
04/10/2022
ข้อกำหนดการส่งออกลำไยไปจีน
ติดต่อ สอบถาม หรือติดตามข้อมูลข่าว?
เปิดเหมือนปกติ
ข้อกำหนดการส่งออกลำไยไปจีน
ระวัง โรคแคงเกอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp citri) ชื่อเดิม Xanthomonas citri subsp citri ในพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคแคงเกอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp citri)
อาการบนใบ เริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะขยายใหญ่เป็นแผลจุดนูนสีเหลืองอ่อน ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ จากนั้นเนื้อเยื่อแผลจะแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยกตัวขึ้น บริเวณรอบ ๆ แผลปรากฏวงสีเหลืองล้อมรอบ พบอาการของโรคได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใบ โดยเห็นชัดที่ด้านหลังใบ นอกจากนี้ยังพบอาการของโรคได้บนก้านใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงก่อนกำหนด
อาการบนกิ่ง ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตก แข็ง เป็นสีน้ำตาล ขยายรอบกิ่ง หรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน
อาการบนผล ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดเป็นแผลเดี่ยว ๆ มีลักษณะกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้งพบผลปริแตกตามรอยแผล หากเกิดโรคในระยะผลอ่อนจะทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลร่วง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ควรเลือกกิ่งพันธุ์จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรค หรือไม่นำกิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคไปปลูก และใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
2. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่ร่วงหล่นไปทำลายนอกแปลง แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่มสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง
3. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
4. กำจัดหนอนชอนใบ โดยเฉพาะช่วงที่พืชแตกใบอ่อน เนื่องจากรอยทำลายของหนอนชอนใบเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช และช่วยส่งเสริมให้อาการโรคลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยพ่นด้วยปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคลไทอะนิดิน 16% SG อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งด้านหลังใบและหน้าใบ และถ้าพบว่ายังมีการระบาดของหนอนชอนใบให้พ่นซ้ำ
นานาสาระ รวมภาพข่าวแจ้งเตือนการระบาดของโรคและแมลงปี 2565
พี่น้องเกษตรกรจ๋า โปรดแวะอ่านเรื่องราวภัยใกล้ตัว
Photos from นิเวศเกษตร Biodiversity and Agroecology's post
Photos from รู้ดิน รู้ปุ๋ย's post
Photos from กรมส่งเสริมการเกษตร's post
📢 เนื่องจากมีการย้ายฐานข้อมูลใหญ่เมื่อวันที่ 17 - 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ฟาร์มบุ๊ค (Farmbook) ยังไม่สามารถทำงานได้ปกติ อาจจะต้องรอการปรับจูนอีกซักระยะ ถ้าระบบใช้ได้ปกติแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
Photos from กรมส่งเสริมการเกษตร's post
Photos from รู้ดิน รู้ปุ๋ย's post
นา ๆ สาระข่าวแจ้งเตือนการเฝ้าระวังการระบาดโรคและแมลงศัตรูพืช
อย่าลืมแจ้งปรับปรุงข้อมูลการเพาะปลูกพืชให้เป็นปัจจุบันนะคะ
Photos from สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร's post
Photos from สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร's post
#พิชิตปุ๋ยแพง
เกร็ดความรู้พืชกระท่อม
คาดหมายลักษณะอากาศใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2565
Photos from สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร's post
คิวอาร์โค้ช เพื่อสำหรับดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นฟาร์มบุ๊ค ทั้งในระบบแอนดรอย และ IOS เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ประจำปีการผลิต 2565 ค่ะ
ระวัง แมลงวันทองพริก ในพริก
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกพริก ในระยะ เก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่า ร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บพริกที่ร่วงหล่นเผาทำลาย เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันทองพริก
2. ใช้น้ำมันปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เน้นพ่นที่ผลพริกทุก 5-7 วัน ในกรณีพื้นที่ที่พบการระบาดเป็นประจำ พ่นครั้งแรกเมื่อพริกเริ่มติดผล หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 5-7 วัน
3. เมื่อพริกเริ่มติดผล พ่นเหยื่อพิษโปรตีนเป็นจุดทุกต้นรอบแปลงและพ่นเป็นแถวต้นละจุด ห่างกันแถวละ 5 เมตร พ่นทุกสัปดาห์ หรือ เทเหยื่อพิษโปรตีนใส่ในกับดักดัดแปลง เช่น ขวดพลาสติกเจาะช่องให้แมลงสามารถบินเข้ากับดักได้ และติดตั้งกับดักสูงจากพื้นดิน 15 เซนติเมตร รอบแปลงปลูก
4. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ มาลาไทออน 83% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
#ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน
ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีมาตรฐาน สูตรและปริมาณขั้นต่ำ และการนำไปใช้ประโยชน์
Photos from สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร's post
ภาระกิจ สนับสนุนเกษตรกรพี่น้องชาวศรีบุญเรือง ยังคงดำเนินการต่อไปไม่ว่าสถานะการณ์ไหน ๆ เราจักอยู่เคียงข้างเกษตรกร #เกษตรตำบลมิตรแท้เกษตรกร
วันหยุดแต่เราไม่เคยหยุดทำงาน เพื่อเกษตรกรไทย
#วันจักรกรี
เกษตรกรไทยต้องรู้วิธีการปรับปรุงข้อมูลการเพาะปลูกพืช (ทะเบียนเกษตรกร) ผ่านระบบฟาร์มบุ๊ค
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 นายภูริวัฑ พูนสูงเนิน เกษตรอำเภอศรีบุญเรือง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง ลงพื้นที่มอบปัจจัยการผลิตโครงการยกระดับการผลิตข้าวปลอดภัย ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณรายจ่ายกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คือ ปุ๋ยพีจีพีอาร์ จำนวน 5 กิโลกรัมต่อราย โดยได้แนะนำวิธีการใช้และประโยชน์ของปุ๋ยพีจีพีอาร์ พร้อมทั้งสร้างการรับรู้การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook การขึ้นทะเบียนกัญชา กัญชง และกระท่อม แก่เกษตรกร ณ บ้านสมสนุก ตำบลนากอก และบ้านดอนข่า ตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
มาตรฐานสินค้าทุเรียน
มาตรฐานสินค้าเกษตร ทุเรียน (มกษ.3-2556)
#ใส่ปุ๋ยมากเกินไปนอกจะทำให้ต้นทุนเพิ่มแล้วยังมีผลกับพืชอีกมาดูกันว่าเป็นอย่างไร
#กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา
ข่าวพยากรณ์อากาศ
Photos from สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง's post
Photos from สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง's post
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายภูริวัฑ พูนสูงเนิน เกษตรอำเภอศรีบุญเรือง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเหษตรอำเภอศรีบุญเรือง อำนวยความสะดวกให้นายวุฒินันท์ ไตรยางค์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และนางสาวสาริกา จันทร์ชมภู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ในการติดตามงานโครงการยกระดับการผลิตข้าวปลอดภัย ตามงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ที่ได้รับสนับสนุนโรงสีข้าว และเยี่ยมแปลงข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ตำบลหนองบัวใต้ ทรายทอง และศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายภูริวัฑ พูนสูงเนิน เกษตรอำเภอศรีบุญเรือง มอบหมายให้นายหาญพล พูลกลาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ อำนวยความสะดวกให้นางสาวจันทราพร ประธาน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายสุพรรณ บุตรด้วง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ในการติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ของกลุ่มแปลงใหญ่อ้อย ตำบลโนนม่วง ณ บ้านตะเคียนทอง ตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Si Bun Ruang
39180
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
โรงพยาบาลวารินชำราบ Warinchamrab Hospital
Ubon Ratchathani 34190วนอุทยานพนมสวาย - Phanom Sawai Forest Park
Muang Surin 32000Kudsatien Sub-District Non-Formal and Informa
บ้านกุดสะเทียน ตำบลกุดสะเที