
31/05/2023
ฝากประชาสัมพันธ์ค่ะ
Basic and applied Research on Energy, Environment, and Catalysis is intensively investigated by our Research Institute
ฝากประชาสัมพันธ์ค่ะ
(ด่วน) มีตำแหน่งผู้ช่วยวิจัยระยะสั้น รายละเอียดตามแนบค่ะ
ประกาศรับสมัครผู้ช่วยวิจัย
ตำแหน่ง: ผู้ช่วยวิจัย ทำงานที่ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ปทุมธานี
ระยะเวลา: 1 ปี (เริ่มกลางพฤษภาคม 2566)
ค่าตอบแทน: 27,500 บาท + ประกันสุขภาพ
ลักษณะงาน:
- สังเคราะห์ และศึกษาคุณสมบัติของวัสดุรูพรุนสำหรับดูดซับแก๊ส CO2 ชนิดต่างๆ อาทิ metal-organic frameworks, zeolites, porous silica และ/หรือ activated carbon
- พัฒนาวิธีมาตรฐานแบบ high throughput สำหรับการศึกษาการวัสดุดูดซับแก๊ส CO2 ด้วยเทคนิค thermal gravimetry/calorimetry
- เก็บข้อมูลเพื่อสร้างฐานข้อมูลวัสดุดูดซับแก๊ส CO2
คุณสมบัติ:
- ปริญญาโท สาขา วิศวกรรมเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์(เคมี) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ และวิเคราะห์ วัสดุรูพรุน การดูดซับแก๊ส หรือตัวเร่งปฏิกิริยา
- ชอบทำวิจัย ชอบเรียนรู้ มีความมุ่งมั่น
- คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสื่อสารได้ดี ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- หากมีประสบการณ์ด้านการใช้เครื่อง TGA, PXRD, gas adsorption analyzer หรือ mass spectrometer จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
สนใจส่ง CV และ transcript ภายใน 30 เมษายน 2566 มาที่
ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์, [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บของเรา: www.nanotec.or.th/ncas
ประกาศรับสมัครนักวิจัยหลังปริญญาเอก
ตำแหน่ง: นักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc) ทำงานที่ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
ระยะเวลา: 1 ปี
ค่าตอบแทน: 37,000 บาท + ประกันสุขภาพ
คุณสมบัติ:
- ปริญญาเอก สาขา วิศวกรรมเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์(เคมี) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ และวิเคราะห์ วัสดุรูพรุน การดูดซับแก๊ส หรือตัวเร่งปฏิกิริยา
- ชอบทำวิจัย
- คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสื่อสารได้ดี
ลักษณะงาน:
- พัฒนาวัสดุรูพรุนสำหรับดูดซับแก๊สชนิดต่างๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
สนใจส่ง CV และ transcript ภายใน 12 เมษายน 2566 มาที่
ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์, [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บของเรา: www.nanotec.or.th/ncas
ขยายเวลาการรับสมัคร ถึง 30 ธันวาคม ค่ะ
รับสมัครผู้ช่วยวิจัยประจำโครงการ 1 ตำแหน่ง วุฒิ ป.โท ด้านเคมี วิศวเคมี เคมีอุตสาหการ วัสดุศาสตร์ หรือในสาขาใกล้เคียง
มาช่วยพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาและกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ
สัญญาโครงการ 2 ปี (ทำสัญญาปีต่อปี)
ส่ง CV และ Transcript ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวิจัยของเรา
www.nanotec.or.th/ncas
FB: https://www.facebook.com/NCASnanotec
เปิดรับสมัครผู้ช่วยวิจัยด้านการพัฒนา membrane สำหรับการแยกก๊าซธรรมชาติค่ะ
ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา หน่วยวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน กำลังเปิดรับการคัดเลือก...
"นักวิจัยหลังปริญญาเอก" "นักวิจัยหลังปริญญาโท" และ "ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยวุฒิปริญญาโท"
ในการร่วมทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพและสารเคมีฐานชีวภาพจากสารโอลีโอเคมีภัณฑ์
ผู้สนใจและเข้าเกณฑ์ ลองส่ง CV มาตามรายละเอียดในโปสเตอร์ค่ะ : )
รับสมัครผู้ช่วยวิจัยในโครงการ “แผนที่นำทางเทคโนโลยี การดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน”
เพื่อจัดทำรายงานเชิงเทคนิคและบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการร่าง roadmap สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย
คุณสมบัติ
- ปริญญาตรี-โท สาขาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ชอบค้นคว้าข้อมูล และมีความสามารถด้านการอ่าน (ไทยและอังกฤษ) วิเคราะห์ และเขียนเรียบเรียงข้อมูล (ไทย)
- หากมีความสามารถด้านการทำ infographic หรือ data visualization จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ
ลักษณะงาน
- ศึกษา สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี CCUS ในระดับประเทศและระดับโลก และช่วยจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี CCUS และนโยบายส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
- ระยะเวลา 10 เดือน
- 25,000 บาท/เดือน (ต่อรองได้)
สนใจส่ง CV, transcript, และตัวอย่างไฟล์งานเขียนภาษาไทยสั้นๆ ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 เนื้อหาเกี่ยวกับการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจริงจาก https://opendata.data.go.th/dataset/ghg-emission ผู้สมัครสามารถใช้ข้อมูลส่วนใดก็ได้ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใดก็ได้ เช่น ตาราง พล็อต แผนภูมิ หรือเทคนิคทาง data visualization อื่นๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่น่าสนใจและสนับสนุนงานเขียน
ส่งข้อมูลภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 มาที่ กวิศา ชัยพจนา
รับสมัครผู้ช่วยวิจัยประจำโครงการ 1 ตำแหน่ง วุฒิ ป.โท ด้านเคมี วิศวเคมี เคมีอุตสาหการ วัสดุศาสตร์ หรือในสาขาใกล้เคียง
มาช่วยพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาและกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ
สัญญาโครงการ 2 ปี (ทำสัญญาปีต่อปี)
ส่ง CV และ Transcript ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวิจัยของเรา
www.nanotec.or.th/ncas
FB: https://www.facebook.com/NCASnanotec
[ปิดรับสมัครแล้ว] รับสมัครผู้ช่วยวิจัย 3 ตำแหน่ง วุฒิ ป.ตรี - โท ด้านเคมี วิศวเคมี เคมีอุตสาหการ วัสดุศาสตร์ หรือในสาขาใกล้เคียง
มาช่วยพัฒนาพลาสติไซเซอร์ชีวภาพ
ส่ง CV และ Transcript ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2565
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวิจัยของเรา
www.nanotec.or.th/ncas
FB: https://www.facebook.com/NCASnanotec
ทั้งสวยทั้งรวยนะคะ ดร.มะนาวของเรา
📌 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอแสดงความยินดี กับ ดร. วรรณวิทู วรรณโมลี นักวิจัย ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยด้านนวัตกรรมเกษตร โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่เครือข่ายภายนอกประจำปีงบประมาณ 2565
📌 หัวข้อ การพัฒนาสารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโนจากลิกนินที่สกัดจากฟางข้าวและไม้ยูคาลิปตัสเพื่อใช้ในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว
📌 จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives
📌ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอแสดงความยินดี ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะผู้ร่วมวิจัยทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน
📌ได้รับทุนวิจัย เรื่อง การทำต้นแบบการผลิตแผ่นกรองถ่านกัมมันต์เอิบชุ่มนาโนซิลเวอร์ระดับอุตสาหกรรม
📌โดยการสนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี งบประมาณ 2565 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
รับสมัครนักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc)
ณ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
โจทย์วิจัย:
พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาและเซลล์ไฟฟ้าสำหรับปฏิกิริยา electrochemical CO2 reduction เพื่อเปลี่ยนแก๊สเรือนกระจกเป็นสารเคมีที่มีมูลค่า
คุณสมบัติ:
• ปริญญาเอก สาขา วิศวกรรมเคมี วิทยาศาสตร์(เคมี) วัสดุศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
• มีความรู้ด้านเคมีไฟฟ้า หากมีประสบการณ์การทำงานเชิงวิศวกรรมอุปกรณ์ เช่น fuel cell, electrolyzer, flow battery เป็นต้น จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ
• ชอบทำงานวิจัย กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ลักษณะงาน
• พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาและวิธีการขึ้นขั้วไฟฟ้า
• ปรับปรุงพื้นผิวของขั้วไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพ
• ทดสอบ CO2 electrolyzer ที่ operating conditions ต่างๆ
• validate ไอเดียใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ล้มเหลวไม่เป็นไร แต่ล้มแล้วลุกไว
• ทำงานร่วมกับทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
• เผยแพร่ผลการทดลองผ่านการนำเสนอผลงาน และการเขียน
สัญญา 1 ปี (ขั้นต่ำ)
เงินเดือนเริ่มต้น 37,000 บาท + ประกันสุขภาพ (มีค่าประสบการณ์เพิ่มให้)
สนใจส่ง CV และ publication list มาที่
ดร. ปองกานต์ จักรธรานนท์ ([email protected])
ภายใน 20 มิถุนายน 2565
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บ: www.nanotec.or.th/ncas
ประกาศรับสมัครนักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc)
ตำแหน่ง: นักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc) ทำงานที่ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณสมบัติ:
•ปริญญาเอก สาขา วิศวกรรมเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์(เคมี) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
•มีความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงโรงสร้างนาโน
•รู้จักการทำงานตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific methods), มีความคิดส้างสรรค์ ชอบลองสิ่งใหม่ๆ, ชอบทำงานวิจัย
•คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสื่อสารได้ดี
ลักษณะงาน:
•พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงขนาดนาโน
•พัฒนาระบบทดสอบฏิกิริยาเชิงแสงรูปแบบต่างๆ เช่น Artificial Photosynthesis, Photocatalytic Biorefinery
•สัญญา 1 ปี (and renewable)
คุณสมบัติที่จำเป็น:
•เคยมีประสบการณ์การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค GC, HPLC
•เคยมีประสบการณ์การในเทคนิควิเคราะห์อื่นๆ เช่น Microscopy (TEM, SEM, EDS, SAED, STEM, HAADF), XRD, XPS, Raman, AFM, FTIR, UV-Vis, XAS, BET จะพิจารณาเป็นพิเศษ
•มีประสบการณ์ในการเขียนผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีค่า Impact Factor มากกว่า 5 โดยเป็น First author อย่างน้อย 2 ฉบับ
เงินเดือนเริ่มต้น 37,000 บาท + ประกันสุขภาพ
สนใจส่ง CV และtranscript ภายใน 12 มิถุนายน 2565 มาที่
ดร. ธีระ บุตรบุรี (Email: [email protected])
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บของเรา: www.nanotec.or.th/ncas
ประกาศรับสมัครนักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc)
ตำแหน่ง: นักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc) ทำงานที่ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณสมบัติ:
•ปริญญาเอก สาขา วิศวกรรมเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์(เคมี) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
•มีความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์วัสดุรูพรุน การดูดซับแก๊ส
•ชอบทำวิจัย
•คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสื่อสารได้ดี
ลักษณะงาน:
•พัฒนาวัสดุรูพรุนสำหรับดูดซับแก๊สชนิดต่างๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
•พัฒนาระบบเพื่อทดสอบความสามารถในการดูดซับแก๊สแบบไดนามิก
•สัญญา 10 เดือน
•เงินเดือน 37,000 บาท + ประกันสุขภาพ
สนใจส่ง CV และtranscript ภายใน 12 พฤษภาคม 2565 มาที่
ดร. ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ และ ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์, [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บของเรา: www.nanotec.or.th/ncas
📌ขอแสดงความยินดี
ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง หัวหน้าโครงการ และ คณะผู้วิจัย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ดร. จักรภพ พันธศรี นายศรัณย์ ยวงจันทร์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน
📌 ได้รับทุนวิจัย โครงการ การผลิตโลหะเงินเอิบชุ่มถ่านคาร์บอนกัมมันต์ระดับประลองที่กำลังผลิตไม่น้อยกว่า 20 ลิตรต่อครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตระดับโรงงาน
📌 จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ปอนด์ ด้วยค่า
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอแสดงความยินดี กับ ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ นักวิจัยทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ได้รับทุนพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 โครงการ Bifunctional nanocatalysts for oxidation of 5-hydroxymethylfurfural to biomonomer and mechanistic studies using in situ Fourier transform infrared spectroscopy
เพจใหม่ของทีม NCAS นะคะ รบกวนทุกท่านกดไลก์ กดแชร์ ติดตามเรื่องราวสื่อสารงานวิจัยอย่างเป็นทางการของพวกเราด้วยนะคะ
โลกร้อน! น้ำมันแพง! ค่าแรงถูก!
ปัญหาเหล่านี้ (อาจ) มี catalyst เป็นคำตอบ!
“Catalyst” หรือ “ตัวเร่งปฏิกิริยา” มีความหมายตรงตัวคือ เป็นสิ่งที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น ปฏิกิริยาเคมีทั้งหลายที่มีความสำคัญต่อชีวิต หากไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยามักจะไม่สามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ หรือเกิดได้อย่างเชื่องช้า และใช้เวลานานนับเดือนหรือนับปีกว่าที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่ต้องการ กระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า “Catalysis” หรือ “การเร่งปฏิกิริยา” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันทำหน้าที่เปลี่ยนกลไกในการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งนำไปสู่การลดพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาจึงสามารถเร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้นได้ อาจกล่าวได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยานั้นเปรียบเสมือนเครื่องทุ่นแรง ทำให้สารเคมีเกิดการแตกตัวและรวมตัวขึ้นเป็นสารเคมีชนิดใหม่ได้ง่ายขึ้นอย่างมาก
ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามีหลากหลาย ตั้งแต่เอ็นไซม์สารพัดชนิดในร่างกาย ซึ่งจัดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ หรือตัวเร่งปฏิกิริยากลุ่มโลหะที่ใช้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรม เช่น โลหะแพลตินัมในเครื่องฟอกไอเสียในรถยนต์ (catalytic converter) ที่ทำหน้าที่กำจัดก๊าซพิษจากท่อไอเสีย ตัวเร่งปฏิกิริยานิเกิลที่ใช้ในกระบวนการผลิตก๊าซไฮโดรเจน จากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซมีเทนและไอน้ำ (ปฏิกิริยา steam reforming) ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการผลิตสารเคมีและเชื้อเพลิง หรือตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็ก ที่ใช้ในกระบวนการผลิตแอมโมเนียจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซไนโตรเจนในอากาศและก๊าซไฮโดรเจน (ปฏิกิริยา Haber–Bosch) อันเป็นสารตั้งต้นของปุ๋ยบำรุงพืช ซึ่งการค้นพบปฏิกิริยานี้ทำให้เราสามารถทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่และผลิตอาหารเพียงพอเลี้ยงคนทั้งโลกได้
นอกจากตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพและตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวว่ารางวัลโนเบลสาขาเคมีปีล่าสุดนี้ (2021) ตกเป็นของนักเคมีอินทรีย์ Benjamin List ชาวเยอรมัน และ David W.C. MacMillan ชาวอเมริกัน สำหรับงานวิจัยเรื่องตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์แบบอสมมาตร (Asymmetric organocatalysis) ในการสังเคราะห์สารเคมีบางชนิด สารที่มีสูตรโครงสร้างเดียวกันอาจจะมีโครงสร้างที่สลับด้านกัน คล้ายมือซ้ายกับมือขวาของเราที่เป็นภาพสะท้อนของกันและกัน เราเรียกสารประเภทนี้ว่า Chiral molecule ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้อาจจะมีคุณสมบัติที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง (เช่น น้ำตาลกลูโคส มี 2 รูป ร่างกายเราย่อย D-glucose ได้ แต่ย่อย L-glucose ไม่ได้ เช่นนี้เป็นต้น) ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์นี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทที่ 3 ที่ไม่ใช่ทั้งเอ็นไซม์หรือโลหะ แต่เป็นสารเคมีอินทรีย์โมเลกุลเล็กๆ ที่มีโครงสร้างจำเพาะและมีความอสมมาตรในตัว จึงสามารถเร่งปฏิกิริยาอสมมาตรนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการสังเคราะห์สารเคมีที่ต้องการความจำเพาะสูง เช่น ยารักษาโรค
ว่าแต่… ตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยแก้ปัญหาที่บอกไว้ข้างต้นได้อย่างไร?
ประเด็นโลกร้อน และน้ำมันแพง เป็นโจทย์ใหญ่ระดับโลกที่ต้องการความร่วมมือจากนานาชาติในการแก้ปัญหา การผลักดันงานวิจัยด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นหนึ่งในกลไกเชิงเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้เหล่านี้ได้ เช่น การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเปลี่ยนของเสียทางเกษตรกรรมให้กลายเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (bio-based fuel) หรือผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (bio-based fine chemicals) เพื่อทดแทนการใช้ปิโตรเลียม การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage, CCUS) รวมไปถึงการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดอื่นๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ หากได้รับการผลักดันและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน อาจนำไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ธุรกิจใหม่ หรือเศรษฐกิจใหม่ ก็เป็นได้
กลุ่มวิจัย Nanocatalysis and Molecular Simulation (NCAS) จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ของเรามีเป้าหมายเพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อให้ได้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความจำเพาะสูง มีราคาที่แข่งขันได้ในตลาดอุตสาหกรรม และมีความคงทนต่อสภาวะปฏิกิริยาเคมีที่หลากหลาย งานของพวกเราครอบคลุมตั้งแต่การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา การศึกษาคุณลักษณะจำเพาะของตัวเร่งปฏิกิริยา (characterization) ด้วยเครื่องมือที่มีความทันสมัย การศึกษาคุณสมบัติของปฏิกิริยาเคมีด้วยแบบจำลองขั้นสูง (Computational chemistry) รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและสร้างเครื่องมือทำนายคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; A.I.)
อยากรู้หรือไม่ว่าพวกเราใช้เงินวิจัย (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษีของพวกท่าน) ไปทำอะไรกันบ้าง? ขอเชิญกดไลค์ กดฟอล เพื่อติดตามเรื่องราวความคืบหน้าในวงการวิจัยด้านตัวเร่งปฏิกิริยา และอัพเดทผลงานวิจัยระดับแนวหน้า (ที่อธิบายเป็นภาษามนุษย์และไม่ติด paywall) ได้ที่นี่เพจ NCAS นี้ หรือแวะชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.nanotec.or.th/ncas
เรียบเรียงโดย ดร. โชติธัช สรรพิทักษ์เสรี
ภาพโดย ดร. ปองกานต์ จักรธรานนท์
อ้างอิง
https://https://www.nobelprize.org/prizes/chemistry/2021/press-release/
🎊🥳 ยินดีกับดร.สายไหมของเราด้วยค่า!
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอแสดงความยินดี กับ ดร.ศิรภัสสร เกียรติพึ่งพร นักวิจัยห้องปฏิบัติการทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาผลของสนามแม่เหล็กที่มีต่อปฏิกิริยาการเติมก๊าซ ไฮโดรเจนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา
เหล็กและทองแดงบนตัวรองรับซิลิกาเมโซพอร์ชนิด MCM-41”
ยินดีกับ ดร.ธีระด้วยค่า
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอแสดงความยินดี กับ ดร.ธีระ บุตรบุรี นักวิจัยทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ANSO Visiting Fellowship on Mega Science Facilities 2021 โดย ดร. ธีระ บุตรดี เป็น 1 ใน 3 ของคนไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ กับ Chinese Academy of Science (CAS) ณ Shanghai Synchrotron Radiation Facility (SSRF) เป็นระยะเวลา 6 เดือน
หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ metal-organic frameworks (MOFs) และ covalent organic frameworks (COFs) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการค้นพบและศึกษากันอย่างเข้มข้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ถ้าหากอยากรู้ว่าวัสดุกลุ่มนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร มีคุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างไรจนมีกลุ่มวิจัยหลายร้อยกลุ่มทั่วโลกทำวิจัยเรื่องนี้ รวมไปถึงมี start-ups เกิดขึ้นทั่วโลก
เชิญเข้ามาฟังกันได้ครับ โดยนักวิจัยของเราที่ทำงานทางด้าน MOFs โดยตรง
ไม่ต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรมากมายก็เข้าใจได้ครับ
Good evening everyone. Hope many of you might have enjoyed the Loy-Kratong activity yesterday! As the term-end soon approaches, we can't finish our semester without a special Guest Lecture.
The very last special Lecture given by our expert will feature one of the frontier topics on material chemistry, which is the "framework materials". The lecture will give you some eye-opening knowledge started from the background to applications. It doesn't require any background for you to join the class. So please come! The lecture will be held online via Zoom meeting on the coming Thursday 25th November, 1-4 pm (BKK timezone).
Here's the link: https://bit.ly/30PUBVD
ปังอีกแล้ว ......งานวิเคราะห์ขั้นสูงก็มา.....
นำทีมโดย ดร. วรรณวิทู ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ดร. อัญชลี สามทหารเสือแห่ง CAT-NCAS ซึ่งผลงานนี้เป็นการวิจัยเชิงลึกด้วย In situ XAS/XRD ที่้ได้เผยให้ทราบถึงธรรมชาติการเปลี่ยนเฟสของสารประกอบคอปเปอร์ฟอสเฟตบนตัวรองรับซิลิกาในขณะเกิดรีดักชันด้วยก๊าซไฮโดรเจนจนเกิดเป็นคอปเปอร์ฟอสไฟด์ที่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยได้ทดสอบตัวเร่งที่สังเคราะห์ได้ดังกล่าวในปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซีจีเนชันของ guaiacol เพื่อผลิตสารเคมีมูลค่าสูงหลายชนิด ได้แก่ cyclic hydrocarbons, demethylated, deoxygenated และ methylated compounds
บอกเลยทีมวิจัยนี้มีบุลคลากร มากฝีมือจริง.. สนใจร่วมงานได้นะครับ...
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0169433221026258
รวดเร็วทันใจ
ทีม NCAS นาโนเทค แวะหารือความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือกับ BCGeTEC วิศวกรรมเคมี จุฬา ในโจทย์ carbon capture utilization and storage (CCUS) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยน CO2 เป็นสารเคมีมีมูลค่า แก้ปัญหาโลกร้อน และตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม
งานนี้ได้พบปะกับทีมวิจัยตัวท็อปทั้งนั้น หวังว่าเราจะได้ร่วมมือกันเพื่อผลักดันเทคโนโลยีลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้กับประเทศต่อไปในอนาคตค่ะ
ว้าว... ว้าว.... ปังอีกแล้ว
งานทางด้าน Birorefinery ก็มา ในหัวข้อ
"Catalytic Conversion of Epoxidized Palm Fatty Acids through Oxirane Ring Opening Combined with Esterification and the Properties of Palm Oil-Based Biolubricants"
โดยงานนี้เป็นการสังเคราะห์ Biolube จากอนุพันธุ์ของน้ำมันปาล์ม ซึ่งผลงานนี้ยังได้รับการคัดเลือกให้ลงหน้าปกของวารสารด้วยนะครับ
สุดยอดมากๆ เลย
ยินดีด้วยนะครับ
สำหรับรายละเอียดสามารถตามอ่านตามลิ้งค์นี้เลยนะครับ
https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.iecr.1c03974.
รัวๆๆ เลยจ้า ปังมากมายกับทีมวิจัยนี้ นี่เลยงานวิจัยที่ขานรับเรื่อง Low Carbon Society และการดำเนินการสู่เป้าหมาย Net Zero Carbon ของประเทศไทย.......
ผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับพรีเมี่ยมอีกเรื่อง ในหัวข้อ "Comprehensive The Solvent Effect from Explicit Water–Cu(100) Interface Models" ..
งานวิจัยนี้เน้นศึกษากลไกการเลือกเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอนสองอะตอม ระหว่าง เอทานอล และ เอทิลีน บนตัวเร่งปฏิกิริยาคอปเปอร์ (Cu electrocatalyst) ที่ปัจจุบันยังขาดความเข้าใจและมีข้อถกเถียงถึงรูปแบบการทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า C-O bond dissociation เป็นขั้นตอนสำคัญทึ่สุดในการเลือกเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เอทานอล หรือ เอทิลีน รวมไปถึงสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเร่งปฏิกิริยาคอปเปอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นขั้นตอนการเชื่อมต่อคาร์บอนมีแนวโน้มที่จะเกิดผ่าน *CO−*CO, *CO−*CHO หรือ *CO−*COH ขึ้นอยู่กับสภาวะการทำปฏิกิริยา การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับ CO2RR ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถควบคุมชนิดของผลิตภัณฑ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
เก่วมากครับ Jirapat Santatiwongchai, Kajornsak Faungnawakij and Pussana Hirunsit
สำหรับใครสนใจ สามารถติดตามต่อได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ
https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/acscatal.1c01486?fbclid=IwAR3z20mspsQ0Q74gvuNE9niyom4pwRzE2ymom7BTows_Zx-GmvA2fmGqvPg&
This work presents the comprehensive CO2 electroreduction mechanism toward ethylene and ethanol on a Cu(100) surface using density functional theory simulations in an explicit solvent model. The comprehensive mechanism includes all possible pathways that were established by accounting for solvent–...
ประกาศรับสมัครผู้ช่วยวิจัย
ตำแหน่ง: ผู้ช่วยวิจัยโครงการ ทำงานที่ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณสมบัติ:
ปริญญาตรี สาขาเคมี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเคมี หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
ชอบทำวิจัย
คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสื่อสารได้ดี
ลักษณะงาน:
สังเคราะห์ และขึ้นรูป metal-organic frameworks รวมถึงการ scale up
วิเคราะห์พื้นที่ผิวของวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยเทคนิค sorption isotherms
สัญญา 12 เดือน
เงินเดือน 20,000 บาท + ประกันสุขภาพ
สนใจส่ง CV และ transcript ภายใน 19 พฤศจิกายน 2564 มาที่
บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์, bunyarat.run(at)nanotec.or.th
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแล็บของเรา: www.nanotec.or.th/ncas
ยินดีกับทีม CAT-NCAS NANOTEC ด้วยนะครับ กับผลงานล่าสุด เรื่อง "Tuning CuZn interfaces in metal-organic framework-derived electrocatalysts for enhancement of CO2 conversion to C2 products" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอน 2 อะตอม ได้แก่ เอทิลีน (C2H4) และเอทานอล (CH3CH2OH) งานวิจัยนี้ตอบโจทย์แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับใหม่ด้วยนะเออ โดยเฉพาะหมุด เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก
เอ้า รออะไร ปรบมือรัวๆๆ สิครับ
Bunyarat Rungtaweevoranit Kajornsak Faungnawakij Teera Butraburi
#เครดิตรูปจากอาจารย์สุวิทย์-มทส
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยนะครับ
https://pubs.rsc.org/en/Content/ArticleLanding/2021/CY/D1CY01839F
กลุ่มวิจัยเรามีเว็บไซต์โฉมใหม่ มีข้อมูลงานวิจัยเพิ่มเติมรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัยน้องใหม่ทำงานทางด้าน Artificial Intelligence เข้าไปชมกันได้ครับ
https://www.nanotec.or.th/ncas/
ขอเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษ..ในหัวข้อ
“…งานวิจัย นวัตกรรม สาขาวิชาเคมี..”
วิทยากรโดย…รศ.ดร.ชนาธิป สามารถ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams : SCIUS TU 07
ประกาศรับสมัครผู้ช่วยวิจัย
จำนวน 1 อัตรา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
โครงการการพัฒนา porous materials ในกลุ่ม zeolites และ metal-organic frameworks สำหรับการดูดซับไอน้ำ
คุณสมบัติ
– จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขา เคมี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเคมี หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– ไม่มีประสบการณ์ก็สมัครได้ครับ
– ชอบค้นคว้าวิจัย ทดลอง พัฒนาตนเอง
– คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สื่อสาร นำเสนอผลงานได้
ลักษณะงาน
- สังเคราะห์ และขึ้นรูปสารในกลุ่ม zeolites และ metal-organic frameworks
- วิเคราะห์พื้นที่ผิวของวัสดุดังกล่าว
- สัญญา 4 เดือน
- เงินเดือน 20,000 บาท + ประกันสุขภาพ
สนใจส่ง transcript + CV มาที่ [email protected]
Position: Research assistant (project-based) at Catalyst Research Team,
National Nanotechnology Center working on synthesis and fabrication of porous materials for water adsorption applications
Qualifications:
Bachelor degree in chemistry, materials science, chemical engineering or related fields
No experience required
Enthusiastic about research
Think systematically, Good at communications
Job descriptions:
Synthesis and preparation of shaped-body zeolites and metal-organic frameworks materials
Surface area analysis of porous materials
4-month contract
Salary of 20,000 THB + health insurance
Please submit your CV and transcript to
Dr. Bunyarat Rungtaweevoranit, [email protected]
More information about our lab: www.nanotec.or.th/ncas
ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมและ Workshop ออนไลน์ ในหัวข้อ "Fundamental of Catalysts Pelletization and Reactor Simulation and Design to Support Industrial Development Workshop #2" ที่จะจัดวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นี้ #ฟรี
โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมการ Workshop สามารถลงทะเบียนได้ที่
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScm4uSLsDD3NzWkbnQtf0u7q9YH5tJPthnlDw2W89eT_3-GSg/viewform
และเข้าร่วมอบรมผ่าน Link
https://chula.zoom.us/j/94264665860?pwd=alhoOC9PYTVMbXZZRHpqV3hHRUdvUT09
Meeting ID: 942 6466 5860
Password: 500537
#กิจกรรมดีบอกต่อ
ประกาศรับสมัครงานตำแหน่ง postdoc และ research assistant (RA) ทำงานทางด้าน DFT ในทีมเพื่อนบ้านเราที่ Nanoscale Simulation Research Team
สนใจในตำแหน่งดังกล่าว ติดต่อส่ง CV ได้ที่ Dr. Supawadee ([email protected]) นะครับ
https://www.nanotec.or.th/ncas/hiring-postdoc-ra-dft/
Highlighted on the front cover of Green Chemistry, our recent work (S. Kiatphuengporn et al, Green Chemistry, 2020, 22) shows how simple but efficient aluminas convert cellulosic sugars to lactic acids. Check out our article at https://pubs.rsc.org/en/content/articlelanding/2020/gc/d0gc02573a/
https://www.nanotec.or.th/ncas/our-article-on-the-synthesis-of-lactic-acid-featured-on-the-front-cover-of-green-chem/
ดร.พงษ์ธนวัฒน์ ของพวกเราไปให้ความรู้เรื่องการใช้ XANES และ EXAFS สำหรับการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา จบลงด้วยดี และได้แฟนคลับมาเพิ่มอีกด้วยค่ะ
We are concluding the 1st Experiments & Simulations in Catalysis (1st ExSimCat) today, Wednesday 11th November 2020 and would like to thank our honorary speaker: Dr. Pongtanawat Khemthong, Senior Researcher, Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group, NANOTEC, NSTDA
Topic: XANES and EXAFS Techniques in Catalyst Characterization
Location: Chemical Engineering Classroom, 10th Floor, Engineering 4 Building, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
ดร.พงษ์ธนวัฒน์จากแล็บของเรา จะไปพูดเกี่ยวกับ XANES and EXAFS ในงาน 1st ExSimCat ที่จุฬาลงกรณ์ ใครสนใจลงทะเบียนกันได้นะครับ
https://qrgo.page.link/9yMCP
You are cordially invited to attend the 1st Experiments & Simulations in Catalysis (1st ExSimCat)
on Wednesday 11th November 2020
Honorary Speaker: Dr. Pongtanawat Khemthong
Senior Researcher, Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group, NANOTEC, NSTDA
Topic: XANES and EXAFS Techniques in Catalyst Characterization
Registration: https://qrgo.page.link/9yMCP
Date & Time: 13:00 – 16:00, Wednesday 11th November 2020
Location: Chemical Engineering Classroom, 10th Floor, Engineering 4 Building, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
Schedule:
1.00 pm – Opening Remark
1.10 pm – Lecture by Dr. Pongtanawat Khemthong
1.50 pm – Q&A
2.00 pm – Closing Remark, Group photo
2.15 - 4.00 pm – XANES & EXAFS workshop
Contact: [email protected]
Workshop Organizer
Dr. Supareak Praserthdam
Department of Chemical Engineering,
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
แล็บเรามีตั้งบูทแสดงเทคโนโลยีการปรับปรุงถ่านกัมมันต์ (activated carbon) หรือที่เราเรียกกันว่า CARBANO เพื่อให้ถ่านสามารถจับหรือกำจัดสารพิษที่ต้องการได้
เจอกันได้ที่บูท สวทช. ที่งาน MONEY EXPO 2020 เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 22-25 ต.ค. 63 นะครับ
https://www.nanotec.or.th/ncas/carbano-at-money-expo-2020/
มาร่วมงานกันนะครับ
Suitable candidates found. This job announcement is closed. Thank you for your interest.
https://www.nanotec.or.th/ncas/hiring-3-project-based-research-assistants-on-thermal-and-electrochemical-catalysis/
Suitable candidates found. This job announcement is closed. Thank you for your interest.
https://www.nanotec.or.th/ncas/hiring-3-project-based-research-assistants-on-thermal-and-electrochemical-catalysis/
National Science And Technology Development Agency 111 Thailand Science Park, Phahonyothin Road, Khlong Nueng, Khlong Luang
Pathum Thani
12120
จันทร์ | 08:00 - 17:00 |
อังคาร | 08:00 - 17:00 |
พุธ | 08:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 17:00 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Catalyst Research Team, National Nanotechnology Centerผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง Catalyst Research Team, National Nanotechnology Center:
National Nanotechnology Center (NANOTEC)
Phahonyothin Road, Bangkokห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ SQUAT : Software
National Electronics and Computer Technology Center 112 Phahonyothin Road, RangsitThailand Organic & Printed Electronics Innova
Khlong Luang 12120National Energy Technology Center - ENTEC
Thailand Science Park Phaholyothin Road, PathumthaniDECC ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติTISTR : Thailand Institute of Scientific and
Khlong LuangNanocatalysis and Molecular Simulation Resear
Phahonyothin RoadDECC ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติคณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี l การแพทย์แผน
เลขที่ 8 ถนนพหลโยธิน 87 ซอย 2 ต. ประชาธิปัตย์ อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานีสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลย
หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 14 ปทุมธานี
เลขที่ 2/89 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบคลองห้า ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี