ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่-City Heritage Centre Chiang Mai Municipal

ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่-City Heritage Centre Chiang Mai Municipal Open : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น. Tel. 053-217793 , 053-219833 Website : www.cmocity.c
(42)

ประกอบด้วย หอกลางเวียง (Chiang Mai Cultural Centre) , หอพื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Centre) และ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre)

"ดารารัศมี รำฦก"พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามลำลองเรียกกันในครอบครัวว่า 'เจ้าน้อย' และในพระประยูรญาติว่า 'เจ้าอึ่ง' ...
10/12/2023

"ดารารัศมี รำฦก"

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามลำลองเรียกกันในครอบครัวว่า 'เจ้าน้อย' และในพระประยูรญาติว่า 'เจ้าอึ่ง' ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา (หากนับทางเหนือ เป็นเดือน ๑๐) หรือตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ เวลา ๐๐.๓๐ น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่

พระองค์เป็นพระธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ เจ้าทิพเกสร มีพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรหนึ่งพระองค์คือเจ้าจันทรโสภา เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษจนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้นดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว

๙ ธันวา น้อมไหว้สาฯ "วันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”---‘วันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี’ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นว...
09/12/2023

๙ ธันวา น้อมไหว้สาฯ
"วันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”

---

‘วันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี’ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา กระนั้นบทบาทที่สำคัญของ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ที่ยังคงมีหลักฐานประจักษ์ชัดและเป็นคุณูปการให้กับชาวเชียงใหม่และภาคเหนือจนถึงทุกวันนี้

สำหรับชาวเชียงใหม่แล้วความรู้สึกที่มีต่อเจ้าดารารัศมีคือ เปรียบเป็นปูชนียบุคคลสำคัญของล้านนาและระลึกถึงพระองค์เสมอ โดยเฉพาะด้านการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม งานหัตถศิลป์ ด้านนาฏศิลป์ เกษตรกรรม ฯลฯ ท่านเป็นผู้นำในทุก ๆ เรื่อง พระองค์เป็นที่รักของชาวล้านนามากพอ ๆ กับที่ท่านรักและสิ่งที่พระองค์ทำให้กับบ้านเกิดของท่านตราบจนในวาระสุดท้ายของชีวิต

---

- I L L U M I N A T I O N - Thailand-Korea Ceramic Friendship 2023 Exhibition 🇹🇭 🇰🇷นิทรรศการจากกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะเซร...
07/12/2023

- I L L U M I N A T I O N -
Thailand-Korea Ceramic Friendship 2023 Exhibition 🇹🇭 🇰🇷

นิทรรศการจากกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะเซรามิกด้วยความร่วมมือกันระหว่าง ไทย – เกาหลี จากกว่า 40 ศิลปิน สู่ 40 กว่าผลงาน ที่ปล่อยฟรีสไตล์โดยมีหัวข้อหมุดหมาย “Illumination” หรือ “แสงสว่าง” ที่จะจุดประกายให้ศิลปะเซรามิกจากศิลปินชาวเอเชียอย่างเกาหลี และไทยได้ปล่อยแสงสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเทคนิคกันอย่างเต็มที่จนออกมาเป็นผลงาน Masterpiece ตามฝีมือปั้นเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคน

นิทรรศการ Illumination Thailand - Korea Ceramic Friendship 2023 จัดแสดงระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม 2566 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2 หอกลางเวียง (ด้านหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.30 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)

ร่วมจัดโดย
● Korea Ceramic Arts Association
● Chiangmai Clayative Association
● CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
● คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ RMUTL.

---

องค์การ UNESCO มีมติให้ "สงกรานต์ไทย" เป็นมรดกโลก---วันที่ 6 ธ.ค.2566 ที่เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา ในช่วงระหว่างการป...
06/12/2023

องค์การ UNESCO มีมติให้ "สงกรานต์ไทย" เป็นมรดกโลก

---

วันที่ 6 ธ.ค.2566 ที่เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา ในช่วงระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) หรือยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ให้เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity)

โดยสงกรานต์เป็นประเพณีในวันปีใหม่ไทย มีการเฉลิมฉลองในช่วงกลางเดือน เม.ย.ทั่วประเทศ เป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยคนไทย และชุมชนชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นประเพณีอันงดงามและมีความหมาย สะท้อนถึงคุณค่าของความกตัญญูกตเวทีของไทยต่อบรรพบุรุษ ความเอื้ออาทรและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และจิตวิญญาณแห่งความสามัคคี

---

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ภาพถ่าย : บุญเสริม สาตราภัย

เที่ยวชมเทศกาลที่มาพร้อมกับลมหนาวของเชียงใหม่ทุก ๆ ปี เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week 2023 โดยเฉพาะ...
05/12/2023

เที่ยวชมเทศกาลที่มาพร้อมกับลมหนาวของเชียงใหม่ทุก ๆ ปี เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week 2023 โดยเฉพาะโซน Pop Market ภายในหอพื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Centre) ย่านกลางเวียงเชียงใหม่ ตลาดสร้างสรรค์ที่รวมเอางานคราฟต์กว่า 120 ร้าน มีสินค้าตั้งแต่เสื้อผ้า ของตกแต่งบ้าน อาหารและงานขายไอเดียที่ผ่านการเจียรนัยความสร้างสรรค์ดึงเอาเอกลักษณ์ของความเป็นเชียงใหม่ให้ออกมาโดดเด่นอย่างเป็นสากล ให้สมกับเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ (City of Creativity) วันนี้ – 10 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น.

---

๕ ธันวาคม ๒๕๖๖เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, วันชาติ ...
04/12/2023

๕ ธันวาคม ๒๕๖๖

เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครเชียงใหม่

เศียร “พระแสนแซว่” พระพุทธรูปล้านนาที่ถูกตอกตะปูเย็บปาก เชื่อว่าเพราะบอกหวยแม่น---ประวัติความเป็นมาของเศียรพระพุทธรูปองค...
04/12/2023

เศียร “พระแสนแซว่” พระพุทธรูปล้านนา
ที่ถูกตอกตะปูเย็บปาก เชื่อว่าเพราะบอกหวยแม่น

---

ประวัติความเป็นมาของเศียรพระพุทธรูปองค์นี้ กล่าวว่า แต่เดิมพบที่วัดยางกวง (วัดร้างใกล้กับประตูเมืองเชียงใหม่) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ “พระแสนแซว่” บางครั้งเข้าใจเป็น “พระแสนแส้” หรืออาจเขียนตามภาษาพูดเป็น “แสนแซว่” หรือ “แสนแสว้” ตามศัพทานุกรมภาคเหนือใช้ “พระแสนแซว่” ในภาษาถิ่นภาคเหนือไม่มีความหมาย ส่วนคำว่า “แซว่” ตามภาษาถิ่นหมายถึง สลักหรือกลอนที่ใช้ยึด หรือเชื่อมวัสดุหลาย ๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน

การที่มีคำว่า “แสน” มาประกอบหมายถึงจำนวนนับ ดังนั้นคำว่า “แสนแซว่” จึงหมายถึงสลักหรือกลอนจำนวนเป็นแสน ๆ ซึ่งเป็นวิธีการของชาวล้านนาในการใส่จำนวนนับ เช่น หมื่น แสน ล้าน นำหน้าคำเพื่อเป็นการบอกขนาด เช่น พระเจ้าฝนแสนห่า พระเจ้าล้านทอง พระเจ้าเก้าตื้อ และพระแสนแซว่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้กับตำแหน่งผู้ปกครอง หรือทหารอีกด้วย เช่น พระเจ้าแสนเมืองมา หมื่นด้ามพร้าคด แสนหล้า เป็นต้น

ด้วยเหตุที่พระแสนแซว่มีขนาดใหญ่มาก ในการหล่อจึงต้องแยกเป็นส่วน ๆ แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้แซว่หรือสลักเป็นจำนวนมากนับเป็นแสน ๆ จึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “แสนแซว่” (เป็นคำที่คนรุ่นหลังกำหนดเรียกขึ้นตามขนาดของพระพุทธรูปที่ต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น)

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้นนั้น พระองค์ได้มีพระราชดำริให้รวบรวมและอัญเชิญพระพุทธรูปที่เป็นงานช่างชั้นเยี่ยม มีรูปแบบต่าง ๆ กันทั้งในและต่างประเทศ และมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน มาประดิษฐานรอบพระระเบียงพระอุโบสถ โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้ดำเนินการ

ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการอัฐเชิญเศียรพระแสนแซว่จากเมืองเชียงใหม่มาในคราวเดียวกันนี้ด้วย แต่ไม่ปรากฏในทะเบียนประวัติพระพุทธรูปรอบพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรฯ แต่อย่างใด เมื่อคราวที่ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้นในปี พ.ศ. 2469 ได้มีการรวบรวมโบราณวัตถุจากที่ต่างๆ มาจัดแสดง เศียรพระแสนแซว่จึงได้ย้ายมาจัดแสดงในคราวเดียวกันนี้ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2515 กรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขึ้น ตามโครงการจัดตั้งมีนโยบายให้นำโบราณวัตถุที่เป็นของภาคเหนือนำกลับไปจัดแสดงด้วย ดังนั้นเศียรพระแสนแซว่จึงได้กลับคืนมาสู่ล้านนาอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

เศียรพระแสนแซว่ในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ศรัทธามากราบไหว้อยู่เสมอ พร้อมปรากฏว่ามีตะปูตอกอยู่ทั้งริมพระโอษฐ์บนและล่างในลักษณะของการตอกเพื่อปิดพระโอษฐ์ไว้ เพราะสาเหตุใด? จากการค้นหาประวัติความเป็นมาโดยเฉพาะในทะเบียนประวัติพระพุทธรูปรอบระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ ก็ไม่พบว่ามีปรากฏว่ากล่าวถึง มีเพียงผู้ใหญ่ที่มีอายุในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 เล่าถึงความเป็นมาว่า

เมื่อคราวสร้างวัดเบญจมบพิตรฯ นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปจากแหล่งต่าง ๆ มาประดิษฐานรอบพระระเบียงพระอุโบสถ ได้อัญเชิญเศียรพระแสนแซว่จากวัดยางกวง จังหวัดเชียงใหม่ลงมาด้วย แต่ปรากฏว่าไม่สามารถนำเข้าประตูพระระเบียงได้ หรืออาจจะมีเฉพาะพระเศียรเมื่อตั้งแล้วอาจไม่เข้ากับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จึงให้ประดิษฐานไว้ใต้ต้นไม้นอกพระระเบียงนั้น

สาเหตุที่พระโอษฐ์ของพระแสนแซว่ถูกตอกตะปูเกิดขึ้นในราวรัชกาลที่ 6 สมัยที่มีการเล่นหวย ก ข สภาพของผู้เล่นหวยคงไม่แตกต่างจากที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือการบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้ถูกหวย และมีผู้มาขอหวยกับเศียรพระแสนแซว่ด้วย และเป็นที่เรื่องลือมากว่าใบ้หวยแม่นและมีผู้ถูกอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เจ้ามือหวยเดือดร้อนจึงได้นำตะปูมาตอกเย็บพระโอษฐ์เพื่อไม่ให้ใบ้หวยอีกต่อไป ตะปูที่ตอกจึงติดมาจนถึงทุกวันนี้

เศียรพระแสนแซว่ (แสนแส้) ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นเศียรพระพุทธรูปสำริด สูง 1.70 เมตร ถ้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์เต็มองค์ (พระพุทธรูปนั่ง) จะสูงประมาณกว่า 6 เมตร เทียบสัดส่วนได้กับพระศรีศากยมุนีประดิษฐานในวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (สูง 8 เมตร)

---

อ้างอิง:
วิภา จิรภาไพศาล. (2565). พระแสนแซว่ พระพุทธรูปที่ถูกตอกตะปูเย็บปาก. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_85973?fbclid=IwAR0vu56cfe0nDAPA6-1ChEIS3Q6UGU6Hv5gZMXE6HNOusueLOjJG0EOEGXk

---

ฮู้ก่อ? | Did you know?---มีพระพุทธรูปโบราณของล้านนาล่ำลือว่าให้ "หวยแม่น" ไม่ผิดเป้าเจ้ามือเข็ด สั่งตอกตะปูปิดปากเอาคนล...
01/12/2023

ฮู้ก่อ? | Did you know?

---

มีพระพุทธรูปโบราณของล้านนา
ล่ำลือว่าให้ "หวยแม่น" ไม่ผิดเป้า
เจ้ามือเข็ด สั่งตอกตะปูปิดปากเอา
คนล้านนารู้ไหมเล่า
นามท่านว่าอะไร?

---

#หวย #ล็อตเตอรี่ #หวยออนไลน์ #หวยรัฐบาล

คณะเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมหอกลางเวียง จ.เชียงใหม่---วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.00 น. ณ หอ...
29/11/2023

คณะเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมหอกลางเวียง จ.เชียงใหม่

---

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.00 น. ณ หอกลางเวียง จ.เชียงใหม่ นายแพทริก แพต เบิร์น (H.E. Mr. Patrick Pat Bourne) เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนางสาวซาราห์ แมคกราธ (H.E. Ms. Sarah McGrath) เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำสาธารณรัฐสิงคโปร์ และผู้ร่วมคณะ เข้าเยี่ยมชมหอกลางเวียง (Chiang Mai Cultural Centre) โดยมีนางทับทิม สุขะวงค์นันท์ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นตัวแทนหอกลางเวียงให้การต้อนรับ

ในการเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้ นายแพทริก แพต เบิร์น และ นางสาวซาราห์ แมคกราธ ได้ให้ความสนใจในประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งได้ซักถามเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของเมืองตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งการเข้าเยี่ยมชมหอกลางเวียงในครั้งนี้นอกจากเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ผ่านนิทรรศการประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านสังคมวัฒนธรรมระหว่างเชียงใหม่กับประเทศไอร์แลนด์ต่อไป

---

On November 29, 2023, at 11:00 a.m. at the Chiang Mai Cultural Centre, Chiang Mai Province, Mr. Patrick Pat Bourne, Ambassador of Ireland to Thailand, along with Ms. Sarah McGrath, Ambassador of Ireland to the Republic of Singapore, and fellow faculty members, visited the Chiang Mai Cultural Centre with Mrs. Tubtim Sukhawongnan, the representative of the Chiang Mai Cultural Centre, to welcome

During this visit, Mr. Patrick Pat Bourne and Ms. Sarah McGrath were interested in the history of Chiang Mai Province. They also asked about the history of the city from the past until the present. This visit to the Chiang Mai Cultural Centre, in addition to studying the history of Chiang Mai city, also strengthens relations through historical exhibitions to further develop social and cultural cooperation between Chiang Mai and other Ireland countries.

---

Embassy of Ireland in Thailand

ต้นกำเนิด ‘กระทงใหญ่’ ในประเพณีเดือนยี่เป็ง จ.เชียงใหม่---ประมาณปี พ.ศ. 2476 มีนักเรียนยุพราชวิทยาลัยกลุ่มหนึ่งนำเรือ ‘ก...
28/11/2023

ต้นกำเนิด ‘กระทงใหญ่’ ในประเพณีเดือนยี่เป็ง จ.เชียงใหม่

---

ประมาณปี พ.ศ. 2476 มีนักเรียนยุพราชวิทยาลัยกลุ่มหนึ่งนำเรือ ‘กาบปี๋’ หรือเรือกาบปลี ซึ่งใช้พายสัญจรไปตามลำน้ำแม่ปิงและใช้ตกเบ็ดตกปลา บรรทุกนักดนตรีและดนตรีเครื่องสายพื้นเมือง เห่กล่อมตามกระทงไปตามสายน้ำ ปี พ.ศ. 2477 นักเรียนมัธยมปีที่ 5 ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยที่นับถือศาสนาพุทธได้รวมกลุ่มจัดสร้างกระทงขนาดใหญ่ โดยเอาต้นกล้วยมาทำทุ่นให้ลอยได้ประดับด้วยโคมกระดาษหลายโคมสว่างไสว แล้วนำลงไปลอยที่ข้างคุ้มวงศ์ตะวัน เป็นกระทงใหญ่กระทงแรก โดยมีคุณหญิงอนุบาลพายัพกิจ ภรรยาผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นไปร่วมสนับสนุนดูนักเรียนชุดนี้ลอยกระทงกัน แล้วตามด้วยเรือกาบปี๋อีกหนึ่งลำพร้อมด้วยดนตรีเครื่องสาย เช่นที่โรงเรียนยุพราชเคยทำ ทั้งสองโรงเรียนนี้จึงบรรเลงแข่งขันกันไปตามสายธารของแม่น้ำปิงติดตามกระทงขนาดเขื่องนี้ลงไป ปีต่อๆ มามีคนเห็นดีและสนุกพากันทำกระทงขนาดใหญ่นี้เพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น 3 และมากขึ้นทุกปี

ต่อมาใน พ.ศ. 2480 รองอำมาตย์โท ชุ่ม ณ บางช้าง หรือ ‘อาจารย์ชุ่ม’ ครูยุพราชวิทยาลัย ได้เสนอแนะให้ยุพราชวิทยาลัย สร้างกระทงรูปเรือหงส์ขึ้น มีขนาดยาวถึง 7 เมตร สร้างตามแบบเรือสุพรรณหงส์ทีเดียว รองอำมาตย์โท เกยูร ผลาชีวะ อาจารย์ใหญ่ยุพราชวิทยาลัยในสมัยนั้น จึงได้มอบหมายให้ ครูจันทร์เที่ยง ปัญญาเพชร ครูศิลปะของยุพราชวิทยาลัยในเวลานั้น เป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างกระทงรูปเรือหงส์ขึ้นเป็นครั้งแรก

พอถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่เหนือซึ่งเป็นวันประเพณีลอยกระทงใหญ่ อาจารย์ใหญ่ยุพราชวิทยาลัยก็ได้จัดให้นักเรียนช่วยกันแห่กระทงนี้จากโรงเรียนไปลอยที่ท่าวังสิงห์คำเหนือสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ในปัจจุบัน ในระหว่างที่เดินกระบวนแห่ไปนั้น นักเรียนที่กระบวนก็ได้ช่วยเห่กระทงนั้นด้วยบทเห่ของอาจารย์ชุ่มพร้อมกันไปด้วย การแห่กระทงของยุพราชวิทยาลัยในคราวนั้น จึงเรียกร้องคนดูได้อย่างน่าพิศวง และตั้งแต่นั้นวัดวาอารามต่างๆ ก็ตั้งหน้าสร้างกระทงขนาดใหญ่ๆ แข่งขันกับโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และมีการเห่กระทงในขณะแห่กระทงไปสู่ท่าน้ำด้วย การกระทำทั้งนี้ย่อมยังความพิศวงตื่นเต้นให้แก่ท่านผู้พบเห็นยิ่งนัก และในปีต่อๆ มาก็เช่นเดียวกันจนเป็นเหตุให้มีการประดิษฐ์กระทงขนาดใหญ่โตและงดงามมากรายขึ้นตามลำดับ แต่ถึงแม้จะมีกระทงใหญ่สักกี่รายก็ตามประชาชนก็ยังถามกันว่า ‘ยุพราชวิทยามีไหม? รูปอะไร?’ เช่นนี้ทุกๆ ปี

ใน พ.ศ. 2490 เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เข้าร่วมมือในการเชิดชูประเพณีการลอยกระทงโดยจัดให้มีการประกวดกระทงชิงรางวัลขึ้นเป็นครั้งแรก เรือกระทงรูปพญานาคเจ็ดหัวของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ก็หยิบรางวัลถ้วยเงินไปได้อย่างง่ายดาย ใน พ.ศ. 2491 กำหนดวันลอยกระทง เรือกระทงรูปกินรีของโรงเรียนนี้ก็หยิบถ้วยเงินรางวัลได้อีกเช่นปีก่อน จากรายละเอียดข้างต้นทำให้ทราบว่า ในระยะแรกของการจัดทำกระทงใหญ่นั้น กระทงของยุพราชวิทยาลัยและของหน่วยงานอื่นๆ ล้วนมีรูปแบบพื้นฐานเป็นรูปเรือต่างๆ ต่อมาเมื่อกรมทางหลวงได้มาร่วมประเพณีลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกระทงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะกระทงที่กรมทางหลวงส่งเข้าประกวดนั้นทำเป็น ภาพตอนนารายณ์บรรทมสินธุ์ ใช้บัลลังก์นาคเป็นตัวกระทง และใช้คนจริงๆ แต่งกายเป็นพระนารายณ์กับพระมหาเทวีทั้งสอง

เมื่อกรมทางหลวงเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกระทงจากประเพณีนิยมเดิมเป็นรายแรกแล้ว จากนั้นมากระทงที่ส่งเข้าประกวดในแต่ละปีก็ยิ่งทวีความงดงามและแปลกตามากยิ่งขึ้น มีกระทงส่งเข้าประกวดทั้งกระทงลอยน้ำ คือ กระทงที่สามารถนำไปลอยน้ำได้จริง และกระทงบก ที่ผู้จัดทำเพียงแต่ส่งมาเข้ากระบวนแห่เพื่อแสดงความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ จำนวนกระทงที่ส่งเข้าประกวดก็ทวีจำนวนมากขึ้น จากไม่ถึงสิบกระทงเป็นสิบกว่า ยี่สิบกว่า บางปีมีถึงกว่าห้าสิบกระทง นอกจากกระทงที่ต่างก็ออกแบบสร้างสรรค์กันมาอย่างวิจิตรพิสดารแล้ว ที่ไม่น้อยหน้าไปกว่ากันก็คือ ขบวนแห่ของแต่ละกระทงซึ่งจัดกันมาอย่างยิ่งใหญ่และงดงาม งานลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่จึงยิ่งสนุกครึกครื้น มีคนดูแน่นขนัดไปทุกถนนหนทางแทบเดินไม่ได้ สองฟากฝั่งแม่น้ำปิงแน่นอัดไปด้วยฝูงชนที่พากันมาจองที่นั่งไว้ตั้งแต่บ่าย บางคนถึงกับห่ออาหารมารับประทานด้วย เพราะเกรงจะไม่ได้ที่ดูดีๆ

--

อ้างอิง:
วรชาติ มีชูบท. (2562). ค้นกำเนิด “ยี่เป็ง” ก่อนเป็นเทศกาลลอยกระทงยิ่งใหญ่ของเชียงใหม่จากหลากทฤษฎี. สืบค้นเมื่อ 11 พ.ย. 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_41254

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่

🏮 แสงยี่เป็ง 🏮---ชมความงดงาม และความคิดสร้างสรรค์ฝีมือน้อง ๆ นักศึกษากับโคมยี่เป็งสื่อสารสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่โดยฝีมื...
27/11/2023

🏮 แสงยี่เป็ง 🏮

---

ชมความงดงาม และความคิดสร้างสรรค์ฝีมือน้อง ๆ นักศึกษา
กับโคมยี่เป็งสื่อสารสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่
โดยฝีมือคนรุ่นใหม่ 3 สถาบันการศึกษา

- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- วิทยาอาชีวศึกษาเชียงใหม่
- คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ผ่านการสร้างโคมล้านนาร่วมสมัย ที่ผสมผสานแนวคิด ทักษะ โคมพื้นถิ่น เข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และเนื้อหาสาระว่าด้วยเมืองเชียงใหม่

จัดแสดงตั้งแต่ วันที่ 24 - 28 พฤศจิกายน 66
🚩 ลานหน้าหอพื้นถิ่นล้านนา (ศาลแขวงเดิม) ตรงข้ามลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #ยี่เป็ง #เชียงใหม่

รู้จัก "ล่องสะเปา" การลอยเครื่องสักการะทางน้ำในประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวเหนือ---การลอยประทีปและเครื่องสักการะทางน้ำชาวล้...
27/11/2023

รู้จัก "ล่องสะเปา" การลอยเครื่องสักการะทางน้ำ
ในประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวเหนือ

---

การลอยประทีปและเครื่องสักการะทางน้ำชาวล้านนา เรียกว่า ‘ล่องละเปา’ หรือไหลเรือสำเภาไฟ ในสมัยโบราณตามตำนานเมืองลำพูน ฉบับใบลานผูกของวัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน กล่าวถึงการลอยสะเปาทางน้ำในสมัยหริภุญไชยไว้ว่า ราวพุทธศัตวรรษที่ 14 ได้เกิดอหิวาตกโรคที่เกิดขึ้นในเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงพากันอพยพออกจากหริภุญไชยไปอยู่ที่เมืองหงสาวดี เป็นเวลาหลายปี เมื่อทราบข่าวอหิวาตกโรคในเมืองหริภุญชัยได้สงบลงแล้ว จึงต่างพากันเดินทางกลับคืนสู่หริภุญไชย แต่หลายคนไม่ได้กลับมาเนื่องจากมีครอบครัวใหม่ ส่วนผู้ที่กลับมาแล้วคิดถึงญาติพี่น้อง ที่ยังอยู่เมืองหงสาวดี ในช่วงเดือนยี่เป็ง จึงได้จัดดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะ พร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคใส่ลงใน ‘สะเปา’ ลอยลงน้ำแม่ปิง น้ำแม่กวง เพื่อระลึกถึงญาติพี่น้องจึงเป็นมูลเหตุของการลอยสะเปาหรือลอยกระทงนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การลอยสะเปา จึงเป็นการทำบุญบริจาคทานอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับและแก่ตนเองในภายภพหน้า ในอดีตชาวบ้านวัวลาย ตำบลนันทาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นิยมทำสะเปากันที่วัด โดยชาวบ้านช่วยกันทำสะเปาเป็นรูปเรือลำใหญ่ วางบนแพไม้ไผ่ และนำสะตวงพร้อมด้วยข้าวของต่าง ๆ ทั้งหม้อ ไห เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ใส่ลงไปในสะเปา ในช่วงหัวค่ำของวันยี่เป็ง จึงพากันหามสะเปา พร้อมแห่ด้วยฆ้องกลองจากวัดไปลอยที่แม่น้ำปิง และทำพิธีเวนทานที่ท่าน้ำก่อนปล่อยสะเปาลอยลงไป ขณะที่สะเปาลอยไปได้ระยะหนึ่งจะมีคนยากจนคอยดักรอสะเปากลางแม่น้ำ เพื่อนำเอาของอุปโภคต่าง ๆ มาใช้อุปโภคและบริโภคจึงเป็นการบริจาคทานอีกรูปแบบหนึ่ง

ประเพณีล่องสะเปา มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ เมื่อประมาณ 2500 ปี ก่อนที่พระพุทธองค์ทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นอสัตพฤกษ์โพธิใบใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ลุกลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาผู้ใจบุญได้ให้สาวใช้นำข้าวปายาธ จำนวน 49 ก้อน ใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้วพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดที่พระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนน้ำ และก็จะเป็นด้วยบุญญาภินิหาร หรือสัตยานิษฐานก็เหลือที่จะทราบได้ ถาดนั้นได้ลอยทวนน้ำท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของสาวใช้นางสุชาดา เมื่อถาดนั้นลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเลและจมดิ่งลงไปถูกหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล ซึ่งกำลังนอนอย่างสบาย ครั้นถาดนั้นได้ถูกขดหางพระยานาคก็ตกใจตื่น เมื่อเห็นว่าเป็นอะไรแล้ว ก็ประกาศก้องในท้องสมุทรว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่ง บรรดาเทพารักษ์ทั้งหลายในโลก ครั้นทราบเรื่องต่างก็พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ส่วนพระยานาคก็ไปฝาพระพุทธองค์เหมือนกัน พร้อมกันนั้นก็ทูลขอร้องให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา เพื่อเขาจะได้มาถวายความเคารพ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้กระทำตามฝ่ายสาวใช้นางสุขาดาก็ได้นำความไปแจ้ง ให้นายของตนทราบ ครั้นถึงวันนั้นของทุก ๆ ปี นางสุชาดาก็จะนำเอาเครื่องหอมและดอกไม้ใส่ถาดไม้ไปลอยน้ำ เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท เป็นประจำเสมอมาจนกระทั่งได้กลายเป็นประเพณีแพร่หลายเข้ามาในประทศ ๆ ซึ่งได้มีการดัดแปลงแก้ไขไห้เหมาะสมตามกาลมัย จึงเป็นเรื่องของชาดก ซึ่งสันนิษฐานว่าประเพณีการลอยกระทงมีประวัติเป็นมาดังกล่าว

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่

ความสำคัญและที่มาของซุ้มประตูป่าในประเพณีเดือนยี่เป็ง---ก่อนจะถึงวันยี่เป็งประมาณ 1-2 วัน ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประต...
26/11/2023

ความสำคัญและที่มาของซุ้มประตูป่า
ในประเพณีเดือนยี่เป็ง

---

ก่อนจะถึงวันยี่เป็งประมาณ 1-2 วัน ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วย 'ซุ้มประตูป่า' โดยนำต้นกล้วย, ใบมะพร้าว, ต้นอ้อย, ต้นข่า, โคมหูกระต่าย, โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่น ๆ ดอกตะล่อม(บานไม่รู้โรย) ดอกคำปู้จู้ (ดาวเรือง) ฯลฯ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมืองซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า

ในช่วงประเพณีเดือนยี่เป็ง ชาวล้านนานิยมที่จัดเทศนาธรรมเรื่อง เวสสันดรชาดก และในกัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์สุดท้ายหรือนครกัณฑ์ เป็นการพรรณนาเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังจากพระเวสสันดรทรงลาผนวช และทรงเครื่องกษัตริย์เสด็จกลับจากป่าหิมพานต์เพื่อเข้าครองนครสีพี ชาวบ้านชาวเมืองต่างดีใจจึงประดับตกแต่งเมืองด้วยซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม จากเรื่องราวที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกนี้คนล้านนาจึงจำลองฉากเวสสันดรชาดกมาไว้ยังบ้านของตนเอง ด้วยการตกแต่งประดับประดาจำลองเป็นป่าหิมพานต์ และเชื่อว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของตน ก็จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก

นอกจากนี้คติความเชื่อในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ซุ้มประตูป่ายังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางปะตี๊ด เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่ายหรือโคมชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่ง

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่

การแสดงฟ้อนเทียนจากช่างฟ้อน ๗๒๗ คน ในกิจกรรม "ฮอมปอย วิถีคนเมือง ต๋ามผางปะตี้ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง" ประจำปี ๒๕๖๖ ณ พระบรม...
25/11/2023

การแสดงฟ้อนเทียนจากช่างฟ้อน ๗๒๗ คน ในกิจกรรม "ฮอมปอย วิถีคนเมือง ต๋ามผางปะตี้ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง" ประจำปี ๒๕๖๖ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่

ภาพกิจกรรม "ฮอมปอย วิถีคนเมือง ต๋ามผางปะติ้ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง" ประจำปี ๒๕๖๖ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงให...
25/11/2023

ภาพกิจกรรม "ฮอมปอย วิถีคนเมือง ต๋ามผางปะติ้ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง" ประจำปี ๒๕๖๖ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่

"ฟ้อนเทียน" การแสดงในประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา---"ฟ้อนเทียน" นับเป็นระบำแบบเย็น ๆ แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของชาวล้าน...
25/11/2023

"ฟ้อนเทียน" การแสดงในประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา

---

"ฟ้อนเทียน" นับเป็นระบำแบบเย็น ๆ แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของชาวล้านนา ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง 2 มือ ตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้งในเวลาตอนกลางคืน ยิ่งมีช่างฟ้อนมากยิ่งดี ถ้าเป็นตอนกลางวันมักจะเป็นการฟ้อนเล็บ เข้าใจว่าฟ้อนเทียนนี้แต่คงจะเดิมเป็นการฟ้อนสักการบูชาแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นในประเพณียี่เป็ง แต่ก่อนมาเป็นการแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้นในสมัยโบราณจึงมีศิลปะที่ไม่สู้จะได้ชมบ่อยนัก ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ชมแสงเทียนที่ถือแสงระยิบระยับจากดวงเทียนที่ถือในมือ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน เป็นครั้งหลังก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสตรีชาวเหนือ ให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑล ฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยอาศัยเค้าของเก่า

ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่แสดงเทียน เต้นระยิบระยับ ขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้า ๆ เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว เข้าวง ต่อเมื่อ ฯลฯ อ่อนช้อย งดงาม

การแต่งกายนุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแขนยาว คอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม ดนตรีประกอบ ใช้เครื่องดนตรี ปี่แน, กลองแอว์, กลองตะโล้ดโป๊ด, ฉาบใหญ่, ฆ้อมโหม่ง, ฆ้องหุ่ย

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่ #ยี่เป็ง #ประเพณีเดือนยี่เป็ง

"ว่าวฮม" การละเล่นโบราณในประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวล้านนา---การปล่อย 'ว่าวฮม' ใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปในตัวว่าว เร...
24/11/2023

"ว่าวฮม" การละเล่นโบราณ
ในประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวล้านนา

---

การปล่อย 'ว่าวฮม' ใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปในตัวว่าว เรียกว่า 'ฮมควัน' ควันไฟที่อัดเข้าไปทำให้ภายในตัวว่าวมีความร้อนที่จะให้พยุงตัวว่าวให้ลอยขึ้นเนื่องจากอากาศภายนอกในช่วงเดือนยี่ (พฤศจิกายน) ดังนั้นการปล่อยโคมนิยมปล่อยกันในช่วงก่อนเที่ยงเพราะอากาศกำลังดีสำหรับการปล่อยว่าว ซึ่งต้องทำในที่โล่งกลางแจ้ง

ว่าวฮม หรือปัจจุบันมักเรียกว่า โคมลอย บ้างก็เรียกว่า ว่าวฮม, ว่าวลม หรือว่าวควัน การทำว่าวชนิดนี้ มีความพิถีพิถันในการทำเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นว่าวอาจจะไม่ลอยขึ้นสู่อากาศได้ การทำว่าวฮมในอดีต มี 2 แบบ คือ ว่าวสี่แจ่ง คือว่าวที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมและว่าวมน เป็นรูปทรงกลมทั้งด้านหัวและด้านท้าย ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ว่าวฮมหลากหลายรูปทรง เช่น ทรงเครื่องบิน ทรงจรวด ทรงแปดเหลี่ยม รูปปลา รูปช้าง รูปม้า รูปการ์ตูน ฯลฯ และมีการประกวดแข่งขันด้านรูปทรง และลูกเล่นที่ปล่อยในอากาศขณะที่ว่าวฮมลอยอยู่กลางอากาศ เช่น ปล่อยหาง ปล่อยร่ม ปล่อยเครื่องบิน ควันสี เป็นต้น

