Clicky

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ แหล่งพืชพันธุ์ดี เทคโนโลยีเป็นยอด ?

- ศึกษาวิจัย พัฒนาพันธุ์พืช ส่งเสริมการผลิต
- พัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร
- ส่งเสริมเกษตรเชิงท่องเที่ยว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร

เปิดเหมือนปกติ

สวัสดีวันฝนพรำ อากาศสดชื่นตอนเย็นนะจ๊ะ#ดาวเรืองดอกไม้ของพ่อ✨🌼🌼
03/09/2017

สวัสดีวันฝนพรำ อากาศสดชื่นตอนเย็นนะจ๊ะ
#ดาวเรืองดอกไม้ของพ่อ✨🌼🌼

สวัสดีวันเสาร์. ❤️
15/07/2017

สวัสดีวันเสาร์. ❤️

ระวังกั๋นต่วยเน้อจ้าว 💦💦💦
15/07/2017
ฮาลำพูน

ระวังกั๋นต่วยเน้อจ้าว 💦💦💦

อุตุเตือนฝนหนักอย่างเป็นทางการ !!!

ฟ้าสูง สูงสุดสู่สามัญ  เตรียมรับฝนจ้าว
14/07/2017

ฟ้าสูง สูงสุดสู่สามัญ เตรียมรับฝนจ้าว

งานสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ งานบริการประชาชน งานศึกษาทดสอบและงานวิจัยบริการให้ความรู้ทางการเกษตรคืองานของเรา ข้าของแผ่นดิน
31/03/2017

งานสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ งานบริการประชาชน งานศึกษาทดสอบและงานวิจัยบริการให้ความรู้ทางการเกษตรคืองานของเรา ข้าของแผ่นดิน

นายนิวัติ ชาติดี ผอ.ศสพ.ลพ.มอบหมายให้เจ้าหน้าที่นวส.และคณะเตรียมความพร้อมผลิตอนุบาลพันธุ์พืชเพื่อให้การสนับสนุนพืชพันธุ์...
06/02/2017

นายนิวัติ ชาติดี ผอ.ศสพ.ลพ.มอบหมายให้เจ้าหน้าที่นวส.และคณะเตรียมความพร้อมผลิตอนุบาลพันธุ์พืชเพื่อให้การสนับสนุนพืชพันธุ์ดีโครงการด้านการเกษตรจ.ลำพูน ;คก.เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ คก.เปิดตลาดเกษตรกรจ.ลำพูน คก.ในพระราชดำริฯ ปี2560

กลับมาแล้วคะ📢📢📢📢.  หลังจากห่างหายไปนาน 29 พฤศจิกายน 2559 ปะกันจ้าว สำรองที่นั่งมาได้เลยค่ะ  ฟรีตลอดงาน  โทร.081-2879596 ...
17/11/2016

กลับมาแล้วคะ📢📢📢📢. หลังจากห่างหายไปนาน

29 พฤศจิกายน 2559 ปะกันจ้าว สำรองที่นั่งมาได้เลยค่ะ ฟรีตลอดงาน โทร.081-2879596 (จอย)

ศูนย์รวมความรู้การเกษตร
17/08/2016

ศูนย์รวมความรู้การเกษตร

#วิธีปลูกกล้วยหอมทอง

ต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารเคมี พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 177 หน่อ
1. ค่าเตรียมดิน 3,000 บาท
2 .ค่าหน่อพันธุ์ 2,124 บาท
3 .ค่าแรงปลูก 2,000 บาท
4 .ค่าน้ำมันตัดหญ้า (8 ครั้ง) 750 บาท
5 .ค่าปุ๋ยคอก 2,400 บาท
6 .ค่าปุ๋ยเคมี 3,000 บาท
7 .ค่าตัดหญ้า 1,920 บาท
รวมต้นทุน 15,194 บาท

-ผลผลิต/รายได้
กล้วยหอมทองพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 177 หน่อ จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 80-90%
(ขึ้นอยู่กับการดูแล) รายได้เฉลี่ย/เครือประมาณ 180-200 บาท (ในสภาพที่กล้วยสมบูรณ์และได้รับผลเต็มที่)

-การปลูก
การเตรียมดินไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1- 2ครั้ง ให้ดินร่วนซุยไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่หรือ ทำแปลงขนาดกว้าง 7 เมตร ปลูก 3 แถว 2 x 1.8 เมตร

-การเตรียมหลุมปลูก
1. ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 3x 3 เมตร
2. ขนาดหลุมปลูก กว้าง 80 ซ.ม.ยาว 80 ซม.ลึก 30 ซม.
3. รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 5 กิโลกรัม/หลุม

-การเตรียมและการปลูก
1. ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อมีความยาว 25 – 35 ซม. มีใบแคบ 2 – 3 ใบ

2. วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม

3. กลบดินและกลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ(โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก 15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่ต้นกล้วย)

-การให้ปุ๋ย
1. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 เดือน ด้วยสูตร 10 – 5 – 15 หรือ 10 – 0 – 20 หรือสูตรใกล้เคียงอัตรา 80 – 100 กรัม/ต้น/ครั้ง

2. ใส่ครั้งที่ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 3 เดือน ด้วยสูตร 10 – 5 – 15 หรือ 10 – 0 – 20 หรือสูตรใกล้เคียงอัตรา 250 กรัม/ต้น/ครั้ง

3. ใส่ครั้งที่ 3 เมื่อกล้วยหอมอายุ 5 เดือน ด้วยสูตร 5 – 15– 20หรือ สูตรใกล้เคียงอัตรา 250 กรัม/ต้น/ครั้ง

4. ใส่ครั้งที่ 4 เมื่อกล้วยหอมอายุ 6-7 เดือน เพื่อบำรุงคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตร 10 – 0 –10 อัตรา 50 - 100 กรัม

-การแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 3 – 5 เดือน ให้แต่งหน่อเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์

หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก

เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง

แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้

จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

-การตัดแต่งทางใบ
ควรตัดแต่งทางใบเมื่อกล้วยมีอายุ 3 – 5 เดือน ตัดเฉพาะใบที่หมดอายุการใช้งานโดยเหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 8 – 10 ใบ

-การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 6-8เดือนกล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมออกปลีโดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมากชูก้านใบชี้ขึ้นท้องฟ้า เรียกว่า “ใบธง” หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน และกาบปลีจะบานจนสุดหวี

-การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีมาระยะหนึ่ง หวีที่อยู่ปลายเครือจะเริ่มเล็กลงและผลจะสั้นขนาดของผลไม่สม่ำเสมอกันซึ่งเรียกว่า”หวีตีนเต่า” จะตัดแต่งปลายเครือถัดจากหวีตีนเต่า 3 ชั้นเพื่อไว้สำหรับจับปลายเครือเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว

การค้ำยันต้น
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหกล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง

การเก็บเกี่ยว
หลังจากตัดปลีกล้วยออกจากเครือแล้วประมาณ 53 วัน จะได้เนื้อกล้วยประมาณ 75 – 80 % จึงทำการตัดกล้วยทั้งเครือแล้วนำมาหุ้มด้วยแผ่นโฟมขนาด 3 มม.เพื่อป้องกันกล้วยช้ำระหว่างการนำส่งโรงงานภายใน 24 ชั่งโมง

หมายเหตุ
ควรมีการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้งเพื่อลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี

มาตรฐานกล้วยหอมทอง
1.เป็นแปลงกล้วยของสมาชิกที่ไม่ใช้สารเคมี
2.สีเนื้อของกล้วยอยู่ที่ประมาณ 70-75%
3 กล้วยที่ทำการส่งออกจะต้องมีน้ำหนักต่อลูกอย่างน้อย 110 กรัม/ลูก
4 รอยแผล ช้ำ ปานแดง และลูกลาย บนผิวกล้วยนั้นรวมแล้วไม่เกิน 20%
รูปภาพประกอบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"มะนาว"!
05/07/2016
ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"มะนาว"!

ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"มะนาว"!

