Clicky

ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้าน

ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้าน ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้าน, หน่วยงานราชการ, สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทย, Chiang Mai.

เปิดเหมือนปกติ

30/03/2022

การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านบริหาร ครั้งที่ 13/2565

วันที่ 29 มีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร ครั้งที่ 13/2565 ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีมติการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

1. พิจารณาร่างระบบการติดตามผลดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนตามระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยการติดตามผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2564

2. พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันระหว่าง สำนักงาน กสม. กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประเทศไทย

3. พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการประจำปีของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia National Human Rights Institutions Forum: SEANF) พ.ศ. 2565 – 2569 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยมีบทบาทนำในประเด็นการป้องกันการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

4. พิจารณาผลการหารือร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อดำเนินงานร่วมกันในประเด็นสิทธิมนุษยชน 5 ประเด็น คือ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ความรุนแรงในครอบครัว คนไร้รัฐ/สถานะบุคคล คนไทยพลัดถิ่น เสรีภาพสื่อ และการขจัดการเลือกปฏิบัติ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

5. รับทราบการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3

30/03/2022

การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 12/2565

วันที่ 28 มีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 12/2565 ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

1. พิจารณาร่างรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
- ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กรณีกล่าวอ้างว่าได้รับการปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรมและละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารและสิทธิของผู้ต้องขังกรณีกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมและติดต่อสื่อสารกับผู้ต้องขัง
- เสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีกล่าวอ้างว่าการยกเลิกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง

2. พิจารณาร่างรายงานผลการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่
- เสรีภาพในการเดินทาง กรณีกล่าวอ้างว่ามีการปิดกั้นทางสาธารณะทำให้ได้รับความเดือดร้อน
- สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว กรณีกล่าวอ้างว่าร้านอาหารให้บริการเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและมีการแสดงดนตรีเสียงดังรบกวน
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า
- สิทธิชุมชน กรณีคัดค้านการขอประทานบัตรเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนในบริเวณชุมชน
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีขอให้ติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดคดี

3. พิจารณาคำร้องที่ครบกำหนดและขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการ จำนวน 3 คำร้อง
4. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้เป็นคำร้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 6 เรื่อง

5. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้ดำเนินการให้ความช่วยเหลืออื่น จำนวน 2 เรื่อง

6. พิจารณาหยิบยกการจัดทำข้อเสนอแนะต่อพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

7. พิจารณามอบหมายให้สำนักงาน กสม. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมแพทย์ เพื่ออำนวยความยุติธรรมทางอาญาให้กับประชาชนที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ สำนักงานอัยการสูงสุด

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
30/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
30/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
30/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
30/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

#อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) หมายถึง “ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจาก...
25/03/2022

#อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health)
หมายถึง “ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ของทั้งชายและหญิง ทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ซึ่งประกอบด้วยขอบเขต 10 เรื่อง ดังนี้
1. การวางแผนครอบครัว
2. การอนามัยแม่และเด็ก
3. โรคเอดส์ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา รวมถึงควบคุมป้องกันและรักษา
4. มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เฝ้าระวังผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค
5. โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ ควบคุม ป้องกัน และรักษา
6. การแท้งและภาวะแทรกซ้อน
7. ภาวะการมีบุตรยาก
8. การให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และให้การปรึกษา ในเรื่องเพศศึกษา แก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ
9. อนามัยวัยรุ่น บทบาททางเพศ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
10. ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ เพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพดี
.
จึงเห็นได้ว่า อนามัยเจริญพันธุ์ นั้น เป็น #สิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนควรได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม เพื่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักมนุษยธรรม
-----------------------------------
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อนามัยเจริญพันธุ์ ได้ที่ :
สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย,
( https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/ )
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์,
( https://rh.anamai.moph.go.th/th )
ค้อมเม้นท์
https://www.facebook.com/UP.Post/photos/a.633302147084047/1318442111903377/

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
25/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
24/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

สิทธิในสิ่งแวดล้อม ENVIRONMENT, THE RIGHT TO.สิทธิในสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการรักษาวิถีชีวิต...
22/03/2022

สิทธิในสิ่งแวดล้อม ENVIRONMENT, THE RIGHT TO
.
สิทธิในสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการรักษาวิถีชีวิตที่ดีของประชาชนในการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดระบบระเบียบของสังคมและเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือกลุ่มองค์กรอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
.
หลักการมีส่วนร่วมที่ได้รับการยอมรับกันในระดับสากล ได้แก่ ปฏิญญารีโอ พ.ศ.2535 (Rio Declaration) ในหลักการข้อ 10 ของปฏิญญารีโอ (Principle 10 of Rio Declaration) มีหลักการสามประการ (Three Access Principles) ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น ดังนี้
1. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในการครอบครองของหน่วยงานรัฐ
2. สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ รัฐจะต้องเอื้ออำนวยและสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมของสาธารณชน ด้านการเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
3. สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการบริหาร รวมทั้งการได้รับการชดเชยและการเยียวยาความเสียหาย
.
อ้างอิงจาก : ศัพท์สิทธิมนุษยชน. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 3, สิงหาคม 2555)
.
ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ 061-385-0771

22/03/2022

การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านบริหาร ครั้งที่ 12/2565

วันที่ 22 มีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร ครั้งที่ 12/2565 ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีมติการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

1. พิจารณากิจกรรมภายใต้โครงการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการดำเนินงานของ กสม.

2. พิจารณาการจัดเวทีสาธารณะ เรื่อง “แนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดย กสม. จัดร่วมกับ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ซึ่งกำหนดจัดในวันที่ 22 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่เวทีสาธารณดังกล่าวผ่าน Facebook live ที่เพจสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (https://www.facebook.com/nhrct)

3. พิจารณาโครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน

4. รับทราบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

5. รับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 และพิจารณาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ในภูมิภาคต่าง ๆ

22/03/2022

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกาศเกียรติคุณให้
"ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ"
ได้รับรางวัล "ห้องสมุดเฉพาะดีเด่น ประจำปี 2564"

(ประกาศสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ 3/2565 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง ห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2564)
https://bit.ly/3hLDFo3

🙏🏻 ขอขอบคุณผู้ใช้บริการทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

🔴 ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
Line : https://lin.ee/xK3jsyP
Facebook : www.facebook.com/Nhrclibrary/
E-mail: [email protected]

22/03/2022

📌 ร่วมตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ประจำปี พ.ศ. 2565: การประเมินรอบที่ 1 (ตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565)
.
🔴 Click >>> https://bit.ly/37Px6zj
ตั้งแต่วันนี้ - 25 มีนาคม 2565

22/03/2022

🚩 ศูนย์สารสนเทศฯ ชวนอ่าน

"วารสารศาลรัฐธรรมนูญ" สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ปีที่ 23 เล่มที่ 68 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564

🕊 บทความที่น่าสนใจ
- หลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน หลักประชาธิปไตย สามเสาหลักสู่ธรรมาภิบาล การบริหารงานภาคธุรกิจ
- หลักสิทธิมนุษยชนกับเสรีภาพในการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย
- หลักประชาธิปไตย : สิทธิและเสรีภาพของพนักงานในกลุ่มบริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
- หลักประชาธิปไตย : การมีส่วนร่วมของประชาชน
- แนวความคิดอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญในประเทศไทย
- การใช้หลักนิติธรรมกับสังคมไทย
นอกจากนี้ยังมีบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลิขสิทธิ์: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
.
🔴 ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
Line : https://lin.ee/xK3jsyP
Facebook : www.facebook.com/Nhrclibrary/
E-mail: NHRC[email protected]

22/03/2022

🚩 ศูนย์สารสนเทศฯ ชวนอ่าน

"วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย" คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564

📖 อ่านออนไลน์: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/polscilaw_journal/issue/view/17046

🕊 บทความที่น่าสนใจ
- ความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์: เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ
- การศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- การจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย
- มาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองกับโทษอาญา ผ่านมุมมองของ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป
- ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยราชการ กรณีศึกษา: เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นอกจากนี้ยังมีบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ที่มา: Thai Journal Online (ThaiJO).
.
🔴 ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
Line : https://lin.ee/xK3jsyP
Facebook : www.facebook.com/Nhrclibrary/
E-mail: [email protected]

22/03/2022
Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
22/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

22/03/2022

การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 11/2565

วันที่ 21 มีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 11/2565 ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

1. พิจารณาร่างรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
- สิทธิในที่ดิน กรณีกล่าวอ้างว่าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการสำรวจการถือครองที่ดินทำกินของประชาชนทำให้ได้รับความเดือดร้อน
- สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายความมั่นคงทำร้ายร่างกายในระหว่างควบคุมตัว
- สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ทหารฐานปฏิบัติการบ้านเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพในเคหสถาน กรณีการตรวจค้นหมู่บ้านในตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมของชาวบ้าน

2. พิจารณาร่างรายงานผลการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
- สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน กรณีกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกลั่นแกล้งไม่โอนที่ดินให้ตามคำพิพากษา - สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน กรณีกล่าวอ้างว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่งผลกระทบให้บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหาย

3. พิจารณาร่างข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เรื่อง การดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว

4. พิจารณาคำร้องที่ครบกำหนดและขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการ จำนวน 2 คำร้อง

5. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรไม่รับไว้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เห็นควรส่งเรื่องให้องค์กรอิสระอื่น จำนวน 1 เรื่อง

6. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรไม่รับไว้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ให้ความช่วยเหลืออื่น จำนวน 3 เรื่อง

7. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้เป็นคำร้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 8 เรื่อง

8. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้เป็นคำร้อง เพื่อดำเนินการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 เรื่อง

9. เรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้ดำเนินการให้ความช่วยเหลืออื่น จำนวน 3 เรื่อง

22/03/2022

ชวนอ่าน! อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD)

วันที่ 21 มีนาคม องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติสากล (International Day for the Elimination of Racial Discrimination) ขึ้นในปี พ.ศ. 2509 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และมีการเชิญชวนให้ทุกคนปฏิเสธและร่วมต่อสู้กับปัญหานี้

การแสดงจุดยืนในการต่อสู้กับปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ เป็นการย้ำเตือนต่อคำประกาศที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights-UDHR) ข้อที่ 2 มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสระภาพ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ภาษา ฯลฯ รวมทั้งการร่วมกันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

อนุสัญญา CERD ได้กำหนดคำจำกัดความ “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” ว่าหมายถึง การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเอื้ออำนวยพิเศษ บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย ชาติกำเนิด หรือเผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือมีผลให้เกิดการระงับหรือกีดกันการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขึ้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่น ๆ ของการดำรงชีวิตในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกันการใช้สิทธิอย่างเสมอภาคของบุคคล

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้รัฐภาคีจะต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองให้ประชาชนทุกคนได้รับการเคารพและปฏิบัติโดยไม่ถูกแบ่งแยกหรือจำแนกเพราะความแตกต่าง รวมทั้งการกำหนดนโยบายและการดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เช่น การห้ามการโฆษณาชวนเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับการสร้างความเกลียดชัง การประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย ทั้งในด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเยียวยาเมื่อถูกละเมิด การให้ความสำคัญกับมาตรการในการศึกษา วัฒนธรรรม และข้อมูล อันจะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ รวมทั้งยังกำหนดให้รัฐภาคีต้องจัดทำรายงานมาตรการต่าง ๆ และสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติภายในประเทศเสนอต่อคณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เพื่อเป็นหลักประกันว่ารัฐจะทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่รับมานั้นเกิดขึ้นอย่างแท้จริง

อ่านอนุสัญญา CERD เพิ่มเติม http://library.nhrc.or.th/ulib/document/ebook/E08875/mobile/index.html#p=8


#คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ.    ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถือเป็นกรอบมาตรฐานในการส่งเสร...
22/03/2022

สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถือเป็นกรอบมาตรฐานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยในปฏิญญาดังกล่าวได้ปรากฎการรับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไว้หลายกรณี ได้แก่
ข้อ 5 ห้ามการทรมานหรือการลงโทษทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรม
ข้อ 9 ห้ามการจับกุม คุมขัง หรือเนรเทศโดยพลการ
ข้อ 10 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย
ข้อ 11 สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิด และต้องมีกฎหมายกำหนดว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด
.
นอกจากนี้ สิทธิในกระบวนการยุติธรรมยังถูกกำหนดในอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี อันเป็นผลให้รัฐไทยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT)

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

21/03/2022

ปี 2561 – 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีการซ้อมทรมานและทำร้ายร่างกายระหว่างการควบคุมตัวทั้งสิ้นมากถึง 93 เรื่อง* โดยส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ถูกกระทำทรมานหรือทำร้ายร่างกายในระหว่างการจับกุมตัวหรือสอบสวนเพื่อให้รับสารภาพโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐด้านความมั่นคง นอกจากนี้ สถานการณ์จริงที่ปรากฏยังจะเห็นได้ว่า มีกรณีบุคคลถูกบังคับให้สูญหาย หรือ ถูกอุ้มหาย อีกหลายคดีที่กําลังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม
.
ตัวเลขเบื้องต้นของการกระทำทรมานนี้ ไม่ใช่ตัวเลขทั้งหมดของเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคม และหลายคดีกรณีอุ้มหายก็ถูกยกเลิกการพิจารณาคดีหรือยกฟ้อง ด้วยปัจจัยทางกฎหมายในแง่พยานหลักฐาน แต่สุดท้ายทุกคนก็คาดหวังให้ตัวเลขเหล่านี้ลดน้อยถอยลงหรือหายไปจากกระบวนการยุติธรรม
.
(ร่าง) พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา จึงเป็นกฎหมายสำคัญที่หลายฝ่ายรวมทั้ง กสม. ผลักดันมาอย่างต่อเนื่องและมุ่งหวังให้ออกมาบังคับใช้ได้จริงในเร็ววันโดยสอดคล้องและเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
.
ทั้งนี้ เพื่อประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายจากการดำเนินการใด ๆ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
.
#จับอย่างระวัง
#คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ #กสม.
#สิทธิมนุษยชน #หยุดการซ้อมทรมาน #ยุติการอุ้มหาย #พรบป้องกันการทรมานและอุ้มหาย

________________________

*สถิติเรื่องร้องเรียน กรณีกล่าวอ้างว่า มีการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ระหว่างปี 2561 – 2565 โดยสำนักมาตรฐานและติดตามการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
21/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

ศัพท์สิทธิมนุษยชน.สิทธิชนกลุ่มน้อย THE RIGHTS OF MINORITY.         สิทธิชนกลุ่มน้อย เป็นสิทธิของบุคคลที่มีอัตลักษณทางร่า...
16/03/2022

ศัพท์สิทธิมนุษยชน
.
สิทธิชนกลุ่มน้อย THE RIGHTS OF MINORITY
.
สิทธิชนกลุ่มน้อย เป็นสิทธิของบุคคลที่มีอัตลักษณทางร่างกาย
สังคม วัฒนธรรมแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ เช่น เชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ชนกลุ่มน้อยมักถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกกีดกันออกจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของรัฐด้วยอคติแห่งความแตกต่าง

นโยบาย กฎหมายและการปฏิบัติอาจจะไม่สอดคล้องกับการดำรง
รักษาอัตลักษณ์ของคนเหล่านี้ สิทธิของชนกลุ่มน้อยจึงเกี่ยวข้องกับสิทธิ
ที่จะดำรงรักษาอัตลักษณ์เหล่านี้

ดังนั้น รัฐต้องเคารพความแตกต่างโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุของความแตกต่างเหล่านั้น

16/03/2022

การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านบริหาร ครั้งที่ 11/2565

วันที่ 15 มีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร ครั้งที่ 11/2565 ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีมติการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

1. พิจารณาร่างระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ....