ชาวล้านนาเชื่อว่าพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีเส็ด (ปีหมา) คือพระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ ดังนั้นการสักการะพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีคือการปล่อยว่าวฮมพร้อมกับบูชาด้วยสวยดอกไม้ธูปเทียน โดยนำผูกติดกับตัวว่าวขึ้นไปเพื่อสักการะ หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถบูชาว่าวฮมเพื่อสักการะพระเกศแก้วจุฬามณีได้เช่นกัน

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่

วิธีการประดิษฐ์ ‘ผางปะติ้ด’ พุทธบูชาของชาวล้านนา ---ชาวล้านนาจุดผางปะติ้ดเพื่อเป็นพุทธบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ตามตำนานแม่กา...
23/11/2023

วิธีการประดิษฐ์ ‘ผางปะติ้ด’ พุทธบูชาของชาวล้านนา

---

ชาวล้านนาจุดผางปะติ้ดเพื่อเป็นพุทธบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ตามตำนานแม่กาเผือก และจุดบูชาเพื่อตอบแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ ชาวล้านนาจึงนิยมจุดผางปะติ้ดบูชาเพื่อสักการะต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได หน้าต่าง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเป็นการบูชาแสงสว่าง เชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีแสงสว่างนำทางชีวิตดั่งแสงจากผางปะตี๊ด ด้วยเหตุนี้ช่วงประเพณียี่เป็งจึงสว่างไสวเต็มไปด้วยแสงผางปะติ้ด

ก่อนเดือนยี่หลังจากเสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวล้านนาแต่ละบ้านนิยมหลอมผางปะตี๊ดเพื่อเก็บไว้บูชาใน ‘ประเพณีเดือนยี่เป็ง’ ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยการหลอมผางปะติ้ดมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่ #ยี่เป็ง #ประเพณีเดือนยี่เป็ง

ผางปะติ้ด | Lanna Candle Trays---'ผางปะติ้ด' เป็นเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนาของชาวล้านนา คำว่า 'ผาง' คือ ภาชนะดินเผ...
22/11/2023

ผางปะติ้ด | Lanna Candle Trays

---

'ผางปะติ้ด' เป็นเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนาของชาวล้านนา คำว่า 'ผาง' คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ใช้เป็นถ้วยสำหรับใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมันและไส้ของปะตี๊ดที่ทำมาจากเส้นฝ้าย ส่วนคำว่า 'ปะติ้ด' หรือ ประทีส คือแสงสว่าง

ในช่วงประเพณียี่เป็งชาวล้านนานิยมจุดผางปะติ้ดเป็นพุทธบูชา สืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือกและวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้เกิดพายุทำให้ไข่ทั้งห้าฟองของแม่กาเผือกถูกพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำ มีแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง เมื่อไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์เพศชายและได้บวชเป็นฤๅษีทั้งห้าองค์ เมื่อฤๅษีทั้งห้าได้พบกันจึงไต่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์ แต่ละองค์ก็ตอบว่า แม่ไก่เก็บมาเลี้ยง แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่าเก็บมาเลี้ยง แม่โคเก็บมาเลี้ยง และแม่ราชสีห์เก็บมาเลี้ยง ฤๅษีทั้งห้าองค์จึงสงสัยว่าแม่ที่แท้จริงของตนเป็นใครจึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ ด้วยคำอธิษฐานจึงทำให้พกาพรหมผู้เป็นแม่ได้แปลงกายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษีทั้งห้าฟัง และได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ให้นำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกาจุดเป็นปะตี๊ดบูชาในวันยี่เป็ง ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายปะติ้ดตีนกา จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ (คัมภีร์อานิสงส์ผางประทีส, ม.ป.ป.)

ชาวล้านนาจึงจุดผางปะติ้ด เพื่อเป็นพุทธบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ตามตำนานแม่กาเผือก และจุดบูชาเพื่อตอบแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ จึงนิยมจุดผางปะติ้บูชาเพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได หน้าต่าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นการบูชาแสงสว่างเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลดั่งแสงจากผางปะติ้ด ด้วยเหตุนี้ช่วงประเพณียี่เป็งจึงสว่างไสวเต็มไปด้วยแสงผางปะติ้ด

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #เชียงใหม่ #ยี่เป็ง #ประเพณีเดือนยี่เป็ง

โคมยี่เป็ง | Lanna Lanterns---'โคมยี่เป็งล้านนา' ในสมัยก่อนนับเป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับกำบังไฟไม่ให้ดับเมื่อถูกลมพัด เป็นภู...
21/11/2023

โคมยี่เป็ง | Lanna Lanterns

---

'โคมยี่เป็งล้านนา' ในสมัยก่อนนับเป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับกำบังไฟไม่ให้ดับเมื่อถูกลมพัด เป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของบรรพชนชาวล้านนา ได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและการประดิษฐ์โคมยี่เป็งนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เมื่อชาวล้านนาได้นับถือพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตก็ผูกพันกับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะโดยเฉพาะโคม จึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธาในหลักคำสอนทางศาสนา ชาวล้านนาสมัยโบราณจะไม่ใช้โคมโดยทั่วไป คงจะมีแต่ในราชสำนัก ในวัด และในบ้านของผู้มีอันจะกิน แต่ในปัจจุบันชาวล้านนานำมาใช้เป็นเครื่องบูชา เครื่องประดับตกแต่งสถานที่ทั้งทางศาสนาโดยเฉพาะงานประเพณียี่เป็ง นิยมจุดโคมค้าง หรือโคมที่ติดแขวนไว้ที่บนสูง ทำด้วยไม้ไผ่และกระดาษ สร้างเป็นโคมทรงกลมหักมุมเรียกว่า โคมแปดเหลี่ยม เพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน และเพื่อใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นการบวงสรวงพระเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์

ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาที่มีฝีมือเชิงช่างจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่าง ๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางปะตี๊ดบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมล้านนามีลักษณะหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โคมรูปแบบโบราณที่พบทั่วไปในล้านนา เช่น โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร), โคมดาว, โคมไห, โคมเงี้ยว (โคมเพชร), โคมกระบอก, โคมหูกระต่าย, โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น, โคมผัด ฯลฯ ในปัจจุบันมีการประดิษฐ์โคมรูปแบบใหม่ เช่น โคมรูปจรวด รูปเครื่องบิน โคมร่ม โคมปราสาท ฯลฯ โคมต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครงติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ปัจจุบันหมู่บ้านที่เป็นแหล่งผลิตโคมและจำหน่ายโคมที่ใหญ่ที่สุด คือ บ้านเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

การบูชาโคมยี่เป็ง ชาวล้านนาจะใช้ผางปะตี๊ดและข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องประกอบพิธีบูชาโคมยี่เป็ง เวลาที่นิยมจุดบูชาคือช่วงหัวค่ำ หลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาเรื่อง อานิสงส์ผางปะตี๊ดที่วัดเป็นที่เรียบร้อย การบูชาโคม อาจจะมีการชักโคมขึ้นแขวนที่ค้างโคม (ค้างโคม คือเสาไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ส่วนปลายเสามีค้างไม้และรอกสำหรับชักโคมขึ้นแขวน) อธิษฐานบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า, พระโกนาคมพุทธเจ้า, พระกัสสปพุทธเจ้า, พระศากยมุนีโคตมพุทธเจ้า และพระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า และอธิษฐานให้ความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง เช่น ‘ขอหื้อแจ้งดั่งไฟ ขอหื้อใสดั่งน้ำ สัพพะเคราะห์ สัพพะภัย สัพพะเสนียดจัญไร วินาสสันตุ’

---

ขอขอบคุณ :
ภาพถ่าย และเนื้อหาจากหนังสือ 'Lanna Lanterns' ของคุณชุติมณฑน์ ตั่งธนาพร (Chutimon Tangtanaporn) (ใช้เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำภาพไปใช้เพื่อการโฆษณา หรือในเชิงพาณิชย์ทุกกรณี)

---

#ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่นครแห่งความสุข #ค่ำคืนแห่งสายนทีวิถีแห่งวัฒนธรรม #ลอยกระทง #ยี่เป็งเชียงใหม่ #เชียงใหม่

ประเพณีรับน้องขึ้นดอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่---กว่า 59 ปีของ ‘ประเพณีรับน้องขึ้นดอย’ เอกลักษณ์ของความศรัทธาและความสามัคคีแ...
18/11/2023

ประเพณีรับน้องขึ้นดอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
---
กว่า 59 ปีของ ‘ประเพณีรับน้องขึ้นดอย’ เอกลักษณ์ของความศรัทธาและความสามัคคีแสดงถึงความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 720 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติบริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ปีพุทธศักราช 2507 คือปีแรกของการเปิดดำเนินการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 291 คน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ที่รับผิดชอบดูแลนักศึกษา มีความคิดที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประเพณีที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่น และเป็นประเพณีที่น่าประทับใจ น่าจดจำไว้ด้วยความภาคภูมิใจ โดยมองเห็นว่า หนทางรถยนต์ขึ้นไปสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพนั้น สำเร็จด้วยแรงศรัทธาของประชาชน นำโดยพระครูบาศรีวิชัยช่วยกันทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ จอบถนนขึ้นไปเป็นระยะทางถึง 11 กิโลเมตร เป็นผลงานที่แสดงถึงความสามัคคีเพื่อนำไปสู่ทางให้ขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพได้ ณ ถนนเส้นนี้สำเร็จโดยประชาชนทั่วทุกสารทิศของประเทศ จึงได้ชวนนักศึกษารุ่นแรกให้เดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพด้วยเท้าด้วยกันทั้งหมดหลังจากปฐมนิเทศแล้วก็ได้รับการตอบสนองด้วยดีด้วยความตื่นเต้น ทุกคนเดินขึ้นไปไม่ว่าหญิงหรือชาย ช้าบ้าง เร็วบ้าง เมื่อพร้อมกันแล้วก็ขึ้นไปนมัสการพระธาตุด้วยกัน ด้วยความศรัทธาและแสดงถึงความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ และได้ดำเนินต่อมาอีกในปีต่อๆ ไปจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรม ‘ประเพณีรับน้องขึ้นดอย’ จึงเป็นกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษาใหม่ รวมทั้งเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจะมีนักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่าเข้าร่วมงานกว่า 30,000 คน มีขบวนเครื่องสักการะ ประกอบในพิธีเปิดกิจกรรม และการแสดงสปิริตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้ง 20 คณะ 2 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และวิทยาลัยนานาชาติ นวัตกรรมดิจิทัล

---

อ้างอิง :
ภาพถ่ายจากหอประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

---

#รับน้องขึ้นดอย66

#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มช

ที่อยู่

Prapokklao Road, Siphum, Muang
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30
เสาร์ 08:30 - 16:30
อาทิตย์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6653217793

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่-City Heritage Centre Chiang Mai Municipalผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่-City Heritage Centre Chiang Mai Municipal:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Chiang Mai

แสดงผลทั้งหมด
#}