Ozone Protection Unit of Thailand

Ozone Protection Unit of Thailand National Ozone Unit of Thailand
กลุ่มอนุรักษ์โอโซน กรมโรงงานอุตสาหกรรม

13/02/2025
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม ผ...
13/02/2025

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย เป็นประธานร่วมกับธนาคารโลก เปิดการสัมมนา Polyurethane Technology & Safety Handling for Sustainability and New Building Code ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการดำเนินงานตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ในการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เช่น สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) เป็นต้น โดยดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สาร HCFCs ระยะที่ 1 แล้ว ได้รับเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ผ่านธนาคารโลก โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย จำนวน 45 ราย ในภาคอุตสาหกรรมโฟมทุกประเภท ยกเว้น ภาคอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตโฟมจากเดิมที่ใช้สาร HCFC-141b ไปใช้เป็นสาร HFC-245fa สารไซโคลเพนเทน และสูตรน้ำ และยังให้ความช่วยเหลือ System House ในการผลิตสาร Pre-blended Polyol รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 225,711,613.70 บาท ทำให้ประเทศไทยสามารถเลิกการผลิตและการใช้สาร HCFC-141b ได้ 164 โอดีพีตัน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นจำนวนมากกว่า 803,000 ตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขณะนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กำลังดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สาร HCFCs ระยะที่ 2 ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่น ซึ่งได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และกลาง จำนวน 5 ราย และผู้ประกอบการรายย่อยทั้งหมด เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้สาร HCFC-141b ไปใช้สารทดแทนใหม่ ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนและมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ ได้แก่ สารไฮโดรฟลูออโรเลฟิน หรือที่เรียกว่าสาร HFO ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการออกกฎหมายห้ามใช้สาร HCFC-141b ในกระบวนการผลิตโฟมทุกชนิดและเพื่อเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้ประเทศไทยดำเนินการเลิกผลิตและเลิกใช้สาร HCFC-141b ในภาคอุตสาหกรรมโฟมทุกประเภท รวมถึงผู้ผลิตโฟมแบบฉีดพ่นขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโฟมทุกขนาดและทุกประเภทในการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีการผลิตให้ก้าวทันระดับสากลโดยคำนึงถึง ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและสังคม และเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ดังกล่าว จึงเห็นควรจัดสัมมนา Polyurethane Safety Handling for sustainability เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้ การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อย่างยั่งยืน สำหรับการใช้โพลียูรีเทนโฟม เพื่อนำไปใช้ประกอบในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น ต่อไป

ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณสมนึก วรทวีทรัพย์ เลขาธิการกลุ่มย่อยอุตสาหกรรมโพลียูรีเทน ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณปริญญ์ พุทธิสมบัติ ประธานกรรมการบริษัท เซ้าท์ ซิตี้ โพลีเคม จำกัด และ ดร. วิรัช วิฑูรย์เธียร ผู้เชี่ยญชาญและที่ปรึกษาด้านพิธีสารมอนทรีออล ธนาคารโลก ร่วมกล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมด้วย นางประภาพร ลือกิตติศัพท์ รก.นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ นางสาวพัทธนันทน์ ตาริน ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โอโซน เจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมอวานี รัชดา กรุงเทพ

“ผลกระทบต่อประเทศไทยในการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”🟠 กำหนดปริมาณการใช้สาร...
27/12/2024

“ผลกระทบต่อประเทศไทยในการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

🟠 กำหนดปริมาณการใช้สาร HFCs ภายในประเทศ โดยตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลได้กำหนดระยะเวลาในการเริ่มการลดการใช้สาร HFCs ออกไป 5 ปี หลังจากพิธีสารฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ (ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯ ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินการลดการใช้สาร HFCs

🟠ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs จะต้องลงทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อไปใช้สารทดแทนใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ

“ประโยชน์ต่อประเทศไทยในการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”🟢 สามารถซื้อขายสาร HF...
26/12/2024

