National Biobank of Thailand

National Biobank of Thailand NBT was established as the infrastructure of Thailand for long-term preservation of bioresources

Microbe Bank : https://www.nbt-microbe.org/
BIOTEC BANGKOK HERBARIUM (BBH) https://www.nbt-microbe.org/fungarium

27/08/2023

การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 (2566/8)

หนังสือโบราณและหนังสือหายากที่มีคุณค่า จากห้องจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK)
อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมวิชาการเกษตร
ร่วมพาชมโดย

ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

บดินทร สอนสุภาพ และ ปาจรีย์ อินทะชุบ
พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

✨สวัสดีท่านผู้ (รอ) ชมทุกท่านค่ะกลับมาพบกันอีกครั้งกับ การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานแ...
25/08/2023

✨สวัสดีท่านผู้ (รอ) ชมทุกท่านค่ะ
กลับมาพบกันอีกครั้งกับ การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน สำหรับครั้งนี้ก็เดินทางมาถึง ครั้งที่ 19 กันแล้วค่ะ

ครั้งนี้ จะพาทุกท่านไปพบกับเรื่องราวของหนังสือโบราณ หนังสือหายากและมีคุณค่า📜 จากห้องจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK)
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในหัวข้อ

“หนังสือโบราณและหนังสือหายากที่มีคุณค่า จากห้องจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK)”✉️
อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมวิชาการเกษตร

ร่วมพาชมโดย✨
ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บดินทร สอนสุภาพ และ ปาจรีย์ อินทะชุบ
พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร🌱

📢พบกันใน วันอาทิตย์ ที่ 27 สิงหาคม 2566
เวลา 15.00-17.00 น.⏰
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย‼️หรือติดตามรับชมได้ที่ Facebook live เพจ National Biobank of Thailand
เข้าร่วมผ่านระบบ Cisco Webex Meeting ได้ที่ลิงก์นี้เท่านั้น
https://meeting-nstda.webex.com/meet/theerawat.kae
สามารถติดตามรับชมการเสวนาหัวข้อดังกล่าว ได้ในทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน อย่าลืมกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ📌
สำหรับคนที่พลาดตอนที่ 1-18 สามารถชมย้อนหลังได้ทางเพจ National Biobank of Thailand🔔

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง "ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มราที่คัดแยกได้จากปะการังแข็...
15/08/2023

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง "ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มราที่คัดแยกได้จากปะการังแข็ง (Scleractinian corals) ในบริเวณอ่าวไทย“ 🪸🪸🪸
รู้จักจุลินทรีย์กลุ่มรากันมาหลายกลุ่มแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลที่คัดแยกได้จากปะการังแข็งกันบ้างนะคะ ✨

จุลินทรีย์กลุ่มราทะเลคัดแยกได้จากปะการังแข็งนั้นเก็บตัวอย่างได้อย่างไร ?พบได้ที่จังหวัดไหนบ้าง ? และมีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศ ?มาดูกันเลยค่ะ 😊

แนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน 🪸🌊 เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย แหล่งอาหาร วางไข่และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิด 🪸🐟🦐🐙🪸 ดังนั้นแนวปะการังจึงมีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในแง่ของจำนวนชนิดและปริมาณไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต ผู้บริโภค ไปจนถึงผู้ย่อยสลาย 🪸✨

📚 เอกสารอ้างอิง: Papan, S., Preedanon, S., Saengkaewsuk, S., Klaysuban, A., Kobmoo, N., Pengsakun, S., Yeemin, T., Suetrong, S. and Sakayaroj, J. (2023). Genetic diversity of culturable fungi associated with scleractinian corals in the Gulf of Thailand. Botanica Marina. Received December 15, 2022; accepted June 7, 2023; published online June 27, 2023. https://doi.org/10.1515/bot-2022-0082.

🙏🏻 กิตติกรรมประกาศ: ผลงานได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารจัดการคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย สำนักบริหารจัดการคลัสเตอร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (P-18-50479) และโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)

📍 ที่มาข้อมูล: ทีมวิจัยราทะเล สวทช.

🗓️ วันที่ 9 สิงหาคม 2566ผู้บริหารและคณะจากบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด ร่วมกับ Mr. Zhang นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์...
10/08/2023

🗓️ วันที่ 9 สิงหาคม 2566

ผู้บริหารและคณะจากบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด ร่วมกับ Mr. Zhang นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์กวางโจว เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ✨

โดย นางวรรณิพา ทองสิมา ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ ได้กล่าวเปิดงานและร่วมต้อนรับ ✨

ตลอดจน ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ร่วมกับ ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ ดร.อุษาวดี ชัยพรม และทีมผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยธนาคารเมล็ดพรรณพืชได้นำชมในส่วนของการอนุรักษ์เน้นการเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่อุณหภูมิ -20 °C และ -80 °C ด้วยระบบ Automated Sample Storage System ❄️☘️ และส่วนงานด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยการสาธิตระบบบริหารจัดการข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพืช (iGMS: integrative Germplasm Information Management System) 💻 รวมทั้งระบบ Virtual Storage (V-Store) สนับสนุนการทำงานอย่างเป็นเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืน 🧑🏻‍💻👩🏻‍💻

30/07/2023

การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18

“พื้นที่อนุรักษ์นอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ในประเทศไทย”
โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ พลเสนา
รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