เตือนเจ้าของสวนมะนาว ช่วงนี้อากาศชื้น ฝนตกชุก ให้ระวังหนอนชอนใบ แมลงเต่าทอง หนอนแก้วส้ม และโรคแคงเกอร์เข้าทำลายใบอ่อน

สรุปผลโครงการ  พัฒนาจังหวัดปี 2558
26/02/2016

สรุปผลโครงการ พัฒนาจังหวัดปี 2558

่ส่งพันธุ์พืช จากการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ โครงการพัฒนาจังหวัดลำพูนปี 58 อ. เมีอง อ.แม่ทา
07/02/2016

่ส่งพันธุ์พืช จากการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ โครงการพัฒนาจังหวัดลำพูนปี 58 อ. เมีอง อ.แม่ทา

ส่งมอบปัจจัยการผลิต โครงการพัฒนาจังหวัด ปี 58/59 แก่กลุ่มเกษตรกร  อ.แม่ทา  และ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
27/01/2016

ส่งมอบปัจจัยการผลิต โครงการพัฒนาจังหวัด ปี 58/59 แก่กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ทา และ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

จัดส่ง พันธุ์พืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ(กล้วยไม้) โครงการพัฒนาจังหวัด ปี 58/59 แก่กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ทา จ.ลำพูน
19/01/2016

จัดส่ง พันธุ์พืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ(กล้วยไม้) โครงการพัฒนาจังหวัด ปี 58/59 แก่กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ทา จ.ลำพูน

เชื่อมซัพพลายเชนโลก แผนการณ์ค้า เจ้าสัว "เจริญ"
16/02/2015
เชื่อมซัพพลายเชนโลก แผนการณ์ค้า เจ้าสัว "เจริญ"

เชื่อมซัพพลายเชนโลก แผนการณ์ค้า เจ้าสัว "เจริญ"

"ทีซีซี กรุ๊ป" ธุรกิจแสนล้านเจ้าสัวเจริญ วันนี้เริ่มเห็นภาพชัดบนแผนที่โลก กับเกมต่อหาง "ซัพพลายเชน"เคลื่อนทัพบริษัทลูกนับร้อยสู่เอเชีย

เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 10 ราย วันที่ 25 ธ.ค 57 ณ.ศสพ.ลพ และวันที่ 26 ได้เดินทางไปดูงานณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่...
21/01/2015

เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 10 ราย
วันที่ 25 ธ.ค 57 ณ.ศสพ.ลพ และวันที่ 26 ได้เดินทางไปดูงานณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
และแจกจ่ายปัจจัยการผลิตดังนี้ (คนละ *)
1. กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
2. มะละกอ คนละ 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
3. ปูเล่ คนละ 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
4. มะนาว 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
5. มะเขือพันธุ์ เจ้าพระยา 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
6. พริกขี้หนู 10 ต้น (รวม 100 ต้น)
7. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คนละ 1 ขวด (รวม 10 ขวด )
8. ปุ๋ยคอก คนละ 5 กระสอบ (รวม 50 กระสอบ )

19/01/2015
เดินหน้าประเทศไทย : เดินหน้าคุณภาพกล้วยไม้ไทย

เดินหน้าประเทศไทย : เดินหน้าคุณภาพกล้วยไม้ไทย

2015/01/17 เดินหน้าประเทศไทย : เดินหน้าคุณภาพกล้วยไม้ไทย Official Website : http://www.manager.co.th https://www.facebook.com/ASTV.manager.LIVE https://twitt...

เรารักสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
31/12/2014

เรารักสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. ประจำปี 2558

Smart SME
30/12/2014

Smart SME

มาดูเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับกล้วยน้ำว้า กัน....

กล้วยดิบ
เปลือกภายนอกสีเขียวเข้ม ช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และด้วยตัวกล้วยดิบเองซึ่งมีฤทธิ์ในการลดกรดในกระเพาะ จึงเป็นยาทางธรรมชาติที่รักษาโรคกระเพาะที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันทั่วไป กล้วยดิบไม่สามารถรับประทานสดๆได้ วิธีการจึงต้องนำกล้วยมาฝานเป็นแว่นๆแล้วอบด้วยความร้อนต่ำไม่เกิน 50 องศา จนแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา 3 ครั้งก่อนอาหาร โดยสามารถผสมกับน้ำผึ้งเพื่อให้รสชาติดีขึ้นง่ายต่อการรับประทาน

กล้วยห่าม
หรือกล้วยกึ่งดิบกึ่งสุก เปลือกภายนอกสีเหลืองแต่มีสีเขียวประปราย สามารถรับประทานได้สดๆ รสชาติไม่หวานจัดอาจติดรสฝาดเล็กน้อย กล้วยห่ามมีโพแทสเซียมสูง จึงให้ผลดีกับผู้มีอาการท้องเสียเนื่องจากผู้ป่วยจะสูญเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมาก ซึ่งหากขาดมากอาจมีผลกระทบกับการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้กล้วยห่ามยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเพิ่มกากใยในการขับถ่ายให้กับผู้ป่วย สารเซโรโทนินในกล้วยห่ามยังช่วยออกฤทธิ์ กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกมากขึ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

