สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 OARD1

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  OARD1 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 เป็นหน่วยงานภูมิภาคในสังกัดกรมวิชาการเกษตร

จัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน กิจกรรมงานวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่อง พืชอินทรีย์กับทาง...
21/02/2025

จัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน กิจกรรมงานวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่อง พืชอินทรีย์กับทางเลือกบนพื้นที่สูง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 โดยนายวิทยา อภัย ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มวิชาการ เข้าร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน กิจกรรมงานวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่อง พืชอินทรีย์กับทางเลือกบนพื้นที่สูง ณ บ้านแม่วาก ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด เชียงใหม่ โดยมีดร.เพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันด้านการบริหารจัดการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นประธานเปิดงาน กรมวิชาการเกษตรร่วมจัดนิทรรศการ ฐานเรียนรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาการปลูกผักอินทรีย์ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายโดยให้ความรู้แก่เกษตรกร 9 ข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ.9000-2564 ได้แก่ 1.พื้นที่ปลูก 2.การวางแผนการจัดการ 3.เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ 4.การจัดการผืนดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ 5.การจัดการด้านศัตรูพืชและการเจริญเติบโตของพืช 6.การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 7.การเก็บรวบรวม การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา การปฏิบัติต่อผลิตผลและผลิตภัณฑ์และการขนส่ง 8.การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง 9.ระบบการตามสอบและการเก็บบันทึกข้อมูล

#สวพ1 #กรมวิชาการเกษตร

ร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน "กาแฟอะราบิกากับความยั่งยืนบนพื้นที่สูง"วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาก...
20/02/2025

ร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน "กาแฟอะราบิกากับความยั่งยืนบนพื้นที่สูง"

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 โดยนายวิทยา อภัย ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ เจ้าหน้าที่กลุ่มวิชาการ ร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน งานวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่อง กาแฟอะราบิกากับความยั่งยืนบนพื้นที่สูง ณ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายธีรภัทธ ประยูรสิทธิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรและประธานอนุกรรมการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นประธานเปิดงาน กรมวิชาการเกษตรร่วมจัดนิทรรศการ ฐานเรียนรู้ การขับเคลื่อนการพัฒนาการปลูกกาแฟร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย โดยให้ความรู้แก่เกษตรกร มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟ มกษ. 5903-2553 มีข้อกำหนด แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังจาการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้าย สุขลักษณะส่วนบุคลล และการบันทึกข้อมูล และการเพิ่มพื้นที่การผลิตกาแฟอะราบิกาเพื่อลดปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน

#สวพ1 #กรมวิชาการเกษตร

ร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน รณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)วันที่...
19/02/2025

ร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน รณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 โดย นายเกียรติรวี พันธ์ไชยศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ และนายสิทธานต์ ชมภูแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน รณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day) ณ พื้นที่แปลงทดสอบ หมู่ 1 ต.แช่ช้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยมีนายชัชวาล ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน โอกาสนี้ กรมวิชาการเกษตรร่วมจัดนิทรรศการ “เกษตรสีเขียว” พืชจิ๋วแห่งอนาคต ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง เพื่อย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้เร็วขึ้น การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์และเชื้อราบิวเวอร์เรีย ป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยพีจีพีอาร์-ทู (PGPR II) ในนาข้าว การเพาะเลี้ยงแหนแดง ใช้ในนาข้าวและสำหรับเลี้ยงสัตว์ และการเพาะเลี้ยงผำ พืชจิ๋วแห่งอนาคต เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร

#สวพ1 #กรมวิชาการเกษตร

วันที่ 18 กุมภาพันธ์  2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อมูลเอกภาพ และจั...
18/02/2025

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อมูลเอกภาพ และจัดสัมมนาบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้ในระดับภาค ครั้งที่ 1/2568 ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การประมาณการผลผลิต การจัดทำข้อมูลเอกภาพ และบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ได้แก่ ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง และทุเรียน ในฤดูกาลผลิต ปี 2567/68

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งข่าวดี ได้ Lab ตรวจ BY2 เพิ่มเติม รวม 8  Lab มั่นใจห้อง Lab เพียงพอให้บริการตรวจสอบ BY2 ช่วงฤด...
18/02/2025

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งข่าวดี ได้ Lab ตรวจ BY2 เพิ่มเติม รวม 8 Lab

มั่นใจห้อง Lab เพียงพอให้บริการตรวจสอบ BY2 ช่วงฤดูกาลผลิตทุเรียนของภาคตะวันออก มากกว่า 2,000 ตัวอย่าง ต่อวัน

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร เตรียมความพร้อม การตรวจรับรองสาร BY2 ในทุเรียนสด ของห้องปฏิบัติการทดสอบทุเรียนส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง วิธี วิเคราะห์ตามมาตรฐาน ตามพิธีสาร ไทย - จีน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แจ้งข่าวดีว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการทดสอบสาร BY2 เพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ที่มีความสามารถในการตรวจสอบ และรายงานผลการทดสอบ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณา และได้รับความเห็นชอบ จากหน่วยงาน GACC ของจีน แล้ว ได้แก่ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ยูโรฟินส์ ฟู๊ด เทสติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสามารถให้บริการทดสอบตัวอย่าง เพิ่มเติม ได้อีก 150 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งจะทำให้มีห้องปฏิบัติการทดสอบ BY2 เพิ่มเติมจากเดิม 6 ห้องปฏิบัติการ (ทดสอบได้ 670 - 1,000 ตัวอย่างต่อวัน) รวมเป็น 8 ห้องปฏิบัติการ สามารถทดสอบตัวอย่างได้ในขณะนี้ รวม 820 - 1,200 ตัวอย่างต่อวัน และห้องปฏิบัติการทดสอบ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการยอมรับ จาก GACC และ ห้องปฎิบัติการที่มีศักยภาพ มาประชุมเตรียมความพร้อม ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง และการทดสอบ แคดเมียม (Cd) และ Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้ง 8 ห้องปฏิบัติการดังกล่าว มีแผนการณ์ที่จะขยายความสามารถในการทดสอบเพิ่มขึ้น ในช่วงฤดูกาลผลิตของภาคตะวันออก โดยยืนยัน ว่า สามารถให้บริการทดสอบตัวอย่างตรวจสาร BY2 และ สารแคดเมี่ยม ได้มากกว่า 2,000 ตัวอย่างต่อวัน

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังได้หารือร่วมกับห้องปฏิบัติการทดสอบอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ ห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบสาร BY2 สำหรับทุเรียนสดส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงฤดูกาลผลผลิตต่อไปด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวย้ำในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรให้ความมั่นใจในศักยภาพการตรวจวิเคราะห์ ของห้องปฏิบัติการเอกชน ช่วงที่ผลผลิตทุเรียน ออกมาในปริมาณมาก ตั้งแต่กระบวนการเก็บตัวอย่าง การทดสอบในห้องปฏิบัติการ จนถึงการรับผลทดสอบ สามารถ รองรับผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และประเด็นสำคัญ ต้องเป็นห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับรับรองมาตรฐาน ISO และได้รับความเห็นชอบจาก GACC ประเทศจีนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคชาวจีนถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารไทยที่มีคุณภาพ รวมถึง ต้องมีการบริหารจัดการการผลิตทุเรียน ตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งในสวน ตลาด โรงคัดบรรจุ การสุ่มเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่างห้องวิเคราะห์ การรายงานผล การทดสอบ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต้อนรับ รมช. แปลงต้นแบบการปลูกถั่วเหลือง จ.พะเยาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษ...
15/02/2025

ต้อนรับ รมช. แปลงต้นแบบการปลูกถั่วเหลือง จ.พะเยา
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองจังหวัดพะเยา แปลงต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพแบบคาร์บอนต่ำ และการประชุมหารือแนวทางการรวบรวมผลผลิต โดยมีนางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพแบบคาร์บอนต่ำ เป็นการดำเนินการร่วมกันทั้ง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และส่วนราชการในจังหวัดพะเยา พื้นที่รวม 6 ไร่ มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพแบบคาร์บอนต่ำ ณ แปลงต้นแบบบ้านร่องไฮ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

ตรวจประเมินแปลงด้าน IPM พริกและมะเขือ สำหรับส่งออกสหภาพยุโรปวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์  2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต...
14/02/2025