“นำชมงานสานพฤกษพรรณสู่งานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Part 2

ราชนิดใหม่ของโลก ✨🌏 📍 ถูกค้นพบในถ้ำ จังหวัดสตูล ประเทศไทย ⛰️  #ความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ #ราในถ้ำ
30/07/2023

ราชนิดใหม่ของโลก ✨🌏
📍 ถูกค้นพบในถ้ำ จังหวัดสตูล ประเทศไทย ⛰️
#ความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ
#ราในถ้ำ

นักวิจัยไทยพบ “ราในที่มืด” 8 ชนิดใหม่ จากถ้ำในจังหวัดสตูล
ระบบนิเวศในถ้ำมีความเป็นเอกลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ เพราะว่ามืด มีอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง อากาศน้อยและความชื้นสูง ไม่เหมาะกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดในถ้ำได้ต้องมีการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพที่ไม่ปกติดังกล่าว
นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยจากประเทศจีน ร่วมกันสำรวจความหลากหลายของราที่อาศัยอยู่ใน “ถ้ำเลเสตโกดอน” และ “ถ้ำภูผาเพชร” จังหวัดสตูล โดยการศึกษานี้ทีมนักวิจัยสามารถค้นพบราสายพันธุ์ใหม่ของไทยและของโลกได้อีก 8 ชนิด
จากข้อมูลสัณฐานวิทยาและวิเคราะห์วิวัฒนาการเชิงโมเลกุล ทีมนักวิจัยได้ตั้งชื่อให้กับสถานที่หรือพื้นที่ที่ได้พบราดังกล่าว และราทั้ง 8 ชนิด มีชื่อประกอบด้วย Actinomortierella caverna, Hypoxylon phuphaphetense, Leptobacillium latisporum, Malbranchea phuphaphetensis, Scedosporium satunense, Sesquicillium cavernum, Thelonectria satunensis และ Umbelopsis satunensis
ถ้ำเลเสตโกดอน ถือว่า เป็นถ้ำที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร คำว่า “สเตโกดอน” คือชื่อช้างดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิลของช้างดังกล่าวในถ้ำแห่งนี้ ส่วน ถ้ำภูผาเพชร ถือว่า เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก ชื่อเดิมของถ้ำภูผาเพชร คือ “ถ้ำลอด หรือ ถ้ำเพชร” เนื่องจากถ้ำมีความ คดเคี้ยว ยาวแบ่งเป็นหลายตอนหรือห้อง ๆ ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยจำนวนมาก เมื่อกระทบกับแสงไฟ ผนังถ้ำมีประกายแวววาว ราวกับเพชร จึงเป็นที่มาของชื่อ เรียกว่า ถ้ำเพชร
งานวิจัยนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแสดงถึงความหลากหลายของราในถ้ำ โดยข้อมูลเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลทางชีวภาพของราดังกล่าวและเน้นบทบาทในระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษและช่วยสนับสนุนฐานองค์ความรู้และใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อสะท้อนความสมบูรณ์ของถ้ำในพื้นที่ภายใต้อุทยานธรณีโลกยูเนสโกสตูล
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสาร “Fungal Systematics and Evolution; FUSE” ( https://fuse-journal.org)
อ้างอิง: Sita Preedanon, Satinee Suetrong, Charisa Srihom, Sayanh Somrithipol, Noppol Kobmoo, Supicha Saengkaewsuk, Prasert Srikitikulchai, Anupong Klaysuban, Salilaporn Nuankaew, Charuwan Chuaseeharonnachai, Boonchuai Chainuwong, Chotika Muangsong, Zhi-Feng Zhang, Lei Cai, Nattawut Boonyuen (2023) Eight novel cave fungi in Thailand's Satun Geopark. Fungal Systematics and Evolution 12: 1–30. DOI: https://doi.org/ 10.3114/fuse.2023.12.01

30/07/2023

การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18

“พื้นที่อนุรักษ์นอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ในประเทศไทย”
โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ พลเสนา
รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

“นำชมงานสานพฤกษพรรณสู่งานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

🎉การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18🌸กลั...
28/07/2023

🎉การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18🌸

กลับมาพบกันอีกครั้งกับการเสวนาทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน📌 สำหรับเดือนกรกฎาคมนี้เรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์เชิงพื้นที่กันบ้างนะคะ พื้นที่อนุรักษ์นอกเขตเป็นอย่างไร ติดตามได้ในหัวข้อ🪴🌱

“พื้นที่อนุรักษ์นอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ในประเทศไทย”
โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ พลเสนา
รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

และต่อเนื่องด้วยการนำชมงาน Botanical Art Thailand 2023 🌺ที่กำลังจัดขึ้น จะนำชมกันแบบไหน ติดตามได้ในหัวข้อ

“นำชมงานสานพฤกษพรรณสู่งานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

📢พบกันใน วันอาทิตย์ ที่ 30 กรกฎาคม 2566
เวลา 15.00-17.00 น.⏰
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรับชมได้ที่ Facebook live เพจ National Biobank of Thailand
เข้าร่วมผ่านระบบ Cisco Webex Meeting ได้ที่ลิงก์นี้เท่านั้น
https://meeting-nstda.webex.com/meet/theerawat.kae
😍สามารถติดตามรับชมการเสวนาหัวข้อดังกล่าว ได้ในทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน อย่าลืมกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ🥰❤️
สำหรับคนที่พลาดตอนที่ 1-17 สามารถชมย้อนหลังได้ทางเพจ National Biobank of Thailand

ปรากฏการณ์โลกรวนที่ส่งผลถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 😱❗️บ้างฝนเยอะ 🌧️ ⛈️⚡️บ้างฝนน้อย 🌩️  เดี๋ยวน้ำในคลองจะเหือด 💧⬇️  เดี๋ย...
26/07/2023

ปรากฏการณ์โลกรวนที่ส่งผลถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 😱❗️
บ้างฝนเยอะ 🌧️ ⛈️⚡️บ้างฝนน้อย 🌩️ เดี๋ยวน้ำในคลองจะเหือด 💧⬇️ เดี๋ยวน้ำทะเลจะสูง 🌊⬆️
ไม่วายจะส่งผลมาถึงการมีอยู่ของ พืชป่าชายเลน ซักวันอันใกล้นี้ 🚩🌳🌳‼️

ป่าชายเลน 🌳🌳 นอกจากเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ยังเป็นแหล่งตรึงและกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ และมีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันอยู่มากมาย 🐟🐠🦐🐚

NBT ก้าวเข้ามาเป็นส่วนสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์แบบระยะยาวของประเทศ 👩🏻‍🔬🧑🏻‍🔬 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเอกชน ให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน เกิดภาพรวมของการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม 🤝🌳🌏

นักวิจัยจาก NBT ร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกันศึกษาการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชป่าชายเลนในสภาพปลอดเชื้อ 🤝🪴🧑🏻‍🔬

นอกจากงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังมีเรื่องการศึกษาละอองเรณู การจัดทำข้อมูล DNA barcode ของพืชชายเลน... 🧬🔬 แต่ละงานมีประโยชน์อย่างไร 🤔 ช่วยป่าชายเลนอย่างไรได้บ้าง 🤔 ติดตามได้ในบทความได้เลยครับ ✨

ไทยเดินหน้า “เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลน” มุ่งสนับสนุนการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
วันที่ 26 กรกฎาคม ของทุกปี คือ “วันสากลของการอนุรักษ์ป่าชายเลนโลก (International day for the conservation of the mangrove ecosystem)” หรือที่นิยมเรียกว่า “วันป่าชายเลนโลก” เป็นวันที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลน ระบบนิเวศในแนวเชื่อมต่อระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน ที่พบได้ในแถบเขตร้อน (tropical) และกึ่งเขตร้อน (subtropical) ของโลก เพราะป่าชายเลนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนและสัตว์ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากิน แหล่งกักเก็บคาร์บอน และยังเป็นแนวกำแพงช่วยลดความรุนแรงของคลื่นลม ภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดำเนินโครงการการศึกษาชีพลักษณ์และการเก็บอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าชายเลนของไทยในสภาพปลอดเชื้อ มุ่งหวังพัฒนาวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าชายเลนแบบระยะยาว เพื่อเป็นคลังความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนในประเทศ
โดยในเฟสแรก สวทช. และ ทช. ได้ร่วมกันคัดเลือกพันธุ์พืชป่าชายเลนมาศึกษากระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ จำนวน 16 ชนิด คือ หงอนไก่ใบเล็ก พังกา-ถั่วขาว ใบพาย โปรงขาว ลำแพน หลุมพอทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ถั่วขาว ถั่วดำ โปรงแดง ฝาดดอกแดง พังกาหัวสุมดอกแดง และลำแพนหิน ซึ่งเป็นพืชที่มีความเสี่ยงตามประกาศของ IUCN Red List ตั้งแต่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ในระดับต่ำ (least concern) จนถึงใกล้สูญพันธุ์ (endangered)
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/r/3dPNT
#วันป่าชายเลนโลก

20/07/2023
🎉🎊✨
18/07/2023

🎉🎊✨

🗓️ วันที่ 17 กรกฎาคม 2566ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในกิจกรรม ...
17/07/2023

🗓️ วันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในกิจกรรม Strategic Research Forum 2023 ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ✨

📍 โดยบรรยาย หัวข้อ "Big Data Management for Genomic Thailand" 🧬💻

...และแล้วกาลเวลาก็ได้เดินทางมาถึงช่วงฤดูฝน กันอีกครั้ง 💧💧💧ฤดูที่ปลุกความชุ่มฉ่ำเขียวชอุ่มของผืนป่า 🌲🌳🌴 นับเป็นฤดูแห่งกา...
17/07/2023

...และแล้วกาลเวลาก็ได้เดินทางมาถึงช่วงฤดูฝน กันอีกครั้ง 💧💧💧ฤดูที่ปลุกความชุ่มฉ่ำเขียวชอุ่มของผืนป่า 🌲🌳🌴 นับเป็นฤดูแห่งการเจริญเติบโตของพรรณไม้นานาชนิดเลยก็ว่าได้ 🌱 ดอกไม้พร้อมใจกันผลิบาน🌻 โดยเฉพาะพืชวงศ์ขิงหลายชนิดที่เริ่มจะแตกใบจากลำต้นใต้ดินที่ผ่านการสะสมสารอาหารมาอย่างยาวนาน 🍠 จนกระทั่งผลิดอกที่มีลักษณะและสีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บานสะพรั่งไปทั่วอาณาจักร ⛰️
🇹🇭ประเทศไทยเรามีการนำไม้ดอกวงศ์ขิงมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เช่น ด้านประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ มีการนำช่อดอกของปทุมมาและดอกเข้าพรรษา 🌷💐 ใช้กราบไหว้บูชาในวันสำคัญทางพุทธศาสนา 🙏 นอกจากนี้พืชวงศ์ขิงยังมีศักยภาพในการใช้เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามากมายนับไม่ถ้วน มีการพบน้ำมันหอมระเหยในทุกส่วน ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการของโรคหลายชนิดได้เป็นอย่างดี 💉😱😰😨😦😮😊🥰💪
🧬🌷ซึ่งปัจจุบันธนาคารพืชในส่วนของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ได้มีการจัดเก็บรักษาพันธุ์พืชวงศ์ขิงในรูปแบบเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ โดยนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อมาประยุกต์ใช้ โดยคัดเลือกส่วนขยายพันธุ์เช่น ตาข้างที่อยู่บริเวณลำต้นใต้ดินมาฟอกฆ่าเชื้อ แล้วเพาะเลี้ยงบนอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน จะได้ต้นปลอดเชื้อที่เจริญขึ้นใหม่ที่พร้อมสำหรับจัดเก็บอนุรักษ์พันธุ์เป็นแหล่งพันธุกรรมได้ต่อไป
🌷🧬🥰

📚 อ้างอิง
พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. (2551). การศึกษาพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย (Zingiberaceae). NU. Int. J. Sci., 5(2), 119–128.
สุรพล แสนสุข. (2554). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของวงศ์ขิง-ข่าในประเทศไทย. KKU Res. J., 16(3), 306–330.

🗓️ วันที่ 13 กรกฎาคม 2566คณะนักวิจัยจาก ASEAN BCG Researcher Development Program 2023 เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมธนาคารทรัพยากรช...
14/07/2023

🗓️ วันที่ 13 กรกฎาคม 2566

คณะนักวิจัยจาก ASEAN BCG Researcher Development Program 2023 เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ✨

👩🏻‍🔬🧑🏻‍🔬 โดย ดร.อุษาวดี ชัยพรม ดร.สิรินันท์ ครองตน และ คุณธีรวัฒน์ แก้วกาญจน์ นำชมงานด้านการอนุรักษ์เน้นการเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่อุณหภูมิ -20 และ -80 °C ด้วยระบบ Automated Sample Storage System ❄️☘️ และส่วนงานด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยการสาธิตระบบบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมพืช (iGMS: integrative Germplasm Information Management System) รวมทั้ง แพลตฟอร์มชีวสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์และแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรม (SPAPA: Sharing Platform for Association and Population Analysis ) 💻

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “ดัชนีชีวภาพ (Bioindicator)” ✨ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถวัดสภ...
13/07/2023

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “ดัชนีชีวภาพ (Bioindicator)” ✨
ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถวัดสภาพหรือบ่งชี้สุขภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือทางเคมีในบริเวณนั้น ☯️🌳🌷⚛️

“ดัชนีชีวภาพ : 𝘊𝘰𝘳𝘰𝘭𝘭𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘢 𝘮𝘢𝘳𝘪𝘵𝘪𝘮𝘢” เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถใช้บ่งชี้สุขภาพของระบบนิเวศทางทะเลที่เป็นชายหาดได้ 🧫🏝️

โดยพื้นที่ที่มีการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์น้อยๆ 👫🏻 ⬇️ จะมีความถี่สูงในการพบราทะเล 𝘊𝘰𝘳𝘰𝘭𝘭𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘢 𝘮𝘢𝘳𝘪𝘵𝘪𝘮𝘢 ⬆️ 🧫✨ ในขณะที่พื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์มากๆ 👫🏻 ⬆️ โดยเฉพาะหาดที่มีการปนเปื้อนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะมีความถี่ในการพบราทะเลชนิดนี้น้อย ⬇️ (Gonzalez and Hanlin, 2010)

📍 และในประเทศไทยของเราพบราทะเล 𝘊𝘰𝘳𝘰𝘭𝘭𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘢 𝘮𝘢𝘳𝘪𝘵𝘪𝘮𝘢 ได้ที่ไหน ❓ หน้าตาเป็นอย่างไร ❓ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าไหมนะ ❓ ติดตามได้ในรายละเอียดของโปสเตอร์นี้ 👇🏻😊

🗓️ วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ฝ่ายงานบริการการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาศึกษาดูงานในส่วนของการจัดเก็บทรัพย...
08/07/2023

🗓️ วันที่ 7 กรกฎาคม 2566

ฝ่ายงานบริการการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาศึกษาดูงานในส่วนของการจัดเก็บทรัพยากรชีวภาพและการบริหารจัดการข้อมูลของธนาคารทรัพยากรชีวภาพ (NBT) และโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย 🔬🧬🧪

🧑🏻‍🔬👩🏻‍🔬 โดย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการ NBT ได้บรรยายภาพรวมของกิจกรรมดังกล่าว ร่วมด้วย คุณนิรินทร์ยา สุดตาชาติ คุณวรรณวิสาข์ เจริญฉิม และทีม ดร.ณัฐวุฒิ วิริยะธนาวุฒิวงษ์ นำชม ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ 🔬 ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล 🧬 และ ห้องบริหารจัดการการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่อุณหภูมิ -20 และ -80 °C ด้วยระบบ Automated Sample Storage System ❄️☘️