2. พิจารณาร่างคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

3. พิจารณาร่างคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ ../2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการหรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

4. รับทราบความคืบหน้าความร่วมมือทวิภาคีด้านการรับเรื่องร้องเรียนและความร่วมมือในข้อมูลสารสนเทศของเรื่องร้องเรียนระหว่างสำนักงาน กสม. กับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

5. รับทราบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1

6. พิจารณาร่วมงานเสวนา Side event Practical Measures for the Prohibition of Arbitrary Detention in the Context of Drug Control Measures จัดโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights: OHCHR) สำนักงานใหญ่ที่เจนีวา ในช่วงระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 65 .ในวันที่ 17 มีนาคม 2565 เวลา 18.00 – 19.00 น. ผ่านระบบออนไลน์

7. รับทราบความคืบหน้าการจัดงาน เหลียวหลังแลหน้า 20 ปี กสม. โดยภายในงานจะมีกิจกรรม การมอบรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564 การอภิปรายกลุ่มตามประเด็นสิทธิมนุษยชน และการจัดนิทรรศการ ทั้งนี้ กำหนดจัดในเดือนกรกฎาคม 2565

16/03/2022

🗳️ ผลสำรวจความคิดเห็น
ท่านเห็นด้วยหรือไม่? ในประเด็นสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ 🙋‍♀️
.
🔷 1. ผู้หญิงมีเสรีภาพที่จะเลือก "ทำแท้ง" : ผลคือ เห็นด้วย 97.53%
จากการโหวต 7,421 เลือกเห็นด้วย 7,238 และไม่เห็นด้วย 183
🔷 2. "เด็ก(อายุต่ำกว่า 18 ปี) ไม่มีวุฒิภาวะพอ" ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ : ผลคือ ไม่เห็นด้วย 75.80%
จากการโหวต 9,559 เลือกเห็นด้วย 2,313 และไม่เห็นด้วย 7,246
🔷 3. "S*x Worker" ควรเป็นอาชีพถูกกฎหมาย : ผลคือ เห็นด้วย 98.48%
จากการโหวต 7,378 เลือกเห็นด้วย 7,266 และไม่เห็นด้วย 112
🔷 4. ชายและหญิงเท่านั้น ที่"สมรส"ได้ตามกฎหมาย : ผลคือ ไม่เห็นด้วย 98.48%
จากการโหวต 9,407 เลือกเห็นด้วย 143 และไม่เห็นด้วย 9,264
🔷 5. "การประหารชีวิต" ช่วยลดอาชญากรรม : ผลคือ เห็นด้วย 54.75%
จากการโหวต 11,519 เลือกเห็นด้วย 6,307 และไม่เห็นด้วย 5,212
.
✨ผลสำรวจนี้ ได้จากข้อมูลจากกิจกรรมภายในงานนิทรรศการ “มอง ให้ ชัด ยืนหยัดเพื่อสิทธิทุกคน” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 - 13 มีนาคม 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งสะท้อนให้เห็นมุมมองที่แตกต่างในประเด็นสิทธิมนุษยชน ที่ยังคงเป็นข้อถกเถึยงของสังคม
#กสม #สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post
16/03/2022

Photos from สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ's post

ที่อยู่

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทย
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 16:30
อังคาร 09:00 - 16:30
พุธ 09:00 - 16:30
พฤหัสบดี 09:00 - 16:30
ศุกร์ 09:00 - 16:30

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้าน:

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Chiang Mai

แสดงผลทั้งหมด
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)

HealthyCMU Mechatronics and Automation - RMUTL BEU หน่วยพัฒนาศักยภาพด้านบริห PR อาสา RMUTL ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเท HHU Region5 Faculty of Science and Agricultural Technology ระบบทะเบียนกลาง มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารและจัดการทรั Myanmar Center CMU สำนักงานบริหารงานวิจัย ม.เชี CNOC ITSC Chiang Mai University หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พร