ตรวจประเมินแปลงด้าน IPM พริกและมะเขือ สำหรับส่งออกสหภาพยุโรป

วันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้เข้าตรวจขึ้นทะเบียนแปลงพริกส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรปและตรวจประเมินแหล่งผลิตพริกและมะเขือ ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ตามมาตรการควบคุมการส่งออกผักไปยังสหภาพยุโรป ทั้งนี้ได้ตรวจติดตามการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการแมลงวันผลไม้ โดยในแปลงจะมีการติดกับดักเหยื่อพิษโปรตีนเพื่อล่อแมลงวันผลไม้เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้เข้าทำลายและติดไปกับผลผลิตส่งออก ณ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และ อ.สารภี อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

อบรมมาตรฐานGAP เกษตรแปลงใหญ่ อ.ฮอดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่1 ได้รับเชิญจากสำนักงาน...
13/02/2025

อบรมมาตรฐานGAP เกษตรแปลงใหญ่ อ.ฮอด
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่1 ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรอำเภอฮอด เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวน 40 ราย ณ ห้องประชุมสาธารณสุข ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ในการถ่ายทอดความรู้มาตรฐานGAP ตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งเกษตรกรได้รับความรู้ในเรื่อง ข้อกำหนดของมาตรฐาน GAP ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9001-2564 เทคนิคการใช้ใบรับรองGAP ให้ถูกต้อง 4 ไม่ 1 ต้อง ป้องกันการสวมสิทธิ์​ และหลักการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทั้งนี้ได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเฝ้าระวังและการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของลำไย

ติดตามแปลงต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองหลังนา จ.พะเยาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร...
09/02/2025

ติดตามแปลงต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองหลังนา จ.พะเยา
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 พร้อมด้วยนางสาวฉัตต์นภา ข่มอาวุธ ผอ.ศวพ.แพร่ ติดตามแปลงต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองหลังนาของเกษตรกร โดยการใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร่วมกับการใช้โดรนจากบริษัทคูโบตาฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ณ บ้านสะพานงาม หมู่ 3 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ และบ้านร่องไฮ หมู่ 5 ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.พะเยา พื้นที่รวม 11 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เพิ่มและสิทธิภาพการผลิตและนำเทคโนโลยีการผลิตมาปรับใช้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่จังหวัดพะเยา

ตรวจรับรองมาตรฐาน GAP พืช และพืชอินทรีย์ ร่วมกับ สวพส.วันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้...
07/02/2025

ตรวจรับรองมาตรฐาน GAP พืช และพืชอินทรีย์ ร่วมกับ สวพส.

วันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้ลงพื้นที่ตรวจรับรองมาตรฐาน GAP พืชและพืชอินทรีย์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเป้าหมายในการดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.9001-2564 ) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร GAP พืช และมาตรฐานสินค้า (มกษ.9000-2564) เกษตรอินทรีย์ โดยเป็นการตรวจรับรองแปลงใหม่และแปลงต่ออายุให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรที่ต้องการใช้ใบรับรองประกอบการจำหน่ายผลผลิต พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เรื่องการไม่เผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่จะก่อให้เกิดฝุ่น ควัน มลพิษทางอากาศ

ร่วมประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ระดับอำเภอ ครั้งที่1/2568วันที่  ...
06/02/2025

ร่วมประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ระดับอำเภอ ครั้งที่1/2568

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 โดยนางสาวกิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ได้รับมอบหมายให้เข้า ร่วมประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ โดยมีนายณัชฐเดช มุลาลี นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณา 2 เรื่องคือ1.การคัดเลือกคัดเลือกหมู่บ้านและสินค้าเกษตร โดยมีการนำเสนอหมู่บ้านเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้งามบ้านกลาง หมู่ 8 ต.ป่าแดด อ.เมืองจ.เชียงใหม่ และคัดเลือกสินค้าเป้าหมายคือ เห็ด 2.การค้ดเลือกอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(เกษตรมูลค่าสูง) จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.นางยุพิน ตนมิตร 2.นายอินเปลี่ยน กาสม 3.นายบุญช่วย อุดชา ซึ่งในการดำเนินโครงการจะต้องมีการประชุมเพื่อจัดทำแผนพัฒนาระดับหมู่บ้านและการจัดทำประชาคมหมู่บ้านต่อไป

#สวพ1 #กรมวิชาการเกษตร

อบรมมาตรฐานอินทรีย์ เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต...
05/02/2025

อบรมมาตรฐานอินทรีย์ เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้รับเชิญจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในหัวข้อ " การผลิตพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน GAP, มาตรฐานอินทรีย์ " ตามโครงการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม ปลูกพืชสมุนไพร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยพัฒนาเกษตกร ให้มีความรู้ และสามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิต มีทักษะและความชำนาญ ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เรื่องการไม่เผาเศษวัสดุทางการเกษตร ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศ

ตรวจรับรองมาตรฐาน GAP พืช อ.แม่แจ่ม จเชียงใหม่วันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้ลงพื้น...
05/02/2025

ตรวจรับรองมาตรฐาน GAP พืช อ.แม่แจ่ม จเชียงใหม่

วันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้ลงพื้นที่เพื่อให้บริการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ในเขตพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตรวจรับรองแปลงใหม่ และแปลงต่ออายุ การรับรองมาตรฐาน GAP พืช เพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรที่ต้องการใช้ใบรับรองประกอบการจำหน่ายผลผลิต ทั้งใบประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เรื่องการไม่เผาเศษวัสดุทางการเภษตร ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศ

05/02/2025

การเผาไร่ข้าวโพดของเกษตรกรในพื้นที่สูงตามจังหวัดภาคเหนือ คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต่อมามีวาทกรรมเชิงลบต่อ 'ชาวเขา' และ 'ข้าวโพด' ว่าเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาฝุ่นควันในประเทศไทยที่ยืดเยื้อมานานหลายปี สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่ภาคเหนือเลือกที่จะปลูกข้าวโพด เพราะขนส่งสะดวก มีตลาดรองรับ
ที่ อ.แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ จากความร่วมมือของ 7 กระทรวง 30 หน่วยงาน ตลอดหลายปีทำให้สามารถลดพื้นที่การทำไร่ข้าวโพดรวมถึงการเผาไร่ได้กว่า 48 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 500 กว่าหมู่บ้าน โดยเริ่มต้นจากพื้นที่วิกฤตก่อน เช่น จุดที่มี Hotspot มาก , หมู่บ้านที่ประสบปัญหาผลิตข้าวโพดเฉลี่ยต่อไร่ได้น้อยลงทุกปี เพราะดินเสื่อมสภาพจากการปลูกซ้ำๆ และ กลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในวงจรภาระหนี้สะสมจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
ต่อมา ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการได้รับการแก้ปัญหาที่ดิน ที่อยู่อาศัย และอาชีพ จนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ หลายครอบครัวในพื้นที่จึงเริ่มเข้าใจ เพราะเห็นตัวอย่างครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ พากันมาร่วมโครงการเปลี่ยนพืชทำกิน ซึ่งกลายมาเป็นความหวังครั้งใหม่ของพวกเขา ประชาชนในพื้นที่สูงจึงมีความตื่นตัวและปรับตัวเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เมื่อแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ แม่แจ่ม จึงเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย ขยายไปในกว่า 1,000 หมูบ้าน ใน 10 จังหวัด กับแนวทางการฟื้นฟูป่า นำพืชทางเลือกไปสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พื้นที่สีเขียวบนเขาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม แก้ไขได้ทั้งเรื่องความยั่งยืนทางรายได้ของชาวบ้านและปัญหาหมอกควัน-ไฟป่าไปพร้อมๆ กัน
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/environment/76469/the-mae-chaem-model/

สวพ.1 ร่วมงานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 รัฐมนตรีช่วยว่าก...
02/02/2025

สวพ.1 ร่วมงานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอัครา พรหมเผ่า เป็นประธานในพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพของประชาชน ประจำปี 2568 ณ อ่างแฝด หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ดอนชัย ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ โดยมีนางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 เข้าร่วมพิธี ทั้งนี้ได้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ปลาเกล็ดเงิน (ปลาจีน) ปลายี่สกเทศ ปลาตะเพียนขาว ปลาบ้า ปลานิล และปลาบึก จำนวน 37,600 ตัว และพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 1,000 ตัว โดยใช้ฟางข้าวเป็นอาหารธรรมชาติ ให้แก่ปลาและกุ้งดังกล่าว เพื่อเป็นการช่วยลดการเผา ลดการเกิดมลพิษลดฝุ่น PM 2.5 อีกทางหนึ่งด้วย