🗓️ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566ดร.คมสิทธิ์ วิศิษฐ์รัศมีวงศ์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก Japan Society for the Promotion of Sci...
05/07/2023

🗓️ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566

ดร.คมสิทธิ์ วิศิษฐ์รัศมีวงศ์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) 🧑🏻‍💼👨‍💼👩🏻‍💼✨

โดยได้บรรยายในส่วนของกิจกรรมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของ NBT ตลอดจนนำชมในพื้นที่โรงเรือนปลูกกัญชาด้วยระบบ hydroponics ☘️ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการอนุรักษ์ (Plant tissue culture) 🪴 ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล 🧬 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ 🔬 และห้องปฏิบัติการทางด้านจุลชีววิทยา 🧫

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “ราทะเลกลุ่มเห็ด Nia vibrissa” ✨ หลังจากที่ได้ทำความรู้จักจุลิน...
03/07/2023

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “ราทะเลกลุ่มเห็ด Nia vibrissa” ✨ หลังจากที่ได้ทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลกันไปบ้างแล้ว (โพสต์ก่อนหน้านี้) 🧫
มาทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลที่เป็นเห็ด ชื่อว่า Nia vibrissa 🍄✨ ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกบนไม้บีช (Fagus sylvatica) ที่ย่อยสลายจมอยู่ในทะเล (Meyers and Moore, 1960) 🔎🌊 รูปร่างหน้าตาของ Nia vibrissa จะเป็นอย่างไร ❓ และเคยถูกค้นพบที่ไหนบ้างในประเทศไทย ❓ตามไปดูกันได้ที่ภาพนี้เลย….👇🏻

📚 เอกสารอ้างอิง:
Jones, E.B.G., Pilantanapak, A., Chatmala, I., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Choeyklin, R. (2006). Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol., 28(4): 687-708.
Meyers, S.P. and Moore, R.T. (1960). Thalassiomycetes II. New Genera and Species of Deuteromycetes. Mycologia. 51(6): 871-876.

🙏🏻 กิตติกรรมประกาศ: ผลงานได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ℹ️ ที่มาข้อมูล: ทีมวิจัยราทะเล สวทช.

🗓️ วันที่ 23 มิถุนายน 2566คณะอาจารย์จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นำโดย ดร.จันทรารักษ์ โตวรานนท์ ดร.นันท...
29/06/2023

🗓️ วันที่ 23 มิถุนายน 2566

คณะอาจารย์จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นำโดย ดร.จันทรารักษ์ โตวรานนท์ ดร.นันทนิจ จารุเศรณีย์ และ ดร.นริษฎา ทองกลาง เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ✨

💻 โดยหารือความร่วมมือทางด้านการเก็บรักษาตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพระยะยาวและแนวทางการทำวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ

🧑🏻‍🔬👩🏻‍🔬 โดย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ คุณอนุตตรา ณ ถลาง ดร.จิตติมา พิริยะพงศา ดร.รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม ดร.คมสิทธิ์ วิศิษฐ์รัศมีวงศ์ ดร.ปัญญาวุฒิ อัมพุชินทร์ ดร.นิชชา จำเริญศักดิ์ศรี ดร.ธิติยา บุญประเทือง และ คุณประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ✨
โดยคณะอาจารย์ได้เยี่ยมชม Lab facility ของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ได้แก่
📍 ระบบการจัดเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่อุณหภูมิ -20 °C และ -80 °C ❄️🫘
📍 พิพิธภัณฑ์พืชและเห็ดรา BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH) 🍄🍁
📍 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ 🔬
📍 ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล 🧬
📍 กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการอนุรักษ์ (Plant tissue culture) 🪴
📍 โรงเรือนปลูกกัญชาด้วยระบบ hydroponics ☘️

25/06/2023

การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 17
กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับการเสวนาทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน สำหรับเดือนมิถุนายนนี้เรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับพรรณไม้ในเชิงประวัติศาสตร์ ในหัวข้อ
"พรรณไม้ในพระไตรปิฎก"
โดย ดร.อุษา กลิ่นหอม
นายกสมาคมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสุขภาพวิถีไท
และต่อเนื่องด้วยเรื่องราวของเกร็ดประวัติศาสตร์ในวงการพฤกษศาสตร์ไทย ในหัวข้อ
"เรื่องราวในจดหมายฉบับน้อยจากห้องจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK)"
โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เข้าร่วมผ่านระบบ Cisco Webex Meeting ได้ที่ลิงก์
https://meeting-nstda.webex.com/meet/theerawat.kae

📌การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 17 💥💥ก...
23/06/2023

📌การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 17 💥💥

กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับการเสวนาทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน⏰ สำหรับเดือนมิถุนายนนี้เรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับพรรณไม้ในเชิงประวัติศาสตร์🌱 ในหัวข้อ

"พรรณไม้ในพระไตรปิฎก"🤩
โดย ดร.อุษา กลิ่นหอม
นายกสมาคมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสุขภาพวิถีไท

และต่อเนื่องด้วยเรื่องราวของเกร็ดประวัติศาสตร์ในวงการพฤกษศาสตร์ไทย ในหัวข้อ
"เรื่องราวในจดหมายฉบับน้อยจากห้องจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK)"
โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พบกันใน วันอาทิตย์ ที่ 25 มิถุนายน 2566💥
เวลา 15.00-17.00 น.⏰
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรับชมได้ที่ Facebook live เพจ National Biobank of Thailand

เข้าร่วมผ่านระบบ Cisco Webex Meeting ได้ที่ลิงก์นี้เท่านั้น
https://meeting-nstda.webex.com/meet/theerawat.kae

😍สามารถติดตามรับชมการเสวนาหัวข้อดังกล่าว ได้ในทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน อย่าลืมกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ🥰❤️
สำหรับคนที่พลาดตอนที่ 1-16 สามารถชมย้อนหลังได้ทางเพจ National Biobank of Thailand

🗓️ วันที่ 21 มิถุนายน 2566คณะจากศูนย์เวชพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา เดินทางเข้ามาร่วมประชุมและเย...
22/06/2023

🗓️ วันที่ 21 มิถุนายน 2566

คณะจากศูนย์เวชพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา เดินทางเข้ามาร่วมประชุมและเยี่ยมชม NBT ✨
📍 โดย ดร.ชุมพล งามผิว ดร.จิตติมา พิริยะพงศา ดร.รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม ดร.พงศกร วังคำแหง ดร.พิมลวรรณ โภคาพันธ์ คุณวอทันยู นครศรี และคุณวัชรพจน์ จันทร์พ่วง นำชม
📍ได้มีการนำเสนอในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลจีโนมมนุษย์ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) รวมถึงการจัดทำระบบ variant annotation and prioritization สำหรับข้อมูลจีโนมมนุษย์เพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ และการจัดทำระบบวิเคราะห์ข้อมูลจีโนม
📍ได้นำทีมคณะเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล 🧬 และเข้าชมในพื้นที่ห้อง Data Center ในส่วนของ Facilities ของ NBT ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย 💻🧬🗄️

🗓️ วันที่ 13 มิถุนายน 2566คณะทีมทำงาน Zoonosis and Select agent Laboratory Special Bacterial Pathogen จาก U.S. CDC, APHL...
20/06/2023

🗓️ วันที่ 13 มิถุนายน 2566

คณะทีมทำงาน Zoonosis and Select agent Laboratory Special Bacterial Pathogen จาก U.S. CDC, APHL และ NIH Thailand (DMSc) เดินทางเข้ามาร่วมประชุมและเยี่ยมชม NBT ✨

📍 โดย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ดร.ชุมพล งามผิว ดร.รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม ดร.พิมลวรรณ โภคาพันธ์ ดร.อุษาวดี ชัยพรม คุณอลิษา วิลันโท และคุณวรวิช พรศิริเจริญพันธ์ นำชม
📍โดยได้มีการนำเสนอขีดความสามารถของทาง NBT ในบริบทต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการข้อมูลจีโนมมนุษย์ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย รวมถึงการจัดทำระบบ variant annotation and prioritization สำหรับข้อมูลจีโนมมนุษย์เพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ และการจัดทำระบบวิเคราะห์ข้อมูลจีโนม
📍ได้นำทีมคณะเยี่ยมชมการบริหารจัดการการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่อุณหภูมิ -20 และ -80 °C ด้วยระบบ Automated Sample Storage System ❄️☘️ และเข้าชมในพื้นที่ห้อง Data Center ในส่วนของ Facilities ของ NBT ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) 💻🧬🗄️

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง "ราทะเลไทย Manglicola guatemalensis" 🧫มารู้จักจุลินทรีย์กลุ่มรา...
14/06/2023

วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง "ราทะเลไทย Manglicola guatemalensis" 🧫
มารู้จักจุลินทรีย์กลุ่มรากันมาหลายกลุ่มกันแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลที่พบในไทยกันบ้างนะคะ ✨
ราทะเลพบได้ที่ไหนบ้าง❓มีลักษณะอย่างไรบ้าง❓
มีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศน์❓

🇹🇭 ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านทรัพยากรธรรมชาติของระบบนิเวศน์ทางทะเลและชายฝั่ง 🌳🌈 ราทะเลไทย Manglicola guatemalensis เป็นจุลินทรีย์กลุ่มราที่พบในระบบนิเวศน์ทางทะเล ราดังกล่าวเมื่อพิจารณาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานพบว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับราบนบก (Suetrong et al., 2010, 2011) ในต่างประเทศมีการรายงานราทะเลชนิดนี้เฉพาะประเทศกัวเตมาลาและประเทศบรูไน โดยพบราทะเลชนิดนี้บนรากไม้โกงกาง (Rhizophora mangle) (Kohlmeyer and Kohlmeyer, 1971) ✨

📍 การค้นพบที่น่าตื่นเต้นดังกล่าวเป็นข้อบ่งชี้ว่าประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยทรัพยากรชีวภาพที่รอคอยการค้นพบอีกมากมาย หากระบบนิเวศถูกทำลายไปคงไม่เหลือสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับประเทศ

📍 เอกสารอ้างอิง:
Kohlmeyer, J. and Kohlmeyer, E. (1971) Marine Fungi from Tropical America and Africa. Mycologia. 63(4): 831-861.
Suetrong, S., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Jones E.B.G. (2010) Morphological and molecular characteristics of a poorly known marine ascomycete, Manglicola guatemalensis (Jahnulales: Pezizomycotina; Dothideomycetes, Incertae sedis): new lineage of marine ascomycetes, Mycologia, 102:1, 83-92.
Suetrong, S., Boonyuen, N., Pang, K.L., Ueapattanakit, J., Klaysuban, A., Sriiindrasutdhi, V., Sivichai, S., Jones E.B.G. (2011). A taxonomic revision and phylogenetic reconstruction of the Jahnulales (Dothideomycetes), and the new family Manglicolaceae. Fungal Diversity. 51(1):163-188.