กล้วยสุก
สีเหลืองสด รสชาติอร่อยที่ปกติเราชอบรับประทานกัน ให้ผลตรงกันข้ามกับกล้วยห่าม เนื่องจากเป็นยาระบายอ่อนๆให้ผลดีกับคนที่มีอาการท้องผูก เพราะมีสารเพ็กตินอยู่มาก เพ็กตินเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและที่สำคัญเป็นอาหารของแบ็คทีเรียในลำไส้ หรือ prebiotic ตามธรรมชาติ จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมากๆต้องรับประทานวันละ 5-6 ลูกเพื่อให้ได้ผลดี

กล้วยงอม
กล้วยสุกจัดผิวคล้ำไม่สดสวย ที่หลายๆคนไม่ชอบรับประทาน แต่กลับให้ผลดีอย่างมากมายในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคภัยต่างๆ เพราะช่วยเพิ่มเซลเม็ดเลือดขาว และมีสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถในการต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ และยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ มีจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เกิดสารเสริมภูมิต้านทานนี้มากขึ้น การรับประทานกล้วยสุกจัดเป็นประจำวันละ 1-2 ลูกยังช่วยเสริมภูมคุ้มกันโรคหวัด ไปในตัวค่ะ

ข้อมูลจาก
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=601d58501588a1cb

อบรมเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ 23-24 ธันวาคม 57
23/12/2014

อบรมเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ 23-24 ธันวาคม 57

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
12/12/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ลูกหม่อน : ลดเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง
ผลสุกสีออกม่วงแดง รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอล แอนโทไซยานิน และเรสเวอราทอล ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและสมอง ทำให้ความจำดีขึ้น สารสกัดจากลูกหม่อน ช่วยลดน้ำหนักได้ ใบหม่อนนำมาทำชา ช่วยลดความดันโลหิตสูง (เครดิตภาพ : mimt, egae41, ใบเลี้ยงเดี่ยว, Yood, TaMOR, keata)

แปลงไม้ผลเปิดใหม่ ศสพ.ลพ
04/12/2014

แปลงไม้ผลเปิดใหม่ ศสพ.ลพ

ทีวีพูล TVPool
24/11/2014

ทีวีพูล TVPool

ทรงพระเจริญ

Nick Genie
20/11/2014

Nick Genie

จุดยืนของคนที่เป็นผู้นำ
คืออย่าย่ำอยู่กับที่

Democrat Party, Thailand พรรคประชาธิปัตย์
08/11/2014

Democrat Party, Thailand พรรคประชาธิปัตย์

วันพระราชสมภพรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7 ครองราชย์ 9 ปี (พ.ศ. 2468 - 2477) พระชนมายุ 48 พรรษา



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชจักรีวงศ์ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์

พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรส-พระราชธิดา

พระองค์ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ)

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ประเทศอังกฤษ

พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริดำรงราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวมพระชนมพรรษา 48 พรรษา

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thailaws.com/king/king_lor07.htm

ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้
23/10/2014

ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้

ปุ๋ยหมักคืออะไร

ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ คืออันเดียวกันครับ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Compost หรือ Organic Fertilizer เป็นผลิตผลจากกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) เป็นการย่อยสลายเศษพืชโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน จนได้ผลผลิตคล้ายฮิวมัส ที่ดำ นุ่ม เบา ไม่มีกลิ่น สามารถนำไปเก็บได้นานโดยไม่เกิดปฏิกิริยาขึ้นอีกในภายหลัง หรือไม่เกิดโทษต่อพืชที่เพาะปลูก .... ในปุ๋ยหมักจะอุดมไปด้วยอินทรียวัตถุ จุลธาตุ ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารหลัก สามารถนำไปผสมดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูกได้ดี .... อินทรียวัตถุ จุลธาตุ ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารหลัก มาจากที่มีในเศษพืชอยู่แล้ว จากการที่รากพืชดูดซับแร่ธาตุขึ้นมาจากดินเพื่อสะสมไว้ในใบ กิ่งก้าน ลำต้นสำหรับการเจริญเติบโต เมื่อนำเศษพืชไปทำเป็นปุ๋ยหมัก แร่ธาตุเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่ในปุ๋ยหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้พืชก็จะได้รับแร่ธาตุเหล่านี้อย่างเพียงพอ เกิดผลดีต่อพืชเพาะปลูกของเรา

