำงานอีกและให้แต่ละคนกลับไปทำงานที่บ้านพร้อมคืนอุปกรณ์สิ่งของทั้งหมด และตัดลูกจ้างออกจากระบบข่าวสารทางอีเมลของบริษัทด้วย ต่อมา เมื่อถึงครบกำหนดวันจ่ายค่าจ้างบริษัทก็ไม่จ่ายค่าจ้างให้ “ในกรณีที่ไม่ให้งานและไม่ให้เงินเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว” ไม่ต้องบอกชัดเจนแต่ก็ชัดแจ้งด้วยพฤติกรรม

แต่อย่างที่เคยบอกไปว่าเวลาอ่านฎีกาเพื่อนำมาอ้างอิงกับเคสเราเอง อยากให้ลองอ่านฎีกาเต็ม และทำความเข้าใจก็ อย่าไปอ่านฎีกาโดยย่อเท่านั้น อาจเข้าใจผิดได้ ที่ให้ลองไปอ่านฎีกายาวดูเพราะฎีกานี้ในทางนำสืบ ทางลูกจ้างก็นำสืบได้ว่า ลูกจ้างยังคงรอการทำงานที่บ้านตามคำสั่งของบริษัท แต่ไม่ปรากฏว่าบริษัทไปประมูลงานใหม่มาเลย

ดังนั้นบริษัทก็ย่อมรู้ดีว่า หลังสิ้นสุดโครงการแล้วจะไม่มีงานให้ลูกจ้างทำอย่างแน่นอน
การที่บริษัทสั่งให้ลูกจ้างไปรอทำงานที่บ้าน โดยไม่มีระยะเวลาที่สิ้นสุดแน่นอนว่าจะให้เข้าทำงานเมื่อไหร่ พฤติการณ์ดังกล่าวทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า บริษัทไม่ประสงค์จะจ้างต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างจึงถือว่า เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแล้ว

ดังนั้นในคดีนี้ศาลจึงพิพากษาให้บริษัทต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้าง

อ้อออ และคนที่ inbox มาขอฎีกาเต็มจากโพสก่อนๆ อยากแนะนำว่า google เถอะแม่ ลองดูนะ
ไม่ได้หายากมากมาย ก่อนให้คนอื่นช่วย ลองช่วยตัวเองก่อน อันนี้ไม่ได้ประชด แต่อยากให้ลองหาดู และเรียนรู้เถอะว่าไม่มีใครช่วยเราได้ดีกว่าตัวเราเอง และถ้าเราเริ่มหาเป็น เสริจอะไรก็ง่าย ได้ข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจและให้ผู้บริหารพิจารณาแน่นอนค่ะ 😊

ติดต่องาน บรรยาย งานคดี ที่ปรึกษา
[email protected]

#แรงงาน #ลาออก #เจ้านาย #ลูกจ้าง #ลูกน้อง #ที่ปรึกษากฎหมาย #ค่าชดเชย #นายจ้าง #บริษัท #เลิกจ้าง #เงินเดือน #ออฟฟิศ #เงิน #ค่าแรงขั้นต่ำ #ประกันสังคม #ค่าจ้าง #ค่าชดเชยรายได้ #สัญญาจ้าง

ความรู้เรื่องแรงงาน " เลิกจ้างเพราะแสดงความเห็นในที่ประชุม จนทำให้กรรมการผู้จัดการได้รับความอับอาย"
03/04/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน " เลิกจ้างเพราะแสดงความเห็นในที่ประชุม จนทำให้กรรมการผู้จัดการได้รับความอับอาย"

เลิกจ้างเพราะ "แสดงความเห็นในที่ประชุม จนทำให้กรรมการผู้จัดการได้รับความอับอาย" สุดท้ายแพ้คดีต้องจ่าย ๕ ล้านกว่าบาท

การถกเถียงกันถือเป็นเรื่องปกติ การเห็นต่างไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าเมื่อใดที่ทุกคนเห็นเหมือนกันไปหมดนั่นละคือความแปลก

เคยมีคดีในกิจการที่ขายอาหารบนเครื่องบินแห่งหนึ่ง ได้เลิกจ้างประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินด้วยเหตุผลที่ว่า "แสดงความเห็นในที่ประชุม จนทำให้กรรมการผู้จัดการได้รับความอับอาย"

คดีนี้นายจ้างฟ้องว่าลูกจ้างมีความประพฤติและปฎิบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร คือ ปฎิบัติตนแย้งกับนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการเป็นประจำและต่อเนื่อง กระทำโดยตั้งใจและเจตนาทำให้กรรมการผู้จัดการได้รับความอับอายในที่ประชุมผู้บริหารทุกสัปดาห์ ประจำเดือนและประชุมกรรมการบริษัทมาตลอด สร้างความแตกแยกในองค์กร ไม่ยอมรับ Cod of Conduct มีพฤติกรรมเป็นปฎิปักษ์ต่อกรรมการผู้จัดการทั้งต่อหน้าและลับหลังในที่สาธารณะ

แต่ในทางนำสืบพบว่ามูลเหตุมาจากการพูดในที่ประชุม ส่วนข้ออ้างต่าง ๆ นา ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าไม่จริง หรือการพูดดังกล่าวก็ไม่ได้สร้างความแตกแยกในองค์กร แต่เป็นการแสดงออกเป็นเรื่อง "ของการทำงานในหน้าที่ที่มีความขัดแย้งกัน" ถือไม่ได้ว่าเป็นความประพฤติเสื่อมเสียถึงขั้นที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้เสียทันที กรณีจึงยังไม่มีเหตุอันสมควรและเหมาะสมเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้

การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงต้องจ่ายค่าเสียหาย ๕,๑๘๔,๐๐๐ บาท

ข้อสังเกต

๑)​ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าในทางกฎหมายไม่ยอมรับการนำเรื่องส่วนตัวมาเลิกจ้าง การถกเถียงบนโต๊ะประชุมก็ต้องจบที่โต๊ะประชุม ยิ่งคดีนี้เป็นกิจการที่ทำครัวสายการบิน กรรมการผู้จัดการไม่ใช่เจ้าของ หรือแม้แต่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างก็ไม่ใช่เจ้าของ การถกเถียงกัน ตรวจสอบกันจะยิ่งเป็นประโยชน์กับกิจการ

๒) ต้นทุนของการแคร์ความรู้สึกกรรมการผู้จัดการมีต้นทุนสูงมาก คำถามต่อมาต้นทุนเหล่านี้ใครรับผิดชอบ ต้องไม่ลืมว่าบริษัทที่เป็นบริษัทแม่ที่เป็นสายการบินเวลามีปัญหาก็ใช้ภาษีประชาชน ผลกระทบกับพนักงานส่วนใหญ่ก็มีมากเพราะนี่คือค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเรื่อง(ที่ทำให้ผลกำไรลดลง) พอกำไรลดลงมาก หรือขาดทุนก็มาเลิกจ้างพนักงานอีก น่าจะมีการฟ้องไล่เบี้ยความรับผิดจากคนที่ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้ควรเลิกจ้างหรือไม่

ที่มา: คําพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษที่ ๒๘๓๓/๒๕๖๓

เกร็ดความรู้คู่แรงงาน ตอน 76
03/04/2023

เกร็ดความรู้คู่แรงงาน ตอน 76

ตอนที่ 76 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
📚 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
หัวหน้างานร่วมดื่มสุรากับพนักงาน ในบริเวณพื้นที่ทำงาน โดยไม่ตักเตือนและรายงานนายจ้างทราบ ถือเป็นความผิดหรือไม่?

⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2566
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 ครั้งสุดท้ายตำแหน่งหัวหน้าแผนกฝ่ายผลิต เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 24 มกราคม 2564 โจทก์ไม่มีเจตนาทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการดื่มสุราในเวลาทำงาน ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า วันที่ 17 มกราคม 2564 พนักงานจำเลยนำสุราเข้ามาดื่มในพื้นที่ทำงานส่วนงานผลิตอลูนิเนียมในเวลาทำงานและมีการเปิดเพลงเสียงดัง โจทก์เป็นหัวหน้างานของพนักงานดังกล่าว ซึ่งมีตำแหน่งเป้นข่างเทคนิคฝ่ายผลิต ส่วนซ่อมบำรุง แต่โจทก์กลับดื่มสุราและปล่อยให้พนักงานดื่มสุราในขณะทำงานในสถานประกอบกิจการ โดยไม่มีการตักเตือนและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ทั้งโจทก์ยังหลับในเวลาทำงาน การกระทำของโจทก์เป็นความผิดตามข้อบังคับฯ ข้อ 7.1.1 (2) กระทำโดยประการใดให้การปฏิบัติงานล่าช้าโดยเจตนา เช่น หลับ (3) ละเลยหรือหลีกเลี่ยงการทำงาน (22) เสพสุราหรือนำสุราเข้ามาในสถานประกอบกิจการ...เมื่อโจทก์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกฝ่ายผลิต ส่วนซ่อมบำรุง วันเกิดเหตุโจทก์ดื่มสุราและปล่อยให้พนักงานซึ่งมีหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรที่สายการผลิตอลูมิเนียมดื่มสุราจนมีอาการมึนเมาบริเวณพื้นที่ทำงาน โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญเนื่องจากกิจการของจำเลยต้องใช้เครื่องจักรในการผลิต อาจเกิดอันตรายแก่พนักงานหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ง่าย พนักงานที่ทำงานส่วนงานดังกล่าวย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง แต่โจทก์กลับดื่มสุราในเวลาทำงานที่สถานประกอบกิจการทั้งไม่ตักเตือนผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษายืน
---------------------------------------
#กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#กสร
#กสรคุ้มครองสิทธิพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

คุยเฟื่องเรื่องแรงงาน Ep 44
03/04/2023

คุยเฟื่องเรื่องแรงงาน Ep 44

คุยเฟื่องเรื่องแรงงาน Ep.44

"โดนยิง โดนแทง โดนลูกหลง มาขอรับเงินได้ ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลยในคดีอาญา"
03/04/2023

"โดนยิง โดนแทง โดนลูกหลง มาขอรับเงินได้ ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลยในคดีอาญา"

ทราบหรือไม่ครับ โดนยิง โดนแทง หรือโดนลูกหลงสามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือได้

กระทรวงยุติธรรมช่วยคุณได้ถ้าโดนลูกหลง หรือบาดเจ็บ จากการกระทำผิดทางอาญาของผู้อื่น โดยที่ตัวเราไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุ สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ที่
1. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ภาค 1-4
2. สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
3. สถานีตำรวจทั่วประเทศ

อย่าลืมแบ่งปันสาระน่ารู้ในชีวิตประจำวันแบบนี้ให้เพื่อนและคนรู้จักได้ทราบกันด้วยนะครับ ^^

#สำนักงานกิจการยุติธรรม #ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนจำเลยในคดีอาญา

ความรู้เรื่องแรงงาน
29/03/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน

ตอนที่ 75 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
📚 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน
นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างส่งรายงานก่อนเวลาปฏิบัติงานปกติ แต่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตาม ถือเป็นความผิดหรือไม่?

⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2556
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามที่จำเลยอ้าง ถือเป็นการ
เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 804,341.34 บาท และเงินอื่นๆ พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโสฝ่ายผลิต ต้องทำงาน 08.00-17.00 น. แต่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งด้วยวาจาให้โจทก์ส่งรายงานประจำวันในเวลา 7.55 น. ซึ่งรายงานดังกล่าวเป็นเพียงแต่ข้อเท็จจริงที่หัวหน้างานบันทึกไว้ในหนังสือประจำแผนกมาลงไว้ในแบบรายงานแล้วส่งผู้บังคับบัญชา หากโจทก์ส่งด้วยตนเองไม่ทันก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาส่งแทน นอกจากนี้การปฏิบัติงานของพนักงานจำเลยก่อนเวลาปฏิบัติงานเพียงการขอความร่วมมือจากพนักงานไม่ใช่คำสั่ง หากไม่ปฏิบัติตาม
ก็ไม่มีโทษ และหากโจทก์มาส่งรายงานด้วยตนเองเพียงแต่ทำให้ผู้บังคับบัญชาไม่สะดวกที่จะซักถามข้อเท็จจริงเท่านั้น คำสั่งที่จำเลยให้โจทก์ส่งรายงานก่อนเวลาปฏิบัติงานปกติไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนของจำเลยในสาเหตุดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการที่หัวหน้าแผนกอาวุโสฝ่ายผลิตต้องส่งรายงานประจำวันก่อนเวลา 08.00 น. เป็นสิ่งที่ปฏิบัติมานานเป็นประเพณีและวัฒนธรรมองค์กร เมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลไม่รับวินิจฉัย
---------------------------------------
#กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#กสร
#กสรคุ้มครองสิทธิพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

ความรู้เรื่องแรงงาน
29/03/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน

นายจ้างส่งไปอบรม แต่ไม่อยู่ทำงานตามสัญญา นายจ้างฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ แต่จะหักเอาจากค่าจ้างไม่ได้

งานบางอย่างต้องใช้ทักษะหรือฝีมือ เพื่อเป็นการพัฒนายกระดับฝีมือของลูกจ้างนายจ้างก็อาจใช้วิธีการฝึกอบรม หรือส่งไปเรียนคอร์สต่าง ๆ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถปฎิบัติงานได้ เช่น นายจ้างเป็นสถานเสริมความงาม หรือเป็นธุรกิจสปาร์ จะต้องฝึกให้พนักงานสามารถแต่งเล็บ หรือต่อขนตา หรือมีทักษะการเสริมสวย เป็นต้น

ปัญหาว่าเมื่อมีสัญญาแล้วลูกจ้างไม่อยู่ทำงานตามสัญญา กรณีดังกล่าวนายจ้างจะทำอะไรได้บ้างอาจพิจารณาเป็นข้อ ๆ ดังนี้

๑) นายจ้างสามารถทำสัญญาให้ต้องอยู่ทำงานกับนายจ้างได้ เช่น ต้องกลับมาทำงานอย่างน้อย ๒ ปี หากออกก่อนจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย

๒) นายจ้างทำสัญญาให้รักษาความลับทางการค้าได้โดยเฉพาะเทคนิคการปฎิบัติงานที่ได้อบรมเรียนรู้มา หากฝ่าฝืนก็อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

๓) หากลูกจ้างไม่ปฎิบัติตามสัญญาทั้งข้อ ๑ และข้อ ๒ นายจ้างก็อาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่หากค่าเสียหายสูงเกินไปศาลอาจปรับลดลงได้เพราะตามกฎหมายเรียกค่าเสียหายว่า "เบียปรับ" ซึ่งเป็นอำนาจศาลที่ลดได้

๔) นายจ้างจะหักเงินดังกล่าวจากค่าจ้างไม่ได้ เพราะมาตรา ๗๖ ห้ามมิให้หักค่าจ้าง หนทางเดียวที่นายจ้างทำได้คือ ไปฟ้องร้องเอา

ที่มา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕/๒๕๖๓

ความรู้เกี่ยวกับแรงงาน
27/03/2023

ความรู้เกี่ยวกับแรงงาน

ทำงานด้วยอารมณ์เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!!

จากคำถามหลังบ้านวันนี้ก็เป็นคำถามที่อ้างอิงว่าหัวหน้างานรายนึงเป็นคนใช้อารมณ์ทำงานทำให้ลูกน้องไม่อยากร่วมงานด้วยเลย และแผนกอื่นๆก็ไม่ประสงค์จะติดต่อการงานด้วยถ้าไม่จำเป็น ทำให้เกิดความลำบากในการติดต่อประสานงานเป็นอย่างมาก ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่คะ??

สำหรับความเห็นของเราเอง เรามองว่าในกรณีนี้หากเพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะร่วมงานด้วยทำงานด้วยก็ลำบากและมีหลักฐานแน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนหรือการสอบถาม ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีหลักฐานแน่นอน ก็สามารถเลิกจ้าง โดยไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด แต่ยังต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากว่าไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานที่จะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

(มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก)

ส่วนถ้าใครเกิดคำถามว่าความเห็นข้างต้น มีแหล่งที่มาหรือเทียบเคียงคำพิพากษาใดบ้าง ความเห็นข้างต้นนี้เรา เทียบเคียงตามคำพิพากษาที่ 2575/2524 ค่ะ .. เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันใครสนใจลองไปเปิดหาอ่านดูได้นะคะ

#ประกันสังคม #ออฟฟิศ #ฝึกงาน #ทดลองงาน #เงินเดือน #เลิกจ้าง #วิทยากรPDPA #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #วิทยากรอารมณ์ดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ไล่ออก #ลาออก #แรงงาน #ที่ปรึกษาPDPA

ความรู้เรื่องแรงงาน
27/03/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน

ลูกจ้างพิมพ์ข้อความต่อว่า เสียดสี ใช้ถ้อยคําไม่สุภาพถึงนายจ้างผ่านแอปพลิ
เคชันไลน์ ถือได้ว่าลูกจ้างมีความผิด มีสิทธิถูกเลิกจ้างหรือไม่ ?
คําตอบคือ การพิมพ์ข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ ต่อว่าเสียดสีนายจ้าง โดย
ใช้ถ้อยคําไม่สุภาพ ไม่เคารพเกรงยําเกรงต่อนายจ้าง ซึ่งอาจทําให้ผู้อื่นขาด
ความเชื่อถือเคารพนายจ้าง ถือเป็นการกระทําที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของ
ลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตที่ลูกจ้างที่ดีพึงกระทํา นายจ้างสามารถ
เลิกจ้างโจทก์ได้ โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ขอคําปรึกษากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ในช่องทางต่อไปนี้
– สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3
– Line OA :
– FB : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#นายจ้างลูกจ้าง
#พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

ความรู้เรื่องแรงงาน
27/03/2023

ความรู้เรื่องแรงงาน

นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะต้องการกําหนดนโยบายให้มีการเกษียณอายุ และ
หาคนรุ่นใหม่มาทํางานทดแทน ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ ?
คําตอบคือ กรณีลูกจ้างสูงอายุ แต่ไม่ปรากฏว่าลูกจ้างสุขภาพไม่แข็งแรงหรือ
หย่อนสมรรถภาพอันเป็นอุปสรรคต่อการทํางานในหน้าที่ และนายจ้างไม่มีการ
กําหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเลิกจ้างลูกจ้าง จึงไม่มี
เหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขอคําปรึกษากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ในช่องทางต่อไปนี้
– สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3
– Line OA :
– FB : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
#นายจ้างลูกจ้าง
#พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

26/03/2023

#รับจ้างเปิดบัญชี - เปิดบัตร - เปิดเบอร์ - เปิดแอพ - ติดคุกหลายปี ปรับหลายแสน
https://justicechannel.org/new-laws/newlaw52-2
พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้วันนี้ (17 มีนาคม 2566) ซึ่งปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีหลอกลวง ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เสียทรัพย์สินจำนวนมาก และมิจฉาชีพได้โอนทรัพย์สินที่ได้จากการทำความผิดผ่านบัญชีเงินฝากของคนอื่น ต่อไปเป็นทอด ๆ ผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตร ATM บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีเงินอิล็กทรอนิกส์ (แอปพลิเคชันธุรกรรมทางการเงิน เช่น แอปพลิเคชันธนาคาร แอปพลิเคชันทรูมันนี่วอลเลต รวมถึงแอปพลิเคชันผู้ประกอบธุรกิจที่มีการชำระค่าบริการต่างๆ ) อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออำพรางการทำความผิด
#อาชญากรรมทางเทคโนโลยี คือ การกระทำหรือพยายามกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
#มาตรา9 ผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยไม่ได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้ *โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาเทคโนโลยี
หรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
#มาตรา10 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้
ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 2 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 แสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
#มาตรา11 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อ
หรือขายเบอร์โทรศัพท์มือ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 - 5 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น จึงอยากเตือนให้หยุดและช่วยกันเป็นกระบอกเสียงไปยังคนใกล้ชิดและคนที่มีพฤติกรรมรับจ้างเปิดบัญชี เปิดซิมมือถือ ฯ เพราะถ้ามีการตรวจสอบแกะรอยพบเส้นทางการเงินของแก๊งมิจฉาชีพ เจ้าของบัญชีเงินฝากที่เป็นผู้เปิดบัญชี อาจถูกดำเนินคดีฐานเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนการทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 หรือ มาตรา 86
ซึ่งในกรณีที่ควรรู้ได้ว่า บัญชีดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิด เจ้าของบัญชีจะมีความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 อีกด้วยนะครับ
พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 (มาตรา 9, 10, 11)https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A018N0000000000100.pdf
- ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 83, 86) https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf
- พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 (มาตรา 5, 60) https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=609499&ext=pdf

ที่อยู่

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กลุ่มกฎหมาย ชั้น 5 ถนนมิตรไมตรี ดินแดง
Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6622483867

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กลุ่มกฎหมาย กรมพัฒนาฝีมือแรงงานผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง กลุ่มกฎหมาย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน:

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

ขอความร่วมมือหน่อยนะคะ

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขอโทษนะคะลูกจ้างทำงานไม่มีวันหยุดผิดกฏหมายหรือป่าวคะ
ผมทำงานวันอาทิตย์ช่วงโอทีฟลังห้าโมงเค้าไม่บวกให้ผมงานผมก้อต้องทำให้เค้าให้เสดแต่เค้าไม่ให้โอสองบวกครับ
ยากแจ้งแรงงานตางดาวไม่มีเอกกสารคัพ แล้หนายจ้างไลออกโดยสาเหตุไม่เพียงพอและไม่ไห้เงินเดือนเงินปะกันคัพ
ทำงานเป็นช่างโรงแรมมาหลายปี ซ่อมบำรุงทั่วไปและเครื่องเย็นในอาคาร แต่ใบผ่านงานไม่ได้ระบุว่า ซ่อมไฟฟ้าเฉพาะทาง และไม่ได้จบไฟฟ้าโดยตรง พอดีส่งเอกสารจะสอบวัดฝีมือแรงงานทางอาจารย์ที่เปิดอบรมบอกว่าเอกสารไม่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ต้องทำไง รึว่าต้องไปเรียนใหม่
ตรกลงค่าเเรงวันที่5ของทุกเดือนแต่บริษัทขอเลื่อนเงินออกเป็นวันที่10เเต่เงินไม่ค่อยอยากจ่ายเเบบนี้สมควนเลื่อนเป่าครับ
ไม่ได้ทำอะไรผิดถูกหัก7ีมีด้วยหรือ
ผมอยากรู้จังทำอะไรผิดก็ไม่ได้ทำแต่ถูกหักเจ็ดแรงมีด้วยหรือครับที่อยุธยาต่างด้าวก็ไม่ใช้คนไทยชัดๆบัตรประชาชนก็มี
รบกวนสอบถาม เกียวกับเรื่องค่าเเรง การเชื่อมด้วยเเก๊ส (เชื่อมท่อความเย็นตู้เย็น) ค่าเเรงจะขึ้นมัยครับ

#}