รู้จักกับ… Aurantiochytrium limacinum… 🧫จุลินทรีย์สายพันธุ์ Aurantiochytrium limacinum เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มทรอสโทไคตริด...
13/06/2023

รู้จักกับ… Aurantiochytrium limacinum… 🧫
จุลินทรีย์สายพันธุ์ Aurantiochytrium limacinum เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มทรอสโทไคตริดส์ (Thraustochytrids) จัดอยู่ใน Class Labyrinthulomycetes, Kingdom Straminipila, Super-group Chromalveolata (Adl et. al. 2005) Family Thraustochytriaceae Genus Aurantiochytrium Species limacinum 🦠 พบได้ทั่วไปในป่าโกงกาง ป่าชายเลน น้ำทะเล ดินตะกอน หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเล 🌳🌊 มีลักษณะเป็นเซลล์ทรงกลมเดี่ยว จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสาหร่ายสีน้ำตาล ไม่สังเคราะห์แสง ✨ นักวิจัยของ NBT นำโดย ดร.สาทินี ซื่อตรง ได้ค้นหาและนำมาแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการด้วยอาหารจำเพาะที่มีน้ำทะเลเป็นองค์ประกอบ 🧫🔬🌊

ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือสามารถผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่มีพันธะคู่หลายพันธะ กลุ่มโอเมก้า-3 ชนิด Docosahexaenoic acid (DHA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง การพัฒนาของสมองทารก และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ และภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 🫀✅

ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมในกุ้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของกุ้งวัยอ่อน ใช้เป็นอาหารเสริมในไก่และวัวเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารน้ำนม เนื้อวัวและไข่ดีเฮชเอ 🦐🐓🐮🥚

📍 อ่านเพิ่มเติม ข้อมูลการเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของกุ้งวัยอ่อนได้ที่
https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2018.06.066

📍 เอกสารอ้างอิง:
Adl et al. 2005. The New Higher Level Classification of Eukaryotes with Emphasis on the Taxonomy of Protists. J. Eukaryot. Microbiol. 52: 399-451.
Visudtiphole, V., Phromson, M., Tala, S., Bunphimpapha, P., Raweeratanapong, T., Sittikankaew, K., Arayamethakorn, S., Preedanon, S., Jangsutthivorawat, W., Chaiyapechara,, S., Unagul, P., 2018, “Aurantiochytrium limacinum BCC52274 improves growth, hypo-salinity tolerance and swimming strength of Penaeus vannamei post larvae”, Aquaculture, 495: 849-857.
Visudtiphole, V., Khudet, J., Chaitongsakul, P., Plaisen, S., Siriwattano, J., Laiphrom, S., Klaysuban, A., Raweeratanapong, T., Sittikankaew, K., Rattanaphan, N., Koichai, L., Unagul P. and Uawisetwathana, U., 2021, “Growth and lipidomic analyses of Penaeus monodon larvae supplemented with Aurantiochytrium limacinum BCC52274”, Frontiers in Marine Science, https://doi.org/10.3389/fmars.2021.771929.

ช่วงหน้าฝนมาพร้อมกับความเสี่ยงในเรื่องอะไรบ้าง? 😨วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอความเสี่ยงที่มากับ "เ...
02/06/2023

ช่วงหน้าฝนมาพร้อมกับความเสี่ยงในเรื่องอะไรบ้าง? 😨
วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอความเสี่ยงที่มากับ "เห็ดพิษ ภัยเงียบหน้าฝน" 🍄‼️
• จะสังเกตลักษณะเบื้องต้นได้อย่างไร 🧐
• เห็ดพิษมีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง 🍄
• วิธีการป้องกันการเก็บเห็ดที่มีพิษ จะทำได้อย่างไร ✅
ติดตามได้ที่เพจ NSTDA ในกิจกรรม NSTDA Meets the Press เรื่อง “รู้ทันเห็ดพิษ ภัยร้ายฤดูฝน” ✨

🙏🏻 ขอขอบคุณเพจ NSTDA และทีมงาน NSTDA Meets the Press
📍 ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมหรือส่งสอบถามเห็ดพิษ หรือ ID เห็ดได้ที่ Macro fungi of Thailand (เห็ดราไลเคน จากป่าของไทย)

https://www.facebook.com/100064781376521/posts/645455214290519/?mibextid=cr9u03

🗓️ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรองประธานคณะอน...
01/06/2023

🗓️ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรองประธานคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวเปิดงานประชุมวิชาการประจำปี สมาคมมนุษยพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 2 เรื่อง “ก้าวถัดไปกับจีโนมิกส์ประเทศไทย Genomics Thailand: The Progress and Momentum” 🧬🎊
โดยมี ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา นายกสมาคมมนุษยพันธุศาสตร์ กล่าวรายงานการจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ✨

ร่วมด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ศ.เกียรติคุณ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านสาธารณสุข (EEC), Professor Tim Hubbard Head of Genome Analysis at Genomics England, ศ.เกียรติคุณ นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) และ นางสาวบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ ผู้จัดการงานวิจัย ผู้แทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะกรรมการสมาคม และผู้แทนจากหน่วยงานร่วมสนับสนุนและหน่วยงานพันธมิตร ตลอดจนผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการจากภาครัฐและเอกชนทั้งในงานและผ่านระบบออนไลน์กว่า 300 ท่าน ✨

