ปฏิรูป/ภิวัฒน์ไทย - เนาวรัตน์

  • Home
  • ปฏิรูป/ภิวัฒน์ไทย - เนาวรัตน์

ปฏิรูป/ภิวัฒน์ไทย - เนาวรัตน์ ทิศทางการปฏิรปค่านิยมศิลปะวัฒนธรร?

ทิศทางการปฏิรปค่านิยมศิลปะวัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา โดย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สามารถร่วมเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นได้ในกล่องข้อความ

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
30/11/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #เจ้าหญิงนกกระเรียน

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
23/11/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #ขึ้นภู

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
16/11/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #อริยธรรม

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
09/11/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #หยุดคุกคามสื่อ

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
02/11/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #กระทู้ปูทาง

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
30/10/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

"เนื่องในมีพิธีมอบรางวัลวรรณศิลป์อุชเชนี ครั้งที่ 4 ประจำปี 2563 อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ขอคารวะ 'อุชเชนี' ด้วยบทกวีบทนี้... เอกอักษราวุธ อุชเชนี"

ความเป็นมาของโครงการประกวดวรรณกรรมรางวัล “วรรณศิลป์อุชเชนี”

เออเชนี ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (2562-2559) หรือที่เรารู้จักในนามปากกา “อุชเชนี” มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ แม้จำนวนไม่มากแต่ทรงคุณค่า และโดดเด่นทางด้านวรรณศิลป์อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกวีนิพนธ์หรือความเรียง ซึ่งก่อเกิดแรงบันดาลใจมากมายสำหรับผู้ที่รักทางด้านวรรณศิลป์แล้วการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายอ่อนโยน เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ยังเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการดำเนินรอยตามอีกด้วย

“อุชเชนี” ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี พ.ศ. 2536 และยังได้รับรางวัลอื่นๆ ทั้งรางวัลด้านวรรณกรรม อาทิ รางวัลพานแว่นฟ้า หรือรางวัลในหน่วยงานของศาสนา อาทิ รางวัล “Achievement Awards” และเครื่องประดับเกียรติยศของสมเด็จพระสันตะปาปาซิลแวสเตอร์ ชั้นอัศวินกางเขนใหญ่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงผลงานและชีวิตอันน่าจดจำ และสานต่อคุณงามความดีของอุชเชนีที่ได้อุทิศตนไว้

สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย ร่วมกับสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ ประกวดวรรณกรรมรางวัล “วรรณศิลป์อุชเชนี” โดยคัดสรรและพิจารณาผลงานเขียนที่มีเนื้อหาและลักษณะตามเกณฑ์ที่กำหนด จากผลงานเขียนที่ส่งเข้าประกวดทั่วประเทศ เพื่อพิจารณาตัดสินมอบรางวัลแก่นักเขียนที่มีคุณภาพดี โดยแบ่งงานเขียนเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทกลอนสุภาพ และ ประเภทความเรียง

ซึ่งในปี พ.ศ.2563 นี้มีการประกวดวรรณกรรมรางวัล “วรรณศิลป์อุชเชนี” ว่า “อยู่เพื่ออะไร” ในงานเขียนทั้งสองประเภท ทั้งในระดับชั้นนักเรียนและระดับประชาชน ซึ่งในปีนี้มีเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์เป็นคณะกรรมการตัดสินร่วมกับ คุณอดุล จันทรศักดิ์ , คุุณชมัยภร แสงกระจ่าง, คุุณจิระนันท์ พิตรปรีชา, คุุณชุุติมา เสวิกุล , คุุณพิบููลศักดิ์์ ละครพล, คุุณกนกวลี พจนปกรณ์, คุุณณรงค์ฤทธิ์ ยงจินดารัตน์, บาทหลวงอนุุชา ไชยเดช และ บาทหลวงอนุุสรณ์ แก้วขจร ด้วย

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
06/10/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #เมื่อหมึกหยดลงหมดหมึกจึงเกิดความงามแห่งวรรณศิลป์ #ภูมิแพร่

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
05/10/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ข้อคิดติด(วัน)จันทร์ #เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ #ฮ่อมแพร่ฮ่อมโลก

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
04/10/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2563 เวลา 14.00 น. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม นำคณะอนุกรรมาธิการ เข้ากราบพระโกศัยเจติยารักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ และกราบสักการะพระธาตุช่อแฮ เพื่อความเป็นสิริมงคล

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
20/09/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ทุนทางวัฒนธรรม

รายงานการพิจารณาเรื่อง “การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2563 นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ขึ้นอภิปราย ในประเด็นต้นทุนทางวัฒนธรรม

“ท่านประธานที่เคารพ กระผม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา

ได้อ่านรายงานของคณะกรรมาธิการแล้ว ก็แทบจะไม่ต้องมีอะไรพูดถึงเพราะว่าสมบูรณ์ดี เพียงจะขอเสนอเพื่อเติมเต็มเท่านั้นเองครับ จากประสบการณ์ผมคิดว่า ขั้นต้นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงเฉพาะส่วนที่เป็นศิลปะ เป็นภูมิปัญญาหรือเป็นสิ่งดีๆ ที่แปรเป็นทุนได้อย่างเดียว โดยรวมแล้ววัฒนธรรมหมายถึงวิถีชีวิตครับ เพราะวัฒนะแปลว่างอกเงยขึ้น ไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดีนะครับ ถ้างอกงามมันเป็นอารยะ ถ้ามันไม่งอกงามมันก็เป็นหายนะ ฉะนั้น 'วัฒนะ' แปลว่างอกเงยขึ้น 'ธรรม แปลว่าสิ่ง ฉะนั้นสิ่งที่มันงอกเงยขึ้นไม่ได้หมายถึงธรรมชาตินะครับ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั่นแหละคือเพื่อความเป็นอยู่อย่างเป็นปกติสุขของส่วนรวมเป็นหลัก เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมโดยความหมายก็คือวิถีชีวิตนั่นเอง

ฉะนั้น ตรงนี้สำคัญครับ ถ้าเราจะมองจากด้านบนลงไป หรือมองจากคณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือราชการลงไป เราจะเห็นวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ลงไปช่วยกันจัดการ ช่วยดูแลหรือบริหาร แต่ถ้าเรามองว่าวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต เราจะเห็นว่าประชาชนนี่แหละครับเป็นเจ้าของวัฒนธรรม เป็นผู้สร้างสรรค์วัฒนธรรม เป็นผู้ทำทุกอย่างแทบจะเป็นต้นฉบับของวัฒนธรรมเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องให้ความสำคัญ เพื่อจะได้เติมในการที่จะนำพลังของวัฒนธรรมนี้มาพัฒนาสังคมตามที่เราต้องการ

เคยยกตัวอย่างอยู่เสมอว่า เมื่อหนังจูราสสิกปาร์คของฮอลลีวู้ดฉายไปทั่วโลกนั้น เกาหลีก็มาคำนวณว่ารายได้จากหนังเรื่องนี้ เขาสามารถทำเท่ากับขายรถฮุนไดได้ล้านห้าแสนคัน ดังนั้นเขาจึงมาตั้งอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ตั้งแต่บัดนั้นเกาหลีจึงได้ใช้วัฒนธรรมในการนำพัฒนาการเกือบทุกอย่างรอบด้านจนวันนี้

เราจะเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าบ้านเรานั้นมักจะละเลยและมักจะทำในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมชุบแป้งทอด หมายความว่าเราเอาของดีๆ เด่นๆ มาขายกันเท่านั้นเอง เราลืมนึกถึงต้นฉบับ คือวัฒนธรรมที่เป็นของประชาชน ที่ประชาชนสร้างขึ้น ตรงนี้สำคัญครับ เพราะฉะนั้นการที่จะใช้วัฒนธรรมมานำในการพัฒนาหรืออะไรก็ตาม ผมว่าต้องใช้วิธีบูรณาการ โดยเฉพาะให้ภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญ เป็นบทบาทนำด้วยซ้ำไป

เมื่อครั้งที่ผมรณรงค์เรื่องการปฏิรูปวัฒนธรรมสมัยที่เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เราได้ไปยังจังหวัดหนึ่งซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยชาติพันธุ์ แล้วเราก็ไปบอกว่าอยากจะให้มีพื้นที่วัฒนธรรม เพื่อให้มีเวทีการแสดงหรือให้ชาวบ้านที่มีความสามารถเอาของมาอวดกันไม่ใช่มาประกวดกันนะครับ ทางจังหวัดเขาบอกว่าเมื่อวานซืน บริษัทค่ายเพลงเขามาขอไปจัดประกวดเพลงลูกทุ่งแล้ว ให้ไปแล้วล้านบาท เขาหมดงบแล้ว นั่นคือวิธีการจัดการวัฒนธรรมแบบราชการ คือราชการกับเอกชนนี่ร่วมมือกันเท่านั้นเอง ประชาชนกลายเป็นผู้ที่มารับจ้างหรือมากระทำตามที่เขากำหนด ตรงนี้แหละคือความไม่เป็นเอกภาพกันระหว่างภาคประชาชนกับภาคราชการและเอกชน

ฉะนั้นมิติใหม่ของวัฒนธรรมที่เราจะนำมาพัฒนาสังคมก็คือต้องรวมพลังสามภาคส่วน ผมใช้คำว่า สานพลัง 3 ภาคส่วน ที่เรียกว่าไตรภาคี คือราชการ เอกชนหรือธุรกิจ แล้วก็ภาคประชาสังคม ต้องสามภาคส่วนนี้ครับ ทีนี้วิธีจัดการหรือจะทำอย่างไร ผมคิดว่าคำตอบในรายงานมีอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้มันเป็นรูปธรรมขึ้นเท่านั้น

ผมยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทราบข้อมูลจากจังหวัดนครราชสีมา เพลงโคราชครับ เขาต้องเล่นทุกคืน เล่นแก้บนต่อหน้าย่าโมทุกคืน และเขาต้องเสียเงินไปเช่าพื้นที่เพื่อเล่นเดือนละสามหมื่นบาท นี่คือเรากำลังส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือว่าเรากำลังทำลายทำให้หายไปให้หดไป เพลงโคราชน่ะมีที่เดียวนะครับ มีที่นั่นที่เดียว เขาไม่รู้ไปเล่นที่ไหนอีก ทำไมถึงจะต้องใช้วิธีการอย่างนี้ไปจัดการกับเขา นี่คือความไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าเราละเลย

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามไปดูไปติดตามเสนอแนะและก็ทำให้เกิดขึ้นในหลายๆ ที่ ตัวอย่างในนี้ก็มีตลาดชุมทางทุ่งสง นี่เป็นตัวอย่างอยากให้ทุกท่านไปดูกัน อยากให้ผู้ที่สนใจงานวัฒนธรรมในลักษณะบูรณาการได้ไปดู เพราะว่าทำมาตลอดสองปีสามปีแล้วไม่เว้นเลย และก็ใช้วิธีการการบูรณาการ ไม่ใช่ส่วนใดส่วนเดียว ไม่ใช่ราชการส่วนเดียว เอกชนส่วนเดียวหรือประชาสังคมส่วนเดียว แต่ร่วมกันทำในลักษณะบูรณาการ อันนี้เป็นตัวอย่างอย่างเดียวเท่านั้นเอง

สุดท้าย ผมก็อยากยกตัวอย่างเพื่อจะยืนยันว่า งานวัฒนธรรมไม่ใช่เฉพาะงานของศิลปวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาเท่านั้น หากแต่หมายถึงวิธีคิดของชาวบ้าน ที่เขาเปลี่ยนมุมมองทำให้อาชีพเขาเปลี่ยนไปด้วย ผมเคยไปดูงานที่ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้นำชุมชนที่นั่นเขานำชาวบ้านและเปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบใหม่ แทนที่จะทำมาค้าขาย เขาเปลี่ยนเป็นลักษณะทำมาหากินครับ เหลือกินเขาจึงเอาไปขาย และวิธีการขายจะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง จัดการเรื่องตลาดเรื่องการขนส่งด้วยตนเองหมด ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ผมไปถามผู้นำชาวบ้านว่าทำไมจึงเปลี่ยนวิธีคิดอย่างนี้ เขาบอกว่า เขาจำได้ว่าสมัยตอนเด็กๆ เขาเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และอยากได้รองเท้าใหม่ เขาก็ร้องขอต่อพ่อ พ่อเขามีลูก 10 คนนะครับ เขาเป็นลูกคนสุดท้อง พ่อก็ไม่ให้ บอกว่าไม่มีเงินซื้อรองเท้าใหม่ ลูกก็ร้องและโต้พ่อว่า พ่อไม่มีเงินแล้วทำไมเลี้ยงลูกได้ตั้ง 10 คน พ่อเขาบอกว่าพ่อเลี้ยงลูกด้วยข้าวไม่ใช่ด้วยเงิน นั่นแหละทำให้เขาฉุกคิดว่าวิถีการทำเกษตรของเขาทุกวันนี้ทำให้เขาไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ก็เพราะว่า มัวไปพึ่งวิธีคิดแบบพึ่งคนอื่นไม่พึ่งตนเอง ตั้งแต่นั้นเขาปรับวิถีใหม่ เข้าไปดูได้ที่บ้านแม่ทา ชุมชนเข้มแข็ง ลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป

อยากให้คณะกรรมาธิการหรือว่าราชการ ควรจะไปเสาะแหล่งเหล่านี้เพื่อไปเรียนรู้ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่เรามีอยู่ทั่วไป น่าจะเพิ่มบทบาทในการไปเรียนรู้วิธีคิด เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังให้มากขึ้น และผมคิดว่าหน่วยงานที่ทำได้ดีที่สุดที่จะประสานงานเรื่องนี้ได้ดีที่สุดแต่ก็หวังได้ยากที่สุด นั่นคือสภาวัฒนธรรมตำบล ซึ่งมีอยู่ทุกที่ น่าจะเป็นองค์กรที่สามารถรวมพลังเหล่านี้ที่เรียกว่าสานพลัง 3 ภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมภาคประชาชนได้อย่างจริงจัง ก็ขอฝากไว้ครับ

ขอจบด้วย...

"วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิต
ของคนคิดคนทำคนสร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์เป็นอยู่รู้แบ่งปัน
ไปตามขั้นครรลองของชีวิต

ศิลปะนั้นเป็นความเจนจัด
จากปฏิบัติการงานการประดิษฐ์
ศิลปวัฒนธรรมจึงนำคิด
ให้รู้ทิศรู้ทางรู้ย่างเท้า

พื้นฐานบ้านเราคือชาวบ้าน
ทำงานไร่นามาก่อนเก่า
เป็นปู่เป็นย่าตายายเรา
ปลูกเหย้าแปลงย่านเป็นบ้านเมือง

เป็นเมืองเรืองรุ่งเป็นกรุงไกร
ลูกไทยหลานไทยได้ฟูเฟื่อง
น้ำใจไมตรีมีนองเนือง
จากเบื้องบรรพกาลถึงวันนี้

ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องความงามและความดี
เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชน ฯ"

ขอบคุณครับ”

17/09/2020
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#ทุนทางวัฒนธรรม

รายงานการพิจารณาเรื่อง “การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2563 นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ขึ้นอภิปราย ในประเด็นต้นทุนทางวัฒนธรรม

“ท่านประธานที่เคารพ กระผม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา

ได้อ่านรายงานของคณะกรรมาธิการแล้ว ก็แทบจะไม่ต้องมีอะไรพูดถึงเพราะว่าสมบูรณ์ดี เพียงจะขอเสนอเพื่อเติมเต็มเท่านั้นเองครับ จากประสบการณ์ผมคิดว่า ขั้นต้นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงเฉพาะส่วนที่เป็นศิลปะ เป็นภูมิปัญญาหรือเป็นสิ่งดีๆ ที่แปรเป็นทุนได้อย่างเดียว โดยรวมแล้ววัฒนธรรมหมายถึงวิถีชีวิตครับ เพราะวัฒนะแปลว่างอกเงยขึ้น ไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดีนะครับ ถ้างอกงามมันเป็นอารยะ ถ้ามันไม่งอกงามมันก็เป็นหายนะ ฉะนั้น 'วัฒนะ' แปลว่างอกเงยขึ้น 'ธรรม แปลว่าสิ่ง ฉะนั้นสิ่งที่มันงอกเงยขึ้นไม่ได้หมายถึงธรรมชาตินะครับ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั่นแหละคือเพื่อความเป็นอยู่อย่างเป็นปกติสุขของส่วนรวมเป็นหลัก เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมโดยความหมายก็คือวิถีชีวิตนั่นเอง

ฉะนั้น ตรงนี้สำคัญครับ ถ้าเราจะมองจากด้านบนลงไป หรือมองจากคณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือราชการลงไป เราจะเห็นวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ลงไปช่วยกันจัดการ ช่วยดูแลหรือบริหาร แต่ถ้าเรามองว่าวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต เราจะเห็นว่าประชาชนนี่แหละครับเป็นเจ้าของวัฒนธรรม เป็นผู้สร้างสรรค์วัฒนธรรม เป็นผู้ทำทุกอย่างแทบจะเป็นต้นฉบับของวัฒนธรรมเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องให้ความสำคัญ เพื่อจะได้เติมในการที่จะนำพลังของวัฒนธรรมนี้มาพัฒนาสังคมตามที่เราต้องการ

เคยยกตัวอย่างอยู่เสมอว่า เมื่อหนังจูราสสิกปาร์คของฮอลลีวู้ดฉายไปทั่วโลกนั้น เกาหลีก็มาคำนวณว่ารายได้จากหนังเรื่องนี้ เขาสามารถทำเท่ากับขายรถฮุนไดได้ล้านห้าแสนคัน ดังนั้นเขาจึงมาตั้งอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ตั้งแต่บัดนั้นเกาหลีจึงได้ใช้วัฒนธรรมในการนำพัฒนาการเกือบทุกอย่างรอบด้านจนวันนี้

เราจะเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าบ้านเรานั้นมักจะละเลยและมักจะทำในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมชุบแป้งทอด หมายความว่าเราเอาของดีๆ เด่นๆ มาขายกันเท่านั้นเอง เราลืมนึกถึงต้นฉบับ คือวัฒนธรรมที่เป็นของประชาชน ที่ประชาชนสร้างขึ้น ตรงนี้สำคัญครับ เพราะฉะนั้นการที่จะใช้วัฒนธรรมมานำในการพัฒนาหรืออะไรก็ตาม ผมว่าต้องใช้วิธีบูรณาการ โดยเฉพาะให้ภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญ เป็นบทบาทนำด้วยซ้ำไป

เมื่อครั้งที่ผมรณรงค์เรื่องการปฏิรูปวัฒนธรรมสมัยที่เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เราได้ไปยังจังหวัดหนึ่งซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยชาติพันธุ์ แล้วเราก็ไปบอกว่าอยากจะให้มีพื้นที่วัฒนธรรม เพื่อให้มีเวทีการแสดงหรือให้ชาวบ้านที่มีความสามารถเอาของมาอวดกันไม่ใช่มาประกวดกันนะครับ ทางจังหวัดเขาบอกว่าเมื่อวานซืน บริษัทค่ายเพลงเขามาขอไปจัดประกวดเพลงลูกทุ่งแล้ว ให้ไปแล้วล้านบาท เขาหมดงบแล้ว นั่นคือวิธีการจัดการวัฒนธรรมแบบราชการ คือราชการกับเอกชนนี่ร่วมมือกันเท่านั้นเอง ประชาชนกลายเป็นผู้ที่มารับจ้างหรือมากระทำตามที่เขากำหนด ตรงนี้แหละคือความไม่เป็นเอกภาพกันระหว่างภาคประชาชนกับภาคราชการและเอกชน

ฉะนั้นมิติใหม่ของวัฒนธรรมที่เราจะนำมาพัฒนาสังคมก็คือต้องรวมพลังสามภาคส่วน ผมใช้คำว่า สานพลัง 3 ภาคส่วน ที่เรียกว่าไตรภาคี คือราชการ เอกชนหรือธุรกิจ แล้วก็ภาคประชาสังคม ต้องสามภาคส่วนนี้ครับ ทีนี้วิธีจัดการหรือจะทำอย่างไร ผมคิดว่าคำตอบในรายงานมีอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้มันเป็นรูปธรรมขึ้นเท่านั้น

ผมยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทราบข้อมูลจากจังหวัดนครราชสีมา เพลงโคราชครับ เขาต้องเล่นทุกคืน เล่นแก้บนต่อหน้าย่าโมทุกคืน และเขาต้องเสียเงินไปเช่าพื้นที่เพื่อเล่นเดือนละสามหมื่นบาท นี่คือเรากำลังส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือว่าเรากำลังทำลายทำให้หายไปให้หดไป เพลงโคราชน่ะมีที่เดียวนะครับ มีที่นั่นที่เดียว เขาไม่รู้ไปเล่นที่ไหนอีก ทำไมถึงจะต้องใช้วิธีการอย่างนี้ไปจัดการกับเขา นี่คือความไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าเราละเลย

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามไปดูไปติดตามเสนอแนะและก็ทำให้เกิดขึ้นในหลายๆ ที่ ตัวอย่างในนี้ก็มีตลาดชุมทางทุ่งสง นี่เป็นตัวอย่างอยากให้ทุกท่านไปดูกัน อยากให้ผู้ที่สนใจงานวัฒนธรรมในลักษณะบูรณาการได้ไปดู เพราะว่าทำมาตลอดสองปีสามปีแล้วไม่เว้นเลย และก็ใช้วิธีการการบูรณาการ ไม่ใช่ส่วนใดส่วนเดียว ไม่ใช่ราชการส่วนเดียว เอกชนส่วนเดียวหรือประชาสังคมส่วนเดียว แต่ร่วมกันทำในลักษณะบูรณาการ อันนี้เป็นตัวอย่างอย่างเดียวเท่านั้นเอง

สุดท้าย ผมก็อยากยกตัวอย่างเพื่อจะยืนยันว่า งานวัฒนธรรมไม่ใช่เฉพาะงานของศิลปวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาเท่านั้น หากแต่หมายถึงวิธีคิดของชาวบ้าน ที่เขาเปลี่ยนมุมมองทำให้อาชีพเขาเปลี่ยนไปด้วย ผมเคยไปดูงานที่ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้นำชุมชนที่นั่นเขานำชาวบ้านและเปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบใหม่ แทนที่จะทำมาค้าขาย เขาเปลี่ยนเป็นลักษณะทำมาหากินครับ เหลือกินเขาจึงเอาไปขาย และวิธีการขายจะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง จัดการเรื่องตลาดเรื่องการขนส่งด้วยตนเองหมด ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ผมไปถามผู้นำชาวบ้านว่าทำไมจึงเปลี่ยนวิธีคิดอย่างนี้ เขาบอกว่า เขาจำได้ว่าสมัยตอนเด็กๆ เขาเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และอยากได้รองเท้าใหม่ เขาก็ร้องขอต่อพ่อ พ่อเขามีลูก 10 คนนะครับ เขาเป็นลูกคนสุดท้อง พ่อก็ไม่ให้ บอกว่าไม่มีเงินซื้อรองเท้าใหม่ ลูกก็ร้องและโต้พ่อว่า พ่อไม่มีเงินแล้วทำไมเลี้ยงลูกได้ตั้ง 10 คน พ่อเขาบอกว่าพ่อเลี้ยงลูกด้วยข้าวไม่ใช่ด้วยเงิน นั่นแหละทำให้เขาฉุกคิดว่าวิถีการทำเกษตรของเขาทุกวันนี้ทำให้เขาไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ก็เพราะว่า มัวไปพึ่งวิธีคิดแบบพึ่งคนอื่นไม่พึ่งตนเอง ตั้งแต่นั้นเขาปรับวิถีใหม่ เข้าไปดูได้ที่บ้านแม่ทา ชุมชนเข้มแข็ง ลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป

อยากให้คณะกรรมาธิการหรือว่าราชการ ควรจะไปเสาะแหล่งเหล่านี้เพื่อไปเรียนรู้ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่เรามีอยู่ทั่วไป น่าจะเพิ่มบทบาทในการไปเรียนรู้วิธีคิด เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังให้มากขึ้น และผมคิดว่าหน่วยงานที่ทำได้ดีที่สุดที่จะประสานงานเรื่องนี้ได้ดีที่สุดแต่ก็หวังได้ยากที่สุด นั่นคือสภาวัฒนธรรมตำบล ซึ่งมีอยู่ทุกที่ น่าจะเป็นองค์กรที่สามารถรวมพลังเหล่านี้ที่เรียกว่าสานพลัง 3 ภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมภาคประชาชนได้อย่างจริงจัง ก็ขอฝากไว้ครับ

ขอจบด้วย...

"วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิต
ของคนคิดคนทำคนสร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์เป็นอยู่รู้แบ่งปัน
ไปตามขั้นครรลองของชีวิต

ศิลปะนั้นเป็นความเจนจัด
จากปฏิบัติการงานการประดิษฐ์
ศิลปวัฒนธรรมจึงนำคิด
ให้รู้ทิศรู้ทางรู้ย่างเท้า

พื้นฐานบ้านเราคือชาวบ้าน
ทำงานไร่นามาก่อนเก่า
เป็นปู่เป็นย่าตายายเรา
ปลูกเหย้าแปลงย่านเป็นบ้านเมือง

เป็นเมืองเรืองรุ่งเป็นกรุงไกร
ลูกไทยหลานไทยได้ฟูเฟื่อง
น้ำใจไมตรีมีนองเนือง
จากเบื้องบรรพกาลถึงวันนี้

ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องความงามและความดี
เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชน ฯ"

ขอบคุณครับ”

08/09/2020
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

ระหว่างเยี่ยมเยียนชุมชนเพื่อติดตามเรื่องการส่งเสริมอนุรักษ์ วิถีทะเล วิถีชุมชน จะนะ จ.สงขลา เมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๖๓

"จะชนะ"

ฟ้าใส ทะเลใส
แลคนใส สืบรักษา
พิสูจน์ได้ด้วยเวลา
แลด้วยอารยะวิถี

นี้คือวิถีใหม่
แห่งโลกใหม่ในวันนี้
สงขลา ถิ่นธานี
ยังนำทาง ไม่ห่างเห

ทะเลกำลังแถลง
ผ่านลูกสาวแห่งถิ่นทะเล
จงมนุษยหยุดเกเร
หยุดรังแกกันและกัน

ให้ทะเลได้สำแดง
พลังแห่งการแบ่งปัน
ธรรมชาติจักจัดสรร
สัจธรรมจักนำชัย

ด้วยวิถี ความพอเพียง
เป็นอย่างเยี่ยงแห่งยุคสมัย
นำร่องครรลองไทย
นำชัยชนะ เถิดชาวจะนะ!

-เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์-

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
30/08/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

วันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เข้าสักการะพระมหาธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช พร้อมร่วมประชุมหารือ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นมรดกโลกจากวัฒนธรรมจังหวัด พร้อมทั้งเสนอแนะข้อคิดเห็นกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ นำไปสู่ขั้นตอนการเสนอเอกสารขอขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกต่อไป

29/08/2020
เปิดจุดยืน"พี่เนาว์" อุดมการณ์ศิลปินแห่งชาติเปลี่ยนไปจริงหรือ ? : Matichon TV

เปิดจุดยืน"พี่เนาว์" อุดมการณ์ศิลปินแห่งชาติเปลี่ยนไปจริงหรือ ? : Matichon TV

เปิดใจ “เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” หลายคนบอก “พี่เนาว์” เปลี่ยนไป ? ชี้ “บิ๊กตู่” เป็น “เผด็จงาน” ไม่ใช่ “เผด็จก.....

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
29/08/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

วันศุกร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เข้าสักการะพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นมัสการเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ร่วมกับผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และเยี่ยมชมการพัฒนาพื้นที่ของวัด และเปิดวงเสวนาปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดัน เสนอแนะ พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงาน โดยเฉพาะ การให้มีพุทธมณฑล ๔ ภาคสถานที่ ในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัด

ช่วงบ่ายเดินทางไปสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นมัสการเจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล พระภาวนาโพธิคุณ (โพธิ์ จนฺทสโร) และเยี่ยมชมพื้นที่สวนโมกขพลาราม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางศาสนาเพื่อเผยแพร่หลักคำสอนที่ดีตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
ประเด็นข้อหารือ : การพัฒนาวัด และการส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
24/08/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

ปฏิรูปเร่งด่วน!

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เสนอผลักดัน 3 เรื่องสำคัญของงานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ควรปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ต่อคณะอนุกรรมาธิการ ตสร.

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ในที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมฯ (ตสร.) นอกจากวาระการประชุมตามปกติแล้ว ยังมี 'เรื่องสำคัญเร่งด่วน' สำหรับแผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย

โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ ได้นำเสนอ 3 เรื่องสำคัญของงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่ควรปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ได้แก่ (1) ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (2) ภูมิพื้นที่ศิลปวัฒนธรรม และ (3) วัฒนธรรมสัมพันธ์นานาชาติ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันเรื่องดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา แล้วให้เชิญประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม เข้าร่วมประชุมด้วยในวันพฤหัสบดี 27 สิงหาคม 2563 เพื่อหารือเกี่ยวกับการกำหนดเรื่องสำคัญเร่งด่วน ตามที่คณะอนุกรรมาธิการเป็นผู้เสนอ และเพื่อให้เกิดบูรณาการการทำงานร่วมกันต่อไป

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
17/08/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

"สะพานข้ามห้วงน้ำทุกข์"

ยามที่เธอเหนื่อยหน่ายเหมือนไร้สิ้น
น้ำตาปริ่มริมจะรินระเอิบเอ่อ
ฉันจะซับคอยประคับประคองเธอ
เมื่อทุกข์ทนหม่นละเมอและเพื่อนไร้

เสมือนหนึ่งสะพานข้ามสายน้ำเข็ญ
ฉันจะเป็นสะพานข้ามสายน้ำให้
จะช่วยเธอคลี่คลายสบายใจ
ฉันจะทอดกายไปคลายทุกข์ทน

ยามที่เธอท้อแท้และอ้างว้าง
ยามที่เธอเคว้งคว้างอยู่กลางหน
ยามเย็นย่ำฉันจะเฝ้าปลอบกมล
เมื่อมืดมนหม่นร้าวมารอบทิศ

เสมือนหนึ่งสะพานข้ามสายน้ำเข็ญ
ฉันจะเป็นสะพานข้ามน้ำวิกฤต
จะช่วยเธอคลี่คลายที่ขุ่นคิด
ฉันจะทอดกายชิดให้ขุ่นคลาย

จงเยื้องย่างครรไลก้าวไปเถิด
ช่วงเวลาบรรเจิดจักเฉิดฉาย
ความฝันรุ่งเรืองรองเริ่มผ่องพราย
ฉันจะกรายใกล้ชิดเป็นมิตรเธอ

-ร้อยกรองจาก Bridge over Troubled Water ของ Simon and Garfunkel-

*Bridge over Troubled Water*
Simon and Garfunkel
Songwriters: Paul Simon

When you’re weary, feeling small
When tears are in your eyes, I’ll dry them all (all)
I’m on your side, oh, when times get rough
And friends just can't be found

Like a bridge over troubled water
I will lay me down
Like a bridge over troubled water
I will lay me down

When you're down and out
When you're on the street
When evening falls so hard
I will comfort you (ooo)
I'll take your part, oh, when darkness comes
And pain is all around

Like a bridge over troubled water
I will lay me down
Like a bridge over troubled water
I will lay me down

Sail on silver girl
Sail on by
Your time has come to shine
All your dreams are on their way
See how they shine
Oh, if you need a friend
I'm sailing right behind

Like a bridge over troubled water
I will ease your mind
Like a bridge over troubled water
I will ease your mind

เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
12/08/2020

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

“สถานการณ์การเมืองวันนี้ สะท้อนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอันแหลมคม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการสู่สังคม “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริง ผมมีความเห็นว่ารัฐและสังคมควรรับฟังข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะในทุกประเด็นจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ด้วยความจริงจังและจริงใจ ซึ่งในขณะเดียวกันรัฐต้องทำหน้าที่ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงจากการชุมนุมอย่างสงบและสันติของทุกฝ่าย

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกประเด็นที่เป็นธรรมอันนำไปสู่ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และที่สำคัญคือสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์แห่งองค์คุณสามัคคีธรรมของบ้านเมือง ไม่พึงนำมาเป็นเงื่อนไขข้อขัดแย้งทางการเมือง”

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓

ขอบคุณภาพ ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้งสี่ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย : http://www.rangsitcity.com

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ปฏิรูป/ภิวัฒน์ไทย - เนาวรัตน์ posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to ปฏิรูป/ภิวัฒน์ไทย - เนาวรัตน์ :

Videos

Share

#}