ปุ๋ยหมักควรมีค่าต่าง ๆ ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ ..... การนำใบไม้มาสุมกันให้เปื่อยใน 1 ปี รดน้ำบ้าง ไม่รดบ้าง เป็นไปโดยธรรมชาติ อย่างนี้ฝรั่งไม่เรียกว่าเป็นปุ๋ยหมักหรือ Compost ครับ เขาเรียกว่าเป็นการทำวัสดุคลุมดินหรือ Mulch ครับ ซึ่งจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารบ้างเหมือนกัน แต่ไม่สามารถมีค่าต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ได้ครับ ........ กฎหมายของไทยกำหนดว่าใครที่ผลิตปุ๋ยหมักมีค่าผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์สามารถไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ได้ ....... ใครผลิตปุ๋ยหมักแล้วมีค่าไม่ถึงมาตรฐานแล้วนำไปขาย ก็จะถูกจับปรับในข้อหาขายปุ๋ยปลอมครับ

ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง เป็นผลงานวิจัยของจารย์ลุงที่เน้นให้ปุ๋ยหมักที่เกษตรกรผลิตได้มีค่าสูง ๆ ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศทุกครั้ง จะทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยหมักแรง ๆ ใช้ และสามารถขายปุ๋ยหมักในชุมชนสร้างรายได้ได้อย่างถูกกฎหมาย

จุลธาตุมี 8 ตัว ธาตุอาหารรองมี 3 ตัว ธาตุอาหารหลักมี 3 ตัว ส่วนจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ก็ขอให้ไปอ่านดูในลิ้งค์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=743737425642672&set=a.730302246986190.1073741829.729811563701925&type=1

จากการวิเคราะห์ในห้องแล็ป พบว่าในปุ๋ยหมักมีโบรอน โมลิบดินัม และอื่น ๆ ที่เป็นจุลธาตุอยู่มาก ตามลิ้งค์อันนี้ครับ
https://www.facebook.com/CompostClassroom/photos/a.730302246986190.1073741829.729811563701925/920617637954649/?type=1&permPage=1

ในการทำปุ๋ยหมักวิธีต่าง ๆ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่ต้องมีการพลิกกลับกองปุ๋ยบ่อย ๆ ก็เพื่อนำออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยนั่นเอง แต่ปัญหาก็คือเปลืองแรงงานและทำได้ครั้งละมาก ๆ ไม่ได้ อย่างมากก็ได้แค่ครั้งละ 1 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่พอใช้ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 10 ไร่ต่อครอบครัว ในขณะที่กรมพัฒนาที่ดินแนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมักถึง 2 ตันต่อไร่ (จารย์ลุงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมัก 300 - 3,000 กก.ต่อไร่ หรือไม่เกิน 2 กก.ต่อตารางเมตร ..... จะใส่มากหรือน้อยขึ้นกับคุณภาพดิน) ปัญหาที่ทำได้ครั้งละไม่มากและต้องพลิกกองนี้จึงส่งผลทำให้เกษตรกรไทยหันหลังให้กับการผลิตปุ๋ยหมักขึ้นใช้เอง แล้วหันไปพึ่งปุ๋ยเคมีที่ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า แล้วเผาเศษพืชทิ้งไป

เมื่อเกษตรกรปลูกพืชผักและข้าว แล้วเก็บเกี่ยวออกไปเรื่อย ๆ แร่ธาตุก็ถูกดึงออกจากพื้นดินไปเรื่อย ๆ เช่นกัน โดยไม่มีการเติมแร่ธาตุกลับลงไปในดิน จะมีก็แต่การเติม N P K จากปุ๋ยเคมีเท่านั้น .... แล้วก็มาถึงวันหนึ่ง ที่ดินเพาะปลูกเริ่มขาดความสมบูรณ์ ดินเป็นกรด ขาดชีวิต ขาดอินทรียวัตถุ ผลผลิตก็เลยตกต่ำ การใช้ปุ๋ยเคมีก็เลยต้องใช้มากขึ้น ๆ ๆ ๆ พืชกลับอ่อนแอลง เป็นโรคง่าย การระบาดของโรคต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นได้ง่าย เกษตรกรก็ต้องใช้ยาสารเคมีมากขึ้น ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ .... เมื่อบวกกับผลผลิตที่ตกลง เกษตรกรไทยจึงต้องขาดทุนอย่างหลึกเลี่ยงไม่ได้