ร่วมจัดนิทรรศการงาน "Kick off ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม" วันที่ 2 กุมภาพันธ์  2568 สำนักวิจัยและพัฒนากา...
02/02/2025

ร่วมจัดนิทรรศการงาน "Kick off ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม"
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 โดยนางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 พร้อมด้วยคณะ เข้าร่วมจัดนิทรรศการและร่วมพิธีเปิดงาน "Kick off ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม" ณ บ้านเตาไห หมู่ 6 ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
โดยมี นายอัครา พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน เพื่อรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร ทำการเกษตรโดยไม่เผา
โอกาสนี้ กรมวิชาการเกษตรร่วมจัดนิทรรศการ “นาข้าวยุคใหม่ ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ไม่เผา เราทำได้” ให้ความรู้แก่เกษตรกร เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกข้าว โดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง เพื่อย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้เร็วขึ้น ลดการเผาฟางที่จะก่อให้เกิดมลพิษ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนหว่าน ลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรคทางดิน ช่วยการเจริญของพืชทางระบบราก ส่งเสริมการงอกของเมล็ด
การใช้ปุ๋ยพีจีพีอาร์-ทู (PGPR II) ในนาข้าว โดยการคลุกเมล็ดก่อนปลูก หรือใช้กับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมีรองพื้น ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดปุ๋ย ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว 10% ลดการใช้ปุ๋ยเคมี 25%
การใชัแหนแดงในนาข้าว แหนแดงจะช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันวัชพืช ข้าววัชพืช ข้าวลีบ หรือข้าวดีด และช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมี เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีของพืช แหนแดงมีโปรตีนสูง สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์ได้
การใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ฟางข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยว สามารถนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟาง และ เห็ดนางรมได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือใช้ทางการเกษตร นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำเห็ดพันธุ์ดี ได้แก่ เห็ดฟางพันธุ์ กวก. สทช.1 และเห็ดสกุลนางรม สร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกร

การประชุมคณะกรรมการรับรองการตรวจประเมินมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช สวพ.1 ครั้งที่ 1/2568วันที่ 31 มกราคม 2568 นางสาวจงรัก...
31/01/2025

การประชุมคณะกรรมการรับรองการตรวจประเมิน
มาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช สวพ.1 ครั้งที่ 1/2568

วันที่ 31 มกราคม 2568 นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการ เขตตที่ 1 เป็น ประธานการประชุมคณะกรรมการรับรองการตรวจประเมินมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ จากกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ สวพ.1 เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาให้การรับรองการตรวจติดตามหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพี่ช (กมพ.21.1) จำนวน 7 โรง ผลการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ การตรวจออนไลน์จากสำนักงานศุลกากรจีน GACCและรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวของกับโรงคัดบรรจุพืชส่งออกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุม 2 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1

อบรมมาตรฐาน GAP พืช อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูนวันที่ 30 มกราคม 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษ...
31/01/2025

อบรมมาตรฐาน GAP พืช อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

วันที่ 30 มกราคม 2568 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ในหัวข้อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ พืชอาหาร (GAP) มกษ. 9001-2564 ตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อปรับเพิ่มคุณภาพ การผลิต ประจำปิ๊งบประมาณ 25668 โดยพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ทักษะความชำนาญ ด้านการผลิตลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานตามสินค้าเกษตรปลอดภัยและสามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตพืช ได้มาตรฐานและส่งเสริมเกษตรกรผู้ผลิตเข้าสู่ระบมาตรฐานเกษตร GAP ทั้งนี้ได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการใช้ใบรับรองการเฝ้าระวังเพลี้ยแป้ง ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของลำไย รวมถึงประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เรื่องการไม่เผาเศษวัสดุทางการเกษตร ที่จะก่อให้เกิดฝุ่น ควัน มลพิษทางอากาศ

ที่อยู่

225 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดChiang Mai
Chiang Mai
50100

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 OARD1ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 OARD1:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์