ความคิดเห็น
หลังจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้โทรมาหลอกพระกรวิชญ์ วชิรญาโณ ว่าเป็นพนักงานบริษัทขนส่ง บอกว่ามีพัสดุถูกกรมศุลกากรตรวจสอบว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย และมีรายชื่อติดในเครือข่ายฟอกเงิน
ต่อมาคนร้ายอีกรายอ้างชื่อเป็นตำรวจ และได้พูดคุยกับพระกรวิชญ์ฯ จากนั้นพระกรวิชญ์ฯ ยอมโอนเงินไปให้ 140,000 บาท ถูกอ้างว่าต้องโอนเงินไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ต่อมามิจฉาชีพได้ทำการบล็อก จึงไม่สามารถติดต่อได้
โดยต่อมาตำรวจไซเบอร์ได้ตามรวบตัวหนึ่งในขบวนการได้ที่ บริเวณตลาดสุวินทวงค์ หมู่1 ต.คลองอุดมชลจร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.รัษฎา จ.ตรัง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ตำรวจไซเบอร์เปิดแผนการระดมกวาดล้างที่ใช้ชื่อว่า ยุทธการ “หักขา (บัญชี)ม้า” ในช่วงตั้งแต่วันที่ 20-26 ม.ค.2565 โดยมุ่งเน้นการปราบปรามบัญชีที่รับจ้างให้เปิด และถูกนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ หรือที่เรียกกันว่าบัญชีม้า ซึ่งการที่รับจ้างเปิดบัญชี มีความผิดทางกฏหมายและถือว่ามีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมในฐานะตัวการร่วม
ตำรวจไซเบอร์จึงอยากขอเตือนว่าอย่ายินยอมหรือรับจ้างเปิดบัญชีให้ผูุ้อื่นโดยเด็ดขาดถ้าไม่อยากถูกดำเนินคดี
บัญชีม้า...คืออะไร ผิดกฎหมายยังไง
เตือนภัยแก๊งค์เงินกู้ ตามนโยบาย “vaccine cyber” ของ ผบ.ตร. ในการ สร้างการรับรู้ เตือนภัย อาชญากรรมทางเทคโนโลย และสร้างเกราะป้องให้กับประชาชน”
รายการ สถานีวิทยุ อสมท. FM 100.5 MHZ โดย พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. ได้ให้สัมภาษณ์ ในประเด็น “ล่าแก๊งทวงหนี้ผู้ป่วยติดเตียง” จากการณีมิจฉาชีพหญิงอ้างเป็นฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน
อย่างนี้ก็ได้เหรอ สองสามีภรรยา รวมกันเกือบ 40 หมายจับ #ตำรวจไซเบอร์ ตามรวบตัวมาจนได้ #เตือนภัย #ระวังมิจฉาชีพ #โจรออนไลน์
#ช่วยกันแชร์ #เตือนภัย กลโกงแก๊งค์เซ็นเตอร์
#ตํารวจไซเบอร์
เตือนด้วยความหวังดี บัญชีม้า ถูกจับ ติดคุก!!!
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ นายกฯ สั่ง ล็อกดาวน์ 5 จังหวัด มีความเสี่ยงสูง
ตามที่มีการโพสต์ภาพ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง นายกฯ สั่ง ล็อกดาวน์ 5 จังหวัด มีความเสี่ยงสูง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการเผยแพร่รูปภาพ ที่มีเนื้อหาระบุว่า นายกฯ สั่งล็อกดาวน์ 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เพราะมีจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงมากนั้น ทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า รูปภาพดังกล่าวเป็นของปี 2564 โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคม 2564 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการประกาศออกมาแต่อย่างใด และขอความร่วมมือประชาชนติดตามข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือ ศบค. เท่านั้น
ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลมาตรการดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์
www.prd.go.th/th หรือโทร. 02-618-2323
บทสรุปของเรื่องนี้ : ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศล็อกดาวน์แต่อย่างใด ซึ่งภาพและข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวเก่าเมื่อช่วงเดือน ม.ค. 64
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี
📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม
LINE : (
http://nav.cx/uyKYnsG)
Website :
https://www.antifakenewscenter.com/
Twitter:
https://twitter.com/AFNCThailand
สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87
#ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #ล็อกดาวน์ #โควิด #โอมิครอน
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์
www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๗-๙ มกราคม ๒๕๖๕
https://wellwishes.royaloffice.th/
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนประชาสัมพันธ์ถึงแนวโน้มการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล(Digital Asset) รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนี้
ในปัจจุบันการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่ง่ายขึ้น และเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนน่าดึงดูด อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นไปอีกในอนาคต โดยจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2564 มีผู้เปิดบัญชีตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลสูงถึง 1.77 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 กว่า 1 ล้านบัญชี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปอีก แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ส่งผลให้มีผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ซึ่งได้มีการนิยามความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล และได้จัดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคริปโทเคอร์เรนซี่(Cryptocurrency) หมายถึง หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิใดๆ หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล ก็ถูกจัดเป็นหนึ่งในประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนอีกด้วย ในส่วนของการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งในการยื่นขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาต เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมถึงเสียค่าธรรมเนียม ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ประกอบธุรกิจที่ผ่านการคัดกรองจาก ก.ล.ต. และได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแล้วจำนวน 8 ราย ได้แก่ BITKUB, Satang Pro, Huobi, ERX, Zipmex, Upbit, Z.comEX, และ SCBS(ข้อมูลจาก ก.ล.ต.) ซึ่งในส่วนของผู้ที่สนใจลงทุนก็ควรตรวจสอบว่าศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนเองได้ทำธุรกรรมนั้นมีการขออนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่ใช่ ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตแล้ว 8 รายข้างต้น ก็ขอให้ใช้วิจารณญาณให้มาก เนื่องจากการทำธุรกรรมนั้นๆ จะไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. และอาจเป็นมิจฉาชีพแฝงตัวมาก็เป็นได้ ซึ่งหากพบว่าการทำธุรกรรมมีเงื่อนไขที่น่าสงสัย หรือดูดีเกินไป ก็ควรหลีกเลี่ยงไป โดยจากสถิติของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 64 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 พบว่ามีการร้องทุกข์ในความผิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกว่า 100 คดี มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 180 ล้านบาท จึงขอให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังให้มากไม่เช่นนั้นท่านอาจจะถูกฉ้อโกงจนสูญเสียทรัพย์สินหรือถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล(Identity Theft) และอาจจะนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปหาประโยชน์ในทางที่ผิดกฎหมาย จนท่านเองอาจจะตกเป็นผู้ต้องหาโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และเพื่อเป็นการป้องกันอาชญากรรมที่อาจแฝงมาสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวของให้เร่งทำการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ถึงพิษภัยที่แอบแฝงมาและแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์(Cyber Vaccine) ให้กับประชาชน และขอให้ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นผลดีต่อทั้งผู้ประกอบธุรกิจและผู้ลงทุน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันและตัดโอกาสเหล่ามิจฉาชีพที่อาจจะฉวยโอกาสในการกระทำความผิดต่อไป
ในส่วนของผู้ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นจะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 มีโทษจําคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ในส่วนของผู้ที่ลงทุนกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทย เนื่องจากธุรกรรมภายในธุรกิจนั้นๆ ไม่อยู่ ภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต. และหากเกิดการหลอกลวงหรือฉ้อโกงขึ้นก็จะติดตามและตรวจสอบได้ยาก
รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมไปยังประชาชนผู้ที่สนใจในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ถึงแนวทางในการป้องกันหลีกเลี่ยงเหล่ามิจฉาชีพที่แอบแฝงตัวมา โดยก่อนจะลงทุนใดๆ ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน เนื่องจากการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตลาดมีความผันผวนสูง จึงต้องใช้ความระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้ดี ต้องตรวจสอบให้ดีว่าสินทรัพย์ดังกล่างนั้นได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สํานักงานคณะกรรมกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)
https://www.sec.or.th/TH/Pages/SHORTCUT/DIGITALASSET.aspx และควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในธุรกิจหรือสินทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องนอกจากนี้หากพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด สามารถแจ้งไปยัง Call Center สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง