
13/12/2022
กสศ. เตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทาง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ สร้างต้นโรงเรียนขนาดเล็ก ตอบโจทย์กา
เตรียมพร้อมโรงเรียนปลายทาง
กสศ. เตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทาง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ สร้างต้นโรงเรียนขนาดเล็ก ตอบโจทย์การพัฒนาโรงเรียนใน.....
เพจนี้สำหรับสื่อสารผู้เกี่ยวข้องและสนใจในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
เปิดเหมือนปกติ
เตรียมพร้อมโรงเรียนปลายทาง
กสศ. เตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทาง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ สร้างต้นโรงเรียนขนาดเล็ก ตอบโจทย์การพัฒนาโรงเรียนใน.....
Photos from มูลนิธิปัญญากัลป์'s post
Photos from มูลนิธิปัญญากัลป์'s post
การอบรมเชิงปฏิบัติการ 🔖📚
“เรื่องการพัฒนาทักษะการสื่อสาร” ครั้งที่ 1
ให้แก่นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ระหว่างวันที่ 22 - 23 ตุลาคม 2565
✨ เพื่อเสริมศักยภาพให้นักศึกษาทุนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการสื่อสารที่ถูกต้องและชัดเจน
สามารถนำความรู้ กิจกรรม และสื่อการเรียนรู้
ที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติในระหว่างการอบรมครั้งนี้
ไปต่อยอด และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในการออกเสียง
ในโรงเรียนปลายทางขนาดเล็กพื้นที่ห่างไกล
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการแก้ไขการพูด ได้แก่
รศ.ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล
และ อาจารย์ ดร.บัณฑิตา ลิขสิทธิ์
ได้ให้ความรู้ แนวทางการแก้ไขปัญหา
และร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาต่าง ๆ
ที่น้อง ๆ ครูรัก(ษ์)ถิ่นเคยพบเจอระหว่างการลงพื้นที่ชุมชน
เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนลงฝึกประสบการณ์สอน
และบรรจุโรงเรียนปลายทางในอนาคต
#มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
https://youtube.com/watch?v=EJtrTTKEtgs&feature=share
นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
มรภ.ยะลา
👩🏫 กิจกรรมที่ 3.3 ค่ายการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ในวันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2565 ณ ชุมชนลีเล็ด อำเภอลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 👩🏫
กิจกรรมที่ 3.3 ค่ายการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่.....
แชร์
💚 How to … เรียน ‘ประวัติศาสตร์’ ใน ศตวรรษที่ 21
.
สร้าง ‘ความรักในการเรียนรู้’ จากเรื่องราวใกล้ตัว
เพื่อเติบโตเป็นนักค้นคว้า และแสวงหา ‘ข้อเท็จจริง’
.
พบกับทางเลือกหนึ่งของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ด้วยวิธีบูรณาการสาระวิชาเพื่อออกแบบ ‘หน่วยการเรียนรู้’ โดยเชื่อมโยงไปที่ความสนใจของผู้เรียน ผ่านการสร้างแรงบันดาลใจจากครู ที่นำไปสู่การสร้างนิสัยของนักค้นคว้า พร้อมเติบโตขึ้นเป็นประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 กับบุคลิกของผู้ใฝ่รู้ ช่างสงสัย ตั้งคำถาม แล้วลงลึกในการค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องราวที่ตนสนใจ สามารถสังเคราะห์ข้อมูลความรู้ทั้งแท้เทียมที่กระจัดกระจาย เพื่อแยกแยะ ‘จริง’ ออกจาก ‘เท็จ’ ได้
ที่โรงเรียนบ้านโกรกลึก ต.ตะเคียน อ.ด่านขุนทด โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนเพียงร้อยกว่าคน แต่กลับมีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ในการพานักเรียนชั้นประถมลงพื้นที่สืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน เพื่อต่อยอดสู่ความสนใจใคร่รู้ในสาระวิชาประวัติศาสตร์ ที่จะขยายต่อไปยังความสนใจที่กว้างใหญ่ขึ้น จากความใคร่รู้ภายในตัวของเด็ก ๆ เอง
💚 ผอ.การุณ ชาญวิชานนท์ เล่าว่า โรงเรียนบ้านโกรกลึกเป็นหนึ่งในโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ที่ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP) โดย กสศ. จัดการเรียนการสอนด้วย 3 แนวทางหลัก คือ จิตศึกษา, PBL (Problem-based Learning) และ PLC (Professional Learning Community)
ในโครงสร้างการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนเน้นที่ 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ดังนั้นในวิชาอื่น ๆ จะใช้วิธีสร้างหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการกลุ่มสาระวิชา อาทิ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา การงานอาชีพ หรือศิลปะเข้าด้วยกัน ไม่แยกออกเป็นวิชาเดี่ยว โดยวิชาประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสาระวิชาสังคมศึกษา ก็นับรวมอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
“การที่เราไม่แยกส่วนวิชา เพราะต้องการออกแบบการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปที่ตัวผู้เรียนให้ได้มากที่สุด สร้างบทเรียนจากความสนใจของเขา โดยครูต้องค้นหาเรื่องราวที่เด็กอยากเรียนรู้ให้พบ แล้วนำทางสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง”
.
📌 อ่านเรื่องราวทั้งหมดทาง https://www.eef.or.th/tsqp-291122/
เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้
"โครงการหนุนเสริมกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล"
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการหนุนเสริมกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ๔ ภูมิภาค
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีที่ ๓
“โรงเรียนพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบการผลิตและการพัฒนาครู”
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
➡️ จัดกิจกรรมอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การทำ workshop ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพเบื้องต้น” สำหรับนักศึกษาทุนรุ่นที่ 1-3 ✨ในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น.🌱 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
➡️ และกิจกรรมอบรมเชิงบรรยาย เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร” ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น. 🌱ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
➡️โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เข้าร่วมเป็นวิทยากร พร้อมทั้งบุคลากรสังกัดศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรและบุคลากรสังกัดภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมเป็นผู้ช่วยวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว
#โครงการครูรักษ์ถิ่น #มช
#บูรณาการข้ามศาสตร์ #พัฒนาคุณภาพชีวิต
https://www.eef.or.th/teachereef-121121/
#ค้นหา #คัดกรอง #คัดเลือก
กระบวนการต้นน้ำของ #โครงการครูรักษ์ถิ่น
เพื่อให้ได้ #ครูรักษ์ถิ่น ตัวจริงมาเรียนครู
และสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนยากจน
แม้จะอยู่แสนไกล
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยในโครงการ
ก็ไปจนถึง เพื่อให้โอกาสกับน้องๆ ที่
อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
ช่วงนี้ เป็นฤดูกาลของการลงพื้นที่
ของมหาวิทยาลัย 9 แห่ง
ที่เป็นสถาบันผลิตฯ รุ่นที่ 4
เพื่อค้นหา คัดกรอง คัดเลือก
ผู้รับทุน ของปีการศึกษา 2566
จำนวน 327 อัตรา กระจายทั่วประเทศ
แม้จะไม่ครบทุกจังหวัดก็ตาม.
