ความคิดเห็น
คิดซิ บอกผมตั้งใจเรียน 15%ของ 7 เท่ากับ แบบไม่ใช้เครื่องคิดเลข จำไว้อย่าอวดเก่ง
ขอบคุณแต้เจ้าว เครดิตภาพ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
ขอบคุณแต้เจ้าว เครดิตภาพ
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีสำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา เฉกเช่นตัวของดิฉัน ซึ่งทางเหนือเราจะเรียกว่าปี๋ใหม่เมือง ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ14 เมษายนของแต่ละปี โดยจะเริ่มตั้งแต่วันสังขารล่อง วันเนา วันพญาวัน วันปากปี หรือบางท้องที่ก็ไปจบที่วันปากเดือน หรือวันปากวัน
ถือเป็นวันส่งท้ายศักราชเก่า คนเมืองจะตื่นแต่เช้าเป็นพิเศษ ก่อนตีนฟ้ายก เช้ามืดจะมีการยิงปืน จุดประทัด เพื่อไล่สิ่งที่ไม่ดีไปกับสังกรานต์ สาย ๆ จะทำความสะอาดบ้านเรือน บ่าย ชำระล้างร่างกายให้สะอาด แต่ตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ (คิดถึงโมเม้นที่ยายมาปลุกแบบเช้าตรู่ เพื่อมาเตรียมของไปวัด)
วันนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ ตั้งแต่เช้ามืด เป็นวันจับจ่ายซื้อของจำเป็นต้องใช้ในประเพณีปีใหม่ มีการเตรียมอาหารคาวหวาน เช่น ขนมจ็อก ห่อนึ่ง แกงฮังเล หรืออื่น ๆ เพื่อจะเอาเป็นทำบุญที่วัดในวันพญาวัน และเอาไปดำหัวผู้ใหญ่ ช่วงสาย ๆ จะไปชุมนุมกันเพื่อเล่นน้ำปีใหม่ ที่สำคัญมากของวันนี้ คือ เป็นวันขนทรายเข้าวัด เพื่อเป็นการก่อพระเจดีย์ทราย ขนมที่นิยมทำกันในช่วงปีใหม่ได้แก่ ขนมจ็อก ขนมชั้น ขนมเกลือ
ช่วงเวลาของประเพณีปีใหม่เมือง แบ่งออกได้ดังนี้ วันสังขารล่อง ปัจจุบันถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเป็นวันสังขารล่อง เป็นวันแรกของกิจกรรมประเพณี ปีใหม่เมือง หลังเที่ยงคืนวันที่ ๑๓ เมษายน จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร ในวันนี้สมาชิกในครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านเรือน และในวันนี้จังหวัดลำพูนได้จัดกิจกรรมในประเพณีปี๋ใหม่เมือง อาทิเช่น ขบวนแห่พระพุทธรูป ตามถนนเจริญราษฏร์ถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหารของหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่างๆ การขนทรายเข้าวัด การแสดงดนตรีพื้นเมือง การจำหน่ายสินค้า อาหารพื้นเมือง เป็นต้น วันเน่าหรือวันเนาว์ วันที่ ๑๔ เมษายน ของทุกปี วันนี้เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ทำบุญและดำหัวผู้ใหญ่ในวันรุ่งขึ้น มีการขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย และความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันเน่า ไม่ควรด่าทอ กล่าวคำร้ายต่อกัน จะเป็นอัปมงคลไปทั้งปี วันพญาวัน ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า "ทานขันข้าว” (ตานขันเข้า) หลังจากนั้นนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย และคนเฒ่าคนแก่ก็อยู่ร่วมพิธีเวนทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงปีใหม่ และฟังเทศนาธรรมอานิสงส์ปีใหม่ ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ วันปากปี ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะมารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว และมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปี ชาวล้านนาจะกิน "แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า
"แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า 🙏🏽
สงกรานต์ปีนี้เราก็ สงกรานต์ทิพย์ฺกันไปก่อนนะเจ้าวว
ขอบคุณแต้เจ้าว เครดิตภาพ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
Baan Fang
💦 สงกรานต์ปีนี้ เรามาขอพรญาติผู้ใหญ่แบบเว้นระยะ และกราบพระที่บ้านกันอีกปีนะคะ
•••
ร่วมกันสืบสานประเพณีสงกรานต์ต้อนรับปีใหม่ไทยในช่วง Covid-19 ด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ปลอดภัยกันค่ะ
⚜สรงน้ำพระพุทธรูปที่บ้าน
⚜แสดงความกตัญญูและขอพรจากคุณพ่อคุณแม่และญาติผู้ใหญ่ในบ้านเดียวกัน โดยเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร และสวมใส่หน้ากากอนามัย
⚜ถ้าอยู่ไกลกัน กราบไหว้และขอพรญาติผู้ใหญ่ผ่านช่องทางโทรศัพท์หรือสื่อออนไลน์
🔻ร่วมกันงดเว้นการจัดงานสงกรานต์และไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก
🔻ร่วมกันงดเว้นการเดินทางกลับภูมิลำเนา
🔻รักษาสุขภาพกายและใจให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
🔻ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปสถานที่สาธารณะ ล้างมือด้วยสบู่ และเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ด้วยนะคะ
•••
ชาวชินะปุระ พิษณุโลก จึงขอพาทุกท่านร่วมย้อนวันวานด้วยภาพบรรยากาศงานสงกรานต์เชียงใหม่ในอดีต
❤️เราขอเป็นกำลังใจให้ชาวพิษณุโลก พี่น้องชาวไทย และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
🙏สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ 🙏
----------------------------
ขอบพระคุณภาพจากเพจ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
มาย้อนอดีต เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ในสถาปัตยกรรมสุดคลาสสิค ใจกลางเมือง ทั้ง 3 หอศิลป์ /พิพิธภัณฑ์
.
‘เชียงใหม่ ไม่ได้มีแค่คาเฟ่’ นอกจากไลฟ์สไตล์สุดชิค สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าเที่ยวแล้ว ยังมีอัตลักษณ์ความงดงาม ทางประวัติศาสตร์ที่อยู่คงคู่เมืองมาร่วมกว่า700ปี ทำให้เชียงใหม่ไม่เหมือนใคร
.
iChiangmai ชวนเที่ยวหอศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ความเป็นเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยก่อตั้งเมือง ที่ย่านกลางเมืองอย่างอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
.
โดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ ที่ประกอบด้วย 3 อาคาร
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา - Lanna Folklife Museum
.
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ ที่อยู่ : ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053 - 217 793
.
วันและเวลาทำการ : วันพุธ - วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 - 16.30 น.
ปิดทำการวันจันทร์ - วันอังคาร
ค่าเข้าชม คนไทย
ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็ก 10 บาท
.
ค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ
ผู้ใหญ่ 90 บาท
เด็ก 40 บาท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.museumthailand.com
และ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
.
เรื่องโดย : ʟᴀʟʏɴ
ภาพโดย : FAIITAG // PP the best
กราฟฟิก : Nukvi
.
กดติดดาวเพจ iChiangmai ไว้จะได้ไม่พลาดเรื่องราวสนุกๆ และสามารถติดตาม iChiangmai ได้ในช่องทางอื่นๆ ที่
------------------------------------
.
Twitter :
https://twitter.com/iChiangmai1
Instagram :
https://www.instagram.com/ichiangmai/
Youtube :
https://1th.me/ssJgk
‘หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้มีบทบาทสำคัญ
ด้านการอุปถัมภ์และบูรณะวัดสำคัญของล้านนาในอดีต
รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร ต้นตระกูล ‘อุปะโยคิน’ เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าที่มีบทบาทอย่างสูงในสังคมเมืองเชียงใหม่เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยได้ประกอบคุณงามความดีมากมายเป็นที่รู้จักในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือและให้แก่ทางราชการไทยทั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร เดิมชื่อ ‘หม่องปันโหย่’ หรือ ‘หม่องปันโย’ หรือ ‘อูปันโย’ ทางราชการไทยเขียน ‘มองปันโย’ มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘หลวงโยฯ’ หรือพระยาตะก่า หรือ พญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่า หรือ แซงพอ ชื่อ ‘ปันโย’ ในภาษาพม่าแปลว่าดอกไม้ ท่านจึงใช้ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์สำคัญแทนชื่อตัวเอง โดยมีตั้งแต่ดอกสี่กลีบ ห้ากลีบ หกกลีบ แปดกลีบและดอกไม้หลายกลีบจะพบดอกสัญลักษณ์เหล่านี้ประดับในสิ่งก่อสร้างตามวัดวาอารามที่ท่านเคยไปร่วมสร้างหรือช่วยบูรณะ เช่น ด้านข้างหอไตรวัดพระสิงห์มหาวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ที่นอกจากจะมีดอกสัญลักษณ์รูปดอกจันไปทั่ว แม้แต่หม้อดอกยังมีดอกสัญลักษณ์เป็นดอกไม้หลายกลีบประดับ หรือดอกจันสัญลักษณ์หลวงโยฯ ที่หน้าประตูเข้าที่เก็บคัมภีร์ใบลานหอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นต้น
‘หลวงโยฯ’ เข้ามาทำไม้ในไทยตั้งแต่อายุยังน้อย ในตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้ากาวิโลลสสุริยวงค์ การเริ่มทำไม้ในล้านนาของท่านได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอุบลวรรณา พระธิดาของพระเจ้ากาวิโลลสสุริยวงค์ เมื่อการทำไม้สำเร็จ ท่านจึงได้รับมอบหมายจากเจ้าหลวงและเจ้านายฝ่ายเหนือให้ทำไม้ในป่าต่าง ๆ เช่น ป่าแม่ป๋ามแม่ป๋อย ป่าเมืองงาย ป่าแม่แจ่ม ฯลฯ เมื่อร่ำรวยจากการค้าไม้ หลวงโยจึงได้ตอบแทนคุณแผ่นดินโดยสร้าง ร่วมสร้าง บูรณะ ร่วมบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆมากมายนับไม่ถ้วนในล้านนา เช่น วัดเจดีย์เหลี่ยม, วัดเสาหิน, วัดผางยอย, วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, วัดแสนฝาง, วัดพระธาตุศรีจอมทอง, วัดบุพผาราม, วัดเชตวัน, วัดมหาวัน, วัดหมื่นล้าน, วัดศรีดอนไชย, วัดชัยมงคล, วัดอุปคุตพม่า, วัดไชยมงคลป่ากล้วย, วัดป่าเปอะ, วัดเกาะกลาง, วัดช้างค้ำ, วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, วัดพระธาตุดอยสุเทพ, วัดหนองคำ, วัดป้านปิง, วัดเชตุพน, วัดศรีมุงเมือง, วัดเชียงยืนวัดผาลาด, วัดไชยมงคลจองคา, วัดพระธาตุลำปางหลวง, วัดปงสนุก, วัดเจดีย์ซาว, วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ลำปาง, วัดพระบรมธาตุนครชุม กำแพงเพชร, วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์, วัดพระธาตุหริภุญชัย, วัดพระยืน ลำพูน, วัดศรีโคมคำ พะเยาฯลฯ
เมื่อเข้ามาประกอบอาชีพพ่อค้าไม้ไม้ในไทยอย่างมั่นคง มองปันโยได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางบัวแก้ว มีบุตรธิดา 3 คน คือ นายโมส่วย นายองขิ่นและ นางจ๋อน ต่อมาเมื่อนางบัวแก้วเสียชีวิตท่านได้สมรสใหม่กับ นางบัวจีน มีบุตรธิดา 2 คนคือ นายทองอินทร์และนางสาวแดง เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก ภายหลังเมื่อนางบัวจีนเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ นางบัวจีนจึงขอให้นางหน้อยซึ่งเป็นหลานแท้ ๆ ของนางบัวจีนเป็นภรรยาคนที่ 3 นางบัวจีนเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา หลวงโยฯ มีบุตรธิดากับนางหน้อย 9 คน คือ นายบุญสม นายทองอยู่ นายทองคำ นายทองดี นางสาวสมบูรณ์ นางเกษิณี หรือ มะเย็ง นางศิริลักษณ์ หรือ เส่งเหม่ นายทองสาย หรือ ทองส่วย นางประภาศรี หรือ แสงหล้า หรือ มะเอตัน เมื่อหลวงโยฯสูงอายุต้องการการดูแลใกล้ชิดท่านจึงมีภรรยาคนที่ 4 คือ นางนางซึ่งไม่มีบุตรธิดา และไม่มีบทบาทใด ๆ
หลวงโยนะการพิจิตรถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อเวลาตีสามของวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2470 สิริอายุ 82 ปี ท่านได้รับพระราชทานเพลิงศพจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่สุสานช้างคลานมีผู้คนมากมายมาร่วมไว้อาลัยในพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านมีช้างเข้าร่วมขบวนถึงสองร้อยเชือก หัวขบวนถึงสุสานช้างคลานแล้วแต่ท้ายขบวนยังอยู่ที่บ้าน
- เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
อ้างอิง :
ผศ.ดร. กัลยา ธรรมพงษา. (30 สิงหาคม 2557). หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563 จาก
https://www.gotoknow.org/posts/575376
[ Taztitude x Chiang Mai ART for AIR ]
เริ่มแสบจมูกคันตาจากฝุ่นควัน pm2.5 กันแล้วใช่มั้ย
วันนี้น้องแทซขอพาทุกคนไปชมนิทรรศการ ART for AIR💨ที่ว่าด้วยเรื่องฝุ่นควัน ไฟป่า และลมหายใจของชาวเชียงใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังทุกปี
.
โดยนิทรรศการนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างการตระหนักบนความเข้าใจถึงปัญหามลพิษฝุ่นควัน PM2.5 แสดงผ่านผลงานของศิลปินระดับนานาชาติกว่า 64 คน ไม่ว่าจะเป็น คามิน เลิศชัยประเสริฐ l เป็นเอก รัตนเรือง l พิเชษฐ กลั่นชื่น l อารยา ราษฎร์จำเริญสุข l อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และอีกมากมาย
.
🖼 การพาเด็กไปชมนิทรรศการ ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เลย ได้ใช้จินตนาการ ลองแปลความหมายของศิลปะ แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน บางทีเราจะได้เจอมุมมองใหม่ ๆ ที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว
.
นิทรรศการ ART for AIR จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึง 30 เม.ย. 64 ครอบคลุมพื้นที่ทางศิลปะทั่วเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เขตเมืองเก่า หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ (หลังสามกษัตริย์) เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ โกดังจริงใจ Jing Jai Warehouse แกลเลอรี่ สวนสาธารณะ ไปจนถึงวัดวาอาราม
.
พี่ ๆ คนไหนที่อยู่เชียงใหม่ตามไปชมนิทรรศการกันนะ ใครชอบผลงานชิ้นไหน รู้สึกอย่างไร คอมเม้นต์มาบอกน้องแทซบ้างน๊า
.
#taztitude #แทซแอตติจูด
#เที่ยวเชียงใหม่ #artforair