เพื่อแก้ปัญหานี้ การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ จึงต้องกลับมามีความจำเป็น .... นวัตกรรมใหม่ การผลิตปุ๋ยหมักตามแบบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ "วิศวกรรมแม่โจ้ 1" ที่กองเป็นแถวยาว ไม่ต้องพลิกกลับกอง สามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้งละ 10 - 100 ตันได้โดยไม่ต้องพลิกกอง มีฟางในนาก็ทำกองปุ๋ยข้างนา สามารถตากแดดตากฝนได้ ก็น่าจะช่วยเกษตรกรแก้ปัญหานี้ได้ครับ เศษพืชก็จะไม่ถูกเผาทิ้ง แร่ธาตุและความอุดมสมบูรณ์จะถูกนำกลับมาให้ต้นพืชและดินปลูก ผลผลิตและชีวิตในแปลงก็จะกลับคืนมา ต้นพืชแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี ดินดี ผลผลิตเพิ่ม เกษตรกรไทยก็น่าจะกลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้งหนึ่ง ..... ขอเพียงยอมขยันให้ถูกทางเท่านั้น

มีเกษตรกรหลายรายนำปุ๋ยหมักไปใช้ในการปลูกพืชผักและข้าวแบบอินทรีย์ ที่ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีเลย ก็ได้ผลดี เป็นการปลูกแบบธรรมชาติ แต่ผลผลิตกลับมีราคาสูง เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ก็เลยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่มีหัวทันสมัย ยอมรับการ "เปลี่ยนแปลง" ไม่กลัวเพื่อนบ้านนินทา นำไปสู่การแก้ปัญหาเดิม ๆ ได้ หยุดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่หันไปปลูกแบบผสมผสาน ที่มีความพอเพียง ตามแนวทางของในหลวงแทน

ปุ๋ยหมักต่างจากปุ๋ยชีวภาพครับ ตรงที่ปุ๋ยหมักเน้นสิ่งที่เป็นประโยชน์คืออินทรียวัตถุ จุลธาตุ ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารหลัก ไม่เน้นจุลินทรีย์ จึงควรทำให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพราะจุลินทรีย์ที่อยู่ในกองปุ๋ยเป็นจุลินทรีย์กลุ่มชอบย่อยเศษพืช จึงต้องทำให้สงบตัวก่อนใช้โดยการทำให้แห้ง ไม่ให้ไปกัดกินรากพืชของเรา .... ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพจะเน้นเฉพาะจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ต้องรีบใช้ให้หมดเร็วที่สุด

วิธีการผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 ก็ตามลิ้งค์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137

ถ้ามีคำถาม โปรดโพสต์ถามเข้ามาใหม่ที่หน้าเพจนะครับ แต่อย่าเขียนถามหรือให้ความคิดเห็นในลิ้งค์ที่ให้ไป เพราะระบบแบบเพจไม่เหมือนเฟสบุ๊คครับ มันไม่สามารถแจ้งเตือนจารย์ลุงว่ามีผู้ให้ความเห็นในโพสต์เก่าได้ครับ จะทำให้ไม่สามารถกลับไปตอบข้อข้องใจสงสัยได้

รูปนี้เป็นของกลุ่มเกษตรกรโครงการปิดทองหลังพระ บ้านปาง ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ ที่ทีมจารย์ลุงไปช่วยด้านการทำปุ๋ยหมัก ..... ปุ๋ยหมัก 6 กองที่เห็นลงทุนขี้วัวไป 9,000 บาท แต่มีเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่มาจองทั้งหมด ขายได้ 69,000 บาททีเดียวครับ

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
19/10/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

เชอรี่ไทย : ผลไม้อารมณ์ดี ลดการอักเสบ
ผลไม้สีแดงสด รสเปรี้ยว มีกลิ่นหอม สารที่มีอยู่ในเชอรี่ไทย คือ สารในกลุ่มแอนโธไซยานิน ช่วยลดการอับเสบ การเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ รับประทานเป็นประจำจะมีอารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้นสำหรับผู้มีอาการท้องผูก

ช่อง one31
16/10/2014

ช่อง one31

คำขวัญวันอาหารโลก 2014
Family Farming : Feeding the world, caring for the earth.