เอาใจช่วยคณาจารย์ทุกคน
ให้ได้พบกับน้องๆ ที่รอคอยอยู่.
เกร็ดประสบการณ์ ‘ค้นหา – คัดกรอง – คัดเลือก’ 3 ปี ของการเดินทาง โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น 12 พฤศจิกายน 256512 พฤศจิกายน 20...
https://www.youtube.com/watch?v=TuEQREOC5Wo
เมื่อวันที่ 27-28 ตุลาคม 2565
นักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2
สาขาการศึกษาปฐมวัยและสาขาการประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
จัดอบรมกิจกรรมบูรณาการศาสตร์พระราชาสู่การจัดการเรียนรู้
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพของ
นักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
กิจกรรมที่ 3.1 ครูนักจัดการเรียนรู้ : บ่มเพาะความเป็นครู (รุ่นที่ 2)
ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รุ่นที่ 2
ชั้นปีที่ 2 จำนวน 46 คน
น้องอิน นักศึกษาทุนฯ ส่งข่าวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
กิจกรรมบูรณาการศาสตร์พระราชาสู่การจัดการเรียนรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทุนโครงการครูรั.....
ัตตานี
หลังจากที่นักศึกษาทุนฯ ไปทำ
กิจกรรมกับนักวิชาการเกษตร
ในกิจกรรม Enrichment Program.
น้องๆ ได้ฟังเรื่องราวการเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพเสริม
ซึ่งสามจังหวัดมีเลี้ยงแพะ วัว ควาย เป็ด ไก่ นก
แต่พอคุยกันถึงความพร้อมด้านสถานที่
และธรรมชาติของสัตว์ รวมถึงต้นทุนกำไร
สรุปลงทึ่เลี้ยงควาย
ซึ่งตอนนี้มีเลี้ยงแบบควายสวยงาม
ซึ่งต้องดูแลใกล้ชิด. ดูแลเป็นอย่างดี
แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อขายลูกเพื่อนำไปเลี้ยงต่อ.
จะไม่ต้องดูแลมากมายนัก.
มีที่อยู่ที่พักหลบฝน. มีหญ้า มีที่ให้อาบน้ำ.
พาไปเดินเล่น. และมีคนดูแลให้ยาเวลาควายป่วย
ก็เลยประชุมสรุปกันว่า...
เลี้ยงควายเพื่อออกลูกขาย จะมีผลกำไรเยอะกว่า.
ตอนนี้น้องๆ ลงทุนคนละ 1400 บาท. จำนวน 28 คน
เป็นเงิน 39200 บาท ซื้อควายสาวมา 1 ตัว.
ส่วนพ่อพันธุ์ทางสถานีสูบน้ำเป็นผู้ลงทุน.
โดยจ้างคนดูแลและ นักศึกษาลงไปดูแล 2 สัปดาห์ 1 ครั้ง
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป.
ตอนนี้น้องเหนียวขาว. ติดลูกแล้ว.
อีก 8 เดือนออกลูกมา. สักระยะก็ขายได้ตัวละ 25000 บาท
โดยคิดสัดส่วน ค่าจ้าง 30% ของราคาขาย.
กว่าจะเรียนจบ จะสามารถขายลูกควาย
และแม่ก็มีเงินปันผลอีกก้อนนึง
ได้เยอะกว่าฝากธนาคารหลายเท่าตัวเลย
เผื่อน้องๆ ที่สถาบันอื่นๆ จะลองออมเงิน
แบบเดียวกับน้องๆ ที่ มอ.ปัตตานีบ้าง
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
ัตตานี
น้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
ได้ลงแรงปักดำทำนากันอีกครั้งในปีนี้
พร้อมด้วย น้องเหนียวขาว น้องเหนียวดำ
ควาย2ตัวที่น้องๆ รวมเงินเก็บไปซื้อมา
ตามคำแนะนำของ อ.ยุพดี แม่ครูของน้องๆ
ถือเป็นการออมเงิน อีกรูปแบบหนึ่ง
ที่ได้ทั้งแรง ได้ทั้งเงิน
อีกทั้งน้องๆ ยังได้ฝึกฝนความรับผิดชอบ
ในการร่วมกันดูแล ควายทั้งคู่ ให้แข็งแรงด้วยกัน.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
ที่อยากเรียนครูห้ามพลาด!-โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น คืออะไร ?-ทุนที่ได้จะมีลักษณะไหน ?-มีมหาวิทยาลัยไหนเข้าร่ว...
บรรยากาศกิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต "รู้ตัวตน ยอมรับความแตกต่าง สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สร้างสัมพันธ์เครือข่ายนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น #กสศ #ครูรักษ์ถิ่น
กิจกรรม “วงธรรมชาติและการแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์”แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยและการออกแบบแ.....
#ครูรักษ์ถิ่น #มอ.ปัตตานี
น้องๆ เรียนรู้งานช่าง
เพื่อเป็นทักษะชีวิต
และทักษะอาชีพ
สำหรับการทำงานในชุมชน
และโรงเรียนในพื้นที่.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
#ครูรักษ์ถิ่น
💚 เสริมทักษะ ‘ครูรุ่นใหม่ หัวใจรัก(ษ์)ถิ่น’
.
บทบาทและแนวทางจัดการศึกษาของสถาบัน
เพื่อผลิตและพัฒนาครูให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
.
‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ เป็นโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ที่ กสศ. ร่วมกับสถาบันต้นแบบ เพื่อผลิตและพัฒนาครูคุณภาพสูง ป้อนกลับไปยังโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ลดปัญหาขาดแคลนอัตรากำลังและการโยกย้าย
ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบครบวงจร นักศึกษาทุนจะเข้าศึกษาตามหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้สำหรับการเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่เฉพาะ ที่สำคัญคือเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของผู้เรียนเอง
ครูรุ่นใหม่กลุ่มนี้จะเป็นครูนักพัฒนาที่มีทั้งจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนตามบริบทท้องถิ่น เพื่อตอบโจทย์การทำงานลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมถึงเป็นผู้นำที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งโรงเรียนและชุมชนมากกว่า 500 แห่ง ใน 53 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคต่อไป
ก้าวย่างแห่งการผลิตและพัฒนาครู
เพื่อโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล #ครูรักษ์ถิ่น
🧩 ร่วมสร้าง ‘ครู’ ของชุมชน
3 ปี ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ กับบทบาทของสถาบันผลิตและพัฒนาครู
(ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น)
.
จากปฏิบัติการสร้าง ‘ครูต้นแบบ’ ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ที่ กสศ. ทำงานร่วมกับสถาบันผลิตและพัฒนาครูในภูมิภาค เพื่อเฟ้นหา ฟูมฟัก และหลอมเบ้าของครูนักพัฒนาชุมชน ที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาบ้านเกิด กระจายมากกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยครูรุ่นใหม่ที่พร้อมด้วยทักษะการออกแบบจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และเปี่ยมด้วยหัวใจนักพัฒนา ซึ่งถึงวันนี้ ได้ผ่านการรับนักศึกษาทุนไปแล้ว 3 รุ่น
.
ในโอกาสที่ปีการศึกษา 2566 โครงการได้เตรียมรับนักศึกษาทุนรุ่น 4 เรามีบทเรียนการทำงานของ 6 สถาบันผลิตและพัฒนาครูรุ่นพี่ และแนวทางการดูแลนักศึกษา จาก 2 สถาบันน้องใหม่ที่เข้าร่วมในปีนี้มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยน เป็นต้นแบบและเสริมกำลังใจระหว่างกัน ก่อนที่ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ ทุก ๆ ท่าน จะออกเดินทาง บนถนนแห่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ของระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศกันต่อไป
“เด็กกลุ่มนี้จบแล้วจะเข้าไปอยู่ในที่ห่างไกล ขาดแคลน ดังนั้นเขาต้องมีอะไรที่พิเศษติดตัวไว้
“วันนี้เราฝึกฝนให้เขาเรียนรู้พึ่งพาตนเอง แล้ววันหนึ่งเมื่อเข้าไปทำงานในพื้นที่ นอกจากเป็นครูที่ดีเขาจะต้องเป็นที่พึ่งให้ชุมชนได้ทุกอย่าง มีวิชาชีวิตที่แข็งแรง
“นักศึกษาจะได้ไปเรียนรู้กับโรงเรียนปลายทางที่เขาจะกลับไปสอนเมื่อเรียนจบ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และโจทย์การทำงานในพื้นที่กลับมาศึกษาวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่สถาบัน จนเห็นภาพตั้งต้น เห็นเป้าหมายปลายทาง และค้นพบหลักสูตรเฉพาะเมื่อกลับไปเป็นครูที่โรงเรียนของเขาในอนาคต”
“เราต้องการครูที่มีมากกว่าองค์ความรู้ เขาต้องเป็นเหมือนพ่อแม่ของเด็ก ๆ มีความรู้ด้านโภชนาการ ส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะชีวิตได้ มีความเห็นอกเห็นใจ และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีความรักความภูมิใจในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้เขาทำงานอย่างสุดความสามารถ พร้อมทำทุกอย่างให้เด็กในพื้นที่มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น”
.
📌 ติดตามเนื้อหาได้ที่ https://www.eef.or.th/teachereef-061022/
.
#กสศ #ครูรัก(ษ์)ถิ่น
แนวทางพัฒนาความเป็น
#ครูรักษ์ถิ่น
ของสถาบันผลิตและพัฒนาครู
รุ่นที่ 4 .
ร่วมด้วยช่วยกัน..
นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น
มรภ.อุบลราชธานี
ร่วมกับคณาจารย์
และเพื่อนนักศึกษา
เอกการประถมศึกษา
ลงพื้นที่ช่วยเหลือ
ผู้ประสพอุทกภัย
ในอุบลราชธานี
อย่างเต็มที่ เต็มพลัง.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมด้วยช่วยกันบรรเทาทุกข์น้ำท...
Photos from กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา's post
💚 ‘เฟ้นจากชุมชน ฟูมฟักเพื่อชุมชน ให้เป็นครูนักพัฒนาของชุมชน’
.
ปฏิบัติการสร้างครูต้นแบบ 1,500 คน
ตอบโจทย์โรงเรียนพื้นที่ห่างไกล
และ (โอกาสสำคัญในการ) เปลี่ยนแปลงระบบผลิตและพัฒนาครูของประเทศ
.
“โจทย์ท้าทายคือในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลที่มีอัตราการโยกย้ายสูง ครูไม่พอ ไม่ครบชั้น ในทางปฏิบัติ การนำคนท้องถิ่นออกมาพัฒนาให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก หรือหากส่งคนจากภายนอกเข้าไปทำงานในพื้นที่ เมื่อถึงเวลาหนึ่งบุคลากรก็จะย้ายไปที่อื่น หรือกลับถิ่นฐานภูมิลำเนาเดิม งานจึงขาดความต่อเนื่อง
“แนวคิดของการพัฒนาชุมชนด้วยคนในชุมชน โดยให้โอกาสกับเยาวชนที่มุ่งมั่นอยากเป็นครู ให้เรียนรู้ฝึกฝนใน ‘ระบบปิด’ กับวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาค แล้วกลับไปทำงานในถิ่นฐานบ้านเกิด จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้”
ตั้งแต่ปี 2562 กสศ. จับมือกับ 6 หน่วยงาน เสาะหาวิธีการทำงานที่เป็นระบบ มุ่งสนับสนุนให้เกิด ‘สถาบันต้นแบบ’ ผลิตและพัฒนาครู ด้วยนวัตกรรม กระบวนการ และความร่วมมือของสถาบันการศึกษา สร้างแนวทางพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับบริบทการทำงานเชิงพื้นที่ ทั้งยังมองถึงการเก็บข้อมูล งานวิจัย และใช้ประสบการณ์จากสถาบันต้นแบบ ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ของการผลิต พัฒนาหลักสูตร และดูแลสนับสนุนครูให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบเฉพาะตามบริบทท้องถิ่น
จนเกิดเป็นโครงการ ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ ที่มีเป้าหมายผลิตครูคุณภาพสูง 1,500 อัตรากระจายไปทั่วประเทศ ในกรอบระยะเวลาการทำงานมากกว่า 10 ปี เริ่มจากค้นหาคัดกรองคัดเลือกนักเรียนที่ขาดแคลนโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีใจรักและมีแววความเป็นครู ให้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและพัฒนาในหลักสูตรเฉพาะของสถาบันผลิตและพัฒนาครูในภูมิภาค พร้อมทำงานร่วมกับโรงเรียนปลายทางที่บัณฑิตครูรัก(ษ์)ถิ่นจะไปปฏิบัติงานหลังจบการศึกษา
ถึงวันนี้ โครงการดำเนินงานมา 3 รุ่น ให้โอกาสนักศึกษาทุนแล้วเป็นจำนวน 865 คน จาก 15 สถาบัน และเตรียมเฟ้นหานักศึกษาทุน รุ่น 4 อีก 327 คน พร้อม 2 สถาบันใหม่ที่เข้าร่วม รวมสถาบันผลิตและพัฒนาครูเป็น 18 แห่ง ในปีการศึกษา 2566 นี้
“ครูกลุ่มนี้อาจเป็นคำตอบของโรงเรียนขนาดเล็ก ว่าจะอยู่ต่อไปอย่างไร สำคัญคือต้องอยู่ให้ได้ในเชิงคุณภาพด้วย จากนี้เรามารอดูกันว่า ครูรัก(ษ์)ถิ่นทั้ง 5 รุ่นนี้จะให้คำตอบอะไรกับเรา พวกเขาจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงพัฒนาท้องถิ่นได้แค่ไหน แล้วงานวิจัยระยะยาวชิ้นนี้ จะนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบผลิตและพัฒนาครูของประเทศได้อย่างไรในอนาคต”
📌ติดตามเนื้อหาได้ที่ https://www.eef.or.th/teachereef-290922/
.
#กสศ #ครูรัก(ษ์)ถิ่น #สถาบันผลิตและพัฒนาครู
แผ่นพับ..ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4
ปีการศึกษา 2566
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
"เด็กเลี้ยงวัว" กิจกรรมการแสดงของน้องๆ
นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ที่ตั้งใจฝึกฝน เพื่อนำมาแสดงเปิดงาน MOU
ของสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการ
ครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2566
ณ โรงแรม ทีเค พาเลส แจ้งวัฒนะ กทม.
ในวันที่ 22 กันยายน 2565
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
“เด็กเลี้ยงวัว”
กิจกรรมละครสอนเด็ก
การเตรียมตัวของน้องๆ
นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
ม.กาฬสินธุ์
ก่อนที่จะมาร่วมแสดงที่งาน
MOU ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
งานลงนามความร่วมมือ
ระหว่าง กสศ. กับ 9 มหาวิทยาลัย
เพื่อเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู
ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4
ปีการศึกษา 2566
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
สะท้อนคิด "การปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครู"
ผ่านกระบวนการทำงานของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ในงานประชุมเชิงปฏิบัติ ลงนามความร่วมมือ
ของ กสศ. และสถาบันผลิตและพัฒนาครู รุ่นที่ 4
วันที่ 22 กันยายน 2565
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อลงนามความร่วมมือ และพัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง กสศ. และสถาบันผลิตแล....
MOUครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4
ปีการศึกษา 2566
💚 กสศ. ผนึกกำลัง 9 สถาบันผลิตและพัฒนาครู ลงนาม MOU สร้าง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่น 4’ มุ่งผลิตครูรุ่นใหม่แก้ปัญหาครูโยกย้าย พร้อมสร้างคุณภาพการเรียนรู้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล
.
กสศ. เดินหน้าสร้างสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู ผ่านโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ร่วมกับ 18 สถาบันอุดมศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล แก้ปัญหาการโยกย้ายและขาดแคลนครู ตั้งเป้าผลิตครูรัก(ษ์)ถิ่น 1,500 คน กลับไปพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
.
วันนี้ (22 กันยายน 2565) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อลงนามความร่วมมือและพัฒนาแนวทางการทำงานระหว่าง กสศ. กับสถาบันผลิตและพัฒนาครู 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เดินหน้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2566 ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ที่มุ่งมั่นสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนยากจนด้อยโอกาส ซึ่งมีศักยภาพและมีใจรักอยากเป็นครูให้ได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษา และได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลและเป็นชุมชนบ้านเกิด เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูและการโยกย้าย โดยคาดหวังว่านักศึกษาผู้รับทุนจะได้รับการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครู และเป็นนักพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพสอดคล้องกับโจทย์การทำงานในท้องถิ่น
.