“ประโยชน์ต่อประเทศไทยในการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

🟢 สามารถซื้อขายสาร HFCs กับประเทศภาคีสมาชิกได้ ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs เช่นภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้าน ภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์
ภาคอุตสาหกรรมผลิตโฟม ภาคอุตสาหกรรมผลิตตู้เย็น ตู้แช่ เชิงพาณิชย์ เป็นต้น

🟢 ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่มีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ เพื่อการลดการใช้สาร HFCs เป็นการสนับสนุนการดำเนินนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065

🟢 ภาคอุตสาหกรรมของไทยไม่เสียโอกาสในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้เทคโนโลยีสารทดแทนใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ เนื่องจากประเทศไทยสามารถขอรับเงินช่วยเหลือ รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านนโยบายและด้านเทคนิคจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล เพื่อดำเนินการลดการใช้สาร HFCs ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น และอุปกรณ์ที่ใช้สาร HFCs ยังมีสารเพียงพอต่อการซ่อมบำรุงจนกว่าอุปกรณ์นั้น ๆ จะหมดอายุการใช้งาน

“การปรับปรุงข้อกำหนดในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”📃กำหนดระยะเวลาในการควบคุมการค้าขายสารคว...
25/12/2024

“การปรับปรุงข้อกำหนดในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

📃กำหนดระยะเวลาในการควบคุมการค้าขายสารควบคุมกับประเทศที่ไม่เป็นประเทศภาคีสมาชิก จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2576

ข้อมูลการให้สัตยาบันทั้งหมด https://ozone.unep.org/all-ratifications

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”📊 รายงานปริมาณการใช้ และการผลิตสาร HFCs ประ...
24/12/2024

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

📊 รายงานปริมาณการใช้ และการผลิตสาร HFCs ประจำปี ตามมาตรา 7 ของพิธีสารมอนทรีออลเพิ่มเติม ซึ่งจากเดิมที่มีการรายงานประจำปีเฉพาะการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons: CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) สารฮาลอน (Halons) และสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide: CH3Br) ในภาคผนวก A, B, C และ E (Annex A, B, C และ E) ของพิธีสารมอนทรีออล

📑 จัดทำระบบการนำเข้าและส่งออก (Licensing System) ของสาร HFCs ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หลังจากพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีผลบังคับใช้ในประเทศ ซึ่ง กรอ. ใช้ระบบการอนุญาตภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”เพิ่มข้อกำหนดในการควบคุมการผลิตและการใช้สาร...
23/12/2024

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

เพิ่มข้อกำหนดในการควบคุมการผลิตและการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (Article 5 Parties) กลุ่ม 1 เช่น ประเทศไทย เป็นต้น กำหนดให้ปี พ.ศ. 2567 เป็นปีเริ่มต้นควบคุมปริมาณ (Freeze) การผลิตและการใช้สาร HFCs โดยไม่ให้เกินค่าพื้นฐาน (ซึ่งค่าพื้นฐานจะเท่ากับผลรวมของค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HFCs ในปี พ.ศ. 2563 – 2565 กับร้อยละ 65 ของค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HCFCs ในปี พ.ศ. 2552 - 2553)

• ปี พ.ศ. 2572 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 10% ของค่าพื้นฐาน
• ปี พ.ศ. 2578 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 30% ของค่าพื้นฐาน
• ปี พ.ศ. 2583 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 50% ของค่าพื้นฐาน
• ปี พ.ศ. 2588 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 80% ของค่าพื้นฐาน

22/12/2024

📣 ผลการออกสลากบำรุง สภากาชาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567

💠 รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ MG 4 V Long Range จำนวน 1 คัน มูลค่า 889,900.-บาท

💠 รางวัลที่ 2 มี 1 รางวัล รถยนต์ Eco Car ยี่ห้อ SUZUKI Swift GL Next จำนวน 1 คัน มูลค่า 587,000.-บาท

💠 รางวัลที่ 3 มี 4 รางวัล
🔸 รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ YAMAHA Grand Filano Hybrid 2023 จำนวน 2 คัน มูลค่ารวม 136,400.-บาท
🔸 รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ HONDA Giorno 125 จำนวน 2 คัน มูลค่ารวม 132,000.-บาท

💠 รางวัลที่ 4 มี 10 รางวัล ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 สลึง รางวัลละ 1 เส้น มูลค่ารวม 200,000.-บาท

💠 รางวัลที่ 5 มี 10 รางวัล
โทรทัศน์สี Smart TV ยี่ห้อ TCL ขนาด 55 นิ้ว รางวัลละ 1 เครื่อง มูลค่ารวม 179,900.-บาท

📌ติดต่อรับรางวัลได้ที่ : ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เลขที่ 310 อาคาร SME Bank Tower ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 ฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 0 2265 4564 หมดเขตรับรางวัล วันที่ 22 มีนาคม 2568 พ้นกำหนดนี้แล้ว ถือว่าสละสิทธิ์ในการรับรางวัลและมอบรางวัลนั้นให้กับสภากาชาดไทย เงื่อนไขรางวัล กระทรวงอุตสาหกรรม จำหน่ายสลาก จำนวน 60,000 ฉบับ ตั้งแต่เลขที่ 00001 ถึงเลขที่ 60000 จะจ่ายรางวัลแก่ผู้ที่ถือสลากที่ถูกรางวัลเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์รับรางวัลได้

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”🧪 เพิ่มสารควบคุมกลุ่มใหม่ คือ สารไฮโดรฟลูออ...
20/12/2024

“การแก้ไขเนื้อหาในพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

🧪 เพิ่มสารควบคุมกลุ่มใหม่ คือ สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ในภาคผนวก F (Annex F) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่ม 1 จำนวน 17 ตัว ได้แก่ HFC-134, HFC-134a, HFC-143, HFC-245fa, HFC-365mfc, HFC-227ea, HFC-236cb, HFC-236ea, HFC-236fa, HFC-245ca, HFC-43-10mee, HFC-32, HFC-125, HFC-143a, HFC-41, HFC-152, HFC-152a
กลุ่ม 2 จำนวน 1 ตัว ได้แก่ HFC-23

ข้อมูลสารควบคุมในภาคผนวก F (Annex F)
https://ozone.unep.org/treaties/montreal-protocol/articles/annex-f-controlled-substances

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”🙋🏻‍♀️ 🙋🏻คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันต...
19/12/2024

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

🙋🏻‍♀️ 🙋🏻คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 และมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี

🇹🇭 ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 🇹🇭

ข้อมูลการให้สัตยาบันทั้งหมด https://ozone.unep.org/all-ratifications

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”📝การประชุมรัฐภาคีพิธีสารมอนทรีออล ครั้งที่ 28 ...
18/12/2024

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

📝การประชุมรัฐภาคีพิธีสารมอนทรีออล ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 10 - 15 ตุลาคม 2559 ณ กรุงคิกาลี สาธารณรัฐรวันดา ที่ประชุมมีมติให้มีการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล โดยการควบคุมการผลิตและการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons: HFCs) และยอมรับพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) ตามข้อตัดสินใจที่ 28/1 พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไขนี้ จะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศภาคีสมาชิกให้สัตยาบันอย่างน้อย 20 ประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562

มีประเทศภาคีสมาชิกให้สัตยาบันแล้ว จำนวน 163 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567)

ข้อมูลการให้สัตยาบันทั้งหมด https://ozone.unep.org/all-ratifications

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”🇹🇭 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ส่ว...
17/12/2024

