Clicky

กองประมงต่างประเทศ Fisheries Foreign Affairs

กองประมงต่างประเทศ Fisheries Foreign Affairs กองประมงต่างประเทศ กรมประมง
Fisheries Foreign Affairs Division

เปิดเหมือนปกติ

วันที่ 5-7 ธันวาคม 2565 ณ เมืองอิโลอิโล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรมประมงมอบหมายให้นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประม...
08/12/2022

วันที่ 5-7 ธันวาคม 2565 ณ เมืองอิโลอิโล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรมประมงมอบหมายให้นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมทั้งนางสาวภัทรภร จิตอนุตรโชติ หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือพหุภาคีและองค์กรระหว่างประเทศ และผู้แทนกองประมงต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการโครงการของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 45 (The 45th Meeting of the SEAFDEC Prpgrame Committee: 45th PCM) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกรับทราบความก้าวหน้าและพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการของ SEAFDEC ให้เป็นไปตามที่ทิศทางที่ประเทศสมาชิกกำหนด

โดยประเทศไทยได้ร่วมผลักดันและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ SEAFDEC ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน กว่า 40 โครงการ ซึ่งครอบคลุมประเด็นตั้งแต่การเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม สถิติภาคการประมง การทำประมงอย่างรับผิดชอบ ด้วยการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และการใช้โปรแกรมที่เหมาะสม การเสริมสร้างการจัดการทรัพยากรประมงทะเลและน้ำจืด การเสริมสร้างการจัดการประมงขนาดเล็ก การเพิ่มขีดความสามารถด้านการติดตามและการลดขยะทะเลจากภาคการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบการจัดการสุขภาพและลดต้นทุน การเสริมสร้างความปลอดภัยของอาหารและการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ประมงและอาหารทะเล การใช้ประโยชน์จากเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC 2 รวมทั้งโครงการภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศและพันธมิตรอื่น ๆ อาทิ FAO, UNEP/GEF, USAID/RDMA และ WWF

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอินทรี ชั้น 4 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมงนายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประม...
06/12/2022

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอินทรี ชั้น 4 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนางชวนพิศ จันทรวราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ Mr. Maximilian Pottler หัวหน้าแผนกส่งเสริมการย้ายถิ่นแรงงานข้ามชาติและบูรณาการทางสังคม Ms. Aleksandra Lasota หัวหน้างานฝ่ายการโยกย้ายถิ่นฐาน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration : IOM) เข้าแนะนำโครงการ กิจกรรม ตลอดจนหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อแนวทางความร่วมมือในอนาคตด้านแรงงานประมง
โดยการเข้าหารือในวันนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินงานของกรมประมง ข้อท้าทายที่แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงต้องพบเจอ ตลอดจนความคืบหน้าของการสรรหาแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมง และข้อคิดเห็นของกรมประมงที่มีต่อสถานการณ์สรรหาแรงงานและการจ้างงานแรงงานข้ามชาติในภาคประมงในปัจจุบัน ประเด็นและการร้องขอที่กรมประมงขอให้ IOM ให้การสนับสนุนการทำงานด้านแรงงานแก่กรมประมง และประเด็นหารืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
#กรมประมง
#นายถาวรทันใจรองอธิบดีกรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
#กองประมงต่างประเทศ

การประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืน...🐟 รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมชวน รัตนมังคลานนท์) มอบหมายให้กรมประมง โดยผู้เชี่ยวช...
01/12/2022

การประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืน...🐟
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมชวน รัตนมังคลานนท์) มอบหมายให้กรมประมง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประมง (นางเพราลัย นุชหมอน) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมหารือระดับสูงด้านการประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืน ในการประชุม Tuna 2022 ระหว่างวันที่ 11 – 13 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมแชงกรี - ลา กรุงเทพฯ โดยมีผลลัพธ์ของการหารือ ดังนี้
(1) เรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศปลายทางที่เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดภาษีการนำเข้าให้แก่ประเทศผู้แปรรูปและประเทศผู้ผลิตปลาทูน่าที่ทำประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคแปซิฟิกได้นำเงินส่วนต่างไปใช้ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนประมงท้องถิ่นและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(2) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่าให้มีความยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาติ (UN) และข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในทะเล ตลอดจนส่งเสริมความอยู่ดีกินดีของชุมชนประมงชายฝั่ง และสนับสนุนให้ปลาทูน่าเป็นแหล่งอาหารที่ทุกคนสามารถจับต้องได้
(3) เน้นย้ำให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จในการทำประมงอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมปลาทูน่า
(4) ปลาทูน่าแปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปลาทูน่าแปรรูปยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงตลาดสดได้ แต่ปัจจุบันสินค้าปลาทูน่ากลับถูกด้อยค่าในตลาดโลก
(5) แสดงความกังวลต่อโครงการริเริ่มการปิดทำการประมงในมหาสมุทร เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชากรและเขตเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการทำประมงปลาทูน่า และไม่ได้ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และการจัดการสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับชนิดพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นสูง เช่น ปลาทูน่า
(6) เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เป็นหมู่เกาะให้ร่วมมือกันลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการผลิตสัตว์น้ำในภาคการประมง และความมั่นคงทางอาหาร
(7) ยืนยันที่จะแสดงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated: IUU) การปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า (Port State Measures Agreement: PSMA) และแนวปฏิบัติในการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Voluntary Guidelines on Transhipment) รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการตรวจสอบย้อนกลับในภาคประมง การบันทึกและรายงานข้อมูลการจับสัตว์น้ำ (Catch Documentation Schemes: CDS) การตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง (Monitoring Control and Surveillance: MCS) การแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจับสัตว์น้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าว่าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าได้มาจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
(8) ยินดีที่จะจัดทำความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศที่มีความมุ่งมั่นในการผลิตปลาทูน่าอย่างยั่งยืน เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัตถุดิบปลาทูน่าที่มาจากการประมงที่ผิดกฎหมายเข้าสู่ตลาดโลก
(9) มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organisations: RFMOs) เพื่อสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรประมง และต่อต้านการทำประมง IUU และ
(10) เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูล การตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง (MCS) เพื่อป้องกันการทำประมง IUU
✨ติดตามข่าวสารกองประมงต่างประเทศได้ที่

https://www4.fisheries.go.th/foreign
#กองประมงต่างประเทศ
#กรมประมง

วันที่ 29-30 พ.ย. 65 คณะผู้แทนไทยจากกองประมงต่างประเทศ กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง และกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ...
30/11/2022

วันที่ 29-30 พ.ย. 65 คณะผู้แทนไทยจากกองประมงต่างประเทศ กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง และกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต ได้เข้าร่วมการประชุม Regional Workshop to Exchange Information on Catch Documentation Scheme and Traceability of Fish and Fishery Products จัดโดยศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค ได้แก่ FAO, USAID, SALT, CCAMLR และ IOTC เข้าร่วมการประชุม โดยประเทศไทยได้นำเสนอระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงที่มาจากการทำประมงโดยเรือที่ชักธงไทยและการนำเข้าสัตว์น้ำจากเรือต่างชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมายเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตของประเทศไทย และได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงและระบบการบันทึกข้อมูลการจับสัตว์น้ำในระดับภูมิภาคอาเซียน

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมงนายประพันธ์ ลีปายะค...
30/11/2022

เมื่อ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาการดำเนินการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีของอาเซียน (ASEAN Good Aquaculture Practices) ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบการประชุม Hybrid Meeting ร่วมกับผู้แทนจากสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือพิจารณาการดำเนินการที่จำเป็นจากการประชุม EWG-ASEAN GAqP ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 - 18 พฤษภาคม 2565 ที่สำคัญ อาทิ การจัดทำคู่มือขั้นตอนการเทียบเคียงมาตรฐาน ASEAN GAqP for Food Fish (ฉบับทบทวน) กับมาตรฐานระบบการผลิตสัตว์น้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน, การขอความร่วมมือคณะ ASEAN FOOD Testing Laboratory Committee (AFTLC) ในการจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทดสอบสารตกค้าง ตามมาตรฐานสากล, ร่างคำสั่งกรมประมง เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการดำเนินการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีของอาเซียน (ASEAN Good Aquaculture Practices) และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
#นายประพันธ์ลีปายะคุณรองอธิบดีกรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สัมพันธ์
#กรมประมง
#กองประมงต่างประเทศ

Photos from กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง's post
30/11/2022

Photos from กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง's post

30/11/2022

กรมประมง...ชี้แจง ! การบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเล
ยึด 3 หลัก “กฎหมาย วิชาการ และสังคม”
30 พ.ย.นี้ พร้อมหารือประมงพื้นบ้าน - พาณิชย์ เพื่อหาทางออกร่วมกัน

นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวระบุว่า มาตรการประมงไทย หลังปลดใบเหลือง IUU ได้เมื่อปี 2562 ไม่มีการควบคุมสัตว์น้ำวัยอ่อน ตามมาตรา 57 แห่ง พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เอื้อประมงพาณิชย์ หวั่นปีหน้า ประมงไทยจะโดนใบเหลืองซ้ำ กรมประมงจึงขอชี้แจงประเด็นดังกล่าวดังนี้
กรมประมงมีการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของชาวประมง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนตามหลักสากล โดยได้แบ่งทรัพยากรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) สัตว์น้ำหน้าดิน จับได้จากอวนลากเป็นหลัก 2) ปลาผิวน้ำ จับได้จากอวนล้อมจับเป็นหลัก และ 3) ปลากะตัก จับได้จากอวนล้อมจับปลากะตัก และอวนครอบ/ช้อน/ยกปลากะตัก เป็นหลัก ปัจจุบันมีเรือประมงพาณิชย์ 9,608 ลำ และเรือประมงพื้นบ้าน 50,012 ลำ โดยในปี 2564 มีผลจับสัตว์น้ำทั้งหมด 1,297,000 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำเศรษฐกิจซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่สามารถนำมาบริโภคได้โดยตรง หรือนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เท่ากับ 978,000 ตัน หรือร้อยละ 75.4 ของผลจับสัตว์น้ำทั้งหมด และสัตว์น้ำขนาดเล็กที่เรียกว่าปลาเป็ด เท่ากับ 319,000 ตัน หรือร้อยละ 24.6 (ประกอบด้วยปลาเป็ดแท้ ปลากะตัก และสัตว์น้ำวัยอ่อน) ซึ่งผลจับสัตว์น้ำจากอวนลากแบ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และปลาเป็ด โดยปลาเป็ดประกอบไปด้วยสัตว์น้ำ 3 ส่วน คือ 1) ปลาเป็ดแท้ หมายถึง สัตว์น้ำที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วยังมีขนาดเล็กอยู่ ซึ่งไม่นิยมนำมาบริโภค 2) ปลากะตัก เป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก ความยาวลำตัวสูงสุด 8-9 เซนติเมตร นิยมนำมาทำน้ำปลา และ 3) สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน ซึ่งสามารถเจริญเติบโตเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ ในปี 2564 ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากอวนลากในน่านน้ำไทยเท่ากับ 554,600 ตัน แบ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 262,300 ตัน และปลาเป็ด 292,300 ตัน โดยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนประมาณ 190,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 34.3 ของผลจับสัตว์น้ำทั้งหมดจากอวนลาก ส่วนอวนล้อมจับ อวนล้อมจับปลากะตัก และอวนครอบ/ช้อน/ยกปลากะตัก มีผลจับปลาเป็ดรวมกัน 22,635 ตัน ทั้งนี้ สัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ปลาทู พบว่า ปริมาณการจับปลาทูในน่านน้ำไทยเฉลี่ยรอบ 10 ปี (ปี 2551-2560) เท่ากับ 94,458 ตัน โดยในปี 2563 และ 2564 มีปริมาณการจับปลาทู 26,562 และ 31,810 ตัน ตามลำดับ ส่วนในปี 2565 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการจับปลาทูไม่ต่ำกว่า 42,000 ตัน แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการจับปลาทูมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ในส่วนของการอนุรักษ์สัตว์น้ำขนาดเล็กตามมาตรา 57 นั้น กรมประมง และทุกภาคส่วนมีความพยายามที่จะหาแนวทางดำเนินการหาทางออกร่วมกันมาโดยตลอด โดยที่ผ่านมา เมื่อปี 2563 ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการกำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก เพื่อกำหนดชนิดและขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และหลักเกณฑ์ในการกำหนดร้อยละของสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตามมาตรา 57 และ 71 (2) สำหรับเป็นแนวทางในการประกาศกำหนดการจับ หรือการนำสัตว์น้ำขนาดเล็กขึ้นเรือประมง และในช่วงปี 2564 – 2565กรมประมงนำข้อมูลจากการศึกษาของคณะทำงานไปประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ข้าราชการและสมาคมประมงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ได้นำมาเสนอคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์และการประมงนอกน่านน้ำไทย และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติที่เหมาะสมที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง
กระทั่ง ล่าสุดกรมประมงได้เสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กตามมาตรา 57 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 โดยมีการนำเสนอข้อมูล ทั้งเรื่องของความเป็นมาในการดำเนินตามมาตรา 57 การรับฟังความคิดเห็นมาตรการในการจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำขนาดเล็กที่บังคับใช้ในปัจจุบัน เช่น การประกาศมาตรการปิดอ่าว ในช่วงฤดูกาลสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัววัยอ่อน การกำหนดห้ามมิให้อวนล้อมจับที่มีขนาดตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตรทำการประมงในเวลากลางคืน การกำหนดขนาดตาอวนก้นถุงของเรืออวนลากไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร การกำหนดขนาดตาอวนครอบหมึกไม่น้อยกว่า 3.2 เซนติเมตร การกำหนดขนาดตาอวนครอบปลากะตักไม่น้อยกว่า 0.6 เซนติเมตร และการกำหนดตาอวนของลอบปูไม่น้อยกว่า 2.5 นิ้ว และบทกำหนดโทษฯ ซึ่งมีโทษปรับต่ำสุด 10,000 บาท กรณีเรือพื้นบ้านขนาดเล็ก และสูงสุดถึง 30 ล้านบาท กรณีเรือตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป และถือว่าเป็นการทำการประมงโดยฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง ที่อาจถูกคำสั่งทางปกครองให้เพิกถอนใบอนุญาตและมีผลถึงการขอใบอนุญาตในรอบปีการประมงถัดไป อีกทั้ง ผลการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในปัจจุบันพบว่า การลงแรงประมงลดลงและอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับการลงแรงประมงที่ให้ผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (msy) นั่นคือไม่อยู่ในสภาวะการทำประมงเกินกำลังการผลิต (Overfishing)
โดยในการแก้ปัญหาการคุ้มครองสัตว์น้ำวัยอ่อน กรมประมงจะเร่งดำเนินมาตรการใน 3 แนวทาง ดังนี้ 1) โครงการนำเรือออกนอกระบบ กลุ่มเรือ 1,434 ลำ เพื่อลดการลงแรงประมง 2) การปรับปรุงประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู และ 3) การปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับการกำหนดขนาดตาอวน เช่น การกำหนดขนาดตาอวนทั้งผืนให้มีขนาดตาอวนไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร เพื่อเป็นการลดการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นต้น มาตรการดังกล่าวเหล่านี้จะทำให้สามารถลดการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กได้ในภาพรวมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่จะถึงนี้ กรมประมงได้เชิญผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามาหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาหาแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงอยากขอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
รองอธิบดีฯ กล่าวสรุปสุดท้าย ว่าในการต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมาย รัฐบาลได้มีความร่วมมือกับสหภาพยุโรป มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กลไกคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับสหภาพยุโรปในการต่อต้านการประมง IUU ภายหลังจากการปลดใบเหลืองของไทยเมื่อปี 2562 โดยคณะทำงานได้มีการพูดคุยหารือกันในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมง IUU ได้แก่ กรอบกฎหมาย การบริหารจัดการกองเรือและทรัพยากรประมง การติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวัง การบังคับใช้กฎหมาย และการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและการทำการประมงของชาวประมงไทยต่อไป โดยยึดหลักทางกฎหมาย วิชาการ และสังคม ตามมาตรฐานสากล ดังคำที่ว่า “ทรัพยากรอยู่ได้ ชาวประมงอยู่ได้” ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมทูน่า ชั้น 6 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมงนายถาวร ทันใจ รองอธิบดีก...
28/11/2022

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมทูน่า ชั้น 6 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง

นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในคลัสเตอร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมีหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล ได้แก่ กองประมงต่างประเทศ, กองนโยบายและแผนการพัฒนาประมง, กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ, กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต, กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง และ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมวางแผนดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพัฒนาแนวทางการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบและช่องทางต่าง ๆ ให้มีหลากหลายมากขึ้น ตามนโยบายของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์กรมประมง ในการพัฒนานโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ต่อไป

#นายถาวรทันใจรองอธิบดีกรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
#กรมประมง
#กองประมงต่างประเทศ

Photos from กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง's post
28/11/2022

Photos from กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง's post

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง และผ่านระบบออนไลน์ นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยก...
25/11/2022

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง และผ่านระบบออนไลน์ นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ เป็นประธานการประชุม หารือการดำเนินงานของผู้ประสานงาน Global Record of Fishing Vessels, Refrigerated Transport Vessels and Supply Vessels (Global Record) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามมาตรการ Agreement on Port State Measures to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing หรือ PSMA ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีผู้แทนจากกองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกองประมงต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมหารือ

การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อมูลเรือประมง เรือขนถ่าย และเรือสนับสนุนการประมงของประเทศไทยที่มีขนาด 100 ตันกรอสขึ้นไปและดำเนินกิจกรรมนอกน่านน้ำไทย รวมทั้งกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในสังกัดกรมประมงที่จะเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลเพื่ออัพโหลดในระบบ Global Record และหน่วยงานผู้กรอกข้อมูลเรือในระบบ Global Record ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้าน Global Record ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 65 ณ จ.ชลบุรี คณะผู้แทนจากกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยหัวหน้าศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) จ....
23/11/2022

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 65 ณ จ.ชลบุรี คณะผู้แทนจากกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยหัวหน้าศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) จ.ชลบุรี และเจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมการจัดหางาน ได้นำคณะผู้แทนจากมูลนิธิไอเจเอ็ม (International Justice Mission Foundation: IJM Foundation) และสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าเยี่ยมชมและร่วมสังเกตการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของชุดสหวิชาชีพในตรวจแรงงานในเรือประมง ณ ด่านตรวจประมงส่วนหน้าแสมสาร ศูนย์ PIPO จ.ชลบุรี

จากนั้นคณะเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค การดำเนินการตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางในการปรับปรุงการตรวจแรงงานในภาคประมงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในภาคประมงในอนาคต

วันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่าง...
23/11/2022

วันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานงาน RPOA-IUU ครั้งที่ 15 ประจำปี 2565 (The 15th RPOA-IUU Coordination Committee Meeting 2022) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนายกมลพันธ์ อวัยวานนท์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ในฐานะผู้ประสานงานหลักของประเทศไทย (RPOA-IUU National Focal Point of Thailand) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองกฎหมาย กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ และ กองประมงต่างประเทศ เป็นคณะผู้แทนไทย

การประชุมดังกล่าวมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม จำนวน 11 ประเทศ โดยประเทศไทยได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานด้าน IUU ให้ที่ประชุมรับทราบ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานของประเทศไทยร่วมกับประเทศสมาชิกภายใต้แผนงาน RPOA-IUU ประจำปี 2566 และส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง RPOA-IUU กับองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง มอบหมายให้ นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผ...
22/11/2022

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น.
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง มอบหมายให้ นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยผู้แทนจากกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง และกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้การต้อนรับผู้แทนจากบริษัท Kawamura Shokai Co., Ltd. ซึ่งขออนุญาตเข้าพบหารือและสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสุขอนามัยในอุตสาหกรรมอาหารและตลาดอาหารในส่วนของสินค้าประมงเพื่อป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการสุขอนามัยในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะโรงงานแปรรูปและตลาดสด ซึ่งมุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการสุขอนามัยของอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “SDGs Business Model Formulation Survey with the Private Sector for Prevention of Food Poisoning etc. by Strengthening Hygiene Management of Food Industry in Thailand” ซึ่งได้มีการประสานงานผ่าน JICA โดยบริษัท Kawamura Shokai Co., Ltd. ได้มีการนำเสนอการใช้ผลิตภัณฑ์ Aqua Riser ซึ่งเป็นเครื่องผลิตสาร electrolysis hypochlorous acid ที่เป็นมิตรกับผู้คนสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาเป็นทางเลือกในการจัดการสุขอนามัยอาหารของประเทศไทยอีกด้วย
#กรมประมง
#กองประมงต่างประเทศ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมยี่สก ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง  นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์  ...
22/11/2022