📌 ติดตามข่าวสารทั้งหมดทาง https://www.eef.or.th/news-teachereef-220922/
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อลงนามความร่วมมือ และพัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกัน
ระหว่าง กสศ. และสถาบันผลิตและพัฒนาครู รุ่นที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อลงนามความร่วมมือ และพัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกัน
ระหว่าง กสศ. และสถาบันผลิตและพัฒนาครู รุ่นที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
"สบู่ดอกกาสะลอง:ดอกปีบ เป็นดอกไม้สัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม" ของดี ฝีมือน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ)ถิ่น จาก มรภ.พิบูลสงคราม ด้วยความตั้งใจที่น้องๆ ร่วมกันผลิตทำกันสุดฝีมือโดยมีท่านอธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและท่านคณบดีมาให้กำลังใจอย่างล้นหลาม และกำลังเตรียมแพค
ส่งมาร่วมงาน MOU รุ่นที่ 4
วันที่ 22-23 กย.65 นี้.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
"สบู่ดอกกาสะลอง : ดอกปีบ”
ของดี ฝีมือน้องๆ
นักศึกษาทุนครูรัก(ษ)ถิ่น จาก มรภ.พิบูลสงคราม
ด้วยความตั้งใจที่น้องๆ ร่วมกันทำกันสุดฝีมือ
เพื่อนำมาร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ รุ่นที่4
โดยมีท่านอธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและท่านคณบดีมาให้กำลังใจอย่างล้นหลาม
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ในระหว่างวันที่ 9 - 11 กันยายน 2565
เพื่อจัดทำหนังสือภาพเพื่อเตรียมอ่าน สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์ (วิทยากร)
#ครูรักษ์ถิ่น 💚
#มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ผลผลิตสมุนไพร
จากสวนครูน้อย
มรภ.เชียงใหม่
ที่น้องๆ นักศึกษาทุน
ครูรัก(ษ์)ถิ่นทุกคน
ได้เรียนรู้ ลงมือทำ
และภูมิใจ เพื่อส่งมา
ร่วมงาน MOU รุ่นที่ 4
ในวันที่ 22-23 ก.ย.65 นี้
ที่ TK. PALACE
กรุงเทพมหานคร.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
"เสื้อมัดย้อม" ของดี
ฝีมือน้องๆ นักศึกษา
ทุนครูรัก(ษ)ถิ่น
จาก มรภ.สุราษฎร์ธานี
อีกหนึ่งผลงานแสนสวย
ที่น้องๆทำกันสุดฝีมือ
แล้วยังนำเอาไปออกขาย
ที่ตลาดเพื่อหารายได้ ได้อีกด้วย
กำลังเตรียมแพค
ส่งมาร่วมงาน MOUรุ่นที่ 4
วันที่ 22-23 กย.65 นี้.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
"กระเป๋าผ้าทออีสาน"
อีกหนึ่งผลงาน
ของนักศึกษาทุน
ครูรัก(ษ์)ถิ่น
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ที่น้องๆ นักศึกษาทุน
ครูรัก(ษ์)
กำลังเร่งลงมือทำ
เพื่อมาร่วมงานMOU
ครูรัก(ษ์) รุ่นที่ 4
ด้วยเช่นกัน.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
น้องๆ นักศึกษาทุน
ครูรัก(ษ์)ถิ่น
มรภ.หมู่บ้านจอมบึง
ตั้งใจสานตระกร้า
ด้วยฝีมือของตนเอง
เพื่อมาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
ของงาน MOU
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4
เช่นกันค่ะ.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
น้องๆ นักศึกษาทุน
ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2
มอ.ปัตตานี
กำลังมุ่งมั่น ตั้งใจ
ประดิษฐ์ช่อดอกไม้
เพื่อเป็นหนึ่งในตัวแทน
ร่วมงาน MOU รุ่นที่ 4
ในวันที่ 22-23 กันยายน 65 นี้.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
สำหรับน้องๆ ที่สอบถามเข้ามา
เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2566
ซึ่งแจ้งไว้ในประกาศ กสศ. บนหน้าเพจ
จึงขอนำขึ้นให้น้องๆ อีกครั้ง
สำหรับการรับสมัคร ขอให้น้องๆ
ติดตามจากเพจของมหาวิทยาลัย
ที่ดูแลพื้นที่ปลายทางในภูมิภาคนั้นๆ
เนื่องจาก กสศ. ได้ประกาศผลการคัดเลือก
สถาบันผลิตและพัฒนาครู รุ่นที่ 4 แล้ว.
#โครงการครูรักษ์ถิ่น
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางก
Bangkok
10400
จันทร์ | 09:00 - 16:00 |
อังคาร | 09:00 - 16:00 |
พุธ | 09:00 - 16:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 16:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 16:00 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ครูรัก(ษ์)ถิ่นผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง ครูรัก(ษ์)ถิ่น:
เส้นทางการพัฒนาตนเอง….สู่ครูของชุมชน นางสาวมาดีหะห์ มะแซ หรือ น้องดีหะห์ นักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ลงฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (สังเกตการสอน) และพัฒนาโรงเรียนปลายทางในการออกแบบสื่อ ผลิตสื่อ และปรับปรุงบรรยากาศภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ณ โรงเรียนบ้านปลักปรือ ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี #โครงการครูรักษ์ถิ่น #กสศ.
เส้นทางการพัฒนาตนเอง….สู่ครูของชุมชน นายมูฮัมหมัดอามีรุล เจะเตะ หรือ น้องมีรูล นักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ลงฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (สังเกตการสอน) ณ โรงเรียนบ้านจืองา ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส การลงฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในครั้งนี้ นอกจากจะได้สังเกตการสอนจริงแลัว ยังได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนปลายทาง ในการออกแบบสื่อ ผลิตสื่อ และปรับปรุงบรรยากาศภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้มากขึ้น #โครงการครูรักษ์ถิ่น #กสศ.
ประมวลภาพในงาน "กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ของสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น" ในระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2565 ในงานมีทั้งสาระความรู้ การแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้กำลังใจ สร้างพลังของการทำงานร่วมกัน ทั้งในระดับสถาบัน คณาจารย์ และนักศึกษาทุน และการพัฒนาภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ของ กสศ. และสถาบันผลิตและพัฒนาครู ทั้ง 16 แห่ง ให้เดินไปสู่เป้าหมายของการ "สร้างครูรุ่นใหม่ หัวใจรัก(ษ)ถิ่น" ปี 2565 นี้จะมีการจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย ในระดับภูมิภาคอีก 4 ครั้ง ติดตามต่อไป #โครงการครูรักษ์ถิ่น
วิดีทัศน์การทำกิจกรรม ศาสตร์พระราชา ของน้องๆ #ครูรักษ์ถิ่น รุ่น 2 มรภ.ยะลา
ให้โอกาส.. ต่อฝันอุดมการณ์ ครูรักษ์ถิ่นตอบแทนคุณแผ่นดิน ถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เมื่อวันที่ 11-15 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ทางทีม กสศ. นำทีมโดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.จักรพรรดิ วะทา อ.นพพร สุวรรณรุจิ และ อ.นคร ตังคะพิภพ พร้อมด้วยทีมบริหารโครงการ และนักวิจัยพัฒนา ได้มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมกิจรรมค่ายเตรียมความพร้อมก่อนคัดเลือกนักเรียนผู้ขอรับทุน รุ่นที่ 3 ของ มรภ.อุบลราชธานี ณ ต.สองคอน อ.โพธิ์โทร จ.อุบลราชธานี ค่ายฯ ครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของภาคีเครือข่ายที่เหนียวแน่นในโครงการครูรักษ์ถิ่น ทั้งสถาบันผลิตและพัฒนาครู โรงเรียนปลายทาง โรงเรียนในเครือข่าย อาทิ โรงเรียนชุมชนบ้านขามป้อม สถาบันผลิตฯในเครือข่ายภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ ม.กาฬสินธุ์ เครือข่ายชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ
พวกเราคือ "ครูรัก(ษ์)ถิ่น" รักถิ่น และรักษาถิ่น การลงพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ค่ายเตรียมความพร้อมก่อนการคัดเลือกฯ ภูมิภาคใต้ เมื่อระหว่างวันที่ 17 - 21 ม.ค. 65 ทึ่ผ่านมานี้ ทาง กสศ. นำทีมโดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมบริหารโครงการได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ของ มรภ.ยะลา ทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้พบปะพูดคุย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เนื่องจากน้องๆ นักศึกษาทุนฯ มีหน้าที่ในการช่วยดำเนิน กิจกรรมให้กับน้องๆ ที่มาเข้าค่ายฯ รุ่นที่ 3 แต่ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าและมีความหมาย การได้เห็นถึงศักยภาพของน้องๆ ที่กำลังเติบโต อย่างสวยงาม ทั้งจากการทำหน้าที่ฃองพี่ค่ายฯ รวมถึงบุคลิกภาพ ความเป็นธรรมชาติ ความร่าเริง สดใส ผ่านการสื่อสารให้ได้รับรู้จากช่วงเ
คือความหวังของคนในท้องถิ่น สร้างแผ่นดิน พัฒนาเมืองไทย การได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามหนุนเสริม กิจกรรมค่ายเตรียมความพร้อม ก่อนการคัดเลือกนักเรียนผู้ขอรับทุน รุ่นที่ 3 มรภ.ยะลา เมื่อระหว่างวันที่ 17 - 21 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยทาง กสศ. นำทีมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.จักรพรรดิ วะทา และผศ.บงกชรัตน์ ล้ำเลิศ พร้อมด้วย ทีมบริหารโครงการ ได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจากท่าน ผศ. ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นประธานเปิดงาน กล่าวต้อนรับ และให้โอวาทแก่นักเรียนผู้มาเข้าค่ายฯ ในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังได้รับชมการแสดงต้อนรับจาก น้องๆ นักศึกษาทุนฯ รุ่นที่ 1 สาขาประถมศึกษา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพซึ่งถือเป็นแบบอย่าง ให้กับน้องๆ ในรุ่นต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดี ด้วยการทำงานของคณาจารย์ที่ใส่ใจ อย่างใกล้ชิด นำโดยท่านอ.จันจลี ถนอมลิขิ
คือ...โอกาสของคนต้องการโอกาส ต่อยอดไปสร้างโอกาสบนถิ่นฐานบ้านเกิด เมื่อวันที่ 17 - 20 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ทาง กสศ. นำทีมโดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ อ.นคร ตังคะพิภพ อ.สุทธิ สายสุนีย์ และ ผศ.บงกชรัตน์ ล้ำเลิศ พร้อมด้วย ทีมบริหารโครงการ และนักวิจัยพัฒนา ได้มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ค่ายเตรียมความพร้อมก่อนการคัดเลือก นักเรียนผู้ขอรับทุน รุ่นที่ 3 ของมรภ.ภูเก็ต ณ เดอะ ฟลอร่า เมย์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา โดยทีมบริหาร คณาจารย์ประจำสาขาปฐมวัย และการประถมศึกษา คณาจารย์จากสาขาต่างๆ รวมถึงเครือข่ายชุมชน การทำงานของทีมที่เข้มแข็ง พร้อมด้วยพลังใจที่มุ่งมั่น ตั้งใจ และความใส่ใจ ในทุกๆ รายละเอียด พร้อมปรับ เพื่อให้กิจกรรม ได้นำพาน้องๆ นักเรียนที่ได้มีโอกาสมาเข้าค่าย ในครั้งนี้ เพื่อค้นหาตัวเองกับอุดมการณ์และ ความฝันในก
คือโอกาสของคนต้องการโอกาส ต่อยอดไปสร้างโอกาสบนถิ่นฐานบ้านเกิด ในการลงพื้นที่ของทีมส่วนกลางร่วมกับคณาจารย์ จาก มรภ.หมู่บ้านจอมบึง ในพื้นที่จ.เพชรบุรี ทางทีมส่วนกลางได้มีโอกาสเดินทางไปยังโรงเรียน ปลายทาง ต.แก่งกระจาน ซึ่งถือเป็นโรงเรียน ขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลมาก เนื่องด้วยโรงเรียน ตั้งอยู่บนสันเขื่อนฯ การเดินทางด้วยรถใช้เวลา ในการเดินทางค่อนข้างมาก เนื่องจากทางที่เข้าไป ยังโรงเรียนค่อนข้างลำบาก มีหลายรูปแบบตั้งแต่ พื้นเรียบ ตัวหนอน ทางลูกรัง หลุมบ่อ ฯลฯ สร้าง ความตื่นเต้น และร่วมลุ้นกันไปตลอดการเดินทาง โรงเรียนบ้านพุเข็ม ถือเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ในพื้นที่ห่างไกล เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันมีนักเรียน 46 คน มีครูประจำการที่โรงเรียน 3 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1
พลังงานที่ดี...ขับเคลื่อนด้วยเรื่องราวที่ดี นอกจากการลงพื้นที่เพื่อค้นหา คัดกรอง ร่วมกับมรภ.ภูเก็ต ในพื้นที่จ.ระนองที่ผ่านมานี้ ทางทีมส่วนกลางยังมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 มรภ.สุราษฏรณ์ธานี ทางส่วนกลางได้รับเกียรติจากท่านคณบดีฯ และคณาจารย์ของหลักสูตร ได้มาต้อนรับ และพูดคุยถึงการดำเนินโครงการและพัฒนาการ ของนักศึกษาทุนฯ อย่างอบอุ่นเป็นกันเอง โดย น้องๆ ได้เตรียมการแสดงไว้ต้อนรับให้กับทีม ส่วนกลางอย่างอบอุ่น เป็นการสร้างความสุข และความประทับใจ ทั้งจากเจ้าบ้านและผู้มาเยือน ถึงแม้ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 อาจจะทำให้เราได้พบกันผ่านระบบออนไลน์เป็น ส่วนใหญ่ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้พบเจอและ พูดคุยกันแบบเห็นหน้ากันจริงๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน เ
ครูรัก(ษ์)ถิ่น คือ โอกาสที่ กสศ. มอบให้ สำหรับน้องๆ ที่ขาดแคลนแต่ที่มีความฝัน และใจรักในความเป็นครู เพื่อกลับไปเป็น “คุณครูนักพัฒนา” ในบ้านเกิดของตนเอง ...และระหว่างการเดินทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ย่อมต้องมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนอุดมการณ์ ในครั้งนี้ นอกจากสถาบันฯ คณาจารย์คือผู้ที่มี บทบาทสำคัญในการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ น้องๆ นักศึกษาทุนฯ หรือลูกศิษย์ของท่านทุกคน เดินทางไปสู่ฝั่งฝันอย่างที่ตั้งใจ โดยเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมานี้ ได้มีเรื่องราวดีๆ ของน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น มอ.ปัตตานี ที่ได้ยกขบวนมาสวัสดีปีใหม่ ผศ.ยุพดี ยศวริศสกุล หรืออาจารย์แม่ของน้องๆ ที่หอพักตั้งแต่เช้า สร้างความอบอุ่นชื่นมื่นในหัวใจให้แก่กัน เป็น บรรยากาศการส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ที่ สร้างรอยย
เพราะทุกๆ การเรียนรู้ทำให้เราได้ “เติบโต” เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา น้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น มรภ.อุดรธานี ได้มีโอกาสลงพื้นที่ในการเรียนรู้ชุมชน ซึ่งได้เข้าร่วมทำกิจกรรมการผลิตผ้ามัดย้อม จากสีธรรมชาติ ณ โรงเรียนอนุบาลบ้านก้องวิทยา ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มาให้ความรู้ เกี่ยวกับการย้อมผ้า คือ คุณครูชินกร พิมพิลา คุณครูวุฒิชัย ฤทธิวงศ์ คุณครูวีระยุทธ อ่อนสุระทุม และคุณครูธนภูมิ ดีพรม ซึ่งเป็นคุณครูจากโรงเรียน อนุบาลบ้านก้องวิทยา ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้ให้ความรู้ และสาธิตวิธีการทำอย่างละเอียด ในทุกขั้นตอน โดยน้องๆ มีโอกาสได้เรียนรู้ และลงมือทำจากการ ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง จนได้ผลงานออกมาเป็นที่ น่าประทับใจ ทำให้เราเชื่อมั่นว่าสิ่ง
ครูรัก(ษ์)ถิ่น... คือความร่วมมือ ร่วมใจของหลายฝ่าย เพื่อร่วมกัน “สร้าง” ครูรุ่นใหม่ที่มีหัวใจรัก(ษ์)ถิ่น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ ทาง กสศ. โดยทีมบริหารโครงการฯ และ นักวิจัยพัฒนา ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามหนุนเสริม สถาบันผลิตและพัฒนาครู ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้เข้าพบผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 สาขาปฐมวัย ของ มรภ.อุดรธานี ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ ท่านอธิการบดี ผศ.ดร. คณิสรา ธัญสุนทรสกุล รองอธิการบดี ท่านคณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวทาง ในการพัฒนานักศึกษาทุนฯ การปรับหลักสูตร และกิจกรรมเสริมศักยภาพ(Enrichment Program) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตครูของสถาบัน ต่อไป โดยในวันนั้นน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้เ
"การออกเดินทาง" ...ยังมีกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาน้องๆ ที่มีความฝันและต้องการ "โอกาส" ทางการศึกษา พร้อมสานฝัน ความเป็นครู เพื่อกลับไปพัฒนาชุมชน ของตนเองต่อไป เมื่อระหว่างวันที่ 24 - 27 พ.ย. ที่ผ่านมานี้ ทาง กสศ. นำทีมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมบริหารโครงการ ครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับ คณาจารย์จาก มรภ.ยะลา ที่นำทีมโดย อ.จันจลี และอ.พุมพนิต ในการลงพื้นที่ ใน อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เพื่อค้นหา คัดกรอง ผู้รับทุนฯ รุ่นที่ 3 ในสาขาประถมศึกษา ซึ่งทางสถาบันฯ ได้ใช้วิธีการประชุมออนไลน์กับผู้นำชุมชน ผู้บริหารและคุณครูโรงเรียนปลายทาง ผู้ปกครอง และนักเรียนที่จะลงเยี่ยมบ้าน ก่อนล่วงหน้า 1 วัน เพื่อสร้างความเข้าใจ เรื่องของคุณสมบัติของผู้สมัคร เงื่อนไข การรับทุนและนัดหมายการลงเยี่ยมบ้าน เป็นการสร้างค
คือ...ก้าวโอกาส คือ...ประตูที่เปิด "ค่ายเตรียมความพร้อมฯ" คือโอกาส ของน้องๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้มีความฝัน และรักในความเป็นครูด้วยหัวใจได้มาเรียนรู้ และสานฝันตัวเองให้สำเร็จในก้าวต่อไป เมื่อวันที่ 21 - 24 พ.ย. ที่ผ่านมานี้ ทาง กสศ. นำทีมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมบริหารโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมสำหรับ ค่ายเตรียมความพร้อมก่อนการคัดเลือก และคัดเลือกนักเรียนผู้ขอรับทุนฯ รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้น ณ ชุมชนเชิงนิเวศน์ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กิจกรรมเต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศของ ความอบอุ่น และเป็นกันเอง ด้วยพลังของ คณาจารย์จาก มช.ทุกท่าน ที่ทุ่มเท ใส่ใจ และให้ความสำคัญในทุกๆ กิจกรรม เพื่อให้น้องๆ ผู้ขอรับทุนฯ ได้รับประสบการณ์ เรียนรู้จักตนเอง ชุมชน รวมถึง “หัวใจ” ในการ เป็นคุณ
ทางกสศ. นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทีมบริหารโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับ ค่ายเตรียมความพร้อมฯ ผู้ขอรับทุนฯ รุ่นที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อระหว่างวันที่ 21 – 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ถือโอกาสในครั้งนี้ได้เข้าไปเยี่ยมน้องๆ นักศึกษาทุนฯ จาก 2 สถาบันผลิตฯ ทั้งจาก มช. และ มรภ.เชียงใหม่ ถึงแม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ถือเป็นช่วงเวลาที่ "มีความหมาย" ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด - 19 ทำให้โอกาสที่จะได้พบเจอกันยากขึ้น ตามสถานการณ์ และการได้เห็นการเติบโต ความสดใส การกล้าพูด กล้าแสดงออกของน้องๆ ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่สร้างความอบอุ่น ในหัวใจให้กับผู้ที่ไปเยี่ยมเยือน🥰 เราจะค่อยๆ เติบโต และเรียนรู้ ไปด้วยกัน ถึงแม้ต่อไปจะต้องพบเจอ กับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากแค่ไหน เรามีความเชื่อมั่นว่า..
ในการลงพื้นที่เพื่อค้นหา คัดกรองร่วมกับ มรภ.เชียงใหม่ที่ผ่านมานั้น... ทางกสศ. นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทีมบริหารโครงการ ครูรัก(ษ์)ถิ่น พร้อมด้วยคณาจารย์มรภ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมโรงเรียนปลายทาง โรงเรียนบ้านวังยาว ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยทางผู้บริหาร และคณะคุณครู ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เป็นโรงเรียนอยู่ใน พื้นที่ห่างไกล เนื่องจากโรงเรียนอยู่บนภูเขา โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น อ.2 ถึง ม.3 ซึ่งวันที่ไปโรงเรียนทางส่วนกลางได้มีโอกาส พบคุณครูที่จะเกษียณอายุราชการ ซึ่งน้องที่เรากำลังลงพื้นที่เพื่อค้นหาในครั้งนี้จะเข้ามาบรรจุทดแทนคุณครูในปี 2569 สร้างความยินดี และ รอคอยการได้พบนักเรียนที่จะได้รับคัดเลือก ให้เข้าสู่โครงการฯ รุ่นที่ 3 ในครั้งนี้ หลังจากการเข้าเยี่ยมโรงเรียนป
เพื่อช่วยลด “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” การเข้าถึงกลุ่มที่ขาดโอกาสมากที่สุดของสังคม จึงมีความสำคัญ กสศ. โดยโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เราเดินหน้าทำหน้าที่ช่วยเติมในส่วนที่ขาด ด้วยความร่วมมือของสถาบันผลิตและพัฒนาครู พร้อมด้วยความช่วยเหลือของผู้นำในชุมชม เมื่อวันที่ 9 - 12 พ.ย. ที่ผ่านมานี้ ทาง กสศ. โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมบริหาร โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้มีโอกาสร่วมลงพื้นที่ กับ มรภ.เชียงใหม่ ในการค้นหา และคัดกรอง นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้เห็นถึงความตั้งใจ ของทีมคณาจารย์ในการทำงาน รวมถึงการ ประสานงานร่วมกับทางโรงเรียน และชุมชน ในพื้นที่เป้าหมายได้เป็นอย่างดี ด้วยช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ทั้งในระบบออนไลน์ การส่งเอกสารประชาสัมพันธ์ หรือการป
ผ่านไปแล้วกับช่วงเวลาดีๆ ในการลงนาม ความร่วมมือสำหรับ 7 สถาบันผลิตฯ ผู้ร่วม “ออกเดินทาง” เพื่อพร้อมทำงานยากและ หนักไปด้วยกันกับทาง กสศ. และโครงการ ครูรัก(ษ์)ถิ่น ในปี 2565 คือโอกาส....ของคนต้องการโอกาส ต่อยอดไป “สร้างโอกาส” บนถิ่นฐานบ้านเกิด .....สำหรับบรรยากาศและความรู้สึกที่อบอุ่น ในหัวใจ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมายังคง มีมาถึงเวลานี้ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือช่วงเวลา ที่น้องๆ ตัวแทนนักศึกษาทุนฯ รุ่นที่ 1 ทั้ง 10 สถาบัน ที่ได้ออกมาส่งเสียงเล็กๆ แต่เป็นคำมั่นสัญญาที่ยิ่งใหญ่ แสดงออกถึง ความเป็นชาติพันธุ์ เห็นถึงความมุ่งมั่น สะท้อนถึงอุดมการณ์ความตั้งใจจริง ที่จะกลับไปเป็น “ครูของชุมชน” บ้านเกิด ของตนเองในพื้นที่ห่างไกล สร้างความสุขใจ และถือเป็นตัวอย่างให้กับน้องๆ ในรุ่นต่อๆ ไป ได้เดินตาม ขอนำคลิ
ติดตามกิจกรรมดีๆ ของน้องๆ นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่นของเรา ...สำหรับ “กิจกรรมการปลูกมะพร้าว กับ ต้นไผ่ซางหม่น” กิจกรรมดีๆ ในวันเสาร์ที่ 17 ก.ค. 64 ที่ผ่านมาน้องๆ มรภ.พิบูลสงคราม ได้ “ผู้ใหญ่ใจดี” นำทีมโดย ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดี และ รศ.ดร.นิวัตร พัฒนะ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ร่วมกับคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ท่านได้นั่งรถไฟฟ้าไปกับ เด็กๆ ที่สวนเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความอบอุ่นเป็นกันเอง เป็นบรรยากาศที่น่าประทับใจ และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างยั่งยืน เรามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ “สร้าง” สังคมที่ดีร่วมกัน #โครงการครูรักษ์ถิ่น
กิจกรรมเยี่ยมนักศึกษาทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย น้องๆ มีการแสดงผสมผสานอีสานเหนือ กลาง ใต้ สนุกสนาน มีฝีมือมิใช่เล่น ทั้งการแสดง และอาหาร.
ดูกระบวนการดำเนินการของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2564 เริ่มต้นแล้วตั้งแต่ พฤษภาคม 2563 โดยเริ่มจากคัดเลือกสถาบันผลิตและพัฒนาครู เพื่อไปค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกผู้รับทุนรุ่นที่ 2 #โครงการครูรักษ์ถิ่น
งานของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2562 มีเป้าหมายในการสร้างครูของชุมชน ที่เป็นครูรุ่นใหม่ กลับไปบรรจุในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยให้โอกาส กับนักเรียนชั้น ม.6 ในพื้นที่เป้าหมาย ทีมีฐานะยากจน และเป็นไปตามเกณฑ์ปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดไว้ โครงการนี้ มีเป้าหมายให้ครูรุ่นใหม่เป็นครูของชุมชน หมายถึง มีจิตสำนึกรักถิ่นฐาน พร้อมที่จะกลับพัฒนา โรงเรียนและชุมชนที่เป็นภูมิลำเนาของตนเองและครอบครัว มีใจรักที่จะเป็นครู มีความรู้ในวิชาชีพครู มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับทั้งวิถีชุมชน และวิถีโลกในศตวรรษที่ 21. #โครงการครูรักษ์ถิ่น
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี BTU -
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Btu