ลองดู clip สั้นๆท่าเดินที่มี เอ็นร้อยหวายสั้นเล็กน้อย จะสังเกตุเห็นส้นเท้าเกือบสำผัสพื้น ไม่ได้ลอยสูง ถ้าไม่สังเกตจะพลาดได้ เข่าจะไม่งอ หรืองอเล็กน้อยขณะเริ่มถ่ายน้ำหนัก เด็กอาจนั่งยองๆไม่ได้ และอาจเมื่อยน่องขาง่ายกว่าปกติ โรคเอ็นร้อยหวายสั้นมีหลายชนิด บางคนเด็กๆก็ไม่ได้เขย่งมาก แต่โตขึ้นเชย่งมากขึ้น
ตัวอย่างเด็กซีพี ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็กน้อยเดินขาเขย่งบิดเข้าใน จนโตเป็นผู้ใหญ่ ผ่านการฝึกกายภาพและผ่าตัดขามาหลายอย่าง สิ่งที่ได้คือการเดินเต็มเท้า แนวขาตรงดี แม้การทรงตัวจะไม่เหมือนคนปกติ แต่พอจะช่วยตัวเองได้ เดินได้เองระยะไกล สติปัญญาปกติจึงสามารถเรียนเหมือนคนปกติ ไม่เป็นภาระ แต่อย่างไรก็ตาม เดินไกลอาจเหนื่อยหรือปวดเมื่อยง่ายกว่าคนปกติ นี่เป็นข้อจำกัดของผู้ใหญ่ซีพี เราพยายามแก้แนวขาให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ก่อนเลิกนัด เนื่องจากที่นี่มีข้อจำกัดการรักษาถึงอายุ 18 ปี ตามระเบียยของโรงพยาบาล แม้ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้อีกไม่ได้จำกัด
BY Vetham
ตัวอย่างเด็กซีพี เท้าบิดเข้าใน โดยเฉพาะข้างซ้ายจะเห็นชัดว่าเขย่งและบิดเข้าใน เด็กได้รับผ่าตัด ยืดเอ็น และย้ายเอ็น ( SPLATT) , TAL ข้างซ้าย และ ยืดเอ็นร้อยหวายขวา หลังผ่า 6เดือน แสดงเท้าที่ถ่ายน้ำหนักได้ดีขึ้น เดินได้ดีขึ้น แต่ที่ยังต้องใช้ที่เกาะเพราะการทรงตัวยังดีไม่เพียงพอ
By Vetham
ดูตัวอย่าง เท้าบิดเข้าในเวลาเดิน
เท้าขวาชัดเจนมาก และถ้าดูหัวเข่าด้วยจะเห็นเข่าหมุนเข้าในตอนถ่ายน้ำหนัก
เข่าแอ่นและปลายเท้าสำผัสพื้น แสดงว่าเอ็นร้อนหวายตึงเกร็ง
จากท่าเดินพอวิเคราะห์ได้ว่า เอ็นร้อยหวายตึงและกระดูกต้นขาบิดหมุนเข้าใน โดยเฉพาะข้างขวา
ซีพีถึงจะเดินแบบนี้ คนนี้ เป็น ซีพี ระดับ 2 GMFCS II 5 ขวบ
รักษา ระยะนี้ใส่ plastic ฉีด Botox รอนัดผ่าตัดโตอีกหน่อยได้ เอ็นร้อยหวายยังเป็นแบบเกร็ง ส่วนกระดูกต้นขาบิดหมุน นอผ่าแก้ สัก 7-8 ปี รอกระดูกใหญ่แข็งแรง
By Vetham
เท้าแปรเอ็นร้อยหวายตึง ตรวจดูง่ายๆ
ตามคลิปนี้ เมื่อกระดกข้อเท้าขึ้นโดยยึดให้ส้นเท้าอยู่นิ่งไว้ ถ้าเท้าแปรเอ็นร้อยหวายตึงปลายเท้าจะบิดหมุนออกนอก ถ้าเท้าปกติจะกระดกขึ้นทั่งส้นเท้าและปลายเท้า
เราแยกหาเท้าแปรเอ็นร้อยหวายตึงเพราะมันจะไม่หายเอง และยิ่งโตยิ่งเจ็บเมื่อเดิน
เท้าแปรหรือเท้าแบนธรรมดามักไม่เจ็บในระยะยาว
By Vetham
ข้างซ้ายส้นเท้าลอย สาเหตุจากขายาวไม่เท่ากัน
คลิบนี้ดูเด็กโต เดินเห็นเท้าซ้ายส้นเท้าไม่สำผัสพื้น แต่ไม่ได้เกินจากเอ็นร้อยหวายสั้น เกิดจาก ขายาวไม่เท่ากัน กระดูกต้นขาซ้ายสั้นกว่าขวามาแต่เกิด ประมาณ 3 cm คนนี้ ได้รับการแก้ปัญหาด้วยการ lock เยื่อเจริญข้างยาว และได้ วางแผนแก้เท้าแปรร่วมด้วย ตัวอย่างให้เห็นว่าเดินเขย่ง เป็นจากได้หลายสาเหตุ ขาไม่เท่ากันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องคิดถึง
By Vetham
คลิปนี้ดูลูกสะบ้า หลุดและเข้า
เป็นเด็กอายุ 7 ปี เดินแปลกๆ เข่าไม่ค่อยงอ ไม่ยอมนั่งยอง ขึ้นลงบันได งอเข่าลำบาก ยิ่งโตยิ่งเห็นชัด คลิปแสดงให้เห็นท่านี่งงอเข่า ลูกสะบ้าทั้ง2 ข้างหลุดอยู่ เมื่อเหยียดเข่า ลูกสะบ้ากลิ้งเข้าที่ ด้วยความลำบาก เด็กจะรู้สึก ลำบาก หรือเจ็บมากขึ้นในการงอเหยียดเข่า เพราะลูกสะบ้าต้องวิ่งเข้าวิ่งออก
การแก้ไม่ยาก แต่ต้องผ่าตัดแก้แนวกระดูก และซ่อมแซมเอ็นคุมลูกสะบ้าหน่อย ที่สำคัญคือเด็กยังโตได้อีก ถ้าซ่อมไม่แข็งแรงพอ หรือแก้แนวไม่เพียงพอ เขาจะหลุดซ้ำเมื่อเข้าวัยรุ่น
ถ้าเจอบุตรหลานเป็น รีบพามาแก้ไขตั้งแต่อายุน้อย จะผลดีกว่า
By Vetham
เดินแปลกๆ สังเกตุเห็นก้นยื่นหลังแอ่น
ตัวอย่างคลิป อาจคิดว่าเด็กก็เดินได้ ไม่เจ็บอะไร แต่มีปัญหาใหญ่อยู่ข้างใน คือสะโพกหลุด2 ข้างตั้งแต่เกิด เพิ่มเติมคือเด็กจะกางขาไม่ออกและนั่งขัดสมาธิไม่ได้ ควรสังเกตตั้งแต่หัดเดิน อันที่จริงควรดูตั้งแต่แรกเกิด เพราะการรักษาง่ายเพียงแค่ใส่อุปกรณ์ดาม ดังได้เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้
ถ้าเดินแล้วโอกาสต้องผ่าสูง
เนื่องจากผม โพสต์ clip ร่วมกันกับภาพนิ่งไม่ได้ ขอโพสต์ในโพสต์ถัดไปครับ
By Vetham
สะโพกเคลื่อน ดูยาก
ตัวอย่างคนไข้มานอน รพ วันนี้ คนนึงเป็นซีพี เดินพอได้แต่มีเท้าซ้ายเขย่งและเข่างอช่วงลงน้ำหนัก ดูผ่านๆอาจคิดถึงแค่เข่าและข้อเท้าแต่เมื่อมาตรวจพบว่าสะโพกซ้ายเคลื่อน 50% ซึ่งถ้าแก้ไขเฉพาะข้อเท้าและเข่าอาจทำให้สะโพกเคลื่อนมากขึ้นจนหลุด การ x ray สะโพกในเด็กซีพีอายุน้อยควรได้ทำทุกคนเป็นโปรแกรม hip surveillance ทางคลินิกเรามีกระบวนการนี้มานาน เพื่อไม่ต้องพบสะโพกหลุดสายเกิน และไม่ x ray พร่ำเพรื่อเกินไป
By Vetham
เดินเขย่งเข่าแอ่น พบบ่อยในเด็กซีพี
เด็กซีพีกลุ่มเดินได้ แต่จะเดินไม่ปกติ ท่าเดินพอจะบอกเราได้ว่าคนไข้มีปัญหาอะไร ตัวอย่างนี้เห็นได้ว่าเท้าเขย่งช่วงลงน้ำหนักและเข่าแอ่นเกิดร่วมกัน ส่วนช่วงยกขาเหวี่ยงไปข้างหน้า ปลายเท้าลากพื้น ลักษณะนี้บอกได้ว่าเอ็นร้อยหวายเกร็งหรือหดสั้น บางก้าวเขย่งมาก บางก้าวเขย่งน้อย ก้าวที่เขย่งน้อยเข่าจะแอ่นมากกว่า ก้าวที่เขย่งมาก แบบนี้แสดงว่าเอ็นร้อยหวายเกร็ง อาจเกร็งอย่างเดียวหรือสั้นด้วย ลองให้เขายืนเฉยๆ ถ้าส้นเท้าแตะพื้นได้ความสั้นจะไม่มากหรือไม่มี อันนี้ คอนเฟิร์มด้วยการจับตรวจอีกที ส่วนช่วงยกก้าวที่มึเท้าลาก แสดงว่าเอ็นกระดกข้อเท้าอ่อนแอไป สังเกตุช่วงยกขาอีกจุดคือเข่าเขาเหยียดไม่สุด ปลายเท้าแตะพื้นก่อน อันนี้ อาจมีเกร็งของกล้ามเนื้อหลังเข่า hamstring แต
เท้าแปร
วันนี้ก็มีเด็กที่มีเท้าแปรชัดๆมาปรึกษา จากคลิปจะว่าแปรออกทั้ง2 ข้าง ซ้ายมากกว่าขวา ลองดู slow motion จะเห็นชัดว่าเท้าด้านในกดสัมผัสพื้น คนนี้พึ่ง6 ขวบก็เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ มีรอยสึกที่ฝ่าเท้าด้านในแล้ว เอ็นร้อยหวายก็ตึง จะเรียกว่า midfoot break ไม่ใช่เท้าแบนทั่วไป กระดูกใต้เข่าข้างซ้ายยังบิดแปรออกนอกอีก ( tibia external torsion) ความผิดปกติแบบนี้ยิ่งโตยิ่งเป็นไม่หายเอง ใส่รองเท้าแก้ไม่ได้มีแต่จะทำให้รองเท้าพัง อนาคตจะเดินไม่ทน เจ็บเท้าและเข่าด้านหน้าสาเหตุจากแนวรับน้ำหนักผิด lever arm dysfunction ผ่าตัดโครงสร้างเท้าแก้ไขได้ แต่ควรรอใกล้วัยรุ่น รอกระดูกแข็งแรงพอเพียงกับการผ่าตัดกระดูก อาจป้องกันการเป็นรุนแรงขึ้นด้วย รองเท้าพิเศษ AFO for pes valgus รอใกล้วัยรุ่นค่อยผ่า หรือไม่ต้องใส่ก็ได้ เพราะมักอึดอัดเวลาใส่
โรคนี้รักษาหายขาดได้ไ
เอ็นร้อยหวายตึง
จากภาพจะเห็นการเดืนที่เขย่งเล็กน้อย ส้นเท้าแตะพื้นเล็กน้อยและยกขึ้นเร็ว ปัญหาคือเด็กจะบ่นปวดเมื่อยน่องง่าย และถ้ายกเท้ามาดูฝ่าเท้าจะเห็นรอยสึกที่ส้นเท้าน้อยมาก ยิ่งโตยิ่งเดินเขย่งมากขึ้น ดังเช่นรายนี้ น้องมีอาการมากขึ้นเมื่อเข้าวัยรุ่น เดินนานๆไม่ทนปวดเมื่อยง่าย ส่วนการรักษาอาจทำการยืดเส้นโดยกายภาพก่อน ถ้าไม่ดีขึ้น สามารถคลายเอ็นร้อยหวายได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดที่เหมาะกับกรณีตึงเล็กน้อยนี้ควรเลือกชนิด intramuscular technique เพราะจะไม่ทำให้ร้อยหวายอ่อนแรง
By Vetham
สังเกตุท่าเดิน เดินตัวโยกไปทางขวาขณะขาขวาลงน้ำหนัก
ผู้ป่วยรายนี้มีปัญหาสะโพกขวาเคลื่อน40-50% กล้ามเนื้อกางสะโพกอ่อนแรง ยิ่งโตยิ่งเห็นท่าเดินที่แปลกไป ถ้าสังเกตจะเห็นว่าผู้ป่วยใช้พลาสติกดามเท้า แสดงว่ามีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อคุมเท้า เมื่อตรวจดูพบกล้ามเนื้อคุมเท้าแทบไม่ทำงานเลย ความรู้สึกเท้าก็ลดลง ลักษณะแสดงออกนี้ทำให้นึกถึงโรคทางไขสันหลัง ซึ่งมักมีอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา และรู้สึกน้อยลง กระดูกข้อมักเติบโตผิดรูปร่างได้ การวางแผนรักษาจึงมองยาวจนเป็นผู้ใหญ่ ทั้งการแก้ไขสะโพกและเท้าในอนาคต เนื่องจากกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และเส้นประสาทความรู้สึกที่เสียไปนั้นทำให้ฟื้นไม่ได้ การรักษาจึงมุ่งรักษาแนวรับน้ำหนัก เพื่อการเดินได้ และดี ไม่แย่ลง
By Vetham
คลิปนี้สังเกตที่เท้าขวา เท้าแปรออก เท้าแบน วางเท้าต่างจากอีกข้างชัดเจน สังเกตอีกจะเห็นเข่าตรงตลอดช่วงลงน้ำหนัก ปกติควรงอเล็กน้อยเมื่อเริ่มลงน้ำหนัก คนนี้เท้าขวาแบนเอ็นร้อยหวายตึง ทุกครั้งที่ลงน้ำหนัก แรงปะทะเท้ายิ่งผิดที่ เท้ายิ่งแปรออก ยากที่จะหายเองตามธรรมชาติ ข้อกลางเท้าหลวมและเอ็นร้อยหวายตึงทำให้ทุกครั้งที่ลงน้ำหนัก แรงจะกระทำลงข้อกลางเท้าที่หลวม การดัดยืดเอ็นร้อยหวายให้ยาวขึ้น ยิ่งดัดยิ่งส่งแรงไปข้อกลางเท้า (midtarsal joint) ยิ่งทำให้ผิดรูป
ผ่าตัดกระดูกเท้า และหย่อนเอ็นร้อยหวายแก้ไขปัญหานี้ได้ดี ง่ายเร็วสะดวก แต่ควรรอเท้าให้ใหญ่พอ ประมาณก่อนเข้าวัยรุ่นจะเหมาะดี ส่วนการใส่รองเท้าพิเศษสามารถประคองความรุนแรงไม่ให้มากขึ้น แต่ผู้ป่วยมักไม่ชอบใส่เพราะอึดอัด
By Vetham
เท้าแบนเอ็นร้อยหวายถึง
คลิปวันนี้แสดงให้เห็นกรณีโรคเท้าแบนแบบนิ่ม ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง ความผิดปกตินี้ต่างจากเท้าแบนทั่วไปที่จะไม่หายเอง และจะสร้างปัญหามากขึ้นเมื่อโต ยิ่งเดินมากยิ่งมีโอกาสปวดเท้าได้มาก ประเด็นคือข้อกลางเท้าหลวมและเอ็นร้อยหวายสั้น ทำให้ตอนเดินลงน้ำหนัก อุ้งเท้าหรือเท้าด้านในใต้ตาตุ่มจะหักดังในคลิป เมื่อเรากระดกเท้าขึ้นแทนที่ข้อเท้าจะกระดกขึ้น เมื่อข้อกลางเท้าหลวม การขยับจะเกิดที่ข้อกลางเท้าแทน เอ็นร้อยหวายดึงส้นเท้าไว้ไม่ให้กระดกขึ้น น้ำหนักตัวจึงมาลงกลางเท้า จึงเกิดการสึกแบะบาดเจ็บต่อมา
โรคนี้ หายได้ไม่ยาก แต่ต้องผ่าตัดครับ ผ่าตัดง่ายหายเร็ว ตามโพสต์เก่าๆที่เคยลงครับ
By Vetham
ผู้ป่วยคนเดิมจาก คลิปก่อน ภายหลังใส่พลาสติก คุมข้อเท้าแบบมี ข้อต่อ ท่าเดินใกล้เคียงคนปกติ เราอาจใส่จนกว่าเอ็นร้อยหวายสั้นมาก จึงค่อยผ่าตัด ได้
By Vetham
ดูคนไข้เดินอีกครั่งนะครับวันนี้
สังเกตขาขวา ดูช้าๆซ้ำๆ จะเห็นว่าช่วงข้างขวาลงน้ำหนัก เข่าจะตรงแอ่น ซึ่งโดยปกติเข่าจะงอเล็กน้อยขณะเริ่มถ่ายน้ำหนัก ผู้ป่วยรายนี้เป็นซีพีชนิดซีกขวา มีเอ็นร้อยหวายตึง gastrocnemius contracture กรณีตึงยังไม่มากเป็นการเกร็งส่วนใหญ่ เราควบคุมได้ด้วยการใส่ พลาสติก หรือฉีดโบท็อกซ์ เราอาจรอจนเอ็นร้อยหวายหดสั้นมากจึงค่อยผ่าคลายเอ็น เพื่อไม่ต้องผ่าบ่อย หรือทำให้หย่อนเกินไป โพสต์ต่อไปจะให้ดูคลิป คนไข้เดิมที่ใส่พลาสติกคุมเอ็นร้อยหวาย สังเกตุขาขวาลงน้ำหนัก
By Vetham
เอ็นร้อยหวายตึงแต่เดินเขย่งไม่ชัดเจน
ในเด็กที่มีโรคซีพี เอ็นร้อยหวายเป็นเอ็นที่แสดงอาการยึดสั้นได้บ่อย ยิ่งโตยิ่งแสดงอาการให้เห็นชัด แม้จะได้รับการกายภาพบำบัดมาตลอดก็ตาม เมื่อเด็กโตขึ้น กระดูกยาวขึ้น เส้นเอ็นมักยืดยาวตามไม่ทัน เกิดข้อต่อยึดตาม ตัวอย่างนี้แสดงเด็กที่เป็นซีพีแบบ hemiplegia ข้างขวา สังเกตุที่ขาขวา ตอนลงน้ำหนัก เท้าสำผัสพื้นโดยปลายเท้าลงก่อน ต่อมาเท้าลงเต็ม แต่สังเกตเห็นเข่าเหยียดแอ่น ตั้งแต่เริ่มลงน้ำหนัก ทำให้ดูขาขวาเข่าตรงตลอดช่วงลงน้ำหนัก ลักษณะนี้พบได้บ่อยในซีพีที่มีเอ็นร้อยหวายเริ่มตึง อาการอาจยีงไม่เดินเขย่งตลอด แต่จะแอ่นเข่าทดแทน ลำตัวเอนไปหน้า ระยะก้าวอาจสั้นลง
ถ้าอาการเขย่งเกิดจากความเกร็ง ยังไม่แข็ง การฉีดโบท็อกซ์ ร่วมกับการใส่รองเท้าดามอาจช่วยให้เดินเข่าแอ่
Outcome after supracondylar derotation osteotomy , patellar realignment and VMO Advancment on left side
ลูกสะบ้าหลุดในเด็ก ( Habitual patellar dislocation)
Clip แสดงเปรียบเทียบ เข่าขวาและซ้าย ทั้ง2 ข้างเป็นโรคลูกสะบ้าหลุดซ้ำซากในเด็ก (Habitual patellar dislocation) ข้างซ้ายได้รับการผ่าตัดหมุนกระดูกต้นขาและย้ายเอ็นลูกสะบ้า หลังผ่าประมาณ2 เดือน จะเห็นว่าเวลางอเข่าลูกสะบ้าไม่ได้หลุดเหมือนข้างขวา ในข้างขวาจะเห็นลูกสะบ้าเลื่อนเข้าออก ขณะงอเหยียดเข่า.
โรคนี้สามารถรักษาแก้ไขได้โดยใช้เวลาไม่นาน รอยดำของขาซ้ายจะค่อยหายเองเป็นผลจากการใส่เฝือก แผลจะค่อยๆจางลง
By Vetham
Outcome after supracondylar derotation osteotomy ,PT realignment and VMO advancement on left side
เด็กซีพี ที่เดินเท้าบิดเข้าใน
ตัวอย่างเด็กซีพี ที่เดินได้ แต่เท้าซ้ายบิดเข้าใน เขย่งบิดเข้าในขณะเดินลงน้ำหนักขาซ้าย ตามคลิปที่เห็น. รูปเท้ามิได้ผิดรูปมาก แต่จะเห็นชัดเวลาเดิน หัวเข่าถ้าสังเกตุให้ดี จะบอดเข้าในเช่นกัน ปล่อยไว้เดินจะพลิกล้มง่าย เจ็บเท้าง่าย และลูกสะบ้าเจ็บ หรือเคลื่อนได้
แนวนี้ ปัญหามักอยู่ที่ กระดูกต้นขาบิดเข้าในและเอ็นเท้าไม่สมดุล หรืออาจมีกระดูกเท้าบิดรูปไปบ้างแล้ว การแก้จึงต้องแก้ทั้ง กระดูกต้นขา กระดูกเท้า และย้ายเอ็น
ผล4 เดือนหลังผ่า เท้า.ซ้ายวางพื้นได้ดีขึ้น ดังในคลิป
การแก้ไขความผิดรูปของเท้า โดยแก้แต่เท้าอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ ถ้ามีความผิดรูปจากกระดูกส่วนต้นขาด้วย จึงควรตรวจสอบตลอดทั้งขา
By Vetham