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมยี่สก ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ ในการประชุม High - Level Meeting on Aquaculture Transformation in the Asia and the Pacific Region ซึ่งจัดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระหว่างวันที่ 22 – 23 พฤศจิกายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนางสาวพิชญา ชัยนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และนายบุรฉัตร จันทการนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด รวมถึงผู้แทนกองประมงต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม
โดยอธิบดีกรมประมงได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ (Keynote Presentation) เรื่อง "ยุทธศาสตร์และการริเริ่มพลิกโฉมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย" ประกอบด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) ภารกิจสำคัญของประเทศไทยในการพลิกโฉมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (2) การริเริ่มที่สำคัญด้านนวัตกรรมและการลงทุนในภาคส่วนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ (4) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาในอนาคตด้านนวัตกรรมและการลงทุน รวมถึงหุ้นส่วนของภาครัฐและเอกชน
วัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าวเพื่อเปิดเวทีให้แก่ผู้แทนระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกำหนดลำดับความสำคัญด้านนโยบาย นวัตกรรม และการลงทุน เพื่อการพลิกโฉมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซอฟิค ให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2030
ทั้งนี้ FAO ได้จัดทำร่างสมุดปกขาวด้านการพลิกโฉมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเด็นด้านนวัตกรรมและการลงทุนในการเพิ่มความเข้มแข็งและขยายผลอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (White Paper on aquaculture transformation: Innovation and investment for sustainable intensification and expansion of aquaculture in Asia and the Pacific region) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อร่างเอกสารดังกล่าวและกิจกรรมที่ควรเร่งดำเนินการในอนาคต
#นายเฉลิมชัยสุวรรณรักษ์อธิบดีกรมประมง
#กรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
#กองประมงต่างประเทศ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. อธิบดีกรมประมงได้มอบหมายให้นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ ...
22/11/2022

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. อธิบดีกรมประมงได้มอบหมายให้นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยผู้แทนจากกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง และกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ให้การต้อนรับผู้แทนจากบริษัท Kawamura Shokai Co., Ltd. ซึ่งขออนุญาตเข้าพบหารือและสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสุขอนามัยในอุตสาหกรรมอาหารและตลาดอาหารในส่วนของสินค้าประมงเพื่อป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการสุขอนามัยในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะโรงงานแปรรูปและตลาดสด ซึ่งมุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการสุขอนามัยของอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การเก็บสัมภาษณ์ข้อมูลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “SDGs Business Model Formulation Survey with the Private Sector for Prevention of Food Poisoning etc. by Strengthening Hygiene Management of Food Industry in Thailand” ซึ่งได้มีการประสานงานผ่าน JICA ซึ่งบริษัท Kawamura Shokai Co., Ltd. ได้มีการนำเสนอการใช้ผลิตภัณฑ์ Aqua Riser ซึ่งเป็นเครื่องผลิตสาร electrolysis hypochlorous acid ที่เป็นมิตรกับผู้คนสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาเป็นทางเลือกในการจัดการสุขอนามัยอาหารของประเทศไทย

#กองประมงต่างประเทศ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมงนายถาวร ทันใจ รองอธิบดีก...
21/11/2022

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง

นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อมูลการนำเข้า - ส่งออกสินค้าประมง สำหรับวิเคราะห์ผลกระทบทั้งแง่บวกและลบจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ การทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) การทำความร่วมมือระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศ เป็นต้น โดยพิจารณาจากข้อมูลการค้าและการบริโภคสินค้าสัตว์น้ำของไทย เนื่องจากสินค้าสัตว์น้ำเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายและข้อมูลในการเจรจาในเวทีระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ชาวประมง ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และประเทศชาติในภาพรวมต่อไป

#นายถาวรทันใจรองอธิบดีกรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
#กรมประมง
#กองประมงต่างประเทศ

วันที่ 15 พ.ย. 65 คณะผู้แทนไทย นำโดยกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงส...
15/11/2022

วันที่ 15 พ.ย. 65 คณะผู้แทนไทย นำโดยกองประมงต่างประเทศ พร้อมด้วยกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ และกองบริหารจัดการเรือประมงและการทำประมง ได้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นในการประชุม IORA Core Group on Fisheries Management (CGFM) ครั้งที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเทศอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม ประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation: IORA) จำนวน 23 ประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือด้านการจัดการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย
โดยที่ประชุมได้ร่วมกันทบทวนแผนงานด้านการจัดการประมงและร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้แผนงานดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้านการจัดการข้อมูลในภาคการทำประมงและภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การป้องกันและต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การป้องกันโรคระบาดในสัตว์น้ำ การพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ การส่งเสริมการนำเข้าส่งออกสินค้าประมง และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์น้ำในเรือประมง ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานประกอบการแปรรูป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับภูมิภาคของมหาสมุทรอินเดียต่อไป

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเท...
14/11/2022

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมตะพัดทอง

นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมเตรียมการเพื่อจัดทำท่าทีผู้แทนไทยสำหรับการประชุมประจำปีของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) จำนวน 2 การประชุม ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2565 ณ เมืองอิโลอิโล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย
1. The 45th Meeting of the SEAFDEC Program Committee (45th PCM)
2. The 25th Meeting of the Fisheries Consultative Group of the ASEAN – SEAFDEC Strategic Partnership (25th FCG/ASSP)
โดยมีนางชวนพิศ จันทรวราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรป. กนป. กบม. กบร. กพจ. กตป. กพอ. กกม. กพช. กอส. กพท. กปจ. กพก. กพส. กมป. และ กปต. เข้าร่วมประชุมเตรียมการฯ

วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินโครงการของ SEAFDEC ตั้งแต่ที่มาและความสำคัญ งบประมาณ กรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนประโยชน์ที่ประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศไทยจะได้รับ รวมทั้งพิจารณาทิศทางการดำเนินโครงการภายใต้กลไกอาเซียนด้านประมง ให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมประมงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย อาทิ
- การผลักดันการใช้ประโยชน์จากเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC 2
- การเสนอให้ไทยเป็นพื้นที่ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการประมงน้ำจืดขนาดเล็ก
- การเสนอให้เสริมสร้างศักยภาพในประเด็นเพื่อต่อสู้กับปัญหา IUU fishing ใหม่ ได้แก่ FAO Voluntary Guidelines for Transshipment และ MARITIME SAFE ACT
- การขอรับการสนับสนุนการเสริมสร้างการดำเนินงานของไทยต่อประเด็น MMPA
- การมีส่วนร่วมในโครงการ BOBLME และ GoTFISH
- การผลักดันกิจกรรมสืบเนื่องภายใต้ AN-IUU และ ASEAN Shrimp Alliance เป็นต้น

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมทูน่า ชั้น 6 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมงนายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประ...
08/11/2022

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมทูน่า ชั้น 6 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำ และสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมง IUU (IUU-Free Thailand) ครั้งที่ 1/2565 พร้อมด้วย นางชวนพิศ จันทรวราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ นางวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง นางสัมพันธ์ ปานจรัตน์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง นายประจวบ เจี้ยงยี่ ผู้อำนวยการกองตรวจการประมง นายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำ และสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมง IUU (IUU-Free Thailand) อีกทั้งพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบรวมถึงแนวทางการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการ IUU-Free Thailand อีกด้วย
#กรมประมง
#นายถาวรทันใจรองอธิบดีกรมประมง
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ กองประมงต่างประเทศ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับ...
07/11/2022

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ กองประมงต่างประเทศ
ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจากมูลนิธิไอเจเอ็ม และ OceanMind โดยมีนางชวนพิศ จันทรวราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรป. กตป. กบม. และ กปต. เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นด้วย

วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและแผนงานโครงการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการคัดแยกและสืบสวนคดีแรงงานบังคับและค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมทั้งหารือแนวทางการทำงานร่วมกันในอนาคตด้านแรงงานในภาคประมงเพื่อจัดทำวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์มาตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง นวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ...
07/11/2022
ข่าววีดิทัศน์กรม 7 พ.ย. 65 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ MCS

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์มาตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง นวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Workshop on Fisheries Monitoring, Control, and Surveillance (MCS) Analytics, Innovation and Best Practices) ระหว่างวันที่ 7 – 11 พฤศจิกายน 2565

วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2565) เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานใ....

ที่อยู่

Paholyothin
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6625797940

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กองประมงต่างประเทศ Fisheries Foreign Affairsผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง กองประมงต่างประเทศ Fisheries Foreign Affairs:

วิดีโอทั้งหมด

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)

กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พื กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา Network of Aquaculture Centres in Asia-Pacific สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบ ส่วนยุทธการด้านป้องกันและป PSDG OAE กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ส่วนความร่วมมือและอนุสัญญา Fisherman Shop at Bang Khen กรมประมง กลุ่มงานวิจัยพันธุศาสตร์ป่ กรมหม่อนไหม