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

🇹🇭 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ส่วนที่มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว 5 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 1 ณ กรุงลอนดอน (The London Amendment to the Montreal Protocol (1990))
ครั้งที่ 2 ณ กรุงโคเปนเฮเกน (The Copenhagen Amendment to the Montreal Protocol (1992))
ครั้งที่ 3 ณ นครมอนทรีออล(The Montreal Amendment to the Montreal Protocol (1997))
ครั้งที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง (The Beijing Amendment to the Montreal Protocol (1999))
ครั้งที่ 5 ณ กรุงคิกาลี (The Kigali Amendment to the Montreal Protocol (2016))

ข้อมูลการให้สัตยาบันทั้งหมด https://ozone.unep.org/all-ratifications

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”📜 องค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญา...
16/12/2024

“การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)”

📜 องค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน (อนุสัญญาเวียนนา) ในปี พ.ศ. 2528 และพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (พิธีสารมอนทรีออล) ในปี พ.ศ. 2530

ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและลดการใช้สารทำลายชั้นโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่ถูกทำลายจากการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเหล่านี้ 🌳

🧪 ได้แก่ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons: CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) สารฮาลอน (Halons) และ สารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide: CH3Br) 🧪

ข้อมูลอนุสัญญาเวียนนา : https://ozone.unep.org/treaties/vienna-convention
ข้อมูลพิธีสารมอนทรีออล : https://ozone.unep.org/treaties/montreal-protocol

11/11/2024
📌 วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระดับสูงภาคีอน...
01/11/2024

📌 วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระดับสูงภาคีอนุสัญญาเวียนนา ครั้งที่ 13 (COP13) และรัฐภาคีพิธีสารมอนทรีออล ครั้งที่ 36 (MOP36) โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายปณตสรรค์ สูจยานนท์ ผู้อำนวยการกองบริการงานอนุญาตโรงงาน 1 รักษาราชการแทนอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางอลิสรา รังษีภโนดร ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย นางประภาพร ลือกิตติศัพท์ รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ นายชเนศวร์ ชิตวรากร ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โอโซน และเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์โอโซน กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมระดับสูง ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งมี 148 ประเทศเข้าร่วมการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นรายงานการศึกษาทั้งด้านเทคนิควิชาการ การนำเสนอเทคโนโลยีสารทดแทนที่มีค่าศักยภาพทำให้โลกร้อนต่ำและประหยัดพลังงาน รายงานการเงินในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณกองทุนพหุภาคีภายใต้อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล

รัฐมนตรี เอกนัฏ ได้เน้นย้ำว่า ประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในเรื่องสภาพภูมิอากาศ และการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน โดยได้ดำเนินแนวทางเชิงรุกในการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้เร็วกว่าที่พิธีสารมอนทรีออลกำหนดไว้ โดยได้มีการออกมาตรการทางกฎหมายในการห้ามใช้สารซี เอฟ ซี (Chlorofluorocarbons (CFCs)) ในการผลิตอุปกรณ์ทำความเย็น และห้ามนำเข้าอุปกรณ์ทำความเย็นที่ใช้สาร CFCs เข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุม นอกจากนี้ ยังได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี เพื่อลดการใช้สาร HFCs โดยส่วนใหญ่เป็นสารทําความเย็นในอุปกรณ์ทําความเย็น ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายของประเทศไทย โดยประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือดำเนินงานกับภาคีต่าง ๆ และประชาคมโลก เพื่อสำรวจแนวทางที่สร้างสรรค์และยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจต่อไป 📃✨

16 กันยายน วันโอโซนสากล ขอเชิญชวนทุกคนร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน
12/09/2024

16 กันยายน วันโอโซนสากล
ขอเชิญชวนทุกคนร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน

16 กันยายน วันโอโซนสากล ขอเชิญชวนทุกคนร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน
10/09/2024

16 กันยายน วันโอโซนสากล
ขอเชิญชวนทุกคนร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน

ที่อยู่

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 75/6 ถ. พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6624306308

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Ozone Protection Unit of Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ องค์กรนั้น

ส่งข้อความของคุณถึง Ozone Protection Unit of Thailand:

แชร์