งานประชุมสมาคมฯ จัดขึ้นในวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซ่า กรุงเทพฯ สามารถรับชมบรรยากาศเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมฯ https://www.tshg.or.th

28/05/2023

การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 16 💥💥💥

กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับการเสวนาทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน⏰ สำหรับเดือนพฤษภาคมนี้เรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พรรณไม้ไทย ในหัวข้อ

"เมื่อเริ่มจะอนุรักษ์พรรณไม้ไทย....ทำอะไรก่อนดี"
โดย ดร.สิรินันท์ ครองตน
ชลธิชา เสนาพันธ์
พัฐทราภรณ์ จำปาเทศ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

และต่อเนื่องด้วยเรื่องราวของพรรณพฤกษศาสตร์ ที่ยังคงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม พิธีกรรมของมนุษย์ ในหัวข้อ
"เรื่องของพรรณไม้จากควันหลงในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลที่ 3"
โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

📌การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 16 💥💥ก...
26/05/2023

📌การเสวนาว่าด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดด้านพฤกษศาสตร์ การรวบรวมหลักฐานและจัดเก็บทำเนียบบุคคลด้านพฤกษศาสตร์ไทย ครั้งที่ 16 💥💥

กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับการเสวนาทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน⏰ สำหรับเดือนพฤษภาคมนี้เรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พรรณไม้ไทย🌱 ในหัวข้อ

"เมื่อเริ่มจะอนุรักษ์พรรณไม้ไทย....ทำอะไรก่อนดี"🤩
โดย ดร.สิรินันท์ ครองตน
ชลธิชา เสนาพันธ์
พัฐทราภรณ์ จำปาเทศ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

และต่อเนื่องด้วยเรื่องราวของพรรณพฤกษศาสตร์ ที่ยังคงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม พิธีกรรมของมนุษย์🕍 ในหัวข้อ
"เรื่องของพรรณไม้จากควันหลงในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลที่ 3"📽️
โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
จากธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พบกันใน วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษภาคม 2566💥
เวลา 15.00-17.00 น.⏰
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรับชมได้ที่ Facebook live เพจ National Biobank of Thailand

เข้าร่วมผ่านระบบ Cisco Webex Meeting ได้ที่ลิงก์นี้เท่านั้น
https://meeting-nstda.webex.com/meet/theerawat.kae

😍สามารถติดตามรับชมการเสวนาหัวข้อดังกล่าว ได้ในทุก ๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน อย่าลืมกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ🥰❤️
สำหรับคนที่พลาดตอนที่ 1-15 สามารถชมย้อนหลังได้ทางเพจ National Biobank of Thailand

📌🦇💩 เชื้อรา Acremonium vitellinum: จุลินทรีย์กลุ่มราจากมูลค้างคาวที่พบในถ้ำภูผาเพชร 💩🦇⛰️ ถ้ำภูผาเพชรตั้งอยู่ในพื้นที่ของ...
26/05/2023

📌🦇💩 เชื้อรา Acremonium vitellinum: จุลินทรีย์กลุ่มราจากมูลค้างคาวที่พบในถ้ำภูผาเพชร 💩🦇

⛰️ ถ้ำภูผาเพชรตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานธรณีสตูล UNESCO Global Geopark ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ซึ่งถ้ำมีขนาดใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก เป็นถ้ำท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในมีหินงอกหินย้อย ประกายแวววาว ดุจเพชร นอกจากความสวยงามดังกล่าว ยังมีระบบนิเวศทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่น่าสนใจ

🧫 เชื้อราดังกล่าวคัดแยกได้จากมูลค้างคาวที่เข้ามาอาศัยอยู่ภายในถ้ำ อีกทั้งยังสามารถพบราชนิดนี้ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น ในดิน และซากพืช มีบทบาทสำคัญในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ นอกจากนี้มีรายงานพบว่ารา A. vitellinum ที่แยกได้จากภายในเนื้อเยื่อสาหร่ายทะเลสีแดง ราสามารถสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอนุพันธ์ของ chloramphenicol (compounds 1–3) ต้านหนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera (Hübner) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูสำคัญของพืชหลายชนิดและต้านทานสารเคมีอีกด้วย

🔬 เชื้อราได้รับการยืนยันชนิดพันธุ์ด้วยข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและข้อมูลระดับชีวโมเลกุล 🧪🧬 และได้เก็บรักษาด้วยวิธีมาตรฐานที่ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ✨

อ้างอิง
Chen, D.; Zhang, P.; Liu, T.; Wang, X.F.; Li, Z.X.; Li, W. and Wang, F.L. Insecticidal Activities of Chloramphenicol Derivatives Isolated from a Marine Alga-Derived Endophytic Fungus, Acremonium vitellinum, against the Cotton Bollworm, Helicoverpa armigera (Hübner) (Lepidoptera: Noctuidae). Molecules. 2018, 23(11): 2995.

ที่อยู่

Phahonyothin Road
Amphoe Pathum Thani
12120

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 08:30 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6625647000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ National Biobank of Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง National Biobank of Thailand:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Amphoe Pathum Thani

แสดงผลทั้งหมด
#}