"วันอาหารโลก"
ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาความอดอยาก..
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า..

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
12/10/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ผักเชียงดา : เกิดมาฆ่าน้ำตาล
ยอดอ่อนและใบอ่อนผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาเบาหวาน ใช้เป็นยาลดน้ำหนัก ช่วยเผาพลาญน้ำตาลมากกว่าเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม (เครดิตภาพ : jato, หวานหวาน)

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรในหลวง
09/10/2014
ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรในหลวง

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรในหลวง

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร อยู่เป็นมิ่งขวัญปวงชนชาวไทยตลอดไป

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
02/10/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ลูกหว้า : ผลไม้ช่วยยับยั้งมะเร็ง
ผลสุกมีสีม่วงเข้มถึงดำ รสชาติจะออกหวาน มีรสฝาดเล็กน้อย ลูกหว้ามีสารกลุ่มแอนโธไซยานิน (ไซยานิดิน) กรดเอลลาจิก กรดเฟอรูลิก ซึ่งสารกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ มะเร็งช่องปาก และมะเร็งเต้านมได้ (เครดิตภาพ : เกษม ฯ, บ่งบ๊ง, noknoy, แมงปอ13, สมาชิกหมายเลข 875070, bankcnx, pharmacy.mahidol.ac.th)

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
30/09/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ลูกหม่อน : ลดเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง
ผลสุกสีออกม่วงแดง รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอล แอนโทไซยานิน และเรสเวอราทอล ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและสมอง ทำให้ความจำดีขึ้น สารสกัดจากลูกหม่อน ช่วยลดน้ำหนักได้ ใบหม่อนนำมาทำชา ช่วยลดความดันโลหิตสูง (เครดิตภาพ : mimt, egae41, ใบเลี้ยงเดี่ยว, Yood, TaMOR, keata)

มูลนิธิหมอชาวบ้าน
28/09/2014

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

เบญจมาศ : ความงามแห่งจิตวิญญาณตะวันออก
เบญจมาศชอบแสงแดด ดินระบายน้ำดี ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน ออกดอกได้ตลอดปี ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยวแล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอกคล้ายทานตะวันหรือบานชื่น มีทั้งสีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีส้ม สีบานเย็น และสีม่วง (เครดิตภาพ : สายหมอกและก้อนเมฆ, tulsa, natres.psu.ac.th, ที่เห็นและเป็นมา, SAMA)

Kanok Ratwongsakul Fan Page
22/09/2014

Kanok Ratwongsakul Fan Page

วันนี้ทำงานวันแรก ทีมงาน รายการLineกนก พาไปลุยสวน "หญ้าฮี๋ยุ่ม" ที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ทำเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร เสริมสมรรถภาพทางเพศทั้งหญิงและชายโดยเฉพาะ! คุณหมอสุภาภรณ์ ปิติพร, คุณหมอเบญจวรรณ หมายมั่น และ "น้าเนียง" แห่งหมู่บ้านสมุนไพร "บ้านดงบัง" ให้ความรู้และเคล็ดลับมากมาย กินตัวไหนผัวหลง! กินตัวไหนมี 32 ผัว และ กินตัวไหน..หญิงจะเปลี่ยนจากรับเป็นรุก!!! อย่าพลาดวันอาทิตย์นี้ 28 ก.ย.
TalkaTive_Nation22

ที่อยู่

101 หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบัวบาน
Lamphun
51000

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 16:00
17:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 16:00

เบอร์โทรศัพท์

+6653565013

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ:

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Lamphun

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

ขอทราบเบอร์โทรศูนย์กับที่ตั้งหน่อยครับ
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Lamphun (แสดงผลทั้งหมด)

ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังห ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเช สสว.ศูนย์ OSS ลำพูน ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้ เช็คอินผังเมืองหละปูน สำนักงานโยธาธิการและผังเมื สำนักงาน กสทช. เขต 32 บ้านพักเด็กและครอบครัวจังห สธค. โรงรับจำนำของรัฐ สาขา 36 - สำนักงานจัดหางานจังหวัดลำพ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด