
04/01/2021
หมั่นสำรวจแปลงกันด้วยนะคะ📣📣
Plant Protection Group
(8)
เปิดเหมือนปกติ
หมั่นสำรวจแปลงกันด้วยนะคะ📣📣
ช่วงนี้เป็นช่วงที่กลางวัน มีสภาพอากาศร้อน และแห้งแล้ง เหมาะสมต่อ
การระบาดของไรสี่ขามะพร้าว ลองสำรวจสวนดูนะคะ🌴🌴🌴
📢📢เกษตรกรปลูกมะม่วงระมัดระวังกันด้วยนะคะ🥭🌳
📣📣💥 เตือนชาวนา🌾🌾 “ระวังหนอนกระทู้คอรวงข้าวและแมลงบั่วนะคะ” 💥
หมั่นสำรวจแปลงข้าวนะคะ🌾🌾🌾
🌴มาศึกษาเรื่องศัตรูมะพร้าวกันอีกชนิดนะคะ 🌴
อย่าลืมสำรวจแปลงผักกันด้วยนะคะ
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
"กลุ่มอารักขาพืชลงพื้นที่ตรวจติดตามแปลงข้าวทดลองPGPR"
นายวิลาศ จันทศรี เกษตรอำเภอเมืองราชบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืชและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง ลงพื้นที่สำรวจและติดตามความเปลี่ยนแปลงแปลงข้าวทดลองPGPR ณ แปลงเรียนรู้ด้านการจัดการดินและปุ๋ย หมู่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
"หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืชลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการทหารพันธุ์ดี"
นายละออ เสร็จกิจ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช ลงพื้นที่ตรวจติดตามโรคและแมลงในแปลงปลูกพืชโครงการทหารพันธุ์ดี ณ กองพลทหารช่างค่ายบุรฉัตร จังหวัดราชบุรี
ตอนนี้จังหวัดราชบุรี ยังไม่พบการระบาด แต่ก็ควรรู้วิธีการป้องกันกำจัดนะครับ เพื่อเป็นการป้องกันไปในตัว😉
ช่วงนี้ชาวนาระวังกันด้วยนะครับ
ชาวสวนมะพร้าวระวังกันด้วยนะครับ
ชาวนาช่วงนี้ระวังกันด้วยนะครับ
ช่วงนี้ยังคงมีฝนต่อเนื่อง ระวังกันด้วยนะครับ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด นอกจากหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ก็ยังมีราน้ำค้างอีกตัวที่ต้องระวังนะครับ เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกต่อเนื่อง
ระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำด้วยนะครับ
ช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้วระวังกันด้วยนะครับ
ยังคงต้องระวังกันต่อไปนะครับhttps://www.facebook.com/332822153524372/posts/1810038809136025/
📌เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สำคัญของบ้านเราที่ไม่ใช่ข้าวโพด 😰😰 ซึ่งพืชชนิดนั้น ได้แก่ "#ข้าว"🌾โดยพบการระบาดในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และ"#อ้อย"🎋ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดความกังวลและข้อสงสัยว่าหนอนชนิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือปรับตัวเพื่อการอยู่รอดโดยหันไปกินพืชชนิดอื่นหรือไม่❓❓❓
เมื่อวานนี้แอดมินมีโอกาสได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จาก รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ได้กรุณาอธิบายให้ทราบว่าหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมี 2 สายพันธุ์ คือ 🌽#สายพันธุ์ข้าวโพด (corn strain) ซึ่งพบลงทำลายข้าวโพดฝ้ายและข้าวฟ่างเป็นหลัก และ 🌾#สายพันธุ์ข้าว (rice strain) ซึ่งพบลงทำลายข้าว, ข้าวฟ่างนก และพืชตระกูลหญ้าอื่น ๆ เป็นหลัก ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์มีลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) เหมือนกันทุกประการ แต่มีข้อแตกต่างกันที่องค์ประกอบของฟีโรโมน, พฤติกรรมการผสมพันธุ์ และกลุ่มพืชอาหารที่ชอบเข้าทำลาย
🐛โดยการลงทำลายพืชอาหารข้ามกลุ่มของแต่ละสายพันธุ์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ความจำเพาะเจาะจงด้านพืชอาหารของแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ #จะมีโอกาสพบสายพันธุ์ข้าวโพดลงทำลายข้าวน้อยกว่าโอกาสที่จะพบสายพันธุ์ข้าวลงทำลายข้าวโพด แม้ว่าที่ผ่านมาแมลงศัตรูรุกรานชนิดนี้จะระบาดทำความเสียหายให้กับข้าวโพดมาโดยตลอด แต่ข้อมูลต่างๆบ่งชี้ว่า #หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดที่พบในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ข้าว (rice strain) ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงมากที่หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดจะระบาดสร้างความเสียหายให้กับข้าวและอ้อยได้อย่างรุนแรง เนื่องจากมีการปลูกพืชทั้งสองชนิดทั่วไปในทุกภาคและมักจะมีการปลูกติดต่อกันเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้แมลงมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในข้าวฤดูปลูกที่จะมาถึงนี้และในอ้อยต้นเล็ก
🌾ดังนั้นหากพบการระบาดในพืชชนิดอื่นๆ ให้ดำเนินการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการเดียวกันกับคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในข้าวโพด
เกษตรระวังกันด้วยนะครับ
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ว่าที่ร.ท.ทองสา ทองหนองยาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช ร่วมกับนางปยุดา สลับศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบโรคระบาดในถั่วฝักยาว ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี พบการระบาดของโรคถั่วฝักยาวลักษณะอาการคล้ายโรคใบด่าง ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส พื้นที่ระบาดประมาณ 4 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 4 ครัวเรือน จึงได้ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดแก่เกษตรกร พร้อมเก็บตัวอย่างต้นที่เป็นโรค เพื่อส่งคลินิกสุขภาพพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อสาเหตุอย่างละเอียดต่อไป
https://www.facebook.com/332822153524372/posts/1752925671514006/
#สะเดา เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 🌳🌳🌳ในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 ชนิดครับ คือ สะเดาอินเดีย, สะเดาไทย และ สะเดาช้าง ส่วนสะเดาที่นำไปใช้เป็นสารฆ่าแมลงได้ดีคือ 🌰เมล็ดหรือผล เพราะมีสารอาซาไดแรคติน (Azadirachtin) สูง นอกจากสารนี้สะเดายังมีสารอื่นๆอีกที่สำคัญเช่น ซาแลนนิน (Salannin), เมเลียไตรออล (Meliatriol) และนิมบิน (Nimbin)
#ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
1. ยับยั้งการลอกคราบของแมลงโดยไปขัดขวางการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบ
2. ยับยั้งการกินอาหารชนิดถาวรจนทำให้แมลงตายในที่สุด
3. ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่หนอนและดักแด้
4. เป็นสารไล่แมลง
5. ยับยั้งการวางไข่ของแมลงทำให้ปริมาณไข่ลดลง
#วิธีเตรียมสารสกัดสะเดาจากน้ำ
👉นำผลสะเดาสุกมาแยกเนื้อและเมล็ด
👉นำเมล็ดผึ่งให้แห้งในที่ร่มบดหยาบๆ
👉นำเมล็ดสะเดาที่บดแล้ว 1 กิโลกรัมแช่น้ำ 20 ลิตรทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงกรองเอากากออก
👉นำสารสกัดสะเดาจากน้ำไปใช้ได้โดยตรง
#เทคนิคเล็กน้อยในการใช้สารสกัดสะเดาควบคุมแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ
❌สารสกัดจากสะเดาไม่สามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิด
⭕ควรนำสารสกัดสะเดาที่สกัดได้ผสมสารจับใบด้วยครับ
❌การออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืชใช้เวลาค่อนข้างนานดังนั้นหากมีแมลงระบาดต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลงสลับกับการใช้สารสกัดจากสะเดาเมื่อปริมาณแมลงลดลงจึงใช้สารสกัดจากพืชเพียงอย่างเดียว
⭕ควรพ่นในเวลาเย็นแสงแดดอ่อนจึงได้ผลดี
❌สำคัญในสารสกัดจากพืชสลายตัวได้ง่าย
⭕พ่นในแปลงเมื่อตรวจพบตัวเต็มวัยหรือกลุ่มไข่ของหนอนผีเสื้อศัตรูพืช เช่น หมอนใยผัก, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้หอม, หนอนกระทู้ผัก, เพลี้ยอ่อน, ด้วงหมัดผัก, หนอนเจาะฝักถั่ว, หนอนแมลงวันชอนใบถั่ว, เพลี้ยจักจั่นฝ้าย, แมลงหวี่ขาวยาสูบ และหนอนเจาะดอกมะลิเป็นต้นครับ
ปล. แอดมินยังทำงานวิจัยการใช้สารเคมีอยู่นะครับ😂😂😂 แต่พอดีมีลูกเพจถามข้อมูลมาในโพสต์ที่แล้วที่แอดมินเขียนไป เลยรวบรวมข้อมูลมาตอบให้ตรงนี้เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์กับท่านอื่นด้วยครับ💕💕💕
ช่วงนี้มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดพื้นที่ตำบลวังมะนาว อำเภอปากท่อ ชาวนาพื้นที่ใกล้เคียงระวังกันด้วยครับ หมั่นตรวจสอบในนาของตนเองด้วยนะครับ
ช่วงแล้งแบบนี้ชาวไร่อ้อยระวังกันด้วยนะครับ
ระวังกันด้วยนะครับhttps://www.dailymotion.com/video/x7trxds?fbclid=IwAR1AsP1Hy8cOUHxJAmf0aVzrcp3bnCpO78VJYnWHUMRIllvXuGdpTAO941o
หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงไร่มันสำปะหลัง ถูกแมงจินูนแด...
ช่วงนี้ระวังกันด้วยนะครับ
เกษตรกรชาวไร่อ้อยระวังด้วยนะครับ
ช่วงนี้แล้งนานชาวไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง ระวังกันด้วยนะครับ
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี แจ้งเตือนการระบาด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ด้วงหนวดยาวอ้อย และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาครับ
ในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูแล้งแล้ว จะพบแมลงศัตรูพืชหลายชนิดเริ่มเข้าทำลายพืชและมากขึ้น เช่นเดียวกับหนอนหัวดำมะพร้าว และด้วงแรดมะพร้าว ก็เข้าทำลายมากขึ้น กลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรีจึงขอให้ชาวสวนมะพร้าว หมั่นตรวจสอบแปลงของท่านด้วย ทั้งนี้เรายังให้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เกษตรกรผูปลูกมันสำปะหลัง ระวังด้วยนะครับ เริ่มพบการระบาดที่อำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อแล้วครับ เนื่องจากช่วงนี้เข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง มักพบการระบาดของไรแดง เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก ไรแดง เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ที่มักระบาดในฤดูแล้ง หรือ เมื่อฝนทิ้งช่วง โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ผิวใบด้านบนเป็นจุดด่างประสีเหลืองซีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้งกรณีที่ไรแดงระบาดรุนแรงได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้
– ไพริดาเบน (pyridaben) 20% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
– เฟนบูทาติน ออกไซด์ (fenbutatin oxide) 55% เอสซี อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
– สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) 24% เอสซี อัตรา 6 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
– เตตราไดฟอน (tetradifon) 7.25% อีซี อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
– อามีทราซ (amitraz) 20% อีซี อัตรา 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
ในการใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานต่อสาร
ชาวสวนมะพร้าวระวังกันด้วยนะครับ
ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูแล้ง เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงบ่อยๆนะครับ เริ่มมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายตัวแล้ว
ช่วงนี้ระวังกันด้วยนะครับ ชาวสวนมะม่วง
วันที่ 8 มกราคม 2563 ว่าที่ร.ท.ทองสา ทองหนองยาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การผลิตขยายสารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืช เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช แก่กำลังพล กองพลพัฒนาที่ 1 ค่ายศรีสุริยวงศ์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งกองพลพัฒนาที่ 1 จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแปลงปลูกพืช ตาม “โครงการทหารพันธุ์ดี” ในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่26-27 ธันวาคม 2562 กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี จัดกระบวนการเรียนรู้ โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การจัดการพืชผัก ณ อำเภอบ้านคา และ อำเภอเมืองราชบุรี โดยเกษตรกรได้รับความรู้จากวิทยากรจาก ศวพ.ราชบุรี และ ศทอ.สุพรรณบุรี จ้า
Udomsiri
Ratchaburi
70000
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษ:
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรีสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี
ศาลากลางจังหวัดราชบุรี ชั้น 4 ถนนอำเภอRatchaborikanukroh School English Program
421 Yutthitam Road, Amphoe Muang Rat BuriSTRONG Fitness center ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุร
429 ถ.ศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี, Amphoe Muang Rat Buriศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานจังหวัดราชบุรี อ
ที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี
8 ถ.เสือป่า ต.หน้าเมือง